รัสเซียเสร็จสิ้นการทดสอบเฟสแรกของ Su-35 แล้วครับ เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมาต่อหน้าสักขีพยานทั้งกองทัพรัสเซียและฑูตประเทศต่าง ๆ ....... อย่างที่เราทราบกันดี Su-35BM เป็น Su-35 รุ่นล่าสุดที่มีคุณสมบัติใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามามากมาย
แต่ประเด็นสำหรับกระทู้นี้คงไม่ใช่เรื่องประสิทธิภาพ แต่เป็นคำถามที่ว่า Su-35 จะมีอนาคตในตลาดโลกมากน้อยเพียงใด?
ปัจจุบันนี้ตลาดเครื่องบินรบทั้วโลกมีผู้เล่นมากมาย สำหรับตลาดระดับเครื่องบินขนาดกลาง-ใหญ่แล้วมีผู้เล่นสำคัญอย่าง F-15 ซึ่งกำลังจะปิดสายการผลิตลงถ้าไม่ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่ม และ F/A-18E/F ซึ่งได้เปรียบด้านการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทางค่ายยุโรปก็มี Refale ที่กำลังเข้าใกล้ความจริงในการหาลูกค้ารายแรก และ Typhoon ที่เป็นเครื่องบินที่ทันสมัยที่สุดรองจาก F-22 ส่วนทางด้านจีนเองนั้นในอนาคตจีนก็อาจจะส่ง J-11 เข้าแข่งขันในตลาดโลกถ้าเคลียร์ปัญหาด้านลิขสิทธิ์กับรัสเซียได้ ส่วนฝั่งรัสเซียเองก็มี MiG-35 และ Su-30 ที่ทันสมัยและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงความอ่อนตัวในการผลิตตามความต้องการที่แตกต่างของลูกค้า
ทำให้มองดูแล้ว Su-35 ไม่เพียงแต่ต้องเผชิญหน้ากับคู่ปรับเก่าในยุโรปและสหรัฐ แต่ยังต้องแข่งขันกันเป็นตัวแทนของรัสเซียที่จะเสนอเข้าไปในการแข่งขันของชาติต่าง ๆ ทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันความนิยมในตัว Su-30 นั้นมีสูงมาก เนื่องจากความได้เปรียบหลายประการเช่น การมีนักบิน 2 คนเพื่อลดภาระของนักบิน, ความสามารถที่ทำได้ดีทั้งการขับไล่ครองอากาศและการโจมตีภาคพื้นดิน, รวมไปจนถึงการปรับเปลี่ยนระบบ Avionic จากทั่วโลกได้ตามความต้องการของลูกค้า
ทั้งนี้สนามทดสอบแรกของ Su-35 คือโครงการ F-X2 ที่บราซิลซึ่งต้องการเครื่องบินขับไล่ 36 ลำ และมีอ็อปชั้นที่จะจัดหาเพิ่มเติมจนถึง 120 ลำ แต่ก็ต้องแข่งขันกับ F/A-18E/F, Rafale, Typhoon, และ Gripen NG
ฉะนั้นคำถามคือ....
1. นอกจากกองทัพอากาศรัสเซียแล้ว Su-35 มีโอกาสมากน้อยขนาดไหนในตลาดโลก?
2. และสนามแข่งขันแรกในโครงการ F-X2 ของบราซิลนั้น ท่านคิดว่า Su-35 จะมีโอกาสมากน้อยเพียงใด?
3. ตอนนี้สมมุติง่าย ๆ ว่าถ้าท่านเป็น Rosoboronexport ท่านจะส่งใครเข้าแข่งขันดีระหว่าง Su-30, Su-35, และ MiG-35 ถ้าประเทศลูกค้าไม่ได้กำหนดความต้องการว่าต้องมีนักบิน 1 คนต่อเครื่องเท่านั้น?
4. ท่านจะใช้จุดเด่นอะไรของ Su-35 ในการแข่งขัน และมันได้เปรียบกว่าคู่แข่งอย่างไร?
