แนวความคิด จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง กองทัพบกได้ดำเนินการแก้ไขมาโดยลำดับทั้งในด้านการปรับเปลี่ยนนโยบาย ปรับการจัดและรูปแบบการบริหารจัดการ การเพิ่มกำลัง และการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการปฏิบัติ ทั้งนี้สามารถลดความรุนแรงในพื้นที่ได้ตามลำดับ
แต่ยุทธวิธีหนึ่งที่ผู้ก่อความไม่สงบได้นำมาใช้ก็คือ การตัดต้นไม้ล้มขวางถนน วางตะปูเรือใบ การลอบยิง และการลอบวางระเบิดยานพาหนะเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ณ ที่จุดตรวจ ฐานทหาร และในขณะลาดตระเวนหรือเคลื่อนย้ายกำลังพล ทำให้ฝ่ายเราต้องได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
จากสภาพปัญหาดังกล่าวกรมการทหารช่าง ได้เล็งเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาโดยการนำยุทโธปกรณ์สายช่างที่มีประจำการอยู่ มาดัดแปลงเพื่อใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภารกิจของกองทัพทั้งในด้านการเพิ่มขีดความสามารถการระวังป้องกันตนเองของทหาร และการช่วยเหลือประชาชน
การแปลงสู่การปฏิบัติ กรมการทหารช่างได้นำแนวความคิดดังกล่าวแปลงสู่การปฏิบัติ โดยได้นำรถยนต์บรรทุกเทท้าย 10 ตัน (TIEMA) ที่มีประจำการอยู่เป็นจำนวนมากใน กองทัพบก ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนและลดขีดความสามารถ ในการปฏิบัติงานของกองพันทหารช่างสนามของกองพลเป็นส่วนรวม โดยกรมการทหารช่างจะเร่งดำเนินการซ่อมบำรุงรถ ในส่วนที่มีการชำรุดให้ใช้การได้ทั้งหมดโดยเร็ว เพื่อนำมาปรับปรุงโดยการเสริมเกราะทั้งส่วนด้านหน้า ด้านข้าง และภายในห้องพลขับ และในส่วนกระบะหลังทั้งด้านข้าง ด้านหลัง สามารถกันกระสุน ปลย. ได้ บนแผงพื้นกระบะได้ปูเสริมด้วยกระสอบทราย และใต้แผงพื้นกระบะได้เสริมแผ่นเหล็กหนา
สามารถทนทานต่อแรงอัดและอันตรายจากสะเก็ดระเบิดที่ทำจากปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรทได้ โดยไม่ทำให้รถเสียหลักหรือพลิกคว่ำ ภายในกระบะยังได้ติดตั้งเก้าอี้นั่งเพื่อบรรทุกกำลังพลพร้อมเครื่องสนามและอาวุธประจำกายจำนวน 1 หมู่ 12 คน ได้เสริมที่ตั้งปืนกลประจำหน่วยแบบเอ็ม 60 บริเวณด้านหน้าของกระบะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันตนเองได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังได้ติดตั้งเครื่องกวาดตะปูเรือใบไว้ส่วนหน้าของตัวรถ พร้อมโยธกา พลั่ว เลื่อยและขวานที่ใช้ในการรื้อถอนต้นไม้ล้ม และมีไฟฉายแรงเทียนสูง ถังน้ำยาดับเพลิงติดตั้งเป็นอุปกรณ์ประจำรถให้อีกด้วย
เป้าประสงค์ รถปรับปรุงดังกล่าวจะสามารถใช้ทดแทน รยบ.1 ตัน(ปิคอัพ) ที่ใช้กันในปัจจุบัน ที่มีน้ำหนักเบาและเสี่ยงต่อการถูกลอบวางระเบิด ทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำได้ง่าย และฝ่ายตรงข้ามสามารถเข้าประชิดตัวเพื่อยิงซ้ำได้ ดังนั้นเมื่อรถไม่พลิกคว่ำจึงทำให้กำลังพลมีโอกาสป้องกันตนเองและตอบโต้ลดความสูญเสียได้มาก ทั้งนี้ยังสามารถนำไปเพื่อใช้เป็นยานพาหนะในภารกิจลาดตระเวนเส้นทางที่เสี่ยงอันตราย ตั้งด่านเคลื่อนที่ และการเคลื่อนย้ายกำลังพลของหน่วยทหารทางยุทธวิธีและภารกิจช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ที่ได้รับ
