หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


20 ปี ของ F-16 แห่งกองทัพอากาศไทย

โดยคุณ : Skyman เมื่อวันที่ : 12/07/2008 10:59:48

20 ปีแล้วครับ

นับจากการเข้าประจำการครั้งแรกในปี 2531 จนถึงวันนี้ F-16 ของกองทัพอากาศไทยมีอายุครบ 20 ปีพอดี F-16 เป็นกำลังรบหลักของกองทัพอากาศไทยมาตลอด ถือได้ว่าเป็นเครื่องบินที่มีสมรรถนะสูงที่สุดของประเทศในปัจจุบัน จากเที่ยวบินหลายพันเที่ยว ชั่วโมงบินหลายหมื่นชั่วโมง F-16 ทั้ง 59 ลำของไทยไม่เคยประสบอุบัติเหตุตกเลยแม้แต่ครั้งเดียว และในโอกาสครบรอบ 20 ปีของ F-16 ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ F-16 แห่งกองทัพอากาศไทย เพื่อที่จะคงความเหนือกว่าในน่านฟ้าของกองทัพอากาศไทยไปอีก 20 ปีข้างหน้า

วันนี้มีภาพสวย ๆ จากงานฉลองครบรอบ 20ปี F-16 ที่กองบิน 1 มาฝากครับ ..... อ้อ ผมไม่ได้ถ่ายเองนะครับ ได้มาจากพี่ที่รู้จักกันครับ






ความคิดเห็นที่ 1


หลังจากการยึดอำนาจของอยาโตลา โคมัยนี่จากพระเจ้าซาร์ในอิหร่าน ทำให้อาวุธอันทันสมัยหลายรายการของสหรัฐถูกส่งไปให้สหภาพโซเวียตทดสอบและวิเคราะห์ สหรัฐอเมริกาโดยประธานาธิปดีจิมมี่ คาร์เตอร์จึงประกาศโครงการ FX Export Fighter ซึ่งจะขายเครื่องบินขับไล่ที่ลดประสิทธิภาพให้กับชาติพันธมิตรแทนการขายรุ่นที่ทันสมัยของตน แบบแผนของเครื่องบินขับไล่ F-16/79 ของ Lockheed Martin ได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะเหนือ F-20 Tiger Shark ของ Northrop Gramman
การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ F-16/79 แตกต่างจาก F-16A/B ก็คือการตัดความสามารถในการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ ลดน้ำหนักบรรทุกและพิสัยบิน ลดความสามารถในการปฏิบัติการโจมตีภาคพื้นดิน เปลี่ยนเครื่องยนต์จาก F100 ให้เป็นเครื่องยนต์แบบ J79 ซึ่งให้แรงขับต่ำกว่า และมีราคาถูกราว 10 ล้านเหรียญสหรัฐ (คิดตามค่าเงินในปี 1980) โดยสหรัฐอนุญาตให้ส่งออกเครื่องบินรุ่นนี้ไปยังพันธมิตรกว่า 20 ประเทศ กองทัพอากาศสิงคโปร์เป็นชาติแรกที่สั่งซื้อ F-16/79 ในปี 1985 โดยสั่งซื้อจำนวน 8 ลำในโครงการ Peace Carvin I แต่มีข้อแม้ว่าถ้าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถจัดหา F-16A/B ได้แล้ว สิงคโปร์จะเปลี่ยนไปจัดหา F-16A/B แทน

ในช่วงเวลาเดียวกัน หลังจากการปลดประจำการเครื่องบินโจมตีฝึกแบบที่ 13 หรือ T-28D ในช่วงปี 2524 - 2528 กองทัพอากาศไทยได้เริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินแบบใหม่เพื่อทดแทนบ.จฝ.13 จำนวน 1 ฝูงบิน โดยมีบริษัทที่เสนอแบบแผนอากาศยานให้พิจารณา 2 แบบคือ F-16A/B Block 15OCU และ F-20 โดยกองทัพอากาศได้ทำการเลือกแบบผู้ชนะเป็น F-16A/B Block 15OCU แต่รัฐบาลสหรัฐต้องการให้ไทยจัดหา F-16/79 ตามนโยบายที่กล่าวมาข้างตน รัฐบาลไทยอ้างถึงความจำเป็นในการที่จะต้องมีเครื่องบินที่ทันสมัยไว้รับมือกับการวางกำลังของ MiG-23 ในเวียดนาม จึงยืนยันความต้องการจัดหา F-16 A/B Block 15OCU ต่อรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตที่มองว่า F-16A/B จะมีอนาคตมากกว่า F-16/79 ที่แม้แต่ประเทศผู้ผลิตก็ยังไม่จัดหาเข้าประจำการ หลังจากการกดดันอย่างหนักจากทั้งบริษัทผู้ผลิตและรัฐบาลไทย ในที่สุดรัฐบาลสหรัฐก็อนุมัติขาย F-16A/B Block 15OCU ให้กับประเทศไทยในปี 2528

