หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เอาแล้วครับ บข.20 ส่อแวววือ เพราะท่านผู้ทรงเกียรติ

โดยคุณ : jirat เมื่อวันที่ : 25/07/2008 09:08:43

ที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 พิจารณางบฯกระทรวงกลาโหมเป็นวันสุดท้าย เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม โดยพิจารณากองทัพอากาศ (ทอ.) ที่ได้รับจัดสรร 31,665,379,900 บาท มี พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ เสนาธิการทหารอากาศ ชี้แจงโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ กริพเพน จากประเทศสวีเดน 6 ลำ นายพีระพันธ์ สารีรัฐวิภาค ส.ส.กทม. กมธ.พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตเรื่องการถ่ายทอดข้อมูลและเทคโนโลยีให้กับ ทอ. เรื่องอาวุธประจำเครื่อง เป็นต้น

ทางด้านการประชุม กมธ.วิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้เพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน กมธ.ได้ยกตัวอย่างการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนโดยไม่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทั้งที่รัฐธรรมนูญ 2550 มีผลบังคับใช้แล้ว หากมีใครหรือคณะรัฐมนตรีส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ และมีมติว่าขัดต่อ มาตรา 190 วรรค 2 จะส่งผลให้กองทัพเสียหาย สัญญาระหว่างไทยและสวีเดนจะเป็นโมฆะ เงินที่เสียไปแล้วงวดแรกจะไม่ได้รับคืน จะหารือนายสามารถ แก้วมีชัย ประธานวิปรัฐบาลว่าจะดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร หากอนุมัติพร้อมรวบรวมรายชื่อ ส.ส.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย





ความคิดเห็นที่ 1


ขอโทษครับ หัวข้อกระทู้เขียนผิด ส่อแวววืด นะครับ และลืมเครดิตข่าว จาก ผู้จัดการ ครับ

อ้อฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ แอบอ่านมานาน โพสครั้งแรกครับ

โดยคุณ jirat เมื่อวันที่ 22/07/2008 10:11:04


ความคิดเห็นที่ 2


ผมไม่เข้าใจข้อความตามข่าวครับมันจะวืดอย่างไร รบกวนผู้สันทัดช่วยอธิบายด้วยครับ
โดยคุณ MaDee เมื่อวันที่ 22/07/2008 10:33:25


ความคิดเห็นที่ 3


หากมีใครหรือคณะรัฐมนตรีส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ

ภาวนาอย่าให้ใครบ้าจี้ เลยนะ นี่มันเรื่องความมั่นคง
ไม่ใช่เรื่องการเมืองนี่นา


โดยคุณ nontree เมื่อวันที่ 22/07/2008 10:52:10


ความคิดเห็นที่ 4


แหมมมม ..... นี่แค่ยกแรกเองครับ ยังมีให้มันส์กันอีกเยอะ ^ ^

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 22/07/2008 11:43:25


ความคิดเห็นที่ 5


ฮ่าๆๆๆ

ขำ

เพราะคำว่า อาจจะแท้ๆ 

มาตรา ๑๙๐  พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว

.........................แห้ว แน่ๆ เล่นเกมกันซะ อย่างนี้ย้อนหลังไปเช็คบิลใครได้บ้างหว่า ..................

กรีเป้นเจ้ากรรมเอ๋ย .............

แล้วใครจะกล้าทำการค้ากับเราหว่า

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 22/07/2008 11:47:24


ความคิดเห็นที่ 6


การตีความว่า อาจจะ ทำให้มีผลอย่างนี้แหละครับ

เหมือนเพื่อนผม ตีความผมว่า ผม อาจจะเป็นเกย์ เพราะไม่มีแฟน ......... เลยโดนล้อว่าเกย์มาตลอด

มันเลยกลายเป็นมาตรฐานไปว่า ใครไม่มีแฟน ก็อาจจะเป็นเกย์ได้ .......ต้องมานั่งตีความเป็นกรณีๆไป ...............ถามว่า ถ้าตีความเป็นอาจจะ (โดยที่มันยังไม่เกิดขึ้น เหมือนผมที่ยังไม่เป็นเกย์) มันจะเกิดผลอะไรบ้าง

นี่ก็คือกรณีหนึ่ง ที่คำว่าอาจจะ กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของคำตัดสินของศาล ................

ถ้าศาลตัดสินว่า การเซ็นต์สัญญากรีเป้น ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ  ผมยอมเป็นเกย์เลยเอ้า !!!  ............. ที่ผมกล้าพนัน เพราะว่า ดูยังไงๆ มันก็ขัดรัฐธรรมนูญในแง่ของสัญญาที่ผูกพันกับการค้า งบฯประเทศ .......

แหม่ ยกแรกก็มันซะแล้ว

(ภาวนาว่า ไม่รอดๆๆๆ ตรูไม่อยากเป็นเกย์เฟ้ย )

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 22/07/2008 12:04:18


ความคิดเห็นที่ 7


เรื่อง jas39 ผมว่ามันคนละประเด็นกับ เรื่อง ปราสาทพระวิหารนะครับ


เหตุผล เพราะว่า

มาตรา 190 วรรคสอง

หนังสือสัญญา​ใด​มีบทเปลี่ยนแปลงอาณา​เขตไทย​ ​หรือ​เขตพื้นที่นอกอาณา​เขต​ซึ่ง​ประ​เทศไทยมีสิทธิอธิปไตย​หรือ ​มี​เขตอำ​นาจตามหนังสือสัญญา​หรือ​ตามกฎหมายระหว่างประ​เทศ​ ​หรือ​จะ​ต้อง​ออกพระราชบัญญัติ​เพื่อ​ให้​การ​เป็น​ไปตามหนังสือสัญญา​ ​หรือ​มีผลกระทบต่อ​ความ​มั่นคงทางเศรษฐกิจ​หรือ​สังคมของประ​เทศอย่าง กว้างขวาง หรือ​มีผลผูกพันด้านการค้า​ ​การลงทุน​ ​หรือ​งบประมาณของประ​เทศอย่างมีนัยสำ​คัญ​ ต้อง​ได้​รับ​ความ​เห็นชอบของรัฐสภา​ ​ใน​การนี้​ ​รัฐสภา​จะ​ต้อง​พิจารณา​ให้​แล้ว​เสร็จภาย​ใน​หกสิบวันนับแต่วันที่​ได้​รับเรื่องดังกล่าว


จากเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร  ศาลท่านบอกเหตุผลเอาไว้นะครับ ลองอ่านดู