- นำยุทโธปกรณ์สาย ช.ที่มีประจำการอยู่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการเพิ่มประสิทธิภาพ เรื่องความแข็งแรง
- สามารถลดความรุนแรงของระเบิดโดยไม่ทำให้รถพลิกคว่ำเนื่องจากน้ำหนักตัวรถเองที่มีน้ำหนักมาก ทำให้มีโอกาสตอบโต้ป้องกันตนเองได้จากการถูกยิงซ้ำ และลดอันตรายจากสะเก็ดระเบิดได้เนื่องจากมีเกราะเสริม
- ทำให้กำลังพลมีความมั่นใจเมื่อเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงเนื่องจากมีเกราะเสริมรอบทั้งคันเป็นส่วนใหญ่
- สามารถนำไปใช้ได้ในหลายภารกิจ เช่น ป้อมจุดตรวจ รถลาดตระเวนเส้นทาง การเข้าปิดล้อมและการคุ้มครองครูและพระสงฆ์
- เนื่องจากรถมีลักษณะภายนอกที่สูงใหญ่ทำให้ดูน่าเกรงขาม สามารถข่มขวัญฝ่ายตรงข้ามได้
- ประหยัดงบประมาณในการปรับปรุง โดยใช้งบประมาณคันละ 110,000 บาท
- สร้างความเชื่อมั่น และมั่นใจในอำนาจรัฐ สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และผู้ใช้เส้นทางในการสัญจร
เป็นความคิดที่ดีมากๆครับผมในฐานะที่เป็นคนจังหวัดยะลาขอเป็นกำลังใจให้ทหาร ตำรวจและส่วนราชการต่างๆที่กำลังระดมความสามารถในการแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในขนะนี้ครับผมอยากให้ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดความสงบเร็วๆที่สุดยังไงก็ขอให้พวกพี่ทหาร ตำรวจมีความปลอดภัยไม่อยากให้มีความสูญเสียเกิดขึ้นอีกแล้วครับขอเป็นกำลังใจให้นะครับผมสุดท้ายขอให้บารมีหลวงปู่ทวดคุ้มครองนะครับผม
ด้านท้ายของห้องโดยสารมีบันไดแบบพับได้ สามารถขึ้นลงได้โดยสะดวก
หลังคาผ้าใบประกอบตาข่ายถัก ติดตั้งหลังคาพร้อมผ้าใบคุมกระบะท้ายเพื่อกันฝนและแดด และได้นำตาข่ายถักทำด้วยผ้าพราง ประกอบกับหลังคาผ้าใบบริเวณช่องว่างด้านข้างทั้งสองด้าน เพื่อป้องกันการขว้างระเบิดเข้าไปในกระบะและเป็นการพรางกำลังพลภายในรถอีกด้วย นอกจากนี้ด้านข้างของห้องโดยสารยังมีการติดตั้งแผ่นเกราะกันกระสุน เพื่อเป็นเกราะสำหรับกำลังพลใช้กำบังเพื่อยิงตอบโต้ทั้งสองด้าน
รถลาดตระเวนทหารช่างนี้ มีน้ำหนักรวมทั้งสิ้นประมาณ 18 ตัน หากโดนระเบิดแบบที่ใช้ในการซุ่มโจมตีชุดลาดตระเวนในปัจจุบันนี้ แรงระเบิดจะไม่ทำให้รถพลิกคว่ำเนื่องจากน้ำหนักของรถ นอกจากนี้พื้นกระบะใช้กระสอบทรายวางปูบนพื้นโดยมีเหล็กฉากกั้นเป็นช่องและใช้แผ่นพื้นไม้อัดปิดทับด้านบน สามารถลดแรงอัดและอันตรายจากสะเก็ดระเบิดได้
ภายในห้องโดยสารมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริม อาทิเช่น ถังดับเพลิง ขวาน เชือกสปอร์ตไลท์ เลื่อยและพลั่ว ดังที่เห็นในภาพด้านล่าง
ด้านหน้าของตัวรถ ติดชุดอุปกรณ์กวาดตะปูเรือใบ
ลำดับ |
ข้อเสีย |
การแก้ไข |
1 |
สิ้นเปลืองสป.3 สูง |
ต้องได้รับ สป.3 เพิ่มเติมตามภารกิจ |
2 |
เคลื่อนที่ช้าขาดความคล่องตัว |
เหมาะแก่การเป็นรถลาดตระเวนและเป็นที่เฝ้าตรวจ |
3 |
กระจกบังลมหน้าไม่มีเกราะป้องกันกระสุน |