F-16A/B Block 15OCU จึงกลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่แบบที่ 19 ในประวัติศาสตร์เกือบ 1 ศตวรรศของกองทัพอากาศไทย ..........



กองทัพอากาศไทยจัดหา F-16 ใน 4 โครงการคือ

Peace Naresuan I

กองทัพอากาศจัดหา F-16A Block 15OCU จำนวน 8 ลำ และ F-16B Block 15OCU จำนวน 4 ลำในปี 2528 ได้รับมอบเครื่องบินเข้าประจำการในปี 2531 ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ฝูงบิน 103 กองบิน 1 โคราช

Peace Naresuan II

กองทัพอากาศจัดหา F-16 เพิ่มเติมอีก 6 ลำ เป็น F-16A Block 15OCU ทั้งหมด ได้รับมอบเครื่องบินเข้าประจำการในปี 2534 ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ฝูงบิน 103 กองบิน 1 โคราช

Peace Naresuan III

ในปี 2537 กองทัพอากาศพิจารณาเครื่องบินขับไล่โจมตีฝูงใหม่ โดยมีตัวเลือกคือ F-16A/B Block 15OCU, A-10, และ F-7M ซึ่งกองทัพอากาศได้เลือก 16A/B Block 15OCU เช่นเดิม โดยเป็น F-16A Block 15OCU จำนวน 12 ลำ และ F-16B Block 15OCU จำนวน 6 ลำ

F-16 ฝูงนี้ได้รับการออกแบบให้ทำภารกิจขับไล่โจมตีกลางคืนโดยเฉพาะ โดยติดตั้งกระเปาะช่วยเดินอากาศ (Navigation Pod) แบบ Rubis และกระเปาะชี้เป้า (Targeting Pod) ATLIS II โดยในรุ่นสองที่นั่ง ห้องนักบินด้านหลังถูกปรับปรุงเป็นที่นั่งของนายทหารอาวุธ (Weapon System Officer) ทำหน้าที่ทำงานกับระบบอาวุธและเรด้าร์ในการโจมตีภาคพื้นดิน ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี

Peace Naresuan IV

กองทัพอากาศได้จัดหา F/A-18C/D จำนวน 8 ลำเพื่อมาเป็นเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของกองทัพอากาศไทย แต่จากวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนั้น ประเทศไทยประสบกับภาวะขาดงบประมาณอย่างรุนแรง ไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ กองทัพอากาศและรัฐบาลไทยจึงเจรจากับรัฐบาลสหรัฐให้ซื้อสัญญา F/A-18C/D ทั้ง 8 ลำกลับไป ปัจจุบัน F/A-18C/D ทั้ง 8 ลำประจำการอยู่ในหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐ

แต่กำลังรบของกองทัพอากาศไทยยังขาดไปอีก 1 ฝูงบิน ในปี 2542 กองทัพอากาศจึงจัดหา F-16ADF มือสองจำนวน 16 ลำ เป็น F-16ADF ที่นั่งเดียว 15 ลำ และ F-16ADF สองที่นั่ง 1 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินที่เกินความต้องการของสหรัฐ โดยใช้เงินที่เคยจ่ายไปในโครงการจัดหา F/A-18C/D และเงินที่กองทัพอากาศฝากไว้กับรัฐบาลสหรัฐเพื่อดำรงความพร้อมรบของเครื่องบินของกองทัพอากาศ

F-16ADF นับเป็นเครื่องบินแบบแรกของกองทัพอากาศที่มีความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศระยะกลาง มีความสามารถในการโจมตีข้าศึกตั้งแต่ระยะเกินสายตา (Beyond Visual Range) โดยกองทัพอากาศจัดหา AIM-120 AMRAAM มาติดตั้งใช้เงินกับ F-16ADF ปัจจุบัน F-16ADF ประจำการอยู่ที่ฝูงบิน 102 กองบิน 1 โคราช

