อย่างที่เราคงทราบกันดีครับ ........ การจัดซื้อจัดหาอาวุธของกองทัพไทยทั้งสามเหล่าทัพ มองแค่ภาพในระยะสั้นเท่านั้น ขาดการมองภาพในระยะยาวไปจนถึงขาดการมองถึงยุทธศาสตร์ของประเทศ อาวุธที่จัดหามาบางรายการจึงไม่เข้ากับยุทธศาสตร์ของชาติ บางรายการจัดหามาแล้วไม่เกิดประโยชน์หรือใช้การไม่ได้ บางรายการจัดหามาแล้วใช้งานผิดวัตถุประสงค์
นั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และถ้าจะเปลี่ยนก็คงยาก เพราะอะไรทุกท่านคงทราบกันดี
ถ้าอย่างงั้นเราจะลองมาดูสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นดีกว่าครับ ....... ทบ.ไทยกำลังจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ANSAT จากรัสเซียตามโครงการชำระหนี้ข้าวด้วยอาวุธ จำนวนที่จัดหาคาดว่าน่าจะเป็น 8 ลำ อีกทั้งทบ.ยังได้เลือกแบบของรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 จำนวน 96 คันจากประเทศยูเครน และในอนาคตอาจจะมี Mi-17V-5 โผล่เข้ามาอีก ส่วนรถเกราะล้อยางของทร.ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการเลือกแบบนั้นนั้น ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ทร.ก็จะได้รถจากค่ายสังคมนิยมเก่าคือยูเครนหรือรัสเซีย
อย่างที่ทราบกันดี กองทัพไทยเป็นระบบมาตราฐาน NATO ... อาวุธที่กล่าวมานั้นล้วนใช้งานอะไหล่ ระบบสนับสนุน สายการส่งกำลังบำรุง ไปจนถึงอาวุธที่กองทัพไทยมีอยู่ไม่ได้เลย ..... อีกทั้งรัสเซียหลายครั้งยังค่อนข้างมีปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุง ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือความพร้อมรบของ MiG-29 ในกองทัพอากาศมาลเซีย
คำถามชวนวิเคราะห์ของกระทู้นี้จึงมีอยู่ว่า .......
เราจะอยู่กับระบบรัสเซียอย่างไรให้มีความสุข? นั้นหมายความว่าเราจะจัดการอาวุธดังกล่าวข้างต้นอย่างไรให้มันสามารถดำรงความพร้อมรบหรือดำรงขีดความสามารถในการใช้งานให้ได้ในระดับที่สูง
คำถามนี้เป็นคำถามปลายเปิด ทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ทุกมุมครับ อาจจะแสดงความคิดเห็นในประเด็นว่า ขอลิขสิทธิ์ผลิตอะไหล่ได้หรือไม่? หรือร่วมมือกับประเทศที่ใช้งานระบบเดียวกันในการซ่อมบำรุงร่วม (แบบเดียวกับ Su-30 ของอินเดียและมาเลเซีย) ....... แต่อยากให้เป็นไอเดียที่เราจะสามารถใช้อาวุธรัสเซียให้ได้เต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
อาจจะยากที่จะแสดงความเห็นสักหน่อย แต่ลองดูครับ อาจจะมีไอเดียอะไรดี ๆ ก็ได้ครับ ^ ^
ฮ.ANSAT
ฮ.MI-17V-5
รถเกราะ BTR-3E ของ ทบ. และคาดว่า น่าจะเป็นของ ทร. ด้วย
เท่าที่ดู ผมว่าอาวุธพวกนี้ ไม่น่าจะมีผลอะไรกับประสิทธิภาพการใช้งาน เพราะดูแล้ว ไม่ได้มีระบบ ดิจิตอล ต้องใช้ร่วมงานอะไร...เหมือนการ ซื้อรถเพื่อลำเลียง กับ ซื้อ ฮ. เพื่อบรรทุกลำเลียง...ผมว่ามันก็คล้าย ๆ กับปัจจุบันที่เรายังใช้ Bell UH-1H และ UH-1N ซึ่งก็หยุดสายการผลิตไปนานมากแล้ว...แต่ในเรื่องระบบอะไหล่ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร และ ฮ.เหล่านี้ ก็ใช้อาวุธเพียง ปืนกล...ในขณะที่ เมื่อมองไปที่ G-222 ของ ทอ. เป็น บ. ที่มีประสิทธิภาพมาก แต่กลับมีปัญหาเรื่องอะไหล่ และปัญหาของตัวบริษัทฯ ผู้ผลิตเอง....
ปัญหาในความเห็นส่วนตัวของผม กับอาวุธจากรัสเซีย จะเป็นเรื่อง มูลค่าการจัดหา ว่าไม่ได้ซื้อมาแพงกว่าประสิทธิภาพ คล้าย ๆ กรณี รถดับเพลิง ของ กทม. น่ะครับ...
