เนเธอร์แลนด์มีแผนจะต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Holland เพื่อใช้ในภารกิจลาดตระเวนตรวจการณ์ในเขตทะเลเหนือและอาณานิคมในเขตทะเลแคริเบียนครับ
โดยจะเรือชั้นนี้จำนวน4ลำในระหว่างปี 2009-2012 วงเงิน 600 million Euro ซึ่งจากที่อ่านข่าวในนาวิกศาสตร์เรือชั้นนี้จะใช้ปฏิบัติการแทนเรือฟริเกตหลายลำเช่นเรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้นKarel Doorman ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการสูงและใช้จำนวนคนประจำเรือมาก ปัจจุบันเรือชั้นนี้ถึงจะต่อมาได้แค่เกือบ10ปีแต่ก็ขายไปให้ต่างประเทศ4ลำแล้วคงเหลือในกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์2ลำเท่านั้นครับ คาดว่าอาจจะมีแผนปลดเรือชั้นนี้ทั้งหมดในอนาคตเพื่อลดค่าใช้จ่าย
เรือชั้น Holland มีลำตัวเรือยาว108เมตร ระวางขับน้ำ 3,750ตัน ใช้ ย.ดีเซล4เครื่อง ความเร็วสูงสุด 22น็อต
ติดอาวุธหลักปืนใหญ่เรือ Oto Melara Super Rapid 76mm, ปืนกล 30mm
มีดาดฟ้าท้ายเรือรองรับ ฮ.NH90ได้1ลำ พร้อมเรือยางขนาดใหญ่2ลำ ติดตั้งระบบ Sensor แบบรวมการและระบบอำนวยการรบที่ทันสมัย
ถ้าเทียบจากขนาดแล้วเรือชั้น Holland นี้มีขนาดใหญ่พอๆกับเรือคอร์เวตหรือเรือฟริเกตเบาครับ แต่จากการออกแบบภารกิจและอาวุธที่ติดตั้งเป็นแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายปฏิบัติการมากกว่าเหมาะสมกับภัยคุกคามของเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบันครับ(ซึ่งมีผลจากนโยบายด้านลดงบประมาณและการเมืองด้วย)
อุ๊ยเขียนผิดครับ...ไม่ใช่...เรือ ตก.ใหม่ ครับ ขอแก้ไขเป็น เรือ ฟก.ใหม่ครับ...ขออธิบายเพิ่มเติม สำหรับในแผ่นภาพนั้น ผมจะใช้ระวางสูงสุดของเรือแต่ละลำครับ...
ในส่วนเรือที่ ทร. กำหนดความต้องการไว้ในแผน 9 ปีเดิม ผมก็ใช้ระวางขับน้ำสูงสุด ตามที่ระบุไว้...โดยในแผ่นภาพจะแสดงว่า ในกองเรือรบระดับไกลฝั่ง นั้น...ถ้า ทร. สามารถจัดหามาได้ครบทั้งหมดในระวางขับสูงสุดตามข้อกำหนด จะมีระวางขับน้ำเรือสูงสุดประมาณ 52,895 ตัน มากกว่าในปัจจุบันประมาณ 9,000 กว่าตัน โดยกำลังพลประจำเรือจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปัจจุบันที่มีอยู่...แต่ ทร.จะมีมิติการป้องกันน่านน้ำไทย ทั้งป้องกันภัยทางอากาศ, ทางผิวน้ำ และทางใต้น้ำ ครบ....แต่จะครอบคลุมน่านน้ำขนาดไหนนั้น...ยังไม่ทราบได้ครับ...
