หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ออกทะเลกันมั่ง เรื่อง LPG กับ NGV

โดยคุณ : monsoon เมื่อวันที่ : 02/07/2008 22:31:20

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน



Subject: FW: พี่ที่ESSOส่งมาให้ครับ (ทำไมรัฐต้องพยายามหาทางขั้นราคา LPG)

 ผมได้มีการรวบรวมข้อมูลและประมวลสถานะการ์ณต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้

         เรื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย ไม่ว่าเป็น ดีเซล เบนซิน แก๊สโซฮอล
         NGV หรือ LPG ต่างก็ยังไม่ได้ลอยตัวครับ ถ้าให้ลอยตัวเหมือนกันหมดราคาเชื้อเพลิงที่
         กล่าวถึงก็คงจะขึ้นราคา แต่คงไม่เกิน 3 บาทต่อลิตรครับ แต่ที่ ปตท. ซึ่งไม่ใช่หน่วย
         งานของรัฐ เป็นบริษัทเอกชน เช่น เอสโซ เชลล์ มาออกข่าวว่าต้องขึ้นราคาแก๊ส LPG
         อีก 11 บาทนั้น เขาอ้างอิงจากราคาตลาดโลก แต่ประเทศไทยผลิตได้เองส่วนหนึ่งจาก
         แหล่งผลิตในประเทศ และจากการกลั่นน้ำมันดิบ

         ประเทศในยุโรป ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย และอีกหลายประเทศ รัฐบาลเขามีนโยบาย
         สนันสนุนผู้ใช้แก๊ส ทั้ง NGV และ LPG ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ในครัวเรือน หรือ
         ในการขนส่ง ด้วยสาเหตุที่ว่า แก๊ส LPG และ NGV เป็นเชื้อเพลิงสะอาด (clean
         fuel) หรือพลังงานสะอาด (clean energy) ลดมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการใช้
         เชื้อเพลิงประเภทเบนซินหรือดีเซล ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนตรงนี้คุ้มกว่าผล
         เสียที่ก่อให้เกิดทางสังคม เช่นโรคทางเดินหายใจ หรือโรคอื่นๆ มาก หลายประเทศ
         รัฐบาลเขาออกมาประกันราคา NGV และ LPG ว่าจะไม่ขึ้นภายในเวลาหนึ่ง เพื่อส่ง
         เสริมให้ประชาชนเขาลงทุนติดตั้งระบบแก๊สในรถยนต์


         ในประเทศไทย การใช้แก๊ส LPG ในรถยนต์มีมามากกว่า 20 ปีเท่าทีผมจำความได้
         หรือมากกว่านั้น ถ้าจำไม่ผิดรัฐบาลเองในยุคก่อนมีนโยบายส่งเสริมการใช้ LPG เหมือน
         กับประเทศอื่นๆ ด้วยซ้ำ


         แต่มาในยุค ปตท. แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจที่เป็นสมบัติของคนทั้งประเทศ ไปเป็นบริษัท
         เอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (ด้วยการขายหุ้นราคาถูกกว่าราคาจริงเบื้องต้น เปรียบ
         เสมือนเอาสมบัติของประเทศมาขายในราคาต่ำกว่าราคาจริง ให้กับพวกพ้องคนรวยไม่กี่
         ตระกูล) รัฐบาลกับมีนโยบายสนับสนุนการใช้ NGV ในรถยนต์ โดยให้คำมั่นว่าจะคง
         ราคา NGV ไว้ที่ กก. ละ 8.50 บาท ส่วน LPG ที่เคยส่งเสริมนั้นไม่พูดถึง แต่มา
         เร็วๆ นี้ ปตท. และ รัฐบาล ออกมาอ้างว่าต้องขึ้นราคา LPG เพราะอุ้มสุดตัว และบีบ
         ผ่านทาง ปตท. ไม่ให้เกิดปั้มแก๊ส LPG หรือด้วยวิธีการอื่นๆ และจะขึ้นราคา NGV อีก


         ... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน
         การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG มีดังนี้


