หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ประเด็นที่น่าสนใจจากข้อมูลงบฯ 3 เหล่าทัพ

โดยคุณ : rinsc seaver เมื่อวันที่ : 29/07/2008 17:27:00

พอดีได้ลองเข้าเว็บสำนักงบฯ ดู ได้อะไรแปลกๆ มาครับเป็นรายละเอียดของ งบฯ ปี 51 ที่เหลืออีกไม่กี่เดือนครับ

ทร.เป็นเหล่าทัพที่มีรายละเอียดงบฯ มากกว่าเหล่าอื่นๆ อาทิเช่น

งบฯ ทร.110 วงเงิน 679,100,000 บาท มีดังนี้

1) ติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำให้กับ บ.P-3 จำนวน 1 เครื่อง 160,000,000 บาท

2) จัดหาเรือ RIB ขนาดกลางพร้อมเครื่องติดท้าย และอุปกรณ์ติดตั้งบนเรือ จำนวน 7 ลำ 24,000,000 บาท

3) จัดซื้อเครื่องรับ-ส่งวิทยุพร้อมการติดตั้งและเชื่อมต่อระบบตามโครงการปรับปรุงระบบสื่อสาร ร..จักรีนฤเบศร ระยะที่ 2  120,000,000 บาท

4) จัดหาเครื่องมือสำรวจพื้นท้องทะเล (SIDE SCAN SONAR) จำนวน 2 ชุด 36,000,000 บาท

5) จัดจ้างบริการตรวจสอบความพร้อมใช้งานอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน 40,000,000 บาท

6) จัดหากล้องส่องกลางคืนให้กับเรือของ กร.จำนวน 15 ระบบ 60,000,000 บาท

7) จัดหาเรือยางพร้อมเครื่องยนต์ติดท้าย จำนวน 10 ลำ 5,000,000 บาท

8) จัดหาเป้าลวงดาร์เก้ให้กับเรือ คว. ชุด ร..รัตนโกสินทร์ 30,000,000 บาท

9) จัดหาอาวุธให้กับ นสร.กร. จำนวน 1 กองรบ 57,000,000 บาท

10) จัดหา DGPS จำนวน 2 ชุด และ เรดาร์ขนาดเล็ก จำนวน 2 ชุด ให้เรือ กทต. จำนวน 2 ลำ 1,100,000 บาท

11) จัดหาเข็มทิศไยโรให้กับเรือ กทต. 6,000,000 บาท

12) จัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่าให้กับ กร. นย. 140,000,000 บาท

13) จัดหาเรือยางพร้อมเครื่องยนต์ติดท้าย จำนวน 10 ลำ 17,000,000 บาท

14) โครงการจัดหา ปลย.เสริมสร้างประสิทธิภาพ กรม ร. จำนวน 1200 กระบอก และเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. จำนวน 53 กระบอก พร้อมกระสุนอัตรามูลฐาน 87,964,000 บาท

15) โครงการจัดหาปืนเล็กกล ขนาด 5.56 มม. จำนวน 580 กระบอก พร้อมกระสุนอัตรามูลฐาน 153,982,000 บาท

16) โครงการจัดหารถพยาบาลทางทหารขนาด 1 1/4 - 1 1/2 ตัน จำนวน 5 คัน 50,000,000 บาท

และยังมีงบฯ ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ซึ่งเป็นโครงการจัดซื้ออาวุธต่างๆ รวม 4,732,846,000 บาท แต่ไม่มีรายละเอียด มีเพียงแค่รหัสโครงการเท่านั้น





ความคิดเห็นที่ 1


สำหรับ ทอ. ไม่มีรายละเอียดใดๆ นอกจากรหัสโครงการ โดยเป็นงบฯ ผูกพันข้ามปีงบประมาณ วงเงิน 3,100,020,000 บาท จำนวน 10 โครงการ แบ่งเป็นโครงการเดิม 9 โครงการ และที่เริ่มต้นในปี 2551 จำนวน 1 โครงการ เท่าที่หารายละเอียดได้ก็มี เช่น ทอ.158 โครงการปรับปรุง F-16 วงเงินรวม 750 ล้านบาท (สิ้นสุดปี 2551), ทอ.161 โครงการ RTADS phase II วงเงินรวม 2,500 ล้านบาท (สิ้นสุดปี 2552), ทอ.164 โครงการปรับปรุง C-130H วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท (สิ้นสุดปี 2552) เป็นต้น

