กองทัพเรือไทยมีภารกิจในการดูแลน่านน้ำและเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยทั้งหมด โดยมีกำลังทางเรือแบ่งได้เป็นกองเรือหลายกองเรือ
สิ่งที่อยากจะนำมาเป็นประเด็นในกระทู้นี้คือ กองเรือตรวจอ่าว
ภารกิจของกองเรือตรวจอ่าวคือการลาดตระเวนในเขตทะเลที่ไม่ไกลจากฝั่ง ป้องกันและป้องปรามการกระทำผิดกฏหมายทางทะเล ส่วนใหญ่แล้วศัตรูของกองเรือตรวจอ่าวมักจะไม่ใช่เรือฟริเกตอันทันสมัยของต่างชาติ แต่เป็นเรือโจรสลัด เรือประมงขนน้ำมันเถื่อน หรือหรือจนสินค้าลักลอบหนีภาษี
หลายประเทศแยกกิจการของการป้องกันภัยในลักษณะนี้ไว้ให้กับหน่วยยามฝั่งหรือ Coast Guard และให้กองทัพเรือดูแลภารกิจด้านการป้องกันประเทศจากภัยคุกคามในระดับสูงอย่างเต็มที่
คำถามชวนคิดสำหรับวันนี้ ถามว่า
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ถ้ากองทัพเรือจะแยกกิจการของกองเรือตรวจอ่าวออกไปเป็นหน่วยยามฝั่งไทย หรือ Royal Thai Coast Guard
2. ถ้าท่านเห็นด้วย ข้ามไปข้อ 4.
3. แต่ถ้าท่านไม่เห็นด้วย ข้ามไปข้อ 7.
4. ข้อดีของการตั้งหน่วยยามฝั่งไทยคืออะไร? การตั้งกองเรือตรวจอ่าวช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับกองทัพเรือหรือไม่? ช่วยประหยัดงบประมาณของกองทัพเรือหรือไม่? และทำไมถึงควรตั้ง?
5. ถ้าเห็นควรให้ตั้งหน่วยยามฝั่งไทย เราจะมีแผนปฏิบัติการ (Road Map) อย่างไรไที่จะนำปสู่การยุบกองเรือตรวจอ่าวและเปลี่ยนเป็นหน่วยยามฝั่งไทย ภายใต้เงื่อนไขของระเบียบประเพณี ระบบราชการ ระดับงบประมาณ และภัยคุกคามด้านการกระทำผิดกฏหมายของไทยในปัจจุบัน
6. โครงสร้างของหน่วยยามฝั่งไทยควรจะเป็นเช่นไร? คำถามนี้รวมถึงการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกับกองทัพเรือ การจัดกำลังทางเรือ จำนวนและแบบเรือ รวมถึงระบบอาวุธที่หน่วยยามฝั่งไทยควรมีหรือไม่ควรมี
7. ถ้าท่านไม่เห็นด้วย อะไรคือข้อดีของการให้กิจการของกองเรือตรวจอ่าวอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกองทัพเรือ? และอะไรคือข้อเสียของการตั้งหน่วยยามฝั่งไทยซึ่งแยกออกมาจากกองทัพเรือ?
8. และถ้าเรายังควรที่จะคงกองเรือตรวจอ่าวเอาไว้กับกองทัพเรือ เราจะมีแนวทางในการพัฒนากองเรือตรวจอ่าวอย่างไรในแง่ของกำลังทางเรือ การจัดองค์กร และระบบอาวุธ
ขอเชิญทุกท่านร่วมแสดงความเห็นครับ จะรู้มากหรือรู้น้อย จะเก่าหรือใหม่ไม่ใช่สิ่งสำคัญ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ผมตั้งกระทู้นี้มาเป็นซีรีย์ตอนที่ 5 แล้วก็เพื่อที่อยากจะเชิญชวนทุกท่านทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่เข้ามาร่วมแสดงความเห็น ไม่แน่เราอาจจะได้ข้อสรุปใหม่ ๆ ไอเดียใหม่ ๆ รวมถึงความรู้ใหม่ ๆ จากการถกเถียงกันก็ได้ครับ
มาตรฐานต่อเรือแบบพานิชย์ สัก 2พันตัน ติดปืนนิดหน่อย มีดาดฟ้าฮ.
อู่ไทยน่าจะต่อไม่ยาก ...........
ท่านอู๊ดกล่าวว่า กองเรือป้องกันฝั่ง จะอยู่ในทร.