5. สุดท้ายท่านจะว่าง position (ขออนุญาตใช้ภาษาอังกฤษ) ของ Su-35 อย่างไรไม่ให้มันต้องแข่งขันกันเองหรือกระทบกับบทบาทของ Su-30 และ MiG-35 ในในตลาดโลก
เชิญแสดงความคิดเห็นครับ
1.แม้แต่ทอ.รัสเซีย อาจจะไม่เอาเลยครับ ตอนนี้รัสเซียยังทำSU-27SM ยังไม่เสร็จเลย บ่จี๊ว่างั้น สำหรับตลาดโลกไม่ต้องพูดถึงเลยครับ น้อยประเทศมากที่จะสามารถรับบ.ขับไล่เอนกประสงค์(ที่เน้นทางการครองอากาศ) ขนาดใหญ่ได้ ................สำหรับผมซู-30 ดูดีกว่าครับ การมีWSO เพิ่มมา ทำให้เครื่องบินดูอเนกประสงค์มากกว่า (ฝึกนบ.ก็ได้ด้วย)
2.จำได้ว่าบราซิลยังใช้คฟีร์อยู่ใช่ไหมฮะ ...............สำหรับผม บราซิลต้องการซู-35มาตั้งนานแล้ว อาจจะมีอนาคตครับ .............แต่ก็อาจจะคู่คี่กับกรีเป้น เอ็นจี ครับ
3.ซู-30 ที่นั่งเดี่ยวไม่มีด้วยสิ -- งั้นขอซู-35 ดีที่สุดครับ มิก-35 ยังไงๆมันก็คือมิก-29 ที่ตุ๊ต๊ะขึ้น ผมว่ามันคนละคลาสกันนะครับ แต่ต้องดูด้วยว่า ประเทศที่จะส่งไป มีเงินขนาดไหน ถ้าไม่มากนัก อาจจะส่งมิก-35ไปครับ (โดยเฉพาะชาติที่เคยใช้ 29 มาก่อน)
4.AL-41F มีTVC แรงขับสูงกว่าSU-30(หรือเปล่าหว่า แต่ที่แน่ๆทนทานกว่าเดิม) เรดาร์IRBIS (AESA) Electronic Warfare Suite (ซึ่งอเมริกาไม่น่าขายให้ใครง่ายๆ) แล้วก็ออปชั่นอวป.นำวิถีต่างๆ+สมาร์ทบอมบ์ แถมสาวๆรัสเซียอีก1โหลสำหรับนายพล 555
5. ผมจะวางตลาดบนสุด(รองจากPAK-FA) ขับไล่ เน้นสกัดกั้น ต้องการบ.ยุค4.5 เรดาร์เจ๋งๆ ส่วนซู-30 อาจจะวางตลาดล่างกว่าซู-35
ซู-35บีเอ็ม จะเป็นแฟลงเคอร์ ที่พัฒนาตัวสุดท้าย หลังจากที่สับสนกับแฟลงเคอร์ตัวก่อนหน้านี้มากมาย (เฉพาะที่ขึ้นชื่อว่าซู-27 ผมก็จำไม่หมดแล้ว) ทั้งเวอร์ชั่นที่ใช้ในทอ.รัสเซีย ที่ชื่อซู-35 รุ่นส่งออกที่ชื่อ ซู-27เอ็ม แต่ซู-35ก็แป้กในทอ.รัสเซีย โดยมีประจำการเพียง5เครื่อง ในกรมบินที่273 โดยทอ.ัสเซียเลือกที่จะอัพเกรดฝูงบินซู-27ที่ตนมีเป็นมาตรฐาน ซู-27เอสเอ็ม ซู-35นั้น ก็ยังเป็นเครื่องทดสอบระบบ TVC หรือระบบท่อปรับทิศแรงขับ แบบ2มิติ (น่าจะบน-ล่าง ไม่มีเต็ง-โต๊ด) ซึ่งจะนำไปติดตั้งในซู-37
ซู-35บีเอ็ม ได้รับการวางให้อยู่ระหว่างซู-27เอสเอ็ม เจเนอเรชั่นที่4+ กับ แพ๊ค-เอฟเอ(PAK-FA) เจเนอเรชั่นที่5โดยเจ้านี่จะถูกเรียกว่า บ.เจเนอเรชั่นที่ 4 ++ (2บวก) ซึ่งอยู่ในเจเนอเรชั่นเดียวกับมิก-35 (ถ้าเทียบกับบ.ฝั่งยุโรปน่าจะเป็น กรีเป้น-ดีเค/เอ็น ) โดยจะบินไมเดนไฟลท์(บินครั้งแรก)ในปลายปีนี้ ไม่มีการยืนยันว่าจะได้รับเข้าประจำการในทอ.รัสเซียหรือไม่ หรืออาจจะเป็นแค่การเอาเทคโนโลยีไปใช้ในการอัพเกรดซู-27 รอบสองของทอ.รัสเซีย
รูปร่างภายนอก