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 28/07/2008 07:06:52


ความคิดเห็นที่ 2


สำหรับ ทบ. เคยลงรายละเอียดไปแล้วในกระทู้เก่าๆ แต่ที่น่าสนใจ คือ โครงการจัดตั้ง พล.ม.3 วงเงิน 136,895,000 บาท แปลกดีนะครับ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 28/07/2008 07:18:11


ความคิดเห็นที่ 3


อาวุธของ นสร. 1 กองพัน จะมาจากเจ้าเดิม คือ HK อีกหรือไม่ จรวดแซมประทับบ่ายิง ตัวนี้ไม่เคยได้ยินข่าวเลย ส่วน ปลย. และ ปลก. นี้ นย. จะติดใจ HK หรือไม่น่าคิดนะครับ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 28/07/2008 07:51:34


ความคิดเห็นที่ 4


14) โครงการจัดหา ปลย.เสริมสร้างประสิทธิภาพ กรม ร. จำนวน 1200 กระบอก และเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. จำนวน 53 กระบอก พร้อมกระสุนอัตรามูลฐาน 87,964,000 บาท

15) โครงการจัดหาปืนเล็กกล ขนาด 5.56 มม. จำนวน 580 กระบอก พร้อมกระสุนอัตรามูลฐาน 153,982,000 บาท

 

.....สองโครงการฯนี้ดี ถ้าส่งไปให้นาวิกโยธินที่ทำงานภาคใต้ใช้......ใจจริงอยากให้มีกล้องมองกลางคืน กับรถหุ้มเกราะให้นย.ใช้มากกว่าปัจจุบัน

โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 28/07/2008 08:41:22


ความคิดเห็นที่ 5


ในส่วนของอาวุธประจำกายของ นสร. นี้ไม่แน่ใจว่าในปัจจุบันนั้นรัฐบาลเยอรมนีจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการส่งออกอาวุธให้ไทยในขณะนี้หรือไม่นครับซึ่งถ้าไม่มีการติดขัดอะไรก็คาดว่า นสร.คงจะจัดหาปืน HK เช่นเดิมครับ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและสะดวกต่อการฝึกศึกษา

แต่ในส่วนของ นย. นั้น ปลย.เคยมีข้อมูลออกมาก่อนหน้านี้แล้วว่าคงน่าจะเป็น M-16 ครับซึ่งจะจัดหามาพร้อมกับ ค.M203 ส่วน ปลก.นั้นไม่ทราบแบบ แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดก็ได้ครับ

ในส่วนของ SAMประทับบ่าของ กร. และ นย. ส่วนตัวคิดว่าอาจจะเป็นการจัดหาของจีนเช่นที่ผ่านมาครับ หรือไม่ก็อาจจะไปจัดหาของรัสเซียเช่น Igla (หรือของฝรั่งเศษคือ Mistral)  แต่ตอนนี้ไม่มีข้อมูลออกมาครับ

สำหรับในส่วนของกองทัพอากาศก็เป็นโครงการที่มีข้อมูลออกมาก่อนหน้านี้แล้วครับ

แต่ที่งงที่สุดคือของกองทัพบกครับ พล.ม.๓ กองพลทหารม้าที่๓ จะตั้งจริงๆหรือครับ(ไม่มีข่าวหรือข้อมูลใดๆเลย แล้วจะตั้งที่ไหน)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 28/07/2008 11:41:48


ความคิดเห็นที่ 6


เรื่องพล.ม.3 ........... มันมีข่าวมาสักสองปีแล้วว่า ....... อยากตั้ง เพราะคุณขอมา ......... ไอ้เราก็เซ็งแต่ก็คิดว่าตอนนี้เขาไม่น่าจะตั้งแล้ว ....... กลายเป้นว่ายังอยากตั้งอยู่ = =! ........... แค่ปัจจุบันมี 2 พล.ม. ก็ยังไม่มีปัญญาหาเงินซื้อรถใส่ให้เต็มอัตราอยู่แล้ว ตั้งอีกพล.ม. นึง สงสัยได้ขับรถ Stealth แน่นอน ........ คิดถึงเรื่องยุทธการและยุทธศาสตร์บ้างนะ ทำงานกันมาถึงขนาดนี้แล้ว

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 28/07/2008 19:54:59


ความคิดเห็นที่ 7


จากโพสของอาจารย์ริน

1. อันนี้คืองบ upgrade P-3 อีก 1 ลำที่เหลือใช่ไหมครับ?