เรือชั้น Karel Doorman ที่ยังประจำการในกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบันนั้นคือ HNLMS Van Amstel (F831) และ HNLMS Van Speijk (F828) ส่วนที่อีก 6ลำนั้นได้ถูกขายให้ ชิลี เบลเยียม และ โปรตุเกส ไปแล้วประเทศละ2ลำครับ
เรือต่อใหม่ราคาเหยียบ 10,000 ล้านบาทต่อลำ! แต่ต้องต่อใหม่แสดงว่าค่าใช้จ่ายกำลังพลและค่าน้ำมันคงต่างกันมากระหว่างเรือทั้งสองชั้น นั่นต้องหมายถึงว่าเรือใหม่ใช้กำลังพลน้อยกว่ากันมาก ส่วนเครื่องยนต์นั้นเรือใหม่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลทั้งหมดก็ต้องย่อมประหยัดกว่าเป็นธรรมดา
ค่าใช้จ่ายครึ่งอายุการใช้งานหลังต้องแพงมากขนาดที่พิจารณาแล้วว่าต่อใหม่คุ้มกว่า ทั้งๆที่ประสิทธิภาพเรือไม่ได้กิ๊กก๊อกแต่อย่างใด ค่าแรงของกำลังพลต้องสูงมากๆ
เรือชั้น Karel Doorman 2 ลำสุดท้ายี้รู้สึกว่าถ้าจำไม่ผิดได้ทำการปรับปรุงให้สามารถติดตั้ง ESSM ได้แล้วด้วย
ระบบเรด้าร์ระดับ Smart-s , STIR , LW08 และจรวด ESSM ระบบอำนวยการรบที่ไม่ได้ขี้เหล่เลย ผมว่าถ้าทร.เนเธอร์แลนด์ตัดใจขาย 2 ลำที่เหลือล่ะก็ ประเทศเราน่ารับซื้อไว้นะครับ เพราะสเปกขนาดนี้ต่อใหม่ก็ราวๆ 10,000 ล้านบาท ยังไงซะค่าแรงลูกน้ำเค็มบ้านเราก็ต่ำกว่ามาก ส่วนค่าน้ำมันนั้น ต่อให้ต้องสร้างเรือฟรีเกตใหม่ก็คงไม่หนีไปจากกันมากนัก ยกเว้นเราจะหนีไปต่อเรือที่ใช้น้ำมันดีเซลแบบเขาแทน
สเปกขนาดนี้พอๆกับลิเกียว batch-2 เลย แบบว่าราคาต่างกันมาก น่าเล่นครับ
The search for a replacement for the aging Sea Wolf class missile gunboats, which entered into service in 1972, started in the mid 1990s. The United States, Sweden and France participated in the bid for the contract.[3] In March 2000, the Singapore Ministry of Defence awarded the contract to DCNS for the design and construction of six frigates. A key feature of the contract was the technology transfer arrangement. Under the arrangement, DCNS was to design and build the first frigate in its Lorient yard in France while the remaining five frigates were to be built locally by Singapore Technologies (ST) Marine at its Benoi yard in Singapore. Subsequent maintenance and mid-life retrofit will be done by ST Marine.
Construction of the Formidable began in late 2002, when the keel was laid down in Lorient on November 2002.
สิงค์โปร์ สงสัยกำลังจะพยายามเป็น ยิว แห่งเอเชีย...ในเรื่องเกี่ยวกับการซื้อขายและพัฒนาอาวุธ...รึเปล่า ?
ก็ไม่ทราบว่าปัจจุบัน เรือชั้น Formidable...ทาง สิงค์โปร์ ได้มีส่วนร่วมในการสร้างขนาดไหน...ทำให้กลับไปนึกย้อนคิดถึง ตอนรัฐบาลก่อนหน้า ที่มีการใช้สินค้าเกษตรแลกอาวุธ...และมีข่าวว่า ฝรั่งเศส มีการนำเสนอเรือชั้น ลาฟาแยตส์ (ชั้นเดียวกับ Formidable สิงค์โปร์) เสนอขายให้กับ ทร.ไทย...ซึ่งอาจจะเป็นผลิตผลจากความร่วมมือระหว่างฝรั่งเศส กับสิงค์โปร์ ในการต่อเรือขายให้กับกลุ่มประเทศเอเชียก็ได้....
