หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


<font color=orange>Update โครงการจัดหาอาวุธของกองทัพเรือไทย</font>

โดยคุณ : tow เมื่อวันที่ : 02/08/2009 11:21:00

ทร.ประกาศผลการพิจรณา ระบบควมคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ของเรือ OPV แล้วครับ

ผู้ชนะคือระบบที่เสนอโดย

บริษัท THALES NEDERLAND B.V. ครับ

คือ

ผมอยากทราบครับ ว่ามันคือระบบใดหรือครับ ใช่ระบบเดียวกับ เรือชุด ปัตตานีรึเปล่าครับ




สารจากผู้ดูแลระบบ

ขอเชิญทุกท่านพูดคุยถึงข่าวการจัดหาต่าง ๆ ของกองทัพเรือได้ในกระทู้นี้ได้เลยครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ความก้าวหน้าของการจัดยิงดาวเทียม THEOS

รัฐบาลรัสเซียได้ออกใบอนุญาตให้แก่กระทรวงกลาโหมของรัสเซียเพื่อใช้ระบบอวกาศและยุทโธปกรณ์ รวมทั้งบุคลากรในกองทัพเพื่อยิงดาวเทียมธีออส (Theos) ของไทยจากฐานยิงดอมบารอฟสกี และยานอวกาศ RapidEye ของเยอรมนีจากสถานีเบย์โคนูร์ของรัสเซีย
ทั้งนี้ ดาวเทียมดังกล่าวจะถูกยิงเข้าสู่วงโคจรโดยจรวด RS-20
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบีบีซีรายงานในเดือนม.ค.ว่า การปล่อยจรวดอวกาศ Dnepr เพื่อส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ธีออส (THEOS ซึ่งย่อมาจาก Thailand Earth Observation System) ของไทยขึ้นสู่อวกาศจากเขตดอมบารอฟสกีได้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากยังไม่มีการทำข้อตกลงกับอุซเบกิสถาน โดยเขตดอมบารอฟสกีนี้อยู่ใกล้กับหมู่บ้านยาสนีในภูมิภาคโอเรนเบิร์กของสหพันธรัฐรัสเซีย
การปล่อยจรวดนี้ซึ่งมีกำหนดในวันที่ 20 ม.ค.2551 ต้องถูกเลื่อนออกไปเพราะยังไม่มีการทำข้อตกลงกับอุซเบกิสถานเกี่ยวกับจรวดท่อนแรกที่จะตกลงมาในดินแดนของอุซเบกิสถาน แหล่งข่าวที่เบย์โคนูร์ ซึ่งเป็นจุดปล่อยจรวดกล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์แฟกซ์ของรัสเซียในวันที่ 29 ธ.ค.2550
ทั้งนี้ ดาวเทียมธีออสถือเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยที่มี โสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือสอทภ.โ เป็นเจ้าของโครงการ โดยดาวเทียมดวงนี้สร้างขึ้นตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ขณะที่มีบริษัท EADS Astrium ที่เมืองตูลูสของฝรั่งเศส เป็นผู้ออกแบบและจัดสร้าง
โครงการนี้ รัฐบาลไทยทุ่มทุนกว่า 6,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าออกแบบและจัดสร้าง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร, การพัฒนาระบบควบคุมการทำงานดาวเทียม และการปรับปรุงระบบรับสัญญาณและประมวลผลข้อมูลดาวเทียมในประเทศไทย
โธีออสโ เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติขนาดเล็ก มีน้ำหนักรวมประมาณ 750 กิโลกรัม มีแนววงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ในแนวเหนือ-ใต้ ที่ความสูงเหนือพื้นโลกประมาณ 822 กิโลเมตร มุมเอียงประมาณ 98.7 องศา โดยติดตั้งกล้องบันทึกข้อมูลภาพ 2 กล้อง เป็นแบบภาพขาวดำรายละเอียดสูง 2 เมตร (Panchromatic camera) และแบบภาพสีรายละเอียดภาพสูง 15 เมตร (Multispectral)
ระบบควบคุมการโคจรของดาวเทียมธีออส ถูกออกแบบเป็นพิเศษให้มีความสามารถในการเอียงตัวดาวเทียมไปด้านซ้ายและขวาของแนวการโคจรได้ถึง 30 องศาจากแนวดิ่ง ทำให้สามารถถ่ายภาพซ้ำในพื้นที่ที่ต้องการในรอบการโคจรถัดไป และเพิ่มความถี่ในการถ่ายภาพในพื้นที่หนึ่งๆ ให้สูงขึ้นได้
ดาวเทียมธีออส มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี ในขณะที่ส่วนใหญ่ดาวเทียมจะมีอายุใช้งานเกินกว่าที่ตั้งไว้ และทำงานโดยอาศัยแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์รวมทั้งสามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก
ดาวเทียมดวงนี้ เริ่มดำเนินการออกแบบและก่อสร้างที่เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส นับตั้งแต่วันที่มีการลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2547 จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ ใช้เวลากว่า 3 ปี
แหล่งข่าวจาก เวปไซต์ www.pantip.com เนื้อข่าวโดย เวปไซต์
เนชั่น จำกัดครับ ขอบคุณครับ

ปอลิง . ตอนแรกคิดว่าปล่อยไปแล้วเสียอีก

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 02/07/2008 07:23:40


ความคิดเห็นที่ 2


เพิ่มเติมให้อีกซัก 3 เรื่องครับ

1. เรื่องการ Upgrade ระบบ C-802 สำหรับ เรือกระบุรี และสายบุรี อาจจะยกเลิก เพราะคงไม่คุ้มค่า กับสภาพตัวเรือขณะนี้...

2. แต่อาจมีการรื้อโครงการณ์ Upgrade เรือชุดนเรศวรแทนครับ โดยรื้อระบบของจีนทิ้งทั้งหมด ( ระบบอำนวยการรบ เรดาร์ โซนาร์ ) โดยเปลี่ยนเป็นแบบยุโรป รวมทั้งติงตั้ง ระบบ VLS ครับ... 

3. LPD อาจจะ Made in Singapore นะครับ...


โดยคุณ highskygate เมื่อวันที่ 02/07/2008 07:50:49


ความคิดเห็นที่ 3


    ^
    ^
    ^
CHEERS !!!

 ปล. แต่ใจดำจังฮะ นายกสมัครไปจีนยังไม่ทันกลับเลย ทร.จะหันไปคบฝรั่งซะล้ะ
ทบ.เอาบั้งไฟกับถ.จีนไปล้ะกันเน้อะ 55
โดยคุณ Mstn เมื่อวันที่ 02/07/2008 08:09:10


ความคิดเห็นที่ 4


อ้าว ท่าน highskygate ครับ ที่ท่าน highskygate พูดนี่หมายถึง เรือ เจียงหู ทั้ง 4 ลำเลยรึเปล่าครับ หรือ หมายความถึง เฉพาะเรือกระบุรี กับ สายบุรี ครับ แล้วถ้า ไม่ใช้ c-802 แล้วจะใช้อะไร แทน c-801 ละครับ ( ผมเข้าใจว่าน่าจะหมดอายุการใช้งานแล้วนะ )

ป.ล. ถ้าให้ ผมคิดจากที่ท่าน highskygate บอกนะ สมมุติ ว่า ถ้า ปรับปรุง เฉพาะเรือชุดเจ้าพระยา นะ  LY-60 น่าจะมีโอกาสเกิดนะครับ เพราะเลือกที่จะปรับปรุง เรือชุดที่ที ปืนหลัง ( เรือกระบุรี สายบุรี มีลานจอด ฮ. ) ซึ่งมีโอกาสติด sam ได้...

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 02/07/2008 09:53:57


ความคิดเห็นที่ 5


 

   อ่านข่าวจากคุณ highskygate แล้วผมประทับใจการตัดสินใจของทร.คราวนี้ครับ     เพราะถ้าปรับปุงเรือชั้นนเรศวรทั้ง 2 ลำ แบบถอดไส้ข้างในออกหมดแบบนี้เจ๋งครับ  คือ ถอดระบบอำนวยการรบเจ้าปัญหาออกไปซะ    แล้วเอาของใหม่ที่เข้ากันได้กับระบบอาวุธของชาติตะวันตก    อย่างนี้เรื่อน่าจะมีประสิทธิภาพแบบก้าวกระโดด    และเดาต่อเอาว่า VLS ที่จะได้นี้คงไม่ใช่ MK-41 แน่ๆ   แต่น่าจะเป็น Mk-48/56 ตัวใหม่ที่อเมริกันขายให้มาเลย์มากกว่า    แถมระบบป้องกันระยะประชิดอีก 2 ชุด ต่อลำ   ดังนั้นความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศจะดีขึ้นมากทีเดียว   ส่วนขีดความสามารถในการต่อตีเรือดำน้ำก็คงต้องทำใจไปก่อน  

     เรือชั้นเจียงหูทั้ง 4 ลำนี้ทนใช้ไปจนหมดอายุการใช้งานเถอะครับ   แล้วค่อยทดแทนด้วยเรือใหม่จะดีกว่า   ไม่แน่ว่าเมื่อถึงเวลานั้น ทร. อาจจะพร้อมสำหรับการต่อเรือฟรีเกตุเองได้แล้ว

  และอีกอย่างถ้าทร.ได้งบสำหรับต่อเรือป้องกันภัยทางอากาศเมื่อใด   ทร.เราก็จะมีเรือฟรีเกตประสิทธิภาพสูงพร้อมรบ 4 ลำ เท่ากับทร.มาเลย์ครับ   

   ผมรอล้นสุดตัวว่า OPV ของเราจะดูหรูกว่าที่วาดหวังเอาไว้หรือเปล่า   เพราะของมาเลย์นั้นดูหรูแน่ๆแล้วด้วย MEKO-100   แต่อย่างว่า  2500 ล้านกับ 8000 กว่าล้าน   ต่อเองดีกว่าครับ   

 

 

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 02/07/2008 10:47:40


ความคิดเห็นที่ 6


 

   เรด้าร์อำนวยการรบเป็นของยุโรป........เดาเลยว่า Smart-s Mk-2  เพราะเรด้าร์นี้ถูกออกแบบมาสำหรับจรวดอย่าง ESSM และระบบ VLS ที่ใช้กับระบบที่เป็น non-AGIS และเหมาะกับเรือขนาดซต์นี้    

       นอกจากนี้ระบบเรด้าร์ตรวจอากาศแบบ LW-08 ก็ผลิตโดยบริษัทเดียวกันอีก   ดังนั้นตัวเลือกของ  VLS  ก็น่าจะมาจบที่ MK-48/56 แน่ๆครับ     พื้นที่ขนาดที่เตรียมไว้สำหรับ  Mk-41  น่าจะติดตั้ง Mk-48/56 ได้ 2 ชุด   หรือั่นคือ  เรือชั้นนเรศวรจะสามารถติดตั้ง ESSM ได้ 24 ลูก   เท่าๆกับเรือชั้นลิเกียว     ซึ่งใช้ระบบเรด้าร์และ VLS รุ่นนี้    

   ก็มาลุ้นกันครับว่าระบบระยะประชิดจะเป็นอะไร   ผมเชียร์  SEARAM ครับ    แพงหน่อยแต่ชัวร์   รับรองว่าจรวดต่อตีเรือจะโดนสอยตั้งแต่ระยะไกลด้วย ESSM ถ้าหลุดเข้ามาได้อีก   ก็จะถูกสอยด้วย RAM ในระยะสุดท้าย    ซึ่งตรงนี้จะเด่นกว่าลิเกียวอับเกรด   เหมาะมากที่จะทำหน้าที่คุ้มกัน 911 ไปจนกว่าเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศจะมีเงินซื้อครับ   

 

 

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 02/07/2008 10:59:46


ความคิดเห็นที่ 7


อ้างอิงจากท่าน Highskygate

1. อืม ผมพอเข้าใจเลา ๆ ว่างบประมาณของทางราชการ ให้มาแล้วต้องใช้ แล้วอย่างงี้ทร.จะโยกงบ C-802 ในเรือกระบุรีกับสายบุรีไปติด LY-60 ได้ไหมครับ?

2. เป็นข่าวดีอย่างยิ่งยวดครับ แปลว่าที่มีข่าวลือ ๆ มาว่าทร.จะโละ Combat Suite นี่ก็เป็นความจริงแล้วสินะ และยินดีอย่างยิ่งที่ทร.เลือกระบบยุโรปครับ

3. อ่าาา Endurance ของผม เชียร์มาตั้งนาน ^ ^

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 02/07/2008 11:57:46


ความคิดเห็นที่ 8


จากข้อมูลท่าน Highskygate

ข้อ 1. ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี ผมว่า น่าจะปรับปรุงระบบ เป็นเรือภาระกิจปราบเรือดำน้ำ เพราะมีลานจอด ฮ. พร้อมสนับสนุน จับคู่ภาระกิจ แล่นคู่กับ ร.ล.เจ้าพระยา หรือ ร.ล.บางปะกง ที่คงปรับปรุง จรวดเป็น C-802  โดยใช้ ฮ. จาก ร.ล.กระบุรี หรือ ร.ล.สายบุรี สนับสนุนการชี้เป้า ให้ ร.ล.เจ้าพระยา หรือ ร.ล.บางปะกง

ข้อ 2. ชุด ร.ล.นเรศวร ก็จะเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศ สมบูรณ์แบบ สักทีครับ...ซึ่ง ทร.รื้อระบบแบบนี้ VLS มาแน่ ๆ เพราะเท่าที่ผมดู พวกการยิงจรวด มันจะมีเรื่องระบบการทำความเย็น มาเกี่ยวข้องด้วย...ซึ่งก็เดาตัวเก็ง จะเป็น MK-48 หรือ ASTER แบบเดียว ทร.สิงคโปร์  ซึ่งผมก็ขอ เก็ง ว่าจะเป็น ASTER  คู่กับ ซาดรัล ในชุด ร.ล.นเรศวร

ข้อ 3. ว่าแล้วเชียววววววว...ซึ่ง ดีครับ...เห็นด้วยเลยครับ...ไม่ใหญ่โตเกินแล้ว และผมคิดว่า น่าจะคุ้มค่ากับภาระกิจ มาก ๆ ครับ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 02/07/2008 21:10:55


ความคิดเห็นที่ 9


ระบบอำนวยการรบ(Combat System) ของเรือชั้นปัตตานีถ้าจำไม่ผิดคือ STN ATLAS (น่าจะของเยอรมัน)ครับ และใช้ระบบ Radar ควบคุมการยิงแบบ TMX/EO แต่การที่มีข้อมูลว่าเรือตรวจการไกลฝั่งชั้นใหม่จะใช้ระบบอำนวยการรบของ THALES เนเธอร์แลนด์ แสดงว่าการออกแบบตัวเรือคงจะเป็นการออกแบบใหม่ซึ่งต่างจากเรือชั้นปัตตานีครับ ซึ่งระบบอำนวยการและอุปกรณ์ภายในคงจะแตกต่างจากเรือชั้นปัตตานีไปมากครับ(เช่นส่วนตัวเรือนั้นก็มีเฉพาะลานจอด ฮ.แต่ไม่มีโรงเก็บในเรือ)

ตามข้อมูลคุณhighskygate

1.หลังจากที่ C-801 หมดอายุการใช้งานแล้ว เรือชั้น ร.ล.เจ้าพระยา และร.ล.กระบุรี คงจะถูกถอดอาวุธปล่อยออกเป็นเรือฟริเกตไม่ติดอาวุธนำวิถีโดยอาวุธหลักคือปืน100มม. ครับ

ส่วนตัวคิดว่าในอนาคต เรือชั้นนี้อาจจะถูกย้ายจากกองเรือฟริเกตุที่๒ ไปสังกัดกองเรือตรวจอ่าวก็ได้ครับ แต่จะมีเรือรบใหม่มาประจำการแทนหรือไม่นั้นยังเป็นเรื่องในอนาคตครับ

2.สำหรับเรือชั้น ร.ล.นเรศวรนั้น การรื้อระบบอำนาจการรบ Radar และ Sonar จากจีนทั้งหมด รวมถึงการติดตั้งระบบ VLS นั้น ทางปฏิบัติแล้วเป็นเรื่องที่ใหญ่มากครับซึ่งใช้งบประมาณสูงและมีความเสี่ยงในการพัฒนาพอสมควร ที่พอจำได้คือตอนที่ได้รับมอบเรือชั้นนี้นั้นกว่ากองทัพเรือจะติดตั้งระบบให้มีความพร้อมในการปฏิบัติการรบได้ก็ใช้เวลาหลายปีครับ ถ้ารื้อระบบใหม่ตามข่าวจริงนนี้คงจะเป็นโครงการระยะยาวที่ใช้เวลาพอสมควร ส่วนตัวไม่แน่ใจว่ากองทัพเรือจะมีงบประมาณพอหรือไม่ครับ (เพราะแค่โครงการต่อเรือ OPV ใหม่นั้นก็ได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาวัสดุเช่นเหล็กกล้าที่แพงขึ้นอยู่แล้ว)

จากข้อมูลที่ได้มาที่ว่างในดาดฟ้าเรือหน้าหอบังคับการของเรือชั้นนเรศวรนั้นถูกออกแบบสำหรับการติดตั้ง VLS แบบ Mk 41 ครับ ซึ่งส่วนตัวเคยมีการสอบถามข้อมูลจากท่านอื่นๆหลายครั้งแล้วว่าจะสามารถติดตั้งระบบVLSแบบอื่นที่มีราคาถูกกว่าได้หรือไม่เช่น Mk48 เป็นต้น แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ชัดเจนว่าได้หรือไม่ครับ รวมถึงระบบที่เป็นมาตรฐานต่างออกไปอย่าง Sylver A43 สำหรับ Aster 15 ด้วยครับ ถึงระบบอำนวยการจะรองรับแต่โครงสร้างตัวเรือติดตั้งระบบชุดยิงไม่ได้ก็อาจจะใช้ไม่ได้ครับ

Mk41 และ Mk48 นั้นถ้าติดในชั้น ร.ล.นเรศวรจะ ใช้ชุด 8ท่อยิง และ 16 ท่อยิงได้ตามลำดับ ซึ่งจะจุ อวป. ESSM แบบ Quad-Packใน Mk41 และ Dual-Pack ใน Mk48 ได้รวม32นัด (ในกรณีที่สหรัฐฯขายให้)

แต่ถ้าเป็นท่อยิง Sylver A43 ก็จะจุ Aster 15 ได้ชุดละ 8นัดเท่านั้นครับ ซึ่งระยะยิงไกลกว่า Sea Sparrow เล็กน้อย(30km) และเรือชั้นนเรศวรไม่น่าจะติดตั้งชุดยิง Sylver ได้เกิน 2ชุด (Aster 15 รวม 16นัด)ครับ (แน่นอนในกรณีที่ยุโรปขายให้เช่นกัน)

3.อันนี้คาดไว้อยู่แล้วครับว่าเรือจากสิงคโปร์น่าจะได้รับเลือกด้วยเหตุผลด้านขนาด คุณสบบัติที่ตั้งไว้และ งป.ที่น่าจะได้2ลำ แต่ส่วนตัวนั้นอยากได้เรือที่มีดาดฟ้ายาวทั้งลำแบบ LPD ของอิตาลีครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 02/07/2008 22:21:58


ความคิดเห็นที่ 10


เพื่อนผมคนหนึ่งอยู่บน ร.ล.กระบุรี ได้คุยกันเมื่อไม่นานมานี้ว่า มีข่าวว่าช่างจากเมืองจีนเข้ามาแล้ว กำลังจะทำการปรับปรุง และเรือของเขาน่าจะเป็นคิวต่อไปในเรื่อง C-802 ครับ ถ้าข่าวยกเลิกเป็นจริง ผมว่าน่าเสียดาย แต่ผมเชื่อใจ ทร.ครับ ทร.น่าจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุด

 

ส่วนตัวแล้วมีข้อสงสัยบางประการครับ

 

คือว่า ถ้าลูก อวป. c-801 หมดอายุ เราซื้อลูกใหม่มาไม่ได้เหรอครับ (หมายถึงลูกรุ่น C-801 ครับ) หรือจีนยุติการผลิตไปแล้ว เพราะดูอย่างเอ็กโซเซต์ MM38 ใช้กันมานานแสนนาน ปัจจุบันเรือชั้นราชฤทธิ์ ยังมีใช้อยู่เลยอ่ะครับ อันนี้ถามแบบคนไม่รู้จริง ๆ นะครับ ถ้าจะลดชั้นไปเป็นเรือฟริเกตติดปืนธรรมดา ผมยังเสียดายเรือเลย อายุแค่ยี่สิบกว่าปี ยังไม่น่าเก่ามากอ่ะครับ (ความเห็นของคนไม่รู้นะครับ)

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 03/07/2008 09:05:52


ความคิดเห็นที่ 11


ท่านครูชนบท...ตามข่าวลือของท่าน Highskygate อาจจะไม่อัพเกรด ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี แต่ยังเหลือ ร.ล.เจ้าพระยา กับ ร.ล.บางปะกง ซึ่งผมคิดว่า คงยังอยู่ในโครงการ อัพเกรด ปกติ ครับ...เพราะผมคิดว่า ทร.คงลดจำนวน เรือต่อต้านเรือผิวน้ำ ด้วยอาวุธนำวิถี เป็นแน่ครับ...ผมก็ขอเดาอีกว่า

ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี (มีลานจอด ฮ.) ยังคงประจำการ C-801 ( ตามข้อมูล ทร. น่าจะมีประจำการอยู่ 80-90 ลูก ) แต่อาจจะลดจำนวนลูกต่อลำลง

ร.ล.เจ้าพระยา กับ ร.ล.บางปะกง (ไม่มีลานจอด ฮ.) น่าจะคงโครงการ อัพเกรด ติด C-802 ตามเดิม

ผมเลยมีความคิดว่า ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี น่าจะปรับปรุงภาระกิจ เป็นปราบเรือดำน้ำ แทน เพราะเรือทั้ง 4 ลำ นี้ มีความด้อย หรืออาจจะเรียกว่า ไม่มีความสามารถปราบเรือดำน้ำ ได้เลย....แต่ ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี ยังมีความสามารถในการรองรับ ฮ. ปราบเรือดำน้ำ ได้...และตาม โครงการ จัดหา ฮ.ซุปเปอร์ ลิงค์ ของ ทร. ที่มีความต้องการ รวม 6 ลำ เมื่อนับเรือรบ ที่มีลานจอด ฮ. ของ ทร. จะมี 8 ลำ นับรวม ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี โดย ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี อาจจะเพิ่มระบบตรวจจับเรือดำน้ำ แบบโซโนบุย หรือ แบบของ ร.ล.พุทธฯ ที่ติดตั้งบนลำเรือ ก็น่าจะได้...


 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 03/07/2008 21:32:51


ความคิดเห็นที่ 12


อุ๊ย เขียนผิดครับ...ว่า ทร. คงไม่ลดจำนวนเรือรบติดอาวุธนำวิถี ครับ....
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 03/07/2008 21:34:01


ความคิดเห็นที่ 13


ประเทศในกลุ่ม ASEAN ล่าสุดที่มีการจัดหา C-802 ไปใช้งานน่าจะเป็นอินโนเซียครับ ซึ่งมีการติดตั้งตัวจรวดกับเรือที่ประจำการอยู่แทนอาวุธปล่อยเดิมไปแล้ว

ประเทศอื่นในASEAN ที่มี C-802 ใช้งานก็เช่นพม่า ซึ่งติดตั้งในเรือเร็วโจมตีชั้น Myanmar เป็นต้น

a

ปัจจุบันสายการผลิต C-801 นั้นสิ้นสุดไปแล้วครับมีแต่ C-802 เท่านั้นสำหรับการส่งออก

ร.ล.กระบุรี นั้นเคยได้รับความเสียหายจนต้องซ่อมใหญ่เมื่อตอนเหตุการณ์ทซึนามิปี ๒๕๔๗�ที่ผ่านมาครับ หรือไม่ก็เพราะเรือมีโครงสร้างจำกัดเพราะลาดจอด ฮ.ท้ายเรือ ไม่ทราบว่านั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้เรือทั้งสองลำในชั้นคือ�ร.ล.กระบุรี และ สายบุรี มีสภาพไม่เหมาะที่จะปรับปรุงต่อหรือไม่ครับ

แต่ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะใช้ครับ คงจะเป็นข้อจำกัดด้าน งป.ที่สามารถปรับปรุงได้เพียง2ลำคือ ร.ล.เจ้าพระยา และ �ร.ล.บางปะกง มากว่าครับ (หรือไม่ก็อาจจะยกเลิกทั้ง4ลำก็ได้)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 04/07/2008 13:25:50


ความคิดเห็นที่ 14


รบกวนสอบถามครับ 

เรื่อง โครงการจัดหาเรือยกพลขึ้นบกนี้ ของกองทัพเรือ นี่เป็นอย่างไรครับ ผมเห็นกำลังเอาประเด็นนี้มาเล่นกันอีกแล้ว ที่สำคัญบอกว่า  เรือนี้เป็นเรือชนิดเดียวกับเรือจักรีนฤเบศร แต่เล็กกว่า สามารถต่อในประเทศได้

ผมก็เลยงงว่า เรือจักรีนฤเบศ นี่ตกลงมันเป็นเรือชนิดเดียวกับ เรือยกพลขึ้นบกที่เขากำลังเล่นประเด็นกันอยู่เลยหรือครับ ?

รบกวนสอบถามตามนี้ครับ

 

 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 04/07/2008 00:12:48


ความคิดเห็นที่ 15


คาดว่าระบบอำนวยการรบที่ ทร. เลือกสำหรับเรือ OPV ใหม่ น่าจะเป็นระบบ TACTICOS ของ Thales ครับ ซึ่งคนละระบบกับเรือชุดปัตตานีที่เป็นระบบ COSYS ของ STN Atlas

การปรับปรุงเรือชุดนเรศวรเป็นโครงการที่น่าดีใจมากหากเกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะการรื้อระบบอำนวยการรบ และเซ็นเซอร์ที่มาจากจีนออก ซึ่งระบบเหล่านี้เป็นตัวสร้างปัญหามาตั้งแต่รับมอบเรือ จนทำให้กว่าจะนำเรือไปใช้งานจริงได้ก็กินเวลานานมาก (แต่ก็น่าชื่มชมว่าช่างของ ทร. เก่งมากที่สามารถทำให้ระบบใช้งานได้ แม้จะไม่สมบูรณ์อย่างที่ควรจะเป็น) ทีนี้ตัวเก็งที่น่าจะได้งานนี้ไป สงสัยอาจเป็น Thales อีกก็เป็นได้ ส่วนงานปรับปรุงหลักๆ น่าจะอยู่ที่ combat suite, surface-search radar, sonar, ESM/ECM, decoy launchers และ EO/IR sensors ซึ่งทั้งหมดเป็นระบบของจีน รวมทั้งการเพิ่ม fire-control radar (FCR) อีก 1 ชุด เพื่อรองรับ VLS ใหม่ ส่วน ปตอ. 37 มม. นั้น ทร. อาจคงไว้ก็ได้ถ้างบฯ จำกัด แต่ต้องดูด้วยว่า FCR สำหรับ ปตอ. 2 แท่นนี้ ที่เดิมเป็นของจีนจะเชื่อมกับระบบอำนวยการรบใหม่ได้หรือไม่ แต่ถ้างบฯ มากพอระบบ CIWS ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งแทน ปตอ. หรือติดตั้งที่หลังคาโรงเก็บ ฮ. แทน FCR ของ ปตอ. เดิม และผลักการควบคุม ปตอ. ไปใช้ระบบอื่นแทน นอกจากนี้ควรมีการติดตั้ง data-link ที่เป็น NATO-standard ด้วย

LPD จากสิงคโปร์ก็พอใช้ได้ครับ แต่เล็กไปหน่อยหรือเปล่า สำหรับความต้องการที่ ทร. มีอยู่ อย่างไรก็ดีอาจทำให้มีงบฯ พอสำหรับ 2 ลำก็เป็นได้ หรือ ทร. อาจจะขยายแบบจาก Endurance ให้ใหญ่ขึ้นอีก

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 04/07/2008 00:28:08


ความคิดเห็นที่ 16


เหอ ๆ ใครเอามาเล่นเหรอครับท่าน lordsri? ........... นักข่าวหรือเปล่าครับ ถ้าไม่ใช่จะได้ไม่สนใจ อิอิ ^ ^

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 04/07/2008 01:27:01


ความคิดเห็นที่ 17


ช่ายแล้วครับเสี่ย แหล่งข่าวแหล่งเดิมกับกรณี SU30 เครื่องบินกระจอกนั่นหละครับ แต่คราวนี้เปลี่ยนตัวคนพูดแทนครับ

ขออนุญาติ Code บางส่วนมาแล้วกันนะครับ จะพยายามตัดส่วนที่มันเกินเลยทิ้งไปครับ

.... วันนี้ (3 ก.ค.) เมื่อเวลา 18.20 น.นายXXX  บอกว่ามีนายทหารเรือท่านหนึ่งเขียนจดหมายเปิดโปงการทุจริตคอร์รัปชันในกองทัพเรือมายังตน โดยจดหมายดังกล่าว .......เนื่องจากกลัวว่า โครงการจัดซื้อเรือยกพลขึ้นบก งบประมาณ 5,000 ล้านบาท และโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งและจัดการระบบควบคุมบัญชาการ งบประมาณ 1,644 ล้านบาท  เพราะขั้นตอนของการคัดเลือกแบบได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว โดยล็อกสเปกให้บริษัท .....(จากประเทศทางตอนใต้ของประเทศไทยประเทศหนึ่ง)

นายXXX กล่าวว่า ทั้งนี้ โครงการจัดหาเรือยกพลขึ้นบกนี้  ....ไม่อยู่ในความต้องการของกองทัพเรือ เรือนี้เป็นเรือชนิดเดียวกับเรือจักรีนฤเบศร แต่เล็กกว่า สามารถต่อในประเทศได้ แต่ ผบ.ทร.กลับไม่สนับสนุน โดยทำเรื่องขอ ครม.ซื้อเรือดังกล่าว ส่วนเรื่องการล็อกสเปก ได้มีการจัดไว้ให้.......โดยตรง เพราะมีตารางให้คะแนนโดยให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้งานไปเลย โดยไม่ต้องเสนอราคาแข่งขัน
..

