ถ้าหลังจากโครงการ FX-2 ของ เกาหลีใต้ ที่สั่ง F-15K เพิ่มเติม 20 เครื่อง แถมอีก 1 เครื่อง เป็น 21 ( สงสัยจะยื้อชีวิตตัวเองออกไปอีก เฮือก เผื่อมีลูกค้าใหม่สั่งเพิ่ม ) ก็จะเป็นการปิดสายการผลิต เครื่องบินขับไล่ ตระกูล F-15 ทุกเวอร์ชั่น เพราะฉะนั้นเครื่องบินขับไล่ ขนาดกลาง ถึง ขนาดหนัก ก็จะเหลือเพียง เครื่องบินขับไล่ ตระกูล FULCRUM คือ MIG-29 และ MIG-35 เครื่องบินขับไล่ ตระกูล FLANKER คือ SU-27 / 30 / 32/ 33 /35 /37 โอ้ยเยอะจริง SU-32 น่าจะเป็นตัว โจมตี ทิ้งระเบิดมากกว่าขับไล่ แต่ก็สามารถใช้ สู้กับ บินข้าศึกได้ เมื่อมีการขัดขวางทางอากาศจากข้าศึกได้ F/A-18 E/F SUPER HORNET จาก อเมริโกย เอ๊ย อเมริกา RAFALE จาก ฝรั่งเศส ( เมื่อไหร่จะเกิด นอกบ้านสักที ) EUROFIGHTER 2000 TYPHOON จาก อังกฤษ , อิตาลี่ , เยอรมนี , สเปน
ว่ากันที่ เรื่อง RCS ( RADAR CROSS SECTION ) 1.MIG-29 & 35 มี RCS ขนาดเท่ากับ 1 ตารางเมตร (เท่ากับ F-16 C/D ) 2.SU-35 อันนี้ไม่ทราบข้อมูล ที่แน่ชัด น่าจะ 1 -3 ตารางเมตร ดีไม่ดี อาจจะถึง 5 ด้วยซำเท่ากับ SU-30 3.F/A-18 E/F ดูข้อมูลจาก Wiki มาว่า รุ่น BLOCK 3 อาจจะต่ำกว่า 1 ตารางเมตร คือประมาณ 0.5 - 1 ตารางเมตร F/A-18 E/F BLOCK I และ II ก็ 1 ตารางเมตร 4.RAFALE มีประมาณ 0.5 - 1 ตารางเมตร 5.TYPHOON ก็มีประมาณ 0.5 -1 ตารางเมตร เช่นกัน |
1.F-22 จะตรวจจับเป้าหมาย ที่มีขนาด RCS 1 ตารางเมตร ได้ที่ 200 กิโลเมตร และ จะตรวจจับเป้าหมาย ขนาด 3 ตารางเมตร ได้ที่ 375 - 440 กิโลเมตร 2.SU-35 จะตรวจจับเป้าหมาย ขนาด 3 ตารางเมตร ได้ที่ 350 - 400 กิโลเมตร และ บินขับไล่ที่มี คุณลักษณะ STEALTH ได้ที่ 90 กิโลเมตร 3.TYPHOON จะตรวจจับเป้าหมาย ที่มีขนาด 5 ตารางเมตร ได้ที่ 200 - 272 กิโลเมตร และ จะตรวจจับเป้าหมาย ขนาด 3 ตารางเมตร ได้ที่ 160 - 185 กิโลเมตร 4.RAFALE ก็จะขอบอกว่า SAME SAME กับ ไต้ฝุ่น นั่นแหล่ะ 5.F/A-18 E/F ไม่ต้องพูดถึง โดดเด่น ในเรื่อง แจมเมอร์ การทำ สงคราม อิเล็คโทรนิกส์ และ ELECTRONICS ATTACK สำหรับ อุปกรณ์ อิเล็คโทรนิกส์ ของ F-18 E/F ขอให้ท่าน ลองย้อนกลับไปอ่าน ใน แทงโก้ ฉบับ ย้อนหลัง จากนี้ 3-4 ฉบับน่ะครับ
