ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เซ็นอนุมัติให้กองทัพบกจัดซื้อยานเกราะล้อยางชนิด 8x8 ยี่ห้อบีทีอาร์ 3 อี 1 (BTR 3 E 1) ผลิตโดยผลิตบริษัท คาร์คีฟ โมโรซอฟ ดีไซน์ บูโร ยูเครน แห่งประเทศยูเครน จำนวน 96 คัน มูลค่า 3.8 พันล้านบาท พร้อมระบบการฝึกศึกษา การอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบการซ่อมบำรุง ทั้งนี้ นายสมัครเซ็นอนุมัติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา แต่ได้ระบุให้แต่งตั้งผู้แทนจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ร่วมตรวจรับเพื่อความโปร่งใส
สำหรับโครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยางดังกล่าว รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อนุมัติให้กองทัพบกจัดซื้อเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2550 ต่อมา พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและส่งเสริมการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมแก่นักการเมือง ข้าราชการและประชาชน สนช. ตรวจสอบคุณธรรมและจริยธรรมของ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เกี่ยวกับการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง และยังระบุว่า สตง.กำลังตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยางชนิด 8x8 ยี่ห้อบีทีอาร์ 3 อี 1 ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความไม่โปร่งใส อีกทั้งมีบริษัทคู่แข่งยื่นร้องให้กองทัพและ สตง.ตรวจสอบข้อพิรุธในการจัดซื้อเนื่องจากคุณสมบัติของยานเกราะล้อยางบีทีอาร์ 3 อี 1 ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กองทัพบกระบุไว้ เช่น ขีดความสามารถในการบรรทุกพลรบพร้อมอุปกรณ์ได้อย่างน้อย 11 นาย แต่บีทีอาร์ 3 อี 1 บรรทุกได้แค่ 9 นาย หรือประตูรถที่เปิดด้านข้าง สำหรับขึ้นลงของกำลังพลซึ่งทำให้กำลังพลมีความเสี่ยงสูง รวมถึงประสิทธิภาพการป้องกันระเบิดใต้ท้องรถหุ้มเกราะ
จากนั้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีหนังสือถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินขอทราบผลการตรวจสอบโครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยางจากยูเครน ซึ่งได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ สตง.ว่า ทาง สตง.ยังไม่มีข้อสังเกต ดังนั้นจึงสมควรให้ดำเนินกรรมวิธีจัดซื้อต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแทน พล.อ.บุญรอด นายสมัครสั่งการเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2551 ให้กองทัพบกนำโครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยางยูเครน กลับไปทบทวนในประเด็นที่มีผู้ร้องเรียนว่าการจัดซื้อไม่โปร่งใส
กองทัพบกแจ้งกลับไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551 ว่ากองทัพยืนยันต้องการซื้อยานเกราะล้อยางจากยูเครน และในวันที่ 23 เมษายน พล.อ.รังสรรค์ แช่มเชื้อ ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ กระทรวงกลาโหม ทำหนังสือเวียนไปยังผู้บังคับบัญชาระดับสูง อาทิ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อพิจารณาอนุมัติ ซึ่ง พล.อ.วินัยเซ็นเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 เมษายน จนกระทั่งทิ้งระยะเวลาไว้ 2 เดือน นายสมัครจึงเซ็นอนุมัติให้กองทัพบกจัดซื้อยานเกราะล้อยางจากยูเครน
ข่าวจาก มติชน online วันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เวลา 22:09:04 น.โครงการเริ่มแรก งบประมาณ 8,000 ล้าน ตัวเต็งจะได้รถ LAV จำนวน 96 คัน...(ทบ.กำหนดความต้องการ 100 คัน)
ต่อมาตัดลดงบประมาณลง ครึ่งหนึ่ง เพราะวิกฤติเศรษฐกิจ เหลือ 4,000ล้าน น่าจะได้รถ LAV จำนวน 48 คัน....
แต่ด้วยอะไรก็ไม่รุ๊ ลืมไปแร่ะ...มีการคัดเลือกใหม่...
จนในช่วง คมช. (2550) มีข่าวได้คัดเลือกรถยูเครน ในวงเงินงบประมาณ 4,000 ล้าน จะได้รถ BTR 3 E1 จำนวน 48 คัน (จำนวนคันเท่าเดิม งบประมาณเท่าเดิม ตามโครงการเดิมของ ทบ. แต่เปลี่ยนแบบจากตัวเต็ง LAV เป็น BTR 3 E1)....