 

ผมก็เลย มาถามพี่ ๆ หรือท่านผู้รู้ในที่นี้หละครับ ว่าตกลง เรือจักรีนฤเบศนี่มันเป็นเรือประเภทเดียวกับ เรือยกพล อย่างที่คุณXXX เขาบอกมาหรือครับ งง หนะครับ

 

 


 

 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 04/07/2008 02:05:33


ความคิดเห็นที่ 18


^
^
^
^
ก๊าก ๆ� ๆ ๆ ........ นึกออกแล้วว่าสื่อไหน .......... พูดตรง ๆ นะ คนทร. เสียผลประโยชน์กันเอง พอตัวเองไม่ได้ก็ออกมาพูดมั่ว ๆ ยำกันเอง ขายกองทัพกินกันแบบนี้ ระวังไว้เถิด ......... หรือจะเอาแบบ ทอ. มะ?

อย่าไปฟังครับ คนพูดคงเมาน่ะครับ เอิ๊ก ๆ ๆ ๆ


อ้อ ผมว่าคุณ lordsri ปล่อย ๆ ไปเถอะครับ ถ้ากระแสมันไม่เกิดก็ไม่ต้องยุ่งหรือไปแก้ข่าวหรอกครับ แต่ถ้ากระแสเกิดก็คอ่ยมาว่ากันด้วยหลักฐานทางวิชาการ ...... เพราะพูดไปตอนนี้ อันตรายครับ เดี๋ยวเราจะเปลืองเสียเปล่า ๆ


โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 04/07/2008 14:48:10


ความคิดเห็นที่ 19


ขอบพระคุณครับเสี่ย ผมสงสารแหล่งข่าวแหล่งนี้จริง ๆ ครับ แกโดนปั่นหัวง่ายจัง

 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 04/07/2008 03:08:22


ความคิดเห็นที่ 20


เห็นด้วยอย่างยิ่งกับโครงการปรับปรุงเรือชุดเรือหลวงนเรศวร ถ้าหากโครงการจะเกิดขึ้นจริง เรือชุดนี้จะได้พร้อมสมบูรณ์เสียทีครับ...จะทำให้กองทัพเรือมีศักยภาพมากขึ้น...ลดจุดอ่อนได้เยอะครับ

ส่วนโครงการต่อเรือ OPV ลำใหม่ตอนนี้ก็มี่ข่าวความคืบหน้าค่อยๆ ทยอยมาทีละนิดนะครับ...แต่ตอนนี้อยากจะเห็นแบบเรือเร็วๆ...ไม่รู้ว่ารูปร่างหน้าตาจะเป็นไง...

กรณีข่าวเกี่ยวกับเรือ LPD ที่ทางคุณ lordsri พูดถึง ผมเห็นด้วยกับคุณ Skyman อย่าเพิ่งไปสนใจเลยตอนนี้...เดี๋ยวยิ่งจะเป็นการโหมทำให้เกิดกระแสไปอีก...แหล่งข่าว สำนักข่าวเหล่านี้น่าเบื่อ ทำให้มีปัญหาทุกครั้งเมื่อกองทัพจะมีโครงการจัดหายุทโธปกรณ์โครงการใดก็ตาม...มันเป็นเรื่องของผลประโยชน์นี่แหล่ะ...ใครได้...ใครเสีย จึงจ้องทำลายกัน ขัดแข้งขัดขากัน... ซึ่งทำให้โครงการต่างๆ ไม่ได้ดำเนินไปในสิ่งที่ควรจะเป็น

โดยคุณ sk03 เมื่อวันที่ 04/07/2008 04:22:57


ความคิดเห็นที่ 21


เรื่องอาวุธปล่อย C -802 A (สังเกตด้วยครับว่ามี A ด้วย) เซ็นสัญญากันไปเกือบปีแล้ว ลงหนังสือพิมพ์กันไปทั่วแล้ว  จะเลิกได้ไงครับ  ข่าวลืออีกแล้ว

เรือชุดนเรศวรคงต้องเริ่มโครงการกันในไม่ช้านี้ แต่ไม่ใช่เอาเงิน งป.ชุดกระบุรีมาทำครับ

เรื่อง LPD อาจไม่ใช่ทหารเรือออกมาโวยก็ได้ ใครๆก็อ้างได้ว่าทหารเรือบอก แต่ทุกครั้งที่มีการจัดซื้อ ก็หนีไม่พ้นเรื่องนี้สักที จนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว  ไม่ว่าจะโปร่งใสขนาดใหน เอาไปเป็นเครื่องมือทำลายคนบ้าง เล่นเกมทางการเมืองบ้าง น่าเบื่อ

โดยคุณ โย่ง เมื่อวันที่ 04/07/2008 05:24:49


ความคิดเห็นที่ 22


อย่าวิจารณ์เลยครับ ขนาดพูดนิดเดียวยังโดน hi-park ซะเละเลย อยู่นิ่งๆดำดินดีกว่าครับ

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 04/07/2008 09:33:52


ความคิดเห็นที่ 23


ผมขอเม้าท์ด้วยคนครับ(ในฐานะอดีตเจ้ากรมข่าวลือ)

1. ถ้าเพื่อนอยากเห็นรูปร่างหน้าตาคร่าวๆของเรือโอพีวีลำใหม่ ที่กำลังจะ

    ต่อโดย อร. ให้ลองดูโฆษณาของกลุ่มบริษัทฯ จากเนเธอร์แลนด์

    ในนิตยสารนาวิกาธิปัตย์ ฉบับล่าสุดดูครับ หน้าตาอาจจะคล้าย

2. โครงการ ติด ซี 802 เอ ในเรือชุดเจ้าพระยา น่าจะยังคงอัพเกรด

     ครบทุกเหมือนเดิม ตัวของกระบุรี,สายบุรี แม้อาจมีปัญหาบ้าง

     แต่ก็อยู่ในเกณฑ์แก้ไขได้ อายุตัวเรือกระบุรี,สายบุรี น้อยกว่า

     เจ้าพระยา,บางประกง เสียอีก

3. ถ้า ทร. จะอัพเกรด เรือชุดนเรศวร ผมขอเชียร์ทั้งตัวและหัวใจเลยครับ

    แต่งบ.ไม่น่าจะนำมาจากการที่อาจจะไม่อัพเกรด กระบุรี,สายบุรี

    เพราะเราเซ็นต์ซื้อ ซี 802 เอ จากจีนไปนานแล้วครับ

4. ถึงผมเชียร์เรืออิตาลี แต่ถ้า ทร. ซื้อเรือสิงคโปร์จริง

    ผมก็ยอมรับครับ และชักอยากจะเชียร์เรือสิงคโปร์ แล้วสิ

    เพราะไม่พวกที่ชอบพูดให้ ทร. เสียหาย

    เลยคิดอยากจะเชียร์เรือที่พวก.....โจมตี (หาอ่านได้ที่ ผจก.)

   

โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่ 04/07/2008 11:09:36


ความคิดเห็นที่ 24


1) เรื่อง C-802A ผมว่าคงไม่เปลี่ยน เพราะ

    1.1  ลงนามกันไปแล้ว คงเปลี่ยนไม่ได้ ยิ่งถ้าเปลี่ยนไปเป็นค่ายอื่นนี้ ฝันไปได้เลย  แหมๆๆ วางเงินหมั้นหมายกับน้องหมวยไปแล้ว จะเปลี่ยนไปแต่งกับน้องแหม่ม อากู๋คงไม่ยอมครับ งานนี้มีริบเงินขันหมากแน่ๆ

   1.2 งบประมาณที่จะปรับปรุงอาวุธปล่อยของเรือชุดเจ้าพระยาทั้งสี่ลำ น่าจะถูกกว่าการรื้อปรับปรุงระบบ CIC / ระบบตรวจจับ ของเรือชุดตากสินเพียงลำเดียว  งบคงไม่พอแน่ๆ  ยิ่ง VLS ด้วยแล้ว ราคาระดับซุปเปอร์ดาราโตร่าสตาร์วอร์

2) โอพีวี ไหงไปมองเรือแบบอื่น เรือที่เราออกแบบเองผมว่าใช้ได้ดี จะต่ออะไรให้มากแบบ เวียนหัว อย่างงี้กองเชียร์ไม่ปลื้ม  กองทัพเรือควรลดแบบเรือและอาวุธให้เหลือน้อยแบบที่สุด ยิ่งเรือ OPV ที่จะเป็นม้างานด้วยแล้ว ควรจะมีแบบเดียวกันทั้งหมด เพื่อลดความยุ่งยากในการส่งกำลัง สำรองอะไหล่ และ ฝึกฝนประจำเรือ

 

3) เรือยกพล ของ สิงคโปร์ก็ดูดีครับ แม้ว่าในใจลึกๆ จะเชียร์สาวร่างอวบอั๋นจากแดนมักกะโรนีมากกว่าเพราะรูปร่าง และ กลเม็ดเด็ดพรายในการออกอาวุธของเธอนั้นเข้าตากรรมการดีเหลือเกิน แต่งบมีน้อยใช้สอยอย่างประหยัด ไปจีบเด็ก Resort ไม่ได้ ก็ไปจีบเชียร์เบียร์ร้านข้าวต้มข้างทางแทน ดังนั้น อาหมวยสิงคโปร์ก็อาจจะเป็นอีกทางเลือก  แต่จะว่าไป เรือระดับนี้ อู่ในประเทศไทยต่อได้แน่นอนครับ

 

 

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 04/07/2008 11:42:01


ความคิดเห็นที่ 25


2. เห็นด้วยกับข้อสองของป๋าแซมบ้า ........... แหมเขาว่าทหารเรือต้องคู่กับสาวงามมาแต่ไหนแต่ไร พอทหารเรือเรารึไปขอสะใภ้หมวยจากเมืองจีนมาได้สองคน งามเหมือนหลิวอี้เฟยปานฉะนั้น ต่อมามีภารกิจไปแดนกังหัน เลยมาสั่งเสียไว้ซะดิบดีว่า ...พี่จากน้องไปรบ จึงไม่พบเจอหน้า พี่คิดถึงนาง แบกรักพรางมาเผื่อ แม่ยอดรักทัพเรือ ของเธออย่าเบื่อเลยหนา .....  ...... สองสาวก็หลงคารมทหารเรือ เชื่อเสียไม่มีดีว่าพี่นี้จะไม่ตีจาก แต่ไฉนจึงทำให้น้องพี่ลำบาก เพราะพี่ทหารเรือดันไปพรากสาวกังหันลมมาแทน ...... ชิชะ อย่าให้ใครเขารู้นะว่าทหารเรือไทยหลายใจ!!!!! .... แล้วอย่างงี้ญาติผู้ใหญ่จะหาเงินที่ไหนไปสู่ขอ ไอ้หย๊าสู่ขอมาเรียบร้อยเลี๊ยวที่ง่า ..... แต่ดั๊น สองสาวหมวยชอบกินบะหมี่กับหมั่นโถ แต่สาวกังหันกลับชอบกินซุบถั่วกับมันฝรั่งเสียนี่ จะกินเหมือนกันหรือสลับกันกินก็มิใคร่ถูกปาก ทหารเรือไทยเลยต้องไปควานหามา มิฉะนั้นเธออาจจะงอนไม่ยอมไปเดทด้วย แล้วถ้างวดหน้าทหารเรือแต่งเมียอีกรอบได้สาวชาติอื่นมาเชยชม มิต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูปูเสื่อกันอานรึนิ????

โธ่ ๆ ๆ ...... อย่าร้องไห้นะ ทหารเรือไทยไม่รักไม่เป็นไร เดี๋ยวพี่ปลอบเอง อุ๊อุ๊ 

 

3. ข้อสามนี่เข้าโหมดซีเรียสหน่อยเพราะคิดมุขไม่ออก ^ ^ ........ ส่วนตัวแล้วเชียร์ Endurance มานานแล้วครับ เนื่องจากผมไม่เห็นด้วยกับเรืออิตาลีที่ใหญ่เหลือเกินและดูท่าจะแพงเหลือเกิน ...... ส่วนตัวแล้วมองไปที่ระยะยาวครับว่า เรืออิตาลีถ้ามาเกิดในทร. จะต้องถูกจำกัดเวลาออกทะเลด้วยปัญหางบประมาณเหมือนกับเรือจักรีแน่นอน มันแพงเกินไป และทร.ไทยก็ไม่มีเงินครับ ........ Endurance แม้จะเล็กกว่าและไม่มีดาดฟ้าตลอดลำ แต่มันก็ยังทำงานได้ดี และก็มีผลงานมาแล้วพอสมควร ที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายไม่แพงเท่าฝั่งอิตาลี ได้ออกทะเลบ่อย ๆ แน่ อย่างน้อยก็บ่อยกว่าเรืออิตาลีแน่ล่ะครับผมว่า ....... Operating Cost สำคัญพอ ๆ กับ Perchasing Cost ครับ บางทีสำคัญกว่าด้วย

แต่อยากให้ต่อในประเทศนี่สิ ......

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 04/07/2008 14:28:54


ความคิดเห็นที่ 26


มาเสนอ ชั้น ร.ล.กระบุรี เป็นเรือต่อต้านเรือดำน้ำ Anti Submarine Warfare Class

img57/1605/kraburi2fs0.jpg

ฝากลิงค์เป็นไฟล์ PDF ไว้ที่

http://www.uploadtoday.com/download/?4497323733ee58b7d2a7774bc2b07418

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/07/2008 21:32:37


ความคิดเห็นที่ 27


อายุ ร.ล.กระบุรี ปีประจำการ 16 ม.ค. 2535 ปัจจุบันมีอายุ 16 ปี กำลังเอ๊าะ...ดั๊นนนนน...มาว่า แก่ซะขนาด...ทร. มีอะไรในใจ อ่ะป่าวววว...อยากได้ หญิงใหม่ ล่ะซิ...
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/07/2008 21:36:38


ความคิดเห็นที่ 28


ดีใจที่เรือชุดนเรศวรได้ปรับปรุงเสียที
โดยคุณ u209 เมื่อวันที่ 05/07/2008 01:55:15


ความคิดเห็นที่ 29


เมื่อก่อนตอนอยู่ บริษัทเก่า ทำโปรโปโซ่ว ทรานสมิสชั่นไลน์โปรเจค โคสทราคาค่าเหล็กเรนฟอซบาร์(เหล็กเส้น) โลละ ยีบสี่บาท  เหล็กทรัสสไฮเทนไซล์ ชุบเกาวไหนส์โลละสี่สิบบาทกว่าๆ................................วันนี้ เดือนเจ็ดปีห้าหนึ่ง เหล็กรูปพรรณ โลเกือบครึ่งร้อย ขณะที่ราคาเหล็กขึ้นอึ้บๆเป็นรายวัน ซับพลายเอ่อร์บางเจ้า ส่งโควเตชั่น วาหลิดไพร้ซ์อันทิลทูมอรโร่ว์ ( ขำจิ๊บห..ย ) ............... น้ำมันแพง เหล็กแพง ค่าแรงถูก...............................ดีที่น้ำมันแพงคนไม่ค่อยซื้อรถอุปสงค์ลดราคาเลยตรึงไว้..............................แต่เรือรบนี่ เห็นคงจะไม่  เค้าว่า ต่อเรือรบ(ประเภทฟรีเกต เมื่อก่อนลำละ สามร้อยล้านเหรียญ เป็นค่าเหล็กทำเรือจริงๆ ไม่ถึงร้อยล้าน).................................เหล็กถีบตัวขนาดนี้ราคาเดิมเห็นจะไม่ได้.............................เรือแรงม้าต่ำทองแบนท้องป้านอาวุธน้อย เรือพวกนี้ คอสท์หนักไปทางราคาเหล็กเพียวๆ ........................ไม่แน่ เรือยกพลของนาวีไทย อาจมีรีไวซ์กันใหม่ เผลอๆกลับไปเน้นตัวเลขจำนวนประจำการ หวยออกเรือเก่าพี่กันอีก ใครจาปายรู้..................................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 05/07/2008 03:28:57


ความคิดเห็นที่ 30


โฆษณาให้ เขา หน่อย....

จาก หนังสือ สมรภูมิ ฉบับที่ 1015

img365/3215/en1ni2.jpg

img365/1084/en2an8.jpg

img365/5007/en3ak8.jpg

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/07/2008 11:18:50


ความคิดเห็นที่ 31


ถ้า ทร. ยังยืนยัน สเปคเดิม...และเลือกเรือชั้น เอ็นดูแรนซ์...เอ็นดูแรนซ์ ของ ทร. ก็คงต้องขยายแบบ...และเพื่อความประหยัด คงต้องประกอบที่ สิงคโปร์....ทั้งในเรื่องการออกแบบ และการทดลองต่าง ๆ

แต่ถ้า ทร. ลดสเปค ให้เป็นไปตาม สเปคเดิมของเรือชั้น เอ็นดูแรนซ์...ผมก็ชัก สังหรณ์ใจว่า จะเป็นไปตามที่ ท่านกบ มีลุ้น...แต่ของผมจะเป็น เรือมือสอง ของ สิงคโปร์ แทน...ในราคามิตรภาพ จำนวน 2 ลำ...เพราะเท่าที่ดู สิงคโปร์ เอง ก็ไม่ค่อยได้ใช้ เรือชั้น เอ็นดูแรนซ์ สักเท่าไหร่ เพราะมีถึง 4 ลำ (มันจะยกพลขึ้นบก จากไหน ไปไหน กันหนักหนา ของประเทศไทย ยังมีแค่เรือยกพลขนาดใหญ่ ประมาณ 6 ลำ)....ก็คงต้อง ติดตามชมกันต่อไป....

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/07/2008 11:28:57


ความคิดเห็นที่ 32


ใจจริงอยากได้ของอิตาลี มากกว่าดูดาดฟ้าลำเรือ กว้างขวางโอ่อ่า จอดได้จอดดี

ขนสารพัดเยอะแยะ ยกพลขึ้นบกที

ตามนิยาม 500 นาย แต่ถ้าได้สัก 850-1500

นายคงดีไม่ใช่เล่น

    หรือพลิกกลยุทธ์นิดหน่อย เอาทั้ง

เรือจักกรี และเรือ LHD สักลำ ก็คงไปได้สวย ใหญ่ๆไม่ได้ ก็เล่นระบบย่อยๆ

ขนไปทีละนิดพอไหว

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 05/07/2008 16:52:46


ความคิดเห็นที่ 33


สำหรับเรือLPDมือสองนั้นที่เป็นไปได้ก็น่าจะเป็นเรือชั้น Austin จากสหรัฐฯตามที่เคยมีการกล่าวถึงในTopic ก่อนหน้านี้ครับ (เรือชั้น Endurance นั้นเรือชั้นนี้เพิ่งต่อมาไม่นานครับไม่น่าเป็นไปได้ที่สิงคโปร์จะขายต่อในขณะนี้ การต่อเรือใหม่ให้ไทยนั้นมีประโยชน์กว่าสำหรับสิงคโปร์ครับ)

LPD-12 USS Shreveport

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 05/07/2008 22:44:37


ความคิดเห็นที่ 34


LHD ใหม่ ผมละกลัว โรคการเมือง ( ดีแต่หล่อ ) โรคเหลือง ( อ้างประชาชน )ปิดถนนประท้วงอีก ถ้ากองทัพเรือจะเลือก ขอเรือจากสิงค์โปร์ เดี๋ยวหาว่า...........

  ผมอยากให้ กองทัพเรือถามตนเองดูว่า มี LHD ใหม่ 1 หรือ  2 ลำ  กับมีเรือยกพลขึ้นบก แบบรล. สีชัง หรือ รล. สุรินทร์ ซัก 10 - 12 ลำ ประเทศแถวนี้จะเกรงใจ แบบไหนมากกว่า

 

   ความเห็นผม ผมอยากให้กองทัพเรือลดแบบเรือครับ อย่างโอพีวี ลำใหม่ขอให้ออกแบบให้ดีๆ  แล้วอนาคตหากต่อแล้วขอให้ต่อเป็นชุดหลายๆ ลำ อย่าต่อ เพียงแค่ มีผบทร หนึ่งท่าน หนึ่งชุด 

 

  

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 05/07/2008 23:21:28


ความคิดเห็นที่ 35


Royal Thai navy seeks more U.S. MH-60 Helicopters, purchase secondhand LHD and new four OPVs.



รายละเอียด :

Royal Thai Navy Seeks more U.S. MH-60 Helicopters, purchase secondhand LSTs and new four OPVs.�

The Royal Thai Navy (RTN) has signed a Letter of Offer and Acceptance with the United States for the purchase of�four Sikorsky MH-60S helicopters for an estimated $ 126 million. The purchase includes spare parts and weapons The RTN has purchased two MH-60S last year and is expected to take delivery by March 2009.

The Thai Navy�is trying to buy two secondhand Endurance class - LST� from Singapore Navy. �(The Royal Thai Navy (RTN) wants to replace�five ex-U.S. Navy LST dating from World War II-which four of them were already retried.�

� Moreover RTN also plans to puchase four new OPVs which would be replaced�four frigates, One British built HTMS Makut Rajakumarn, One Pin Klao ex-U.S. Navy World War II destroyer escort ( DE ) and Two U.S.-built PF1 03type Tapi and Khirirat. They will not be retired however both frigates will join the RTN training ships, HTMS Makut Rajakumarn.

But�HTMS Pin Klao is expected to retried in the end of this year.� The Navy now has�started the frist OPV project but other will be built after the funds are available.

� � Scrapping them will reduce the RTNs frigate strength from 14 ships to 10, four ships below the authorized escort numbers.

The RTNs main strength now consists of two Chinesebuilt Naresuan-class Type 25Ts, four Chinese Jianghutype Chao Phraya-class, which will be armed with new C-802 A�and two ex-U.S. Navy Knox-type Phuttha Yoffa Chulalok-class ships.
โดยคุณ : Mr. Bean � ��( อ่าน : 17/ ตอบ : ) วันที่ : 2008-07-06 01:19:09



สารจากผู้ดูแลระบบ

สมาชิกที่อยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรือ LPD ว่าเป็นมาอย่างไร คืออะไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่กระทู้นี้ครับ

http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=7034
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 06/07/2008 17:25:38


ความคิดเห็นที่ 36


เพิ่งคุยกับป๋าเมื่อคืนนี้เองวู้ย ...... Endurance มือสอง น่าสนใจมั่ก ๆ ....... MH-60S อีก 4 ลำมาแล้ว
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 06/07/2008 01:40:39


ความคิดเห็นที่ 37


แหมมม...ลางสังหรณ์ ใช้ได้ (ทำไม มันใช้ค่อยได้กับ ล็อตเตอรี่ ฟร่ะ)

คงเห็นอนาคต 911 ได้พอสมควรล่ะครับ...

(อย่าลืม แก้ SH-70C เป็น S-70 B นะครับ)

img59/4637/911vf5.jpg

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/07/2008 02:13:22


ความคิดเห็นที่ 38


ลางสังหรณ์ ต่อไป

Nakhoda Ragam class จำนวน 3 ลำ ของ บรูไน (ที่เคยมีข่าว จะประกาศขาย เนื่องจากไม่มีทหารประจำเรือ) + กับ OPV ที่สร้างเองภายในประเทศ จำนวน 1 ลำ  รวมกันเท่ากับ 4 ลำจังเลย...

แนวความคิดในการจัดซื้อ จัดหา อาวุธ ที่เกินความต้องการของ กลุ่มมิตรประเทศ  ผมมองว่า มันก็เหมือนเป็นจุดเริ่มต้น ของการใช้อาวุธร่วมกันในภูมิภาค หรือกองกำลังเดียวกันในภูมิภาค แบบที่ท่าน Blood Royal เคยเสนอแนวคิด (ถ้าจำไม่ผิด) เช่น ไทย มอบ OV-10 C ให้ ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ มอบ F-16 A/B ให้ไทย

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/07/2008 02:34:44


ความคิดเห็นที่ 39



ขอโทษที่ครับ  ผมพิมพ์ หัวข้อผิด  ต้องเป็น LST ไม่ใช่ LHD พอดี copy มาแต่ตัวเรื่อง  

  ข้อมูลได้มาจาก Sea power ฉบับ กรกฎาคม 2551 ครับ

 

จากเนื้อข่าว ก็เป็นไปอย่างที่ท่าน Hignskygate ว่าไว้ ว่าเรือสิงค์โปร์มาวิน เข้าตามความต้องการ 2 ลำ ภายใต้งบจำกัด ส่วน  MH-60 ก็เหมือนที่มีข่าวว่าทร. ต้องการ 6 ลำตามโครงการ  ....ปีหน้าก็มาแล้ว 2  ลำ ไม่รู้ว่าวันเด็กทร. จะเอามาจอดโชว์ไหม  แต่ที่หน้าสนใจน่าจะเป็น อาวุธที่จะมากับ 4 ลำ ใหม่   ถ้าทร. เอาฮ.มาให้นย. ก็คงไม่หนี IR แต่อยากให้มี ปืนกล M-158 กับ 2.75 CV7 มาด้วยทุกลำเลย

 

 OPV อีก 4 ลำ ถ้าจะดีของ harpoon หรือติด C-802 ถ้างบน้อยก็ยังดีกว่าไม่ติดอวป. อะไรเลย แบบชุดปัตตานี ดูๆ ไปหากไม่มีลานจอดฮ.และโรงเก็บ เรือชุดปัตตานี ดูไม่สมราคา เมื่อเทียบกับเรือตรวจการณ์ชุดคลองใหญ่เสียอีก

ท่าน Skyman มีแบบกับสเป็กคราวๆ ของ OPV ใหม่หรือยังครับ ขอชมครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 06/07/2008 01:45:58


ความคิดเห็นที่ 40


ใช่ครับ น่าสนใจตรงอาวุธนี่แหละ  .... The purchase includes spare parts and weapons ..... มันจะเป็นอะไรหว่า ถ้าเป็น M158 กับจรวด 2.75 ด้วยก็จะเริดมากครับ ^ ^

ส่วนสเปกของ OPV ผมไม่มีอ่ะครับ รอท่าน highskygate หรือเซียนทร.ท่านอื่น ........ ผมมีแต่ความช้ำใจว่าเรือปัตตานีไม่ได้รับการพัฒนาต่อ ฮือ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 06/07/2008 02:07:13


ความคิดเห็นที่ 41


ตัว OPV ของบรูไนนี่ เคลียกันเรียบร้อยแล้วไม่ใช่เหรอครับผม ............ นอกนั้นเห็นด้วยกับการจัดหาและมอบอาวุธกันในประเทศอาเซียนด้วยกันครับ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 06/07/2008 03:03:01


ความคิดเห็นที่ 42


ข่าวอันหลังน่าสนใจมากครับ

แต่ว่าไม่แน่ใจว่าสิงคโปร์จะขายให้เหรอครับ เพิ่งจะได้รับมอบมาไม่นานมากเอง

 แต่หากขายให้ก็ดีครับ ประเทศเล็กแต่มีซะ 4 ลำก็เกินไป

 

แบ่งมาให้พี่ไทยหน่อยก็ดี เผื่อเจ้าเพื่อนผม จะได้เป็นผุ้การในอนาคต เคยเป็นผุ้การเรือมันนอก มาเสียดายไม่ได้ไปขึ้นเรือ ทั้งที่เค้าชวนตลอด จนเจ้าเพื่อนผมขึ้นบกไปแล้ว

 

 ส่วน โอพีวี น่าจะต่อยอดจากของเดิมมากว่า ไม่อยากให้ มีเรือมากแบบไปน่ะครับ

 

 

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 06/07/2008 03:17:17


ความคิดเห็นที่ 43


ท่านSkyman  ...... ตัว OPV ของบรูไนนี่ เคลียกันเรียบร้อยแล้วไม่ใช่เหรอครับผม     หมายความยังไงครับ เคลียร์ๆ คืออะไรครับ   ....แบบว่าหมายความแบบนี้ใช่ไหมครับ    เรือบูรไนซื้อ แต่ ลูกเรือทหารเรือไทยใช่ไหมครับ....

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 06/07/2008 03:22:30


ความคิดเห็นที่ 44


อ๋อ ๆ .. ขออภัยครับ กำกัม ... เคลียร์กันเรียบร้อยหมายถึงทางบรูไนและอังกฤษเคลียร์เรื่องคดีกันใกล้จบแล้ว และบรูไนจะซื้อครับ ฉะนั้นอังกฤษคงไม่ได้ปล่อยให้ใคร ........... จำได้เลา ๆ ว่าอ่านจากนาวิกศาสตร์ครับ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 06/07/2008 03:26:35


ความคิดเห็นที่ 45


เรือ เอ็นดูแรนซ์ 2 ลำ หลังสุดของ สิงคโปร์ ประจำการในปี 2001 ครับ...

แต่เท่าที่ดู มันก็ไม่แน่ว่า เราจะได้ เอ็นดูแรนซ์ เหมือนเนื้อข่าวเขียนว่า ทร. พยายามเจรจาขอซื้อ เรือเก่าของ สิงคโปร์...ซึ่ง ผมขอเดาว่า สิงคโปร์ คงอยาก ต่อใหม่ให้มากกว่า (ได้ราคาดีกว่า)....และดูจากประวัติ สิงคโปร์ เอง ก็แต่เดิมมีประจำการเรือ LST เก่าของสหรัฐ จำนวน 5 ลำ ด้วยกัน...ซึ่งก็เป็นอัตราการประจำการใกล้เคียงปัจจุบัน....ซึ่งถ้าเป็นการต่อเรือใหม่ของเรือชั้น เอ็นดูแรนซ์ ราคาในปัจจุบัน ทร. คงอาจจะสามารถจัดหามาได้เพียง 1 ลำ จะทำให้ เอ็นดูแรนซ์ อาจจะไม่ใช่ตัวเลือก...ทร. คงอาจจะคงสเปค ความต้องการเดิม ไม่มีความจำเป็นต้องลดสเปคลง...เรือต่อเองในประเทศของ เนเธอร์แลนด์ อาจจะแซงโค้งหักศอก มาก็ได้ครับ...หรือ สิงคโปร์ ปรับแบบเรือ เอ็นดูแรนซ์ ให้ตรงตามสเปค แล้วลดราคาลงมา...ก็อาจจะพอมีลุ้นเหมือนเดิม....