         1. ปตท. เป็นผู้ผูกขาดธุรกิจ NGV แต่ผู้เดียวในประเทศไทย ไม่มีการแข่งขัน
         2. ปตท. รับซื้อแก๊สธรรมชาติ (natural gas) จากพม่าผ่านทางท่อส่งมายังราชบุรี
         ซึ่งการวางท่อส่งแก๊สนี้ทำให้เกิดปัญหากระทบกระเทือนสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการลงทุน
         ของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท. ที่เรารู้กันอยู่ ปตท. จำเป็น
         ต้องขาย NGV ให้มากที่สุดเพื่อคุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายให้พม่าเป็นค่าแก๊ส
         3. ปตท. ต้องแสดงผลประกอบการเป็นกำไร เพื่อให้ผู้ถือหุ้น (ใหญ่) พอใจ เพื่อให้ผู้
         บริหาร ปตท. ได้อยู่ในตำแหน่ง ได้รับผลประโยชน์เป็นเงินเดือนค่าจ้าง สวัสดิการ ที่
         สูงลิ่ว
         4. นักการเมืองที่ดูแลกระทรวงพลังงาน เป็นอดีตพนักงานระดับสูงของ ปตท.
         5. ปตท. สนับสนุนการใช้ NGV ด้วยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนราคา
         ถังแก๊ส NGV จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ยอมลงทุนสร้างปั้มแก๊ส NGV ให้ทั่วประเทศ และระบบ
         ส่งแก๊ส NGV ไม่สามารถหาผู้ร่วมลงทุนจากเอกชนรายอื่นๆ ได้ เพราะเขารู้ว่าไม่คุ้มค่า
         ทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุผลทางการเมืองและผลประโยชน์ของ ปตท. เอง (ขอย้ำว่า
         ไม่ใช่ผลประโยชน์ต่อสังคม) อีกทั้งข้อจำกัดทางเทคนิค ไม่เป็นที่นิยมของผู้ใช้รถยนต์เท่า
         LPG ปตท. จึงต้องหามาตรการอื่นมาบีบ


         การที่ ปตท. ทำอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจเพราะเป็นบริษัทเอกชน ย่อมหาหนทางใดๆ
         ก็ได้เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น (ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์
         ของสังคม) แต่การที่ภาครัฐผ่านทางกระทรวงพลังงานเลือกปฏิบัติโดยสนับสนุนการใช้
         NGV ในรถยนต์สุดตัว โดยไม่สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ เช่น ระบบการส่งแก้ส NGV
         ปั้มแก๊ส NGV และบีบการใช้ LPG ในรถยนต์ ถือว่าไม่เหมาะสม รัฐบาลควรให้ข้อมูลกับ
         ประชาชนอย่างถูกต้องถึงผลได้ผลเสียต่อสังคมของการใช้พลังงานทางเลือก และควร
         กำกับดูแลไม่ให้บริษัทเอกชนบริษัทใดบริษัทหนึ่งเอาเปรียบสังคม


         เรื่อง ปตท. บีบไม่ให้ตั้งปั้มแก๊ส LPG เป็นเรื่องจริงครับ เมื่อ 26 ธ.ค. 48 ผมคุยกับ
         เจ้าของกิจการโรงบรรจุแก๊สแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เขาบอกว่าค่าการตลาดจากการขาย
         แก๊ส LPG สูงคุ้มค่ากับการลงทุนเปิดปั้มแก๊สเติมรถยนต์มากกว่าการเปิดปั้มเบนซิน ดีเซล
         แต่ ปตท. บีบไม่ให้ตั้ง มิฉะนั้นจะไม่ส่งแก๊ส LPG ให้ และแก๊สที่มาส่งก็มาจากแหล่งผลิต
         ในประเทศที่ลานกระบือนี่เอง ส่วนการตั้งปั้มแก๊ส NGV เขาไม่กล้าลงทุน เพราะแพง
         มาก มีรถยนต์ใช้น้อยไม่คุ้ม และมีอุปสรรคเรื่องระบบขนส่งแก๊ส NGV


         ... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน
         การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG
         LPG สามารถกลั่นจาก น้ำมัน(ซึ่งมีต้นทุนสูงนำเข้า) และก๊าซธรรมชาติ
         (ซึ่งมาจากอ่าวไทยของเราเอง)
         NGV (ก๊าซมีเทน)ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งมีอยู่ประมาณ 66 mol% LPG
         (c3+c4) 6 mol% แล้วทำไมจะไม่ควรสนับสนุนการใช้ NGV จะซื้อน้ำมันต่างชาติมาก
         ลั่นทำไม

         อ้างอิงข้อมูลของกระทรวงพลังงานที่เป็นข้อมูลราชการ ที่
         
http://www.eppo.go.th/info/T25.html

         เรานำเข้า natural gas ปี 2005 156,733 bbl/day จากปริมาณการใช้
         568,742 bbl/day หรือ 27.55 % ของการใช้ในประเทศไทย ซึ่งก็คือนำเข้าจาก
         พม่า เสียเงินตราต่างประเทศให้พม่า


         ข้อมูลการส่งออก LPG ครับ จากกระทรวงพลังงาน ตาราง 34 ที่
         
http://www.eppo.go.th/info/T34.html
         ไทยส่งออก LPG ปี 2005 เฉลี่ยเดือนละ 150 ล้านลิตร เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น 8.5 %
         จากปี 2004 (นั่นคือส่งออก LPG มากขึ้น) ขณะที่ปริมาณแก้ส LPG ที่ใช้ในรถยนต์ของ
         ไทยประมาณปีละ 100 ล้านลิตร หรือแค่ 10% ของแก้ส LPG ที่ส่งออกทั้งปี ยังมีเหลือ
         อีกมากสำหรับสนองความต้องการในประเทศซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม



         LPG ได้มาจากสามแหล่งครับ คือ หนึ่ง เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบทำเบนซิน
         ดีเซล ถ้าไม่ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สอง ปนมากับน้ำมันดิบที่ขุดได้จากบ่อน้ำมันหรือแก้ส ถ้าไม่
         ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สาม กลั่นจากแก้สธรรมชาติ (natural gas) ส่วน NGV ได้มาจาก
         การกลั่นจากแก้สธรรมชาติ


         NGV เหมาะสำหรับรถสาธารณะขนาดใหญ่เนื่องจากอุปกรณ์ยุ่งยากราคาสูงและต้องใช้ถัง
         แก้สความดันสูงจำนวนมาก


         จากการศึกษารายงานนโยบายการใช้พลังงานของ APEC ที่ไทยเป็นสมาชิกหนึ่งในยี่สิบ
         เอ็ดประเทศ ไทยเป็นประเทศเดียวที่จำกัดการใช้ LPG และส่งเสริม NGV ในรถยนต์
         ทั้งๆ ที่ผลิต LPG ได้เกินความต้องการต้องส่งออกไปขาย และยังต้องสั่งแก้สธรรมชาติ
         จากพม่าเป็นปริมาณประมาณหนึ่งในสี่ของการใช้ในประเทศ

         ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย ต่างส่งเสริมและสนับสนุนการใช้แก้ส
         LPG ในรถยนต์ ด้วยมาตรการทางภาษีและสนับสนุนราคา LPG ให้ต่ำกว่าเบนซิน ดีเซล
         ประมาณครึ่งหนึ่ง ประเทศที่กล่าวมายกเว้นออสเตรเลียต่างต้องนำเข้า LPG ไม่มีแหล่ง
         เองเหมือนประเทศไทย


         ฮ่องกงเอง ได้เปลี่ยนให้รถแทกซี 90 เปอร์เซ็นต์มาใช้แก้ส LPG ด้วยการให้เงิน
         สนับสนุน และกำลังมีโปรแกรมใหม่ที่จะเปลี่ยนรถบัสเล็ก 5,000 คันมาใช้แก้ส LPG
         (ย้ำ LPG) ด้วยเงินสนับสนุนและมาตรการส่งเสริมของรัฐบาล


         เราผลิต LPG ได้ปีละประมาณ 3,200 ล้านลิตร

         ส่งออกประมาณ 800 ล้าน (25%)
         ใช้กับยานยนต์ (แบบเว่อร์ๆ 2 เท่าเลย) 200 ล้านลิตร


         ที่เหลืออีก 2,200 ล้านลิตร หายไปไหนครับ???

         ไปอยู่ภาคครัวเรือน ให้ประชาชนใช้หุงต้ม 1,000 ล้าน
         อยู่ภาคอุตสาหกรรม ทำอาหาร ทำแก้ว หลอมโลหะ ฯลฯ อีก 1,200 ล้าน


         แล้วไอ้ที่มาโกหกปาวๆๆๆ ว่า รถยนต์ใช้แกส ทำให้โครงสร้างพลังงานเสียหาย เพราะ
         รัฐฯ ต้องชดเชยถึงกิโลละ 11 บาท .. หรือลิตรละ 6 บาท (มาได้งัยก็ไม่รู้) .. ชด
         เชยให้ใครกัน?






ความคิดเห็นที่ 1


เรื่องพลังงานของชาติ ขี้เกียจพูดครับ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งเซ็ง ผลิตได้เองแท้ ๆ แต่ราคาแพงกว่าต่างประเทศอีก

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000076223

ดูแล้วลองคิดดูครับว่าจริงหรือไม่จริง

ไม่รู้ว่า มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนิเซีย เขาอยู่โลกไหนทำไมน้ำมันถึงได้ถูกกว่าไทยเกือบเท่าตัว ถ้ามันอิงราคาตลาดโลกจริง แล้วประเทศที่กล่าวมาเขาอยู่โลกไหนกัน - -

โดยคุณ ทอแสง เมื่อวันที่ 30/06/2008 15:03:13


ความคิดเห็นที่ 2


^
^
^

ประเทศที่กล่าวมาเขาอยู่ในโลกเดียวกับไทยนี่แหละครับ เพียงแต่ว่าไม่มีประเทศไหนเหมือนกัน เหมือนบ้านเรากับบ้านข้าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน

สิงคโปร์น้ำมันถูกกว่าไทยเป็นข้อมูลที่ผิดครับ!!! ผมไปสิงคโปร์ทุกครั้ง ถ่ายรูปราคาน้ำมันหน้าปั้มกลับมาทุกครั้ง พบว่ามันไม่ต่างจากบ้านเราเลย ต่างกันก็อย่างเก่ง 2 - 3 บาทครับ

อินโดนิเซียเคยเป็นประเทศที่นำมันถูกที่สุดในโลกเนื่องจากอยู่ในโอเปก ปัจจุบันอินโดนิเซียออกจากโอเปกเพราะน้ำมันใกล้หมดแล้วเลยต้องน้ำเข้าน้ำมัน และมีการขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง

มาเลเซียใช้เงินภาษีอุดหนุนน้ำมันไปเกือบ 4 แสนล้านบาท มาเลเซียเพิ่งประกาศยกเลิกการอุดหนุนไปเมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้ราคาขึ้นมาถึง 41% อีกอย่างอย่าลืมนะครับ มาเลเซียคือสมาชิกโอเปก มีบ่อน้ำมันส่วนตัวตั้งหลายบ่อ

LPG 2,200 ล้านลิตรถูกส่งออกไปครับ

ทำไมไทยต้องส่งออก LPG ทราบไหมครับ?