ศาลปกครองกลาง​ได้​นัดไต่สวนคดีนี้​เมื่อวันที่​ 26 ​มิ​.​ย​. ​และ​มีคำ​สั่งเมื่อเวลาประมาณ​ 02.00 ​น​. ​ของวันที่​ 28 ​มิ​.​ย​.​ที่ผ่านมา​ ​โดย​ได้​ให้​เหตุผล​ใน​การออกคำ​สั่งครั้งนี้​ ​ว่า​ ​จาก​การ​ได้​ตรวจพิจารณาคำ​ขอเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา​ ​และ​เอกสาร​อื่นๆ​ ​ใน​สำ​นวนคดี​แล้ว​ ​เห็นว่า​ ​คำ​พิพากษาของศาลยุติธรรม​ ​ระหว่างประ​เทศที่พยานของนาย​ ​นพดล​ ​ปัทมะ​ ​รมว​.​กระทรวงการต่างประ​เทศส่งต่อศาล​นั้น​ ​ไม่​ได้​ระบุ​เขตแดนระหว่างปราสาทพระวิหาร​กับ​เขตแดนไทยอย่างชัดเจน​  ศาล ปกครองกลาง​ยัง​ระบุอีกว่า​ ​อีก​ทั้ง​เมื่อพิจารณา​แถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย​-​กัมพูชา​ ​ใน​ข้อ​ 1 ​ที่ระบุว่า​ ราชอาณาจักรไทยสนับสนุนการขึ้นทะ​เบียนปราสาทพระวิหาร​ใน​บัญชีมรดกโลก​ ​ซึ่ง​เสนอ​โดย​รัฐบาลกัมพูชา​ ​ตามที่​จะ​ได้​มีขึ้น​ใน​การประชุมสมัยที่​ 32 ​ของคณะกรรมการมรดกโลก​(ที่นครควิ​เบก​ ​ประ​เทศแคนาดา​ ​ใน​เดือนกรกฎาคม​ ​ค​.​ศ​. 2008) ​เขตรอบพื้นที่ ของปราสาทพระวิหารปรากฏตามที่ระบุ​ไว้​ใน​บริ​เวณ​ N.1 ” ​ซึ่ง​ปรากฏว่า​ใน​เขตแดนที่​เกิดขึ้น​นั้น​เป็น​การกำ​หนดบริ​เวณปรา สาทพระวิหาร​โดย​ประ​เทศไทยฝ่ายเดียว​ ​ตามมติคณะรัฐมนตรี​ ​วันที่​ 10 ​ก​.​ค​. ​พ​.​ศ​. 2505 ​ตามคำ​ยืนยันของนายก​ ​ฤต​ ​ไกรจิตติ​ ​อธิบดีกรมสนธิสัญญา​และ​กฎหมาย​ ​กระทรวงการต่างประ​เทศ​ ​และ​นาย​ ​เชิดชู​ ​รักตะบุตร​ ​อัครราชทูตไทยประจำ​กรุงปารีส​ ​ปฏิบัติราชการ​ ​กรมสนธิสัญญา​และ​กฎหมาย​ ​ได้​ให้​ถ้อยคำ​ว่า​ ​การปักปันเขตแดนระหว่างประ​เทศไทย​และ​ประ​เทศกัมพูชา​ ​ที่รวม​ความ​ยาวพื้นที่ชายแดนประ​เทศไทยที่ติดต่อประ​เทศกัมพูชา​ 798 ​กิ​โลเมตร​ ​ซึ่ง​รวม​ทั้ง​เขตแดน​ใน​บริ​เวณปราสาทพระวิหาร​ด้วย​ ​ตามบันทึก​ความ​เข้า​ใจระหว่างประ​เทศไทย​และ​ประ​เทศกัมพูชา​ ​พ​.​ศ​.2543 ​และ​สนธิสัญญาระหว่างประ​เทศไทย​กับ​ประ​เทศฝรั่งเศส​ ​ค​.​ศ​.1904 ​โดย​คณะกรรมาธิการร่วมชายแดนไทย​-​กัมพูชา​ยัง​เจรจาปักปันเขตแดน​ไม่​สำ​ เร็จ​ ​จึง​เชื่อว่า​ยัง​ไม่​มีการปักปันเขตแดนระหว่างประ​เทศไทย​และ​ประ​เทศ กัมพูชา​ใน​บริ​เวณเขตแดนปราสาทเขาพระวิหารโดย​คณะกรรมาธิการร่วมชายแดนไทย​ -​กัมพูชา​ ​ซึ่ง​เป็น​ที่ยอมรับ​จาก​ทั้ง​ประ​เทศเกิดขึ้น​แผนที่​แนบท้ายแถลงการณ์​ ​ร่วมที่กัมพูชา​เป็น​ผู้​จัดทำ​ขึ้น​ ​มีการกำ​หนดเขตรอบพื้นที่ปราสาทอย่างชัดแจ้ง​ ​โดย​ระบุ​ใน​แผนที่ว่า​เป็น​พื้นที่​ N.1 ​แม้พื้นที่ดังกล่าว​จะ​มีบริ​เวณจำ​นวนน้อยกว่า​ ​บริ​เวณปราสาทพระวิหารตามมติ​ ​ครม​. ​เมื่อวันที่​ 10 ​ก​.​ค​.2505 ​ก็ตาม​ ​อาจถือ​ได้​ว่า​ไทย​ได้​ยอมรับเขตแดนรอบพื้นที่ของปราสาทปรากฏตามที่ระบุ​ไว้​ ​ณ​ ​บริ​เวณ​ N.1 ​โดย​ปริยาย​ ​นอก​จาก​นี้​แถลงการณ์ร่วม​ใน​ข้อ​ 4 ​ที่ระบุว่า​ “...​เครื่องหมาย​ N.3 ​ไว้​ใน​แผนที่ที่กล่าว​ถึง​ใน​ย่อหน้าที่​ 1 ​ข้างต้น​ ​ให้​มีการจัดเตรียมแผนการจัดการพื้นที่ดังกล่าว​โดย​วิธีการประสาน​กัน​ ระหว่างรัฐบาลกัมพูชา​ –​ไทยอย่างสอดคล้อง​กับ​มาตรฐานระหว่างประ​เทศด้านการอนุรักษ์​เพื่อที่​จะ ​ธำ​รง​ไว้​ซึ่ง​คุณค่าที่​โดดเด่น​เป็น​สากลของทรัพย์สินนี้​ ​แผนจัดการดังกล่าว​จะ​ถูกรวม​เข้า​ไว้​ใน​แผนจัดการสุดท้ายสำ​หรับปราสาท​ และ​พื้นที่รอบๆ​ ​ปราสาท​นั้น​...” ​ข้อตกลง​ใน​ลักษณะดังกล่าวอาจมีผลผูกพันประ​เทศไทย​และ​อาจทำ​ลายน้ำ​หนัก ​ใน​การอ้างอิงเขตแดนที่​ไทยยึดถือสันปันน้ำ​เป็น​เส้นแบ่งเขตแดนมา​โดย​ ตลอด
       