ส่วนเรือของ บรูไน ตามที่ท่าน Skyman ว่าไว้ล่ะครับ...ก็เคลียร์กันเรียบร้อย บรูไน จัดเข้าประจำการ แต่ต่อมาก็มีข่าวว่า บรูไน มีความต้องการขายออกไป ซึ่งราคาขณะนั้น ถ้าผมจำไม่ผิด ตีราคาเสนอขายเป็นเงินบาทก็ร่วม  ๆ 20,000 ล้านบาทเหมือนกัน...(แต่ราคาที่ซื้อมา ต่ำกว่านั้นพอสมควร น่าจะเป็นราคาคนรวยขายของน่ะครับ)....ซึ่งถ้าสามารถต่อรองมาได้ในราคาที่ บรูไน จัดหามาจากอังกฤษ (รวมออฟชั่นระบบอาวุธด้วย) ผมว่าราคาน่าจะใกล้เคียงกับราคาเรือต่อใหม่ในปัจจุบัน (แต่ระบบอาวุธไม่มี)...ผมเลยตั้งลางสังหรณ์ไว้น่ะครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/07/2008 06:44:28


ความคิดเห็นที่ 46


.... เนเธอแลนด์เขาเสนอแบบเรือมาด้วยเหรอครับ?????
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 06/07/2008 10:47:02


ความคิดเห็นที่ 47


เพิ่มเติมครับ เรื่องเรือ OPV ชั้นปัตตานี ใช่ว่าทาง ทร. จะไม่ใส่ใจนะครับ แต่ งป. ก็รู้ๆ กันอยู่ครับ ว่าจำกัดกันแค่ไหน ต้องค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งอนาคตอันใกล้นี้ ระบบ IFF, ESM/ECM และอาวุธ สำหรับ Super Lynx อาจจะมีมาให้เห็นกันครับ...

ปล. ช่วงนี้ เรือ OPV ชุดนี้ ออกปฎิบัติงาน ร่วมกับ Super Lynx เป็นว่าเล่น เลยครับ....
โดยคุณ highskygate เมื่อวันที่ 06/07/2008 10:59:04


ความคิดเห็นที่ 48


ลองไปโพสถามคนสิงคโปร์ในบอร์ดตปท. มาครับ (WAFF) ได้ความว่า ......


There is`nt any ex-endurance lpd class ships in RSN`s inventory. They are all new and not for sale. They are also heavily utilized that i think we need more; operating all over the world.

They must either be new endurance class ships or the old and decommissioned county class ships(lead ship is also called RSS endurance). However, Skyman, the old county class ships are almost as old as your old LSTs. They were built in ww2 !! Im not sure that is what the RTN is looking for. They are rusting away in port now. However, it would not be difficult for Singapore upgrade them for you. Nevertheless, the hulls are extremely old. They are more than half a century old. Singapore operated 7 of such ships.

Given the earlier specifications given by the Thai navy, she is looking for something along the lines of the current endurance class lpds. Therefore, it has to be new ships. If so, that is excellent news indeed. One needs to wait for the same news from the Phillipines as well.

Great news anyway.



picture of an old County class lst from the early 1980s with some patrol boats of that era which have already been decommissioned.


Endurance class lpds

http://www.network54.com/Forum/242808/thread/1215325708/last-1215355950/Royal+Thai+Navy+To+Purchase+2+Ex-Singaporean+Endurances+Class

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 06/07/2008 10:59:09


ความคิดเห็นที่ 49


เพิ่มเติมครับ เรื่องเรือ OPV ชั้นปัตตานี ใช่ว่าทาง ทร. จะไม่ใส่ใจนะครับ แต่ งป. ก็รู้ๆ กันอยู่ครับ ว่าจำกัดกันแค่ไหน ต้องค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งอนาคตอันใกล้นี้ ระบบ IFF, ESM/ECM และอาวุธ สำหรับ Super Lynx อาจจะมีมาให้เห็นกันครับ...

ปล. ช่วงนี้ เรือ OPV ชุดนี้ ออกปฎิบัติงาน ร่วมกับ Super Lynx เป็นว่าเล่น เลยครับ....
โดยคุณ highskygate เมื่อวันที่ 06/07/2008 11:39:43


ความคิดเห็นที่ 50


กระทู้ ข่าวลือของ ท่านอู๊ด ครับ ท่าน Skyman

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/07/2008 20:21:50


ความคิดเห็นที่ 51


ความเห็นเรือชั้น Endurance มือสองของชาวสิงคโปร์ที่คุณSkyman ได้ Post นั้นก็สอดคล้องกับความเห็นส่วนตัวครับคือ เรือชั้นนี้เพิ่งจะขึ้นระวางประจำการได้ไม่เกิน10ปี(2000-2001) เป็นไปได้น้อยมาที่สิงคโปร์จะขายให้ไทย ทางสิงคโปร์คงต้องการต่อเรือใหม่ให้ไทยมากกว่าครับ (สิงคโปร์เคยต่อเรือเร็วโจมตีชั้น ร.ล.ปราบปรปักษ์ ให้ไทยมาแล้วครับ)

ตามข้อมูลของคุณอู๊ด ว่ามีโฆษณาเรือ OPV ของกลุ่มบริษัทเนเธอร์แลนด์ลงในนิตยสารนาวิกาธิปัตย์ฉบับล่าสุด ว่ามีรูปแบบเรือคล้ายกับ OPV ของกองทีพเรือลำใหม่ที่จะต่อ
ซึ่งหลายๆท่านคงยังไม่ได้มีโอกาสอ่านครับ(รวมถึงผมด้วย) เลยไปลองค้นดูว่าบริษัทต่อเรือในเนเธอร์แลนด์มีเรือ OPV แบบใดที่เสนอขายบ้าง
นอกจากเรือชั้น Sigma ซึ่งเป็นเรือ Corvette ที่อินโดนีเซียจัดหาไปแล้วนั้น เนเธอร์แลนด์ก็มีแบบเรือ OPV เสนออีกหลายแบบครับเช่น

DAMEN OFFSHORE PATROL VESSELS

 DAMEN OFFSHORE PATROL VESSEL 9514
 Length o.a.
 94.90 m
 Breadth o.a.
 13.50 m
 Depth at sides
 6.80 m
 Draft max
 4.00 m
 Speed range
 20.0 - 24.0 kn

http://www.damen.nl/PRODUCTS/DAMEN_OFFSHORE_PATROL_VESSELS.aspx?mId=8641

Falcon Class Cutter / OPV / Corvette

 

http://www.merwede.com/cms1/index.php?id=220

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 06/07/2008 21:40:17


ความคิดเห็นที่ 52


คุณ Mr. Bean ครับ ...... อยากได้ Link ไปสู่ข่าวจาก Sea Power ครับผม ....... ขอบคุณครับ!!!!

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 06/07/2008 21:54:32


ความคิดเห็นที่ 53


Sea Power มั่วข่าวครับ
โดยคุณ Flg ship เมื่อวันที่ 06/07/2008 22:41:11


ความคิดเห็นที่ 54


เนเธอร์แลนด์ ไม่ได้ลงเข้าประกวดครับ

เพราะงานนี้ ทาง ทร. จะออกแบบเอง???

ต่อเองครับ

เพียงแต่ว่า ผมเห็นโฆษณาของเรือของเนเธอร์แลนด์

ที่ลงใน นิตยสารนาวิกธิปัตย์สาร ฉบับที่ 73

มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับที่ทาง ทร. กำลังจะต่อเท่านั้นเอง

ที่รู้เพราะเคยเห็นร่างแบบฯเรือ เลยดูว่ามันคล้ายกัน

แบบเรือที่คุณ AAG_th1 นำมาลงยังไม่ตรงกับในโฆษณาฯนะครับ

โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่ 07/07/2008 10:31:56


ความคิดเห็นที่ 55


มาขอ เดา อีกสักครั้ง กับ 911 ในอนาคต จากที่เคยมีข่าว ธ.ค.2550 ทร. ต้องการจัดหา ฮ. ใหม่ จำนวน 14 ลำ ซึ่งรวม MH-60S จำนวน 4 ลำใหม่ด้วยแล้ว....


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/07/2008 10:54:02


ความคิดเห็นที่ 56


โครงการจัดหา AH-1Z ของนาวิกโยธินสหรัฐฯนั้นจะเป็นการจัดหา ฮ.ใหม่ส่วนหนึ่งพร้อมกับการปรับปรุง ฮ.AH-1W ให้เป็นรุ่น AH-1Z ครับ ซึ่งโครงการมีความล่าช้าพอสมควรแต่คาวว่าสายการผลิตเครื่องแบบเต็มอัตราน่าจะเริ่มได้ภายในปี2008นี้ครับ

ไม่มีข่าวที่ชัดเจนว่ากองทัพเรือสนใจจะจัดหา AH-1W มือสองจากสหรัฐฯครับ และ AH-1W ของสหรัฐฯส่วนใหญ่นั้นจะยังถูกใช้งานอยู่โดย Upgrade เป็น AH-1Z ตามข้อมูลข้างต้นครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 08/07/2008 23:14:13


ความคิดเห็นที่ 57


เกี่ยวกับเรือโอพีวี รูปภาพที่ทร.นำเสนอสู่ภายนอกตั้งแต่เริ่มโครงการ(ก่อนชุดเรือปัตตานี)
ก็เป็นแบบแผนของเรือชั้น ซิกม่า นิ่ครับ

สำหรับอากาศยานประจำเรือจักรีฯ นอกจากตระกูล H-60 แล้ว
ใจจริงอยากให้เป็นตระกูลแฮริเออร์เช่นที่เคยมีครับ
คือ มีสำหรับภารกิจป้องกันภัยทางอากาศแก่กองเรือ
ซึ่งอาจจะมีโอกาส, ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด ต้องออกไปไกลจากฝั่ง
ไกลจากฐานบินส่วนหน้าในประ้เทศ
ที่แม้เครื่องบินจากบนบกจะสนับสนุนการปฏิบัติการได้
แต่ก็ไม่อาจมีเวลาอยู่ในพื้นที่ได้นานพอ สำหรับการครองอากาศครับ

ซึ่งการจัดหา -การบำรุงรักษา เครื่องบินแฮริเออร์ชุดใหม่นั้น ยังมีความเป็นไปได้น้อย

จึงหวังได้เพียงว่า จะไม่มีสถานการณ์ที่แย่ที่สุดในช่วงเวลาอันใกล้นี้ครับ

โดยคุณ Mstn เมื่อวันที่ 09/07/2008 00:19:22


ความคิดเห็นที่ 58


ถ้าเรือ OPV ที่กองทัพเรือออกแบบและจะต่อเองนั้น มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับเรือ Corvette ชั้น Sigma ซึ่งทางเนเธอร์แลนด์ได้ต่อเรือชั้นี้ส่งมอบให้อินโดนีเซียไปแล้ว 4ลำ และกำลังต่อให้โมร็อกโคอีก2ลำ(ฟริเกตอีก1ลำ) นี้คาดว่าน่าจะมีขนาดลำตัวเรือที่สั้นกว่ารุ่นของอินโดนีเซียครับ(ของอินโดนีเซียยาว 91เมตร ของไทยตามข้อมูลที่เคยออกมาจะยาวราว79-82เมตร) และใช้มาตรฐานการต่อแบบเรือพาณิชย์อย่างเรือชั้นปัตตานีก็จะทำให้เรือมีราคาถูกกว่าครับ

http://www.scheldeshipbuilding.com/Sigma.htm

http://www.navy.mi.th/ptrl/link/pdf/Indonesia%20OPV.pdf

(แบบเรือOPV ของกองทัพเรือน่าจะคล้ายเรือแบบ SCHELDE NAVAL PATROL 8313 ครับ)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 09/07/2008 02:48:55


ความคิดเห็นที่ 59


ขอเดา LPD จาก เนเธอร์แลนด์ ตามข่าวลือ ของท่าน อู๊ด....

น่าจะเป็น เรือ Enforce 8000 LPD  ซึ่งเป็นเรือขนาด 8000 - 11000 ตัน...

โดยบริษัท Schelde Naval Shipbuiliding....ซึ่งผมคิดว่า ถ้าราคาไม่สูงเกินไป และสิงคโปร์ ไม่ขายเรือชั้น เอ็นดูแรนซ์ ที่ประจำการอยู่ จำนวน 2 ลำ (ตามข่าวลือจาก Sea Power) ผมว่า เรือที่ผมเดา ก็น่าสนใจดีครับ....

บริษัท Schelde Naval Shipbuilding  เคยเสนอราคาการต่อเรือ OPV รุ่นแรก (ปัตตานี) โดยเสนอราคาเป็นกิจการร่วมค้า กับ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด...

ผมเลยขอ เดา แบบฟันธงว่า เรือ LPD จากเนเธอร์แลนด์ที่เสนอการต่อเรือในประเทศไทย ตามข่าวลือของท่านอู๊ด น่าจะเป็นเรือชั้นนี้ครับ....

ส่วนเรือ OPV แบบจาก เนเธอร์แลนด์ ผมเห็นด้วยกับท่าน AAG_th1 ว่าน่าจะเป็นแบบSCHELDE NAVAL PATROL 8313  ครับ....


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/07/2008 21:13:41


ความคิดเห็นที่ 60


หรืออาจจะเป็นเรือชั้น Comandente Cigala Fulgosi

เป็นเรือขนาด 88 ม. โดยบริษัท Fincantieri จากอิตาลี  ซึ่งบริษัทฯ นี้ เคยเสนอราคาเป็นกิจการร่วมค้า กับ บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด  โดยบริษัทฯ ทร.เคยจัดเป็นแบบเรือสำรอง อันดับ 1  ส่วนของจากประเทศ เนเธอร์แลนด์ โดยบริษัท Schelde จัดเป็นแบบเรือสำรอง อันดับ 2   ผมเลยขอ เดา อีกว่า แบบเรือจาก อิตาลี คงจะราคาสูงเกินงบประมาณไป  แบบเรือจาก เนเธอร์แลนด์ เลยกลายเป็นตัวเลือกแทน ครับ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/07/2008 21:35:22


ความคิดเห็นที่ 61


ขออธิบายความข้างบน...เผื่อสื่อสารไม่เข้าใจครับ...แต่เดิมการจัดหา เรือ OPV รุ่นแรก ทร.ได้คัดเลือกแบบ เรือหลัก เป็นของ Vosper Thornycroft ประเทศอังกฤษ โดยมีแบบเรือสำรอง เรียงตามลำดับ สำรองอันดับ 1 จากบริษัท FINCANTIERI สำรองอันดับ 2 จากบริษัท SCHELDE และมีสำรองไปจนถึงอันดับ 5 แต่ แบบเรือหลัก ราคาสูงเกินไป 100% จากงบประมาณ ต่อมา ทร.ก็ได้เจรจาต่อรองกับทุกบริษัทฯ ก็ไม่มีใครยอมลดราคาลงมาให้ใกล้เคียงกับงบประมาณ สุดท้ายจึงไปได้ จาก บริษัทร่วมค้า บ.อู่กรุงเทพ กับ China Shipbuilding ซึ่งเป็นแบบเรือสำรอง อันดับ 4  จึงได้มาเป็น ชั้น ร.ล.ปัตตานี ในปัจจุบัน....
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/07/2008 21:42:40


ความคิดเห็นที่ 62


ดูจากเว็ยข่าวสารทหารเรือเมื่อ 1-2 เดือนที่แล้ว

 

OPV ออกแบบในไทย และคงต่อในไทยแน่นอน

ทั้งสองแบบ OPV และ LPD ใช้เครื่องยนต์ดีเซล

 

โดยเฉพาะเจ้า LPD ทหารเรือส่งช่างไปดูรายละเอียด ศึกษา

เครื่องยนต์ดีเซล เมื่อต้นพฤษภา

 

เดาว่า LPD น่าจะต่อในไทยด้วยซ้ำ 

 

 

โดยคุณ Terminator เมื่อวันที่ 10/07/2008 04:43:44


ความคิดเห็นที่ 63


ท่านสมาชิกท่านใดมีนิตยสารนาวิกธิปัตย์สาร ฉบับที่ 73 ก็รบกวน Scan หรือถ่ายภาพหน้าโฆษณาเรือของเนเธอร์แลนด์ ด้วยละกันครับ

อันนี้ต้องชี้แจงตามข้อมูลเดิมของคุณอู๊ดที่Postไว้ในข้างต้นแต่แรกครับว่า เรือ OPV ของกองทัพเรือที่จะต่อใหม่ กรมอู่ทหารเรือออกแบบเองและจะต่อเองในประเทศครับ (ไม่ได้เลือกแบบเรือจากประเทศใด)

แต่แบบร่างตัวเรือนั้นคล้ายกับเรือของเนเธอร์แลนด์ที่ลงในโฆษณาเท่านั้นเองครับ(ถ้ามีภาพจากนิตยสารนาวิกธิปัตย์สารจริงๆจะได้เปรียบเทียบได้ชัดเจนครับ)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 10/07/2008 05:49:01


ความคิดเห็นที่ 64


พอดีเครื่องสเกลเนอร์ผมมันดันเดี้ยงเสียด้วยสิ ถ้าไม่อย่างนั้นผมก็สเกล

ให้ดูชมกันทั่วแล้วครับ ขอโทษเพื่อนๆด้วย

แต่ก็ได้ถือโอกาสประชาสัมพันธ์ นิตยสารนาวิกธิปัตย์สาร

ของสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง ว่าเพื่อนๆท่านใดสนใจสมัครสมาชิก

ลองโทร.ติดต่อดูครับ ที่ (089)1199826 ปีละ 3 ฉบับ 130 บาท

เวลาราชการนะครับ

ส่วนเรื่องที่ทางประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่งเรือเข้าประมูลใน

โครงการจัดหาเรือแอลพีดี นั้น

น่าจะเป็นแบบ เอ็นฟอร์ซเซอร์ 13000 ครับ(มีโฆษณาหน้าเดียวกันกับ

โอพีวี ด้วย)

โดยมีข้อเสนอให้สามารถต่อที่เมืองไทย ณ อู่ยูนิคไทย ศรีราชา

ซึ่งทางเนเธอร์แลนด์เคยร่วมมือกับยูนิคไทย

ต่อเรือหลวงพฤหัสบดี ให้กองทัพเรือมาแล้ว

 

โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่ 10/07/2008 09:56:11


ความคิดเห็นที่ 65


OPV ลำใหม่ เริ่มต่อแล้วครับ ที่อู่มหิดล ท่าเรือจุกเสม็ดครับ ต่อโดย ทร. เอง อีกซักปีนึง คงเห็นเป็นรูปเป็นร่าง แต่ระหว่างนั้น เราๆ คงได้เห็นแบบ หรือภาพ กันก่อนแล้วครับ...

สเปคก็ตามที่ได้ยินกันมาครับ ยาวประมาณ 80 ม. มีลาน ฮอ. แต่ไม่มีโรงเก็บครับ...
โดยคุณ highskygate เมื่อวันที่ 10/07/2008 22:58:27


ความคิดเห็นที่ 66


..
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/07/2008 01:41:44


ความคิดเห็นที่ 67


ความเป็นมา การจัดจ้าง ต่อเรือ ชั้น ร.ล.ปัตตานี
3 เมษายน 2544 ยื่นเสนอแบบเรือ ผ่านทางเทคนิค 8 ราย
1. บจก.มาร์ซัน และ German Frigate Consortium
2. บจก.ยูนิไทย ซิฟยาร์ด แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง และ Vosper Thomycroft (UK)
3. บจก.อิตัลไทย มารีน และ FINCANTIERI (Italy)
4. บจก.อู่กรุงเทพ และ Schelde Shipbuilding
5. บมจ.เอเซียน มารีน เซอร์วิสส์ และ TENIX DEFENCE SYSTEM
6. บจก.อู่กรุงเทพ และ China Shipbuilding Trading (CSTC)
7. บจก.PSP Marine และ APPLEDORE Shipbuilding และ Austrelian Submarine Corporation
8. บจก.ยูนิไทย ซิฟยาร์ด แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง และ Empresa Nacional Bazan (Spain)
13 มิถุนายน 2544 คัดเลือกแบบ
แบบที่ได้รับคัดเลือก คือ 2. บจก.ยูนิไทย ซิฟยาร์ด แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง และ Vosper Thomycroft (UK)
แบบเรือสำรอง เรียงตามลำดับ
3. บจก.อิตัลไทย มารีน และ FINCANTIERI (Italy)
4. บจก.อู่กรุงเทพ และ Schelde Shipbuilding
7. บจก.PSP Marine และ APPLEDORE Shipbuilding และ Austrelian Submarine Corporation
6. บจก.อู่กรุงเทพ และ China Shipbuilding Trading (CSTC)
1. บจก.มาร์ซัน และ German Frigate Consortium
13 กรกฎาคม 2544 ผู้ที่ได้รับคัดเลือก ราคาสูงกว่างบประมาณ 100% จึงยกเลิก และเปิดเสนอราคาใหม่ ครั้งที่ 2 มีผู้ร่วมเสนอราคา 5 ราย
มีผู้เสนอราคาใกล้เคียงงบประมาณที่สุด  2 ราย
7. บจก.PSP Marine และ APPLEDORE Shipbuilding และ Austrelian Submarine Corporation
6. บจก.อู่กรุงเทพ และ China Shipbuilding Trading (CSTC)
23 กรกฎาคม 2544 ทำสัญญาว่าจ้าง 6. บจก.อู่กรุงเทพ และ China Shipbuilding Trading (CSTC)
มูลค่า 3,428 ล้านบาท ราคาต่ำกว่า 7. บจก.PSP Marine และ APPLEDORE Shipbuilding และ Austrelian Submarine Corporation
5 พฤศจิกายน 2544 ยกเลิกสัญญาจ้างเพราะ 6. บจก.อู่กรุงเทพ และ China Shipbuilding Trading (CSTC) เสนอเงื่อนไขใหม่ และ ทร. ไม่สามารถยอมรับ
เงื่อนไขใหม่ได้
30 พฤศจิกายน 2544 เสนอราคาใหม่ ครั้งที่ 3  มีผู้เสนอราคา จำนวน 5 ราย
1. บมจ. เอเซียน มารีน เซอร์วิส
2. บจก. อู่กรุงเทพ
3. บจก.อิตัลไทย มารีน และ FINCANTIERI (Italy)
4. บจก. มาร์ซัน
8. บจก.ยูนิไทย ซิฟยาร์ด แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง และ Empresa Nacional Bazan (Spain)
มีผู้ผ่านการพิจารณา 3 ราย
2. บจก. อู่กรุงเทพ
3. บจก.อิตัลไทย มารีน และ FINCANTIERI (Italy)
8. บจก.ยูนิไทย ซิฟยาร์ด แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง และ Empresa Nacional Bazan (Spain)
กองทัพเรือ ตกลงว่าจ้าง 2. บจก. อู่กรุงเทพ ( แบบเรือของ Schelde ) ในราคา 3,512 ล้านบาท
16 มีนาคม 2545 กระทรวงกลาโหม ยกเลิกสัญญาจ้าง  เนื่องจากมีผู้เสนอราคาบางรายร้องเรียน ว่าไม่เป็นไปตามหนังสือเชิญชวน
ที่ต้องเป็นสัญญา ระหว่าง รัฐบาล กับ รัฐบาล
ตั้งคณะกรรมการพิจารณาแบบเรือของบริษัท ที่เคยเสนอของทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา ที่ผ่านการคัดเลือก มี 5 ประเทศ ( 6 แบบ )
1. จีน ( บริษัท CSTC )
2. สเปน ( บริษัท IZAR )
3. อิตาลี ( บริษัท FINCANTIERI )
4. เนเธอร์แลนด์ ( บริษัท SCHELDE )
5. ออสเตรเลีย ( บริษัท TENIX และ AUSTRELIAN SUBMARINE CORPORATION)
15 กรกฎาคม 2545 กระทรวงกลาโหม พิจารณาคัดเลือก ว่าจ้าง บริษัท CSTC จากประเทศจีน ในราคาที่สูงกว่าเคยเสนอราคาในครั้งที่ 2
โดยมี บริษัท IZAR จากประเทศ สเปน เป็นแบบเรือ สำรอง
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/07/2008 01:44:25


ความคิดเห็นที่ 68


หุ หุ ขออภัยครับ..พอดี ก๊อปปี้มาจากไฟล์ excle เลยอาจจะอ่านงง ๆ หน่อยครับ...

แบบเรือ OPV รุ่นแรก (ร.ล.ปัตตานี)...แต่เดิม ทร. คัดเลือกแบบจาก ประเทศอังกฤษ เป็นแบบหลัก และแบบสำรอง อันดับ 1 มาจาก อิตาลี และรองอันดับ 2 มาจาก เนเธอร์แลนด์...แต่ต้องยกเลิก เพราะราคาสูงกว่างบประมาณ 100%

พอคัดเลือกครั้งที่ 2  แบบเรือจากประเทศ จีน ได้รับคัดเลือก เพราะบริษัทฯ อื่นไม่เสนอราคา และ ยอมลดราคาลงมาให้....แต่พอลงนามในสัญญา ก็เสนอเงื่อนไขเพิ่มเติม จน ทร. ยอมรับไม่ได้...ก็ยกเลิกสัญญาไป

จึงมาสู่การคัดเลือกครั้งที่ 3  ที่แบบเรือของ เนเธอร์แลนด์ (SHCELDE) ได้รับคัดเลือก แต่ก็ถูกร้องเรียนว่า ในหนังสือเชิญชวน เป็นลักษณะ รัฐบาล ต่อ รัฐบาล จึงผิดเงื่อนไข...ซึ่งแม้ ทร. จะยืนยันว่า แม้จะเป็นเอกชน แต่ก็อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล เนเธอร์แลนด์ ก็ไม่สามารถจะยืนยันได้...จึงต้องยกเลิกสัญญา

จนมาถึงบทสุดท้าย รมว.กลาโหม (น่าจะเป็น พล.อ.ชวลิต) ก็ตั้งคณะกรรมการมาคัดเลือก โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ....แบบจาก ประเทศจีน จึงได้รับคัดเลือก โดยมีแบบเรือสำรอง มาจาก สเปน....

เรือชั้น ปัตตานี ในปัจจุบัน ก็จัดว่าเป็นแบบเรือสำรอง อันดับ 4 จากการเปิดเสนอราคาในครั้งแรก...ในขณะที่ แบบเรือสำรองอันดับ 2 จาก เนเธอร์แลนด์ แม้ต่อมาจะได้รับสัญญาว่าจ้าง ก็ยังสู้ไม่ไหว ต้องเสียให้แก่ แบบเรือประเทศจีน จนได้...โดยแบบเรือจาก ประเทศจีน ได้รับสัญญาที่มูลค่าสูงกว่า การเสนอราคาในครั้งแรกด้วย....

จึงอาจจะคลายความสงสัย ได้สำหรับผม ในเรื่อง ทำไม ไม่นำขยายผลจาก แบบเรือชั้นปัตตานี....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/07/2008 01:55:18


ความคิดเห็นที่ 69


ซึ่งเรือที่ได้รับการคัดเลือกในครั้งที่ 3 ที่มาจาก เนเธอร์แลนด์ ที่ยอมลดราคาลงมาอยู่ภายในงบประมาณของ ทร. ในขณะนั้น ก็จะต่อโดย บจก.อู่เรือกรุงเทพ...

ซึ่งผมว่าก็น่าจะเป็นแบบที่ ทร. กำลังจะต่ออยู่ในขณะนี้ โดยอาจจะดัดแปลงจาก SHCHELDE  ซึ่ง ผมขอ เดา ว่า SHCELDE คงยินยอมให้ด้วย เพื่อแลกกับการต่อเรือ LPD ENFORCER ด้วยรึเปล่า ?   ตอนนั้น แบบเรือจาก SHCELDE จำนวน 2 ลำ วงเงินงบประมาณ 3,500 ล้านบาท...ตอนนี้ กำลังต่อเรือน่าจะเป็นแบบที่ใกล้เคียงกัน ในวงเงินงบประมาณ 2,000 ล้านบาท ได้เรือ 1 ลำ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/07/2008 02:04:24


ความคิดเห็นที่ 70


เป็นการวิเคราะห์ ตามความเห็นส่วนตัวนะครับ...ไม่ได้ต่อว่าอะไร นะครับ...อย่าเข้าใจผิดน๊า....
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/07/2008 02:06:54


ความคิดเห็นที่ 71


โครงการจัดหา เฮลิคอปเตอร์โจมตี ของ ทร. เท่าที่ลองหาข้อมูล...