ผมเห็นด้วยครับ ถ้าเป็นเรื่องความมั่นคง
แต่ถ้าเป็นเรื่องของ การบังคับใช้กฎหมายทางทะเล หรือการทำหน้าที่SAR ทร.ควรจะยกหน้าที่นี้ ให้กับองค์กรที่คล่องตัวกว่า และมีหน้าที่โดยตรงครับ จับน้ำมันเถื่อน แรงงานเถื่อน หรือ ยาเสพติด ควรให้ องค์กรใหม่อย่างRTCG ทำมากกว่า (น่าจะแปลงร่างจาก ตำรวจน้ำ มาเป็นยามฝั่ง คล้ายๆกับการตั้งDSI โดยมีพื้นฐานจากตำรวจ และมีกฎหมายด้านอำนาจรับรอง)
ไม่เห็นด้วยครับ
แต่ปัจจุบันนี้ กองเรือที่ทางกองทัพเรือ ตั้งใจจะให้ทำหน้าที่เป็น
หน่วยยามฝั่ง คือ กองเรือป้องกันฝั่ง นะครับไม่ใช่กองเรือตรวจอ่าว
เดิมทีนั้น กองเรือป้องกันฝั่ง(กปฝ.) มีอัตราเท่ากับ กองเรือภาค
และมีกองเรือป้องกันฝั่ง เขต 1-3 เป็นหน่วยขึ้นตรง
โดยทางกองทัพเรือ มีแผนที่จะโอนเรือตรวจการณ์ ต่างๆ
ที่สังกัด กองเรือตรวจอ่าว ให้มาสังกัดใน กองป้องกันฝั่ง
ส่วนเรือที่จะอยู่กับ กองเรือตรวจอ่าว จะเป็นพวก
เรือเร็วโจมตี,เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ฯลฯ
แต่ล่าสุด ทางกองทัพเรือ กำลังจะเปลี่ยนชื่อ กองเรือป้องกันฝั่ง
เป็นกองเรือยามฝั่ง ซึ่งไม่ทราบว่านโยบายการโอนเรือยังเหมือน
เดิมหรือไม่ แต่ทั้งนี้ กองเรือป้องกันฝั่งหรือชื่อใหม่ กองเรือยามฝั่ง
ก็จะอยู่ในร่มธงนาวีต่อไปอย่างแน่นอน
ขอชื่นชม ภาพเรือต.227 ของคุณสกายแมน ชัดเจนและสวยงามครับ
โดยเฉพาะเห็นโล่ปืน 20 ม.ม. แบบใหม่ งดงามเกินคำบรรยาย
จึงอยากให้กองทัพเรือ ต่อเรือชุดนี้อีกสัก 4 ลำ คือ
ต.215(แทนลำเดิมที่เสียไปจากสึนามิ)228,229,230
ข้ามทุกข้อค่ะ เพราะมาเจิมอย่างเดียว
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
เพราะหน่วยงานที่มีการใช้เรือในการตรวจตราน่านน้ำไทยไม่ได้มีแต่ กองทัพเรือครับ
- ตำรวจน้ำ
- กรมศุลกากร
- กรมประมง
เพียงแต่ ในเมืองไทยต้องยอมรับความจริงที่ว่า ผมไม่ได้หน้า คุณก็อย่าหวัง (กรุณาใช้คำพูดสมัยพ่อขุนราม) ขอขัดแข้งขัดขาไว้ก่อน
แต่ละหน่วยงานไม่มีการประสานงานกัน และไม่ยอมรับในขีดความสามารถของกันและกัน (ดูอย่างเรื่อง ก๊อดอาร์มี่ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ แจ้งไปยังกองทัพแล้ว ไม่มีใครเชื่อ จึงเกิดเหตุแบบนั้นขึ้น นี่แหละประเทศไทย)
สิ้นเปลืองในเรื่องเงิน งป. ไหนจะที่ตั้งหน่วย กำลังพล อาวุธ การฝึก และอื่นๆอีกมากมาย
ถ้า...
1. มีการแบ่งพื้นที่การรับผิดชอบให้ชัดเจน
2. จัดตั้งศูนย์ประสานงานร่วม ทหาร ตำรวจ ศุลกากร ประมง
3. ร่วมแบ่งปันผลงาน (ออก ทีวี พร้อมกัน 3 หน่วยเลยดู ค.ม.ช. ออกทีวี ทีละสี่เหล่า....เหอ...เหอ....เหอ...)