ปล.ผมว่า F-18 , RAFALE , TYPHOON และ SU-35 สูสีกันน่ะครับ ประมาณว่า ( ขออนุญาติ ใช้คำหยาบ ครับ ) ประมาณว่า มึงล๊อคเป้ากูได้......กูก็ล๊อคเป้ามึงได้ มึงยิงกูได้.........กูก็ยิงมึงได้ แต่ใครจะอยู่หรือใครจะไป.......อันนี้ผมก็ไม่ทราบ RAFALE และ TYPHOON ใช้ METEOR ทีมีระยะยิง 120 กิโลเมตร ส่วน F-22 และ SU-35 อันนี้ผมว่า ยังไงๆ SU-35 ก็โดน F-22 ล๊อคเป้าก่อน และ ก็ยิงก่อน แน่นอน |
เรียนท่าน sherlork ท่านอย่าลืมน่ะครับ ว่าหน้าตัดเรดาร์ RCS ของ SU-35 มันมีขนาดเท่าไหร่ อย่างน้อย ก็ประมาณ 1 - 3 ตารางเมตร อย่างมาก ก็อาจจะไป 5 ตารางเมตรเลย
อย่าลืมน่ะครับ ว่า เราดาร์ ของ F-22 สามารถ ตรวจจับ เครื่องบินที่มี RCS ขนาด 1 ตารางเมตร ได้ที่ 200 กิโลเมตร
และ AIM-120D AMRAAM รุ่นใหม่ล่าสุด มีพิสัยยิงไกล ถึง 180 กิโลเมตร
เพราะฉะนั้น กว่า SU-35 จะ ล๊อคเป้า F-22 ได้ ก็คงโดน ทักทาย ไปสัก ดอก......2 ดอก แล้วครับ หลบได้ หรือ ไม่ได้ ว่ากันอีกที
ถ้านักบิน เก่งพอที่จะมี ชีวิตรอด เข้ามาใน ระยะ 90 กิโลเมตร ได้ ทีนี้แหล่ะ จะเป็นที ของ SU-35 บ้าง
แต่ถ้าบังเอิญ ทั้งคู่เก่งพอ ที่จะเข้าใกล้กันมากกว่านั้นอีก ก็คงต้องเข้า ห้ำหั่น ด้วยการ DOGFIGHT งานนี้ก็ต้องอาศัย ความสามารถของนักบิน และ ประสิทธิภาพ ของตัวเครื่องด้วย แต่ถ้าได้ DOGFIGHT กันก็โอกาศ 50-50 ครับ
เรียนมาเพื่อ ท่าน Sherlork ทราบ
น่าเสียดายน่ะครับ ที่ RAFALE อาจจะอายุสั้น เพราะว่า ถ้าไม่มี ออร์เดอร์ สั่งซื้อ จาก กองทัพต่างประเทศ และถึงช่วงเวลาที่ RAFALE เครื่องสุดท้าย ส่งมอบ ให้กองทัพอากาศ และ กองทัพเรือ ฝรั่งเศส เสร็จเมื่อไหร่ ก็อาจจะเป็นการรูดม่าน ปิดฉากสุดท้ายของ RAFALE
ผมว่า เทคโนโลยี ของ RAFALE ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่า TYPHOON สักเท่าไหร่ บางอย่างอาจจะดีกว่าเสียด้วยซ้ำ อาธิ เช่น ระบบ THALES SPECTRA ที่ครอบคลุมไปถึง Active Cancellation ที่ทำการต่อต้าน คลื่น RADAR ของ ตัวเครื่องบินขับไล่ข้าศึก ทำให้ เครื่องบินมีคุณลักษณะ ตรวจจับได้ยาก และยังเป็นระบบ JAMMING ไปในตัวด้วย
รัศมี ปฏิบัติการ 1,852 กิโลเมตร+ ( 1,000 ไมล์ทะเล+) ในภารกิจ โจมตี ทางลึก Deep Penetration
ส่วนของ ไต้ฝุ่น มีรัศมี ปฏิบัติการ เพียง 1,390 กิโลเมตร (864 ไมล์ ) บินเดินทางได้ไกลสุด 3,790 กิโลเมตร ( 2,300 ไมล์ )
RAFALE : MAX TAKEOFF WEIGHT ( MTOW ) 24,500 กิโลกรัม
TYPHOON : MTOW 23,000 กิโลกรัม