2. อันนี้คือที่ทร. สั่งต่อจากอู่มาร์ชันใช่ไหมครับ?

3. มันเป็นวิทยุอะไรหว่า?

4. ติดกับเรือพลวงพฤหัสบดีหรือเปล่าครับ?

8. ขอถามเป็นความรู้ครับว่า เป้าลวงดาร์เก้เป็นยังไงฮะ?

9. ขอถามเป็นความรู้ครับว่า 1 กองรบนี่เป็นยังไงเหรอครับ? (เคยได้ยินแต่กองร้อย กองพัน กองพล แหะ ๆ )

11. ยังนึกไม่ออกว่า นย. เรามี MANPAD อะไรใช้อยู่ ถ้าไม่มี Igla จะมาหรือเปล่านะ ถ้ามาจริงก็ดีเลยครับ ถือว่าเป็น common configuration ทบ. มีใช้ ทร. ก็มีใช้ แบบรถเกราะของทร. ผมก็เชียร์ของยูเครนนะเพราะทบ.เซ็นสั่งซื้อรถยูเครนไปแล้ว

รบกวนความรู้จากเซียน ๆ ครับผม ^ ^

 


โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 28/07/2008 20:01:30


ความคิดเห็นที่ 8


นสร. ย่อมาจาก หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ รึเปล่าครับ...เลยให้หน่วยเป็น กองรบ แทน กองร้อย กองพัน....ด้วยจำนวนมูลค่า 57 ล้านบาท แสดงว่า กองรบนี้ อาวุธไม่เบาเลยทีเดียว....

ระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่า ผมเห็นด้วยกับท่าน Skyman ว่าน่าจะเป็น อิกล่า แบบเดียวกับ ทบ.

และที่ท่าน Flg Ship เคยให้ทายเรื่อง รถรบใหม่ ของ นย. น่าจะเป็นรถเจ้าปัญหา (ซึ่ง เดาว่า เป็น BTR-3E แบบเดียวกับ ทบ.)  ปัจจุบัน นย. ใช้ V-150 อยู่....เลยพอจะมองได้ว่าเรื่องระบบอาวุธของ นย. น่าจะอยู่ในแบบเดียวกับ ทบ.

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/07/2008 20:46:04


ความคิดเห็นที่ 9


ไช่แล้วครับ คุณ Juldas นสร. ย่อมาจากหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ

และ กร. ย่อมาจากกองเรือยุทธการ

หน่วยนี้พิเศษครับ จึงไม่บอกว่าซื้ออะไร แค่บอกว่าจัดหาอาวุธ ให้กับ นสร.กร 1 กองรบ 57 ล้านบาท นสร เป็นหน่วยระดับกรมประกอบด้วย กองบังคับ การกองรบพิเศษที่ ๑ , กองรบพิเศษที่ ๒ , กองรบพิเศษที่ ๓

โดยคุณ โต้ง เมื่อวันที่ 28/07/2008 21:16:08


ความคิดเห็นที่ 10


 เป้าลวงดาร์เก้

มันเป็นเป้าลวงอาวุธปล่อยนำวิถีโดยสามารถปล่อยเป้าลวงทั้งแบบ IR และ RF ได้ในแท่นเดียวมีคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวนมุมยิงเป้าลวง และให้คำแนะนำการนำเรือเมื่อยิงเป้าลวงออกไปแล้วได้ ติดตั้งในเรือ ชุดรัตนโกสิน สุโขทัย

โดยคุณ bebe_bravoo เมื่อวันที่ 28/07/2008 22:07:31


ความคิดเห็นที่ 11


1. เรดาร์ของ P-3T คงจะติดตั้งกับ P-3T เครื่องที่สอง ต่อจากที่เคยอัพเกรดไปแล้ว และคงจะเป็น Sea Vue เหมือนเดิม

2. เรือ RIB 7 ลำ นี้เป็นของ กฟก.1 เป็นเรือยางท้องแข็งติด ย. ท้าย สำหรับปล่อยจากเรือฟริเกตครับ และเปิดประมูลไปแล้วเรียบร้อยตามนี้ครับ http://www.navy.mi.th/supplyonline/showsupply.php ส่วนเรือปฏิบัติการพิเศษของ นสร. ที่ต่อจากอู่มาร์ซันนี้น่าจะอยู่ในงบฯ โครงการ ทร.2xx มากกว่าครับ ซึ่งเป็นงบฯ ผูกพันข้ามปี