ซู-35บีเอ็ม ยังคงใช้แอร์เฟรมเดียวกับซู-27 คือไม่มีคานาร์ด ดูเหมือนซู-27 มากกว่าซู-35ว่างั้น และยังลดน้ำหนักลง 20%ด้วยวัสดุผสม และสีที่ทายังดูดกลืนคลื่นเรดาร์ ทำให้ มีRCS เล็กลง (แต่ผมว่ามันคงไม่เล็กลงเท่าไหร่)
เครื่องยนต์
AL-41F1 มีซูเปอร์ครุยส์(ซูเปอร์ครุยส์:การบินเหนือเสียง โดยไม่ต้องใช้สันดาปท้าย) ให้กำลังเครื่องละ 15,000Kg. กรุณาคำนวณเป็นปอนด์เอาเอง เครื่องซีรี่ส์AL-41 นั้น จะได้รับการติดตั้งในเครื่องบินยุคที่4++ และยุคที่5ของรัสเซีย
ได้แก่ PAK-FA/ MIG-1.44MFI /SU-47 แต่คาดการณ์กันว่า เครื่องยนต์AL-41F1 ยังไม่พร้อมที่จะติดตั้งกับซู-35บีเอ็ม เนื่องจากปัญหาความล่าช้าในการพัฒนา ดังนั้นการบินครั้งแรกของซู-35บีเอ็มจะได้รับการติดตั้งย.AL-41 รุ่นพื้นฐาน ซึ่งมีกำลังขับเท่ากัน แต่ไม่มีความสามารถในการซูเปอร์ครุยส์ โดยเครื่องยนต์ที่จะติดตั้งในPAK-FA มีชื่อรุ่นว่า AL-41F1A เริ่มงงแล้ววุ้ย เอาเป็นว่า AL-41F1 กับAL-41F1A คล้ายกัน แต่น่าจะต่างกันที่รายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ แต่โดยรวมแล้ว เหมือนกันครับ
เครื่องยนต์ AL-41F1 มีระบบ TVC แบบ 3มิติ (บน-ล่าง ซ้าย-ขวา) แน่นอนครับ ซู-25บีเอ็มมี2เครื่องยนต์ กำลังขับรวมจะเท่ากับ 30ตัน ซึ่งเมื่อลองคำนวณกับน้ำหนักตัวที่เบาลง20% เจ้าซู-35บีเอ็ม น่ากลัวที่เดียวทั้งอัตราไต่ ความคล่องตัว
ระบบอวิโอนิคส์และเซนเซอร์
เรดาร์ที่ได้รับการเก็งจากผู้สันทัดกรณี คาดว่าน่าจะเป็นTikhomirov NIIP Irbis-E เรดาร์AESA เลื่องชื่อ แต่ก็อาจจะเป็นPhazotron NIIR radar Sokol III (N031 Zhuk-MSFE) ซึ่งก็เป็นเรดาร์ที่สำนักออกแบบฟาโซตรอนงัดไม้เด็ดมาใส่เต็มที่เช่นกัน
เรดาร์ไอร์บิส-อี เป็นเรดาร์AESA ที่มีความสามารถสูง สามารถติดตามเป้าพร้อมกันได้ 30เป้า (ในโหมด Track while Scan หรือแสกนไปติดตามไป) สามารถ นำวิถีอวป.อากาศ-อากาศแบบเซมิแอคทีฟได้ 2เป้าหมายพร้อมกัน (อันนี้น่าทึ่ง เพราะโดยทั่วไปได้แค่ 1เป้าหมาย) หรือถ้าอยากซัลโวหนักกว่านั้นเชิญใช้บริการ แบบแอคทีฟเรดาร์ ซึ่งทำได้ 8 เป้าหมายพร้อมกัน สามารถตรวจจับเป้าหมายที่มีRCS 3ตารางเมตร (นึกถึงอาลาดินพรมยาว3เมตรกว้าง1เมตร บินทำลูปแนวตั้งฉาก) ได้ 400กม. หรือเป้าหมายแบบสเตลท์ ที่มีRCS 0.01ตารางเมตร(นึกถึงอาลาดินทำแคร็กเกอร์ปลิว)ได้ที่ระยะ 90กม. เอาละวา เอฟ-22 เสร็จแน่ๆ
เอกลักษณืของบ.ตระกูลนี้ ต้องมีเรดาร์ที่หาง ซู-35บีเอ็มติดตั้งเรดาร์แบบOsa เป็นแบบAESA เช่นเดียวกัน แต่ไม่บอกว่ามีความสามารถเท่าไหร่
ส่วนระบบตรวจจับแบบIRST คาดว่าน่าจะใช้ระบบที่ปรับปรุงมาจาก OELS-27 ของซู-27ซีรี่ส์ หรืออาจจะใช้ระบบOLS-35 ของมิก-35 หรือระบบที่เทียบเคียงกันได้ (ระบบOLS-35 ตรวจจับอินฟราเรดจากเป้าหมายภาคพื้นได้ไกลถึง 100กม. เป้าหมายทางอากาศไกลถึง45กม.)