RAFALE สามารถ บรรทุกอาวุธ + ถังเชื้อเพลิงสำรอง มากสุด เป็นน้ำหนัก 9 ตัน ( 9,000 กิโลกรรม ) มีตำบล ติดอาวุธ 14 จุด สำหรับรุ่นของกองทัพอากาศ และ 13 จุด สำหรับรุ่นของ กองทัพเรือ
TYPHOON มีตำบลติดอาวุธ 13 จุด แต่ไม่บอกน้ำหนัก บรรทุกสูงสุดมา
น้ำหนักตัวเครื่องเปล่า
RAFALE : 10 ตัน ( 10,000 กิโลกรรม )
TYPHOON : 1.1 ตัน ( 11,000 กิโลกรรม )
เรื่องน้ำหนักบรรทุก และ MTOW รวมถึง ระยะ ปฏิบัติการ เครื่องบินทั้ง 2 รุ่นเป็นรอง F/A-18 E/F
แต่เครื่องบินทั้ง 2 รุ่นจะโดเด่นกว่าในเรื่อง ความคล่องตัว และความสามารถในการสู้รบในระยะประชิด ( DOGFIGHT )
ใน อนาคต เครื่องบินขับไล่ RAFALE และ TYPHOON จะเปลี่ยนระบบ RADAR มาใช้ แบบ AESA งานนี้ SU-35 ก็ใช่ว่า จะเคี้ยวได้ ง่ายๆน่ะครับ พี่น้อง
เรียนท่าน MIG31 ที่ท่าน บอกว่าจะเขียนกระทู้เกี่ยวกับ RAFALE ครับ เรื่อง ทอ. ที่สนใจ RAFALE คือ บราซิล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) กรีซ และ รายล่าสุด ที่เบื่อปัญหาการล่าช้า ของโครงการ F-35 คือ เนเธอร์แลนด์ หรือ ฮอลแลนด์ ภาษาปากบ้านเรา
ผมปูเสื่อ รอนั่งชมอยู่น่ะครับ
แต่ว่า ราคา RAFALE ถูกกว่า TYPHOON อยู่ประมาณ 10 ล้าน ยูโร มันไม่ใช่น้อยเลย แต่ทำไม TYPHOON ถึงขายดีกว่าหว่า
ผมเคยพูดถึงไว้ว่า ในการต่อสู้ทางอากาศนั้น .....จริงๆแล้วF-22ได้เปรียบจริงหรือเปล่า จากความเป็นสเตลธ์ ? อาจจะป็นไปได้ว่า ถ้าสามารถinterceptสัญญาณเรดาร์ได้ อาจจะเจอRVV-AE รุ่นนำวิถีด้วยIR ที่มีระบบLOAL หรือ ล็อคหลังยิงได้ หมายถึง ถ้าสมมติ ระบบESM และRWR ของซู-35 สามารถตรวจจับเรดาร์เอฟ-22ได้ (ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่ว่า ซู-35มี เรดาร์ด้านหลังด้วย ถ้าทำงานในโหมดพาสซีฟ น่าจะจับได้ไกลอยู่) แต่ไม่ทราบความเร็ว และความสูงที่แน่นอน หลังจากนั้น พิสูจน์จากคลื่นแล้วว่าไม่ใช่ของฝ่ายตัวเอง จึงปล่อยRVV-AE (แอดเดอร์)ที่มีหัวรบIRเข้าไป โดยอาศัยทิศทางของเป้าหมายที่ป้อนมาจากRWR(หรือESM) ...................หลังจากสักพัก เมื่อระยะที่Seekerที่หัวของจรวดพอจะทำงานได้แล้ว จึงทำการล็อคสัญญาณอินฟราเรดที่อยู่ใกล้ที่สุด .......
ถ้าในเคสนี้ เอฟ-22 อาจโดนทักทายก่อน
แต่ปัญหาคือ เอฟ-22 จริงๆแล้วไม่ได้เปิดเรดาร์...............เอฟ-22 จะทำงานร่วมกับAWACS เพื่อลดโอกาสการตรวจจับทางอิเล็คโทรนิคส์เข้าไปอีก ......