ตอนนี้ผมยังไม่เห็นด้วยนะครับ ใช่งบสูงมากแน่ๆ แถมเรามีสองฝั่งที่ต้องรับผิดชอบ ใช้กองทัพเรือไปก่อนครับ เป็นหน้าที่หลักที่กองทัพเรือทำอยู่แล้วทั้งตระเวนน่านน้ำ หรือในคราวเกิดภัยพิบัติต่างๆ กองทัพเรือก็เป็นพระเอกอยู่แล้ว ถ้ายามชายฝั่งเกิดจริงงบก็คงมาจากส่วนหนึ่งของกองทัพเรือ บทพระเอกก็น้อยลงงบหดลงเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่กองทัพเรือน่าจะได้มากกว่าที่เป็นอยู่
ไม่ทราบว่ามาเลเชีย กับสิงคโปร์ มียามฝั่งหรือปล่าว เพราะมีความรับผิดชอบรักษาและคุ้มครองช่องทางเดินเรือสำคัญของโลก ผมอยากให้เดินโครงการขุดคลองเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามันให้ได้ก่อนครับ ถึงตอนนั้นค่อยจัดตั้งเพราะงานก็มีให้ทำงบก็น่าจะมาแล้ว ยังไม่สายเกินไป
มีความเป็นไปได้น้อยมากครับที่อนาคตอันใกล้จะมีการจัดตั้งหน่วย Coast Guard ของไทยขึ้นมา เหตุผลส่วนหนึ่งก็คล้ายคึงกับของคุณน่าคิดครับเรามีหน่วยงานที่รับผิดชอบหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศหลายหน่วยนอกจากกองทัพเรือ เช่น ตำรวจน้ำ,กรมศุลกากร และ กรมประมง เป็นต้น ซึ่งแต่ละหน่วยก็มีเรือในสังกัดและหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง(ซึ่งบางครั้งก็ทับซ้อนหรือเกี่ยวข้องกันอย่างหลวมๆ)
การจัดตั้งหน่วย Coast Guard ขึ้นมาในลักษณะเดียวกับของสหรัฐฯหรือญี่ปุ่นนั้นนอกจากงบประมาณที่ใช้ในการจัดตั้งที่แน่นอนว่าต้องสูงมากแล้ว การโยกย้ายกำลังพล หน่วยงานในสังกัด สายการบังคับบัญชา และเรือต่างๆที่จะมีประจำการในหน่วยที่จะตั้งใหม่ก็น่าจะเป็นเรื่องวุ่นวายมากครับ ซึ่งข้าราชการที่ทำงานอยู่ทั้งของกองทัพเรือ ตำรวจน้ำ คงมีส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย(หรือต่อต้าน)ครับ
เราต้องยอมรับว่าไทยเราไม่มีมีพื้นทีรับผิดชอบทางทะเล งบประมาณ หรือขนาดกองเรือที่ใหญ่พอจะไปตั้งหน่วยลักษณะนี้ได้ในอนาคตอันใกล้ครับ(และอันไกลด้วย) ปล่อยให้กองทัพเรือและหน่วยอื่นๆทำหน้าที่รับผิดตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็เหมาะสมอยู่แล้วครับ
แต่อยากทราบความคิดเห็นของทหารเรือจริงๆครับว่าคิดอย่างไรในประเด็นนี้
ถ้าโดยความคิดผม ...........
ประเทศที่เริ่มมีCoast Guard คือประเทศที่มีกองทัพเรือเข้มแข็งพอ ที่จะทำหน้าที่ปกป้องSupply line ของชาติในน่านน้ำไกลฝั่ง รวมถึงน่านน้ำสากลได้ (อาจจะไม่ถึงBlue Navy แต่ก็สามารถดีพลอยกำลังได้ไกลๆ) โดยทิ้งหน้าที่ป้องกันระดับต่ำ และหน้าที่ทางกฎหมาย รวมถึงSAR ให้ยามฝั่ง และ ศุลกากร ทีนี้ มาดูเมืองไทย
เรือในกองเรือตรวจอ่าว ส่วนใหญ่เป็นเรือในระดับเรือรบ(อธิบายไม่ถูก แต่มันคือ เรือรบ ไม่ใช่เรือสำหรับนำมาใช้ สำหรับภารกิจด้านกฎหมาย เช่น รจอ. หรือ รจป. ) และ กองทัพเรือเอง ยังต้องพึ่งเรือเหล่านั้น หากจำเป็นในเวลาสงคราม พูดง่ายๆว่า เรือไม่พอ ...........
