|
ความสูญเสียของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจในพื้นที่เสี่ยงภัย 3 จังหวัดภาคใต้ จากการลอบวางระเบิดและซุ่มยิงเจ้าหน้าที่ฯ ขณะลาดตระเวน ผู้ก่อความไม่สงบจะเตรียมการในพื้นที่ที่ฝ่ายตนได้เปรียบ ด้วยความชำนาญในภูมิประเทศ สามารถหลบหนีได้อย่างรวดเร็ว และการใช้ตะปูเรือใบเจาะยางรถยนต์ สกัดกั้นการติดตามของเจ้าหน้าที่ฯ ทั้งหมดล้วนเป็นปัญหา ซึ่งเป็นอุปสรรคในการทำงานของเจ้าหน้าที่ฯ คณะวิจัยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย พ.ต.ท.กฤษฎากร เชวงศักดิ์โสภาคย์ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 3) วิทยาการจังหวัดตาก นอ.ชูชาติ จิตตรีเหม และ อาจารย์กิติศักดิ์ แต้มทอง จึงหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ยานพาหนะใดที่ใช้ในการลาดตระเวนอย่างปลอดภัย ซึ่งยานพาหนะดังกล่าวจะต้องประหยัด ใช้งานและซ่อมบำรุงง่าย พบว่ามียานพาหนะที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น ยูเอวี พารามอเตอร์ และพาราเพลน เมื่อพิจารณาแล้วพาราเพลนน่าจะเหมาะสมที่สุด จึงร่วมกันสร้างพาราเพลนขึ้น โดยใช้เครื่องยนต์จักรยานยนต์เก่า มาปรับปรุงเพิ่มขนาดลูกสูบ ปรับแต่งคาร์บูเรเตอร์ และได้ช่างแดง แห่งแดงเซอร์วิส ชมรมร่มบินพัทยามาช่วย จนสามารถทำให้บินได้ และได้ติดตั้งอุปกรณ์ วิทยุสื่อสาร เครื่องนำทางจีพีเอส กล้องถ่ายวิดีโอและบันทึกภาพ อุปกรณ์การติดตามการเดินทาง อุปกรณ์ตัดสัญญาณโทรศัพท์ รวมถึงติดเกราะกันกระสุน ปืนสำหรับป้องกันตนเอง ใช้นักบิน 1 คน บินได้นาน 2 ชั่วโมง ด้วยความเร็วประมาณ 30-40 กม./ชั่วโมง สามารถขึ้นลงจากสนามฟุตบอลหรือที่โล่งแจ้ง ได้ทดสอบการใช้งานได้ผลเป็นที่น่าพอใจ คณะวิจัยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี จึงวางแผนออกแบบสร้างเครื่องพาราเพลนขนาด 2 ที่นั่ง เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจในการบินลาดตระเวนและคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ จะได้นำพาราเพลนไปทดสอบประเมินผล พร้อมกับหุ่นยนต์กู้ทำลายวัตถุระเบิดในภาคใต้เร็ว ๆ นี้ ตอนนี้กำลังรับสมัครนักบินพารามอเตอร์อาสาสมัครในการบินทดสอบ ประเมินผล การใช้งานจริง ในพื้นที่ภาคใต้ และขอรับการสนับสนุนในการวิจัยพัฒนาพาราเพลนขนาด 2 ที่นั่ง จากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ที่พิจารณาเห็นความสำคัญของลาดตระเวนเบา ดูรายละเอียดได้ที่ www.aithaikid.com
|
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=53458&NewsType=2&Template=1
|
ความสูญเสียของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจในพื้นที่เสี่ยงภัย 3 จังหวัดภาคใต้ จากการลอบวางระเบิดและซุ่มยิงเจ้าหน้าที่ฯ ขณะลาดตระเวน ผู้ก่อความไม่สงบจะเตรียมการในพื้นที่ที่ฝ่ายตนได้เปรียบ ด้วยความชำนาญในภูมิประเทศ สามารถหลบหนีได้อย่างรวดเร็ว และการใช้ตะปูเรือใบเจาะยางรถยนต์ สกัดกั้นการติดตามของเจ้าหน้าที่ฯ ทั้งหมดล้วนเป็นปัญหา ซึ่งเป็นอุปสรรคในการทำงานของเจ้าหน้าที่ฯ คณะวิจัยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย พ.ต.ท.กฤษฎากร เชวงศักดิ์โสภาคย์ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 3) วิทยาการจังหวัดตาก นอ.ชูชาติ จิตตรีเหม และ อาจารย์กิติศักดิ์ แต้มทอง จึงหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ยานพาหนะใดที่ใช้ในการลาดตระเวนอย่างปลอดภัย ซึ่งยานพาหนะดังกล่าวจะต้องประหยัด ใช้งานและซ่อมบำรุงง่าย พบว่ามียานพาหนะที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น ยูเอวี พารามอเตอร์ และพาราเพลน เมื่อพิจารณาแล้วพาราเพลนน่าจะเหมาะสมที่สุด จึงร่วมกันสร้างพาราเพลนขึ้น โดยใช้เครื่องยนต์จักรยานยนต์เก่า มาปรับปรุงเพิ่มขนาดลูกสูบ ปรับแต่งคาร์บูเรเตอร์ และได้ช่างแดง แห่งแดงเซอร์วิส ชมรมร่มบินพัทยามาช่วย จนสามารถทำให้บินได้ และได้ติดตั้งอุปกรณ์ วิทยุสื่อสาร เครื่องนำทางจีพีเอส กล้องถ่ายวิดีโอและบันทึกภาพ อุปกรณ์การติดตามการเดินทาง อุปกรณ์ตัดสัญญาณโทรศัพท์ รวมถึงติดเกราะกันกระสุน ปืนสำหรับป้องกันตนเอง ใช้นักบิน 1 คน บินได้นาน 2 ชั่วโมง ด้วยความเร็วประมาณ 30-40 กม./ชั่วโมง สามารถขึ้นลงจากสนามฟุตบอลหรือที่โล่งแจ้ง ได้ทดสอบการใช้งานได้ผลเป็นที่น่าพอใจ คณะวิจัยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี จึงวางแผนออกแบบสร้างเครื่องพาราเพลนขนาด 2 ที่นั่ง เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจในการบินลาดตระเวนและคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ จะได้นำพาราเพลนไปทดสอบประเมินผล พร้อมกับหุ่นยนต์กู้ทำลายวัตถุระเบิดในภาคใต้เร็ว ๆ นี้ ตอนนี้กำลังรับสมัครนักบินพารามอเตอร์อาสาสมัครในการบินทดสอบ ประเมินผล การใช้งานจริง ในพื้นที่ภาคใต้ และขอรับการสนับสนุนในการวิจัยพัฒนาพาราเพลนขนาด 2 ที่นั่ง จากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ที่พิจารณาเห็นความสำคัญของลาดตระเวนเบา ดูรายละเอียดได้ที่ www.aithaikid.com |