กรณีที่ซู-35 โดนยิงก่อน (จากที่เคยทราบมา AIM-120C-7 สามารถใช้ระบบดาต้าลิงค์เพื่ออัพเดทข้อมูลเป้าหมายกับเครื่องบิน โดยAIM-120C-7 จะยิงโดยอาศัยข้อมูลเป้าจากการเปิดเรดาร์เพียงชั่วเสี้ยววินาที หลังจากนั้นเอฟ-22 จะทำการยิงไปยังเป้าหมาย และอัพเดทข้อมูลเป้าผ่านดาต้าลิงค์ โดยเอฟ-22จะทำการเปิดเรดาร์เป็นพักๆ ) AIM-120C-7 ผมไม่แน่ใจว่ามีระยะเท่าไหร่ แต่โดยปกติแล้ว การยิงอวป.BVRนั้น จะต้องมีการเผื่อระยะ ไว้ไม่ต่กว่า 20%ของระยะยิงสูงสุด หรือถ้าระยะยิงไกลสุดราวๆ 120กม. เวลายิง ต้องยิงเผื่อเป้าหมายทำการหลบหลีก ดังนั้นจะยิงจริงๆเมื่อเป้าหมายห่างจากตัวบ.ราวๆ80-90กม. ซึ่งตรงจุดนี้ ซู-35ไม่เสียเปรียบ เพราะระยะยิง90กม.นั้น RVV-AE รุ่นใหม่ๆ สามารถยิงได้สูงสุดที่ระยะ 100-120ไมล์หรือเกิน180กม. ระยะขนาดนี้ ไม่ต้องเผื่อ เจอแล้วยิงได้เลย 90กม.เด็กๆ
โดยส่วนตัว ในเรื่องBVRนั้น ซู-35 อาจจะไม่เป็นรองมากนักครับ
จากชาร์ท เรดาร์ไอร์บิส สามารถตรวจจับเป้าหมายขนาด 0.1ตารางเมตรได้ราวๆ90ไมล์ ส่วนAPG-77 จับเป้าหมายขนาด 3ตร.ม.ได้ที่ระยะราวๆ 130ไมล์
พิสัยยิงของอวป.ของรัสเซีย
สำหรับซู-30 นั้นหมัดเด็ดคืออวป.BVR แบบ IR Seeker ซึ่งเรดาร์ยังเป็นแบบเก่าอยู่ ถ้าใช้เรดาร์รุ่นใหม่อย่างไอร์บิส ที่ติดตั้งบนซู-35บีเอ็ม การต่อตีด้วยBVR Missile ที่นำวิถีด้วยเรดาร์อาจจะดีกว่านี้
เวรกรรม ไม่ติดเลยสักรูป --
เอาใหม่ เเปลงเป็นJPGก่อน
F-22
เห็นความพยายามในการดึงกระทู้เก่าขึ้นมาใหม่ เลยส่งคนมาเป็นกำลังใจ
ให้
เรียนคุณ Topsecret
ข้อมูลบางส่วนผิดนะครับ
RCS ของ F-16 นั้นน่าจะประมาณ 3-5 ตารางเมตร ส่วน RCS ของ MiG-29/35 นั้นน่าจะใหญ่กว่า 5 ตารางเมตร
ส่วน RCS ของ Su-27 ใหญ่ประมาณ 15 ตารางเมตร (ตามข้อมูลที่ลงใน Janes Defence Weekly) คงเป็นไปไม่ได้ว่า Sukhoi จะสามารถลด RCS ของ Su-35 เหลือแค่ 1-3 ตารางเมตร หรอกครับ ขนาดข่าวที่ว่าจีนใช้สีดูดซับเรดาร์ลดขนาด RCS ของ Su-27เหลือแค่ 5 ตารางเมตร ยังไม่มีใครเชื่อเลยครับในความคิดของผม ผมคิดว่า Sukhoiสามารถลด RCS ของ Su-35 เหลือประมาณ 10 ตารางเมตร
AMRAAM รุ่น D นั้นมีระยะยิงไกลสุดประมาณ 100 กิโลเมตรเท่านั้นไม่ไช่ 180 กิโลเมตรส่วน RVV-AV รุ่นติดเครื่องยนต์แรมเจ็ต ระยะยิงอาจจะไม่ได้ไกลถึง180 กิโลเมตร ดีไม่ดีอาจจะไม่ได้เกิดก็ได้เพราะตั้งแต่มีข่าวเกิดปัญหาเกี่ยวกับ การพัฒนา RVV-AV รุ่นติดเครื่องยนต์แรมเจ็ตเมื่อ 4ปีก่อน ก็ไม่มีข่าวเกี่ยวกับRVV-AV รุ่นติดเครื่องยนต์แรมเจ็ต อีกเลย ใน ขณะที่ Meteor ที่ ตอนแรกออกแบบไว้ ที่ระยะยิง150 กิโลเมตร แต่ก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกันจนระยะยิงลดเหลือประมาณ 100 +กิโลเมตร
คุณ Icy ครับ
ภาพที่คุณลงที่ลงในกระทุ้นี้ มาจากเวบ www.ausairpower.net ไช่ไหมครับ