ผมขอเชียร์ อยู่ 2 แบบ คือ AH-1W (มือสอง) กับ Tiger HAD ซึ่งในแง่การป้องภัยจากอากาศ โดยใช้ มิสทรัล น่าจะช่วยลดแบบการจัดหา จรวด ของ ทร. ได้ (แบบเดียวกับ ซาดรัล) แต่ถ้าราคา AH-1Z ใกล้เคียงกับ Tiger HAD ความคิดเห็นส่วนตัว ก็น่าเชียร์กว่า Tiger

img66/4415/ahrtnur2.jpg

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/07/2008 00:34:50


ความคิดเห็นที่ 72


ส่วนตัวถ้าจะจัดหา ฮ.โจมตีจริงๆนี้อยากได้ ฮ.Tigerมากกว่าครับ เพราะการออกแบบอากาศยานนั้นทันสมัยกว่า AH-1 ซึ่งถึงแม้จะเป็นรุ่น AH-1Z แต่ก็ต้องยอมรับว่า ฮ.Cobra นี้ออกแบบมาตั้งแต่ปี 1960s แล้ว และ ฮ.Tiger ก็สามารถเลือกแบบอุปกรณ์และอาวุธได้หลายแบบตามความต้องการครับทั้งระบบตรวจการณ์/ชี้เป้า ป้อมปืน จนถึง อวป.ต่อสู้รถถัง เช่น Hellfire, Spike, Trigat PARS3-LR, HOT 3 เป็นต้น

ถ้ามองว่า กบร.น่าจะจัดหา ฮ.AH-1W Super Cobra หรือ AH-1Z เพราะว่าใกล้เคียงกับ AH-1F ของ ศบบ.ทบ.นั้น ตรงนี้ก็ไม่ค่อยเห็นด้วยครับ เพราะ ฮ.Cobra ทั้งสองรุ่นนั้นออกแบบมาคนละสายกัน เช่น ใช้เครื่องยนตร์ต่างกัน(AH-1F 1เครื่อง AH-1W 2เครื่อง) ระบบที่ติดตั้งภายในก็ต่างกันบางส่วนซึ่งอย่างไรนักบินกับช่างก็ต้องฝึกศึกษากันใหม่อยู่ดีครับ และการที่ปัจจุบันนั้น AH-1Z ยังไม่มีประเทศใดสนใจจะจัดหาไปใช้งานจริงๆนอกจากนาวิกโยธินสหรัฐฯก็เป็ฯประเด็นที่ต้องพิจารณาด้วยครับ

อย่างไรก็ตามเท่าที่ทราบยังไม่มีการทดลองนำ ฮ.Tiger ปฏิบัติการจากเรือผิวน้ำนะครับ แต่เรือ LHD ชั้น Canberra ของออสเตรเลียนั้นก็มีข้อมูลว่า ฮ.Tiger สามารถปฏิบัติการจากเรือได้ครับ

แต่โดยสรุปแล้วส่วนตัวคิดว่ากองทัพเรือน่าจะยังไม่มีแนวคิดจัดหา ฮ.โจมตีในขณะนี้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 12/07/2008 08:41:01


ความคิดเห็นที่ 73


เรือโอพีวีชุดใหม่ของกองทัพเรือ(ทร.)ที่กำลังดำเนินการฯอยู่นี้

ซึ่งจะมีระวางขับน้ำโดยประมาณ 1,200-1,300 ตัน

ถ้าลำแรกต่อออกมาแล้วเวิร์ค มีหวังงานนี้อาจจะต่อเพิ่มอีก

ตามโครงการฯอาจถึง 4 ลำ

ส่วนเรื่องเฮลิคอปเตอร์โจมตี(ฮจ.) ผมว่าในระยะเวลาอันใกล้นี้

ทาง ทร. คงจะยังไม่จัดหามา

และถ้าคิดว่า ทาง ทร. จะจัดหา ฮจ. มาเพื่อประจำการ

บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร แทนแฮริเออร์

ผมคิดว่า ทางผู้ใหญ่ ของ ทร. คงอยากให้ เรือจักรี

มีเครื่องปีกตรึงในอัตราของเรือฯอยู่ (มีการแสดงความเห็นออกมาฯ)

ผมจึงคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้นะ ที่จะมีการจัดหา ฮจ.เพื่อแทนแฮริเออร์

ถ้าในอนาคต มีการจัดหา ฮจ. ก็คงประจำการโดยไม่ใช่เพื่อแทน

บ.ปีกตรึงฯ บนเรือจักรีฯ

 

โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่ 12/07/2008 09:57:09


ความคิดเห็นที่ 74


 

 

สนับสนุนให้ต่อเรือ LPD ในเกรดทหารที่บ้านเราครับ

เวียตนามต่อเรือได้สูงสุด 120,000 ตัน แล้ว ทั้งๆ ที่ไม่มีโรงงาน

เหล็กสนับสนุน ต้องนำเข้าทุกชิ้นส่วน

 

หันมามองทางไทยเรา คุณภาพ ฝีมือ ดีเยี่ยม การต่อประกอบดี

เหล็กดี เอามือไปทุบตัวถัง ไม่บุบ อุบาทว์แบบเรือจีน

 

 

มีใครทราบบ้างครับว่า ไทยมีอู่ต่อเรือเอกชน กี่แห่ง

และต่อเรือได้สูงสุดกี่ตัน

 

เพราะกำลังเวียตนามต่อเรือ 50,000 ตัน อีกไม่น้อยกว่า 10 ลำครับ 

คิดแล้วเศร้า

 

 

 

โดยคุณ Terminator เมื่อวันที่ 12/07/2008 17:40:24


ความคิดเห็นที่ 75


เรื่อง ฮ. โจมตี นี้ อ้างอิงมาจากที่มีข่าวว่า ทร. มีความต้องการ ฮ. ใหม่จำนวน 14 ลำ ประกอบด้วย MH-60S 4 ลำ ซุปเปอร์ลิงค์ 4 ลำ และ ฮ.โจมตี....เมื่อหัก กลบ ลบหนี้แล้ว ฮ. โจมตี น่าจะอยู่ที่ประมาณ 6 ลำ ครับ...

ถามว่า ทร. มีความต้องการ ฮ.โจมตี ไหม...ผมว่า ปัจจุบัน ทร. มีความต้องการ น่าจะมากที่สุดในปัจจุบัน....ทร. ไม่มีหน่วยบินโจมตี สนับสนุน ให้ หน่วย นย. ในปัจจุบันเลยครับ...มีแต่ ฮ. bell 212 กับ T-337 ซึ่งไม่ใช่ หน่วยบิน โจมตี เลย... หรือว่า A-7 ???????

ในส่วนของ ฮ.โจมตี ที่ ทร. มีความต้องการ ผมว่าไม่ได้หมายถึง ต้องประจำการ บน 911 เพียงแต่ มันสามารถที่จะบรรทุกไปกับ 911 ได้ด้วยเท่านั้นครับ....

 และเท่าที่ดูจากงบประมาณของ ทร.เอง  ฮ.โจมตี มือสอง จึงน่าสนใจในตอนนี้ครับ...และเท่าที่ดูในปัจจุบัน ยังไม่มี ฮ.แบบไหน ที่จะมีโอกาสขายให้แบบ ฮ. มือ สอง เท่ากับ AH-1W ครับ....ซึ่ง AH-1 W นอกจาก ทร.สหรัฐแล้ว ยังมี ของ ทบ.ตุรกี ครับ..ซึ่งมีประจำการเพียง 9 ลำ ในขณะที่ตอนนี้ ตุรกี ได้สั่งซื้อและประกอบเอง ฮ. แมงกูสต้า จำนวน 51 ลำ (อาจบวกอีก 40 ลำรึเปล่า ไม่แน่ใจครับ) ซึ่งผมว่า ก็น่าจะมี % ที่ ตุรกี อาจจะขายออกไปได้ครับ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/07/2008 20:42:16


ความคิดเห็นที่ 76


LPD ENFORCER CLASS มีเป้าหมายตลาดในเอเซีย ก็คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย....

จากหนังสือ WARSHIPS ฉบับเดือน พฤษภาคม 2551 ครับ...

และเท่าที่ลองหาในกูเกิ้ล ทร.นิวซีแลนด์ ก็น่าจะเลือก ENFORCER 8000 จำนวน 2 ลำ...รวมถึง อินโดนีเซีย ใน ฟอรั่มพูดคุย ก็มองไปที่ ENFORCER 8000 เหมือนกัน....ซึ่งขนาด 13000 ตัน ผมว่ามันจะใหญ่ไป และดูสิ้นเปลือง (ใหญ่กว่า 911 อีก) กับภาระกิจที่ผมมอง วัตถุประสงค์ ของ ทร. ว่า น่าจะใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ใกล้เคียงกับภาระกิจ ทางการทหาร...

img230/8317/lpdnq6.jpg

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/07/2008 20:52:40


ความคิดเห็นที่ 77


เรือ OPV ลำที่จะต่อใหม่ล่าสุดนั้นเท่าที่ค้นข้อมูลมาไม่ทราบว่าใช่แบบของ บริษัท ไทยโคลอน จำกัด หรือไม่ครับเพราะมีการลงข้อมูลใน Website ของกรมอู่ทหารเรือ http://www.navy.mi.th/dockyard/doced/Homepage/stady_dock/index_stady_dock51.htm

๑๓ ก.พ.๕๑ ห้องประชุม บก.อร. ๑ ข้อมูลทางเทคนิคแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) ของ บริษัท ไทยโคลอน จำกัด

สำหรับกำลังสนับสนุนทางอากาศของกองทัพเรือแก่หน่วยนาวิกโยธินนั้นก็ใช้ Bell 212 ซึ่งมีข้อมูลว่าสามารถติดปืนกลอากาศและจรวดได้(แต่ไม่เคยเห็นภาพว่ามีการติดตั้งครับ) และ บ.T-337 นั้นก็เป็น บ.ตรวจการณ์ที่ติดอาวุธสำหรับภารกิจโจมตีได้คือ กระเปาะจรวด 2.75 และกระเปาะปืนกล .50cal ซึ่งก็เคยมีภาพVideo Clip การฝึกการใช้อาวุธของ T-337 ใน Website ของกองทัพเรือครับ

แต่ถ้ามองว่าอากาศยานทั้งสองแบบโดยเฉพาะ T-337 นั้นใช้งานมานานมากแล้ว การจัดหา ฮ.โจมตีก็เป็นแนวทางที่เหมาะสมครับ ในส่วนของ ฮ.มือสองนั้น AH-1W ของสหรัฐฯน่าจะมีส่วนเกินที่สำรองไว้และอาจสามารถขายได้ครับ แต่ AH-1W ของตุรกีนั้นคงเป็นไปได้ยาก เพราะตุรกีนั้นต้องคงกำลังรบ ฮ.โจมตีทั้ง AH-1F และ AH-1W ไว้สำหรับป้องกันภัยคุกคามเช่นการปราบกบฎชาวเคริด์ส PKK ซึ่งมีภาพข่าวการใช้ ฮ.Cobra ถล่มที่มั่นฝ่ายกบฎอย่างต่อเนื่อง ตุรกีคงจะใช้ ฮ.Cobra ทั้งหมดต่อไปจนกว่าจะหมดอายุการใช้งานและปลดประจำการครับ(ซึ่งถ้าไทยซื้อต่อคงไม่ได้เพราะโครงสร้างหมดสภาพแล้ว)

ดังนั้นการจัดหา ฮ.ใหม่จากโรงงานเป็นแนวทางที่เหมาะกว่าครับในระยะยาว ซึ่งการพิจารณาจัดหา ฮ.โจมตีสำหรับสนับสนุนกำลังนาวิกโยธินนี้ก็น่าจะนำมาทดแทนในภารกิจตรวจการณ์ของ บ.T-337 ได้ด้วยครับ ซึ่ง ฮ.รุ่นใหม่จะติดตั้ง Sensor ที่ทันสมัยกว่า และสามารถใช้ในการคุ้มกัน-สนับสนุน ฮ.ลำเลียงกำลังพลที่จะลงพื้นที่รบได้ด้วยครับ

สำหรับเรือ LPD ชั้น Enforcer แบบ 13000 นั้นถ้ามีกองทัพเรือตัดสินใจเลือกแบบเรือนี้จริงคงน่าจะต่อได้เพียงลำเดียวในขั้นต้นครับ (น่าจะใหญ่ที่สุดในภูมิภาค) โดยถ้าเทียบเรือ LPD ของเนเธอร์แลนด์ชั้น Rotterdam ลำแรกคือ HrMs Rotterdam ระวางขับน้ำ 13,000ตัน กับลำที่สอง HrMs Johan de Witt ที่ระวางขับน้ำสูงสุดถึง 16,000ตัน ก็ใกล้เคียงกันครับ โดยเรือขนาดใหญ่แบะมี Technology สูงขนาดนี้ถ้าสามารถต่อโดยอู่ภายในประเทศใด้นี้ก็แสดงว่าอุตสาหกรรมทางเรือของไทยก้าวหน้ามากแล้วครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 12/07/2008 22:23:22


ความคิดเห็นที่ 78


บจก. ไทยโคลอน เป็นบริษัท นำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์ทางเรือ...โดยน่าจะเป็นบริษัทในเครือของ อู่เรือ มาร์ซัน ที่ต่อเรือ ต.992-993 ซึ่งการต่อเรือ ผมว่าไม่น่าใช้ในนาม บจก.ไทยโคลอน เป็นผู้ขายแบบเรือ เพราะไม่มีประสบการณ์ในการต่อเรือ ซึ่งจะถูกโจมตีได้เช่นเดียวกันกับ กรณีการจัดจ้าง เรือ OPV ชุดแรก ในการคัดเลือกครั้งที่ 3 ที่ได้ถูกคัดเลือกใช้แบบ SCHELDE และต่อโดย บจก.อู่กรุงเทพ และบจก.อู่กรุงเทพ ก็ถูกร้องเรียนว่า ไม่มีประสบการณ์ในการต่อเรือ.....

และถ้าเป็นแบบเรือ จาก บจก.ไทยโคลอน ซึ่งเกี่ยวพันกับ อู่เรือมาร์ซัน แบบเรือ น่าจะออกไปทาง เยอรมัน มากกว่า เนเธอร์แลนด์...ซึ่งในทางการค้าแล้ว SCHELDE ไม่น่าจะทิ้งสัมพันธ์กับ บจก.อู่กรุงเทพ....

แม้จะแบบเรือ ที่ทร.ออกแบบเอง  ผมว่า การที่จะเอาแบบเรือของ บริษัทฯ ที่เคยเสนอขายให้ นำไปดัดแปลง คงจะไม่ใช่ภาพที่ดีเท่าไหร่...ผมคิดว่าน่าจะต้องมีการพูดคุย  กับ บริษัท เจ้าของแบบ กันแล้วบ้างล่ะครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/07/2008 23:39:06


ความคิดเห็นที่ 79


จากลิ้งท่าน AAG ผมสดุดกับคำนี้ง่ะ

๗ มี.ค.๕๑ ห้องประชุม บก.อร. ๑ เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบตัวเรือสำหรับโครงการสร้างเรือ OPV และ LPD

( เราจะสร้าง LPD เองเหรอ )หรือผมเข้าใจผิดไปเองหว่า

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 12/07/2008 23:46:43


ความคิดเห็นที่ 80


ตามข้อมูลของคุณอู๊ดข้างบนนั้นข้อเสนอของเรือ LPD ชั้น Enforcer 13000 คือจะให้ไทยต่อเรือชั้นนี้ที่อู่ยูนิคไทย ศรีราชา เช่นเดียวกับที่ต่อเรือสำรวจ ร.ล.พฤหัสบดี มาแล้วครับ เข้าใจว่าน่าจะเป็นการส่งเจ้าหน้าที่เพื่อศึกษาและประเมินระบบ ย.ดีเซลและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของโครงการต่อเรือ LPD และ OPV ที่ยืนแบบเสนอมาในขั้นต้นมากว่าครับ (เท่าที่ทราบตอนนี้ก็ยังไม่มีการเลือกแบบเรือ LPD ที่ชัดเจนครับ) 

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 13/07/2008 01:52:05


ความคิดเห็นที่ 81


บ.อีกลำ ที่ขอแนะนำ ถ้าจะหา บ. ทดแทน T-337

EMB-314 Super Tucano  ขอดันอีกซักรอบบบบบบ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/07/2008 09:29:45


ความคิดเห็นที่ 82


T-337 ยังบินปร๋อเลยครับ ถ้ามีโอกาส จะสอยภาพมาให้ชมกัน
โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 13/07/2008 10:35:54


ความคิดเห็นที่ 83


เฮลิคอปเตอร์(ฮ.) เบลล์ 212 ของกองทัพเรือนั้น

สามารถติดอาวุธเป็นฮ.กันชิพ ได้แน่นอน100%ครับ

รูปน่าจะหาดูได้ไม่ยากนะครับงานนี้

แถม เบลล์ 212 ของ ทร. ยังได้รับการปรับปรุง ติดตั้งแฟลร์ด้วย

มีรูปตอนทดสอบยิงแฟลร์ ลงในนิตยสารสมรภูมิ ฉบับอากาศนาวี

ส่วนโครงการฯแอลพีดี ปัจจุบัน ทร. ยังมิได้เลือกเรือจากที่ไหน

กำลังอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือก(แต่คงไม่ต่อเอง โดย อร. แน่)

แบบเรือฯจากเนเธอร์แลนด์ที่ผมกล่าวถึง ก็เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งเท่านั้น

และก็ไม่ใช่เต็งหนึ่งในตอนนี้ด้วย ขอรับ

 

โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่ 13/07/2008 11:19:19


ความคิดเห็นที่ 84


 

     โหยยย........ดูจากแบบเรือชั้น Enforcer 13000   และอื่นๆในซีรีย์นี้แล้วถ้าเราสามารถต่อเองได้ในประเทศจริงๆ     เราก็จะสามารถดูดซับเทคโนโลยี่การต่อเรือทหารขนาดใหญ่มาเต็มๆ      ดูจากรุ่นหนักสุดจะเป็น  LHD  ซึ่งสามารถทำดาดฟ้าลานบินได้ยาวตลอดลำ   ดังนั้นเรือชั้นนี้น่าจะสามารถดัดแปลงออกแบบให้เรือบรรทุกบ.ขนาดเบาราวๆ 15,000 - 20,000 ตันได้     ถ้าเป็นเช่นนี้ผมสนับสนุนให้ทร.ต่อเรือชั้น Enforcer 13000  เองภายในประเทศครับ   กล้าๆเสี่ยงดีกว่าครับ    ผมว่าอู่ยูนิไทยน่าจะสามารถต่อเรือชั้นนี้ได้(มั๊ง)

 

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 13/07/2008 11:54:02


ความคิดเห็นที่ 85


ตามที่เคยเดิมพัน...

เต็ง 1 คงเป็น เอ็นดูแรนซ์ แต่ถ้า สิงคโปร์ ใจไม่ป้ำพอ....

ENFORCER ก็น่าจะสามารถเบียดแซงมาได้ พอสมควรครับ....

ของ ทร. อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับ ทอ. ตราบใดที่ยังไม่วางกระดูกงู.....

บริษัท อิตัล ไทยฯ ก็มีอิทธิพลทางการเมือง....

บจก.อู่กรุงเทพ ก็เป็นรัฐวิสาหกิจ....

ถ้าการจัดจ้างการต่อเรือ ไม่ได้เป็นแบบ รัฐบาล ต่อ รัฐบาล...มักจะมีปัญหาทุกครั้ง ตั้งแต่สมัยเรือคอร์เวท ร.ล.สุโขทัย โน่นนนนนน.... 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/07/2008 20:52:34


ความคิดเห็นที่ 86


ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าถ้ามีการปลด บ.T-337 ไปนี้ กบร.จะมีการจัดหา บ.ปีกตรึกใบพัดแบบอื่นมาประจำการแทนหรือไม่ครับ เพราะในช่วง5-10ปีนี้กองทัพเรือต้องการจัดหาอากาศยานปีกหมุนพวก ฮ.ต่างๆเช่น ฮ.ลำเลียงขนาดใหญ่และ ฮ.ประจำเรือมากกว่าครับ

และโครงการที่วางไว้สำหรับ บ.โจมตีที่เคยออกมาในแผน 9ปีเดิมนั้นคือการจัดหา บ.โจมตีทางทะเล ซึ่งตามคุณสมบัติน่าจะเป็น บ.Jet แบบเดียวกับ A-7 มากกว่าครับ ซึ่งเหตุผลคงจะคล้ายกับของกองทัพอากาศครับคือจากประสบการณ์ในอดีตและสถานการณ์ปัจจุบันนั้น บ.ใบพัดโจมตีนั้นติดอาวุธได้น้อยและมีความอยู่รอดในสนาบรบน้อยกว่า บ.Jet ที่บรรทุกอาวุธได้มากว่าและพิสัยการบินไกลกว่าครับ และในภารกิจตรวจการณ์ชี้เป้าด้วยอากาศยานหน้านั้นคงจะทดแทนด้วย UAV ครับ

อย่างไรก็ตามคิดว่าการจัดหาอากาศยานของ กบร.คงจะให้ความสำคัญในการจัดหา ฮ.เป็นอันดับแรกครับ

สำหรับโครงการจัดหาเรือ LPD นั้นสรุปว่ามีบริษัทจากประเทศใดบ้างที่ส่งแบบเรือเข้าเสนอกองทัพเรือบ้างครับ นอกจากที่เป็นข่าวก็มี สิงคโปร์ จีน อิตาลี และ เนเธอร์แลนด์ ครับ

 

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 14/07/2008 01:56:08


ความคิดเห็นที่ 87


เอ๋เรือดำน้ำไม่เห็นมีเลยหรือว่าต้องรออีก10ปีและอีกเครื่องบินที่จะมาแทน เอ-7 กับ เอวี-8เอส ไม่มีหรืองัยหรือจะปล่อยให้เรือหลวงจักรีเป็นเรือบรรทุกฮ.อย่างเดียวน่าเสียดายออกสกีจัมพ์นะและท้ายสุดทร.มีโครงการจะติดอาวุธนำวิถีให้เรือ opvทั้ง2ลำหรือเปล่าถ้าจะติด อาร์พูนหรือrbs15

โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 14/07/2008 07:12:54


ความคิดเห็นที่ 88


ตามแบบแผนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่เข้าประการแล้วคือชั้น ร.ล.ปัตตานี นั้นออกแบบให้สามารถติด อวป.Harpoon ได้สูงสุด 8นัดบนแท่นยิงแบบแฝดสี่ เทียบเท่ากับเรือฟริเกตเช่นเรือชั้น ร.ล.นเรศวร ครับline

ในขณะที่เรือCorvette ชั้น Sigma ซึ่งอินโดนีเซียจัดหาไปนั้น(KRI Diponegoro) มีความยาวน้อยกว่าเรือชั้นปัตตานีเล็กน้อยคือ91เมตร(ชั้นปัตตานี 94เมตร) และไม่มีโรงเก็บ ฮ. สามารถติด อวป.Exocet MM40 ได้4นัดในแท่นยิงแฝดสอง ซึ่งเท่ากับเรือเร็วโจมตีเท่านั้นครับ

เรือ ตกก.ใหม่ที่จะต่อนี้ได้เลือกระบบอำนวยการแบบ Thales TACTICOS เช่นเดียวกับเรือของอินโดนีเซีย อวป.หลักก็อาจจะเป็น Exocet (หรือHarpoon หรือ RBS-15) ก็ได้ครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวเรือเป็นหลักครับ เพราะโดยภารกิจตามปกติทั่วไปแล้ว เรือ ตกก.จะมีอำนาจการรบและอำนาจการยิงเทียบเท่ากับเรือเร็วโจมตีปืนหรือเรือตรวจการณ์ปืนครับแต่มีขนาดใหญ่ปฎิบัติการในทะเลได้ทนและนานเท่าเรือCorvette หรือฟริเกต

ส่วนตัวเชื่อว่าเรือ ตกก. ที่ต่อใหม่นี้อาจจะไม่ติด อวป.ต่อต้านเรือผิวน้ำด้วยซ้ำไปครับ (จากขนาดตัวเรือและภารกิจ เท่าที่ทราบร.ล.ปัตตานี ร.ล.นราธิวาส ปัจจุบันยังไม่มีการติด Harpoon เลยครับ)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 14/07/2008 09:45:05


ความคิดเห็นที่ 89


มาลองของบประมาณ เพิ่มเติม อีกนิดหน่อย...

จากเดิมที่ ทร. มี บ.ประจำการอยู่ในปัจจุบัน....กับ บ.ที่จะจัดหาเพิ่มเติม

MH-60S = 4 ลำ (ตามแผนงบประมาณเดิม)

SUPER LYNX 300 = 4 ลำ (ตามแผนงบประมาณเดิม)

ฮ.โจมตี = 6 ลำ (ฮ.จต.1) (ตามข่าวเดิมที่จะจัดหา ฮ. ใหม่ จำนวน 14 ลำ)

ผมขอเพิ่ม บ.จต. 2 อีก = 6 ลำ (ป๋าดัน อีกแล้ววววววว)

เลยคิดเล่น ๆ จัดเล่น ๆ สำหรับ กบร. ตามแผนภาพครับ....โดยถ้า ทร. จะลดการประจำการ บ. ลง ก็น่าจะพิจารณาในส่วนของ ฝูงบินเอนกประสงค์ แทน.....

img397/1285/flynavypk0.jpg

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/07/2008 14:46:20


ความคิดเห็นที่ 90


ส่วนตัวแล้วเห็นว่าความต้องการ บ.ขล. ที่ทร.ตั้งไว้อาจจะตั้งมารองรับการจัดหา AV-8B มือสองก็เป็นได้นะครับ


 

                                บันทึก 8          รายละเอียดความต้องการเครื่องบินโจมตีทางทะเลของ ทร. 

                                                         8.1       ประเภท  :  .โจมตีทางทะเล

                                                         8.2       โครงการ  : 8 เครื่อง    ระยะเวลาโครงการ : 2553-2555

                                                         8.3       ขีดความสามารถที่ต้องการ

                                                                     8.3.1    โจมตีเรือผิวน้ำและเป้าหมายในทะเล

                                                                     8.3.2    ป้องกันภัยทางอากาศให้แก่กองเรือ

                                                                     8.3.3    สนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดทั้งบกและในทะเล

                                                         8.4       คุณลักษณะสำคัญ

                                                                     8.4.1    ปฏิบัติงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

                                                                     8.4.2    รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า300ไมล์ทะเล

                                                                     8.4.3    ติดตั้งอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-พื้นสำหรับทำลายเรือผิวน้ำระยะไม่ต่ำกว่า 40 ไมล์

                                                                     8.4.4    ติดตั้งระเบิดทำลายเป้าหมายบนบกและในทะเล

                                                                     8.4.5    ติดตั้งอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศ

                                                                     8.4.6    มีอายุการใช้งานและสายการผลิตที่สามารถสนับสนุนอะไหล่ในการซ่อมบำรุงได้ไม่ต่ำกว่า 20 ปี

 

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 14/07/2008 23:11:52


ความคิดเห็นที่ 91


ตามแผน 9 ปี ทร.ของเดิม ก็ตามที่ท่าน Skyman ว่าไว้ล่ะครับ...ทร. คงต้องการ AV-8B มือสอง...และต่อมา ช่วงปลายรัฐบาลดังกล่าว...ที่มีข่าวลอย ๆ ออกมาว่า จะมีนโยบาย ให้ ทร. คงประจำการ บ. ปีกหมุน เท่านั้น....คราวนี้ ก็เลยลองมาดูในเงื่อนไขว่า ถ้า ทร. ไม่สามารถจัดหา บ.ขับไล่ไอพ่น มาได้...

ในแง่ การมี บ.โจมตี สนับสนุน และคุ้มกัน ทั้งนาวิกโยธิน และกองเรือชายฝั่ง  (ซึ่งดูปัจจุบัน ทร. ยังไม่มี) บ.โจมตีใบพัด และ ฮ.ปีกหมุน โจมตี... ผมดูก็น่าจะเหมาะสมดี...

เท่ากับว่า บ. ของ ทร. ตัดเรื่องการบำรุงรักษา เครื่องยนต์เจ็ต ออกไปเลย....

บ. ของ ทร. จึงจะมีเฉพาะ ฮ.ปีกหมุน กับ บ.ใบพัด...ซึ่งผมว่า น่าจะช่วยลดงบประมาณการบำรุงรักษา และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงรักษาของ ทร. แถมน่าจะช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงในสถาพปัจจุบัน และอนาคต ด้วย....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/07/2008 23:39:32


ความคิดเห็นที่ 92


ไม่ว่ากระแสเรือลอดช่องจะแรงแค่ไหน แต่ใจผมยังคงขอเชียร์

เรือมักโรนี ครับ ทำนองว่า ไม่มีหวัง แต่ยังหวัง จะขอรักเธอคนเดียว

เครื่องบิน T337 ยังจะน่าอยู่ในประจำการอีกนานเลยที่เดียวครับ

เพราะ ทาง ทร. ได้ใช้เครื่องบินทรงเหมือน อาราวาขนาดจิ๋ว

นี้คุ้มค่า รับได้หลายภารกิจ

ทั้ง ตรวจการณ์(บก/ทะเล,บางลำติดกล้องตรวจการณ์ทางทะเล)

ธุรการ,ชี้เป้า,โจมตีเบา

แถมยังมีโอกาสจัดหาเพิ่ม(มือสอง/ถ้ามี) เพื่อแทนลำที่จำหน่ายไป

ส่วนเครื่องปีกตึงใบพัด แบบต่อไปของ ทร.

ไม่แน่อาจเป็น พวกเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางเปิดแรมป์ท้าย

ก็ได้ครับ อย่ามองข้าม (มีอยู่ในโปรเจ็คฯด้วย)

ทร. อยากได้ บ.แบบนี้มานานๆๆแล้วครับ

โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่ 14/07/2008 23:58:26


ความคิดเห็นที่ 93


 

ซื้อ AV8 B มือสอง

ค่าความรอดในสนามรบ มีมากกว่าซื้อ ฮ โจมตีที่ง่ายในการถูกยิง

จากจรวดประทับบ่า

 

โดยคุณ Terminator เมื่อวันที่ 15/07/2008 00:04:40


ความคิดเห็นที่ 94


ผมก็ได้เคยได้ยิน คำพูด/ข่าว ทำนองว่า จะให้ ทร.(รวมถึงเหล่าทัพอื่น)

มีใช้แต่ เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินปีกตรึง ให้อยู่ที่ ทอ.