3. เป้าลวงดาร์เก้ก็เหมือนพวก Mk36 SRBOC ครับ ยิง chaff flare ได้ปกติ

4. 1 กองรบ ถ้าจำไม่ผิดประมาณ 1 กองพัน โดย นสร. มี 1 กรม แบ่งเป็น 3 กองรบพิเศษ โดยอาวุธจาก HK ที่เคยซื้อจะอยู่กับกองรบพิเศษที่ 3

5. จำนวน ปลย. ค.ปลย. และ ปลก. น่าจะจัดได้ประมาณ 1 พัน.ร.นย. ครับ

6. งบฯ โครงการที่ 13 - 16 เป็นงบฯ โดยตรงสำหรับภารกิจใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ครับ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 29/07/2008 00:55:02


ความคิดเห็นที่ 12


เรามาดูงบฯ โครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่ผูกพันข้ามปีงบประมาณ(ก็คือ งบฯ ซื้ออาวุธโครงการใหญ่ๆ นั่นเอง) ในส่วนของ ทร. กันดีกว่าครับ ไม่มีรายละเอียดใดๆ ลองเดากันเอานะครับจากวงเงินรวมทั้งโครงการว่าราคาประมาณนี้น่าจะได้อะไรบ้าง

1) ทร.195 งบฯ รวม 145.5 ล้านบาท ผูกพันปี 49-51

2) ทร.196 งบฯ รวม 180 ล้านบาท งบฯ ปี 49-51

3) ทร.190 งบฯ รวม 2,040.8 ล้านบาท งบฯ ปี 50-53

4) ทร.193 งบฯ รวม 994.1 ล้านบาท งบฯ ปี 48-51

5) ทร.198 งบฯ รวม 100 ล้านบาท งบฯ ปี 50-51

6) ทร.197 งบฯ รวม 300 ล้านบาท งบฯ ปี 50-52

7) ทร.199 งบฯ รวม 250 ล้านบาท ผูกพันปี 50-52

8) ทร.202 งบฯ รวม 350 ล้านบาท ผูกพันปี 50-52

9) ทร.200 งบฯ รวม 950 ล้านบาท ผูกพันปี 50-52

10) ทร.201 งบฯ รวม 1,600 ล้านบาท ผูกพันปี 50-52

11) ทร.203 งบฯ รวม 750 ล้านบาท ผูกพันปี 51-53

12) ทร.204 งบฯ รวม 5,000 ล้านบาท ผูกพันปี 51-54

13) ทร.205 งบฯ รวม 2,000 ล้านบาท ผูกพันปี 51-53

14) ทร.206 งบฯ รวม 420 ล้านบาท ผูกพันปี 51-53

15) ทร.207 งบฯ รวม 300 ล้านบาท ผูกพันปี 51-53

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 29/07/2008 01:15:04


ความคิดเห็นที่ 13


โครงการที่เข้าข่ายก็ประมาณนี้ครับ

1. รถเกราะล้อยางของ นย.

2. เรือ LPD

3. เรือ LCU

4. เรือ OPV

5. ฮ.MH-60S

6. ESM ของเรือชุดรัตนโกสินทร์

7. เรือปฏิบัติการพิเศษ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 29/07/2008 01:24:49


ความคิดเห็นที่ 14


UAV กับความจำเป็นของกองทัพ

 พันเอก จักราวุธ โสมภีร์  
รองผู้ประสานการยิงสนับสนุน กองพลทหารปืนใหญ่
และนายทหารโครงการร่วม  ส่วนบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน
jakravudh@hotmail.com  