บทสรุปจบท้าย ในวงเงินงบประมาณ 3,800 ล้าน ได้รถ BTR 3 E1 จำนวน 96 คัน (ตรงตามจำนวนความต้องการของ ทบ.) ตกคันละประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราคาก็น่าจะประมาณเนี้ยล่ะครับ.....เพราะข้อมูลเดิม เคยมีบางประเทศซื้อรถมือสอง จากยูเครน ประมาณ 580,000 เหรียญสหรัฐ เป็นราคาน่าจะเกือบ 10 ปีแล้ว)
ความคิดเห็นส่วนตัว.......ผ่าน.....จ้า.......ก็ขอให้ ทบ. ได้ใช้งานคุ้มค่ากับงบประมาณด้วยนะครับ...ไม่ใช่นำมาจอด สำหรับฝึกซ่อมบำรุงเท่านั้น....
แล้ว ยานเกราะล้อยาง ยูเครนก็วิ่งแซงรถเมล์ |
โดย สุวิชชา เพียราษฎร์ | 23 กรกฎาคม 2551 19:14 น. |
|
ไม่ได้เสี้ยม และส่วนตัวก็ไม่ได้คิดอย่างนั้น แต่อีกเดี๋ยวจะมีข่าวลืออีกข่าวตามมา คือ จัดซื้อยุทโธปกรณ์เพื่อเตรียมทำศึกกับกัมพูชา
The thrid accusation in this news is misinterpretation of Manager.co.th who do not understand the military technical team and incorrectly translated it from normal Thai language to Thai language used by newspaper.
I refers to give no comment to the other two charges.
ว้าเวลากองทัพจะซื้ออะไรแต่ละทีทำไมยุ่งยากจังพอไม่ซื้อก็บ่นว่าทำไมใช้แต่ของเก่าโปราณคร่ำคึกน่าจะเปลี่ยนใหม่ได้แล้วแต่พอจะซื้อก็ว่าอีกโปร่งใสหรือเปล่ามีนอกมีในกันหรือเปล่าสงสัยผู้ใหญ่ในกองทัพได้%กันรวยอื้อซ่าไปเลยละสิ(พวกที่ชอบบ่นคือพวกชอบค้านและนักวิชาการทั้งหลายแหล่)ที่ว่ารถรุ่นนี้ได้ก็เพราะเขาเสนอราคามาถูกกว่าเจ้าอื่นเขาเสนอมา96คันราคารวมกันก็แค่3800ล้านบาททั้งทีเจ้าอื่นงบแค่นี้ได้เพียงแค่48คันเท่านั้นสมถรรณะของคันนี้เท่าที่อ่านมาจากกระทู้ในwebมันก็ไม่ได้ขี้เหล่อะไรมากมายนักส่วนเรื่องยางที่ว่ากันไม่สามารถกันกระสุนหรือตะปูเรือใบได้นั้นถ้าเราเอามาทดสอบดูว่าไม่ได้จริงๆๆทบ.เขาคงไม่เอามาหรอกหรืออย่างน้อยๆๆก็ให้ผู้ผลิตไปปรับปรุงให้ตรงความต้องการของเราเขาอยากขายของให้เราเขาย่อมทำตามที่เราสั่งอยู่ไม่มีบริษัทในโลกนี้หรอกที่ไม่ทำตามความต้องการของลูกค้าถ้ามีบริษัทนั้นเตรียมตัวเจ็งได้เลย
ผมเห็นด้วยครับ กับโครงการนี้
เห็นด้วยกับโครงการณ์อย่างน้อยก็ขี้เหร่น้อยกว่าเรว่า ........
ว่าแต่ว่า อาราว่า เหลือกี่ลำครับ ?
เผ่นนนนนนนนนน
เจาะเกมจัดซื้อ รถหุ้มเกราะ ยูเครน เผือกร้อนในมือ สมัคร
โครงการจัดซื้อ รถหุ้มเกราะ กลายเผือกร้อน เมื่อ สมัคร สุนทรเวช ตัดสินใจเซ็นอนุมัติ พร้อมแนบข้อความ เห็นควรแต่งตั้งผู้แทนจาก สตง.ไปร่วมตรวจรับเพื่อความโปร่งใส ซึงกลายเป็นปริศนาที่ทิ้งไว้ให้ กองทัพบก กลับไปคิดเป็นการบ้าน...หรือเปล่า?!?