ที่จริงไทยเองก็มีประสบการณ์ในการจัดหาอาวุธจากต่างค่ายนอกเหนือจากมาตรฐาน NATO มานานแล้วครับเช่น L-39ZA/ART ที่ได้รับการปรับปรุงระบบจากอิใสราเอลให้ใช้อาวุธมาตรฐานNATO ได้นั้น แต่อย่างไรก็ตามระบบเครื่องยนตร์และอาวุธภายในก็ยังเป็นแบบดังเดิมครับ อย่างปัญหาเรื่องกระสุนปืนขนาด 23มม. นั้นก็ทัพอากาศก็แก้ไขโดยการผลิตใช้เองได้แล้ว
หรือาวุธจากจีนเช่น ถ.๓๐ Type 69II รสพ.Type 85 และเรือรบจากจีนนั้น การจัดหาอะไหล่ กระสุน และการสนับสนุนจากจีนนั้นก็อยู่ในระดับที่ทำให้ปฏิบัติการได้ในระดับหนึ่งครับ (แต่ปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากคุณภาพของระบบมากกว่า)
การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซียของไทยนั้นจะต้องแบ่งเป็น2กรณีครับ อย่างการจัดหา ฮ.ANSAT หรือ Mi-17 ที่อาจจะมีในอนาคตนั้น ฮ.พวกนี้จะถูกใช้ในภารกิจทางธุรการเป็นหลัก เพราะฉนั้นก็เหมือนกับการจัดหาอากาศยานทั่วไปแบบอื่นๆที่กองทัพบกจัดหานั้นละครับ คือนอกจาการฝึกนักบินและช่างเครื่อง และจัดหาอะไหล่และซ่อมบำรุงแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องระบบอาวุธแต่อย่างใด ซึ่งหลายๆหน่วยงานในไทยเองนั้นก็มี อากาศยานที่ใช้ในงานธุรการหลายแบบต่างค่ายครับ ซึ่ง ฮ.ANSAT นั้นก็ออกแบบมาในมาตรฐานตะวันตก คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรนักครับ (อย่างเกาหลีใต้ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของสหรัฐฯก็มี ฮ.ลำเลียงจากรัสฌวียใช้งานครับ)
แต่ในส่วนระบบอาวุธที่มีความสิ้นเปลือง สป.ต่างๆเช่นในกรณีรถหุ้มเกราะล้อยางจากยูเครน-รัสเซียนั้น การจัดหาต้องพิจารณาในระยะยางครับว่าทางบริษัทผู้ผลิจจะสนับสนุนการใช้งานอย่างต่อเนื่องได้หรือไม่ ทั้งการฝึก ระบบอุปกรณ์ อะไหล่และกระสุน ซึ่งถ้าสามารถตอบปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นได้ก็ไม่มีปัญหาครับ(ซึ่งในข้อมูลนั้นทางยูเครนจะให้ไทยผลิตกระสุน 30มม.ของ BTR-3ได้ครับ) แต่การใช้งานไปจริงๆนั้น ปัญหาเรื่องกระสุน ระบบอุปกรณ์ อะไหล่ และอื่นๆนั้นถ้าเป็นแบบเดียวกับของจีนขึ้นมาก็คงต้องไม่เหมาะครับ
การมีอาวุธจากต่างค่ายไม่ใช่เรื่องแปลกครับ แต่ปัญหาคือจัดหามาแล้วจะสามารถบำรุงรักษาให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ซึ่งประเทศที่มีงบประมาณค่อนข้างจำกัดอย่างไทยเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาในการจัดแต่ละโครงการครับ
คำถามชวนวิเคราะห์ของกระทู้นี้จึงมีอยู่ว่า .......
