หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ถามว่ากระสุนปืนใหญ่ที่ผลิตเองมีขนาดใดบ้างครับ

โดยคุณ : tik เมื่อวันที่ : 22/07/2008 16:46:29

มานึกถึงเหตุการณ์ ต่างๆ เลยมานึกถึง การรบที่ร่มเกล้า

ที่มีคนบอกไว้ว่าต้องยืมกระสุนจากสิงคโปร์...

เลยอยากทราบส่วนที่ผลิตได้เองครับ

และถ้าเรายิง ปญ.แม่นๆตามพิกัดที่ (ผตน.บอก) จะประหยัดกระสุนได้มากแค่ไหนครับ

และ ผตน.ของเราปัจจุบัน ฝึกถึงขั้นอ่านรายงานพิกัดเป็น วินาทีได้หรือเปล่าครับ(แม่นแผนที่หรือชัยภูมิประมาณนั้นครับ) อ่านพิกัดแม่นแค่ไหน เพราะ

คิดว่ามีผลกับการทำลายเป้าหมายและทำลายขวัญของฆ่าศึกได้....

โดยเป็นพระเจ้าที่มาเยือน สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในวงล้อมที่คับขันเลยนะในสายตาของผม

ช่วยตอบด้วยนะครับ....หรือถ้ามีรูปก็ดีครับ

 





ความคิดเห็นที่ 1


แล้วถ้าผีตนนั้น(ผตน) กระดกจอนนี่สลากเขียว ก่อนละ

                          ^

                          ^

                          ^

ถ้า ผีตนนั้น  ดันถลึ่งพกจอนนี่สลากเขียวไปด้วย และดันกระดกก่อนแจ้งหลักฐานเป้าหมาย   ผมจะใจกล้าหน้าด้านเดินเข้าไปหาแล้วตบกระบาลซักฉาด ฐานที่กระดกไม่ยอมแบ่งกัน เอ๊ย  มันอาจจะพลาดกระสุนยิงหาผม เอ๊ย ผล ตับนั้น มันอาจจะไปตกที่อินเดียได้   เหอะๆๆๆ

โจ๊ก  จอนนี้สลากเขียวขวดนั้น(ที่เอาไปงานมีทติ้งครั้งล่าสุด) ถือว่าโมฆะ นะ  เพราะพอดีงานเข้าไม่อยู่  ก็เธอซะว่าเป็นส่วยพี่ๆเขาละกัน  ส่วนส่วยระหว่างเรายังคงเดิม        อีกนิด   พี่อ้นทวงสเต็กแล้ว เมื่อไหร่จะกลับมาเลี้ยงฟะ   ถ้าช้าละก็ได้ตามไปเลี้ยงตูข้า ที่ นรา แน่ๆ เหอะๆๆๆ

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 18/07/2008 10:37:06


ความคิดเห็นที่ 2


กระสุน ป.และค.(ปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด) นั้น เท่าที่เคยไปเห็นการผลิตและรับทราบมาก็คือ ในส่วนของปืนใหญ่นั้นหลักๆก็คือขนาด 105 และ 155 มม.(ส่วน  20 และ 40 มม. นั้นไม่แน่ใจว่าเราผลิตเองหรือเปล่า)  ส่วน ค. ก็มี 3 ขนาด คือ  60  81 และ 120 มม. ครับ

 

การยิงปืนใหญ่แม่นยำ นั้น  ถ้าเอาตามระบบพื้นฐานแล้ว มันต้องอาศัยความรวดเร็วและถูกต้องของทุกส่วนคือทั้ง ผตน.(ผู้ตรวจการณ์หน้า)  ศอย. (ศูนย์อำนวยการยิง) และก็ส่วนยิง  ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งช้าหรือผิดำพลาด ก็จะส่งผลถึงความแม่นยำและรวดเร็วในการยิงครับ

 