เรือในกองเรือของตำรวจน้ำ .........ถือว่าเหมาะสมกับภารกิจ แต่ยังไม่มีเรือขนาดใหญ่ คงทนทะเลสูงๆ
ของศุลกากร คล้ายๆกับตำรวจน้ำ
ในความคิดของผม กองทัพเรือไทย ยังไม่พร้อมที่จะเอาเรือของกองเรือตรวจอ่าวไปใช้ภารกิจกึ่งพลเรือน ได้อย่างเต็มที่ .......เรือส่วนใหญ่ยังต้องเป็นกำลังรบอยู่ ( อย่างจีน ปลดเรือฟรีเกตเก่า ให้กองเรือยามฝั่งทั้งหน่วยCMSและ MSA อันนี้เรือเค้าเหลือ จึงทำได้ ) ...............
ผมมองว่า ยังต้องคงกองเรือตรวจอ่าวไปก่อน ทำหน้าที่ทั้งทางทหาร และ รักษากฎหมายไปพร้อมกัน .......... เรือของกองเรือตรวจอ่าว ยังทำหน้าที่ของมันได้ดีในพท.การรบชายฝั่งครับ (ถือว่าทันสมัยทีเดียว)
แต่เรื่องการค้นหาผู้ประสบภัยทางทะเลนี่สิ .................. ผมอยากให้พวกกองเรือตำรวจน้ำ มีเรือใหญ่ๆ กับฮ.สำหรับด้านนี้โดยเฉพาะ .......... เห็นมีแต่สปีดโบ๊ท กับเรือเล็กๆ ไม่น่าจะทำได้ดีพอ ต้องเหนื่อยทร.ซึ่ง ค่าใช้จ่ายของเรือแพงกว่า
แบบนี้ อู่ไทยต่อสบายๆ ลำนึงไม่น่าจะเท่าไหร่ เอาให้แข็งแกร่งพอลุยทะเลแรงๆได้ ติดปืนจำพวก 40/60 หรือหรูๆก็ 76/50 น่าจะถูกกว่าOPVโขอยู่
เป็นเคสที่น่าสนใจทีเดียวครับ ขอเวลาไตร่ตรองสักนิด
ลองมาดูอัตราการจัดของกองเรือตรวจอ่าวในปัจจุบันก่อนครับ
กองเรือตรวจอ่าวในปัจจุบันนั้นประกอบด้วย 3หมวดเรือคือ
หมวดเรือที่๑ ประกอบด้วย ร.ล.มกุฎราชกุมาร(เรือธงกองเรือ), ชุด ร.ล.ปัตตานี(เรือ ตกก.), ชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์(ปัจจุบันน่าจะปรับเป็น รจป. แล้ว), ชุด ร.ล.ราชฤทธิ์(รจอ.) และ ชุด ร.ล.ชลบุรี(รจป.)
หมวดเรือที่๒ ประกอบด้วย ชุด ร.ล.สัตหีบ, ชุด ร.ล.หัวหิน, ชุดเรือ ต.๑๑(คงจะปลดในอนาคตอันใกล้), ชุดเรือ ต.๘๑, ชุดเรือ ต.๙๑ และอาจจะรวม ชุดเรือ ต.๙๙๑ ด้วยครับ
หมวดเรือที่๓ ประกอบด้วย ชุดเรือ ต.๒๑, ชุดเรือ ต.๒๑๓ และ เรือ ต.๒๓๑
ตามแผนการจัดตั้งกองเรือป้องกันฝั่ง(กบฝ.)หรือกองเรือป้องกันฝั่งตามข้อมูลของคุณอู๊ตในข้างตนนั้นส่วนตัววิเคราะห์ว่า กองเรือที่จะตั้งใหม่นั้นจะเป็นการโอนเรือตรวจการณ์ในหมวดเรือที่๒ และ ๓ มาจัดตั้งครับ คือประกอบด้วย หมวดเรือตรวจการณ์ปืน, หมวดเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง และหมวดเรือตรวจการณ์ชายฝั่งครับ
ส่วนกองเรือตรวจอ่าวนั้นก็จะปรับกำลังจากเรือในหมวดที่๑ครับโดยจากจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ในอนาคตนั้นก็จะทำให้กองเรือตรวจอ่าวนั้นประกอบด้วยกำลังหลักเป็น เรือ ตกก.อย่างน้อย2ชุด รจป.2ชุด และ รจอ.อีก1ชุด โดยมี ร.ล.มกุฎราชกุมาร เป็นเรือธงเช่นเดิมครับ
เรื่อง Royal Thai Coast Guard ผมก็กำลังคิดถึงอยู่เหมือนกันครับ ท่าน Skyman
ปัจจุบัน ผมมองว่า ภาระกิจรักษากฎหมายทางทะเล จะมีซ้ำซ้อนทั้ง ตำรวจ กรมศุลกากรและกองทัพเรือ....