ผมว่าผู้พูด/ผู้ปล่อย ข่าว(อัปมงคล) ดังกล่าวไม่ใช่เป็นผู้ที่หวังดีกับ

กองทัพไทย เป็นแน่แท้ ครับ

ขอร้องเพื่อนๆ ในเว็ปนี้ โปรดอย่าได้ใส่ใจหรือนำมาคิดต่อเลยครับ

ผมเคยอ่านในหนังสือเจอถึงเหตุผลหนึ่งกองทัพเยอรมัน แพ้สงครามฯ

ก็เพราะมีจอมพลอากาศ ท่านหนึ่งที่ทางฮิตเลอร์ เชื่อถือ กล่าววลีที่

ใจแคบและนำมาสู่ความพ่ายแพ้ ว่า

อะไรที่บินได้เป็นของฉัน

โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่ 15/07/2008 00:17:43


ความคิดเห็นที่ 95


เคยกล่าวในTopicก่อนหน้านี้บ้างแล้วครับสำหรับ AV-8B Harrier II มือสองจากสหรัฐฯว่าในปัจจุบันนั้นฝูงบินโจมตีของนาวิกโยธินสหรัฐฯยังใช้งาน บ.AV-8B แบบเต็มอัตราอย่างหนักทั้งรุ่น Night Attack และรุ่น Harrier II Plus ซึ่งก็คงจะคล้ายกับกรณี AH-1W Super Cobra ที่กล่าวในข้างต้นครับว่าอาจจะไม่มีเครื่องที่ปลดประจำการหรือสำรองเก็บรักษาไว้สำหรับขายส่งออกก็ได้ ซึ่งAV-8B รุ่นที่ปลดไปแล้วก็มีรุ่น Day Attack จำนวนหนึ่งครับ แต่สำหรับรุ่น NA นั้นไม่แน่ใจว่ามีเครื่องสำรอง แต่รุ่น Plus ไม่มีเครื่องสำรองที่เก็บรักษาไว้แน่ครับ

อย่างไรก็ตามความล่าช้าในการพัฒนา F-35B ซึ่งจะมาประจำการแทน AV-8B นั้นก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯจะยังคงปลดประจำการ Harrier II ช้าลงไปอีกครับ 

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 15/07/2008 03:24:53


ความคิดเห็นที่ 96


 

ถ้าทหารเรือมียุทธศาสตร์มองไปว่าไทยไม่ได้รบกับใครแน่ๆใน 10 ปีนี้

ก็ควรระงับการซื้อ AV8 B มือสองซะ

 

เพราะการที่ซื้อ A7 กับ AV8A มาประจำการในช่วง 10 ปีมานี้ก็ไม่ได้

ใช้การอะไร กลายเป็นหน่วยบินผลิตนักบินป้อนให้ การบินไทย ไป

เปล่าๆ

 

หรือถ้ามองว่า อาจมีสงครามสั่งสอนเฉพาะเขตแนวชายแดนไทย

เพื่อนบ้าน ก็ควรเอางบประมาณไปซื้อ จรวด อุปกรณ์เรดาห์ ติดเรือ

ติดอากาศยานให้ครบ Full Option  เพราะกำลังทางอากาศมีทหาร

อากาศคอยคุ้มครองอยู่แล้ว ในรัศมีชายแดน

 

หรือ รอไปอีก 10 ปี ค่อยซื้อเจ้า AV8 B รุ่น 2 plus ที่ปลดประจำการ

ยังไม่สาย หรือซื้อ F35 B สัก 5 เครื่อง เอาไว้คุ้มครองเรือ เวลาออก

ทะเลหลวง ค่าความอยู่รอดยังมากกว่า เอา AV8 B รุ่นธรรมดา

ไปดวลกับ Su27 หรือ Su30 ของเพื่อนบ้าน

โดยคุณ Terminator เมื่อวันที่ 15/07/2008 05:06:07


ความคิดเห็นที่ 97


 

ผมประเมินว่า เพื่อนบ้านที่มีเรือดำน้ำใหม่ เช่น มาเลเซีย จีน

คงต้องแอบเอาเรือดำน้ำบุกทะลวงเข้ามาอ่าวไทย หรือเขต

อันดามันชั้นกลาง

 

เพื่อเข้ามาหาข่าวกรอง สืบความเคลื่อนไหว หรือก็มาปล่อยหน่วย

จารกรรมขึ้นฝั่ง เหมือนที่รัสเซียทำสมัยสงครามเย็น

 

ทางกองทัพเรือมีแผนต่อเรือฟรีเกตป้องกันภ้ยทางอากาศ ซึ่งก็จะ

ขาดความสามารถในการตรวจจับเรือดำน้ำ

 

ดังนั้นเพื่อประหยัดงบประมาณ ทหารเรือควรโยกงบประมาณไป

รวมเป็นก้อนเดียว ต่อเรือ เอจิสต์ ซึ่งมีความสามารถในการรบ 3

มิติ

 

ถ้ามีประเด็นว่าสหรัฐไม่ขาย ไม่ต่อให้ ก็ไปซื้อเทคโนโลยีจากยุโรป

แทนซะ

 

นอกจากจำนวนเรือที่ต้องเสียเงินจะลดลง จากสี่ เหลือสอง

แต่คุณภาพคับแก้ว

โดยคุณ Terminator เมื่อวันที่ 15/07/2008 05:16:19


ความคิดเห็นที่ 98


กองบินทหารเรือ สำหรับปี 2552 (เลขสวย)

ท่าน AAG_th1 อย่าลืม แฮริเออร์ ของ อังกฤษ ที่เคยเสนอขายให้ ทร.อินเดีย นะครับ...เพียงแต่ จะกล้าสู้ราคา อ่ะป่าววววว.....

img149/6913/rtnafvr4.jpg

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/07/2008 11:50:32


ความคิดเห็นที่ 99


The Government of India proposed to buy 17 second-hand Sea Harriers from the Royal Navy of the UK. The Government has been collecting information whether there are surplus Fleet Air Arm Sea Harriers. Royal Navy Sea Harriers are said to cost $9 million each and they also suit Indian Navys requirements. About 29 Sea Harriers are available for disposal. Indian Navy, at present, has 17 units of FRS 51 model. Indian Navy might consider going for total fleet replacement. Sea Harriers can also be used for operational roles. This will suit INS Virat, as it can only carry Vertical/short take off and landing aircraft of size of the Sea Harriers. These can also be deployed across the border.

จาก http://www.globalsecurity.org/military/world/india/r-viraat.htm

02/06 - Indian Navy to acquire Sea Harrier F/A.2s? Reports indicate that the Indian Navy is negotiating to purchase a number of Royal Navy Sea Harrier F/A.2 aircraft to bolster their force while current Sea Harrier FRS.Mk.51 are updated with Israeli Elta EL/M-2032 radars by Hindustan Aeronautics. The ex-RN aircraft would have their Blue Vixen radars, AMRAAM and other equipment removed and will be used for training.

จาก http://www.harrier.org.uk/news/index.htm

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/07/2008 12:04:03


ความคิดเห็นที่ 100


การเปรียบเทียบระหว่าง Sea Harrier FA.2 ของกองทัพเรืออังกฤษกับ AV-8B Harrier II ของนาวิกโยธินสหรัฐฯนั้นก็เคยกล่าวมาแล้วในอดีตครับ

Sea Harrier FA.2 นั้นมีขีดความสามารถในการรบอากาศสู่อากาศมากว่า AV-8B ของนาวิกโยธินสหรัฐฯครับ ซึ่งรุ่น Night Attack นั้นเป็นรุ่นโจมตีเทียบเท่ากับ Harrier GR.9A ของกองทัพอากาศอังกฤษและรุ่น Plus ที่ติด Radar แบบ AN/APG-65 นั้นก็ไม่ได้ติด Software สำหรับยิง AMRAAM ครับ(ใช้ได้แต่ปืนใหญ่อากาศกับSidewinder) ในขณะที่ Sea Harrier นั้นติด Radar แบบ Blue Vixen ซึ่งสามารถยิง AMRAAM ได้

อย่างไรก็ตามถ้าดูจากรณีอินเดียที่อังกฤษจะถอดเอา Radar และ Software สำหรับการยิง AMRAAM ออกถ้ามีการจัดหาจนอินเดียต้องเลือกที่จะติดRadar ของ Elta และ Derby แทนแล้วนั้นคงเป็นเหตุผลหนึ่งที่อินเดียตัดสินที่จะไม่จัดหา Sea Harrier จากอังกฤษในที่สุดครับ

อีกประการคือ Sea Harrier FA.2 นั้นมีโครงสร้างแบบเดียวกับ AV-8S ของไทยและ AV-8A ซึ่ง Harrier รุ่นนี้นั้นปลดประจำการไปหมดแล้วซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือเรื่องอะไหล่ครับ(รุ่น FA.2 นั้นมีอังกฤษใช้ประเทศเดียวด้วย) ในขณะที่ AV-8B และ Harrier GR.9A ซึ่งเป็นโครงสร้างแบบเดียวกันนั้นยังมีใช้งานอยู่หลายประเทศครับเช่น สหรัฐฯ อังกฤษ อิตาลี และ สเปน ซึ่งประเทศดังกล่าวก็มีการจัดตั้งระบบสนับสนุนอะไหล่ร่วมกันครับ

โดยสรุปก็คือถ้าจัดหา Sea Harrier FA.2 มาสุดท้ายก็คงจะมีปัญหาแบบเดียวกับ AV-8S ครับคือเรื่องอะไหล่ ส่วนตัวแล้วสนับสนุนการจัดหา AV-8B มากว่าครับถึงแม้ว่าจะมีขีดความสามารถในการรบทางอากาศน้อยกว่าก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอะไหล่และการซ่อมบำรุงในระยะยาวน้อยกว่าครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 15/07/2008 23:00:19


ความคิดเห็นที่ 101


ถ้าทหารเรือมียุทธศาสตร์มองไปว่าไทยไม่ได้รบกับใครแน่ๆใน 10 ปีนี้

ก็ควรระงับการซื้อ AV8 B มือสองซะ

 

เพราะการที่ซื้อ A7 กับ AV8A มาประจำการในช่วง 10 ปีมานี้ก็ไม่ได้

ใช้การอะไร กลายเป็นหน่วยบินผลิตนักบินป้อนให้ การบินไทย ไป

เปล่าๆ

 

หรือถ้ามองว่า อาจมีสงครามสั่งสอนเฉพาะเขตแนวชายแดนไทย

เพื่อนบ้าน ก็ควรเอางบประมาณไปซื้อ จรวด อุปกรณ์เรดาห์ ติดเรือ

ติดอากาศยานให้ครบ Full Option  เพราะกำลังทางอากาศมีทหาร

อากาศคอยคุ้มครองอยู่แล้ว ในรัศมีชายแดน

 

หรือ รอไปอีก 10 ปี ค่อยซื้อเจ้า AV8 B รุ่น 2 plus ที่ปลดประจำการ

ยังไม่สาย หรือซื้อ F35 B สัก 5 เครื่อง เอาไว้คุ้มครองเรือ เวลาออก

ทะเลหลวง ค่าความอยู่รอดยังมากกว่า เอา AV8 B รุ่นธรรมดา

ไปดวลกับ Su27 หรือ Su30 ของเพื่อนบ้าน



โดยคุณ : Terminator   

 

เรียนคุณTerminator 

กระผมเป็นคนหนึ่งที่ติดตามข่าวในWebboardนี้มาโดยตลอด  กระผมเป็นเพียงสมาชิกลอยๆของบอร์ดนี้เท่านั้น  กระผมอาจจะมีความรู้ทางทหารน้อยกว่าท่านทั้งหลายในบอร์ดนี้นั่นคือสิ่งที่กระผมรู้ตัวเองและไม่ตั้งกระทู้ไร้สาระครับ

แต่สิ่งที่กระผมข้องใจในกระทู้นี้ก็คือ 

ถ้าทหารเรือมียุทธศาสตร์มองไปว่าไทยไม่ได้รบกับใครแน่ๆใน 10 ปีนี้

กระผมมีความคิดว่าเราไม่ควรที่จะคิดว่าไม่ได้ทำสงครามกับใครในเวลานี้หรือในอนาคตครับ

กระผมเองไม่ได้มีเจตนาจะขัดแย้งแนวความคิดในการจัดหาอากาศยานตามแบบของคุณ

ขออภัยที่อาจล่วงเกินแต่ขอท้วงติงว่า เราไม่รู้ครับว่าสงครามเต็มรูปแบบจะอุบัติขึ้นเมื่อใดอาจจะเป็นพรุ่งนี้มะรืนนี้หรืออาจเย็นนี้ก็ได้ครับ  เพราะงั้นไม่ควรคาดการณ์ว่าเราจะไม่ได้ทสงครามกับประเทศใดครับ

ขออภัยที่อาจล่วงเกินท่าน

ขออภัยที่อาจเขียนข้อความได้ไม่สละสลวยนัก

ขอบคุณครับ

โดยคุณ kasiyaphat เมื่อวันที่ 16/07/2008 00:21:57


ความคิดเห็นที่ 102


 

กองทัพเรือมีงบจำกัด น้อยกว่าทหารบก ทหารอากาศนะครับ

ซึ่งมาหลายปัจจัย ผมก็ไม่อยากจะพูดถึง

 

เอาเป็นว่าที่ผมเขียนข้างบนชัดเจน ตรงประเด็น แทงใจดำ

ที่สุดแล้ว

 

ถ้าทหารเรือมีงบประมาณก็ควรเอาไปซื้อ P3-C มือสอง

พร้อมอุปกรณ์ตรวจจับ ระเบิดน้ำลึกให้เต็มที่ดีกว่า

พร้อมจัดตั้งหน่วยบินที่อันดามัน จะได้ตรวจจับเรือดำน้ำข้าศึก

ได้ทั้งสองฝั่ง ซึ่งเพื่อนบ้านคงแอบเข้ามาสืบแน่ๆ

 

ถ้างบไม่มี ก็บาร์เตอร์เทรค เอาสินค้าเกษตรไปแลกเรือดำน้ำรัสเซีย

เถอะครับ Win-Win ทั้งคู่

 

ยังไงผมก็มองไม่เห็นว่าไทยต้องไปพัวพันกับสงครามใหญ่ในรอบ

10 ปีนี้ครับ การซื้อเครื่องบินขับไล่เช่น AV8 ที่ต้องเอาไปปะทะ

กับเพื่อนบ้านที่มี Su เราอาจจะเสียมากกว่านะครับ

 

อย่าไปตามอเมริกันมาก ถึงเขาใช้ AV8 ในอิรัก หรือบอสเนีย ได้

เพราะมีเจ้า F15 ไปไล่จิกนำร่องไว้ก่อนแล้ว

 

โดยคุณ Terminator เมื่อวันที่ 16/07/2008 01:27:49


ความคิดเห็นที่ 103


ผมว่านะเราน่าถอดปตอ.ขนาด37มมในเรือชุดเจ้าพระยาทั้ง4ลำโดยเฉพาะ2แทนท้ายเรือออกแล้วเอาซาดรัสแบบเดียวกับที่ติดบนเรือจักรีมาใส่แทนคงมีที่ว่างพอนะเรือ4ลำนี้จะได้ติดอาวุธครบเสียทีส่วน2แท่นหน้าถ้าเปลี่ยนเป็นรุ่นใหม่ก้จะดีไม่น้อยเพราะดูขัดหูขัดตายังงัยชอบกลเหมือนรุ่นสงครามโลกครั้งที่2ยังงัยไม่รู้แหะหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นรุ่น40/70มม.แทนก้ได้แบบเดียวกับที่ติดในเรือคอร์วตทั้ง2ลำ

โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 17/07/2008 10:28:13


ความคิดเห็นที่ 104


การติดตั้งแท่นยิงอาวุธหรือป้อมปืนใหม่เข้าไปบนเรือแทนของเดิมนั้นไม่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆแบบ ถอดของเก่าออก ยกของใหม่มาวาง แล้วเสียบปลั๊กนะครับ การติดตั้งแท่นยิงอาวุธปล่อยหรือป้อมปืนใหม่บนเรือแทนของเดิมนั้นต้องมีการคำนวนพื้นที่ น้ำหนัก และมุมต่างๆ ซึ่งเมื่อเรือออกทะเลแล้วจะไม่มีปัญหาในการใช้งานครับ

ดูจากเรื่อง การติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี SADRAL ร.ล.จักรีนฤเบศร ที่ลงในนิตยสารนาวิกศาสตร์ได้ครับ

http://www.navy.mi.th/navic/document/830104a.html

ซึ่งถ้ามีการประเมินแล้วว่าการติดตั้งอาวุธใหม่บนเรือนั้นจะมีผลต่อโครงสร้างเรือและมีประสิทธิภาพในการใช้งานไม่ดีพอเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายก็คุ้มที่จะทำครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 17/07/2008 22:24:22


ความคิดเห็นที่ 105


แก้จากข้างบนเป็น

ซึ่งถ้ามีการประเมินแล้วว่าการติดตั้งอาวุธใหม่บนเรือนั้นจะมีผลต่อโครงสร้างเรือและมีประสิทธิภาพในการใช้งานไม่ดีพอเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายก็ไม่คุ้มที่จะทำครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 17/07/2008 22:26:00


ความคิดเห็นที่ 106


อย่าซีเรียส จริงจัง ครับ...แม้ในสงครามฟอร์คแลนด์ ถึง เรือรบของ อังกฤษ จะมีระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่จัดว่า ดี ในขณะนั้น แต่ เรือรบ ก็จมไปหลายลำ...ที่สำคัญ คือ มนุษย์ผู้ควบคุมอาวุธ จะเป็นอาวุธ ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดครับ...และ ถึงแม้เราจะมีอาวุธ ที่ไม่ทันสมัยมากมาย แต่ถ้ามนุษย์ผู้ควบคุมอาวุธ รู้จักนำมาประยุกต์ใช้ และใช้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (ซึ่งก็คือ การฝึกรบทางยุทธวิธี นั่นแหล่ะ) ก็สามารถต่อกรได้ กับ อาวุธที่ทันสมัย แต่มีมนุษย์ผู้ควบคุมอาวุธนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ (เพราะมันอาจจะใหม่เกินไป)...

ลองมาชมกันเล่น ๆ กับ OH-58D Kiowa Warrior

img295/3417/rtnattack2xq7.jpg

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/07/2008 23:52:37


ความคิดเห็นที่ 107


ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย...ก็มีการทดลองการใช้งานและการปฏิบัติงานจริงของ OH-58D ของกองทัพบก กับ เรือรบของกองทัพเรือสหรัฐ

img135/6319/oh58d31nj2.jpg

img135/3383/oh58d32ub3.jpg

img135/4852/oh58d33qb8.jpg

img135/7618/oh58d30wi0.jpg

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/07/2008 23:59:55


ความคิดเห็นที่ 108


..img135/1418/oh58d34mr0.jpg

img135/5051/oh58d35ew9.jpg

img135/5724/oh58d36cr8.jpg

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/07/2008 00:07:06


ความคิดเห็นที่ 109


ทาง ศบบ.ทบ.เองก็มีความต้องการในการจัดหา ฮ.ลาดตระเวน/สอดแนมติดอาวุธเบาลักษณะเดียวกับ ฮ.OH-58D มานานแล้วครับสำหรับใช้การสนับสนุนปฏิบัติการของกำลังภาคพื้นดินและเฮลิคอปเตอร์ทุกกาลอากาศ ซึ่ง ฮ.Kiowa Warrior นั้นกำลังจะถูกแทนที่ด้วย ฮ.สอดแนมติดอาวุธแบบ ARH-70A ซึ่งมีความทันสมัยกว่า โดย ฮ.OH-58Dมีอายุการใช้งานเครื่องที่นานมากแล้วครับ ถ้าจัดหามาก็ไม่แน่ใจว่า ฮ.จะมีสภาพพร้อมปฏิบัติการได้นานพอหรือไม่ (แต่คิดว่าน่าจะคล้ายๆกับ ฮ.UH-1 EDA ที่เคยจัดหามาก่อนหน้านี้ครับนั้นก็เป็น ฮ.เก่าเช่นกัน)

ในการซ้อมรบร่วมระหว่างกองทัพเรือและกองทัพบกนั้นการจัด ฮ.แบบนี้เข้าร่วมการฝึกก็น่าจะดีครับ แต่กองทัพเรือเองคงไม่น่าจะต้องการ ฮ.ลักษณะนี้ใช้งานเองในเหล่าทัพครับ ฮ.OH-58D คงจะถูกจัดหาโดยกองทัพบกมากกว่า (ซึ่งการจัดหา ฮ.ใหม่ที่ออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการจากเรือได้โดยตรงเช่นเดียว Super Lynx ดูจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่าสำหรับกองทัพเรือครับ เพื่องแต่จัดหาอุปกรณ์และอาวุธเพิ่มก็จะปฏิบัติการในภารกิจเดียวกับ Kiowa Warrior แล้ว)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 18/07/2008 04:28:58


ความคิดเห็นที่ 110


ถ้าจะจัดหา ฮ.ที่สามารถปฏิบัติการได้แบบเดียวกับ OH-58D ส่วนตัวคิดว่าโครงการ Future Lynx เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจครับ

Future Lynx เป็นอากาศยานแบบเดียวกับ Super Lynx 300 ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบันซึ่งจะช่วยลดความมากแบบของอากาศยานใน กบร.ลงได้ สามารถปฏิบัติภารกิจจากบนเรือได้อเนกประสงค์ครับทั้ลำเลียง สอดแนมติดอาวุธเบา โจมตีเรือผิวน้ำ จนถึงปราบเรือดำน้ำ และตัว ฮ.และระบบต่างๆนั้นมีความทันสมัยครับ (แต่ราคาคงแพงพอตัวแต่คิดว่าคุ้มค่ากว่าครับ)

http://www.naval-technology.com/projects/navy-future-lynx/

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 18/07/2008 04:40:43


ความคิดเห็นที่ 111


MS-60S

แบบนี้ไม่เลวครับ ติด Full Option ประหยัดงบ ฮ โจมตี ได้อีก


โดยคุณ Terminator เมื่อวันที่ 18/07/2008 05:57:03


ความคิดเห็นที่ 112


สำหรับ ฮ.ซุปเปอร์ ลิงค์ แบบรุ่นโจมตี ตามที่ท่าน AAG_th1 ว่าไว้...ตอนแรก ผมก็เล็ง ๆ ไว้เหมือนกันครับ...แต่ผมก็ตัดออกไป เนื่องจากว่า มันแพงงงงงง...(ขนาด ฮ.ซุปเปอร์ ลิงค์ รุ่นประจำเรือ เรายังไม่สามารถมีอาวุธครบในคราวเดียว..ผมเลยไม่ค่อยหวังกับรุ่นโจมตีนี้ครับ) และก็ยังมีรุ่นเวอร์ชั่นนี้ ออกมาให้ยลโฉมเป็นตัวจริงเลยครับ...คงต้องใช้เวลาอีกพอสมควร ขณะที่ ทร. น่าจะมีความต้องการฝูงบินโจมตี ในระยะอันใกล้นี้...

ส่วน ฮ.แบบที่ท่าน Terminator ว่าไว้...ผมว่า น่าจะพอมีที่ 911 บ้างล่ะครับ...ที่กำลังจะสั่งซื้อรุ่นใหม่อีก 4 ลำ (ขอเดาว่า น่าจะหลง ๆ มาซัก 2 ลำ)

ในส่วนของ OH-58D ในแนวความคิดผม จะเป็นหน่วยบินประจำบนบก ครับ...เป็นหน่วยบินสนับสนุน นย. (อย่าลืมนึกถึง หน่วยลำน้ำโขง และ กองกำลัง จันทบุรี ตราด ด้วยครับ)...ซึ่งเป็นได้ทั้งหน่วยโจมตีเบา และโจมตีหนัก รวมถึง ชี้เป้า ได้ในคราวเดียวกัน (และคิดว่าถ้าได้จัดหา มาแบบ ฮ.มือสอง ราคาไม่น่าแพง ทร.สามารถจัดสรรงบประมาณในเรื่อง อาวุธ ได้เต็มที่) เดี๋ยวขอต่อนะครับ...เดี๋ยวโพส หลุด อีก...เซ็งงงงง

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/07/2008 10:04:19


ความคิดเห็นที่ 113


เมื่อตะกี้เขียนตกครับ...จากข้อความเดิมตอนที่แล้ว..และก็ยังมีรุ่นเวอร์ชั่นนี้ ออกมาให้ยลโฉม แก้เป็น และก็ยัง ไม่มี รุ่นเว่อร์ชั่นนี้ ออกมาให้ยกโฉม ครับ...

OH-58D ประเทศไตหวัน มีประจำการอยู่ในกองทัพบก ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด (จากภาษาอังกฤษ งูๆ ปลาๆ) ไตหวัน ก็ได้ไลเซ่น สามารถผลิตใช้เองได้ด้วยครับ...(อาจจะติดต่อลับ ๆ ให้ไตหวัน ขายอะไหล่ใน E-Bay กั๊ก กั๊ก กั๊ก) และ พวก บ. เก่า จากสหรัฐ...ผมไม่ค่อยกังวัลเกี่ยวกับเรื่องอะไหล่...เพราะไม่เคยได้ข่าวว่าเรามีปัญหา...แม้แต่ T-337 ก็ยังบินปร๋อ...ไม่ค่อยง้ออะไหล่สักเท่าไหร่....

ในแนวความคิดผม OH-58D และ AH-1W อาจจะเป็นหน่วยบินบนบท แต่สามารถนำไปกับ 911 ได้ด้วย สำหรับภาระกิจพิเศษ...

และ OH-58D ก็น่าจะเป็นหน่วยบินโจมตีเบา นำไปกับ เรือช่วยรบ ของ ทร. ได้ เช่นกัน...(เทียบกับ ไตหวัน ที่เรือชั้น Knox แต่มี ฮ.ประจำเรือ เป็น MD-500) และ OH-58D ก็น่าจะสามารถสนับสนุน หน่วยจู่โจมพิเศษ ของ ทร. (ซีล) ได้อีกเช่นกัน....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/07/2008 10:14:05


ความคิดเห็นที่ 114


ฮ.Future Lynx ต้นแบบนั้นมีกำหนดจะทำการบินภายในปีหน้าครับซึ่งกองทัพบกและกองทัพอากาศเรืออังกฤษนั้นมีแผนจะจัดหาไปประจำการแทน ฮ.Lynx รุ่นเก่าจำนวนกว่า70ลำครับ

สำหรับหน่วยบินสนับสนุนกำลังนาวิกโยธินภายในกองทัพเรือในช่วง5-10ปีนี้นั้นส่วนตัวก็เชื่อว่าก็ยังคงเป็น บ.T-337 และ ฮ.Bell 212 อยู่ครับโดยอาจจะมี MH-60S เสริมสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษ(ทั้ง นสร.และ พัน ลว.นย.)ด้วยส่วนหนึ่ง ซึ่งกำลังทางอากาศของ กบร.ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากนักครับ โดยการจัดหา ฮ.Knighthawk ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถของกำลังสนับสนุนทางอากาศต่อกำลังภาคพื้นภายในกองทัพเรือได้ระดับหนึ่ง (ฮ.OH-58D นี้ถ้ามีการจัดหาจริงส่วนตัวว่าอย่างไงก็ต้องเป็นของกองทัพบกอยู่ดีครับ จะได้ใช้เสริมกับ UH-60L และ AH-1F)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 18/07/2008 10:22:03


ความคิดเห็นที่ 115


ในความคิดผม จึงมอง OH-58D (ต้องรุ่น Warrior เท่านั้นนะ) แทน T-337 แต่มีประสิทธิภาพการโจมตีมากกว่า

และมอง AH-1W แทน A-7 (ที่ไม่มีปัญหาเรื่องอะไหล่ แต่ดันมีปัญหาเรื่อง ไม่มีงบประมาณเติมน้ำมัน ที่จะบิน เพราะมันเป็นเครื่องบินเจ็ต ซดน้ำมัน เหมือนดั่งท่าน Coffee Mix นั่งจิบน้ำจันทร์ยามเย็น ซะปานนั้น)

และด้วยงบประมาณอันจำกัดของ ทร. เอง...ในเมื่อ ทร. ยังคงมีความต้องการ การรบแบบ 3 มิติ น้ำ ฟ้า ฝั่ง...ทร. ก็ควรจะมีหน่วยบินโจมตี ที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน...ดังนั้น ผมว่า บ.มือสอง คงหนีไม่รอดจากเอื้อมมือของ ทร. ไปได้ล่ะครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/07/2008 10:22:14


ความคิดเห็นที่ 116


พี่ Juldas และ พี่ AAG_th ครับ สงกะสัยอยู่อีกนิดหน่อยครับ ตามประสาคนตามเทคโนโลยีทหารไม่ค่อยจะทัน อิอิ

 

คือ A7 เนี๊ยะ ผมได้ยินมาว่า มันยุบฝูงบินไปแล้วเพราะมีปัญหาเรื่องอะไหล่ (ไม่ได้ปักใจเชื่อนะครับ เคยอ่านเจอมา) แต่พอเห็นข้อเขียนพี่จูลดาส (เลยเกิดความหวัง) ว่ามันมีปัญหาเรื่องไม่มีตังค์เติมน้ำมัน ไม่ใช่ที่อะไหล่ เลยสงสัยว่า มันยังสามารถจะบินได้ใช่ไหมครับพี่ พอทราบไหมครับว่ากี่เครื่อง เผื่อจะเป็นไฟลุกโชนให้ผมคว้า A7 ของฟูจิมิมาต่อก่อน

 

แล้วในเรื่องของ ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.นเรศวร หากจะติดอาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ เพื่อป้องกันภัยทางอากาศ มันพอจะมีทางไหมครับ อยากอ่านข้อเขียนที่พี่ ๆ วิเคราะห์กันน่ะครับ สนุกด้วย ได้ความรู้ด้วย

 

ขอบคุณครับพี่

 

 

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 19/07/2008 05:42:55


ความคิดเห็นที่ 117


สำหรับกรณี A-7E ของ กบร.นั้นไม่มีข่าวว่ายุบฝูงแล้วหรือไม่นะครับ แต่จากข้อมูลล่าสุดเมื่อราวปี๔๙-๕๐ นั้นพบว่า บ.A-7 หลายลำถูกห่อด้วยพลาสติกครับซึ่งวิเคราะห์ได้ว่าคงถูกงดบินหรือGround ครับ แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าทาง กบร.คงจะสามารถทำให้ บ.A-7 บางลำสามารถทำการบินได้ถ้าจำเป็นเช่นเดียวกับ AV-8S ครับ

บ.โจมตี A-7 เป็น บ.ที่ไม่ได้มีประจำการในต่างประเทศมากครับนอกจากสหรัฐฯแล้วก็มีเพียง กรีซ โปรตุเกต และไทยเท่านั้นที่มีประจำการซึ่ง กรีซนั้นก็ทำการปรับปรุง บ.A-7E ของตนเป็นรุ่น A-7H ซึ่งปรับปรุงเครื่องยนตร์และระบบมีความทันสมัยมากขึ้นเมื่อราว10ปีก่อนครับ ส่วนโปรตุเกตนั้นปลดประจำการไปเมื่อปี 1999 ปัญหาสำคัญของ A-7 คือเนื่องจากเป็น บ.ที่ผู้ใช้รายใหญ่คือสหรัฐฯปลดประจำการแล้วและมีประเทศอื่นที่ใช้ไม่มาก อะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆจึงไม่มีสายการผลิตแล้วและค่อนข้างจะหายากครับ(โดยเฉพาะเครื่องยนตร์)