ต้องใช้งบประมาณสูง แต่ได้ปรับปรุงยกเกราะด้านหน้าให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อเป็นที่กำบังได้ |
4 |
เก็บกวาดตะปูเรือใบในพื้นที่ขรุขระไม่หมด |
พื้นที่ปฏิบัติการส่วนใหญ่ 90% เป็นถนนแอสฟัลต์ |
5 |
ยากแก่การซ่อมบำรุงต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ |
จัดช่างผู้ชำนาญประจำที่ บชร.สย.4 โดยเฉพาะและมีวงรอบให้การ บป. |
6 |
แม่เหล็กเกือกม้ามีขนาดเล็ก ได้ผลน้อยกับตะปูเรือใบ ขนาดใหญ่ |
ได้ปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มจำนวนแม่เหล็ก และในตัวมันเองก็เป็นเครื่องกวาดตะปูอยู่แล้ว |
ข้อพิจารณาเสนอแนะของ กรมการทหารช่าง ในการใช้รถลาดตระเวนทหารช่าง
1.ควรนำรถลาดตระเวนทหารช่าง( รยบ.เทท้าย 10 ตันเทียมา) 100 คันและรยบ.เทท้าย 5 ตัน M 817 จำนวน 12 คันที่ได้แจกจ่ายไปแล้ว ออกมาใช้ปฏิบัติการในพื้นที่ให้หมด หรือนำมาใช้ในภารกิจการเคลื่อนย้ายกำลังพล ไม่ควรจอดเก็บไว้ในที่ตั้ง
2. ควรมี แผนการใช้รถลาดตระเวนทหารช่างอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ ต้องมีการจัดให้ชัดเจนว่าเส้นทางใด เวลาใด หน่วยใดรับผิดชอบ เพื่อมิให้เกิดการซ้ำซ้อนในการลาดตระเวนทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา จอดเป็นครั้งคราวหรือตั้งเป็นจุดตรวจตามแยก เพื่อประหยัด สป.3
3. การนำรถลาดตระเวนทหารช่าง ประกอบกับเครื่องกีดขวางทหารช่าง(จำหล่อลวดหนาม)เพื่อจัดตั้งใช้เป็นจุดตรวจเคลื่อนที่ได้ โดยที่กำลังพลไม่จำเป็นจะต้องลงมาจากรถทั้งหมด เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกลอบโจมตี
4. รถทุกคันควร มีระบบการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ เพื่อใช้ในการแจ้งสกัดกั้นหรือควบคุมยานพาหนะบนเส้นทางได้ทั้งหมด
5. ใช้เป็น จุดเฝ้าตรวจในเวลากลางคืน ในห้วงเวลาเคอร์ฟิวส์ เน้นหมู่บ้านเป้าหมายที่เป็นสีแดง ทั้งนี้สามารถตรวจการณ์จากบนรถได้โดยไม่จำเป็นต้องซุ่มหรือซ่อนพราง โดยการใช้กล้องตรวจการณ์กลางคืนเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น เพื่อเป็นการข่มขวัญและกดดันฝ่ายตรงข้าม
6. ในพื้นที่เสี่ยงที่อาจมีการลอบวางระเบิด สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการล่อเป้าได้ เนื่องจากขีดความสามารถของรถจะทำให้กำลังพลมีความมั่นใจในความปลอดภัย สามารถตอบโต้ได้ทันที และมีเวลาที่จะขอกำลังเสริมเพื่อช่วยเหลือได้ทันเวลา
นี่เป็นส่วนหนึ่งของรถลาดตระเวนทหารช่าง ที่ผู้กองต้อม ส่งรายละเอียดมาให้ ต้องขอขอบคุณมา ณ. ที่นี้ด้วย ข้อมูลของรถลาดตระเวนทหารช่างบางส่วน ไม่สามารถนำมาลงได้ทั้งหมด เนื่องด้วยความปลอดภัยของทางราชการ
ผมขอยกย่องงานวิจัยครั้งขอให้พัฒนากันต่อไป แต่...ขอตินิด
ผมว่ารถบรรทุกคันนี้มันเหมือนกับ ป้อมปืนเคลื่อนที่นะ
ดูทุกมิติดีหมดยกเว้น หลังคาผ้าใบกันน้ำ ผมว่ามันอันตรายนะ
แค่นี้ไม่น่าพอหรอก
ถ้าผมเป็นผู้ร้าย
1. วางระเบิดรถใต้ท้องรถก่อน ยิ่งตรงถังน้ำมันได้ยิ่งดี
กดระเบิดเพราะรถวิ่งช้าเวลาเข้าโค้ง ตูม ตูมอีกรอบ
เอาให้รถหยุด ตูมอีกรอบเอาให้รถพัง