ในขณะที่ กองทัพเรือ ต้องรับผิดชอบทั้งในฐานะ กลาโหม และมหาดไทย (รักษากฎหมายทางทะเล และช่วยเหลือผู้ประสบภัย)...
ถ้าไม่ติดปัญหาเรื่องปัญาของบุคคลากรในแต่ละหน่วยราชการแล้ว..ผมเห็นด้วยว่า ควรจะตั้งเป็น Royal Thai Coast Guard อยู่ภายใต้ สำนักนายกรัฐมนตรี (เหมือนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ภายใต้การกำกับดูแลของ กองทัพเรือ ในเรื่อง ระเบียบ วินัยของบุคลากร และในจัดหาอุปกรณ์ทางเรือ...
ซึ่งผมว่าจะช่วยให้ กองทัพเรือ ไม่ต้องปันเงินงบประมาณมาใช้ในเรื่อง เรือตรวจการณ์ และบุคลากร...ทำให้ กองทัพเรือ สามารถนำเงินงบประมาณมาจัดการเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ และสวัสดิการของกองทัพเรือเอง...เดี๋ยวขอต่อครับ...กลัวโพสหลุด
ซึ่งเมื่อเป็น Royal Thai Coast Guard แล้ว น่าจะทำการรวม ตำรวจน้ำ กรมศุลกากรในส่วนกองเรือ (อันนี้ยังไม่ค่อยแน่ใจ) และกองเรือตรวจการณ์ (เท่าที่จำเป็น) รวมถึงกองบิน SAR ของ กองทัพเรือ...เข้าจัดเป็น กองกำลังรักษากฎหมายทางทะล และช่วยเหลือผู้ประสบภัย...
ซึ่งน่าจะช่วยให้ในการจัดหางบประมาณมาโดยตรงมาจากสำนักนายกฯ และจะทำให้ได้กองเรือ กองบิน และอุปกรณ์ ตรงตามความต้องการ และสามารถจัดหาเรือใหม่ ๆ ที่ตรงกับภาระกิจ...ไม่ต้องไปเจียดงบประมาณมาจาก กองทัพเรือ แล้วก็ได้อุปกรณ์ไม่ตรงตามความต้องการสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และรักษากฎหมายทางทะเล (เพราะมันต้องสามารถนำมาใช้ในการรบได้ด้วย)
กองทัพเรือเอง จะได้ใช้งบประมาณของตนเองสำหรับในส่วนงาน กลาโหม อย่างเต็มที่...หรือเพียงแค่ประสานงานในงานภาระกิจพิเศษบางอย่าง ที่หน่วย Royal Thai Coast Guard ไม่สามารถทำได้....
กองเรือป้องกันฝั่ง ไม่ใช่กองเรือน้องใหม่แต่อย่างใดครับ
เพราะถือกำเนิดตั้งแต่ 2535 แล้วนะครับ
ที่ผ่านมายังไม่มีเรือในสังกัดประจำ แต่ใช้วิธีหมุนเวียนเรือ
จากกองเรืออื่น(ส่วนมากจะมาจากกองเรือตรวจอ่าว)เข้ามาปฏิบัติงาน
ในลักษณะเดียวกับกองเรือภาค
ส่วนการที่จะมีการเปลี่ยนชื่อ เป็นกองเรือยามฝั่ง นั้น
เป็นกล่าวของท่าน ผบ.ทร. ในบทความฯของท่านฯ
เรื่องโครงสร้างของกองเรือฯ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใดหรือไม่นั้น
ยังไม่เป็นที่ชัดเจน แต่ยังอยู่ใน ราชนาวี แน่ๆ
แต่ถ้าเป็นความฝันของผม
ผมอยากให้ มีการกระจายให้มี กองเรือป้องกันฝั่ง(อยากใช้ชื่อนี้)
ไปในกองเรือภาค ทั้ง 3 ภาค โดยให้เป็นหน่วยขึ้นตรง
และขอเรือ ต. ชุดต่างๆ มาเป็นเรือในสังกัดประจำ
ใน Website ของกองเรือตรวจอ่าวก็มีข้อมูลภาพกิจกรรมของกองเรือป้องกันฝั่งอยู่ครับ
http://www.navy.mi.th/ptrl/link/ptrl_coastguard.php
Website หลักของกองเรือป้องกันฝั่ง (แต่ดูเหมือนยังไม่มีข้อมูลมากนักครับ)
http://www.navy.mi.th/coast_guard/
บทความน่าสนใจเกี่ยวกับกองเรือป้องกันฝั่งในนาวิกศาสตร์
หน้าที่และภาระกิจของกองเรือป้องกันฝั่งก็น่าจะตอบคำถามได้แล้วนะครับ ผมจึงคิดว่าไม่ควรจะตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาให้มันซ้อนทับกันอีก เว้นเสียแต่จะดึงหน่วยนี้ไปปรับใหม่หรือวิธีอื่นที่จะเพิ่มศักยภาพให้หน่วยงานครับ เช่น จัดหาเรือ อากาศยาน ที่เหมาะสม ปรับปรุงโครงสร้างหน่วย อะไรประมานนี้ครับ