ผมไม่ค่อยมั่นใจเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของเวบนี้เท่าไหร่นัก เท่าที่อ่านใน Military Photo Discussion Forum ว่ากันว่าเจ้าของเวบwww.ausairpower.net เป็นพวกสนับสนุน Upgrade เครื่อง F-111 และเป็นกลุ่มไม่สนับสนุนให้รัฐบาลออสเตรเรียซื้อ F/A-18E/F และ JSF
ต้องขออภัยท่านไนท์วิงนะครับ คือ เห็นท่านโพสดูท่าทางไม่พอใจ แต่ผมโพสไปคืออยากให้ท่านลองอ่านของดร.เค้าก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Novator_KS-172_AAM-L
ตัวนี้ยิงได้250ไมล์ครับ แอแวคส์คิลเลอร์(หรืออย่างน้อยก็ทำให้ต้องหักหลบ และหนีครับ)
สำหรับเว็บAPA นั้น ผมค่อนข้างเชื่อถือในข้อมูลด้านอวิโอนิคส์ของเค้าครับ เพราะมีข้อมูลพื้นฐานรองรับพอสมควร ส่วนเรื่องอื่นนั้น ผมไม่ทราบว่าจะเชื่อถือข้อมูลได้เท่าไหร่ เช่นเรื่อง เอฟ-18 กับเอฟ-111 ผมจะไม่ไปอ่านสักเท่าไหร่ เพราะว่า ไม่เป็นกลางครับ แต่ถ้าเรื่องแฟลงเคอร์ ผมค่อนข้างเชื่อถือเชียวหล่ะ Dr.คาร์โลเจ้าของเว็บ ผมคุยทางอีเมล์กับแกบ่อยๆ แกค่อนข้างต่อต้านแนวความคิดเอาเอฟ-18อี/เอฟ ทำหน้าที่สไตรค์ แทนเอฟ-111 ด้วยเหตุที่ว่า เอฟ-111 เมื่อนำมาปรับปรุงด้านอวิโอนิคส์แล้ว น่าจะมีขีดความสามารถสูงกว่าเอฟ-18ในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องพิสัยบิน ความเร็ว และนน.บรรทุกครับ คุยๆไปแล้วก็เห็นด้วยครับ แต่แกค่อนข้างไม่ชอบเอฟ-18อี/เอฟ เอามากๆทีเดียว (สงสัยเคยไปลองขับมาแล้วไม่ถูกใจ)
โดยคห.ส่วนตัว อยากให้ท่านไนท์วิง ไปลองอ่านดู แล้วใช้วิจารณญาณว่าอันไหนควรเชื่อไม่ควรเชื่อ ดีกว่าไปฟังคนอื่นน่ะครับ อย่างเรื่องอนาไลซิส เกี่ยวกับเอส-300 ที่ผมเคยแปลมาลงที่นี่ ดร.คาร์โลแกหาข้อมูลมาได้ดีทีเดียวครับ
ไอ้เจ้าแอมรามสกี้ติดแรมเจ๊ท ถึงแม้อาจจะล้โครงการณ์พับไปแล้ว แต่อย่าลืมว่า เจ้าRVV-AE ตัวเดิมนี่ก็ไกลพอแล้ว ผมค่อนข้างถูกใจ อลาโม(อนาคตอาจจะเป็นแอดเดอร์)รุ่นหัวIR+ระบบESM มากครับ เชื่อว่าจะเป็นวิธีการต่อต้านบ.รบแบบสเตลธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด ณ ปัจจุบันนี้
ส่วนเรื่องRCSนั้น ข้อมูลRCS ที่ใครมี ก็ไม่ตรงกันหรอกครับ เพราะพวกนี้ถือว่าเป็นข้อมูลลับ เหมือนช่วงความถี่ของเรดาร์แต่ละประเภท สำหรับบ.แต่ละประเภท ที่มีๆกันอยู่นั้น คือการคาดเดา จากโมเดลคอมพิวเตอร์ครับ
เรียนท่าน Icy ครับ
ก่อนอื่นผมขอยอมรับว่าเรื่องวิจารณ์ความน่าเชื่อถือของเวบwww.ausairpower.net โดยรวมที่ผมเขียนในกะทู้ข็างบนเป็นเรื่องอภิมหางี่เง่าสุดๆ และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