เพราะมันมาจากนโยบายชดเชยราคา LPG ของรัฐบาลหลายรัฐบาลในอดีตนี่แหละครับ

ก๊าซที่ขุดได้จากอ่าวไทยและได้จากการกลั่นน้ำมันที่แปรสภาพได้เป็น LPG นั้น ส่วนมากปตท. จะส่งออกไปนอกประเทศเพื่อทำกำไรสูงสุด เนื่องจากราคา LPG ในไทยถูกกดอยู่ที่ 300 กว่าดอลล่าห์ต่อตัน แต่ราคาในตลาดโลกกลับวิ่งไปที่ 870 ดอลล่าห์ต่อตัน เนื่องจากกลไกของตลาดถูกปิดเบือนจากการชดเชย และนำเข้า NGV หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ CNG มาแทนเนื่องจากถูกกว่า เพราะปตท.ต้องนำกำไรที่ได้จาก LPG มาชดเชยราคาค่าก๊าซต่าง ๆ ตามที่ถูกรัฐบาลบังคับ และธุรกิจก๊าซก็เป็นธุรกิจเดียวที่ทำกำไรให้กับปตท.ได้อย่างจริงจัง เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกน้ำมันประสบการขาดทุน ลองอ่าน Annual Report ของปตท. ดูครับ

ความจริงทุกวันนี้ คนที่ชิงขึ้นราคาก่อนก็คือบริษัทน้ำมันต่างชาติคือเอสโซ เชลล์ คาร์เท็ค แต่พอบริษัทคนไทยอย่างปตท.จะขึ้นตามกลับถูกคนไทยด้วยกันเองด่า???

เรื่องแปรรูปไม่เกี่ยวครับ สังเกตุไหมครับ รัฐบาลกี่รัฐบาลที่เข้ามา ไม่เคยพูดเลยว่าจะไม่แปรรูป ฝ่ายค้านของไทยซึ่งค้านทุกเรื่องมาตลอด ลองสังเกตุดูดี ๆ สิครับ เขาไม่เคยค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเลย เขาค้านในสิ่งที่ควรค้านคือผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมืองที่เข้าไปถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจ

เพราะทุกคนรู้ดีว่าไม่ช้าก็เร็ว ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ น้ำมัน การขนส่ง ฯลฯ จะต้องแปรรูปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ลองกลับไปดูในตอนเป็นองค์การโทรศัพท์ที่เป็นกิจการผูกขาดสิครับ ผมจำได้ว่าผมขอโทรศัพท์กว่าสองปีก็ยังไม่ได้ แต่พอรัฐให้สัมปทาน Telecom Asia (หรือ True Crop. สุดเส็งเคร็งในปัจจุบัน) กับ TT&T ทำให้เกิดการแข่งขัน ประชาชนมีตัวเลือก ทุกวันนี้ขอโทรศัทพ์ใหม่แทบไม่ต้องเสียตังค์ด้วยซ้ำ หลังจากนั้นรัฐก็แปรรูปองค์การโทรศัพท์ไปเป็น TOT (ซึ่งน่าเศร้าที่ TOT ยังห่วยเหมือนเดิม)

ถ้าไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปตท. จะไม่มีปัญญาไปขุดน้ำมันมาให้พวกเราเผาเล่นแน่นอน เพราะรัฐไม่มีปัญญาลงทุนเอง ลองคิดดูนะครับ ปัจจุบันลงทุนในโรงกลั่น 1 โรงใช้เงินลงทุน 120,000 ล้านบาท ลงทุนสร้างแท่นขุดน้ำมัน สร้างท่อส่งก๊าซใช้เงินลงทุนอีกหลายหมื่นล้านบาท

ถ้ารัฐต้องลงทุนทั้งหมดเองนี้ มันคือ 10% ของงบประมาณประจำปี ........ ถ้าเรายกเลิกงบกลาโหมทั้งหมดแล้วเอามาลงทุนพวกนี้ ผมจะสนับสนุนไม่ให้แปรรูป