ปัญหาของ กปฝ. ปัจจุบัน คือ ความซ้ำซ้อนกับกองเรือภาค กปฝ. นั้นทำหน้าที่เหมือนกองเรือภาค คือ ควบคุม สั่งการ บังคับบัญชา โดยไม่มีเรือเป็นของตัวเอง แต่ กร. จะนำเรือจากกองเรือต่างๆ (แน่นอนว่า กตอ. เป็นส่วนใหญ่) มาขึ้นการบังคับบัญชากับ กปฝ. ระหว่างออกปฏิบัติภารกิจ ที่ว่าซ้ำซ้อน คือ ไม่มีการแบ่งชัดเจนลงไปว่าพื้นที่ส่วนไหนให้ กปฝ. รับผิดชอบ ตรงไหนให้กองเรือภาครับผิดชอบ ซึ่งจริงๆ ถ้ามองกันแล้ว กปฝ. ควรรับผิดชอบเฉพาะพื้นที่ใกล้ฝั่งเท่านั้น เช่น อาจจะเป็นว่าในทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลจากฝั่ง ส่วนพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 12-200 ไมล์ทะเลจากฝั่ง หรือไกลกว่านั้น เป็นของกองเรือภาคไป
แต่จากนโยบายของ ผบ.ทร. นั้น เหมือนกับว่า ทร. ต้องการยุบ กปฝ. ให้เหลือแต่กองเรือภาคอย่างเดียว (ไม่ใช่ทัพเรือภาคนะครับ) และปรับ กปฝ. เป็น กยฝ.-กองเรือยามฝั่ง สังกัด กร. แทน ดังนั้น กยฝ. ก็จะมีหน้าที่นำเรือภายในสังกัดไปขึ้นการบังคับบัญชากับกองเรือภาคในระหว่างปฏิบัติภารกิจ ส่วนเรือใน กยฝ. นั้น ก็ควรเป็นไปตามที่ท่าน AAG_th1 ว่าล่ะครับ คือ เรือที่ทำภารกิจใกล้ฝั่งและชายฝั่งเป็นหลัก (เรือ ต., เรือ ตกป.) ส่วนเรือที่เหลือยังคงอยู่กับ กตอ. ต่อไป (เรือ รจป., เรือ รจอ., เรือ ตกก.) และ กตอ. จะมีพื้นที่เหลือให้รองรับเรือ OPV ที่ ทร. ต้องการอยู่อีก 6-8 ลำในอนาคตอีกด้วย
สำหรับเรือจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น กองตำรวจน้ำ กรมศุลกากร กรมการขนส่งทางน้ำ กรมประมง ฯลฯ ทร. มีหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานการทำงานร่วมกับเรือของ ทร. อยู่แล้วในชื่อ ศรชล.-ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (Maritime Enforcement Coordination Center) โดยแบ่งเป็น 3 เขต ตามพื้นที่รับผิดชอบของกองเรือภาค และมีภารกิจรักษากฎหมายในทะเลเป็นหลัก เพียงแต่การบังคับบัญชาเรือเหล่านี้ยังคงอยู่กับต้นสังกัด ไม่ได้ขึ้นกับกองเรือภาคของ ทร. โดยตรง
อันนี้น่าจะเป็นข้อเสนอที่พอจะเป็นไปได้ง่ายกว่าการตั้ง RTCG-Royal Thai Coast Guard ครับ
จากภารกิจของกองทัพเรือในการป้องกันประเทศ และคุ้มครองป้องกันการแสวงประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ทำให้กองทัพเรือจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาหลายหน่วย เข้ารับผิดชอบตามพื้นที่ต่าง ๆ โดยใช้กำลังทางเรือจากหน่วยปกติเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามพื้นที่ ที่ได้รับมอบหมาย ทำให้บางครั้งหน่วยกำลังต่าง ๆ ต้องปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ซ้ำซ้อนกัน จึงมักเกิดปัญหาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการส่งกำลังบำรุงในพื้นที่นั้น ๆ กองทัพเรือจึงแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการแบ่งพื้นที่และกำหนดขอบเขตรับผิดชอบให้ชัดเจน และมีกองกำลังทางเรือรับผิดชอบในแต่ละพื้นที่โดยใช้ชื่อว่า กองเรือภาค ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้กองทัพเรือแบ่งพื้นที่ปฏิบัติการออกเป็น ๓ ภาค เมื่อ ๑๑ มีนาคม ๒๕๓๕