ค็อคพิทมาตรฐานทั่วไป จอLCD 2จอยักษ์(พร้อมดีวีดีและระบบเสียง5.1แชนเนล หรือเปล่า)และจอภาพติดหมวกนักบิน
สุดท้ายกับอาวุธ
อาวุธ อวป.อากาศ-อากาศ ใช้มาตรฐานรัสเซีย ยิงได้หมดทั้งซีรี่ส์ Archer ,Alamo,Adderซึ่งมีรุ่นแยกย่อยจำไม่หวาดไม่ไหว รวมถึงอวป.อากาศ-อากาศ ยิงไกลสุดกู่ 300กม. อย่างKS-172S1 และ R-37M(R-37 ของมิก-31 ดัดแปลง)
หรือจะโจมตีภาคพื้นด้วย Yakhont, Brahmos รวมถึงระเบิดต่างๆนาๆของค่ายหมีขาวได้เกือบทุกแบบ
ผมชอบไอ้ลูกที่อยู่ใต้ท้องนี่แหละครับ ใหญ่สะใจ .....................
ใต้ท้อง น่าจะเป็นยาคอนท์ครับ เวอร์ชั่นยิงจากเครื่องบิน
ใต้อินเทค KH-31 ครับ ไม่แน่ใจว่าA หรือP
แต่ไอ้ใต้ท้องน่ะใหญ่จริงๆฮะ
ปัจจุบันมีการทดสอบให้ บ.Su-30 และ Su-35 ติด อวป.Yakhont/Brahmos ได้1ลูกที่ตำแหน่งกลางลำตัวครับแต่ในอนาคตจะพัฒนาให้ติดที่ปลายปีกให้ได้อีก1ตำแหน่งซึ่งถ้าพัฒนาเสร็จ บ.Flanker 1ลำจะติด Brahmos ได้3ลูกซึ่งมีอำนาจการยิงคุกคามกองเรือสูงมากครับ
ตอบคำถามจากหัวข้อครับ
1.ปัจจุบันในตลาด บ.ขับไล่ขนาดใหญ่นั้น บ.ตระกูล Flanker ได้รับการตอบรับที่ดีในการจัดหาจากหลายๆประเทศครับ แต่ในส่วนของ บ.Su-35 นั้นก็เชื่อว่ามีหลายประเทศสนใจอยู่เช่นกันแต่ก็ขึ้นอยู่กับอนาคตของ บ.เช่นกันว่าจะมีการตอบรับจริงๆแค่ไหน คงต้องมาดูว่า บ.Su-35 จะมีประเทศใดจัดหาไปใช้งานต่อหรือไม่ครับ รวมถึงการจัดหาไปใช้โดยรัสเองด้วย ตัวอย่างเช่น ฮ.Mi-28 รุ่นส่งออกนั้นก็มีข่าวว่าเวเนซุเอล่าสนใจจะจัดหาไปใช้ครับเนื่องจากกองทัพบกรัสเซียได้มีการทะยอยจัดซื้อ ฮ.Havoc จำนวนมากเพื่อใช้เป็น ฮ.โจมตีหลักของกองทัพ
2.บ.ขับไล่หลักของบราซิลที่ผ่านมานั้นเป็นระบบตะวันตกมาตลอดครับเช่น F-5 และ Mirage 2000 สำหรับโครงการ F-X2 ของบราซิลส่วนตัวคิดว่า Rafale มีโอกาสมากกว่าครับในขณะที่ Gripen นั้นดูเล็กเกินไป และระบบ Flanker นั้นเวเนซุเอล่าก็มีการจัดหาไปใช้ครับ แต่ก็ไม่แน่ครับสำหรับ Su-35
3.น่าจะมีการสนับสนุน บ.ทั้ง3แบบพร้อมๆกัยครับเพราะ บ.ในตระกูลนั้นทั้ง Falcrum และ Flanker รุ่นใหม่ก็มีหลายประเทศจัดหาไปในช่วง 5ปีนี้ครับ แต่ บ.ตระกูล Flanker นั้นจะได้รับความสนใจในการจัดหามากว่า ซึ่งทาง Rosoboronexport คงจะส่ง Su-35 เข้าแข่งขันครับถ้าเป็นโครงการจัดหาระยะยาว แต่ถ้าเป็นระยะสั้นน่าจะส่ง Su-30 ครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดปลีกย่อยในความต้องการของลูกค้าเป็นหลักครับ เช่น ราคา ขนาดเครื่อง ภารกิจ ฯลฯ