เราจะอยู่กับระบบรัสเซียอย่างไรให้มีความสุข? นั้นหมายความว่าเราจะจัดการอาวุธดังกล่าวข้างต้นอย่างไรให้มันสามารถดำรงความพร้อมรบหรือดำรงขีดความสามารถในการใช้งานให้ได้ในระดับที่สูง
คำตอบ
ขอลิขสิทธิ์มาผลิตเองครับ เริ่มจากชิ้นส่วนเล็กๆน้อยๆ การ overhaul อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรบุคคล ให้กับประเทศเรา รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน กับประเทศคู่ค้า ด้วยครับ อาจจะได้สิ่งที่กลับมาเยอะแยะ เพราะรัสเซียก็พร้อมจะให้นะ ในความคิดผม
ปล ตัวนี้ก็ระบบอาวุธรัสเซียนะครับ ทดลองยิงเรียบร้อยแล้ว
วิธีการเลี่ยงให้เกิดความทุกข์กับระบบอาวุธ
รัสเซีย
1.กองทัพไทย และกองทัพอื่นๆในภูมิภาค อาเซียนต้องรวบรวมบัญชี อะไหล่ที่จำเป็น
ของรัสเซีย
2. กองทัพไทยและกองทัพอื่นๆในอาเซียน
ส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนด้านการสต๊อคอะไหล่
ต่างๆในอาวุธ ยุทภัณฑ์จำพวกเดียวกัน
3.ให้ก้าวหน้ามากขึ้น join venture เป็นบริษัทแลกเปลี่ยนซื้อขาย อาวุธอะไหล่ยุทภัณฑ์ไปเลย
4.และจะให้ดีคัดสรรเอาอาวุธที่คิดว่าผลิตแล้วมีสมาชิกเยอะ ขายได้แยะ ไม่ขาดทุนมากนักในระยะยาว มีผลิตกัน
และแจกจ่ายให้กับประเทศคู่ค้าสำคัญ
ในกรณีนี้ เรื่องการเก็บ กั๊ก แทงข้างหลัง
จะต้องไว้ข้างหลังการเจรจาก่อนเพราะในระยะยาวเรื่องนี้ทำได้ เพราะ Jas Gripen
เขาก็ทำแล้วเหมือนกันการแลกเปลี่ยนอะไหล่และข้อมูลอื่นๆ
ส่วนตัวแล้วผมไม่คิดว่าอาวุธของค่ายรัสเซียจะมีปัญหานาครับ เพราะอาวุธรัสเซียถือว่ามีผู้ใช้มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอาวุธทางภาคพื้นดินอย่างรถถัง ปืนใหญ่ ยิ่ง อาวุธเบาอย่างปืนเล็ก ปืนกล ยิ่งไม่มีปัญหาครับ ถ้าเรารู้จักหาแหล่งซื้อ อาวุธหรือ อะไหล่ ยิ่ง ปัจจุบัน ประเทศที่เคยอยู่ค่ายโซเวียตเปลี่ยนสีมาอยู่ค่าย นาโตกันเป็นแถว บรรดาอาวุธทั้งหลาย ที่เคยอยู่ในคลังของพวกนั้นน่าจะหาซื้อได้ ถูกๆนาครับ อันนี้ หมายถึงอาวุธ มือสองที่รัสเซีย หรือ กลุ่ม รัสเซียเดิมเขาเลิกใช้แล้วนาครับ
แต่ถ้าเป็นอาวุธสมัยใหม่ที่กำลังอยู่ในประจำการในกองทัพรัสเซีย หรือ ยูเครน นี่ ถึงแม้จะมีคุณภาพดีแต่ก็ต้องระวังครับ เพราะรัสเซียเข้าระบบทุนนิยมเต็มตัวแล้ว ของบางอย่างถูกจริงแต่มาตราฐานการผลิต อาจด้อยกว่าตะวันตกทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องความทนทานได้ เช่นอะไหล่เครื่องยนต์ เจ็ต หรือ ระบบ อิเลคทรอนิตส์ ซึ่งอาจมีอายุการใช้งานสั้นกว่าของตะวันตกครับ การส่งกำลังบำรุง หรือ ลอจิสติค ของบริษัท ผู้ผลิตอาจไม่ได้มาตราฐานอย่างค่ายตะวันตก ซึ่งอาจทำให้ ต้องรออะไหล่ซ่อม นานกว่าปกติ อันนี้คงต้องทำใจเอาไว้ครับ ยิ่งมีผู้ใช้มากเท่าไหล่ ยิ่งต้องรอคิวนานครับ เพราะเราถือเป็นลูกค้ารายใหม่ เขาอาจไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่ ยิ่งถ้าไม่มีเส้นสายภายในเป็นการส่วนตัวกับผู้ขายด้วยถือว่าอันตรายครับ เพราะอย่าลืมว่าในรัสเซีย หรือ ยูเครน ก็มีระบบ น้ำร้อน น้ำชา ให้เงินใต้โต้ะเหมือนประเทศด้อยพัฒนาเหมือนกัน ดังนั้นถ้าเราไม่มีคอนแทคทางนี้ ถือว่าอันตรายครับ สู้หันไปหาผู้ค้าอาวุธค่ายตะวันตกดีกว่าเพราะ เคยคบหากันมานานและไม่ค่อยมีเรื่องเสียหายทำนองนี้ครับ