เท่าที่อ่านบทความของ Dr Carlo มาข้อมูลโดยรวมน่าจะถูกต้องทั้งหมดแต่ในส่วนที่ผมไม่เห็นกับ Dr Carlo คงเป็นการที่ Dr Carlo ลงความเห็นว่า JSF, Rafale, Typhoon และ F/A-18E/F ถูกจัดในหมวด Low capability category combat aircraft ขอพูดตามตรงนะครับว่าเมื่อ JSF, Rafale, Typhoon และ F/A-18E/F พัฒนาโดยเสร็จสมบูญ พวกนี้คือ High capability category combat aircraft แน่นอนครับ
ส่วน ขีดความสามารถของBVR Missile อย่างAlamoและ RVV-AV นั้นผมคิดว่าขึ้นอยู่กับว่าเอาข้อมูลมาจากไหน และรายระเอียดของข้อมูลคืออะไร
ข้อมูลทั้งหมด ผมอ้างอิงจาก Wikipedia และ F-16.net ครับ
เรื่อง Reduced RCS ผมเอามาจาก wikipedia ในเรื่อง Stealth Aircraft และในหัวข้อ Reduced RCS design
ขออ้างคำกล่าวของ F-16 และ MIG-29 น่ะครับ
F-16 Fighting Falcon C/D and E/F - from Block 30 has got reduced RCS to about 1 m2 ( 1 ตารางเมตร )
Mikoyan MIG-29 SMT - Similar RCS to F-16 C/D
แถมกับ F/A-18 ครับ
F/A-18 Hornet C/D - reduced RCS , belived be to similar to F-16Cs
F/A-18 E/F Super Hornet -reduced RCS , belived to have advanced technology
และในเรื่อง BVR ผมเอามาจาก Wikipedia ล้วนๆครับ
งั้นขอพูดเรื่อง BVR ทั้งหมดเลยแล้วกันครับ
เริ่มจาก AIM-120 AMRAAM ครับ รุ่น AIR-TO-AIR
Operational range
1.AIM-120 A/B : 48 กิโลเมตร ( 30 ไมล์ )
2.AIM-120 C-5 : 64 กิโลเมตร ( 40 ไมล์ )
3.AIM-120 D : 180+ กิโลเมตร ( 112+ ไมล์ )
ต่อด้วย R-77 ( RW-AE ) ชื่อเรียกขาน นาโต้ AA-12 Adder
1.R-77 : 80 กิโลเมตร ( 55.92 ไมล์ )
2.R-77 M1 : 175 กิโลเมตร ( 108.7 ไมล์ )
และต่อด้วย R-27 ชื่อเรียกขาน นาโต้ AA-10 Alamo
1.R-27 R/T : 0.2 กิโลเมตร ( 200 เมตร) ถึง 80 กิโลเมตร
2.R-27 ER/ET : ระยะยิง ตั้งแต่ 200 เมตร ถึง 130 กิโลเมตร
RW-AE ใช้ระบบนำวิถีแบบ Active radar homing
AA-10 ใช้ระบบนำวิถีแบบ Semi-Active radar homing
ข้อมูลทั้งหมดอ้างจาก Wikipedia , the free encyclopedia
เพิ่มเติมครับ R-27
R-27AE ( AA-10 Alamo-E ) นำวิถีด้วย Active radar homing พิสัยยิงตั้งแต่ 1 กิโลเมตร ถึง 130 กิโลเมตร น้ำหนัก 349 กิโลกรัม
MBDA METEOR จาก MBDA
คาดว่าจะพัฒนา มาจาก MBDA MICA เพราะระบบ Seeker ได้ร่วมพัฒนากันระหว่าง MBDAs Seeker Division and Thales Airborne System
METEOR พิสัยยิงไกล 100+ กิโลเมตร ( 60+ ไมล์ ) แต่จะบวกไปอีกเท่าไหร่ ไม่ทราบครับ )
ความเร็วมากกว่า มัค 4
ระบบนำวิถี Active radar homing
เครื่องบินที่จะติดตั้ง : ไต้ฝุ่น , ราฟาล และ แจส-39 กริพเพ่น
ปล.ขอบคุณ ท่าน knightwing ครับที่ทักท้วงครับ อย่างว่าข้อมูลของแต่ละที่ก็ไม่ค่อยจะตรงกันสักเท่าไหร่
แต่ถ้าต่างคนต่างความคิดเห็น แล้วเอามาปรับเข้าหากัน จนได้สิ่งที่คิดว่าแน่นอนที่สุด หรือดีที่สุด ทุกอย่างมันเป็นความรู้ครับ