ซึ่งถ้า สิงค์โปร์ สามารถทำให้ ทร.ไทย ตกลงการจัดซื้อเรือต่อใหม่ ในชั้น เอ็นดูแรนซ์ ในจำนวน 2 ลำได้เป็นผลสำเร็จแล้ว...อนาคตไม่แน่ เรือ ตก. ใหม่ ของ ทร. อาจจะเป็นเรือชั้น ลาฟาแยตส์ ก็ได้....และอาจจะเป็นการร่วมมือระหว่าง ไทย สิงค์โปร์ และฝรั่งเศส...ก็อาจจะเป็นได้เน๊าะ....
งบประมาณของ ทร. ในการต่อเรือ ถ้าเมื่อก่อน คำนวณคร่าว ๆ จะตันละ ประมาณ1 ล้าน ถ้าเรือขนาด 1,800 ตัน ก็ประมาณลำละ 1,800 ล้าน เรือชั้น ปัตตานี ขนาด 1,600 ตัน ก็ใช้งบประมาณ 1,500 ล้านบาท ต่อลำ...
เรือ ตกก. ที่กำลังต่อ ใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท (ต่อเองภายในประเทศ) เป็นเรือขนาดไม่เกิน 2,000 ตัน..
เรือ ฟก. ใหม่ ที่ ทร.ต้องการ ลำละขนาดไม่เกิน 3,000 ตัน ถ้า ทร. ตั้งงบประมาณเหมือนเดิม คือ ตันละ 1 ล้าน งบประมาณจะอยู่ประมาณ ลำละ 3,000 ล้านบาท (มันยังจะมีอยู่ไหมเนี่ยในราคาปัจจุบัน) ถ้า ทร. จ้าง ต่างประเทศต่อ งบประมาณแบบถูกสุด ๆ ในปัจจุบันให้เพิ่มงบประมาณ 1 เท่าตัว มันก็จะอยู่ประมาณ ลำละ 6,000 ล้าน (ตันละ 2 ล้าน)...
ดู ๆ แล้ว อนาคต เรือมือสอง อาจจะมาเหมือนเดิม หรือ น่าจะเป็นเรือที่ต่อในละแวก ใกล้บ้าน หรือ ในบ้านตัวเอง ก็เป็นได้....
เท่าที่ดูปัจจุบัน เรือฟริเกตสมัยใหม่ พลประจำเรือจะไม่เกิน 100 คน เช่น เรือของ ทร.สิงคโปร์ พลประจำเรือรวมกำลังพล ฮ.ประจำเรือด้วยประมาณ 85 คน ขนาดระวางเรือ 3,200 ตัน
ตามข้อมูลที่รวบรวมได้ในขณะนี้ เรือ ตกก. ที่กรมอู่ทหารเรือกำลังเตรียมต่อในอู่มหิดลนั้นจะมีระวางขับน้ำประมาณ1,000-1,200ตัน ตัวเรือยาว 75-80กว่าเมตรครับ มีดาดฟ้าท้ายเรือรองรับ ฮ.ได้แต่ไม่มีโรงเก็บในเรือ ซึ่งจะต่อขึ้น1ลำก่อนครับ(ถ้ามีประสิทธิภาพน่าพอใจก็อาจจะต่อเพิ่มในอนาคต)
คิดว่าขนาดเรือของไทยคงใกล้เคียงกับเรือ ตกก. ชั้นDurango ของกองทัพเรือแม็กซิโกครับ เรือชั้นนี้ยาว 82เมตร ติดปืนใหญ่เรือหลักแบบ Bofors 57mm มีดาดฟ้าท้ายเรือรองรับ ฮ.ได้(เท่าที่ดูไม่มีโรงเก็บในตัวเรือ)
ARM Sorona (PO-152)