       ​ดัง​นั้น​ ​คดี​จึง​มีมูลรับฟัง​ได้​ตามคำ​ฟ้อง​ ​และ​การกระทำ​ดังกล่าวอาจทำ​ให้​เกิด​ความ​เสียหายต่อประ​เทศชาติ​และ​ ประชาชน​ซึ่ง​รวม​ถึง​ผู้​ฟ้องคดี​ทั้ง​เก้า​ได้​รับ​ความ​เสียหายต่อไป​ ​อัน​เป็น​ความ​เสียหายที่ยากแก่การเยียวยา​แก้​ไข​ใน​ภายหลัง​ ​อีก​ทั้ง​หากศาลมีคำ​สั่ง​หรือ​กำ​หนดมาตรการ​หรือ​วิธีการคุ้มครองเพื่อ บรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา​แล้ว​ ​ก็​ไม่​มีผลกระทบต่อการบริหารงานของรัฐ​ ​และ​ยัง​เป็น​ประ​โยชน์ต่อประ​เทศไทยที่​ยัง​คงสงวนสิทธิ​โต้​แย้งคำ​ พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประ​เทศ​ ​ใน​คดีปราสาทพระวิหาร​ไว้​เช่นเดิม​ ​จึง​มี​เหตุ​เพียงพอที่ศาล​จะ​กำ​หนดมาตรการ​หรือ​วิธีการคุ้มครองเพื่อ บรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา​ได้
       
       ​จึง​มีคำ​สั่งห้ามมิ​ให้​ผู้​ถูกฟ้องคดี​ทั้ง​สองดำ​เนินการ​ใดๆ​ ​ที่​เป้นการอ้าง​หรือ​ใช้​ประ​โยชน์​จาก​มติของ​ผู้​ถูกฟ้องคดีที่​ 2 ​เมื่อวันที่​ 17 ​มิถุนายน​ 2551 ​ที่​เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย​และ​รัฐบาลกัมพูชา​ ​และ​การดำ​เนินการตามมติดังกล่าว​ ​จนกว่าคดี​จะ​ถึง​ที่สุด​และ​จะ​มีคำ​พิพากษา​เป็น​อย่าง​อื่น


สรุปคือ ศาลท่านเห็นว่า เรายังไม่ได้ ปักปันเขตแดนให้แน่ชัด แล้วเกิดเราจะไปตกลงอะไรกับใครเป็นเอกสารที่อาจส่งผลต่อการปักปั่นเขตแดน และมีผลต่อพื้นที่อาณาเขตของไทย  ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาตามมาในภายหลังในการอ้างสิทธิและการปักปั่นเขตแดน  มั็นก็ไปขัดกับรัฐธรรมนูญที่ได้ระบุเอาไว้นะครับ

ในความคิดอันน้อยนิดของกระผม คิิดว่าศาลไม่ได้มองประเด็นผ่านหรือไม่ผ่านสภา นะครับ 



กลับมาเรื่อง jas39 ต้องมองต่อว่าการซื้อเครื่องบินมัน
มีผลกระทบต่อ​ความ​มั่นคงทางเศรษฐกิจ​หรือ​สังคมของประ​เทศอย่าง กว้างขวาง หรือ​มีผลผูกพันด้านการค้า​ ​การลงทุน​ ​หรือ​งบประมาณของประ​เทศอย่างมีนัยสำ​คัญ หรือป่าวครับ