ภารกิจ
ปฏิบัติการทางเรือเพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติเมื่อมีภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ รักษาผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติทางทะเลและบริเวณชายฝั่งในพื้นที่รับผิดชอบ
กองเรือป้องกันฝั่ง มีชื่อว่า Royal Thai Navy Coast Guard Command เป็นหน่วยขึ้นตรงกับกองทัพเรือ และที่สำคัญเป็นหน่วยในระดับเดียวกับกองเรือภาค
อย่างไรก็ดีการตั้ง RTCG ไม่ว่าจะมีโครงสร้างอย่างไร หรือขึ้นตรงกับกระทรวงใด จะทำให้ ทร. มีขนาดเล็กลง ประหยัดงบฯ ได้มากขึ้น ภารกิจในยามสงบลดลงไปพอสมควร นี่คือข้อดีครับ ทร. สามารถ focus งบฯ ไปที่อาวุธหลักๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรือฟริเกต เรือดำน้ำ เรือยกพลขึ้นบก อากาศยาน กำลังรบของ นย. ฯลฯ
ผมคนนึงหละครับ ที่ไม่เชื่อว่า
ถ้ามีการตั้ง หน่วยยามฝั่ง ขึ้นมา โดยให้แยกจากกองทัพเรือ
จะเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ
รวมถึงจะทำให้กองทัพเรือสามารถประหยัดงบประมาณที่ต้องใช้
เกี่ยวกับเรือตรวจการณ์ใช้งานรักษากฏหมายและจะได้นำไปใช้กับ
ยุทโธปกรณ์สำหรับงานสงครามอย่างเดียว
เพราะว่า
1. การตั้งหน่วยขึ้นมาใหม่ ซึ่งต้องเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมี
พื้นที่รับผิดชอบหลายแสน ตร.กม. งบประมาณจะมหาศาลมาก
ทั้งด้านบุคคลากร,ยุทโธปกรณ์,อาคารสถานที่ ฯลฯ
รัฐบาลที่ผ่านมา จึงได้มอบหมายให้ กองทัพเรือ เป็นเจ้าภาพ
ในการดูแลรักษากฎหมายและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทะเลทุกหน่วยงาน
เช่น ตำรวจ,กรมศุลกากร,กรมประมง ฯลฯ
ขึ้นในทางยุทธการกับกองทัพเรือ(เฉพาะการปฎิบัติงานทางทะเล)
โดยให้ตั้งหน่วยประสานขึ้นมาในนาม ศรชล.
ซึ่งมีความเหมาะสม เพราะกองทัพเรือ มีความพร้อมกว่าหน่วยอื่น
โลกในยุคปัจจุบัน กองทัพทุกเหล่า จำเป็นที่จะต้องมีปฎิสัมพันธ์
กับประชาชนและสังคม
จะเห็นได้ว่าทุกเหล่าจะแบ่งภารกิจออกเป็น
ภารกิจยามสงบและภารกิจยามสงคราม
ถ้าเราจะให้กองทัพทำหน้าที่เพียงเตรียมอาวุธให้พร้อมรบ
ในสงครามอย่างเดียว(ซึ่งก็คงไม่รู้เมื่อไหร่และคงไม่มีใครอยากให้
มีการรบ) ประชาชนทั่วไปก็คงไม่ทราบถึงภารกิจของกองทัพ
ฉะนั้น ภารกิจยามสงบจึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อม
อีกทั้งกองทัพก็เป็นหน่วยงานที่ประสิทธิภาพ จึงควรที่จะช่วยชาติ
ดีกว่ากินเงินเดือนเพื่อต้องเตรียมรบอย่างเดียว
ผลพลอยได้อีกอย่างก็คือ เป็น ปจว. ไปในตัวด้วย
จะน่าได้ว่า ทุกเหล่ามีงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจยามสงบ
กองทัพบก ช่วยดูแลป่าไม้ กองทัพอากาศ ทำฝนเทียม เป็นต้น
2. ถ้ามี การตั้งหน่วยงานยามฝั่งขึ้น กองทัพเรือ ต้องถูกตัดงบแน่
โดยผู้จัดทำงบประมาณ จะบอกว่า
งานกองทัพเรือ น้อยลง งบก็ควรน้อยลง
อะไรทำนองนี้
คำเตือน!!!! อ่านให้สนุก ไม่อนุญาตให้อ่านแล้วเครียด นะขอรับ
ผมขอคิดต่างจากท่าน อู๊ด ในเรื่องงบประมาณของ ทร. ว่า ทร.จะไม่ได้รับงบประมาณน้อยลง...แต่จะได้รับเพิ่มขึ้นในลักษณะงบประมาณเท่าเดิม....