โครงการจัดซื้อยานเกราะหรือรถหุ้มเกราะล้อยางบีทีอาร์-3 อี 1 ( BTR-3E1) จำนวน 96 คัน มูลค่า 3.8 พันล้านบาท ที่กองทัพบกได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ขิงแก่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้จัดซื้อด้วยระบบรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือจีทูจีจากบริษัทคาร์คีฟ โมโรซอฟ ดีไซน์ บูโร ยูเครนแห่งประเทศยูเครน กำลังกลายเป็นก้อนเผือกร้อนๆ ในมือของ สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในทันทีที่นายสมัครเซ็นอนุมัติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ทำไมจึงเป็นเผือกร้อน?
ก่อนอื่นต้องย้อนลำดับเหตุการณ์โครงการรถหุ้มเกราะล้อยางซึ่งกองทัพบกชงเรื่องมาตั้งแต่ปี 2540 โดยอ้างแผนพัฒนากองทัพปี 2540-2549 เพื่อนำไปประจำการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.)
คณะทำงานเลือกแบบรถหุ้มเกราะล้อยางที่กองทัพบกแต่งตั้งได้คัดเลือกแบบไว้แล้ว 9 แบบ แต่เวลานั้นกองทัพบกไม่มีงบประมาณแผนจัดซื้อจึงถูกดองเค็ม
จนกระทั่งมาถึงเดือนพฤษภาคม 2550 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ฟื้นชีพโครงการจัดซื้ออนุมัติแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อคัดเลือกแบบ รถหุ้มเกราะ อีกครั้งหนึ่ง
คณะทำงานเลือกไว้ 4 แบบ ได้แก่ ลาฟทู (LAV II) ของแคนาดา, บีทีอาร์-80 จากรัสเซีย แพเทรีย เอเอ็มวี ของฟินแลนด์ และบีทีอาร์-3 อี 1 แห่งยูเครน
ในเวลานั้น มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันหึ่งว่า บีทีอาร์-3 อี 1 ผ่านการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกมาได้อย่างไรเพราะยูเครนลอกเลียนแบบจากรุ่น บีทีอาร์-70 ของรัสเซีย
ขณะที่คุณสมบัติต่างๆ ของรถหุ้มเกระยูเครนมีจุดโหว่ เช่น ความสามารถในการบรรทุกพลรบพร้อมอุปกรณ์ของรถบีทีอาร์-3 อี 1 มีเพียง 9 นายเท่านั้น ไม่เข้าเกณฑ์ที่คณะทำงานเลือกแบบที่มี พล.ต.นิวัตร มีนะโยธิน ผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ เป็นประธานกำหนดไว้ว่าจะต้องบรรทุกพลรบพร้อมยุทโธปกรณ์ได้อย่างน้อย 11 นาย ไม่รวมพลประจำรถ
นอกจากนี้ แล้วตระกูลรถหุ้มเกราะของยูเครน เพิ่งผลิตและนำไปเปิดตัวในงานแสดงอาวุธที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อต้นปี 2550 ขณะที่ในข้อกำหนดคุณสมบัติของคณะทำงานเลือกแบบระบุว่า ต้องเป็นตระกูลรถที่ยังคงมีสายการผลิตและมีประจำการอยู่แล้วในประเทศผู้ผลิต รวมทั้งสามารถสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี
ประเด็นที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือ รถหุ้มเกราะของยูเครน ไม่เคยนำเข้ามาทดสอบประสิทธิภาพทางยุทธวิธีและเทคนิคในประเทศไทย มีเพียงนำเสนอแค่ส่งเอกสารให้คณะกรรมการคัดเลือกแบบของกองทัพบกดูเท่านั้น แตกต่างกับรถหุ้มเกราะของแคนาดาและรัสเซียที่มีการจัดส่งของจริงมาให้ฝ่ายไทยทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ในประเทศไทย เมื่อปี 2540
ฝ่ายยูเครนซุ่มเงียบไม่ออกมาตอบโต้ข้อวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้