ถ้าคิดว่ามี รัฐบาลก็ไม่ต้องซื้อของจากต่างประเทศแล้วครับ เรือรบ เครื่องบิน
อาวุธ คงต้องผ่านสภา ความลับของประเทศไม่เหลือ ความโปร่งใส ก็ใช่ว่าจะมีมากขึ้น

รัฐธรรมนูญ มีเอาไว้บอกกันการลักไก่ของนักการเมืองบางจำพวก ที่ไปแอบเซ็นอะไร โดยไม่ได้บอก ให้สภารับทราบ  เช่น เรื่อง เซ็นเขตการค้าเสรี หรือเซ็นอนุญาติให้นำเข้า สินค้า บางตัว โดนที่ส่งผลกระทบต่อคนไทย โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา นะครับ

โดยคุณ แมว เมื่อวันที่ 22/07/2008 12:58:09


ความคิดเห็นที่ 8


เห็นด้วยครับ เพราะสัญญานี้อาจจะเข้าข่ายวรรคสองของมาตรานี้ได้ก็ตรงที่มันมีผลผูกพันด้านการค้า หรือกระทบต่องบประมาณประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

ถ้ามีคนยื่นเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ ก็สามารถใช้ได้แค่นี้ครับ เราก็ต้องมาต่อสู้กันว่ามันจะเป็นยังไง การจัดซื้อนี้ มีผลต่องบประมาณแผ่นดินอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่? และ มีผลผูกพันด้านการค้าหรือไม่ ..... รัฐธรรมนูญท่านใช้คำว่าหรือนะครับ ...... ฉะนั้นต้องมาดู ไอ้การทำงบ 10 ปีซึ่งใช้งบส่วนตัวของทอ.นี้ เข้าข่ายการกระทำที่ มีผลต่องบประมาณแผ่นดินอย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่? ถ้าใช่ก็ผิด ถ้าไม่ใช่ ก็ไปดูอีกอันนึ่งว่า มีผลผูกพันด้านการค้าหรือไม่ ซึ่งก็ต้องวินิฉัยต่อมาว่า คำว่า มีผลผูกพันด้านการค้า คืออะไร? คือการที่รัฐบาลเราซื้อของ ขายของ หรือว่าจะเป็นการที่เราไปประมูลขายของ หรือเปิดประมูลซื้อของ อันไหนที่ มีผลผูกพันด้านการค้า เพราะถ้าไม่อย่างงั้น กรมของพ่อผมเพิ่งสั่งปุ๋ยมาจากต่างประเทศแค่ไม่กี่สิบกระสอบ จะต้องให้รัฐสภา (สส. + สว.) พิจารณาหรือไม่

คดีนี้ไม่ยากเหมือนคดีเขาพระวิหารหรอกครับ อันนั้นน่ะผมเห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลท่านนะ เพราะมันเข้าวรรคสองจริง ๆ ..... ความจริงเอาคดี Gripen ขึ้นศาลรัฐธรรมนูญก็ดีนะครับ เพราะคำตัดสินของศาลถือเป็นบรรทัดฐานอันหนึ่งเหมือนกัน แม้ศาลไม่จำเป็นต้องตัดสินตามที่เคยติดสินมาในอดีตก็ตาม

ปล. เรียนมางู ๆ ปลา ๆ ตก ๆ หล่น ๆ มีอะไรที่ผิดพลาด ท้วงติงได้เด้อ ^ ^

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 22/07/2008 13:32:39


ความคิดเห็นที่ 9


อาจจะต้อง
มีการตีความต่อไปอีกนะครับ ว่า คำว่า มีนัยสำคัญ  นั้นมีความหมายว่าอย่างไร อะไรคือนัยสำคัญ การตีความถ้อยคำในกฎหมายจะต้องยึดเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นสำคัญ

ซึ่งตามความเห็นของผม การมีนัยสำำคัญตามมาตรานี้ จะต้องเป็นกรณีที่มีผลกระทบต่อผลผูกพันด้านการค้า  การลงทุน หรือ งบประมาณของประเทศ อย่างประจักษ์ชัดเเจ้งในสารสำคัญ เช่น อาจทำให้มีงบประมาณผูกพันเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนเ้ป็นภาระหนี้สินให้กับประเทศซึ่งอาจกระทบต่อการหารายได ้หรือสร้างรายจ่ายเ้กินความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้ เป็นต้น