การระดมทุนในตลาดหลักทรัพท์คือการระดมทุนที่ถูกที่สุด เพราะการกู้เงินจะถูกกำจัดจากเพดานเงินกู้และสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท พอกู้มาแล้วก็ต้องเสียดอกเบี้ยไม่ว่าจะยังไงก็ตาม กำไรหรือขาดทุนเจ้าหนี้ไม่สน แต่การขายหุ้นคือการระดมทุนที่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เพราะถ้าไม่มีกำไรก็ไม่ต้องปันผล ทำไปทำมาราคาหุ้นคุณขึ้น เมื่อบริษัทซื้อหุ้นคืนก็ได้กำไรจากส่วนต่าง (Capital Gain) อีก

ถ้ากิจการพวกนี้ยังเป็นรัฐวิสหากิจต่อไป ประเทศจะล้าหลังกว่านี้มาก

อีกอย่าง รัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ถูกแปรรูป รัฐยังควมคุมอย่างเบ็ดเสร็จ เช่นปตท.ทุกวันนี้กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 51% อีก 20% ถือโดยกองทุนวายุภักษ์ (คล้าย ๆ เทมาเส็กแต่ไม่เหมือนซะทีเดียว) นอกนั้นเป็นกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ ต่างชาติ และรายย่อย ......... รวมแล้วรัฐยังมีอำนาจควบคุมและอำนาจออกเสียง (Voting Control) ในบริษัทถึง 70%

http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=PTT&selectPage=5

ตอนปตท.กระจายหุ้นให้กับประชาชน (ทำ IPO) ตอนนั้นราคาหุ้นอยู่ที่ 30 บาทต่อหุ้น แต่ทุกวันนี้อยู่ที่ 300 - 400 บาทต่อหุ้น สินทรัพย์ที่รัฐถืออยู่เพิ่มขึ้นจากหลักหมื่นล้านเป็นหลายแสนล้านบาท ปีที่แล้วปตท. จ่ายปันผลต่อหุ้น 10.50 บาท ลำพังกระทรวงการคลังคนเดียวได้ปันผล 15,000 ล้านบาท ไม่นับรวมหน่วยงานของรัฐหน่วยงานอื่น

ที่ต้องให้ต่างชาติเข้ามาร่วมถือ ก็เพราะคนไทยเรามีเงินไม่พอที่จะไปซื้อหุ้น ทำให้ต้องพึ่งนักลงทุนต่างชาติ แต่ต่างชาติก็ไม่ได้ถือหุ้นปตท. มากจนควบคุมทุกอย่างได้ เขายังบอกด้วยซ้ำว่าอยากให้รัฐปล่อยให้ปตท. ทำกำไรได้อย่างอิสระโดยปราศจากการแทรกแทรง แต่เราไม่ทำตามเพราะไม่งั้นจะยิ่งแย่หนัก

อีกทั้งทุกวันนี้ รู้ไหมครับว่าท่าน ๆ ก็ถือหุ้นปตท. เหมือนกัน ยกตัวอย่างครอบครัวผม พ่อกับแม่ผมเป็นข้าราชการและเป็นสมาชิกกบข. ซึ่งถือหุ้น PTT ผมกับน้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นซึ่งถือหุ้น PTT ........ ลำพังครองครัวผม 5 คนก็ถือหุ้นปตท.กันแล้ว 4 คน ในประเทศนี้มีคนไทยที่เกี่ยวข้องและได้รับผลประโยชน์จากหุ้นตัวนี้ 10 ล้านคน ลองไปคุ้ย ๆ ดูดี ๆ ครับ ท่านอาจจะถือโดยไม่รู้ตัว

สุดท้าย ผมยังไม่เห็นนักเศรษฐศาสตร์พูดเลยว่าการแปรรูปคือการขายชาติ คำว่าขายชาติเป็นคำที่ NGO กับกลุ่มรัฐวิสาหกิจนิยมหลายกลุ่มใช้ และเหตุผลที่เอามาอ้างก็ไม่ถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์เลยแม้แต่น้อย

สิ่งที่ผิดจริง ๆ ไม่ใช่การแปรรูป แต่เป็นการที่แปรรูปแล้วไม่ได้เป็นไปประโยชน์สาธารณะจริง ๆ ต่างหาก เช่นที่กรรมการกิจการพลังงานแห่งชาติดันมีหุ้นอยู่ใน บ. น้ำมันนี่ก็ผิดธรรมมาภิบาลมาก นี่ต่างหากที่ผิด และควรจะต้องออกกฏหมายแก้ตรงจุดนี้ ไม่ใช้ให้ยกเลิกการแปรรูปหรือถอนหุ้นออกจากตลาด ...... มันก็เหมือนกับว่าถ้าเรากลัวก้างปลาติดคอ ทำไมเราต้องเลิกกินปลา มันคนละประเด็นกันครับ