ความรู้......ไม่มีที่สิ้นสุดครับ
ขอบคุณท่าน ICY ด้วยครับ
โพสกันเยอะๆครับ ต่างคนต่างความคิดเห็นครับ ผมก็อยากได้ความรู้เพิ่มเติมเหมือนกันครับ
ว่าแต่ว่า ผมลืมไปแล้ว ว่า รัสเซีย มี จรวด อากาศ-สู่-อากาศ ที่ยิงได้ไกล 300 กิโลเมตร ใครนึกออกช่วยบอกหน่อยน่ะครับ
ขอบคุณครับท่าน ICY
เจ้า KS-172 นอกจากจะเป็น AWACS KILLER และ TANKER KILLER
อยากรู้ว่า มันจะสามารถใช้กับ เครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่า อย่างเครื่องบินขับไล่ ได้หรือเปล่าครับ ( FIGHTER SIZED )
อย่างนี้สิ..........น่ากลัว จริงๆ นอกจาก เรดาร์ จะมี พิสัยตรวจจับ ได้ไกลแล้ว ยังมี หมัดยาว กว่าชาวบ้านชาวช่องเขาอีก
แต่ยังไงก็ขอบคุณท่าน ICY มากครับ ที่ตอบคำถาม
เรียน ท่าน Icy ครับ
ไม่มีอะไรที่ผมไม่พอใจแน่นอนครับ ผมเห็นด้วยกับความเห็นและคำแนะนำของท่าน Icyด้วยความบริสุทธ์ใจครับ
ส่วนบทความใน เวบAPA ผมอ่านมาแล้วครับและพิจารณาแล้วว่าข้อมูลที่ Dr Carlo ลงถูกต้อง แต่อาจจะมีบทสรุปและข้อมูลบางส่วนที่ผมไม่เห็น ด้วยเท่านั้น
แต่ว่านี่เป็นความแตกต่างเกี่ยวกับแนวคิดของแต่ละคนเท่านั้นครับ ไม่ได้หมายความว่าแนวคิดของใครผิดหรือถูก
เรียนท่าน Top Secret ครับ
ขอบคุณสำหรับแหล่งข้อมูลอ้างอิงครับและเห็นด้วยอย่างยิ่งครับกับคำว่า ความรู้......ไม่มีที่สิ้นสุดครับ
ส่วนที่ KS-172 จะสอย บ ขับไล่ได้หรือไม่นั้น ผมว่าขึ้นอยู่กับตัวเครื่องและสถานการณ์มากกว่าครับ หากยิงในระยะใกล้ และ ตัว บ ขับไล่ ไม่มีระบบป้องกันตัวที่ดี โอกาศโดนสอยน่าจะมีสูง หากยิงในระยะไกล (200-350km) และ ตัว บ ขับไล่ มีระบบป้องกันตัวที่ดี โอกาศโดนสอยน่าจะต่ำเพราะนักบินมีเวลาในรับรุ้จากระบบป้องกันตัว และอาจจะบินหลบ หร์อใช้เป้าลวง หรือ ECM หรืออาจจะใช้ Missile สอยกลับก็ได้
ส่วนอนาคตของ Su-35 รุ่นนี้ น่าจะสดใสกว่า Su-35รุ่นแรก มาก
Su-35รุ่นแรก มีเครื่องต้นแบบถูกสร้างมา 11ลำ และมี Pre Production อยู่ 4ลำ แต่ในปัจจุบัญเหลืออยู่แค่ 2ลำ (Su-35-710และ Su-35UB) ที่ยังใช้งานในการทดลองระบบของSu-35รุ่นใหม่ และ PAK FA ที่เหลือไม่อยุ่ใน Museum หรือไม่ก็โดนถอดเป็นอะไหร่ ส่วนSu-37 Terminator ก็ตกไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 (ข้อมูลอ้างอิงเอามาจากหนังสือ Sukhoi Su-27 เขียนโดย Yefim Gordon)
Su-35รุ่นใหม่มีเครื่องต้นแบบถูกสร้างมา4ลำ โดยมีข่าวว่าเวเนซูเอล่าจะซื้อ24ลำ และลิเบียอาจจะซื้อด้วย ล่าสุดมีข่าวว่ารัสเซียจะจัดซื้อ 24-36ลำ
The Russian air force has asked the nations defence ministry to approve a worthwhile order for Sukhois new Su-35, service commander Gen Aleksandr Zelin revealed during the first official presentation of the type in Moscow on 7 July.