ส่วนคำว่า หรือ ในตัวบทกฎหมาย หมายความถึง หากเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งตามที่กล่าวไว้ในตัวบท ก็ถือได้ว่าต้องด้วยตัวบทมาตรานั้นแล้ว

ส่วนคำว่า และ หมายความถึง จะต้องเข้าองค์ประกอบครบทุกกรณีตามที่บัญญัติไว้ในตัวบท จึงจะต้องด้วยบทบัญญัติมาตรานั้น ๆ ครับ
โดยคุณ ท.กองหนุน เมื่อวันที่ 22/07/2008 13:52:07


ความคิดเห็นที่ 10



สาธุ...อย่าวืดเลยครับ
ไม่อยากให้ประเทศถอยลงคลองไปมากกว่านี้


ปล.เวลาเมาๆ นี่ อ่าน text เยอะๆ แล้วงงจริงๆ >.<
โดยคุณ Zepia เมื่อวันที่ 22/07/2008 14:55:43


ความคิดเห็นที่ 11


มองในแง่การเมือง

ท่านนาย ก. เป็นรัฐมนตรีกลาโหม

ทหารเป็นฝ่ายรัฐบาล

รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฏร

ต้องเอางบทหารเป็นประกันบางส่วน

ในแง่ความมั่นคงทางการเมือง

ผบ.ทอ.เป็นคนเซ็นเอง อยากได้เครื่องบิน

อีกอย่างนึง ในแง่ของงบประมาณรายจ่าย 2551 , 2552 ที่ผ่านมา ก็ได้รับการพิ จารณาจากรัฐสภาแล้วนะ

   มันก็เหมือนกับว่า งบประมาณกระทรวงกลาโหม ทุกอย่างที่จะไปซื้อของชาวบ้านชาวช่องจากต่างประเทศก็ผ่านการพิจารณาจากผู้แทนราษฏรแล้วด้วยจริงมะ อันนี้สิสำคัญ

   เอาง่ายๆตัวรถไฟฟ้าห้าสายที่ต้องเร่งทำ

ก็ต้องพิจารณาผ่านรัฐสภามาแล้วเพราะในแต่ละปีจะมีงบประมาณรายจ่าย 2552 ที่ต้องพิจารณาผ่านรัฐสภา

    เพราะงบประมาณหลายหมื่นล้านบาท

ยังไงเสียก็เป็นงบประมาณผูกพันข้ามปี มีหรือจะไม่ให้ผ่านรัฐสภา...เออเอาดิผมมองช๊อตนี้ต่างหาก

 

 

 

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 22/07/2008 21:03:16


ความคิดเห็นที่ 12



เอาง่ายๆเลยนะครับ การเมืองล้วนๆ รู้กันอยู่ ผบ.ทอ. กินเส้นกับพวกรัฐบาลซะที่ไหน อีกทั้ง พวก ปชป.โปรอเมริกันจ๋าขนาดนั้น งานนี้ มีเสียวครับ พูดตรงๆ
โดยคุณ Johnny_Thunders เมื่อวันที่ 22/07/2008 21:44:03


ความคิดเห็นที่ 13



อีกอย่าง น่าเศร้าใจที่พวกที่นึกตัวเองว่ามีเกียรติ มัวแต่จะเล่นการเมืองทำลายฝ่ายตรงข้ามกันอย่างที่เป้นในขณะนี้ ทำให้ประเทศของเราไม่พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น
โดยคุณ Johnny_Thunders เมื่อวันที่ 22/07/2008 21:46:31


ความคิดเห็นที่ 14


http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000086450

ล่าสุดท่านประธานวิปจะยื่นเรื่องแล้วครับ
ท่านเสี่ย ดูเหมือนค่าคอมท่านอาจจะโดนทวงคืนซะแล้วเนี่ย เหอๆ
โดยคุณ Johnny_Thunders เมื่อวันที่ 22/07/2008 22:00:47


