.....นำรูปเรือดำน้ำมาโพสเฉยๆ น่ะขรับ ไม่รู้จะโพสไรอ่ะ โดยส่วนตัวคิดว่า เรือดำน้ำ กับ รถถัง สำหรับกองทัพไทยมีอะไรบางอย่าง หรือ หลายอย่างที่เหมือนกัน........
.....
........
...
......ครับ ชนิด และ ประเทศผู้ผลิตนั้นเอง เหมือนๆตรงที่ว่าเรือดำน้ำมีหลายรุ่น หลายขนาด ให้เลือกในขณะเดียวกัน รถถังมีหลายรุ่น หลายราคา หลายสัญชาติเช่นกัน ส่วนตัวผมเอง ยังมองไม่ออกเลยว่า หากท.ร.จะเลือกเรือดำน้ำเข้าประจำการในอนาคต(ไกลๆ) อะไรคือเกณฑ์ตัดสิน เรือ(รถถัง)รัสเซียก็ดี เรือ(รถถัง)จากตะวันตกก็น่าสน จริงป่ะครับ
1.0
อะไรเนี้ยย ?
ตอนแรก นึกเชียร์ U-214 ตอนหลังกลับมาเชียร์ AMUR 950 เป็นเรือดำน้ำ สำหรับ Litteral Warfare แบบใหม่ และเป็นแบบเดียวในโลก ที่ระวางขับน้ำ ต่ำกว่า 1,000 ตัน หรือไม่เกิน 1,100 ตัน...ซึ่งผมว่า ถ้า ทร. จะประจำการในฝั่งอ่าวไทย (ระดับความลึกสูงสุด 80 เมตร) น่าจะเหมาะสมที่สุด...ในขณะที่ทางฝั่งอันดามัน (ระดับความลึกสูงสุดประมาณ 200 เมตร) ก็ไม่มีปัญหา เล็กกระทัดรัด แต่หมัดหนัก...แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ระบบอาวุธจะเป็นของรัสเซีย...แต่รัสเซีย เองโฆษณาไว้ว่า สามารถติดตั้งระบบอาวุธของฝั่งตะวันตกได้ แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า (ซึ่ง ลูกค้าจะกล้าเชื่อ รึเปล่า เท่านั้น)
เชียร์ของรัสเซียเหมือนกันครับ ....... เรื่องเรือดำน้ำต้องยกให้เค้าจริง ๆ ....... ยิ่งอ่าวไทยคือพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของเรา Amur นี่น่าเล่นมาก ๆ ครับ
เหอ ๆ หลายรูปเหมือนปลาวาฬเลยวู้ย อิอิอิอิ ขอบคุณคุณ MiG31 ที่นำมาให้ชมครับ หลายภาพไม่เคยเห็น
อ้อสำหรับเรื่องเรือดำน้ำ ผมยังขอยืนยันความเห็นเดิมของผมว่ามันควรเป็นโครงการระยะยาว และไม่เห็นด้วยถ้าทร.จะจัดหาในปีสองปีนี้แน่นอน ผมเห็นด้วยกับแผนเดิมที่ทร.วางเอาไว้คือเอาเรือดำน้ำเข้าประจำการราวปี 2560 ครับ เห็นด้วยกับการวาง Path แบบนี้ครับ ^ ^
i forget to click it back hahaha
รูปแรก ไทรอัมแฟ้นท์ ของฝรั่งเศส ?
1.1 Sea wolf Class
1.3 น่าจะ Delta Class แต่ไม่แน่ใจว่า 3 หรือ 4
1.4 Astute Class
1.8/1.9 Ohio Class
อันสุดท้าย SSN-21 USS Seawolf .
ขอเรียนเป็นข้อมูลว่า หากจะทำโครงการให้ ทร.ได้ใช้เรือดำน้ำขนาดประมาณ 1000ตัน จำนวน 2 ลำในปี 2560ตามที่คุณ skyman บอก จะต้องเริ่มสร้าง ด.ลำแรกในปี2552 ครับ ซึ่งแสดงว่าต้องได้รับอนุมัติ งป.เรียบร้อยแล้วในปีนี้(งป.2552)
ด.ขนาด ประมาณ 1000 ตันขณะนี้ยังไม่ค่อยมีในตลาด แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีที่เป็นรุ่นใหม่ออกมา อย่างน้อย 3 บริษัท(ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี+) (ดู janes international defence review volume 41 -june 2008) น่าสนใจครับเพราะราคาถูกกว่า ใช้ในน้ำตื้นได้ดีกว่า แต่พอจะทำภารกิจในน้ำลึกได้พอสมควร (ปกติดำได้ 200 ม.+) เคยทราบว่าปฏิบัติการได้ไม่ยากนักในน้ำลึก 30 ม.
เรื่องน้ำลึกน้ำตื้น คนไม่รู้ก็มักจะคิดว่าคงใช้เรือดำน้ำในอ่าวไทยไม่ได้ แต่อย่าลืมว่าอ่าวไทย น้ำไม่ได้ตื้นกว่า ทะเลบอลติก ที่ ด.เยอรมัน นอร์เวย์ สวีเดนปฏิบัติการอยู่ นอกจากนั้น ที่ตื้นๆในอ่าวไทยคือทางเหนือๆ (อ่าวรูปตัว ก.) ถ้าออกห่างก.สมุย พงัน ไปทางตะวันออกไม่กี่ไมล์ น้ำลึกกว่า 50 ม.แล้ว ออกไปปากอ่าวไทย ด้าน ตะวันออก ก็ 80ม.+ เวลา ทร.ฝึกปราบ ด.กับมิตรประเทศที่มี ด. ก็ฝึกในอ่าวไทยได้ครับ แต่พักหลังนี่อาจจะมี ด.เข้ามาให้ฝึกน้อยลง
บางคนบอกว่าน้ำตื้น น้ำใส ด.ดำอยู่มองเห็นจากทางอากาศได้สบาย ก็ต้องถามคนที่เขาบินในทะเลจริงๆทุกวันดูว่า ขนาดเรือจักรีถ้าไม่รู้กันว่าอยู่ที่ใหน ก็ไม่ใช่จะเจอกันง่ายๆ เรือขนาดเรือเร็วโจมตีเวลาแบ่งฝ่ายฝึกรบกันยังตรวจพบกันทางอิเล็คทรอนิคส์ ได้มากกว่าจะตรวจจับกันด้วยสายตาเลยครับ เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะตรวจพบ ด.ขณะที่ดำอยู่ด้วยสายตาโดยเครื่องบินนั้นเป็นเรื่องยากยิ่งกว่ายาก
เรือ ด.ขนาดเล็กมีจุดอ่อนที่เวลาปฏิบัติการสั้น ต้องใช้สนอร์เกลบ่อยกว่า แต่ก็ออกแบบให้เงียบ ตรวจจับยาก กบดานบนพื้นท้องทะเลได้ อาวุธอานุภาพใกล้เคียงกับลำใหญ่แต่มีอาวุธสำรองไว้น้อยกว่า หรือมีเฉพาะในท่อเท่านั้น
ปัญหาประการเดียวในการมี ด.ก็คือไม่มีเงินเท่านั้นเอง การฝึก การซ่อม การเปลี่ยน แบตฯ ไม่ใช่เรื่องที่จะเรียนรู้ไม่ได้ ครับ ขอออกความเห็นเท่านี้ก่อนครับ