การทำงานของทั้ง 3 ส่วนที่กล่าวมาข้างต้นง่ายๆก็คือ   ผตน.  จะเปรียบประดุจดวงตา เพราะเป็นผู้ที่เห็นเป้าหมาย  จะทำการส่งข้อมูลหลักฐานเป้าหมาย(มีหลายแบบ)  ไปยัง ศอย.     ศอย.  ซึ่งเปรียบประดุจสมอง   จะทำการเปลี่ยนหลักฐานเป้าหมายให้เป็นคำสั่งยิง  แล้วส่งคำสั่งยิงนั้นไปยังส่วนยิง   ส่วนยิงซึ่งเปรียบประดุจ แขนและขา   จะทำการยิงตามข้อมูลคำสั่งยิงที่ส่งมาจาก  ศอย.     เมื่อส่วนยิง ยิงไปแล้ว   ผตน.ก็จะทำการตรวจตำบลกระสุนตก เพื่อปรับแก้ หรือ ทำการยิงหาผลต่อไป ซึ่งก็จะกระทำตามวงรอบที่กล่าวข้างต้นเป็นวงรอบไป     และอีกส่วนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่อาจมองข้าม นั้นคือ ระบบการติดต่อสื่อสาร เพราะเปรียบประดุจเป็นเส้นประสาทในการสั่งการส่งข้อมูลของดวงตา สมอง และแขนขา ตามที่กล่าวข้างต้น

 

การยิงจะเปลืองกระสุนหรือไม่นั้น ส่วนใหญ่มันอยู่ที่ภารกิจยิงครับ  ยิ่งมีภารกิจยิงมาก มันก็ต้องเปลืองกระสุนมาก  มีภารกิจยิงน้อยมันก็เปลืองกระสุนน้อย มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาครับ........สิ่งที่จะช่วยในเรื่องการประหยัดกระสุน คือ ใช้กระสุนให้น้อยที่สุดที่จะสำเร็จภารกิจมากที่สุดนั้น นอกจากการยิงที่แม่นยำและรวดเร็วแล้ว  การเลือกใช้ชนิดกระสุนและชนวนให้ถูกต้องตามเป้าหมาย  และก็ร้องขอการยิงให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ก็มีผลเช่นเดียวกัน    ไม่ใช่ ตรวจการณ์พบ ทหารราบข้าศึก 5 คนในที่โล่ง ก็ร้องขอการยิงแล้ว ทั้งๆที่ยังสามารถใช้อาวุธในอัตราที่มีจัดการเป้าหมายนั้นได้(การยิงมันมีหลายแบบครับ  เช่น  ยิงตามแผน  ยิงตามสถานการณ์   ฯลฯ)     การเลือกใช้ชนิดกระสุนและชนวนไม่เหมาะสมกับเป้าหมายก็จะทำให้เปลืองกระสุนโดยใช่เหตุ และทำการยิงไม่ได้ผล    เช่น   เป้าหมายเป็นฐานข้าศึก ซึ่งมีคูติดต่อ(คูเหรด)  และบังเกอร์(เบิม) ที่มีที่กำบังเหนือศีรษะ  แต่ดันใช้กระสุนที่ใช้ชนวนแตกอากาศ   ซึ่งความจริงน่าจะใช้กระสุนชนวนถ่วงเวลา(ดีเลย์)มากกว่า   ก็จะทำให้การยิงนั้นได้ผลการทำลายน้อยและเปลืองกระสุนโดยใช่เหตุ

 