เรือชั้น ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.กระบุรี นั้นเป็นเรือชั้นJianghu Type053H2 และ Type053HT ซึ่งถ้าจะกล่าวแบบตรงๆแล้วโครงสร้างเรือชั้นนี้ไม่ค่อยต่างอะไรกับเรือพิฆาตสมัยสงครามโลกครั้งที่สองแต่เปลี่ยนมาติดอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำกับระบบอำนวยการรบและศูนย์ยุทธการนักหรอกครับ ถึงแม้ว่าเรือในรุ่นType053H2 และ Type053HT นั้นจะเป็นค่อนข้างจะทันสมัยหน่วยเพราะออกแบบสร้างในช่วงต้นปี1990sก็ตามแต่ โครงสร้างตัวเรือยังคงคล้ายกับเรือชั้น Jianghu ก่อนหน้านี้ซึ่งมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดอยู่ครับ การติดอาวุธพื้นสู่อากาศเพิ่มเติมคงทำได้ยาก และไม่น่าคุ้มค่าที่จะทำด้วยครับ เปลี่ยนมาติด อวป.C-802A ก็น่าจะพอครับสำหรับเรือชั้นนี้

เท่าที่มีการสอบถามข้อมูลมานั้นโครงสร้างตรงส่วนใต้ดาดฟ้าหน้าสะพานเดินเรือของเรือชั้น ร.ล.นเรศวร (Type025T) นั้นถูกออกแบบให้มีที่ว่างสำหรับติดตั้งระบบ Mk 41 VLS ซึ่งตามแผนเดิมนั้นเรือชั้นนี้จะได้รับการติดชุดยิง Mk41 1ระบบ 8ท่อยิงพร้อม RIM-7VL SeaSparrow ครับ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีการติดตั้งระบบดังกล่าวแต่อย่างใดเนื่องจากปัญหาเรื่องบประมาณด้านการจัดหาและความเข้ากันได้ของระบบ เคยมีข่าวว่าเรือชั้น ร.ล.นเรศวรจะทำการติดตั้ง Sadral แบบเดียวกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร 2ระบบแทน ปตอ.แฝด 37มม.ครับ แต่ก็ยังไม่การติดตั้งแต่อย่างใด

ซึ่งถ้ามีการทำการปรับปรุงระบบของเรือชั้นนี้โดยถอดระบบอำนวยการรบ Radar และระบบควบคุมการยิงและอาวุธจีนทั้งหมดแล้วเปลี่ยนเป็นของยุโรปแทนตามข่าวในข้าต้นจริงเรือชั้นนี้ก็สามารถใช้ระบบแท่นยิงอาวุธปล่อยได้ทั้งของสหรัฐฯเช่น Mk48หรือMk56ที่มีราคาถูกกว่าสำหรับ RIM-162 ESSM 24-32นัดหรือ SYLVER A-43 สำหรับ Aster 15 8นัดก็ได้ครับ แต่ในว่าถ้าโครงสร้างเรือดังเดิมไม่สามารถรองรับการติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่งระบบอื่นนอกจาก Mk41 ที่วางแผนแต่แรกใดก็ไม่มีประโยชน์ที่จะจัดหาแท่นยิงและอาวุธปล่อยระบบอื่นมาใช้ครับ ถึงระบบควบคุมการรบและระบบควบคุมการยิงจะรองรับได้ก็ตาม

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/07/2008 09:14:20


ความคิดเห็นที่ 118


แท่นยิง SYLVER สำหรับอาวุธปล่อย Aster 15/30 เช่นที่ติดบนเรือชั้น Formidable ของสิงคโปร์นั้น1ชุดยิงจะมี8ท่อยิงขนาดเท่าๆกับ Mk41 ครับซึ่งถือว่าเป็นระบบทางเลือกที่น่าสนใจถ้าไม่สามารถจัดหาแท่นยิง Mk41 และ อวป. ESSM ซึ่งจุดจรวดได้ถึง 32นัดในชุดยิงแบบ Quad-Pack ได้ (SYLVER ติด Aster ได้แค่8นัด ซึ่ง ร.ล.นเรศวรคงติด SYLVER ได้แค่ชุดเดียวเท่ากับ Mk41ครับ)

แต่ถ้าตัวโครงสร้างเรือไม่รองรับก็ไม่มีประโยชน์ที่จะจัดหามาครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/07/2008 09:48:11


ความคิดเห็นที่ 119


โอ๊ะ..ท่านครูชนบท อย่าอ้างอิงข้อมูลผมมากนะครับ...เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ เดา กับ ใช้ความรู้สึก ซะส่วนใหญ่ ไม่ได้รู้ลึกซึ้งมากมายครับ...อาศัย พอจะจำข้อมูลได้ว่า เคยมีข่าวโผล่ที่ไหน ก็นำมันมา ประติ ประต่อ กันครับ...

ในส่วนของ A-7 จากข้อมูลจากเว๊ป thai-aviation.net  ทร.ไทย มีประจำการ จำนวน 18 ลำ บวกกับ เครื่องอะไหล่อีก 3 ลำ ประกอบด้วย TA-7 1 ลำ กับ A-7 อีก 2 ลำ

บ.จต. 1  มีหมายเลขประจำเครื่องเพียง 16 ลำ ขาดหมายเลข 1412 กับ 1413  และ บ.จต.1  เริ่มประจำการในปี 1995 ถึง 1997 ซึ่งเมื่อนับถึงปีปัจจุบัน จะอยู่ประมาณ 11-13 ปี  ซึ่งความคิดส่วนตัวผมว่า บ.มือสอง น่าจะมีอายุใช้งานประมาณ 15 ปี และคาดว่า บ.จต.1 ไม่ค่อยมีชั่วโมงบินสักเท่าไหร่ครับ....จึงไม่ค่อยได้ข่าวว่า ขาดแคลนอะไหล่ เหมือนกับ บ.ขล.1

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/07/2008 11:23:05


ความคิดเห็นที่ 120


ขอต่อ...

ตามเดิมครับ...ด้วยงบประมาณอันจำกัดของ ทร. ในการให้ความสำคัญงบประมาณในเรื่องการฝึก การซ่อมบำรุง และเชื้อเพลิง คงให้ความสำคัญของ บ.ขล.1 ซึ่งเป็น บ.ประจำการบน 911  มากกว่า บ.จต.1....ซึ่งความที่มันเป็นเครื่องบินเจ็ต ผมว่าการเก็บรักษา และการบำรุงรักษา คงต้องมีมากกว่า บ.ใบพัด ที่มีประจำการของ ทร.

อันนี้ แถม อีกออฟชั่น..ครับ...

img148/8828/rtnattack3by6.jpg

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/07/2008 13:36:29


ความคิดเห็นที่ 121


อ๊ะจ๊าก...รวมผิด มันต้อง 59 ลำซิ....

เวอร์ชั่นล่าสุด และคาดว่าจะสุดท้าย ประกอบด้วย

ฮ.ลล. 5 (MH-60S) = 4 ลำ

ฮ.ตผ. 1 (Super Lynx 300) = 4 ลำ

ฮ.โจมตี = 6 ลำ

ฮ.ลจ.1 (UH-1 Y โดยนำเอา Bell-212 ไปอัพเกรดเปลี่ยนเครื่องยนต์พ่วงกับ USMC) = 6 ลำ

img148/8624/uh1y1it8.jpg

และ บ.ลล.2  = 2 ลำ บ.ลำเลียงเปิดท้ายได้....ผมขอเลือก CASA CN-235 M ต้องรุ่น M เท่านั้น เพราะในหนังสือ Janes Aircraft recognition Guide   รุ่นนี้พื้นที่ปีก สามารถติดไพล่อน จรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ และ ตอร์ปิโด ได้ 6 ลูก (เอาไว้เผื่ออนาคต ถ้ามีความจำเป็น)

img148/3862/cn235mli6.jpg

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/07/2008 13:55:55


ความคิดเห็นที่ 122


ส่วนเรื่องระบบ VLS....ตามข่าวลือจากกระทู้เก่า ที่ว่า เรือชั้น นเรศวร จะทำเปลี่ยนระบบเรือใหม่หมด จาก จีน เป็น ยุโรป...คำว่า ยุโรป ผมจึงเล็งไปที่ ASTER 15/30...ทร. ได้สั่งซื้อ ซาดรัล มาจำนวน 4 ยูนิต แต่ยังไม่มีข่าวการติดตั้ง...ซึ่งถ้า ทร. ติดตั้ง ซาดรัล ในชั้น นเรศวร....เรือชั้น นเรศวร จะมีระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่ระยะ 15-30 ก.ม. ด้วย Aster 15/30 จากฝรั่งเศส และที่ ระยะ 5 ก.ม. ด้วย ซาดรัล จากฝรั่งเศส ด้วยอีกเช่นกัน โดยระบบจรวดทั้ง ซาดรัล และ Aster 15/30 จะมีใช้ทั้ง ไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย...และผมยังเชื่อว่า ไทย ไม่สามารถมี Sea Sparrow ประจำการในกองทัพได้...ดังนั้น ระบบ VLS จากสหรัฐ จึงไม่น่าจะมีติดตั้งในชั้นเรือ นเรศวร ครับ....
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/07/2008 14:08:43


ความคิดเห็นที่ 123


แล้วซาดรัลที่ ทร. ซื้อมา 4 ชุดนี้ ซื้อมาแล้วหรือเปล่าครับ หรือว่ารวมกับที่อยู่บน 911 ด้วย 3 ระบบ (แล้วเหลืออีก 1) หรือว่ายังไม่ได้มีแผนจะติดให้ใครเลยน่ะครับ

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 19/07/2008 21:41:29


ความคิดเห็นที่ 124


เป็นการสั่งซื้อใหม่ครับ...ท่านครูชนบท...ไม่เกี่ยวกับ 911...

ความคิดเห็นส่วนตัว ในแนวความคิดของ สหรัฐ สำหรับการขายอาวุธให้กับ ไทย

แนวความคิด การขายอาวุธ เพื่อไม่ให้เป็นการแข่งขันการสะสมอาวุธ  สหรัฐ จะพิจารณาขายให้กับ

มิตรประเทศ ที่มีภัยคุกคามทางทหารจาก กลุ่มประเทศที่ สหรัฐ เห็นเป็นภัยคุกคาม

ประเทศมาเลเซีย  มีภัยคุกคามจาก จีน ในเรื่องหมู่เกาะ สแปชรี่ย์ (ขาย F/A-18 และ จรวดซี สแปร์โร่ว แต่ไม่ขาย AIM-120 ให้)

ประเทศสิงคโปร์ เป็นท่าเรือสำคัญของ สหรัฐ และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของกลุ่มธุรกิจของ สหรัฐ ที่อยู่ใน

ภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ (ขายทุกอย่าง ที่ สิงคโปร์ ต้องการ)

ประเทศไทย ไม่มีภัยคุกคาม จาก จีน (เป็นมิตรประเทศของไทย จนสหรัฐ กลับจะมองว่า เทคโนโลยี่จะหลุดไปที่ จีน)  หรือ รัสเซีย คงจะมีกลุ่มประเทศที่ สหรัฐ มองเป็นคุกคามสำหรับไทย คือ

พม่า เขมร และเวียดนาม  ซึ่ง สหรัฐ คงจะพิจารณาขายอาวุธให้กับ ไทย โดยมองศักยภาพของกลุ่มประเทศเหล่านี้ (ขาย AIM-120 ให้ เพราะ พม่า มีประจำการ มิก-29 ) มากกว่า จะมองศักยภาพภัยคุกคามของ มาเลเซีย สิงคโปร์ (ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศสำคัญทางเศรษฐกิจ) ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านติดกับไทย

สำหรับ อินโดนีเซีย ก็ไม่จัดว่าจะมีภัยคุกคามมาถึงประเทศไทย

ดังนั้น ไทย จะขอซื้ออาวุธจาก สหรัฐ ได้ในระดับหนึ่ง ในเรื่อง การรักษาสมดุลทางการทหารในภูมิภาค...ซึ่งจะต้องเป็นการ ซื้ออาวุธ แบบราคาขายตามท้องตลาดโดยตรงจากเอกชนสหรัฐ...ไม่ใช่ การซื้อจาก แบบการช่วยเหลือทางทหาร (FMS) ที่ราคาจะต่ำกว่าราคาตามท้องตลาด (กองทัพไทย มีนโยบายซื้อของราคาถูก) ซึ่งถ้าผมเข้าใจไม่ผิด เป็นการขายอาวุธใหม่ ที่มีอยู่ในคลังของสหรัฐเอง ไม่ได้เป็นการซื้อโดยตรงกับบริษัทเอกชน (สหรัฐ จึงขอตั้ง คลังอาวุธ ในประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายของสหรัฐ เมื่อ ไทย ไม่ให้ตั้ง คลังอาวุธของสหรัฐ ในประเทศไทย การจัดหาอาวุธสหรัฐของไทย ที่ผ่านระบบ FMS จึงมักจะไม่ได้ระบบอาวุธตามที่ไทยต้องการ เพราะต้องผ่านการพิจารณาเรื่องภัยคุกคามของไทย จากสภาครองเกรส)...

เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ทั้งหมดครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/07/2008 22:01:13


ความคิดเห็นที่ 125


ในส่วนของ ฮ.UH-1Y และ บ.ลำเลียง CASA CN-235 นั้นเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับกองทัพเรือครับ

โดย ฮ.UH-1Y นั้นก็เหมาะสมสำหรับภารกิจลำเลียงธุรการทั่วไป(ซึ่งใช้บ่อยมากตั้งแต่ส่งของให้กำลังในฐานส่วนหน้าจนถึงส่ง VIP)จนถึงอาจจะใช้ติดอาวุธเป็น ฮ.Gunship ได้ระดับหนึ่งครับ แต่ในส่วนของการ Upgrade Bell 212(หรือUH-1N ของสหรัฐฯ) ที่มีอยู่ให้เป็นรุ่นนี้ได้นั้นก็ไม่แน่ใจครับว่าระหว่างเลือกซื้อ ฮ.ใหม่นั้นกองทัพเรือจะเลือกแบบใหน(ส่วนตัวคิดว่าแนวทาง Upgrade ที่มีอยู่4ลำและจัดหาเพิ่มอีก 2-4ลำน่าจะเหมาะที่สุดครับ)

สำหรับ บ.ลำเลียงนั้น ส่วนตัวคิดว่าถ้ามองรูปแบบการจัดกำลังของ กบร.ในปัจจุบัน บ.ลำเลียงที่จะจัดหามาไม่จำเป็นต้องติดอาวุธได้ครับ เพราะในส่วนของ บ.ลาดตระเวนติดอาวุธนั้น กบร.ก็มีทั้ง P-3T, F-27 Mk200 และ Do-228 อยู่แล้ว ซึ่ง บ.ลำเลียงที่จะจัดหามานั้นจะใช้ในภารกิจลำเลียงกำลังพลเท่านั้นครับ เหมือน F-27 Mk400 ที่ใช้ลำเลียงอย่างเดียว (แต่ บ.ที่จะจัดหามาใหม่นั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าบินได้ไกลกว่าและส่งอาวุธ อุปกรณ์และพลร่มทางRampท้ายได้)

ส่วนเรื่อง Aster 15 กับแท่นยิง SYLVER ก็กล่าวมาในข้างต้นแล้วครับ
ก็มีข่าวออกมาว่าทั้งเรือชั้น ร.ล.ปัตตานีและชั้น ร.ล.นเรศวรนี้จะติด Sadral นานแล้วครับ แต่ถ้าตอนนี้ยังไม่เห็นเรือลำใดติดSadral นี้ก็คงต้องละเรื่องแบบอาวุธปล่อยต่อสู้อากาศยานพิสัยกลางประจำเรือไปก่อนครับ(แต่ส่วนตัวยังคิดว่ายังไง ร.ล.นเรศวรก็ติด Aster กับแท่นยิง SYLVER ไม่ได้หรอกครับ เพราะโครงสร้างตัวเรือไม่รองรับ)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/07/2008 23:02:10


ความคิดเห็นที่ 126


จากข้อมูลใน Janes Aircraft Recognition Guide ว่า...USMC จะนำเอา UH-1N ที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน นำมาปรับปรุงและติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่ จำนวน 2 เครื่องยนต์ (เครื่องยนต์เดียวกับ AH-1Z) จำนวน 100 ลำ และแบบประกอบใหม่ จำนวน 90 ลำ...

ในส่วน ASTER 15/30 ผมคิดว่า ไม่น่าจะมีปัญหาในเรื่องโครงสร้าง ถ้าเรือชั้น นเรศวร ออกแบบมาเพื่อรองรับการติดตั้ง VLS MK-41 จริง...และ ทร.มาเลเซีย เอง ก็มีข่าวว่ากำลังมองหาระบบ VLS ใหม่ ทีจะมาติดตั้งแทนระบบเดิมที่เป็น ซี วูลฟ์ โดยมองไปที่ระบบการยิง VLS ด้วย จรวด ESSM (ของเรา ยังไม่ทันติดเลย ของเขาวางแผนจะเปลี่ยนใหม่ ซะแล้ว)...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/07/2008 05:38:19


ความคิดเห็นที่ 127


ในส่วนที่ติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่งบนเรือชั้น Lekiu จะที่ปรับปรุงแบบจากเดิมและมีแผนจะต่อในอนาคตนั้นดูจากโครงสร้างเรือแล้วเป็นการวางแท่นยิงบนดาดฟ้ายกหรือ Super Structure ครับ ซึ่งพอจะสามารถทำการดัดแปลงเพื่อติดตั้งท่อยิงแนวดิ่งระบบใหม่ที่ขนาดไม่ใหญ่เกินพื้นที่ได้

แต่สำหรับเรือชั้น ร.ล.นเรศวร นั้นตามแบบแผนเดิมจะติดตั้งแท่นยิง Mk 41 ฝังใต้ดาดฟ้าเรือ(In-Deck)ครับ ซึ่งมีข้อมูลว่าตัวเรือนั้นมีการเจาะช่องว่างส่วนนี้ไว้รองรับแท่นยิงและระบบควบคุม Mk41 ไว้แล้ว ดังนั้นการจะติดแท่นยิงแบบอื่นลงไปแทนนั้นอาจจะทำไม่ได้ในทางปฏิบัติครับ

ถ้าระบบ SYLVER มีขนาดของตัวแท่นยิงและระบบควบคุมแตกต่างไปจาก Mk41 ก็ยัดลงไปในเรือไม่ได้ครับ (ซึ่งเคยมีข่าวลือออกมาว่าการที่กองทัพเรือไม่จัดหา Mk41 มาติดบนเรือชั้นนี้ก็เพราะจริงๆแล้วตัวโครงสร้างเรือไม่สามารถจะติดได้อยู่ดีครับเนื่องจากข้อจำกัดด้านวิศวกรรมของเรือที่ต่อมาแต่แรกและความเข้ากันได้ของชุดควบคุมการยิงกับระบบอำนวยการรบถึงแม้จะเจาะช่องไว้แล้วก็ตาม)

ก็ไม่ทราบว่าแท่นยิง Mk 41 Tactical ซึ่งเป็นรุ่นที่สหรัฐฯส่งออกนั้นกับแท่นยิง SYLVER A-43 มีขนาดมิติเท่าไรครับจะได้เปรียบเทียบกันได้

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 20/07/2008 09:58:05


ความคิดเห็นที่ 128


พอดีลองกลับไปอ่านการปรับปรุงเรือ ลิเคียว อีกที...ทร.มาเลเซีย จะมีระบบทั้ง 2 ระบบ คือ ยังคงเดิม ระบบยิงจรวด ซีวูลฟ์ และเพิ่มระบบยิงจรวด ESSM เข้าไปอีก...

จากข้อมูลของ SYLVER 43 จะใช้พื้นที่ 4.30 เมตร และ SYLVER 50 ก็น่าจะใช้พื้นที่ 5.00 เมตร และ SYLVER 70 ก็น่าจะใช้พื้นที่ 7 เมตร  ผมเลยขอเดาว่า MK-41 จะใช้พื้นที่ 4.10 เมตร รึเปล่า ? พื้นที่ต่อ 1 หน่วย

โดยระบบการยิง SYLVER 43 จะยิงได้เฉพาะ ASTER 15  ส่วน SYLVER 50 จะยิงได้ทั้ง ASTER 15 (ระยะยิง 15 ก.ม.) และ ASTER 30 (ระยะยิง 30 ก.ม.)

ตามข่าวลือของท่าน AAG_th1 ครับ...ว่า เรือชั้น นเรศวร สามารถติดตั้งระบบการยิง VLS ได้จริงรึเปล่า ?  ถ้าไม่ได้จริง...จะได้เชียร์ ให้มีการจัดหา บ.ขล.1 ก แทน....และเรื่องระบบยิง VLS จะได้หายไปจากสารบบ ตัวเลือกของกองเชียร์ ทร. ไปเลย....

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/07/2008 20:59:38


ความคิดเห็นที่ 129


Aster 15 มีระยะยิงไกลสุด 30กิโลเมตรครับ(ไกลกว่า Aspide, SeaSparrow แต่ใกล้กว่า ESSM) ส่วน Aster 30 นั้นมีระยะยิง 120กิโลเมตร(ใกล้เคียงกับ SM-2MR แต่สั้นกว่า SM-2ER)

สิงคโปร์ได้ทำการยิงทดสอบ Aster 15 จากเรือ RSS Interpid ไปเมื่อเดือเมษายนที่ผ่านมาครับ ซึ่งสามารถทำบลายเป้าหมาย Drone ที่บริเวณชายฝั่งฝรั่งเศสสำเร็จ

ในภาพข้างล่างคือ RSS Steadfast ครับจะเห็นว่าเรือชั้น Formidable มีการติดแท่นยิง SYLVER 4ชุด ซึ่งมีท่อยิงรวม 32ท่อยิง ซึ่งสามารถจะจุด Aster 15/30 ได้ร่วม 32นัด ครับ

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/83/Singapore_Navy_guided-missile_frigate_RSS_Steadfast.jpg

ภาพ 3D แสดงรายละเอียดเรือชั้นนี้

http://www.rsi.sg/images/english/frigatelabel.jpg

แต่ถ้าเป็นเรือชั้น ร.ล.นเรศวรถ้าสามารถติดแท่นยิง SYLVER ได้จริงก็จะติดได้เพียงแท่นเดียวซึ่งสามารถยิง Aster 15ได้8นัดเท่ากับ Mk 41 กับ SeaSparrow ซึ่งมีระยะยิงสั้นกว่ามีแผนจะติดตั้งแต่แรกครับ (แต่ถ้าเป็น ESSM จะได้ 32นัดเท่ากัน) ส่วนตัวคิดว่าถ้ากองทัพเรือจะมองหาเรือป้องกันภัยทางอากาศจริงๆแล้ว แทนที่จะ Upgrade เรือชั้นนี้แบบเดียวนั้น ต่อเรือใหม่ที่ทันสมัยกว่าสัก1-2ลำน่าจะดีกว่าในระยะยาวครับ 

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 21/07/2008 10:54:52


ความคิดเห็นที่ 130


ผมว่านะน่าจะเอา ฮ.โจมตีที่ทร.จะซื้อมาใหม่น่าจะเอามาลงที่เรือหลวงจักรีเอามาลงสัก6ลำเท่าที่รู้มาเรือหลวงจักรีนี้สามารถบรรทุกฮ.อย่างเดียวได้ตั้ง14ลำเพราะอย่างน้อยเราจะได้มี ฮ.โจมตีแทนที่เอวี8เอสที่ต้องปลดในไม่ช้าเพราะภารกิจของเจ้าเอวี8เอสก็คือโจมตี ฮ.โจมตีอย่างคอบร้าก็น่าจใช้ได้นะ
โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 22/07/2008 07:54:09


ความคิดเห็นที่ 131


ผมว่าในปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไป

งบประมาณด้านการทหารจะเพิ่มหลายหลาย

เลยละครับเพราะสถานการณ์เริ่มหมิ่นเหม่

โครงการไหน ทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ ขอมา กระทรวงการคลังจัดให้

ไม่ต้องผ่านการตรวจจาก สตง. เลยครับฉลุยแน่นอน

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 22/07/2008 07:56:08


ความคิดเห็นที่ 132


ทำไมเราไม่ลองมองดูของจีนดูบ้างครับ ในเมื่อ

1.งบเราไม่มีพอที่จะได้ของดีๆแบบตะวันตก

2.เรือเราต่อจากจีน ระบบอำนวยการระบบก็จีน ในเมื่อระบบอาวุธตะวันตกเข้ากับระบบจีนไม่ได้ แล้วเราทำไมจะต้องรื้อของที่เรามีอยู่แล้วทิ้ง แล้วซื้อระบบใหม่หมด + อาวุธใหม่ เสียของเสียงบเปล่าๆ ในความคิดผมในเมื่อระบบอาวุธตะวันตกมีปัญหากับระบบที่เรือมี เราก็ควรมองระบบที่เข้ากับระบบของเรือ ก็คือของจีน มันจะไม่มีอาวุธดีเลยหรือครับ เท่าที่ผมรู้อาวุธของจีนก็ไม้ได้ด้อยกว่าของตะวันตกมากนัก แล้วเราค่อยสร้างเรือใหม่แบบสำเร็จรูปไปเลยจะได้ไม่มีปัญหาอีก


โดยคุณ SPECI เมื่อวันที่ 24/07/2008 21:15:49


ความคิดเห็นที่ 133


เข้าใจว่าประสบการณ์ในการใช้งานอาวุธจากจีนที่ผ่านมาของกองทัพเรือนั้นเป็นเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจเลือกระบบอำนวยการและอาวุธจากตะวันตกครับ

เรือที่ต่อจากจีนในช่วงแรกๆของกองทัพเรือเช่นเรือชั้นเจ้าพระยานั้นเป็นระบบจีนล้วนการใช้งานไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนัก แต่เรือชั้นนเรศวรนั้นกว่าจะจัดการระบบอำนวยการรบจีน(ZJK-5) ให้เข้ากับ ระบบRadar ระบบควบคุมการยิง และอาวุธจากตะวันตกได้นั้นต้องใช้เวลาหลังจากเรือได้รับมอบเกิน5ปีครับ และเนื่องจากระบบของกองทัพเรือในปัจจุบันนั้นเรือรบหลักๆยังคงเป็นมาตรฐานตะวันตกNATO-ยุโรป-สหรัฐฯ อยู่ การที่อยู่ๆเปลี่ยนไปใช้ระบบจากจีนเลยเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ในทางปฏิบัติครับ ซึ่งตัวอย่างการต่อเรือชั้นปัตตานีนั้นกองทัพเรือก็สั่งต่อเฉพาะตัวเรือในจีนแต่ติดตั้งระบบอำนวยการ Sensor และอาวุธจากตะวันตกซึ่งเป็นมาตรฐานหลักครับ

อาวุธจากจีนนั้นในปัจจุบันมีประสิทธิภาพดีขึ้นก็จริง แต่ราคาก็สูงขึ้นใกล้เคียงกับของตะวันตกมากขึ้นเช่นกันครับ(เช่น Type 730 CIWS เมื่อเทียบกับ Goalkeeper ซึ่งคล้ายกันแล้วราคาแพงพอๆกัน) และระบบอุปกรณ์และอาวุธทางเรือที่มีราคาถูกของจีนนั้นก็ประสิทธิภาพสมราคาครับคือใช้งานได้แต่ไม่ดีเท่าของแพง

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 24/07/2008 21:58:24


ความคิดเห็นที่ 134


รบกวนถามว่า พอจะมีรายละเอียดของระบบทั้งหมดที่จะทำการ upgrade ของชุดรล.เจ้าพระยาหรือเปล่าครับ นอกเหนือจาก C-802A ที่เราทราบ ๆ กัน แล้วระบบ sensor ละครับ และความคืบหน้าล่าสุดเป็นอย่างไรบ้างครับ

และรบกวนถามท่าน Juldas, ท่าน Highskygate หรือท่านอื่น ๆ ว่า พอจะมีรูป Top View และ Side View ของเรือชุด รล. เจ้าพระยา ทั้งสองแบบหรือเปล่าครับ ถ้ามี รบกวนด้วยนะครับ ที่ e-mail ก็ได้ jaroon.s@gmail.com ขอบพระคุณมากครับ

โดยคุณ เด็กหลังเขา เมื่อวันที่ 26/07/2008 07:59:58


ความคิดเห็นที่ 135


ป๋า juldas ครับ เอาเป็น MH-60S อีก 6 ตัว มาแทน Bell-212 ได้ไหมอ่ะครับ แต่เป็น MH-60S รุ่นที่ติดอาวุธได้น่ะครับ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 28/07/2008 03:04:59


ความคิดเห็นที่ 136


ท่าน rinsc seaver ถ้าจะให้แทน ฮ.ลล.2 ป๋ารับด้ายยยยยย....แต่มี ตังค์อ่ะป่าว...ประกอบกับ พอดีป๋า เห็นมี ฮ.ลล.5 + ฮ.ปด.1 (กับ ฮ.ลล.5 จำแลง)อยู่บน 911 แล้ว 2 ฝูง เท่ากับ 12 ลำ...และ ฮ.ปด.1 ป๋าว่า..ยิง ต. ได้บางลำเท่านั้น...(ไม่ทั้งหมด) จึงน่าจะเพียงพอในระดับหนึ่ง...

ตอนนี้ ป๋า เน้น ๆ ไปที่ ฝูงบินโจมตี จะเป็นปีกหมุน ปีกตรึง ก็น่าจะมีแบบตรงภาระกิจ สัก 6 ลำ ซึ่งเท่าที่ดูแล้ว งบประมาณประเภท ซื้อมือหนึ่ง น่าจะยาก (แต่ก็มีลุ้น) จึงเมียงมองไปที่ มือสอง น่าจะมีสิทธิได้ครอบครอง ยิ่งถ้าเป็นของเก่าของ สหรัฐ แล้ว...สัมพันธภาพระหว่าง ทร.ไทย กับ สหรัฐ ค่อนข้างจะดูแนบแน่นพอสมควร...จึงน่าจะมีลุ้นพอสมควร

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/07/2008 05:14:25


ความคิดเห็นที่ 137


ต่ออีกนิ๊ดดดด....