รับมอบจากกองทัพอากาศสิงคโปร์

ในปี 2547 กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้มอบ F-16A/B Block 15OCU จำนวน 7 ลำ (F-16A 3 ลำ และ F-16B 4 ลำ)ให้กับกองทัพอากาศไทยเพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยนในการที่กองทัพอากาศไทยอนุญาตให้กองทัพอากาศสิงคโปร์ใช้พื้นที่การฝึกในประเทศไทยได้ โดยทั้งหมดเป็น F-16 จากโครงการ Peace Carvin I ของสิงคโปร์



20 ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีทางด้านการบินทางทหารพัฒนาไปมาก ความสามารถของ F-16A/B ทั้ง 59 ลำอาจจะไม่เพียงพอที่จะรับมือกับเครื่องบินที่ทันสมัยกว่า แต่การจัดหาเครื่องบินใหม่ก็ต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก ดังนั้นกองทัพอากาศจึงมีโครงการปรับปรุง F-16 ที่ประจำการอยู่ โดยเราเรียกว่าการปรับปรุงช่วงครึ่งอายุ หรือ Mid-Life Upgrade (MLU) ซึ่งจะเป็นการปรับปรุงระบบอิเล็กทรอนิคต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานอาวุธรุ่นใหม่ ๆ ที่สมัยได้ นอกจากนั้นยังได้ทำการปรับปรุงโครงการของเครื่องบินในโครงการ Falcon Up และ Falcon Star เพื่อยืดอายุการใช้งานออกไป โดยกองทัพอากาศวางแผนที่จะปลดประจำการ F-16 ลำสุดท้ายในปี 2583






โห่ย เขียนจนเหนื่อย ... หมดเรื่องประวัติไปแล้ว มาชมบรรยากาศของงานครบรอบ 20 ปี F-16 กันครับ


งานจัดขึ้นในวันที่ 28 พ.ค. 51 ที่ผ่านมา โดยมีพลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ (คนกลางในภาพ) เสนาธิการกองทัพอากาศ อดีตผู้บังคับฝูงบิน F-16 คนแรกของไทย มาเป็นตัวแทนของผู้บัญชาการทหารอากาศและทำการบินในวันนี้ ในงานมีทั้งการบินหมู่ของ F-16 ของไทย และพิธีสงฆ์เพื่อความเป็นศิริมงคลของทั้งเจ้าหน้าที่และอากาศยานครับ

วันนี้นักบินใส่ชุดบินสีดำซึ่งเป็นชุดพิธีการครับ



ภาพการบินหมู่ทั้ง 13 ลำของ F-16 จาก 3 ฝูงครับ นักบินฝึกกันเหนื่อยหน่อย เพราะการจะทำเครื่องบินทั้ง 13 ลำให้บินเป็นรูปร่างในแนวระนาบไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก



ปล่อย Flare หรือพลุความร้อนที่เอาไว้ใช้ลวงจรวดนำวิถีที่ตรวจจับความร้อนครับ ...... ถ้ายังจำกันได้วันเด็กปี 47 ก็มีการปล่อย Flare โชว์ครั้งหนึ่งครับ

ลูกนึงหลายตังค์อยู่ เลยไม่เอามาทิ้งเล่นมากนัก



นอกจากนี้ในโอกาสพิเศษนี้ กองทัพอากาศยังได้ทำสีลายพิเศษของ F-16 สามลำในกองบิน 1 โวยครับ โดยเป็นสีสองโทน คือ Tiger Red และ Tiger Blue สื่อถึงกองบิน 1 ซึ่งใช้เสือเป็นสัญลักษณ์




การออกแบบเริ่มจากการร่างแบบในคอมพิวเตอร์และเทียบกับขนาดของเครื่องบินจริง ส่วนการลงสีนั้นใช้ Airbrush พ่นลงไปด้วยมือครับ

ทีมงานที่ออกแบบและทำลายนี้เป็นทีมงานที่มีประสบการณ์การทำลายในการเฉลิมฉลองให้กับกองทัพอากาศในโอกาสพิเศษต่าง ๆ มานาน และทำมากว่า 10 ลำ รวมถึงลายฉลอง 15 ปีของ F-16 ด้วยครับ ........... ฝีมือไม่เบาทีเดียว

ปล. ลำที่ทำลายพิเศษเหล่านี้ได้ไปอวดฝรั่งที่ Pitch Black 2008 ณ ประเทศออสเตรเลียด้วยครับ