การอ่านแผนที่นั้นไม่นานหรอกครับ เป็นวินาทีครับ   แต่การหาพิกัด นี่สิ  ถ้าไม่แม่นก็จะทำให้เสียเวลาและการยิงผิดพลาดได้   ซึ่งขั้นต้น ผตน.  ต้องหาพิกัดตัวเองให้ได้และแจ้งให้ ศอย. ทราบก่อน     ส่วนการระบุตำแหน่งเป้าหมาย   หรือ  การให้หลักฐานเป้าหมายนั้น  มีหลายแบบครับ  ไม่ใช่แค่ระบบพิกัดตารางแบบเดียวครับ      การยิงโดยระบบพื้นฐานซึ่งเป็นระบบแมนนวลเป็นหลักนั้น   เวลาตั้งแต่การร้องขอ จนกระสุนนัดแรกตกลงเป้าหมาย   ยังเป็นนาที ครับ   ถ้าวงรอบมีหลายรอบ  ซึ่งหมายถึงยิงปรับกันหลายครั้ง กว่าจะสามารถยิงหาผลได้(ยิงปรับจะยิงด้วยปืนกระบอกเดียว ส่วนมากจะใช้ปืนที่อยู่ย่านกลาง และยิงครั้งละ 1 นัด....ยิงปรับ  ปืนทั้งหมดในส่วนยิงจะปรับแก้ปืนตามปืนที่ยิงจริง แต่จะไม่ทำการยิงจริง.......การยิงหาผลจะยิงพร้อมกันทั้งส่วนยิง   ส่วนจะยิงกระบอกละกี่นัดก็ตามคำสั่ง     เช่น    ยิงหาผลกองร้อย 3 นัด  ก็หมายความว่า ปืนใหญ่กองร้อยนั้นจะทำการยิงพร้อมกันทั้งหมดโดยยิงกระบอกละ 3 นัด) ก็จะทำให้เสียเวลา และเปลืองกระสุนในการยิงปรับ   และข้าศึกมีเวลาในการเตรียมตัว     ดังนั้นการยิงที่พึงประสงค์ที่สุดคือการยิงหาผลได้ในการยิงครั้งแรก(แต่มันต้องลงตรงเป้าหมายด้วยนะครับ)

 

ปัจจุบัน  ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่  ทำให้การยิงหาผลสามารถทำได้ในการยิงครั้งแรก  ซึ่งหมายถึง  เป็นวินาที    การส่งข้อมูลระหว่างส่วนต่างสามารถส่งหากันได้โดยที่พนักงานไม่ต้องพูดคุยกัน(ส่งเป็น ดาต้า นั่นเอง)    และที่ส่วนยิง ที่ตัวปืนแต่ละกระบอกจะมี จอแสดงผลอยู่  จะแสดงข้อมูลให้เลย(ได้ข่าวว่า  ปืน แอล 119  ที่เราซื้อมาจะมีระบบลักษณะคล้ายๆดังกล่าว)       ซึ่งทำให้การยิงเร็วและแม่นยำขึ้น 

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 18/07/2008 07:54:06


ความคิดเห็นที่ 3


แล้วถ้าผีตนนั้น(ผตน) กระดกจอนนี่สลากเขียว ก่อนละ

 

555

โดยคุณ helldiver เมื่อวันที่ 18/07/2008 07:59:53


ความคิดเห็นที่ 4


เท่าที่ทราบในส่วนของกองทัพเรือนี้เคยเห็นว่าสามารถผลิตกระสุนปืนใหญ่ขนาด 40/70 ที่ใช้กับปืน Bofors ได้ครับ

ส่วนของกองทัพอากาศนั้นสามารถผลิตกระสุนปืนใหญ่และระเบิดรวมถึงจรวดได้หลายแบบเช่น กระสุนปืนใหญ่ขนาด 23mm ที่ใช้กับ บ.L-39ZA/ART(20mm ที่ใช้กับ F-5 และ F-16ไม่แน่ใจ) และระเบิดธรรมดาตั้งแต่ขนาด 250-500ปอนด์ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 18/07/2008 09:45:53


ความคิดเห็นที่ 5


ขอขอบคุณ ทุกท่านครับ ความรู้ใหม่..........เคยแค่กดเครื่องคิดเลขแล้วก็ๆ...........ลงกลางรถถังที่อยู่บนไหล่เขาจำลองครับ

ส่วนFW-190 ชัดเจนครับ

โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 22/07/2008 05:46:31