4. และ 5. คล้ายกับคุณ icy_CMU ครับคือ ระบบ Radar และอาวุธที่ทันสมัย ย.กำลังสูง บรรทุกอาวุธได้มาก ซึ่ง Su-35 จะเป็น บ.ขับไล่ขนาดหนักชั้นแนวหน้า Top class ที่มีราคาถูกกว่าเล็กน้อย และมี Option อาวุธ-อุปกรณ์ที่อ่อนตัว(ใช้ได้หลายค่าย)น่าสนใจกว่าครับถ้าเทียบกับ บ.อื่นในชั้นเดียวกันเช่น Typhoon หรือ Rafale
ที่บ้านผมมีประจำการอยู่หนึ่งตัว
เข้ามาอ่านและตอบมั่งตามประสาคนรัก ซู แต่ขอตอบแบบรวมๆ คาดว่าหากรัชเซียจะเสนอขายเครื่องบิน คากว่าคงจะเสนอทั้ง ซู-30 ซู-35 และ มิก-35 ทีนี้อยู่ที่ผู้ที่ต้องการใช้งาน ว่าต้องการเครื่องบินในลักษณะใด ถ้าต้องการเครื่องบินของรัชเซียไปใช้จริงและต้องการขนาดกลางก็คงสนใจ มิก-35 อยู่ แต่ถ้าต้องการแบบบิ๊กๆ ก็ต้องดู ซู-30 และ ซู-35 แต่ว่าภารกิจจะเน้นภารกิจแบบไหน ถ้าเน้นแบบขับไล่โจมตีหลายภารกิจก็น่าจะมองที่ ซู-30(มันเลยมีที่นั่งหลังสำหรับนายทหารสรรพาวุธด้วย) แต่ถ้าจะเอาครองอากาศ ซู-35 ก็น่าสนอยู่ แต่ว่า.. ซู-30 มันสามารถติดระบบได้ตามความต้องการของลูกค้าได้แบบมีประสปการณ์แถมสามารถใช้ในภารกิจครองอากาศได้เช่นกัน ส่วน ซู-35 มีระบบใหม่ๆเข้ามาและอาจจะมีความคล่องตัวสูงกว่า ซู-30 ก็เป็นได้ อีกทั้งระบบต่อสู้แบบ แอร์-ทู-แอร์ น่าจะมีอะไรที่น่าจะเจ๋งกว่า ซู-30 บ้างแหละ(ก็ต้องงั้นแหละ ไม่งั้นจะพัฒนามาทำซากอะไร สู้ไปต่อยอด ซู-30 ไม่ดีกว่าเรอะ ปาดโธ่) และ ซู-35 ก็น่าจะใช้ทำภารกิจโจมตีได้ แต่น่าจะเหนื่อยหน่อยสำหรับนักบินที่ต่างจาก ซู-30 ที่มีคนใช้อาวุธแทน นักบินทำหน้าที่ขับเครื่องบินอย่างเดียว ทีนี้ผู้ซื้อต้องมองตัวเองแล้วว่า จะมีไว้เน้นถล่มฝ่ายตรงข้ามหรือจะเอามาไล่ฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าถามว่า ซู-35 กับ ซู-30 ถ้าสำหรับ บราซิล ผมว่า ซู-35 มาวิน เหตุผล..เพราะบราซิลต้องการเครื่องบินขับไล่มากกว่าเครื่องบินโจมตี แต่เนื่องจากอาณาเขตุประเทศที่กว้างใหญ่จึงจำเป็นต้องหาเครื่องบินที่บินได้ไกล บราซิลจึงสนใจ ซู-35 มากกว่า
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ ไม่ฟันธง เพราะผมไม่ใช่หมอลักษณ์
อ่านเเล้ว กะอักเลือดเเบบจิวยี่ รุ้นใหญ่ยักได้ใจเลยครับ น่าสนใจมากเลยบ.เเบบนี้ งั้นก็ต้องมาตั้งตารอกันละครับว่า อนาคตจะเป็นยังไงกัน หรือ จะเเห้วเเบบสาวฝรั่งเศสครับ อยากทราบจริง ขอถามอะไนหน่อยนะครับ SU-35 ซัดกับ F-22 เเบบบรรทุกเต็มอัตรา อากาศ-อากาศทั้งลำ ใครจะชนะครับ ไม่มีเอเวค ไม่มีภาคพื้นครับ ใครจะร่วงก่อนครับ
