บันทึก 20 โครงการจัดหา ฮ.ขนาดกลาง สำหรับค้นหาและช่วยชีวิตทางยุทธวิธี/ช่วยเหลือและกู้ภัย (ระยะที่ 1)
จัดหา ฮ.ขนาดกลาง (น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดไม่ต่ำกว่า 8,500 Kg. หรือบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่ต่ำกว่า 15 คน) สำหรับค้นหาและช่วยชีวิตทางยุทธวิธี (Combat SAR) จำนวน 4 เครื่อง พร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และเอกสารเทคนิค
บันทึก 21 โครงการจัดหา ฮ.ขนาดกลาง สำหรับค้นหาและช่วยชีวิตทางยุทธวิธี/ช่วยเหลือและกู้ภัย (ระยะที่ 2)
จัดหา ฮ.ขนาดกลาง (น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดไม่ต่ำกว่า 8,500 Kg. หรือบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่ต่ำกว่า 15 คน) สำหรับค้นหาและช่วยชีวิตทางยุทธวิธี (Combat SAR) จำนวน 8 เครื่อง พร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และเอกสารเทคนิค
บันทึก 22 โครงการจัดหา ฮ.ขนาดกลาง สำหรับค้นหาและช่วยชีวิตทางยุทธวิธี/ช่วยเหลือและกู้ภัย (ระยะที่ 3)
จัดหา ฮ.ขนาดกลาง (น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดไม่ต่ำกว่า 8,500 Kg. หรือบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่ต่ำกว่า 15 คน) สำหรับค้นหาและช่วยชีวิตทางยุทธวิธี (Combat SAR) จำนวน 4 เครื่อง พร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และเอกสารเทคนิค
โครงการจัดหา ฮ.CSAR นั้นมีมาตั้งแต่สมัยที่กำลังจะปลด ฮ.4ก. จากฝูง.203 แล้วครับ(ปัจจุบันฝูงนี้ใช้ ฮ.แบบ UH-1H เป็นกำลังหลักในภารกิจ CSAR) ซึ่งตามโครงการจัดหาในบันทึกที่๒๐-๒๒ นั้น ฮ.ที่จัดหามาใหม่จะมีจำนวน 16ลำครับ(ซึ่งก็คงจะลงที่ ฝูง.203 )
อย่างไรก็ตาม ฮ.ในกลุ่ม ฮ.๖ ทั้ง UH-1H, UH-1N และ Bell 412 คงจะยังประจำการในกองทัพอากาศไปอีกนานครับ
.......โดยส่วนตัวผมเอง อยากให้ประจำการ ฮ.จากประเทศรัสเซีย เช่น มิ-17 มากกว่าในอนาคต(หลังค่อยๆทะยอยปลด ยูเอช เบลล์ เป็นต้น) ถึงแม้จะมีปัญหาเรื่องความเข้าได้ของระบบก็ตาม แต่คุณภาพและประสิทธิภาพที่ได้ยอมรับรวมถึงราคา ที่มีใช้กันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ ผมว่าน่าจะเหมาะกับประเทศไทยน่ะครับ ราคาไม่แพง ทนทาน ความอ่อนตัวในภาจกิจลำเลียง/โจมตี กู้ภัยเป็นต้น
......หากในอนาคต เราต้องปลดของเก่าออก การหามาทดแทนใหม่ไม่น่าจะเป็นปัญหาในเรื่องอะไหล่น่ะครับ ซึ่ง ฮ.จากยุโรปส่วนใหญ่ราคาค่อนข้างแพง และขนาดเล็ก(เกี่ยวกับความต้องการบ้านเราป่าวหว่า) โดยตัวเลือกอื่นๆนอกจากยูโรคอปเตอร์ ก็มี อกุสต้า-109/119 เมอร์ลิน-101และ เอ็นเอช-90 โดย2ตัวหลังราคาไม่ใช่น้อย .
....ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ
ส่วนตัวคิดว่า ฮ.จากรัสเซียอาจจะมีโอกาสน้อยที่จะมาเป็น ฮ.ลำเลียงหลักของกองทัพอากาศครับ จากหลายๆเหตุผลเช่น ระบบสนับสนุน การฝึก (และทัศนะคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง) ในขณะที่ ฮ.จากยุโรปและสหรัฐฯนั้นมีโอกาสมากว่าครับ
ซึ่งในส่วนของ Mi-17 นั้นถ้าระบบกู้ภัยที่จะนำมาติดตั้งกับเครื่องเพื่อใช้เป็นรุ่นกู้ภัยนั้นเป็นคนละมาตรฐานกับแบบที่กองทัพอากาศมีใช้อยู่เดิมก็คงจะเป็นประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาด้วยครับนอกจากเรื่องสมรรถนะของเครื่อง
คงจะหาฮ.อื่นมาแทนเจ้าม้าแก่ได้ยาก เพื่อนที่ขับเจ้าม้าแก่นี้อยู่ลพบุรีก็บอกกับผมเองว่า ไม่มีฮ.แบบใดให้กำลังยกได้มากมายมหาศาลได้เหมือนเจ้าม้าแก่ มันคงทำหน้าที่ของมันไปอีกนาน
เพระขนาดกองทัพของสหรัฐเอง ยังเลือกเจ้าฮิวอี้นี้ใช้งานอยู่เลย แถมล่าสุดของตระกูลฮิวอี้ UH-1Y กำลังส่งมอบให้กับกองทัพเรือสหรัฐ เพื่อบรรจุในหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (MEU) ที่จะประจำบนเรือ USS Boxer ในเดือนมกราคม 2009