แต่เมื่อถึงวันประกาศเชิญชวนให้บริษัทที่เป็นตัวแทนรถหุ้มเกราะต่างๆ เข้าเสนอข้อมูล ปรากฏว่าบริษัทเอ็นจีวี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ตัวแทน บีทีอาร์-3 อี 1 กลับคว้าชัยชนะอย่างน่าขาดลอย สร้างความประหลาดใจให้กับบริษัทตัวแทนคู่แข่งอย่างมาก
หลังจากนั้นไม่กี่วัน บริษัท โรสโอโบรอนเอ็กซ์ปอร์ตตัวแทนจำหน่าย บีทีอาร์-80 ที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของทำหนังสือร้องไปยัง พล.อ.สนธิให้ชี้แจงความโปร่งใสในการคัดเลือก
เงื่อนปมดังกล่าวทำให้โครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะกลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าเพราะมีการร้องเรียนไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และหน่วยงานต่างๆ ให้ตรวจสอบหาข้อเท็จจริง โดยมีการตั้งประเด็นความไม่โปร่งใสรวม 13 ข้อด้วยกัน บรรดาแกนนำของกองทัพที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ต่างพากันหยุดชะงักไม่กล้าแสดงบทบาทอุ้มฝ่าย ยูเครน อย่างออกหน้าออกตา
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พล.อ.สนธิกลายเป็นหัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ล้มรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 19 กันยายน 2549 และจัดตั้งรัฐบาล ขิงแก่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
พล.อ.สนธิเหมือนถือดาบอาญาสิทธิ์อยู่ในมือจึงแสดงบทบาทต่อเรื่องนี้อย่างเข้มข้น โดยยืนยันรถหุ้มเกราะยูเครนมีเหมาะสม
ผมส่งคนไปดูที่ยูเครน ที่มีข่าวว่าเป็นรถเก่า ผมก็ให้คนที่ไปดูที่ยูเครน ใช้เพื่อนผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบัน (พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา) ไปดู คือเพื่อนอดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ไปดูว่ามีโรงงานนี้จริงหรือไม่ เมื่อไปดูแล้วถึงได้กลับมาบอกว่ามี และเหมาะสม เป็นรถใหม่ และเราซื้อราคา 25 ล้านบาท ขณะที่เราไปซื้อในบางประเทศประมาณ 80-90 ล้านบาท ดังนั้น ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมทั้งสิ้น ทั้งนี้ รายละเอียดไปถามผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.สนธิให้สัมภาษณ์ระหว่างเป็นประธาน คมช.
พล.อ.สนธิส่งมอบโครงการรถหุ้มเกราะยูเครนให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา จัดการแทนพร้อมๆ กับการผลักดันโครงการนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี รัฐบาล สุรยุทธ์ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550
ครม.ขิงแก่ ไฟเขียวงบประมาณจัดซื้อ 3.8 พันล้านบาท ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ครม.ชุดนี้ผลาญเงินงบประมาณแผ่นดินอย่างอีลุ่ยฉุยแฉก
เมื่อเอกสารโครงการส่งกลับมาถึงมือ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในขณะนั้นเพื่อให้กองทัพบกดำเนินการเซ็นสัญญาจัดซื้อระบบจีทูจีกับรัฐบาลยูเครน พล.อ.บุญรอดชะลอเรื่องไว้โดยสั่งให้สำนักงานงบประมาณ กระทรวงกลาโหม (สป.กห.) ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ รวมถึงข้อมูลการสอบสวนของ สตง.