ซึ่ง สมมติถ้า ทร. สามารถจัดหา บ.ขล.1 ก. มาทดแทน บ.ขล.1 ได้แล้ว...(เนื่องจาก ไม่สามารถหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่ติดตั้งบนเรือสำหรับการป้องกันภัยระยะปานกลางถึงระยะไกล ได้ (เกิน 15 ก.ม. ขึ้นไป) ตอนนี้ ระยะป้องกันภัยทางอากาศ ระยะไกลสุดของ ทร. อยู่ที่ระยะ 15 ก.ม. คือจรวด เอสปิเด้ ของชุด รล.สุโขทัย กับ ปืนเรือ ขนาด 127 ม.ม. คือ ถ้ามี บ.ใบพัด บินไปใกล้ ๆ ก่อนถึงตัวเรือสัก 15 ก.ม. แม้เรดาร์ ทร. จะจับได้ จ้างให้ก็ยิงไม่ถูก กิ๊ว ๆ....ต้องร้องขอให้ ทอ. ไปช่วยตบยุงให้ ฮ. บนเรือ ก็ไม่ได้ติดปืนกล ก็ไม่รุ๊จะใช้อะไรยิง ได้แต่มองจุดกระพริบบนเรดาร์ ด้วยความเจ็บใจ)

ฝูง MH-60S ของ ทร. ฝูงใหม่ 6 ลำ ก็คงน่าจะไปทำหน้าที่แทน ฮ.ลล.2 เป็นแน่...(ขอเดา) ตามความต้องการของท่าน rinsc seaver

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/07/2008 05:53:51


ความคิดเห็นที่ 138


อีกอย่างนึงที่ กบร. น่าจะอยากได้มากๆ ก็คือ UAV ขะรับ

ประเภท : อากาศยานไร้นักบิน (UAV)

โครงการ : 1 ระบบ (3 ระบบควบคุม UAV 9-12 เครื่อง) ระยะเวลาโครงการ 2552-2554

ขีดความสามารถที่ต้องการ

  1. ลาดตระเวนตรวจการณ์พื้นน้ำ/พื้นดิน
  2. พิสูจน์ทราบและชี้เป้าให้กับเรือผิวน้ำ/หน่วยกำลังทางบก

คุณลักษณะที่สำคัญ

  1. ปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
  2. รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 100 ไมล์ทะเล
  3. มีระบบตรวจการณ์ทั้งแบบเรดาร์และoptical
  4. สามารถบันทึกภาพนิ่งและเคลื่อนไหวได้
  5. สามารถแสดงภาพการตรวจการณ์ได้ในลักษณะ Real Time
  6. มีอายุการใช้งานและสายการผลิตที่สามารถสนับสนุนอะไหล่ในการซ่อมบำรุงได้ไม่ต่ำกว่า 15 ปี

 

ว่าแต่ Mariner หรือ Firescout ดีล่ะครับ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 28/07/2008 07:36:52


ความคิดเห็นที่ 139


อะไร อะไรที่ว่ามาแน่ๆ เราก็เห็นๆกันอยู่ในอดีต ว่าพอถึงจุดหนึ่ง เมื่ออำนาจมันหมดไป มันก็เปลี่ยนได้เสมอ      

    เออ..ตอนนี้เห็นเขาว่า C-802A ทำท่าจะพับเก็บเข้ากรุอีกโครงการฯแล้ว  แต่ก็ถือว่ายังมีข่าวดีบางที่ว่าจะโยกงบประมาณมาใช้กับโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 แทน ลำแรกทร.ต่อเองแล้วลำที่ 2 จะเป็นอู่กรุงเทพหรืออู่ .....ของมิเตอร์....ละ

   เรือชุด ต.991 แค่ 3 ลำก็เลิกแล้ว นี่ละนโยบายของคนไทย เหนื่อย

โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 28/07/2008 09:18:38


ความคิดเห็นที่ 140


เราควรหันมาสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์อย่างจริงจังเสียทีครับ เพราะผลที่ได้ออกมานั้นคุ้มกว่าเป็นไหนๆ บุคคลากรของกองทัพที่จบดอกเตอร์ทางด้านต่างๆมีมากมาย หากให้เงินสนันสนุนเพียงพอเชื่อได้ว่าผลงานยอดเยี่ยมที่เดียวครับ อย่างเช่น data link ที่มีงานวิจัยอยู่ มีการทดลองใช้ในทะเลแล้วครับแต่เห็นว่ายังอีกไกลเนื่องจากงบประมาณจำกัด(หลักหมื่นสำหรับ data link???) แต่ก็ทำออกมาได้น่าพอใจครับ อีกอย่าง UAV หรือเรือดำน้ำจิ๋ว ก็เห็นมีโครงการแล้วเหมือนกันครับ เอางบที่เทไปกับอาวุธที่มีไว้สำหรับภารกิจ power projection แบ่งมาลงตรงนี้บ้างก็ดีครับ
โดยคุณ bebe_bravoo เมื่อวันที่ 28/07/2008 09:32:42


ความคิดเห็นที่ 141


UAV สำหรับ ทร. ดูจากจำนวน 9-12 เครื่อง น่าจะใช้ในลักษณะ ปฏิบัติการจากเรือรบ ขอเดาว่า น่าจะเป็น Firescout...เพราะสามารถประจำอยู่บนเรือรบ ที่มีดาดฟ้าจอด ฮ. ปัจจุบันมีอยู่ 9 ลำ ( นเรศวร = 2, สายบุรี = 2, ปัตตานี = 2, พุทธ = 2, 911 = 1 บวกกับ อนาคต OPV ใหม่อีก 4 ลำ รวมเท่ากับ 12 ลำ) จึงไม่น่าจะใช่ Mariner ที่ต้องใช้ระยะทางและดาดฟ้าในการวิ่งขึ้น ซึ่งจะปฏิบัติการได้จาก 911 เท่านั้น....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/07/2008 21:02:34


ความคิดเห็นที่ 142


Mariner

Firescout

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/07/2008 21:07:10


ความคิดเห็นที่ 143


โอ๊...ขอโทษครับ...รวมเรือรบที่มีดาดฟ้าจอด ฮ. ผิด มันรวมได้ 13 ลำ ไม่ใช่ 12 ลำ ดังนั้น เมื่อตัด 911 ออกไป ก็จะได้ 12 ลำ

ชั้น นเรศวร = 2

ชั้น สายบุรี = 2

ชั้น พุทธฯ = 2

ชั้น ปัตตานี = 2

OPV ใหม่ (ที่กำลังสร้าง) = 1  รวมทั้งหมดเท่ากับ 9

ตามกำหนดความต้องการของ ทร. OPV มีความต้องการทั้งหมด 4 ลำ

OPV ใหม่ (จำนวนให้ครบตามกำหนดความต้องการ ทร.) = 3

รวมทั้งสิ้น  12 ลำ

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/07/2008 21:32:09


ความคิดเห็นที่ 144


เนื่องจากแผน9ปีเดิมนั้นไม่ได้ลงรายละเอียดว่า UAV ที่กองทัพเรือต้องการนั้นสามารถปฏิบัติการจากเรือผิวน้ำได้หรือไม่ เพราะฉนั้นก็อาจจะเป็นระบบที่บินขึ้นจากสนามบินชายฝั่งก็ได้ครับ

อย่างไรก็ตามทั้งระบบ MQ-8 Fire Scout และ Mariner (MQ-9 Reaper รุ่นกองทัพเรือ) นั้นไม่แน่ใจว่าสหรัฐฯจะส่งออกระบบให้ประเทศอื่นเช่นไทยหรือไม่ครับ อย่าง Mariner เองทางออสเตรเลียก็มีใช้งานจำนวนหนึ่งครับ ซึ่งถ้าสหรัฐฯไม่อนุญาตส่งออกหรือมีราคาแพงเอามากเกินไป กองทัพเรือคงต้องหาระบบอื่นจากประเทศอื่นไม่ก็ต้องพัฒนาเองครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 28/07/2008 23:10:22


ความคิดเห็นที่ 145


แล้วตอนนี้ OPV ลำใหม่ ลงมือต่อกันบ้างหรือยังครับพี่

 

ส่วนถ้าได้ UAV มานี่ ผมว่ามันประหยัดตังค์ค่าเชื้อเพลิงที่จะต้องส่งเรือไปลาดตระเวน หรือเอา ฮ. บินไปแทนเลยนะครับเนี๊ยะ (ไม่รู้ว่าผมคิดถูกหรือเปล่าครับ)

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 28/07/2008 23:50:30


ความคิดเห็นที่ 146


อาจจะเป็นขั้นเตรียมการแต่ยังไม่ลงมือก็ได้นะครับ เพราะถ้าลงมีแล้วต้องมีข่าวตัดเรื่องภริยาผบ.ทร. ไปทำพิธีวางกระดูกงู/ตัดแผ่นเหล็กแผ่นแรกลงหน้าเว็บทร.จิ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 29/07/2008 00:44:28


ความคิดเห็นที่ 147


UAV กับความจำเป็นของกองทัพ

 พันเอก จักราวุธ โสมภีร์  
รองผู้ประสานการยิงสนับสนุน กองพลทหารปืนใหญ่
และนายทหารโครงการร่วม  ส่วนบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน
jakravudh@hotmail.com  



 ชาติทุกชาติจะทำทุกอย่างเพื่อมุ่งสู่ผลประโยชน์ของชาติตน เพื่อทำให้ชาติของตนเกิดความมั่งคั่งและมั่นคง ความมั่งคั่งนั้นเมื่อลงทุนแล้วเห็นผลสำเร็จได้จากผลกำไร จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะทุ่มเงินลงไปเพื่อการลงทุน ส่วนความมั่นคงเมื่อลงทุนแล้ววัดค่าผลสำเร็จกันด้วยประสิทธิผล     ซึ่งบางอย่างอาจไม่เห็นผลทันตาหรืออาจต้องใช้เวลานานนับปี หรืออาจไม่เห็นผลใดๆเลยในแง่ธุรกิจ อย่างเช่น  การลงทุนซื้อฝูงบินขับไล่ F 16 ที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการจัดหา ถึงกับมีการเปรียบเทียบกันว่าต้องทำนากันหนึ่งปีทั้งประเทศ เพื่อขายข้าวจึงจะได้เงินส่วนนี้เอาไปซื้อ ซึ่งอย่างหลังนี้ผู้คนส่วนใหญ่จึงมักมองไม่เห็นความจำเป็นกับการลงทุนที่ดูเหมือนเสียเปล่า หลายคนจึงคัดค้านว่าเอาเงินนี้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า แต่หากย้อนกลับไปดูประวัติศาตร์ของโลกที่ผ่านมา เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการที่ชาติใดชาติหนึ่งมีความมั่งคั่งโดยปราศจาก ความมั่นคงแล้วนั้นก็เปล่าประโยชน์ เพราะจะถูกชาติที่แข็งแกร่งกว่าจ้องเอาเปรียบบีบบังคับเอาผลประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มันเป็นไปตามกฎธรรมชาติของโลก  ผู้แข็งแกร่งกว่าเท่านั้นที่อยู่รอด ความมั่นคงจึงเป็นสิ่งจำเป็นแบบมองไม่เห็น การสร้างกองทัพให้มีความแข็งแกร่งนั้นมิใช่สร้างได้ในวันหรือสองวันหรือมีเงินก็สร้างได้  เราไม่สามารถซื้อ F16 ได้ทันทีเมื่อเราต้องการ โดยหน้าที่กองทัพต้องประกันในส่วนความความมั่นคงของชาติด้วยการพัฒนากองทัพให้มีความแข็งแกร่ง ทันสมัย บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงกับความมั่งคั่งของประเทศ ซึ่งโดยปกติประเทศที่มีความมั่งคั่ง ในโลกนี้จะใช้งบประมาณเพื่อความมั่นคงของตนอยู่ที่ 7 % ถึง 10 % ของ GDP แต่ของประเทศไทยเราจะอยู่ที่ไม่ถึง 3%  นักยุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดต้องทำให้นักเศรษฐศาตร์มองเห็นภาพรวมของความมั่นคงของชาติ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุน   จากคำกล่าวที่ว่า แม้หวังความสงบจงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ  นั้นเป็นจริงที่ได้รับการพิสูจน์มาให้เห็นมาโดยตลอดจากประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติที่ผ่านมายาวนาน ชาติที่แข็งแกร่งกว่าจะเข้าครอบครองด้วยกำลังเพื่อแย่งชิงผล ประโยชน์ทุกอย่างจากชาติที่อ่อนแอกว่า ในที่สุดจะถูกกลืนหายไปกลายเป็นอดีตเหลือไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้ได้แค่เรียนรู้ พลังอำนาจของกองทัพเกิดขึ้นจากสองส่วนสำคัญคือ อำนาจที่มีตัวตนและอำนาจที่ไม่มีตัวตน  อำนาจที่มีตัวตนนั้นมีความมั่งคั่งก็อาจสร้างได้ง่าย แต่ก็คงไม่สามารถที่จะเนรมิตรได้ในพริบตา สำหรับอำนาจที่ไม่มีตัวตนนั้นเป็นเรื่องของการสร้างขวัญ กำลังใจ ความคิด แนวคิดสำคัญๆให้กับกองทัพ อำนาจส่วนนี้จึงเป็นส่วนสำคัญและได้สร้างยากมาก


 จากการที่เทคโนโลยีได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ล้ำยุคที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างที่ไม่คาดว่าจะได้เห็นในช่วงชีวิตของเรา เราได้เห็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก จนสามารถใช้ถือได้ด้วยอุ้งมือและมีขนาดเบาเสียจนไม่น่าเชื่อว่ามันจะมีขีดความสามารถทำงานได้ทุกอย่างเท่ากับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะทำได้ เราได้เห็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพในการโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตจากเซลล์ทำให้เราเริ่มมองเห็นภาพการชุบชีวิตสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเช่นไดโนเสาร์ อย่างที่เห็นในภาพยนตร์เรื่องจูราสิค พาร์ค นั้นเป็นฝันที่ไม่ไกลเกินความจริง ในอนาคตเราอาจสร้างกองทัพหุ่นยนต์ให้รบแทนทหารประจำการ เราอาจได้เห็นพลังงานแบบใหม่ๆ ยวดยานแบบใหม่ที่ไม่ต้องใช้คนขับอย่างที่เราได้เห็นยานพาธไฟนเดอร์ปฏิบัติภารกิจบนดาวอังคารไกลจากโลกเราถึง 55 ล้านกิโลเมตร   ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในทุกด้านมีผลทำให้ การปฏิบัติภารกิจทางด้านการทหารเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านแนวคิด วิธีการรบ อาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ทำให้ทหารยุคใหม่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการพึ่งพาเทคโนโลยีไปได้   กองทัพประเทศใดที่มีศักยภาพในการคิดสร้างรวมถึงการผลิตได้เอง มีทหารที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีจนสามารถรองรับและควบคุมการใช้เทคโนโลยีในทุกด้าน จะเป็นกองทัพที่ได้เปรียบโดยไม่จำเป็นต้องมีกำลังพลมหาศาล เช่นในอดีต


 สองบทความข้างต้นอาจเป็นสองเรื่องที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่เป็นความจงใจที่ผมอยากดำเนินเรื่องให้เห็นว่า ทุกประเทศหวังความมั่งคั่ง เพื่อสร้างชาติตนให้รุ่งเรือง แต่ต้องไม่ลืมความมั่นคงโดยเด็ดขาด อีกทั้งยังต้องตามให้ทันเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างความมั่นคงที่เหมาะสมและชาญฉลาด

“ปัจจุบันกองทัพไทยให้ความสำคัญกับระบบ UAV เป็นความเร่งด่วนลำดับแรกๆในกระบวนยุทโธปกรณ์ที่มีความสำคัญในการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่ต้องมีเข้าประจำการ”


 กองทัพไทยมีแนวทางในการพัฒนากองทัพมาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่แล้วให้มีขนาดเล็ก มีความคล่องตัว ด้วยการลดกำลังพลที่ไม่จำเป็นลง มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทน ทุกเหล่าทัพได้มีการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกกำลังพลให้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ มีขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความ สามารถทางด้านภาษาที่สองเพิ่มขึ้น มิใช่มีแต่ความเชี่ยวชาญทางด้านการรบเพียงอย่างเดียวเหมือนเช่นแต่ก่อน ทหารยุคใหม่มีความจำเป็นต้องมีคุณลักษณะที่เป็นทหารเอนกประสงค์และติดตามเทคโนโลยีเพื่อสร้างความได้เปรียบอยู่ตลอดเวลา  ซุนซู้ นักการทหารชาวจีนได้บันทึกไว้เป็นตำราศิลปะการทำสงครามไว้เมื่อ 2,500 กว่าปีที่เแล้ว ซึ่งเป็นหลักการทางทหารที่สำคัญและยังคงยึดถือมาจนถึงปัจจุบันว่า รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง กับ ทำอย่างไรถึงจะชนะโดยไม่ต้องรบ ผมขอกล่าวถึงหลักการอันที่สองก่อนหลักการอันแรก เพราะต้องการชี้ประเด็นให้เห็นว่าทหารเองนั้นมิใช่ต้องการรบแต่อย่างเดียวโดยทางปฏิบัติแล้วไม่มีใครอยากที่จะรบเพราะเมื่อรบแล้วมีแต่ความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็จะหลีกเลี่ยงให้ถึงที่สุด แต่ตามที่เกริ่นไว้ในห้วงแรกแล้วว่าผลประโยชน์ของชาตินั้นไม่เข้าใครออกใครถ้าประเทศเรามั่งคั่ง ประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างของเราจนกรอบ การอยู่ร่วมกันก็เป็นไปในลักษณะที่มีความแตกต่างทางสังคมสูง ผลประโยชน์ที่คาบเกี่ยวอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้เช่น ถ้าเกิดมีการพบแหล่งน้ำมันมหาศาลในพื้นที่ชายแดน ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของ ถ้าตกลงกันได้แบ่งผลประโยชน์กันลงตัวเรื่องก็อาจจะจบลงแบบมีความสุข แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงคงไม่ง่ายนักเพราะผลประโยชน์มหาศาลเหล่านี้มักมีมือที่สามที่เป็นชาติมหาอำนาจเข้ามาวุ่นวาย ดังที่เห็นเป็นบทเรียนมาแล้วในประวัติศาสตร์  สงครามนั้นไม่มีใครประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้น บางเรื่องเกิดขึ้นได้เพียงน้ำผึ้งหยดเดียว การมีกำลังที่เหนือกว่าไว้แต่เนิ่นนั้นอาจจำเป็นเพื่อการต่อรองและคุกคามให้เห็นในทำนองว่าอย่ามีเรื่องกับข้าเชียวนะ ไม่งั้นข้าซัดเอ็งไม่เลี้ยง ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ได้เปรียบพูดอะไรก็เสียงดัง เจรจาอะไรก็ง่าย สำหรับหลักการอันแรกนั้นเป็นการเตรียมทุกอย่างให้พร้อมโดยเฉพาะเรื่องของการรู้จักข้าศึก จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับการทหาร การรู้เขาเป็นสิ่งจำเป็นแรกสุด การรู้ว่าใครคือข้าศึกหรือใครจะกลายเป็นข้าศึกในอนาคตว่าเขาคิดอย่างไรกับเรา เขาจะทำอะไรกับเรา เขามีพลังอำนาจแค่ไหน ถ้าจะทำอะไรกับเราจะทำที่ไหนเวลาใด สำหรับในส่วนของการรู้เรานั้นคือรู้ตัวเองว่าเราพร้อม พร้อมแค่ไหนกับการรับมือข้าศึกในสถานการณ์ต่างๆ ภูมิประเทศในแต่ละพื้นที่สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบกับเราและข้าศึกอย่างไร? รวมไปถึงสภาพอากาศในแต่ละห้วงมีผลเกื้อกูลต่อเราและข้าศึกแค่ไหน? เรามีกำลังหรือมีคนช่วยที่มีพลังหรือไม่ที่จะต่อกรกับข้าศึก โดยถ้ารู้เสียอย่างนี้แล้วจะสร้างความได้เปรียบจนไม่มีโอกาสตกเป็นผู้แพ้ แต่การทำให้รู้เรื่องข้าศึกนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก จึงมีความพยายามมาตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันในการสร้างเครื่องหาข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก


 Unmanned Aerial Vehicle (UAV) คือคำตอบที่ลงตัวที่สุดในยุคปัจจุบันสำหรับการติดตามหาข่าวสาร ข่าวสารจะถูกดำเนินกรรมวิธีเป็นข่าวกรอง และกลายเป็นเป้าหมายทางทหาร ปัจจุบันชาติใดที่สามารถควบคุมค้นหาเป้าหมายได้อย่างแม่นยำถูกต้องตั้งแต่ก่อนเข้าทำการรบ ชาตินั้นจะครองความได้เปรียบอย่างมหาศาล ดาวเทียมหรือเครื่องบินจารกรรมอาจมองเห็นจากเบื้องสูงได้ครอบคลุมกว่า แต่ดาวเทียมหรือเครื่องบินจารกรรมก็มีข้อจำกัดในตัวเอง ดาวเทียมนั้นใช้การลงทุนสูง มีเวลาอยู่เหนือพื้นที่จำกัด ต้องวิ่งตามวงโคจร ในขณะที่เครื่องบินจารกรรมก็ใช้เงินลงทุนสูงเช่นกันและมีข้อจำกัดในเรื่องความเป็นมนุษย์ของนักบินที่ไม่สามารถอยู่ได้นานๆในที่แคบๆเป็นวันๆ  “อากาศยานไร้คนขับ” หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า UAV นั้นเป็นความลงตัวที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเป็นตาวิเศษ       วิวัฒนาการของ UAV ได้เดินทางมาไกลจนสามารถใช้งานได้เกือบสมบูรณ์ตามความต้องการทางทหารในปัจจุบัน มีความเป็นเอนกประสงค์สูง ภาพถ่ายทอดสดที่ถูกส่งจากระยะไกลที่มีความคมชัด โปรแกรมควบคุมไปยังจุดหมายได้ ทำงานได้โดยอัตโนมัติทั้งขึ้นและลงได้จากทุกพื้นที่ไม่มีข้อจำกัด บอกตำแหน่งเป้าหมายได้อย่างแม่นยำด้วยระบบ GPS (Global Position System) ราคาไม่แพง หรือทำเองก็ได้อย่างที่เรากำลังทำกันอยู่ในปัจจุบัน  


 ผมใช้เนื้อที่ในบทความนี้เกือบสี่ในห้าส่วนเพื่อชี้ประเด็นเรียงตามลำดับจากภาพรวมใหญ่โฟกัสลงมาจนถึงสุดท้ายนี้เพื่อดึงให้เห็นว่าระบบ UAV มีความจำเป็นกับกองทัพอย่างไร ปัจจุบันกองทัพไทยให้ความสำคัญกับระบบ UAV เป็นความเร่งด่วนลำดับแรกๆในกระบวนยุทโธปกรณ์ที่มีความสำคัญในการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่ต้องมีเข้าประจำการ การใช้งาน UAV ในกองทัพนั้นต้องใช้ UAV หลากหลายรูปแบบตามลักษณะงานของเหล่าทัพ โดยแบ่งระดับการใช้งานไปตามรูปแบบการใช้งานดังนี้  กองทัพบกมุ่งเน้นการใช้งาน UAV ทางยุทธวิธีที่เรียกว่า TUAV (Tactical UAV) กองทัพอากาศนั้นเน้นไปที่ระบบ CUAV (Combat UAV) เป็น UAV โจมตีหรือ UAV ระยะไกลเพื่อใช้ในการลาดตระเวนระยะไกล ส่วนกองทัพเรือนั้นมุ่งเน้น VTUAV (Vertical Take-off & Landing Tactical UAV) ที่ใช้การลาดตระเวนป้องกันกองเรือขึ้นลงทางดิ่ง   ในส่วนของกองทัพบกนั้นระบบ TUAV ยังแบ่งระดับลงไปใช้กับหน่วยระดับต่างๆทางยุทธวิธีซึ่งแบ่งสองส่วนคือ หน่วยดำเนินกลยุทธ์และหน่วยยิงสนับสนุนโดยมีระยะเป็นตัวกำหนดความเหมาะสมว่า หน่วยระดับใดควรใช้ TUAV ระยะใด ในหน่วยดำเนินกลยุทธ์นั้นเป็น TUAV ระยะประชิดถึงระยะใกล้ ระยะจะอยู่ในห้วง 5-150 กิโลเมตร ซึ่งแบบนี้จะเป็น TUAV เบา ถอดประกอบง่ายขึ้นลงได้ตามภูมิประเทศทั่วไป ไม่ต้องการการดูแลมากนัก สำหรับในหน่วยยิงสนับสนุนนั้นระยะขึ้นอยู่กับระยะยิงของอาวุธยิงสนับสนุนซึ่งมีทั้งปืนใหญ่ จรวด ขีปนาวุธ เป็น TUAV ระยะประชิดถึงระยะกลาง ระยะจะอยู่ในห้วง 50-500 กิโลเมตรซึ่ง TUAV พวกนี้จะมีเครื่องมือที่ละเอียดอ่อนโดยเฉพาะเรื่องกล้องในการค้นหาเป้าหมาย  ระยะเวลาบินนาน จึงทำให้ลำตัวมีขนาดใหญ่เพราะต้องบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง จึงต้องอาศัยการขึ้นลงด้วยสนามบิน นอกจากนี้กองทัพบกยังมีความจำเป็นต้องใช้ UAV ในระดับยุทธการ และยุทธศาสตร์กับหน่วยข่าวกรองทางทหารซึ่งเป็น UAV หาข่าว เห็นได้ว่า UAV มีความจำเป็นกับกองทัพเป็นอย่างยิ่งในรูปแบบของสงครามสมัยใหม่ เรื่องของระบบ UAV เป็นของใหม่ แม้แต่คนในกองทัพเองก็ยังมีคนที่มีความรู้ลึกซึ้งกับมันไม่มากนัก แต่นักการทหารรู้ดีว่าหุ่นยนต์ลอยฟ้าตัวนี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการรบ เป็นเครื่องมือที่จะสร้างความได้เปรียบ ชี้เป็นชี้ตาย  เป็นความจำเป็นที่กองทัพต้องมี

เมื่อตะกี้ไปลงผิดกระทู้ครับ 5 5  5 5

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/07/2008 03:08:23


ความคิดเห็นที่ 148


UAV ของ ทร. เองนั้น จริงๆ แล้วควรมีถึง 3 เวอร์ชั่นด้วยกัน คือ

1. MALE-UAV (medium-altitude long-endurance UAV) เป็น UAV เพดานบินปานกลาง ตั้งแต่ 30,000-45,000 ฟุตประมาณนั้น พิสัยบินไกล บินได้นาน 15 ชม. อย่างน้อยๆ วิ่งขึ้น-ร่อนลงจากสนามบินบนฝั่ง ไม่จำเป็นต้องติดอาวุธ แต่ sensor ต้องดีเยี่ยม มีทั้งกล้อง optical และ IR รวมทั้งเรดาร์ MMTI และ I-SAR ไม่นับ ESM อีกหน่อยด้วย สุดท้าย data-link ซึ่งถ้าจะให้ดีควรเป็นประเภท non-line of sight  UAV ตัวนี้จะเสริมการทำงานกับ บ.ตรวจการณ์ และเป็นหูตาให้กับ บ.ต่อต้านเรือผิวน้ำ รวมทั้งภารกิจลาดตระเวนระยะไกลสนับสนุน นย.  Mariner UAV จะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งถ้าแพงเกินไป ของอิสราเอลก็มี option ให้เลือกหลายแบบเช่นกัน แล้วก็ ทร. สามารถใช้ UAV รุ่นเดียวกับ ทอ. ได้ด้วย เนื่องจาก ทอ. ก็มอง UAV ระดับนี้ไว้เช่นกัน

2. VT-UAV (vertical-take off UAV) เป็น UAV แบบ ฮ. ปฏิบัติการจากดาดฟ้าของเรือผิวน้ำ ใช้ในภารกิจหลากหลายทั้งตรวจการณ์ผิวน้ำ ชี้เป้าให้กับการยิงฝั่งด้วยปืนใหญ่เรือ ตรวจจับทุ่นระเบิด สนับสนุนการค้นหากู้ภัย เป็นต้น นอกจากนี้สามารถใช้สนับสนุนการรบของ นย. ได้ด้วย โดยปฏิบัติการจากบนฝั่ง และอาจจะติดอาวุธ เช่น ปืนกล หรือจรวด ร่วมด้วย  MQ-8B Fire Scout น่าจะเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่ง

3. TUAV (tactical UAV) เป็น UAV ทางยุทธวิธี ซึ่งบทความข้างบนได้อธิบายรายละเอียดไปแล้ว โดยเป็นรุ่นที่ปฏิบัติการร่วมกับ นย. โดยตรง  RQ-7 Shadow ก็น่าสนใจครับ หรือจะเอารุ่นอื่นจากอิสราเอลก็มีให้เลือกเยอะเลยครับ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 29/07/2008 06:21:50


ความคิดเห็นที่ 149


ส่วนที่เล็กกว่านั้น คือ micro-UAV อย่าง RQ-11B Raven ซึ่งตอนนี้ ทบ. อยู่ระหว่างจัดซื้อไปใช้งานใน พท. 3 จว.ชายแดนใต้ แต่ถ้า ทร. ซื้อมา UAV ตัวนี้คงอยู่กับ นย. ไม่ใช่ กบร. แน่ เพราะ เล็กขนาดพกพาติดตัวได้

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 29/07/2008 06:24:51


ความคิดเห็นที่ 150


เคยได้อ่านบทความเกี่ยวกับ RQ-11 Raven ของคุณสรศักดิ์ สุบงกช ไปไม่นานนี้ครับ โดยล่าสุดก็มีข่าวที่กองทัพบกได้จัดหามาใช้งานตามข้างต้น ซึ่ง บ.แบบนี้น่าจะมีประโยชน์ในการช่วยตรวจการณ์พื้นที่มากพอสมควรครับ

http://www.af.mil/shared/media/photodb/web/071023-F-5471A-056.jpg

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 29/07/2008 07:49:34


ความคิดเห็นที่ 151


แถมให้อีกเวอร์ชั่น ครับ...

img178/2717/finalsq9.jpg

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/07/2008 20:44:52


ความคิดเห็นที่ 152


ตามการกำหนดความต้องการ UAV ของ ทร. ที่ต้องการ 3 ระบบควบคุม...ซึ่งผมก็สงสัยว่า 3 ระบบควบคุมหมายถึงอย่างไร....ซึ่งผมก็กำลังคิดว่าน่าจะเป็นตามที่ท่าน rinsc seaver ว่าไว้ ทร. ต้องการแบบ 3 เวอร์ชั่น ที่ท่านว่าไว้ รึเปล่า....
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/07/2008 20:49:41


ความคิดเห็นที่ 153


3ระบบควบคุมที่เขียนแผนความต้องการ 9ปีข้างบนนั้นน่าจะหมายถึงชุดควบคุม บ.UAV ของสถานีควบคุมภาคพื้นดินมากว่าครับ

ซึ่งระบบ UAV นั้นนอกจากตัวอากาศยานที่ทำการบินแล้วก็จะต้องมีสถานีควบคุมภาคพื้นเพื่อใช้ควบคุมบังคับเครื่องครับ ซึ่งระบบสมัยใหม่อาจจะมีชุดควบคุมในสถานีหนึ่งมาก1ระบบครับ(น่าจะสามารถควบคุมได้หลายเครื่องพร้อมกันเพราะจะหา UAV 9-12เครื่อง)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 29/07/2008 22:02:28


ความคิดเห็นที่ 154


เป็นไปตามที่ท่าน AAG_th1 ว่าไว้ครับป๋า คือ โดยทั่วไป UAV 1 ระบบ (หรือเรียกว่า UAS) นั้น จะมีศูนย์ควบคุมและ UAV อีก 4 เครื่อง ดังเช่น Predator Reaper หรือ Searcher ที่ ทบ. มีอยู่ แต่ปัจจุบัน ทอ.สหรัฐฯ คิดว่าการเรียกเป็นระบบมันยุ่ง เลยเปลี่ยนเป็นว่านับเป็นจำนวน UAV แต่ละเครื่องไปเลย เหมือนเวลานับ บ. ปกติครับ

ตามโครงการของ ทร. นั้น ให้เดาแล้วน่าจะเป็น MALE-UAV นะครับ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 30/07/2008 07:20:02


ความคิดเห็นที่ 155


ท่าน Juldas ครับ ฮ.ลล. 4 (S-76B) เหลือเพียง 5 ลำไม่ใช่หรือครับ
โดยคุณ เด็กหลังเขา เมื่อวันที่ 04/08/2008 04:53:12


ความคิดเห็นที่ 156


ขอบคุณครับ ท่านเด็กหลังเขา ผมกลับไปดูข้อมูลของ Thai-aviation.net ดูแล้ว น่าจะเหลือ ฮ.ลล 4 ประมาณ 4 ลำ...