ภาพใกล้ ๆ ครับ ..... วันเด็กปีหน้าน่าจะได้ชมใกล้ ๆ ครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 07/07/2008 20:41:31


ความคิดเห็นที่ 2


ถ่ายภาพหมู่กันหน่อยครับ



หมายเลขที่แพนหางดิ่งด้านหลังเป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องจากสหรัฐครับ ส่วนหมายเลขมาตราฐานของกองทัพอากาศจะอยู่กลางลำตัว สำหรับหมายเลขของสหรัฐนั้น สองตัวหน้าเป็นเลขท้ายของปีที่ผลิต สามตัวหลังน่าจะเป็นลำดับการผลิตครับ ส่วนเลขของไทย สามตัวหน้าจะเป็นหมายเลขฝูงบิน สองตัวหลังเป็นลำดับของเครื่องบินในฝูงครับ



นาน ๆ ทีจะมีภาพ F-16 มาจอดเรียงกันให้ถ่ายแบบต่างประเทศสักครั้งนะครับ ดูแล้วยิ่งใหญ่ดีเหมือนกัน

ลองสังเกตุที่หลังนะครับ จะมีเส้น ๆ เหลี่ยม ๆ นูน ๆ ขึ้นมา นั่นคือการปรับปรุง Falcon Up ครับ การปรับปรุงนี้จะทำเฉพาะโครงสร้างของอากาศยานเท่านั้น โดยจะทำให้เครื่องบินมีอายุการใช้งานได้นานขึ้นและเพิ่มความปลอดภัยให้นักบินด้วยครับ โครงการนี้บริษัท TAI (Thai Aviation Industry) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของทอ.เป็นผู้ดำเนินโครงการ โดยจัดหาชุด Kit มาจาก Lockheed Martin ครับ



เมื่อปลายปีที่ผ่านมามีข่าวออกมาจากงาน Defense 2007 ในกรุงเทพ โดยJanes ซึ่งเป็นบริษัทข้อมูลด้านการทหารระดับโลกบอกว่า กองทัพอากาศไทยกำลังพิจารณาสัญญาการจัดหาชุด Kit จาก Lockheed Martin เพื่อมาปรับปรุง F-16 ของกองทัพอากาศทั้งหมดในโครงการ MLU และเมื่อต้นปีที่ผ่านมาตัวแทนจากกองทัพอากาศสหรัฐประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกได้เข้าพบกับเสนาธิการทหารอากาศเพื่อพูดคุยถึงรายละเอียดของโครงการ MLU และอาวุธที่กองทัพอากาศไทยต้องการเพื่อมาติดตั้งกับ บ. F-16, F-5, และ Gripen.

ส่วนตัวแล้วอยากให้ทำครับ เพราะพูดตรง ๆ ว่า F-16A/B ทุกวันนี้สู้เครื่องบินอื่น ๆ ในภูมิภาคได้ยาก ไม่ว่าจะเป็น Su-27/30 ของอินโดนิเซียกับเวียดนาม, F-16C/D และ F-15SG ของสิงคโปร์ หรือ F/A-18D, MiG-29N หรือ Su-30MKM ของมาเลเซีย ซึ่งถ้าจะจัดหาเครื่องบินใหม่ให้ครบทั้ง 3 ฝูง 59 ลำนั้น ต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 150,000,000,000 บาท แต่ถ้านำ F-16 ทั้งหมดไปปรับปรุงในโครงการ MLU อาจจะใช้งบประมาณเพียง 20,000,000,000 - 30,000,000,000 บาท แต่ก็จะได้เครื่องบินที่ทันสมัยขึ้น มีระบบอิเล็กทรอนิคต์ต่าง ๆ ที่สามารถเทียบได้หรือเหนือกว่าเครื่องบินชั้นนำในภูมิภาค แต่ประหยัดเงินไปกว่า 4 - 5 เท่า



ถ้าทอ. จะทำคงไม่ได้ทำทีเดียวทั้งหมด แต่น่าจะค่อย ๆ ทะยอย ๆ ทำไปเนื่องจากงบประมาณมีจำกัด ........ ส่วน Gripen ล็อตที่สองอีก 6 ลำ ทอ.เจรจารายละเอียดครบถ้วนแล้วตั้งแต่การสั่งซื้อล็อตแรก โดยล็อตสองจะเป็น Gripen 6 ลำพร้อมกับ Saab 340 AEW&C อีก 1 ลำ แต่ล็อตสองจะมาหรือไม่นั้น คงต้องรอดูปีหน้าและขึ้นอยู่กับการเมืองด้วย!!! ......... รอดูกันต่อไปครับ