ความคิดเห็นที่ 15


เหอ ๆ ช่างมันเถอะครับ ......... ยื่นไปเถอะถ้าเขาอยากจะยื่น จะเป็นการเมืองอะไรก็ไม้ต้องไปสนใจ เพราะถ้ามันถูก ยังไงมันก็ต้องถูก แต่ถ้าผิด ยังไงมันก็ผิด

ก็อย่างที่ท่านประธานวิปพูดแหละครับ การให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็จะถือเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้การจัดซื้อในอนาคต ถ้าถูกก็จะเป็นบรรทัดฐาน แต่ถ้าผิดก็จะเป็นบรรทัดฐานเช่นกัน ไม่ใช่ว่าเราอยากได้ Gripen แล้วพอเขาจะตรวจสอบก็ไม่ยอมเพราะกลัวอด อย่างงี้มันก็ไม่ถูก สิ่งที่ผิดก็ไม่ได้รับการแก้ไข คนผิดก็ยังผิดต่อไป การจัดซื้อในอนาคตก็อาจจะเสียหายมากกว่านี้ ซึ่งถ้าศาลตัดสินว่าขัด 190 วรรคสองจริง เราก็ต้องยอมรับ และก็ต้องยกเลิกสัญญาที่เซ็นไป ยกเลิกแล้ว กลับไปเซ็นก็ได้ไม่เป็นไรหรอก ไม่เสียอะไรมากหรอกครับ ก็เซ็นซะว่าให้สัญญามันยังคงยึดถือข้อความตามเดิม ก็จบแล้ว ถ้าไม่ได้ต้องยอมรับเพราะมันผิดจริง ๆ แต่ถ้าคุณทำถูกจริง จะกลัวอะไรกับการตรวจสอบครับ? ยิ่งถ้าศาลท่านตัดสินให้ถูก คุณก็จะมีความชอบธรรมในทุก ๆ ด้าน ไม่ดีกว่าหรือครับ?

แต่ถ้าท่านประธานวิปจะยื่นเพราะอยากหาเรื่องแก้เกี้ยวกรณีเขาพระวิหารและอยากแก้แค้นคนที่ล้มท่านมาอย่างเดียว พอเห็นว่ามีช่องจะเล่นได้ก็เล่น ก็ถือว่าท่านจ้องแต่จะเล่นเกมส์การเมืองเพื่อแก้แค้นส่วนตัวอย่างเดียว มันก็คล้าย ๆ เด็กไม่รู้จักโตนั่นแหละครับ ถือว่าไม่ได้ทำเพื่อประเทศอย่างแท้จริง

ไม่ต้องไปซีเรียสอะไรมากครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 22/07/2008 22:22:35


ความคิดเห็นที่ 16


นับตั้งแต่..ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเรื่องกรณีสัญญาลงนามเขาพระวิหาร..ผมไม่กล้า..คิดเรื่องโครงการจัดซื้ออาวุธ ทั้งสามเหล่าทัพเลยครับ....

.....และแน่นอน...อย่างที่คุณนพดล พูดทิ้งท้าย..ในวันประกาศลาออกว่า..คดีนี้เป็นคดีศึกษา....ซึ่งตอนนั้นนักวิชาการหลายสายก็ออกมาตำหนิว่า..อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ เหมือนจะพูดจากล่าวหาศาลรัฐธรรมนูญ 

....เรื่องนี้ ผมไม่มองว่าเป็นการแก้แค้นใคร...เพราะผู้เสียหายไม่ว่าใคร..ก็คือ ประเทศไทย....อย่างที่บอกอย่างที่หลายคนพูด..ว่ารัฐธรรมนูญปี ๕๐ ออกมา มีหลายส่วนต้องมาตีความใหม่  หลายเรื่องที่เคยปฏิบัติอย่างถูกต้องเป็นผิดกฎหมายทั้งเบาและหรือร้ายแรง...

...ระบบราชการ(ตัวข้าราชการเอง)ก็พึ่งได้ เฮ...เมื่อสองวันนี้ หลังจากพิจารณาสามารถเบิกค่าเล่าเรียนได้..ทั้งๆที่ข้าราชการก็เบิกค่าเล่าเรียนได้มาตั้งนมนาน...แต่เมื่อมีการระบุ การเรียนฟรี  ทำให้การเบิกค่าเล่าเรียนของค่าราชการถูกตีกลับเจ้าตัวบอกเบิกไม่ได้...ต้องมาพิจารณากันใหม่..