อีก 1 วีรกรรม ที่สูญเสีย ฮ.ลล 4 ไปจำนวน 1 ลำ

หัวข้อ ID# 694170 วีรกรรมตะลุยเขมร สูญเสีย ร.ท. ธรรมเนียม โกษาจันทร์ ร.น. ช่างเครื่องจากเหตุ . S-76B ตกที่จันทบุรี ..

ระหว่างที่บินส่งกำลังบำรุงให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร ส่วนนักบินและช่างอีก 3 คนบาดเจ็บ


ปฏิบัติการโปเชนตง 2546-7



ราว 4 ทุ่มของวันพุธที่ 29 ธันวาคม ทันทีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี วางหู ภายในไม่กี่นาที ทั้ง บิ๊กอ้วน พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ ปลัดกลาโหม บิ๊กแอ้ด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผบ.สส. บิ๊กเกาะ พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์ ผบ.ทบ. บิ๊กช้าง พล.ร.อ.โสมาภา และบิ๊กบิ๊กพล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ผบ.ทอ. ก็มาถึงทำเนียบรัฐบาลพร้อมด้วย พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ ประธานคณะที่ปรึกษา ทบ. และบิ๊กแบ็งค์ พล.ท.ประพาฬ นิลวงศ์ ผบ.ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรก.) และติดตามด้วย บิ๊กจิ๋ว พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง

พ.ต.ท.ทักษิณ นั่งหัวโต๊ะ หารือเครียดเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ท่ามกลางเปลวเพลิงที่เผาผลาญสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ โรงแรมของคนไทยอย่าง รอยัล พนมเปญ, รีเจ้นท์ ปาร์ค และจูเลียน่า ไปจนถึงอาคารของ สามารถ เทเลคอม, ซีพี และชินวัตร และมอเตอร์ไซค์ไล่ล่าถามหาคนไทย ณ เวลานั้น ดูเหมือนจะมีเพียง พล.อ. เตีย บันห์(ไทยนี่แหละ) รมว.กลาโหมกัมพูชาเท่านั้นที่รับสาย ส่วนนายกฯ ฮุน เซน นั้น เก็บตัวเงียบ(สันดาน) จึงมี พล.อ. วิชิตในฐานะเพื่อนรักเพื่อนซี้คอยโทรศัพท์ประสานกับพล.อ. เตีย บันห์ อยู่ตลอดเวลา

แม้จะถูกมองว่ามีปัญหาคาใจกัน แต่ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้ พ.ต.ท. ทักษิณ ก็ทุบโต๊ะแต่งตั้งให้ พล.อ. สุรยุทธ เป็นผู้บัญชาการในการคลี่คลายสถานการณ์นี้ โดยเฉพาะการรับคนไทยจากกัมพูชากลับประเทศแม้ใจจริงที่แสนจะร้อนเร่าของ พ.ต.ท. ทักษิณ จะต้องการให้เครื่องบิน C-130 พร้อมคอมมานโดบินด่วนกลางดึกไปยังกรุงพนมเปญ ตามที่ตะโกนใส่หูนายกฯ ฮุน เซน เลยก็ตาม แต่ที่ประชุมต่างชี้ให้เห็นถึงข้อเสียมากกว่า และต้องให้เวลา พ.อ. วัลลภ รักเสนาะ ผู้ช่วยทูตทหารบกไทยประจำกรุงพนมเปญ และ นายชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ ในการรวบรวมและนัดแนะคนไทย เพื่อเตรียมไปขึ้นเครื่องบินกลับบ้าน และเรื่องอธิปไตยของเพื่อนบ้านทุกอย่างจึงเตรียมพร้อมสำหรับการบินไปรับคนไทยกลับบ้าน ทันทีที่รุ่งสาง ที่มิได้หมายความว่ารุ่งสาง ณ บางกอก แต่เป็นรุ่งสาง ณ พนมเปญ...

ในฐานะที่เคยเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการแก้ไขปัญหากะเหรี่ยงก๊อดอาร์มี่บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อ 24 มกราคม 2542 มาแล้ว ครั้งนี้ พล.อ. สุรยุทธ ก็รับบทสำคัญอีกครั้ง ด้วยการวางแผนอย่างใกล้ชิดกับสามเหล่าทัพโดยมีการนำเอาแผนการเตรียมพร้อมในการอพยพนอกราชอาณาจักรที่มีอยู่แล้ว มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ โดยใช้กำลังร่วมของทั้ง ทบ. ทร. และ ทอ. โดยมี บก.สส. เป็นผู้บัญชาการ

ราว 23.00 น. แผนปฏิบัติการที่เรียกว่า โปเชนตง 1 และ 2 ก็ได้รับการอนุมัติ...

พล.ร.อ. ทวีศักดิ์ สั่งให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยัง จ.ตราด เพื่อไปลอยลำอยู่ในทะเลหลวงในเขตรอยต่อน่านน้ำไทย-กัมพูชา เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะบานปลาย และรับคนไทยกลับบ้านในอีกเส้นทางหนึ่ง โดยบนเรือมีเครื่องบินขึ้นลงแนวดิ่ง AV-8 แฮร์ริเออร์, . แบบ Bell 412, . S-76B และ .ซีอว์ก รวม 7 ลำโดยมีเรือหลวงพุทธเลิศหล้าและเรือหลวงสุโขทัยตามไปเป็นเรือคุ้มกัน และสมทบกำลังกับเรือหลวงสู้ไพรี เรือหลวงศรีราชา และเรือ ต.82 ที่รออยู่ในน่านน้ำแล้ว

ส่วน พล.อ.อ. คงศักดิ์ก็สั่งการให้ น.อ. นิรันดร์ ยิ้มสรวล ผบ.บน.6 เตรียมเครื่องบินลำเลียง C-130 และให้ พล.อ.ท. สมหมาย ดาบเพ็ชร์ ผบ.หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (ผบ.อย.) เตรียมกำลังหน่วยคอมมานโด ของกรมปฏิบัติการพิเศษ อย. จำนวน 80 คน และมอเตอร์ไซค์ลาดตระเวน 2 คัน นำทีมโดย น.อ. พีระยุทธ แก้วใส ผบ.กรมปฏิบัติการพิเศษ อย. ขณะที่ พล.อ. สุรยุทธ เลือกให้หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (RDF-rapid deployment forces) อันเป็นทหารรบพิเศษหมวกแดงของ ร.31 รอ. ลพบุรี ของผู้การโชย พ.อ. กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผบ.ร.31 รอ. เตรียมกำลังหน่วยรบพิเศษแทรกซึม จำนวน 30 คน และรถลาดตระเวน ฮัมวี่ 4 คัน และรถมอเตอร์ไซค์ยุทธวิธี 2 คันเพียงแค่ 2 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำสั่ง กำลังทหารรบพิเศษ พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์จากลพบุรี ก็เดินทางมาถึงที่กองบิน 6 ดอนเมือง เพื่อสมทบกำลังของ อย. โดยที่ พล.อ.ต. สุเมธ โพธิ์มณี ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (ผบ.ดม.) รับผิดชอบการ รปภ. ในพื้นที่สนามบิน ห้ามไม่ให้คนนอกโดยเฉพาะสื่อมวลชนเข้ามา เนื่องจากไม่ต้องการให้เห็นภาพการนำกำลังรบ เพราะอาจจะดูเหมือนไปบุกรุกเพื่อนบ้าน โดยเปิดให้เข้าเมื่อเครื่องบินทะยานขึ้นฟ้าไปแล้ว

การประชุมวางแผนการปฏิบัติการตามแผน โปเชนตง1 และ โปเชนตง 2 ในรายละเอียด ก็เกิดขึ้นที่สนามบิน โดยมีเครื่องบิน G-222 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน C-130 อีก 5 ลำเตรียมพร้อมรับคนไทยกลับบ้าน โดยมี พล.อ.อ. ระเด่น พึ่งพักตร์ ผบ.หน่วยบัญชาการยุทธทางอากาศ (ผบ.บยอ.) เป็นผู้บัญชาการการปฏิบัติตามแผน ที่ทำให้เขาได้กลับมาสวมชุดนักบินขับไล่อีกครั้ง โดยทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองบัญชาการลอยฟ้า บนเครื่องบิน G-222 ที่จะลอยลำอยู่กลางเวหา เหนือเกาะกง ของกัมพูชา เพื่อบัญชาการและติดต่อสื่อสารกับบิ๊กบ๊อบ พล.อ.ท. คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา รอง ผบ.บยอ. เป็นผู้บัญชาการภาคพื้น คุมเครื่องบิน C-130 ทั้ง 5 ลำ ที่ต้องลงจอด โดยมี พล.อ. วิชิต ยาทิพย์ เป็นผู้ประสานงานติดต่อกัมพูชา อำนวยการเดินทางด้วยตนเองเพื่อรับคนไทยชุดแรก 511 คน กลับบ้านพร้อมด้วยคำสั่งให้เครื่องบิน F-16 ของกองบิน 1 โคราช เตรียมพร้อมสำหรับแผน โปเชนตง หากเกิดเหตุรุนแรงและฉุกเฉินเช่นมีอากาศยานไม่ระบุสัญชาติ(อันที่จริงก็สัญชาติเขมรแหละ)ปรากฏก็ขึ้นสกัดกั้น(ยิงทิ้งแม่ง)ภายในเวลาไม่เกิน 20 นาที ก็จะถึงที่หมาย

เวลา 05.15 น. เครื่องบิน C-130 ลำแรกก็ทะยานขึ้นฟ้า มุ่งสู่สนามบินโปเชนตง กลางกรุงพนมเปญ ติดตามด้วยลำที่ 2, 3, 4, 5 ที่มีคอมมานโดและหน่วยรบพิเศษ กระจายกันอยู่ทุกลำ และตามด้วย G-222 ที่เป็น บก.ลอยฟ้า โดยมี พล.อ. สุรยุทธ์ และ พล.อ.อ. คงศักดิ์ มานั่งบัญชาการอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ โดยตลอดแผน โปเชนตง 1 เตรียมไว้สำหรับเหตุการณ์ปกติ โดยเครื่องบิน C-130 ทั้ง 5 ลำ ที่ลงจอดนั้น จะไม่มีการดับเครื่อง ในระหว่างนั้นหน่วยคอมมานโดและทหารรบพิเศษ รวม 110 คน พร้อมอาวุธครบมือ และเป้สนาม และรถฮัมวี่ ก็วิ่งลงจากเครื่องบิน ออกกระจายโดยรอบสนามบินโปเชนตง เพื่อรักษาความปลอดภัย ในขณะที่คนไทยก็เรียงแถวตอน 1 ขึ้นเครื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจนับจำนวนแบบรวดเร็ว

ส่วนแผน โปเชนตง 2 นั้น เตรียมไว้สำหรับเกิดเหตุรุนแรง เนื่องจากในค่ำนั้น มีการข่าวรายงานว่าม็อบในกรุงพนมเปญ ซึ่งรับชมข่าวและการรายงานสดทางโทรทัศน์ของไทยได้ล่วงรู้ว่ารัฐบาลไทยจะส่งเครื่องบินมารับคนไทย จึงมีแผนการซื้อน้ำมันเพื่อมาเผาโดยรอบสนามบิน ทำให้ พล.อ.วิชิต ต้องประสานกับ พล.อ. เตีย บันห์ รมว.กลาโหมกัมพูชา เพื่อนำกำลังทหารมาดูแลโดยรอบสนามบินโปเชนตงเอาไว้ แต่กระนั้นหน่วยคอมมานโดและรบพิเศษก็ไม่ประมาท เตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะอาจจะต้องถล่มพนมเปญ(เหอเหอเหอสะใจนิดหน่อยครับ) เพื่อช่วยคนไทยกลับบ้าน จึงไม่แปลกที่ทหารรบพิเศษและหน่วยคอมมานโดทุกคนจะมีเป้สนามติดหลังที่ไม่เพียงมีอาวุธและกระสุนเท่านั้น แต่ยังมีอุปกรณ์ยังชีพเผื่อว่าจะต้องอยู่ในพนมเปญมากกว่า 1 วันโดยที่เครื่องบินรบบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร ที่ลอยลำรออยู่และเครื่อง F-16 ที่เตรียมพร้อมในที่ตั้งพร้อมจะมาสมทบ เพราะงานนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไฟเขียวไว้แล้ว ให้ทำทุกอย่างเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของไทยแต่โชคดีที่งานนี้ไม่ต้องใช้แผน โปเชนตง 2 เมื่อทุกอย่างเป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยมี พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กลาโหมเขมรที่พูดภาษาไทยคล่องปรื๋อ ส่งทหารมาดูแลสนามบินให้ จากเวลา 07.50 น.ที่เครื่องบิน C-130 ลำแรกกลับมาลงจอดที่สนามบินกองทัพอากาศดอนเมือง จนลำที่ 5 ในเวลา 09.30 น. และลำสุดท้าย G-222 บก.ลอยฟ้า

ในเวลา 09.40 น. เสียงปรบมือก็ดังกระหึ่ม พร้อมด้วยการจับมือแสดงความยินดีกับความสำเร็จที่นำคนไทย 511 คนกลับบ้าน ชุดแรกโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ มารอรับด้วยตนเองจากนั้นในตอนบ่าย เครื่องบิน C-130 อีก 2 ลำ นำโดย พล.อ.วิชิต และทีมเดิมบินไปรับคนไทยที่ตกค้างอีก 192 คน รวมทั้งเอกอัครราชทูตไทย ผู้ช่วยทูตทหารไทย และเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยทั้งหมดจากกรุงพนมเปญอีกครั้ง ก่อนกลับมาถึงอย่างปลอดภัยและความยินดีของญาติๆ พร้อมด้วยคำชื่นชมจากทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ และ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว.กลาโหม ในความพร้อมรบและศักยภาพของกองทัพไทย ที่ส่งผลให้คะแนนนิยมของ พ.ต.ท. ทักษิณ ที่แสดงความเป็นผู้นำพุ่งขึ้นสูงอีกด้วยเช่นเดียวกับบทบาทของ พล.อ.วิชิต น้องรักของบิ๊กจิ๋ว ก็ถูกจับตามองในฐานะผู้ประสานงานกับกัมพูชาด้วยความสัมพันธ์ที่มีมานาน เพราะครั้งนี้เขาได้กลายเป็นดาวเด่นอีกดวง ด้วยความทุ่มเทเพื่อเคลียร์สถานการณ์ตั้งแต่เหตุการณ์เริ่มอุบัติขึ้น จนเหตุการณ์คลี่คลายไปในระดับหนึ่ง โดยใช้โทรศัพท์มือถือนับร้อยครั้ง ที่ปลายทางจะเป็น พล.อ. เตีย บันห์ เพื่อนรักที่เขาติดต่อพบปะอยู่บ่อยๆ จนนายฮุน เซน หวาดระแวงว่าวันหนึ่งไทยจะหนุน พล.อ. เตีย บันห์ ผู้ถือกำเนิดที่คลองใหญ่ จ.ตราด และเติบโตในเกาะกง คนนี้โค่นอำนาจของเขา ก่อนหน้านี้ พล.อ.วิชิต ก็แสดงบทบาทในการแก้ปัญหาไทย-กัมพูชา รวมทั้งพม่า และมาเลเซียหลายครั้ง จนถูกจับตามองว่า ผลงานนี้จะส่งผลต่อโอกาสในการขึ้นเป็น รอง ผบ.ทบ. หรือแม้แต่ ผบ.ทบ. ในการโยกย้ายปลายปีครั้งต่อไปหรือไม่ แม้ว่าตัว พล.อ.วิชิต เองจะทำไปด้วยจิตวิญญาณและความรับผิดชอบ มิได้หวังผลเรื่องตำแหน่งก็ตาม แต่ก็ได้รับคำชื่นชม แม้ปฏิบัติการครั้งนี้จะไม่มีคนไทยเสียชีวิตในเหตุจลาจล แต่ก็มีคนไทยบาดเจ็บจากการเอาชีวิตรอดถึง 8 คน แต่ในส่วนของ ทร. ก็ต้องสูญเสีย ร.ท. ธรรมเนียม โกษาจันทร์ ช่างเครื่องจากเหตุ . S-76B ตกที่จันทบุรี ในเย็นวันที่ 30 มกราคม ระหว่างที่บินส่งกำลังบำรุงให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร ส่วนนักบินและช่างอีก 3 คนบาดเจ็บ

เหตุการณ์ครั้งนี้ตามความเห็นของผมเห็นว่ากองทัพไทยมีความพร้อมรบอยู่ในระดับสูง จะเห็นได้ว่าทหารทุกหน่วยพร้อมรบได้ในเวลาเพียง 2 ซ.ม โดยเรือหลวงจักรีๆ ได้ลอยลำไปที่ชายแดนไทย เขมร บริเวณ จ.ตราด เพื่อสนับสนุนแผนโปเซนดง 2 ได้ภายในเวลาเพียง 1 ช.ม. และครังนี้นับว่าเป็นครั่งแรกในการร่วมมือของสามเหล่าทัพ ในรอบหลายสิบปี

รายละเอียด
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=thai-glory&group=1&page=2

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/08/2008 05:26:36


ความคิดเห็นที่ 157


ตกลงเรือ OPV ใหม่นี้ออกแบบเองหรือจะซื้อแบบเอาครับ?

แล้วใช่ลำที่กำลังสร้างอยู่ที่อู่มหิดลนี้รึเปล่า
โดยคุณ Teelit เมื่อวันที่ 05/08/2008 05:15:57


ความคิดเห็นที่ 158


ผมจำไม่ได้ว่า S-76B ซื้อมาจำนวน 6 หรือ 7 ลำ แต่ที่จำได้แน่ ๆ คือตกไปแล้ว 2 ลำ จันทบุรี 1 ลำ ในยุทธการโปเชนตง และอีก 1 ลำที่กรุงเทพ ใกล้ ๆ กับกองบัญชาการกองทัพเรือ

ดั้งนั้นถ้าซื้อมา 7 ก็เหลือ 5  และถ้าซื้อมา 6 ก็เหลือ 4 ครับ

โดยคุณ โต้ง เมื่อวันที่ 05/08/2008 05:55:13


ความคิดเห็นที่ 159


ซื้อมา 6 ครับ พังไป 2 เหลือ 4 ครับ แต่ปีที่แล้วมีข่าวว่า ทร. จะทำการซ่อมคืนสภาพ S-76B หมายเลข 20309 ไม่แน่ใจว่าเป็น 1 ใน 2 ที่ตกหรือเปล่าครับ เพราะ เหมือนกับว่าแค่ตกกระแทกพื้นเท่านั้น ไม่น่าถึงขั้นจำหน่าย

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 05/08/2008 08:31:53


ความคิดเห็นที่ 160


ตามข้อมูลที่มีการ Post ในข้างต้นนั้นเรือ ตกก.ลำใหม่ที่กรมอู่ทหารเรือกำลังเตรียมการต่อในปีนี้นั้นเป็นการออกแบบของทหารเรือไทยเองครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 05/08/2008 09:32:35


ความคิดเห็นที่ 161


ล่าสุดกรมกรมสรรพาวุธทหารเรือมีการจ้างงานก่อสร้างอาคารทดสอบ อวป. C-802A ครับ  เพราะฉะนั้น ผมว่า C-802A มาแน่ครับ แต่มาเท่าไรเท่านั้นแหละ

http://www.navy.mi.th/supplyonline/showsupply.php

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 06/08/2008 00:41:08


ความคิดเห็นที่ 162


link เอกสาร ประกวดราคาจ้าง งานก่อสร้างอาคารทดสอบอาวุธปล่อยนำวิถี C-802 A  (.pdf)

http://www.navy.mi.th/supplyonline/pdf/3141.pdf

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 06/08/2008 03:08:35


ความคิดเห็นที่ 163


ผมได้ข่าวมาว่าวันนี้มีการให้บริษัทตัวแทนไปรับซองประมูลเรือ OPV อยากทราบว่ามันของลำไหนน่ะครับ หรือว่าจะเป็นอีก 3 ลำที่เหลือตามความต้องการของทร. (ไม่นับลำแรกที่กำลังจะสร้างที่อู่มหิดล)
โดยคุณ Teelit เมื่อวันที่ 07/08/2008 00:47:08


ความคิดเห็นที่ 164


ตามข้อมูลในข้างต้นนั้น เรือ ตกก.ลำแรกที่สร้างที่อู่มหิดลจะเป็นเรือต้นแบบครับ ซึ่งถ้ามีการประเมินว่าเรือมีประสิทธิภาพในการใช้งานดีก็จะมีการสร้างเพิ่มครับ

แต่เท่าที่ทราบข่าวที่ผ่านมามีการประมูลพวกวัสดุและสิ่งก่อสร้างสำหรับการจัดเตรียมการต่อเรือที่อู่ครับ ซึ่งการรับซองประมูลเรือ OPV ตามข่าวข้างต้นที่ว่านี้ก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเรื่องแบบเรือเช่นที่บริษัทโคลอนยืนแบบไว้ตามที่เคยลงข่าวมาแล้วหรืออย่างอื่นนะครับ

ตามความเห็นส่วนตัวนั้นการจัดกำลังเรือในกองเรือตรวจอ่าวในอนาคตน่าจะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับกองเรือฟริเกตที่๒ครับคือ มีเรือ ตกก.ที่โรงเก็บ ฮ.ในตัวเรือ2ลำ และมี เรือ ตกก.ที่มีเฉพาะลานจอด ฮ.ท้ายลำ 2-4ลำ แบบเดียวกับ ชั้น ร.ล.นเรศวร และ ชั้น ร.ล.เจ้าพระยา คือ ร.ล.กระบุรี ร.ล.สายบุรี 2ลำครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 07/08/2008 09:12:22


ความคิดเห็นที่ 165


แผนที่ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย  ระดับกองทัพเรือ (Level 0)
(จากT007404 Post โดย Mr. Bean)   
http://www.navy.mi.th/nrdo/news/strategicresearch.doc

กลุ่มโครงการวิจัยที่ ทร.มีความต้องการ ตามยุทธศาสตร์ ทร. ปี 51- 60
๑ โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อเรือฟรีเกต
๒ โครงการพัฒนาระบบการเฝ้าตรวจและรายงานทางทะเลแบบ real time ผ่านดาวเทียม
๓ ชุดโครงการพัฒนาอาวุธนำวิถีพื้น-สู่-พื้น แบบยิงจากฝั่ง
๔  โครงการพัฒนายานใต้น้ำ ขั้นที่ ๓
๕  โครงการพัฒนาทุ่นระเบิดล่องหน ขั้นที่ ๒
๖   โครงวิจัยระบบซอฟแวร์เพื่อประเมินความพร้อมรบของกองทัพเรือ
๗  โครงการอากาศยานไร้คนขับที่ใช้ในภารกิจลาดตระเวนทางทะเล
๘  ชุดโครงการ/โครงการที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านสงครามพิเศษ
๙   โครงการระบบเฝ้าตรวจและติดตามระบบท่อส่งก๊าซในทะเล
๑๐  โครงการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆในกองทัพเรือ
๑๑  โครงการวิจัยเพิ่มขีดความสามรถการปราบเรือดำน้ำให้กับ ฮ ซุปเปอร์ลิงค์
๑๒  โครงการศึกษาระบบตรวจการณ์/ติดตามภาพสถานการณ์


มีข้อมูลออกมาตั้งแต่ปีที่แล้วโดยการให้สัมภาษณ์นายทหารระดับสูงของกองทัพเช่น ท่าน ผบ.ทร. ว่ากองทัพเรือมีโครงการที่จะต่อเรือฟริเกตขนาดใกล้เคียงกับ ร.ล.มกุฏราชกุมาร ครับโดยคาดว่าน่าจะมีความชัดเจนในโครงการนี้ราวๆปีสักปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระชนมายุครบ ๗รอบพอดี


อันนี้ไม่แน่ใจว่ากองทัพเรือจะต้องการมีดาวเทียมสื่อสารในข่ายการควบคุมของตนเองโดยเฉพาะ หรือใช้ดาวเทียมที่ทำงานอยู่แล้วในปัจจุบันดวงใดหรือไม่ครับ


น่าสนใจครับ ปัจจุบัน สอ./รฝ. ยังไม่มี อวป.ต่อต้านเรือผิวน้ำที่ยิงจากฐานยิงบนบกแต่อย่างใดนอกจาก ปืนใหญ่สนามในการรักษาฝั่งครับ แต่ข้อสงสัยคือกองทัพเรือจะพัฒนาวิจัยจรวดเองทั้งหมดหรือจัดหาจากประเทศอื่นแล้วขอสิทธิบัตรในการผลิตหรือไม่ครับ ซึ่งถ้าเป็นอย่างแรกแล้วคิดว่ากองทัพเรือน่าจะสามารถต่อยอดไปยังการพัฒนา อวป.ต่อต้านเรือผิวน้ำที่สามารถยิงได้จากเรือผิวน้ำได้ในอนาคตครับ

๔ และ ๕ 
เป็นโครงการพัฒนาต่อเนื่องซึ่งในปัจจุบันก็มีรายงานความคืบหน้าออกมาก่อนหน้านี้แล้วครับ


เข้าใจว่าเป็นการพัฒนาจากระบบSoftwareการฝึกที่เคยมีการนำเสนอมาก่อนหน้านี้แล้วครับ


การจัดหานี้เคยมีในแผน 9ปี เดิมครับ ซึ่งแบบของ UAV น่าจะมีทั้งที่ปฏิบัติการจากเรือหรือจากฐานบินบนฝั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองแบบครับ


ตามที่มีข้อมูลว่ากองทัพเรือกำลังจะปรับขนาดของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือเป็นระดับกองบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ โดยขยายขนาดหน่วยในสังกัดและจัดหาอาวุธและยุทโธปกรณ์เพิมเติมหลายรายการ โครงนี้คงอยู่ในแผนพัฒนา นสร. เช่นกันครับ

๑๑ 
ข้อมูลนี้แสดงให้ทราบครับว่า ฮ.Super Lynx ที่ กบร.จัดหามา2ลำนั้นปัจจุบันคงไม่มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธปราบเรือดำน้ำ ซึ่งการจัดหา ฮ.ประจำเรือฟริเกตนั้นจุดนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีการจัดหาอาวุธปราบเรือดำน้ำมาติดตั้งให้ ฮ.Super Lynx ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 20/08/2008 07:48:49


ความคิดเห็นที่ 166


เรือ opvลำใหม่ของไทยเราต่ออยู่ที่ไหนหลอคับ

ตอนแลกเห็นบอกว่าที่ อูมหิดล

แล้วมาตอนนี้ ต่อที่อู่กรุงเทพ อ่ะ

http://www.navy.mi.th/sctr/sound/2552/jun/snd_290652.php

ช่วยอธิบายให้หน่อยคับ

โดยคุณ namkok เมื่อวันที่ 02/08/2009 00:21:01