สำหรับวันนี้ จบเพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกท่าน สวัสดีครับ

 
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=08-07-2008&group=2&gblog=83
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 07/07/2008 20:41:58


ความคิดเห็นที่ 3


ถามคุณ Skyman หน่อยครับ F-16 ของเราเมื่อทำการอัพเกรดต่าง ๆ เสร็จแล้ว ทั้งโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ของเครื่อง F-16 ของเราพอสู้กับเครื่องบินของเพื่อนบ้านได้ไหมครับ แล้วสู้กับเครื่องบินรุ่นไหนได้บ้างครับ
โดยคุณ ทอแสง เมื่อวันที่ 07/07/2008 23:29:29


ความคิดเห็นที่ 4


รอท่านอื่นให้ความเห็นแล้วกันครับ แต่เครื่องที่ upgrade แล้วมันก็หนีกับเครื่องประเทศเพื่อนบ้านไม่มากเท่าไหร่ครับ ยกเว้นตัว Top ....... สู้กับใครได้หรือไม่ สรุปไม่ได้ครับ เพราะมันมีหลายปัจจัยมากครับ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 07/07/2008 23:37:03


ความคิดเห็นที่ 5


มาเล่นเกมส์ ทายปัญหารูปสุดท้ายกันว่า  F-16 ลำไหน ที่มาจาก สิงค์โปร์....

เรื่อง UPGRADE จะสู้ได้ หรือไม่ได้ ก็ต้อง UP ล่ะครับ...เพราะดูแล้วปัจจุบัน F-16 ของ ทอ. ผมว่า มันไม่เพียงพอต่อภัยคุกคามทางทหารในอนาคตแล้วครับ...ถ้า ทอ. ยังไม่สามารถจัดหา ฝูงรบใหม่ ได้ (นอกเหนือจาก Gripen 12 ลำ)...

เรื่องสมรรถนะ บ. จุดสำคัญผมว่า อยู่ที่ ผู้ใช้ คือ นักบินในเครื่องมากกว่าครับ...ลองสังเกตุ ฝูงบินข้าศึกสมมติของ ทร.สหรัฐ ก็ยังใช้ F-5 E และ F-16 N ซึ่งนักบินที่บังคับเครื่อง ก็คือสุดยอดนักบินของ สหรัฐ เหมือนกัน... 

ดังนั้น F-16 ของ ทอ. ถ้าได้ปรับปรุงสมรรถนะ ผสมกับนักบินที่มีความเชี่ยวชาญ และชำนาญ กับ บ. ....ทำให้ ทอ. สามารถมีนักบิน 1,000 ชม. 2,000 ชม. ได้หลาย ๆ คนกับ F-16 A/B ที่ประจำการ...ผมว่า ก็หรูใช้ได้แล้วครับ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/07/2008 01:22:46


ความคิดเห็นที่ 6


เสี่ย แล้วตั้งแต่ บข 20 ขึ้นไปนี่เสี่ยจะรับบทนายหน้าหมดหรือเปล่า ไม่รวมไปถึง บจ บล บตล ฯลฯ นะ

 

แล้วเสี่ยจะได้ค่าคอมเท่าไรครับ

โดยคุณ helldiver เมื่อวันที่ 08/07/2008 01:37:28


ความคิดเห็นที่ 7


ในการทำ Falcon Up มีรายละเอียดมั๊ยครับ ว่าทำส่วนไหนบ้างต้องซื้ออะไรมาใส่

โดยเฉพาะที่ว่า บนหลังเครื่องที่เป็นเหลี่ยมๆ เส้นนูน มันต้องเอาอะไหล่ชิ้นไหนหน้าตาเป็นยังไง มาใส่เข้าไปหรือครับ... 
โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 08/07/2008 02:10:58