ในความเห็นผม...การที่แยกหน่วย RTCG ออกไป...จะแสดงให้เห็นว่า ปัจจุบัน ทร. มีภาระกิจ ในด้านการรักษากฎหมายภายใน และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซ่อนอยู่ในงบประมาณประจำปี.....รวมถึงตั้งงบประมาณการจัดหายุทโธปกรณ์ การฝึก ที่ต้องมาสนับสนุนในภาระกิจดังกล่าวด้วย...
ซึ่งถ้าแยกหน่วย RTCG ออกมา...ก็จะได้รับงบประมาณโดยตรง โดยมีแผนงานในด้านการจัดหายุทโธปกรณ์ และอุปกรณ์ที่มีความจำเป็น และเพียงพอในการช่วยชีวิต และค้นหา ผู้ประสบภัย มีการฝึกความชำนาญเฉพาะทางในการค้นหา และช่วยชีวิต แบบมีประสิทธิภาพมากกว่า การรองบประมาณ หรือการโยกงบประมาณจาก ทร. เพื่อมาดำเนินการดังกล่าว...และไม่มีการฝึกฝนที่เพียงพอ ในกรณีเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่...
RTCG สามารถตั้งของบประมาณในการจัดซื้อเรือตรวจการณ์ เพื่อรักษากฎหมายทางทะเล ปราบโจรสลัด การลักลอบสินค้าเถื่อนภายในน่านน้ำไทย โดยแยกมาจาก ทร. และต้องจัดหายุทโธปกรณ์ชดเชยให้ ทร. ในส่วนที่มีการโอนย้ายออกมา...
กรณีในภาวะมีการเตรียมพร้อมทางสงคราม พร้อม ๆ กับในขณะเดียวกันเกิดภัยพิบัติ ที่ต้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล หรือมีการลักลอบขนสินค้าใต้ดิน ในกรณีเกิดภาวะสงคราม จะสามารถแยกภาระกิจได้ชัดเจน และสามารถรับสถานการณ์ได้ทั้ง 2 ด้าน...
ในส่วนของ ทร. เรือป้องกันฝั่ง ก็ยังคงต้องมีตามปกติในการต่อต้านภัยคุกคามจากสงครามใต้น้ำชายฝั่ง และผิวน้ำ....
เชื่อไหม นอกจากผมจะไม่เห็นด้วยกับการ
ตั้งหน่วยยามฝั่ง(ที่อยู่นอกร่มธงราชนาวี)แล้ว
ผมยังแอบลุ้นให้ แนวคิดของคณะกรรมการปฏิรูป
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บางท่าน ที่จะให้ยุบรวม
ตำรวจน้ำให้มาอยู่ในสังกัดกองทัพเรือ ให้เป็นผลเสียด้วยซ้ำ
ซึ่งการยุบดังกล่าว คล้ายกับการย้ายตำรวจดับเพลิงให้มาอยู่กับ
กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
เท่าที่ทราบนักเรียนนายร้อยตำรวจที่สังกัดเหล่าตำรวจน้ำนั้นก็มีการฝากเรียนกับ ร.ร.นายเรือ ครับ ซึ่งแนวคิดที่จะโอนตำรวจน้ำมาอยู่ในกองทัพเรือนั้นส่วนตัวไม่แน่ใจว่ากำลังพลของตำรวจน้ำจะมีความคิดเห็นอย่างไรในประเด็นนี้ครับ
ส่วนก็ยังคิดว่าการจัดรูปแบบของกำลังเรือป้องกันฝั่งหรือยามฝั่งในปัจจุบันที่มีกองทัพเรือเป็นหน่วยงานหลักนั้นยังเหมาะสมกว่าการตั้ง Coast Guard แยกออกมาเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งอยู่ดีครับ
ตำรวจก็อยากเป็นตำรวจอยู่วันยังค่ำ ไม่ว่าบกหรือน้ำ เพระว่าผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร จะมาเป็นทหารเรือให้ลำบากตัวเองทำไมครับ ถ้ามีโอกาสลองแวะมาดูความจริงที่ บก.ตำรวจน้ำดู ผมไม่อยากโพสลงเนต
โพสของคุณบีบี อาจทำให้คิดต่อได้ไปถึงไหนๆเลย นะนี้