สุดท้ายจริง ๆ ........ คนไทยต้องปรับตัวครับ ยุคของน้ำมันราคาถูกจบลงแล้ว ต่อไปราคาน้ำมันจะมีแต่ทรงตัวกับแพงขึ้น คนไทยต้องเปลี่ยนพฤติกรรมครับ ออกจากบ้านก็ไปกันหลาย ๆ คน คนที่ไม่ลำบากนักก็ขึ้นรถเมลล์หรือรถตู้ จะไปต่างจังหวัดคนเดียวหรือสองสามคนแทนที่จะขับรถไปก็นั่ง Low Cost หรือรถทัวร์ไปดีกว่า ส่วนภาครัฐ ประเทศไทยคิดถูกที่เลิกชดเชยน้ำมันเมื่อสองปีกว่าที่แล้ว ทำให้ประชาชนสามารถปรับตัวได้จากราคาที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่ขึ้นที 41% แบบมาเลเซีบ ทุกวันนี้น้ำมันที่เราซื้อ 1 ลิตร เป็นภาษีเข้ารัฐ 11 บาท ซึ่งเอาไปสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟรางคู่เพื่อที่ว่าทุกคนจะได้ไม่ต้องขับรถกันไปทำงาน จะได้ประหยัดน้ำมัน นอกนั้นกระทรวงพลังงานผ่านวาระการศึกษาการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และเร่งโครงการพลังานทดแทนทั้ง Biodesel และ แก๊สโซฮอล์ ตอนนี้รัฐดึงบราซิลซึ่งเป็นผู้นำในด้านเอทานอลของโลกเข้ามาช่วยในเรื่องการผลิตเอทานอล ในอีก 2 - 3 ปีไทยจะมีแก๊สโซฮอล E85 ใช้ อีกไม่นานจะไม่มีน้ำมันเบนซิน 95 กับ 91 อีกต่อไป จะเป็นพลังงานทดแทนล้วน ๆ ........ ตอนนี้ไม่มีใครลำบากน้อยกว่าใคร ทุกคนโดนเหมือนกันหมด เลิกติดของถูกที่เป็นไปไม่ได้ได้แล้วครับ ทำใจและปรับพฤติกรรมดีกว่าครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/07/2008 10:04:28


ความคิดเห็นที่ 3


ท่าน Skyman อธิบายได้ดีมาก


โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 30/06/2008 21:20:12


ความคิดเห็นที่ 4


ถ้รัฐต้องลงทุนทั้งหมดเองนี้ มันคือ 10% ของงบประมาณประจำปี ........ ถ้าเรายกเลิกงบกลาโหมทั้งหมดแล้วเอามาลงทุนพวกนี้ ผมจะสนับสนุนไม่ให้แปรรูป

 

ก็ดีนะครับ  ไม่ต้องมีหรอกทหารน่ะเปลืองงบประมาณของประเทศ  เดี๋ยวนี้เขาเลิกรบกันแล้ว (ทำไมเวลาพูดเรื่องเงินทีไรจะต้องมาลงที่  กลาโหมทุกที เฮ้อ)

โดยคุณ ขี้ม้าแก่ เมื่อวันที่ 30/06/2008 21:22:09


ความคิดเห็นที่ 5


.

ฮึม คุณสกายแมนพูดได้น่าฟังครับ โดยเฉพาะประโยคที่ว่า ความจริงทุกวันนี้ คนที่ชิงขึ้นราคาก่อนก็คือบริษัทน้ำมันต่างชาติคือเอสโซ เชลล์ คาร์เท็ค แต่พอบริษัทคนไทยอย่างปตท.จะขึ้นตามกลับถูกคนไทยด้วยกันเองด่า??? ..

... โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับคุณสกายแมนอย่างแรงครับ

.

โดยคุณ sam7 เมื่อวันที่ 30/06/2008 21:31:30


ความคิดเห็นที่ 6


ดั่งคำว่า สิ่งมีชีวิตที่แข็งแกร่งที่สุด คือสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้ดีที่สุด

ผมว่าคนไทยเองต้องปรับนิสัย ใช้รถเมล์กันแล้วละครับ (ชิน อยู่อ่ะ)

จริงๆทางรัฐควรเพิ่มจำนวนรถเมล์ กับรีบส่งเสริมเส้นทางการเดินเรือให้ดียิ่งขึ้น (รู้สึกว่าเรือที่คลองแสนแสบนี่สุดจะรับประทานน้ำมันมหาศาล แต่ความจริงเป็นเช่นไรมิอาจทราบ แต่ที่แน่ๆ ก็ส่งผลเสียเรื่องมลภาวะแน่ๆ ควันซะขนาดนั้น)

และที่สำคัญคือรถไฟฟ้าทั้งใต้ดินทั้งลอยฟ้า ควรจะเร่งรัดดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วครับ

จริงๆ หากความเห็นของผม ผมอยากให้เลียนแบบลอดช่องนะครับ ที่ปรับภาษีรถยนต์ขนาดใหญ่ให้สูง(สุดๆ)พอสมควร เพื่อเป็นการบีบบังคับลดการซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่ และหันมาสนับสนุนอุตสาหกรรมในการผลิตรถยนต์ขนาดจิ๋วเอง(แบบที่นิยมกันสุดๆ) ผลิตกันเพื่อค้าขายกันภายในประเทศก็พอครับ สำหรับตัวเมืองโดยเฉพาะเอาสัก รถ 1500CC ราวๆนี้แหละครับ

แล้วก็ควรรีบสนับสนุนโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆเรื่องการค้นหาพลังงานทดแทน

จริงๆก่อนหน้านี้จำไม่ได้หลายปีที่ มีสถาบันแห่งหนึ่ง(จำไม่แม่น กลัวเอ่ยนามแล้วหน้าแตกครับ) เคยผลิตรถยนต์พลังงานน้ำทะเลได้ แต่ติดปัญหาเพียงแค่ สนิม มันเกาะเครื่องยนต์ครับ

ผมว่าคนไทยมีศักยภาพพอที่จะทำได้นะครับ

โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 30/06/2008 23:24:34


ความคิดเห็นที่ 7


LPG 2,200 ล้านลิตรถูกส่งออกไปครับ

ทำไมไทยต้องส่งออก LPG ทราบไหมครับ?

เพราะมันมาจากนโยบายชดเชยราคา LPG ของรัฐบาลหลายรัฐบาลในอดีตนี่แหละครับ

ก๊าซที่ขุดได้จากอ่าวไทยและได้จากการกลั่นน้ำมันที่แปรสภาพได้เป็น LPG นั้น ส่วนมากปตท. จะส่งออกไปนอกประเทศเพื่อทำกำไรสูงสุด เนื่องจากราคา LPG ในไทยถูกกดอยู่ที่ 300 กว่าดอลล่าห์ต่อตัน แต่ราคาในตลาดโลกกลับวิ่งไปที่ 870 ดอลล่าห์ต่อตัน เนื่องจากกลไกของตลาดถูกปิดเบือนจากการชดเชย และนำเข้า NGV หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ CNG มาแทนเนื่องจากถูกกว่า เพราะปตท.ต้องนำกำไรที่ได้จาก LPG มาชดเชยราคาค่าก๊าซต่าง ๆ ตามที่ถูกรัฐบาลบังคับ และธุรกิจก๊าซก็เป็นธุรกิจเดียวที่ทำกำไรให้กับปตท.ได้อย่างจริงจัง เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกน้ำมันประสบการขาดทุน ลองอ่าน Annual Report ของปตท. ดูครับ

 

-------------------------------------------------------------------------

 

คงต้อง มาขอแย้งความเห็นนี้ครับ

  ต้องบอกก่อนว่า เห็นด้วยครับกับการขึ้นราคาแก๊สภาคการขนส่ง

แต่ปตท กำลังอ้างราคาตลาดโลกทั้งที่ไทย เราผลิต ได้เองครับ 

หากไปดู สัดส่วนการใช้ก๊าซ ภาคครัวเรือนใช้แก๊สสัดส่วนสูงสุด  รองลงมาคือภาค อุตสาหกรรมครับ  ภาคขนส่งใช้ก๊าซน้อยกว่าชาวบ้าน แต่หากว่าจะใช้ราคาตลาดโลก ดันมาใช้กับภาคขนส่ง  แต่ว่าภาคครัวเรือน ยึดราคาทีตรึงไว้  แล้วภาค อุตส่าหกรรมล่ะครับ ปล่อยลอยตัวด้วยหรือเปล่า

 

   ปัญหาคือ ปตท ทำอะไรไม่โปร่งใส ครับ  บอกว่าตอนนี้นำเข้าแก๊สมาแล้วแต่พอมาดูตัวเลขการนำเข้ากลับไม่มีการระบุถึงตรงนี้เลยครับ ใครโกหกใคร

  สำหรับผม ประเด็นแค่ ของที่ผลิตในประเทศ  ทำไมต้องจำหน่ายในราคาตลาดโลก (แม้จะเป็น by product from crude oil)  หากนำเข้าแก๊สจริง ก็มาเฉลี่ยราคากับ ราคาที่ตรึงไว้ในส่วนของในประเทศสิครับ

  ไม่ใช่ เอาของที่ผลิตได้มาจำหน่ายในราคาตลาดโลก เพื่อกำไรสูงสูดของปตท

ย้ำนะครับ เห็นด้วยกับการปรับขึ้นราคาแก๊ส ในภาคขนส่ง และต้องรวมถึงภาคอุตส่าหกรรมด้วย แต่ว่าไม่ใช่ใช้เหตุผลแบบหลอกชาวบ้านครับ

 

ส่วนเรื่องโจมตีปตท  ผมเห็นว่าพวกแปะลิ้ม ngo ไร้สาระครับ แต่ว่า ก็ไม่เห็นด้วย เวลารัฐจะมีนโยบายบางอย่าง ปตทจะบอกว่า ทำอย่างนี้ไม่ได้ เพราะว่าเป็นองค์กรณ์มหาชนแล้ว  แต่ในขณะเดียวกัน ปตท ก็อาศัยเรื่องความเป็นรัฐวิสาหกิจรัฐ มาหาประโยชน์ใส่ตัวเองเต็มที อาทิการผูกขาด ngv   ดีที่เรื่อง ท่อส่ง ศาลปกครองให้แยกคืนรัฐไปแล้วไม่งั้นใช้ประโยชน์กันเปรมปรีย์