 ชาติทุกชาติจะทำทุกอย่างเพื่อมุ่งสู่ผลประโยชน์ของชาติตน เพื่อทำให้ชาติของตนเกิดความมั่งคั่งและมั่นคง ความมั่งคั่งนั้นเมื่อลงทุนแล้วเห็นผลสำเร็จได้จากผลกำไร จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะทุ่มเงินลงไปเพื่อการลงทุน ส่วนความมั่นคงเมื่อลงทุนแล้ววัดค่าผลสำเร็จกันด้วยประสิทธิผล     ซึ่งบางอย่างอาจไม่เห็นผลทันตาหรืออาจต้องใช้เวลานานนับปี หรืออาจไม่เห็นผลใดๆเลยในแง่ธุรกิจ อย่างเช่น  การลงทุนซื้อฝูงบินขับไล่ F 16 ที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการจัดหา ถึงกับมีการเปรียบเทียบกันว่าต้องทำนากันหนึ่งปีทั้งประเทศ เพื่อขายข้าวจึงจะได้เงินส่วนนี้เอาไปซื้อ ซึ่งอย่างหลังนี้ผู้คนส่วนใหญ่จึงมักมองไม่เห็นความจำเป็นกับการลงทุนที่ดูเหมือนเสียเปล่า หลายคนจึงคัดค้านว่าเอาเงินนี้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า แต่หากย้อนกลับไปดูประวัติศาตร์ของโลกที่ผ่านมา เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการที่ชาติใดชาติหนึ่งมีความมั่งคั่งโดยปราศจาก ความมั่นคงแล้วนั้นก็เปล่าประโยชน์ เพราะจะถูกชาติที่แข็งแกร่งกว่าจ้องเอาเปรียบบีบบังคับเอาผลประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มันเป็นไปตามกฎธรรมชาติของโลก  ผู้แข็งแกร่งกว่าเท่านั้นที่อยู่รอด ความมั่นคงจึงเป็นสิ่งจำเป็นแบบมองไม่เห็น การสร้างกองทัพให้มีความแข็งแกร่งนั้นมิใช่สร้างได้ในวันหรือสองวันหรือมีเงินก็สร้างได้  เราไม่สามารถซื้อ F16 ได้ทันทีเมื่อเราต้องการ โดยหน้าที่กองทัพต้องประกันในส่วนความความมั่นคงของชาติด้วยการพัฒนากองทัพให้มีความแข็งแกร่ง ทันสมัย บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงกับความมั่งคั่งของประเทศ ซึ่งโดยปกติประเทศที่มีความมั่งคั่ง ในโลกนี้จะใช้งบประมาณเพื่อความมั่นคงของตนอยู่ที่ 7 % ถึง 10 % ของ GDP แต่ของประเทศไทยเราจะอยู่ที่ไม่ถึง 3%  นักยุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดต้องทำให้นักเศรษฐศาตร์มองเห็นภาพรวมของความมั่นคงของชาติ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุน   จากคำกล่าวที่ว่า แม้หวังความสงบจงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ  นั้นเป็นจริงที่ได้รับการพิสูจน์มาให้เห็นมาโดยตลอดจากประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติที่ผ่านมายาวนาน ชาติที่แข็งแกร่งกว่าจะเข้าครอบครองด้วยกำลังเพื่อแย่งชิงผล ประโยชน์ทุกอย่างจากชาติที่อ่อนแอกว่า ในที่สุดจะถูกกลืนหายไปกลายเป็นอดีตเหลือไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้ได้แค่เรียนรู้ พลังอำนาจของกองทัพเกิดขึ้นจากสองส่วนสำคัญคือ อำนาจที่มีตัวตนและอำนาจที่ไม่มีตัวตน  อำนาจที่มีตัวตนนั้นมีความมั่งคั่งก็อาจสร้างได้ง่าย แต่ก็คงไม่สามารถที่จะเนรมิตรได้ในพริบตา สำหรับอำนาจที่ไม่มีตัวตนนั้นเป็นเรื่องของการสร้างขวัญ กำลังใจ ความคิด แนวคิดสำคัญๆให้กับกองทัพ อำนาจส่วนนี้จึงเป็นส่วนสำคัญและได้สร้างยากมาก


 จากการที่เทคโนโลยีได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ล้ำยุคที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างที่ไม่คาดว่าจะได้เห็นในช่วงชีวิตของเรา เราได้เห็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก จนสามารถใช้ถือได้ด้วยอุ้งมือและมีขนาดเบาเสียจนไม่น่าเชื่อว่ามันจะมีขีดความสามารถทำงานได้ทุกอย่างเท่ากับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะทำได้ เราได้เห็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพในการโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตจากเซลล์ทำให้เราเริ่มมองเห็นภาพการชุบชีวิตสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเช่นไดโนเสาร์ อย่างที่เห็นในภาพยนตร์เรื่องจูราสิค พาร์ค นั้นเป็นฝันที่ไม่ไกลเกินความจริง ในอนาคตเราอาจสร้างกองทัพหุ่นยนต์ให้รบแทนทหารประจำการ เราอาจได้เห็นพลังงานแบบใหม่ๆ ยวดยานแบบใหม่ที่ไม่ต้องใช้คนขับอย่างที่เราได้เห็นยานพาธไฟนเดอร์ปฏิบัติภารกิจบนดาวอังคารไกลจากโลกเราถึง 55 ล้านกิโลเมตร   ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในทุกด้านมีผลทำให้ การปฏิบัติภารกิจทางด้านการทหารเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านแนวคิด วิธีการรบ อาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ทำให้ทหารยุคใหม่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการพึ่งพาเทคโนโลยีไปได้   กองทัพประเทศใดที่มีศักยภาพในการคิดสร้างรวมถึงการผลิตได้เอง มีทหารที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีจนสามารถรองรับและควบคุมการใช้เทคโนโลยีในทุกด้าน จะเป็นกองทัพที่ได้เปรียบโดยไม่จำเป็นต้องมีกำลังพลมหาศาล เช่นในอดีต