ความคิดเห็นที่ 8


USAF FY/n T/V Local S/N AF/Unit Version Date Status Details
82-0989 61-582 Delivered: 82989 USAF  F-16A Block 15N 13 Jan 1984 [act] Details
Current: 10216 RTAF 102 sqn F-16A Block 15N ADF 21 Mar 2003 [act]
82-1008 61-601 Delivered: 82008 USAF  F-16A Block 15P 27 Feb 1984 [act] Details
Current: 10210 RTAF 102 sqn F-16A Block 15P ADF Jan 2004 [act]
82-1032 62-98 Delivered: 82032 USAF  F-16B Block 15K 20 Sep 1983 [act] Details
Current: 10201 RTAF 102 sqn F-16B Block 15K ADF May 2008 [act]
86-0378 2J-1 Delivered: 10305 RTAF  F-16A Block 15AA OCU 02 May 1988 [act] Details
Current: 10305 RTAF 103 sqn F-16A Block 15AA OCU Jan 2000 [act]
86-0379 2K-1 Delivered: 10301 RTAF  F-16B Block 15AA OCU 11 May 1988 [act] Details
Current: 10301 RTAF 103 sqn F-16B Block 15AA OCU Jan 1998 [act]
86-0380 2K-2 Delivered: 10302 RTAF  F-16B Block 15AA OCU 27 May 1988 [act] Details
Current: 10302 RTAF 103 sqn F-16B Block 15AA OCU Unknown [act]
86-0381 2K-3 Delivered: 10303 RTAF  F-16B Block 15AA OCU 20 Jun 1988 [act] Details
Current: 10303 RTAF 103 sqn F-16B Block 15AA OCU Feb 1990 [act]
87-0397 27-1 Delivered: 880 RSAF  F-16A Block 15AA OCU 07 Apr 1988 [act] Details
Current: 10323 RTAF 103 sqn F-16A Block 15AA OCU Sep 2005 [act]
87-0398 27-2 Delivered: 881 RSAF  F-16A Block 15AA OCU 10 May 1988 [act] Details
Current: 10324 RTAF 103 sqn F-16A Block 15AA OCU Feb 2005 [act]
87-0399 27-3 Delivered: 882 RSAF  F-16A Block 15AB OCU 29 Jun 1988 [act] Details
Current: 10325 RTAF 103 sqn F-16A Block 15AB OCU Feb 2005 [act]
87-0401 28-1 Delivered: 885 RSAF  F-16B Block 15Z OCU 29 Jan 1988 [act] Details
Current: 10319 RTAF 103 sqn F-16B Block 15Z OCU Feb 2005 [act]
87-0402 28-2 Delivered: 886 RSAF  F-16B Block 15AA OCU 14 Mar 1988 [act] Details
Current: 10320 RTAF 103 sqn F-16B Block 15AA OCU Feb 2005 [act]
87-0403 28-3 Delivered: 887 RSAF  F-16B Block 15AA OCU 31 May 1988 [act] Details
Current: 10321 RTAF 103 sqn F-16B Block 15AA OCU Unknown [act]
87-0404 28-4 Delivered: 888 RSAF  F-16B Block 15AB OCU 22 Jul 1988 [act] Details
Current: 10322 RTAF 103 sqn F-16B Block 15AB OCU Unknown [act]
87-0702 2J-2 Delivered: 10306 RTAF  F-16A Block 15AB OCU 22 Jun 1988 [act] Details
Current: 10306 RTAF 103 sqn F-16A Block 15AB OCU Jan 1999 [act]
โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 08/07/2008 02:11:14


ความคิดเห็นที่ 9


ขอทายว่าเป็นลำที่ 4 S/N 87398 นับจากลำใกล้ที่ทำแพนหาง 20 ปี

เนื่องจากมีร่มหน่วงความเร็ว เพื่อลดระยะการร่อนลงจอดครับ

หลักนิยมที่ดีของ ทอ. ซึ่งผมชอบมากคือ ไม่ตัดงบการฝึกบินครับ (การตัดงบฝึกบินเป็นทางเลือกสุดท้ายของการลดค่าใช้จ่าย)

อัตราส่วนพร้อมรบของ F-16 สูงมากครับ ประมาณ 80 %  ซึ่งสูงกว่า

เพื่อนบ้านทุกประเทศในอาเซียน (ยกเว้นสิงคโปร์ ผมไม่แน่ใจ)

ที่สำคัญคือจำนวนครับ F-16   จำนวน 57+2 ถือว่ามากนะครับ สามารถป้องกันประเทศได้อย่างมั่นใจ 

โดยคุณ โต้ง เมื่อวันที่ 08/07/2008 02:18:39


ความคิดเห็นที่ 10


ตอนแรกผมก็คิดเหมือนท่าน โต้ง ครับ...