แต่ถ้าหากเราอยากได้อาวุธไฮเทค ของค่ายนี้มาใช้จริงๆ คงต้อง หาองค์กร มาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะครับ อาจเป็นบริษัทเอกชนนายหน้าคนไทยที่รับจัดส่งอะไหล่ หรือ อุปกรณ์จำเป็นให้ทั้งสามเหล่าทัพ ในปริมาณ ที่ มากพอ สมควร เพื่อจะไม่ต้องสต็อคอะไหล่ มากเกินไป รวมทั้งต้องมีความอ่อนตัวในการหาอะไหล่ได้ทั้งจากผู้ผลิตโดยตรงและในตลาดมืดครับ (เหมือน อิหร่าน ที่สามารถหาอะไหล่เครื่องบิน เอฟ-14 ได้จากตลาดมืดนั่นแล) บางทีต้องร่วมมือกับกล่มประเทศผู้ใช้ด้วยกัน เพราะแชร์อะไหล่ ตามลำดับความต้องการครับ (อันนี้เป็นไปได้น้อยมากเพราะถือเป็น ยุทโธปกรณ์ ถ้าไม่จำเป็นเขาไม่แชร์ กันหรอกครับ) หรือไม่ก็ดัดแปลงสร้าง อะไหล่บางชิ้นเอาเองในประเทศซึ่งอันนี้เป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน เพราะเราต้องซื้อเขาในปริมาณมากๆ ถึงจะคุ้มในการเปิดสายการผลิตครับ
หากว่าไม่ใช่พวก อาวุธไฮเทค ของรัสเซียก้น่าจะใช้ไดดีครับ แต่อยากให้ สามทัพ เค้า มาคุยกัน ว่าอะไรที่จะใช้ร่วมกันได้มากกว่า จะได้ ประหยัด งบการจัดหา และด้านอะไหล่
เช่น ใช้ เจ้า อิ้กล่า ก็ใช้มันทั้งสามเหล่าทัพไป ไม่ใช่ ว่า ต่างคนต่างใช้คนละแบบ
รถหุ้มเกราะก็น่าจะตกลงเลย จะเอายูเครน ก็เอาทั้งทัพบก นาวิก (แต่ส่วนตัว ไม่ค่อยอยากได้ btr-3e1 อยากได้ btr4 มากกว่า)
ส่วนพวก ของที่เน้น ไฮเทค คงต้องเน้น ความเป็นนาโต้ ไว้ก่อนน่ะครับ แต่ช่วงหลังรัสเซียก็ทำอาวุธเป็นแบบนาโตมากขึ้นทุกทีแล้ว
เห็นด้วยกับทุกท่านครับ
ส่วนตาโจ๊ก
นี่ๆ จะเป็นนายหน้าขายLCAแข่งกะตาโยรึไง
ระบบของรัสเซีย โดยพื้นฐานนั้นง่าย ละมีระบบสำรองรองรับอยู่แล้วครับ เช่น ป้อมปืนในรถรบของเขาจะมีคันหมุนมือรองรับระบบไฟฟ้า
ระบบน้ำมันของรถรบก้อใช้แบบมัลติฟูเอล
ระบบปืน 30ม.ม.ของรถรบก็ใช้แบบเดียวกับ ฮ.โจมตีแบ่งกระสุนกันใช้ได้หรือใช้ระบบส่งกำลังร่วมกันได้
ปืนเล็กอาก้าก้อใช้กระสุนแบบเดียวกับปืนเล็กกลอาพีดีไม่ต้องใช้กระสุนแบบสายที่มีข้อต่อด้วย นั่งร้อยสายกระสุนเองได้เลยในระดับผู้ใช้งาน
ระบบอิเลคทรอนิกส์ของยานรบ ฮ.รบ ก้อมีใช้ตามความจำเป็น
ของรัสเซียใช้ง่าย สมบุกสมบัน สมแก่เหตุ ยังจำภาพตอนเอาบีทีอาร์มาทดสอบที่สระแก้ว ตอนจะทดลองขับในน้ำ วิ่งลงคนแรกเลย บอกตรงๆฮึกมาก
อาก้าก้อได้สมญาว่าไรเฟิลจู่โจมพันธุ์แท้ของโลก ทุกคนทราบคุณภาพกันดี
ระบบของรัสเซียมีใช้ทั่วโลก ใช้มากโดยเฉพาะประเทศจน จนมากๆบางประเทศแทบไม่มีระบบการส่งกำลังเลย ใช้กันจนพัง
จรวด อตอ.อิกล่า ออกแบบมาสำหรับยิง บ.สหรัฐกับยุโรป ราก้อแสนถูก
อาวุธนำวิธียาคอน เรือดำน้ำอาเมอร์ กิโล ของดีราคาถูกๆทั้งน้าน
ผมสงสัยว่ากองทัพกำลังทำอะไรอยู่ครับ ใช้แบบรัสเซียเลยครับ เอามันทั้งประเทศเลย โดยเฉพาะ ทบ.
มาลงชื่อว่ามาอ่าน คิดเองไม่เป็น คิดไม่ออก