 สองบทความข้างต้นอาจเป็นสองเรื่องที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่เป็นความจงใจที่ผมอยากดำเนินเรื่องให้เห็นว่า ทุกประเทศหวังความมั่งคั่ง เพื่อสร้างชาติตนให้รุ่งเรือง แต่ต้องไม่ลืมความมั่นคงโดยเด็ดขาด อีกทั้งยังต้องตามให้ทันเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างความมั่นคงที่เหมาะสมและชาญฉลาด

“ปัจจุบันกองทัพไทยให้ความสำคัญกับระบบ UAV เป็นความเร่งด่วนลำดับแรกๆในกระบวนยุทโธปกรณ์ที่มีความสำคัญในการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่ต้องมีเข้าประจำการ”


 กองทัพไทยมีแนวทางในการพัฒนากองทัพมาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่แล้วให้มีขนาดเล็ก มีความคล่องตัว ด้วยการลดกำลังพลที่ไม่จำเป็นลง มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทน ทุกเหล่าทัพได้มีการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกกำลังพลให้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ มีขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความ สามารถทางด้านภาษาที่สองเพิ่มขึ้น มิใช่มีแต่ความเชี่ยวชาญทางด้านการรบเพียงอย่างเดียวเหมือนเช่นแต่ก่อน ทหารยุคใหม่มีความจำเป็นต้องมีคุณลักษณะที่เป็นทหารเอนกประสงค์และติดตามเทคโนโลยีเพื่อสร้างความได้เปรียบอยู่ตลอดเวลา  ซุนซู้ นักการทหารชาวจีนได้บันทึกไว้เป็นตำราศิลปะการทำสงครามไว้เมื่อ 2,500 กว่าปีที่เแล้ว ซึ่งเป็นหลักการทางทหารที่สำคัญและยังคงยึดถือมาจนถึงปัจจุบันว่า รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง กับ ทำอย่างไรถึงจะชนะโดยไม่ต้องรบ ผมขอกล่าวถึงหลักการอันที่สองก่อนหลักการอันแรก เพราะต้องการชี้ประเด็นให้เห็นว่าทหารเองนั้นมิใช่ต้องการรบแต่อย่างเดียวโดยทางปฏิบัติแล้วไม่มีใครอยากที่จะรบเพราะเมื่อรบแล้วมีแต่ความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็จะหลีกเลี่ยงให้ถึงที่สุด แต่ตามที่เกริ่นไว้ในห้วงแรกแล้วว่าผลประโยชน์ของชาตินั้นไม่เข้าใครออกใครถ้าประเทศเรามั่งคั่ง ประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างของเราจนกรอบ การอยู่ร่วมกันก็เป็นไปในลักษณะที่มีความแตกต่างทางสังคมสูง ผลประโยชน์ที่คาบเกี่ยวอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้เช่น ถ้าเกิดมีการพบแหล่งน้ำมันมหาศาลในพื้นที่ชายแดน ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของ ถ้าตกลงกันได้แบ่งผลประโยชน์กันลงตัวเรื่องก็อาจจะจบลงแบบมีความสุข แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงคงไม่ง่ายนักเพราะผลประโยชน์มหาศาลเหล่านี้มักมีมือที่สามที่เป็นชาติมหาอำนาจเข้ามาวุ่นวาย ดังที่เห็นเป็นบทเรียนมาแล้วในประวัติศาสตร์  สงครามนั้นไม่มีใครประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้น บางเรื่องเกิดขึ้นได้เพียงน้ำผึ้งหยดเดียว การมีกำลังที่เหนือกว่าไว้แต่เนิ่นนั้นอาจจำเป็นเพื่อการต่อรองและคุกคามให้เห็นในทำนองว่าอย่ามีเรื่องกับข้าเชียวนะ ไม่งั้นข้าซัดเอ็งไม่เลี้ยง ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ได้เปรียบพูดอะไรก็เสียงดัง เจรจาอะไรก็ง่าย สำหรับหลักการอันแรกนั้นเป็นการเตรียมทุกอย่างให้พร้อมโดยเฉพาะเรื่องของการรู้จักข้าศึก จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับการทหาร การรู้เขาเป็นสิ่งจำเป็นแรกสุด การรู้ว่าใครคือข้าศึกหรือใครจะกลายเป็นข้าศึกในอนาคตว่าเขาคิดอย่างไรกับเรา เขาจะทำอะไรกับเรา เขามีพลังอำนาจแค่ไหน ถ้าจะทำอะไรกับเราจะทำที่ไหนเวลาใด สำหรับในส่วนของการรู้เรานั้นคือรู้ตัวเองว่าเราพร้อม พร้อมแค่ไหนกับการรับมือข้าศึกในสถานการณ์ต่างๆ ภูมิประเทศในแต่ละพื้นที่สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบกับเราและข้าศึกอย่างไร? รวมไปถึงสภาพอากาศในแต่ละห้วงมีผลเกื้อกูลต่อเราและข้าศึกแค่ไหน? เรามีกำลังหรือมีคนช่วยที่มีพลังหรือไม่ที่จะต่อกรกับข้าศึก โดยถ้ารู้เสียอย่างนี้แล้วจะสร้างความได้เปรียบจนไม่มีโอกาสตกเป็นผู้แพ้ แต่การทำให้รู้เรื่องข้าศึกนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก จึงมีความพยายามมาตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันในการสร้างเครื่องหาข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก


 Unmanned Aerial Vehicle (UAV) คือคำตอบที่ลงตัวที่สุดในยุคปัจจุบันสำหรับการติดตามหาข่าวสาร ข่าวสารจะถูกดำเนินกรรมวิธีเป็นข่าวกรอง และกลายเป็นเป้าหมายทางทหาร ปัจจุบันชาติใดที่สามารถควบคุมค้นหาเป้าหมายได้อย่างแม่นยำถูกต้องตั้งแต่ก่อนเข้าทำการรบ ชาตินั้นจะครองความได้เปรียบอย่างมหาศาล ดาวเทียมหรือเครื่องบินจารกรรมอาจมองเห็นจากเบื้องสูงได้ครอบคลุมกว่า แต่ดาวเทียมหรือเครื่องบินจารกรรมก็มีข้อจำกัดในตัวเอง ดาวเทียมนั้นใช้การลงทุนสูง มีเวลาอยู่เหนือพื้นที่จำกัด ต้องวิ่งตามวงโคจร ในขณะที่เครื่องบินจารกรรมก็ใช้เงินลงทุนสูงเช่นกันและมีข้อจำกัดในเรื่องความเป็นมนุษย์ของนักบินที่ไม่สามารถอยู่ได้นานๆในที่แคบๆเป็นวันๆ  “อากาศยานไร้คนขับ” หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า UAV นั้นเป็นความลงตัวที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเป็นตาวิเศษ       วิวัฒนาการของ UAV ได้เดินทางมาไกลจนสามารถใช้งานได้เกือบสมบูรณ์ตามความต้องการทางทหารในปัจจุบัน มีความเป็นเอนกประสงค์สูง ภาพถ่ายทอดสดที่ถูกส่งจากระยะไกลที่มีความคมชัด โปรแกรมควบคุมไปยังจุดหมายได้ ทำงานได้โดยอัตโนมัติทั้งขึ้นและลงได้จากทุกพื้นที่ไม่มีข้อจำกัด บอกตำแหน่งเป้าหมายได้อย่างแม่นยำด้วยระบบ GPS (Global Position System) ราคาไม่แพง หรือทำเองก็ได้อย่างที่เรากำลังทำกันอยู่ในปัจจุบัน  