ช่วงเวลาเจ้าหน้าที่มึนงง ประมาณ 3 - 5นาที
จู่โจม บนหลังคานั่นล่ะ โยนระเบิดประดิษฐ์เอง
นำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ให้ลงปล่อง
ตูมอีกรอบ คล้ายระเบิดปิงปอง จะให้ดี ปีนต้นไม้เลย
สอยกันกลางอากาศเพราะทางใต้ต้นไม้เยอะ ยิง ปืนกลเข้า
2.จู่โจมทางอากาศได้ดี เพราะปีนต้นไม้ ยิงพลขับก่อนเลย
รถจะได้วิ่งไม่ได้ แล้วหลังจากนั้นก็ตามจินตนาการครับ
อย่าหาว่าผมเจตนาไม่ดี แต่ว่าคิดในแง่ร้ายสุดๆไว้ก่อน
น่าปรับปรุงหลังคาครับ รีบด่วนเลยครับ
ตามความเห็นของผมนะครับ การลาดตระเวนในพื้นที่สามจังหวัดนั้น ไม่ว่าจะเป็นรถรุ่นไหนถ้าวิ่งไปเดี่ยวๆ ก็โดนทั้งนั้นแหละครับ อย่างน้อยต้องสองถึงสามคัน วิ่งเป็นขบวน ทิ้งช่วงห่างจากคันหน้าในระยะพอสมควร จริงครับอาจจะสิ้นเปลืองน้ำมัน แต่ดีกว่าให้เลือดของทหารและตำรวจไหลนองแผ่นดินนะครับ
โครงการดีๆ ของกองทัพมีเยอะครับ แต่น่าเสียดายที่พอถึงเดือนเมษายนและตุลาคมของทุกปี หลังจากมีการสับเปลี่ยนเจ้ากรมฯ หรือผู้บังคับบัญชา โครงการดีๆ ก็เลิกไป หรือเงียบหายไป ซึ่งเกิดขึ้นกับหลายโครงการแล้ว ตัวอย่างเช่น รถไชยปราการ ที่เอาช่วงล่างของรถกะบะของมิตซูบิชิมาทำ ดูเหมือนฮัมวีตัวน้อย ก็ล้มเลิกไป ทั้งๆ ที่มีการผลิตรุ่นทดสอบออกมากหลายคัน และส่งไปทดสอบกับหน่วยรบในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว สุดท้ายก็แขวนไว้ เพราะเท่าที่ได้คุยกับทหารหลายๆ ท่าน แล้วคือเปลี่ยนนายก็เปลี่ยนนโยบาย อย่าบอกนะครับไม่มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในกองทัพ ทหารๆ ที่เสียชีวิตไปในแต่ละครั้งเป็นทหารชั้นผู้น้อย ทำไมผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ไม่คิดถึงเค้าบ้างล่ะครับ จ่ายค่าชดเชยให้เท่าไรมันก็ไม่คุ้มกันหรอกครับ
เป็นข้อมูลที่คุณ vasin เคยลงมาแล้วครับแต่ตอนนั้นยังไม่ละเอียดมากนัก ข้อมูลคราวนี้ชัดเจนขึ้นมากครับ ดูแล้วต้องยอมรับว่าคนคิดเรื่องนี้นี่เก่งสุดยอดเลย เพราะจ่ายแค่คันละ 110,000 บาท แต่ตัวรถแทบจะกลายเป็นป้อมเคลื่อนที่เลย แม้จะมีบางส่วนที่อาจจะต้องปรับปรุงกันภายหลัง แต่ผมว่าถ้าดีลนี้ถูกใช้งานจริง เผลอๆเจ้าของลิขสิทธิการผลิตอาจจะต้องวิ่งโล่มาดูงานภาคสนามที่เมืองไทยก็ได้ เพราะถ้ามันได้ผลบางทีในอนาคต บริษัทอาจจะทำสเปกสำหรับด้านนี้โดนเฉพาะ
แหมบูสมาสเตอร์น้อยจริงๆนะครับ .............. ถ้าติดมินิกันพร้อมกระสุนเต็มอัตราได้คงน่าเกรงขามไม่หยอกเลยทีเดียว
ตัวรถสูง.....หนัก ดังนั้นถ้าถูกโจมตีด้วยหน่วนยิงที่ติดอาวุธแค่ ปลย. ก็เสร็จเราเลย เพราะเหมือนกับว่าเราอยู่บนเนินเล็กๆที่มีการป้องกันที่ดี แถมยังมีรถแบบนี้อีกเป็นร้อยๆคัน
สุดท้ายนี้อยากให้คุณ vasin หรือเพื่อนที่ทราบว่าใครเป็นคนคิดและพัฒนาเรื่องนี้ช่วยนำชื่อของคนต้นคิดมาเผยแพร่เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้คิดค้นด้วยนะครับ เพราะอย่างน้อยถ้าไม่ได้ตังค์ก็น่าจะได้รับคำชื่นชมจากประชาชนผู้เสียภาษีให้ซายซึ้งใจ
น่าจะติด M2 แทน M60 นะครับ (อยากได้ของแรงอ้ะ)
7.62 มันจิ๊บๆ เล็กไปหน่อย
.50 ผมว่ากำลังดี หึหึหึ