Zelin calls for sufficient aircraft to equip at least two to three regiments, with this indicating interest in 24-36 examples of the new type. Sukhoi general director Mikhail Pogosyan says the Russian air force is being offered a special version of the aircraft optimised for-inner-use, dubbed the Su-27SM2.
The air force is only seeking a limited number of Su-35s, despite its offering significantly greater combat effectiveness than the baseline Su-27. We do not need new aircraft in quantities matching our Su-27 fleet, because the new types have multirole nature, says Zelin.
If approved, deliveries would take place in the 2009-12 timeframe, with the Su-35 to provide an interim solution until the availability of Russias fifth-generation PAK FA fighter, which Zelin says is scheduled to fly next year and to become operational in 2013.
The air force commander also sees the Su-35 as a counter to the US Air Forces Lockheed Martin F-22. We have not seen the Raptor in action yet. What we have seen is how Raptor performs at flight displays. I render the Su-35 as not lagging behind in manoeuvrability, he says.
Sukhois lone Su-35 prototype had by earlier this month completed 22 flights since making its flight debut on 19 February.
Russias air force meanwhile expects to receive its first Kazan Ansat training and Mil Mi-28N night attack helicopters later this year, and to field Yakovlevs Yak-130 advanced jet trainer from 2009, says Zelin. The defence ministry is also preparing a five-year contract with Sukhoi to equip two regiments with Su-34 bombers.
End of the Su-37?
The Su-37s life ended when T10M-11 (serialled 711) was lost in a crash on flying a ferry flight in Russia. The aircraft was not fitted with the TVC engines at the time of the crash. No other Su-35s have been converted to Su-37 specifications, nor has the Su-37 design entered production. The Su-37 was never an official designation recognized by the Russian Air Force. The crash of 711 effectively means the end of the Su-37, although future Su-35 developments will be more like the Su-37 of 1996 than the original Su-35. The possibility remains that the designation Su-37 will be used again in the future for other TVC-engine powered Flanker variants.
ข่าวนี้มาซัพพอร์ท่านไนท์วิงครับ
โดยส่วนตัวไม่เคยรู้มาก่อนว่าเจ้า37 ตกไปเรียบร้อยโรงเรียนซูคอยไปแล้ว
จากข่าวที่ท่านไนท์วิงว่า ผมค่อนข้างแปลกใจกับการเอาซู-35มาประกบและทำตลาดโดยเอาเอฟ-22 เป็นจุดอ้างอิง(ถึงแม้จะชั่วคราวก็ตาม) โดยส่วนตัว ผมนึกว่าจะเอามาเพื่อทำตลาดแข่งกับบ.ยุคที่4.5ค่ายยุโรปมากกว่าโดยเอายูโรคานาร์ดทั้ง3(ยาส ไต้ฝุ่น ราฟาล) เป็นจุดอ้างอิง กลับกลายเป็นว่า เอาซู-35บีเอ็ม มาฟาดกับเอฟ-22(แน่นอนเอฟ-35ด้วย)
แสดงว่า รัสเซียค่อนข้างมั่นใจเรื่องการรบระยะประชิดกับเอฟ-22 เอามากๆ (และมั่นใจว่าระยะBVRก็ไม่เสียเปรียบเท่าไหร่) .........
แต่ฟลีทซู-27 ก็ยังเป็นกำลังสำคัญของทอ.รัสเซียอยู่ ...........ซู-35(หรืออีกชื่อคือซู-27เอสเอ็ม2) ยังไม่เกิดอย่างเต็มตัวในทอ.รัสเซียต่อไป
และอีกข่าวที่น่าดีใจแทนทอ.รัสเซีย ที่ว่าจะเอาซู-34ประจำการ(สักที)