น่าจะเป็น ร.ล.แม่กลอง (หรืออาจจะเป็น ร.ล.ท่าจีน (ลำที่ 1))
น่าจะเป็น ร.ล.ศรีอยุธยา (หรือ ร.ล.ธนบุรี) จอดคู่กับ และ/หรือ ร.ล.คลองใหญ่ ร.ล.ตากใบ ร.ล.กันตัง (ต่อจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งหมด)
ก่อนจะปลดประจำการและกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันนั้น ร.ล.แม่กลองถือได้ว่าเป็นเรือที่ต่อโดยญี่ปุ่นที่ประจำการนานที่สุดในกองทัพเรือไทยครับ มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งเมื่อสัก10-20ปีก่อน ร.ล.แม่กลองได้ออกเดินเรือไปฝึกภาคทะเลที่ต่างประเทศโดยแวะจอดที่ญี่ปุ่น มีชายชราคนถึงเห็นเรือแล้วร้องไห้เข้าไปลูกคลำเหล็กตัวเรือสอบถามได้ความว่าชายชราคนนั้นเคยเป็นหนึ่งในช่างก่อสร้างเรือดังกล่าวครับ(หลังสงครามโลกกองเรือญี่ปุ่นถูกยึดครองโดยฝ่ายพันธมิตรซึ่งเรือรบหลายลำก็ถูกยึดไปด้วย)
มีเรื่องเล่ากันมาอีกเช่นกันครับว่าถึงแม้ว่า ร.ล.ธนบุรีนั้นจะถูกกู้ขึ้นมาและนำมาจอดเทียบท่าในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการกองเรือป้องกันฝั่งระยะหนึ่งก็ตาม แต่การที่ไม่มีการซ่อมเรือเพื่อให้สามารถออกทะเลปฏิบัติการได้อีกครั้งนั้นเป็นเพราะหลังสงครามโลกค่าเงินถีบตัวสูงขึ้นมากและประเมินแล้วถ้าทำการซ่อมจริงๆจะต้องเปลี่ยนระบบภายในใหม่เกือบทั้งหมด(เพราะญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้สร้างเรือถูกยึดครองในขณะนั้นทำให้ไม่มีการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่หลายๆชิ้น) โดยอาจต้องใช้งบประมาณถึง ๒๐ล้านบาท(สูงมากๆในสมัย40-50ปีก่อน) ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวกองทัพเรือสามารถจัดหาเรือที่ใหม่กว่าและสมรรถนะสูงกว่าได้หลายลำในขณะนั้นครับ(เหตุผลคล้ายๆการปลดเรือดำน้ำชุดแรก)