ผมเป็นแฟนตัวยงของ SU-30 พอเห็นสเปก SU-35 แล้วหัวใจพองโต แบบว่าอยากได้ให้ทอ.มีใช้จนตัวสั่นครับ เรด้าร์เดิมว่าเจ๋งสุดๆแล้ว เรด้าร์รุ่นนี้เจ๋งกว่าเยอะ โดยเฉพาะที่มันสามารถตรวจจับบ.แบบ F-22 ได้ที่ระยะ 90 กม. ซึ่งไกลพอที่จะยิงด้วย R-77 ในโหมดเซมิแอคทิฟได้ 2 ลูกพร้อมกัน ส่วนระบบ IRST นั้นสามารถตรวจจับเป็หมายอากาศยานได้ไกล 45 กม. ก็ไกลพอที่จะส่ง R-74 รุ่นใหม่ไปสอยได้
เรียกได้ว่าแม้มันจะซ่อนตัวทางด้านเรด้าร์ไม่ได้มาก แต่เครื่องเสตลธ์เองก็ยากที่จะซ่อนตัวหลบจาก SU-35 ได้ยากขึ้นมากเช่นกัน เรียกหูตาดีพอที่จะสอย F-22 ได้ และที่สำคัญสามารถจัดหาซื้อได้ในขณะนี้ด้วยราคาที่ยุติธรรม ประเทศทีมีไว้ใช้สามารถอุ่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าสามารถต่อกรกับเครื่องเสตลธ์แบบใหม่ได้ในระดับที่น่าพอลุ้นทีเดียว
อัตรากำลังเครื่องยนต์ต่อนน.ตัว ผมว่าเครื่องรุ่นนี้น่าจะสุดยอดแล้วในบรรดาเครื่องขับไล่ทั้งหมดที่มีในท้องตลาด
และสุดท้ายถ้าการพัฒนาที่จะให้ติดตั้ง Brahmos ได้ 3 ลูกต่อลำ จะเป็นภัยคุกคามต่อกองเรือบรรทุกบ.ขนาดหนักที่น่าหวั่นไหวไม่น้อยครับ เพราะโป้งเดียวรับประกันได้ว่าเรือขนาด 911 จมได้
คิดเห็นเมือนท่าน neosiamese เป๊ะ เลยครับ...เมื่อไร่พี่ไทยจะมีไว้ควบมั่งน้อออ... ถ้ามีเจ้า SU35 นี่ละก็ เหอะ เหอะ ....แค่คิดก็เสียวแล้วล่ะครับ....
ปล.. ถ้าติด Brahmos ได้เนี้ย เยี่ยมเลยครับ
1.น้อย ถ้าราคาไม่ดีจริง เศรษฐกิจโลกย่ำแย่อย่างนี้ เครื่องที่ค่าใช้จ่ายต่ำน่าจะดูดีกว่า หรือถ้าขายได้ น่าจะเป็นประเทศที่มี ซู ใช้อยู่แล้ว...
2.น้อย เพราะค่อนข้างต้องไปรื้อระบบจากตะวันตกใหม่ นอกเสียจากว่าทางรัสเซียจะใจป้ำสุดๆ ผมว่า eurofighter น่าจะได้ไปครับ รองมาเป็นกรีปเป้นNG แล้วก็ราฟาล(จริงๆน่าจะได้ขึ้นอันดับหนึ่ง แต่ถ้าราฟาลยังเล่นค่าตัวแบบนี้ก็ไม่ได้เกิดละครับ)
3.เสนอหมดละครับ.....แต่ถ้าจะเชียร์แบบออกนอกหน้า คง 30เพราะการมีสองนักบินดูอเนกประสงค์กว่า โดยเฉพาะเรื่องการโจมตี แต่ถ้านักบินมีจำกัดก็เลือกเอา รวยก็ซู งบจำกัดก็มิก โดยปรับมิกให้เป็นไซส์เล็กราคาต่ำค่าดูแลรักษาน้อย พิกัดเดียวกับกริปเป้น(คงเป็นมิกตัวต่อไปมากกว่า ไม่เข้าใจว่าตัว35ถึงทำให้มันใหญ่ขึ้นจนจะมาตีตลาดกับซูซะเอง จริงๆน่าแยกตลาดไปเลย)
4.ราคา ต่อประสิทธิภาพ ครับรวมถึงการเซอร์วิส และการขายอาวุธแบบไม่กั๊ก ยิ่งขายประเทศไกลๆตัวอย่างบราซิล ขายสเปคดีสุดไปเลยก็ได้..เพราะจุดอ่อนมันเยอะครับ เกี่ยวกับความเข้ากันของระบบ เมื่อเทียบค่ายตะวันตก
5.ซู35คือขับไล่สกัดกั้นเป็นหลัก โจมตีเป็นรอง พิกัดใหญ่ 30โจมตีเป็นหลัก ขับไล่สกัดกั้นเป็นรอง(จากการมีนักบินที่สองเพื่อระบบอาวุธ) มิก35 เป็นเครื่อง multi roleสำหรับประเทศที่ประหยัดงปประมาณครับ...