ปลายเดือนพฤศจิกายน 2550 สำนักงานงบประมาณ กระทรวงกลาโหม ทำหนังสือไปถึงคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อขอทราบผลการพิจารณาโครงการรถหุ้มเกราะยูเครน คุณหญิงจารุวรรณยังไม่ให้คำตอบ แต่ สป.กห.กลับอ้างมีการประสานกับเจ้าหน้าที่ สตง.ได้ข้อมูลมาว่า โดยปกติกรณีไม่มีข้อสังเกต สตง.จะไม่ตอบคำวินิจฉัยไปยังส่วนราชการที่ถูกตรวจสอบ และขณะนี้ระยะเวลาล่วงเลยมาพอสมควรแล้ว ยังไม่มีข้อสังเกตจาก สตง.แต่อย่างใด ดังนั้น สมควรดำเนินกรรมวิธีจัดซื้อตามกระบวนการและขั้นตอนต่อไป
แม้จะได้คำตอบจาก สป.กห. แต่ พล.อ.บุญรอดไม่ได้เดินหน้าโครงการรถหุ้มเกราะ ตรงกันข้ามกลับเก็บแฟ้มเข้าหิ้งจนกระทั่งรัฐบาล ขิงแก่ หมดอายุ
เกมจัดซื้อรถหุ้มเกราะ สะดุดลงอีกครั้ง
เมื่อรัฐบาล สมัคร เข้าบริหารประเทศ แฟ้มโครงการรถหุ้มเกราะ หยิบกลับมาปัดฝุ่นใหม่พร้อมกับลุยหน้าเต็มที่ โดยในวันที่ 21 มกราคม 2551 นายสมัครในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมส่งแฟ้มไปให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา กลับไปทบทวนประเด็นต่างๆที่มีการร้องเรียนความไม่โปร่งใสของโครงการนี้
กองทัพบกใช้เวลาตรวจสอบอยู่เดือนเศษ แจ้งกลับไปที่นายสมัครว่า กองทัพบกยืนยันความต้องการในการจัดซื้อยานเกราะฯ พร้อมกับเหตุผลว่าทำด้วยความรอบคอบ โปร่งใส ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และรัดกุมในแต่ละขั้นตอนผ่านการตรวจสอบและพิจารณาร่วมกับหน่วยต่างๆ ของกองทัพบก ได้แก่ กรมฝ่ายเสนาธิการ กรมฝ่ายยุทธบริการและหน่วยสายวิทยาการที่เกี่ยวข้องตลอดจนหน่วยใช้ยุทโธปกรณ์และยังได้รับข้อคิดเห็นพร้อมทั้งการตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆ นอกกระทรวงกลาโหม (สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงการต่างประเทศและกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี)
กองทัพบกยังยืนยันอีกว่าใช้วิธีการจัดซื้อจีทูจีเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือ เป็นการจัดซื้อในระบบซื้อขายที่ไม่ผ่านคนกลาง ทำให้ได้ยุทโธปกรณ์ที่มีราคาถูกและยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองต่อไป
อนึ่ง การที่รัฐบาลประเทศยูเครนทำตามขั้นตอนต่างๆ ร่วมกับกองทัพบกมาโดยลำดับ ตลอดจนการชี้แจงข้อมูลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและ สตง.นั้น การไม่บรรลุผลในการจัดซื้อ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อความพร้อมรับของกองทัพไทย ในส่วนที่เกิดจากการไม่มียานเกราะล้อยางไว้ใช้งานแล้วยังอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกองทัพบกและรัฐบาลไทยได้ เป็นข้อความที่ระบุในเอกสารของกองทัพบกไปถึงรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551
อีกหนึ่งเดือนต่อมา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมทำเอกสารแจ้งถึงนายสมัคร ในฐานะรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหม แต่นายสมัครทิ้งแฟ้มนี้ไว้บนโต๊ะทำงานนานสองเดือนก่อนตัดสินใจเซ็นอนุมัติพร้อมแนบข้อความว่า
เห็นควรแต่งตั้งผู้แทนจาก สตง.ไปร่วมตรวจรับเพื่อความโปร่งใส
ข้อความท่อนนี้ เป็นปริศนาของนายสมัครทิ้งไว้ให้กองทัพบกกลับไปคิดเป็นการบ้าน...หรือเปล่า?
ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11094
คนเขียนบทความนี้ ของมติชนสงสัยต้องเป็นสมาชิกในบอร์ดเรา หรือไม่ก็เข้ามาหาข้อมูลใน TFC แน่ ๆ เลย
ซื้อมาโดยวิธีถูกหรือผิด คุณภาพดีมากดีน้อย คนใช้จริงๆ เขาไม่สนใจครับ ขอเพียงซื้อมาแล้วได้ใช้ออกรบจริงๆ โดนยิงนัดแรก แล้วพลประจำและทหารราบในรถยังมีสติตอบโต้ข้าศึกได้ บรรเทา หรือลดการสูญเสียของกำลังพลได้ .... นั่นถือว่า ใช้ได้แล้วในสนามรบ.....