....ทุกเรื่องมีทางออก  เพียงแต่จะออกทางไหน...แต่..เดาครับว่า..ยังไงยังไร...เรื่องการจัดซื้ออาวุธทั้งสามเหล่าทัพ..ถูกเอาไปตีความแน่..แต่คงไม่ผิดทุกเรื่อง..แต่ทุกเรื่อง..ความเสียหายเกิดขึ้นที่ ประเทศไทย  แล้วอย่างนี้..จะพูดได้ยังว่าใครผิด.....(แก๊สโซฮอล  ชัวร์)

โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 22/07/2008 22:23:58


ความคิดเห็นที่ 17


มีลูกเล่นเสียวแว้บมาเป็นช่วงๆ นึกว่าจะนอนมาแล้วนะเนี่ย (แต่ส่วนตัวผมว่ายังไงก็ต้องมาจนได้นั่นแหละ ปลด F-5 ทิ้งไปแล้วนี่) เอาเถอะ ตรวจสอบก็ตรวจไป


โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 23/07/2008 01:11:07


ความคิดเห็นที่ 18


จะมีอาวุธมารักษาประเทศทั้งทีทำไมมันยากเย็นขนาดนี้ แล้วทางทหารว่าไงมั้งละครับ

โดยคุณ ทอแสง เมื่อวันที่ 23/07/2008 02:10:01


ความคิดเห็นที่ 19


มี ทางไหนที่จะเล่นก็รีบทำเลยเนอะ ท่านวิป จริงๆ แล้ว ผมไม่อยากให้การซื้ออาวุธของเหล่าทัพไปเป็นประเด็นการเมืองเลยนะเนี่ย แต่ถ้าแก้แค้นกันไปมา คนที่เสียหาย ไม่ใช่ใคร ประเทศเราเองไงครับ เท่าที่ทำได้ คือ ขอให้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ก็แล้วกัน

แต่ผมก็เชื่อว่า ยังไงมันก็ต้องมาครับ เพราะเราปลด F-5B/E ไปแล้ว เราก็ต้องมีของใหม่มาแทน แต่อาจจะรอนานขึ้นเท่านั้นเองครับ  ถ้าเรื่องนี้เป็นโมฆะ   

โดยคุณ Exocet เมื่อวันที่ 23/07/2008 05:49:47


ความคิดเห็นที่ 20


ก้างขวางคอ จริงๆเลย 


รัฐบาลชุดนี้ ผ่านมาตั้งนาน  นั่งเเก้อย่างเดียว(เเก้รัฐธรรมนูญ)




ปล.ชายเเดนไทย-เขมร มีปัญหาน่ากลัว ขนาดนี้
รมต.กลาโหม     ยังมัวเเต่โชว์รักสัตว์ ไปดูสุนัข ไปดูเเมว บ้าง ไม่เห็นจะสนใจเรื่องพวกนี้เลย









โดยคุณ oatbcc เมื่อวันที่ 23/07/2008 06:24:34


ความคิดเห็นที่ 21



อืม...ผมไม่อยากพูดไรมากว่ะ
ไม่รุ้พวกที่นึกว่าตัวเองทรงเกียรติคิดอะไรอยู่ ยิ่งประเทศเราเผชิญสถานการณ์พรรค์นี้ ดันมีหน้าจะทบทวนการซื้ออาวุธทางอ้อมแบบนี้อีก
เคยได้ยินว่าเราอยากเป็นสวิสตะวันออก ไม่ทราบว่าประเทศสวิสรักสงบจนเว่อแบบนี้หรือไม่เนี่ย

โดยคุณ Johnny_Thunders เมื่อวันที่ 23/07/2008 07:41:49


ความคิดเห็นที่ 22


อย่าวืดน้า  ป๋มยังอยากเห็นมันในงานวันเด็ก
โดยคุณ galen เมื่อวันที่ 23/07/2008 11:35:59


ความคิดเห็นที่ 23


ถ้าทำกันอย่างถูกต้องตรงไปตรงมา ผมคิดว่าไม่น่าจะชวดอย่างแน่นอน ครับ
โดยคุณ c_hai เมื่อวันที่ 24/07/2008 22:08:44