แต่ก่อนเล่นเกมพวกเครื่องบิน ขับ F-35 มันมาก เลยชอบ F-35 ตั้งแต่นั้นมา
แก้จากข้อความข้างบน มันต้องเป็น SU สิ ไม่ใช่ F
ขอนอกเรื่องนิดนึงแล้วไอระบบพลาสมา เสตลธ์พัฒณาไปถึงไหนแล้วคับ
หรอยุบโครงการไปแล้ว
หุ หุ หุ... ถ้ามาเล ติด Brahmos ได้ตะหานเรือบ้านเราคงจะได้รับบริจาร ผ้าห่มสีเขียว ๆ จากเบียร์ช้าง อีกคนละหลายผืน ... แล้วก็คงมีโครงการบริจารให้สิงคโปร์ อีกคนละผืน ก็เป็นได้ ... เอิ๊ก เอิ๊ก..
ถ้าหลังจากโครงการ FX-2 ของ เกาหลีใต้ ที่สั่ง F-15K เพิ่มเติม 20 เครื่อง แถมอีก 1 เครื่อง เป็น 21 ( สงสัยจะยื้อชีวิตตัวเองออกไปอีก เฮือก เผื่อมีลูกค้าใหม่สั่งเพิ่ม ) ก็จะเป็นการปิดสายการผลิต เครื่องบินขับไล่ ตระกูล F-15 ทุกเวอร์ชั่น
เพราะฉะนั้นเครื่องบินขับไล่ ขนาดกลาง ถึง ขนาดหนัก ก็จะเหลือเพียง เครื่องบินขับไล่ ตระกูล FULCRUM คือ MIG-29 และ MIG-35 เครื่องบินขับไล่ ตระกูล FLANKER คือ SU-27 / 30 / 32/ 33 /35 /37 โอ้ยเยอะจริง SU-32 น่าจะเป็นตัว โจมตี ทิ้งระเบิดมากกว่าขับไล่ แต่ก็สามารถใช้ สู้กับ บินข้าศึกได้ เมื่อมีการขัดขวางทางอากาศจากข้าศึกได้
F/A-18 E/F SUPER HORNET จาก อเมริโกย เอ๊ย อเมริกา
RAFALE จาก ฝรั่งเศส ( เมื่อไหร่จะเกิด นอกบ้านสักที )
EUROFIGHTER 2000 TYPHOON จาก อังกฤษ , อิตาลี่ , เยอรมนี , สเปน
ว่ากันที่ เรื่อง RCS ( RADAR CROSS SECTION )
1.MIG-29 & 35 มี RCS ขนาดเท่ากับ 1 ตารางเมตร (เท่ากับ F-16 C/D )
2.SU-35 อันนี้ไม่ทราบข้อมูล ที่แน่ชัด น่าจะ 1 -3 ตารางเมตร ดีไม่ดี อาจจะถึง 5 ด้วยซำเท่ากับ SU-30
3.F/A-18 E/F ดูข้อมูลจาก Wiki มาว่า รุ่น BLOCK 3 อาจจะต่ำกว่า 1 ตารางเมตร คือประมาณ 0.5 - 1 ตารางเมตร F/A-18 E/F BLOCK I และ II ก็ 1 ตารางเมตร
4.RAFALE มีประมาณ 0.5 - 1 ตารางเมตร
5.TYPHOON ก็มีประมาณ 0.5 -1 ตารางเมตร เช่นกัน
ต่อมาว่าด้วยเรื่อง รัศมี ตรวจจับของเรดาร์
1.F-22 จะตรวจจับเป้าหมาย ที่มีขนาด RCS 1 ตารางเมตร ได้ที่ 200 กิโลเมตร และ จะตรวจจับเป้าหมาย ขนาด 3 ตารางเมตร ได้ที่ 375 - 440 กิโลเมตร
2.SU-35 จะตรวจจับเป้าหมาย ขนาด 3 ตารางเมตร ได้ที่ 350 - 400 กิโลเมตร และ บินขับไล่ที่มี คุณลักษณะ STEALTH ได้ที่ 90 กิโลเมตร