 ผมใช้เนื้อที่ในบทความนี้เกือบสี่ในห้าส่วนเพื่อชี้ประเด็นเรียงตามลำดับจากภาพรวมใหญ่โฟกัสลงมาจนถึงสุดท้ายนี้เพื่อดึงให้เห็นว่าระบบ UAV มีความจำเป็นกับกองทัพอย่างไร ปัจจุบันกองทัพไทยให้ความสำคัญกับระบบ UAV เป็นความเร่งด่วนลำดับแรกๆในกระบวนยุทโธปกรณ์ที่มีความสำคัญในการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่ต้องมีเข้าประจำการ การใช้งาน UAV ในกองทัพนั้นต้องใช้ UAV หลากหลายรูปแบบตามลักษณะงานของเหล่าทัพ โดยแบ่งระดับการใช้งานไปตามรูปแบบการใช้งานดังนี้  กองทัพบกมุ่งเน้นการใช้งาน UAV ทางยุทธวิธีที่เรียกว่า TUAV (Tactical UAV) กองทัพอากาศนั้นเน้นไปที่ระบบ CUAV (Combat UAV) เป็น UAV โจมตีหรือ UAV ระยะไกลเพื่อใช้ในการลาดตระเวนระยะไกล ส่วนกองทัพเรือนั้นมุ่งเน้น VTUAV (Vertical Take-off & Landing Tactical UAV) ที่ใช้การลาดตระเวนป้องกันกองเรือขึ้นลงทางดิ่ง   ในส่วนของกองทัพบกนั้นระบบ TUAV ยังแบ่งระดับลงไปใช้กับหน่วยระดับต่างๆทางยุทธวิธีซึ่งแบ่งสองส่วนคือ หน่วยดำเนินกลยุทธ์และหน่วยยิงสนับสนุนโดยมีระยะเป็นตัวกำหนดความเหมาะสมว่า หน่วยระดับใดควรใช้ TUAV ระยะใด ในหน่วยดำเนินกลยุทธ์นั้นเป็น TUAV ระยะประชิดถึงระยะใกล้ ระยะจะอยู่ในห้วง 5-150 กิโลเมตร ซึ่งแบบนี้จะเป็น TUAV เบา ถอดประกอบง่ายขึ้นลงได้ตามภูมิประเทศทั่วไป ไม่ต้องการการดูแลมากนัก สำหรับในหน่วยยิงสนับสนุนนั้นระยะขึ้นอยู่กับระยะยิงของอาวุธยิงสนับสนุนซึ่งมีทั้งปืนใหญ่ จรวด ขีปนาวุธ เป็น TUAV ระยะประชิดถึงระยะกลาง ระยะจะอยู่ในห้วง 50-500 กิโลเมตรซึ่ง TUAV พวกนี้จะมีเครื่องมือที่ละเอียดอ่อนโดยเฉพาะเรื่องกล้องในการค้นหาเป้าหมาย  ระยะเวลาบินนาน จึงทำให้ลำตัวมีขนาดใหญ่เพราะต้องบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง จึงต้องอาศัยการขึ้นลงด้วยสนามบิน นอกจากนี้กองทัพบกยังมีความจำเป็นต้องใช้ UAV ในระดับยุทธการ และยุทธศาสตร์กับหน่วยข่าวกรองทางทหารซึ่งเป็น UAV หาข่าว เห็นได้ว่า UAV มีความจำเป็นกับกองทัพเป็นอย่างยิ่งในรูปแบบของสงครามสมัยใหม่ เรื่องของระบบ UAV เป็นของใหม่ แม้แต่คนในกองทัพเองก็ยังมีคนที่มีความรู้ลึกซึ้งกับมันไม่มากนัก แต่นักการทหารรู้ดีว่าหุ่นยนต์ลอยฟ้าตัวนี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการรบ เป็นเครื่องมือที่จะสร้างความได้เปรียบ ชี้เป็นชี้ตาย  เป็นความจำเป็นที่กองทัพต้องมี

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/07/2008 02:53:53


ความคิดเห็นที่ 15


เอ๋ นสรนี้ย่อมาจากหน่วยสงครามพิเศษทางเรือใช่หรือเปล่าหน่วยนี้ใครที่จะเข้ามาประจำในหน่วยนี้ได้จะต้องผ่านการฝึกหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจมหรือเรียกสั่นๆว่าหน่วยซีลหรือมนุษย์กบเสียก่อนว่ากันว่าหลักสูตรนี้หนักหนาสาหัสที่สุดของกองทัพเรือหรือบรรดาหลักสูตรรบพิเศษด้วยกันเพราะฝึกหนักมากและนานด้วยก็ฝึกตั้ง32-34สัปดาห์ก็ราวๆๆ8-9เดือนใครจบได้ถือว่าสุดยอดมากๆๆๆเพราะว่าจำนวนคนที่ไปฝึก100คนจบแค่20-30นายเท่านั้นบางปี10กว่าคนหรือบางไม่มีเลยอย่างรุ่นที่13ไม่มีเลยอย่างปี50ที่ผ่านมีคนจบแค่37คน
โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 29/07/2008 06:27:01