พอผสมข้อมูลของท่าน Icy_CMU

ก็กลายเป็นว่า 4 ลำแรก และลำที่ 3 นับจากข้างบนสุด เป็นของ สิงคโปร์ ครับ...และน่าจะรวมถึง F-16B ลำหน้าสุดที่เพนต์หางด้วย....

จุดสังเกตุอีกอย่าง คือ สีของ ตัวเครื่อง จะเข้มกว่า... และเก่ากว่า และให้สังเกตุสีที่แพนหาง จะมี 2 สีตัดกัน ระหว่างริมขอบ กับ ส่วนที่เหลือของแพนหางครับ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/07/2008 05:58:30


ความคิดเห็นที่ 11


แปปเดียว20ผ่านไป ถ้าเพลออีกแปปคงจะ30ปีF-16แน่เลย
โดยคุณ I see u เมื่อวันที่ 08/07/2008 06:28:25


ความคิดเห็นที่ 12


แหะ แหะ เล่นทายคำถามด้วยครับ

ขี้เกียจเพ่งให้ตาเหล่...ขอทายว่า F16 RSAF คือลำที่ หมายเลขโรงงานขึ้นด้วย 9 ครับ เช่น 91062 ส่วนของ RTAF จะขึ้นด้วย 8 เช่น 87402 ค๊าบบบบบ

โดยคุณ ฟินิกส์ เมื่อวันที่ 08/07/2008 07:28:51


ความคิดเห็นที่ 13


 

 รอเฉลย คิดไม่ออก มัวไปก็ไม่ถูกนะเหม่งว่า

 

 

โดยคุณ marineen เมื่อวันที่ 08/07/2008 10:17:59


ความคิดเห็นที่ 14


ขออนุญาต ท่านเจ้าของรูปทุกท่าน ด้วยครับ...

ผมคาดว่า ดังนี้ นะครับ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/07/2008 11:59:12


ความคิดเห็นที่ 15


สีของแพนหางเครื่อง


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/07/2008 12:00:46


ความคิดเห็นที่ 16


โอ๊ะ...ขอโทษครับ...สงสัยลำแรกจะไม่ใช่ครับ...

เพราะ ลำแรก มีซี่โครง แย๊วววววววว....


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/07/2008 12:08:32


ความคิดเห็นที่ 17


เลข9 91-xxxx  เป็นของPeace Naresuan 2 ครับ ..............ท่านฟินิกส์
โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 08/07/2008 12:18:45


ความคิดเห็นที่ 18


อนาคตเราจะมี jas39 ที่ประสิทธิภาพดีกว่า F-16 แต่ jas39 ก็สู้ F-15 กับ SU 30 ไม่ได้อยู่ดี แต่ประเทศเรามีกองทัพไว้ป้องกันประเทศไม่ได้ไปบุกใคร แบบนี้ถ้าเจ้า jas39 มีตัวช่วยบนภาคพื้นเยอะ ๆ มันก็น่าจะอุ่นใจ

 

แต่!! ประเทศไทรเรามีการวางกำลังพวก จรวดต่อต้านอากาศยานไว้อย่างไรครับ แล้วมีเยอะไหมครับ ลำพังทหารเรือ เรือรบบางลำเราอาวุธยังไม่ครบเลยนิ ใช่ไหมครับ จะพึ้งทหารเรืออย่างเดียวก็คงไม่ไหว

โดยคุณ ทอแสง เมื่อวันที่ 10/07/2008 06:34:18


ความคิดเห็นที่ 19


ขอถามเพิ่มอีกนิดครับ สงสัยมานานแระ เวลานักบินปิดฝาครอบ ในห้องนักบินมันจะร้อนไหมครับ

โดยคุณ ทอแสง เมื่อวันที่ 10/07/2008 06:35:57


ความคิดเห็นที่ 20


สำหรับเอฟ 16 เวลาปิดฝาครอบแล้ว เครื่องยนต์ทำงาน จะมีแอร์เป่าออกมาครับ

เอฟ 5 ไม่มีแอร์ครับ

โดยคุณ F100-PW220E เมื่อวันที่ 11/07/2008 15:39:15


ความคิดเห็นที่ 21


F-5 ไม่มีแอร์ แล้วประเทศเรานี้อย่างร้อน ไม่อยากคิดสภาพของนักบินเวลาบินเลย
โดยคุณ ทอแสง เมื่อวันที่ 11/07/2008 23:59:51