3.TYPHOON จะตรวจจับเป้าหมาย ที่มีขนาด 5 ตารางเมตร ได้ที่ 200 - 272 กิโลเมตร และ จะตรวจจับเป้าหมาย ขนาด 3 ตารางเมตร ได้ที่ 160 - 185 กิโลเมตร
4.RAFALE ก็จะขอบอกว่า SAME SAME กับ ไต้ฝุ่น นั่นแหล่ะ
5.F/A-18 E/F ไม่ต้องพูดถึง โดดเด่น ในเรื่อง แจมเมอร์ การทำ สงคราม อิเล็คโทรนิกส์ และ ELECTRONICS ATTACK
สำหรับ อุปกรณ์ อิเล็คโทรนิกส์ ของ F-18 E/F ขอให้ท่าน ลองย้อนกลับไปอ่าน ใน แทงโก้ ฉบับ ย้อนหลัง จากนี้ 3-4 ฉบับน่ะครับ
ปล.ผมว่า F-18 , RAFALE , TYPHOON และ SU-35 สูสีกันน่ะครับ ประมาณว่า ( ขออนุญาติ ใช้คำหยาบ ครับ )
ประมาณว่า มึงล๊อคเป้ากูได้......กูก็ล๊อคเป้ามึงได้
มึงยิงกูได้.........กูก็ยิงมึงได้
แต่ใครจะอยู่หรือใครจะไป.......อันนี้ผมก็ไม่ทราบ
RAFALE และ TYPHOON ใช้ METEOR ทีมีระยะยิง 120 กิโลเมตร
ส่วน F-22 และ SU-35 อันนี้ผมว่า ยังไงๆ SU-35 ก็โดน F-22 ล๊อคเป้าก่อน และ ก็ยิงก่อน แน่นอน
ต่อมาว่าด้วยเรื่อง รัศมี ตรวจจับของเรดาร์
1.F-22 จะตรวจจับเป้าหมาย ที่มีขนาด RCS 1 ตารางเมตร ได้ที่ 200 กิโลเมตร และ จะตรวจจับเป้าหมาย ขนาด 3 ตารางเมตร ได้ที่ 375 - 440 กิโลเมตร
2.SU-35 จะตรวจจับเป้าหมาย ขนาด 3 ตารางเมตร ได้ที่ 350 - 400 กิโลเมตร และ บินขับไล่ที่มี คุณลักษณะ STEALTH ได้ที่ 90 กิโลเมตร
3.TYPHOON จะตรวจจับเป้าหมาย ที่มีขนาด 5 ตารางเมตร ได้ที่ 200 - 272 กิโลเมตร และ จะตรวจจับเป้าหมาย ขนาด 3 ตารางเมตร ได้ที่ 160 - 185 กิโลเมตร
4.RAFALE ก็จะขอบอกว่า SAME SAME กับ ไต้ฝุ่น นั่นแหล่ะ
5.F/A-18 E/F ไม่ต้องพูดถึง โดดเด่น ในเรื่อง แจมเมอร์ การทำ สงคราม อิเล็คโทรนิกส์ และ ELECTRONICS ATTACK
สำหรับ อุปกรณ์ อิเล็คโทรนิกส์ ของ F-18 E/F ขอให้ท่าน ลองย้อนกลับไปอ่าน ใน แทงโก้ ฉบับ ย้อนหลัง จากนี้ 3-4 ฉบับน่ะครับ
ปล.ผมว่า F-18 , RAFALE , TYPHOON และ SU-35 สูสีกันน่ะครับ ประมาณว่า ( ขออนุญาติ ใช้คำหยาบ ครับ )
ประมาณว่า มึงล๊อคเป้ากูได้......กูก็ล๊อคเป้ามึงได้
มึงยิงกูได้.........กูก็ยิงมึงได้
แต่ใครจะอยู่หรือใครจะไป.......อันนี้ผมก็ไม่ทราบ
RAFALE และ TYPHOON ใช้ METEOR ทีมีระยะยิง 120 กิโลเมตร
ส่วน F-22 และ SU-35 อันนี้ผมว่า ยังไงๆ SU-35 ก็โดน F-22 ล๊อคเป้าก่อน และ ก็ยิงก่อน แน่นอน