 

  ปตท ต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ครับ ไม่ใช่ ข้ออ้างไหนทำให้ตัวเองได้ประโยชน์ก็เอามาอ้างไว้ก่อน

   ปล  ผมก็เป็นคนลงทุนในหุ้น แต่กรณี ปตท นี่ มันเกินไปครับ

 

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 30/06/2008 23:44:31


ความคิดเห็นที่ 8


ขอต่อหน่อยครับ  ความ น่าเกลียด การบิดเบือน ของปตทนะครับ

 

 อาทิเช่นการบอกว่า ก๊าซ lpg ควรจะใช้สำหรับภาคหุงต้ม  การนำมาใช้ในรถ เหมือนกับการเอาไม้สักมาเผาไฟหุงข้าว (เคยฟังทางวิทยุ)ส่งเสริมแต่ ngv(CNG)

 

  เป็นการดูถูกคนมีความรู้ครับ  ผมไปมาก็หลายประเทศ เค้าก็มีทั้ง 2ก๊าซที่เอามาใช้ครับ แต่ปตท หาเรื่องโจมตี แต่ แก๊สlpgท่าเดียว  เพราะว่าอะไรครับ เพราะว่า มันขายในราคาตรึ่งไงแต่หากว่าราคาตลาด รับรองได้ ปตทเงียบ เพราะว่า ได้ราคาทีต้องการแล้ว แต่ปตก

 

 หากไปอ่านใน  56-1  ปตท ขายก๊าว ให้ บริษัทในเครือ ต่ำกว่าการขายให้ กฟผ ฯลฯ  อย่างนี้เป็นการบิดเบือนกลไกตลาดเพื่อให้ บริษัทลูกของตัวเอง ได้เปรียบด้านต้นทุนหรือเปล่า

 

ที่สำคัญ ผมว่า ปตท เป็นองค์การที ตกภาษาอังกฤษ lpg แปลว่าก๊าซหุงต้ม  ผมก็จบเมืองนอกเมืองนามา   ผมว่าผมไม่ได้แปลอย่างนี้นะ

 

แต่สรุป สำหรับผมเห็นด้วย กับการขึ้นราคาก๊าซภาคขนส่ง รวมถึงภาคอุตสาหกรรมด้วย  แต่การให้ข้อมูลของปตท อย่างดูถูกว่าประชาชนโง่ครับ

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 30/06/2008 23:58:16


ความคิดเห็นที่ 9


อ่านทบทวนดูแล้ว มีข้อสงสัยคือ ในอีเมล์กล่าวว่า ไทยผลิต LPG ได้ 3,200 ล้านลิตร แยกเป็น ส่งออก 800 ล้าน / ภาคขนส่ง 200 ล้าน / ภาคครัวเรือน 1,000 ล้าน / ภาคอุตสาหกรรม 1,200 ล้าน

ทางท่าน Skyman แจ้งว่าส่งออก 2,200 ล้านลิตร เลยไม่ทราบว่าข้อมูลส่งออกที่ถูกต้องคือตัวเลขใด

อีกประเด็นที่น่าจะพิจารณาก็คือ ตามที่ท่าน ericson กล่าวว่า LPG เราผลิตได้เองก็น่าจะนำมาเป็นประโยชน์เพื่อประเทศ มากกว่าส่งออกเพื่อขายทำกำไร ซึ่งผลได้ก็เพียงแต่หน่วยงานเดียวคือ ปตท. ไม่ใช่เป็นเพราะผมไม่ได้ถือหุ้น ปตท.นะครับ แต่เป็นเพราะคำที่ว่า เรากำลังอ้าแขนรับเอาราคาตลาดโลกมาใช้ ทั้งที่เราผลิตได้เอง


โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 01/07/2008 01:49:08


ความคิดเห็นที่ 10


อ่าบอกเล่าประสบการณ์ไปต่างประเทศมาครับ

   ตามเมืองใหญ่เมืองหนาวยุโรป และอเมริกา รวมทั้งออสเตรเลีย จะมีท่อก๊าซส่งไปตามครัวเรือน ถึงเตาแก๊ส  และทำเป็น heater อีกทีนึง ดังนั้น ราคาก๊าซเขาน่าจะถูกกว่าไทย และเขาลงทุน (เมืองหนาว) ลงทุนเรื่องท่อก๊าซมาเกินร้อยปีแล้วทั้งนั้น ดังนั้นอย่าไปเทียบกับเมืองต่างๆทั่ว

โลกว่าทำไมเราถึงได้ราคาก๊าซแพงกว่าเมืองประเทศที่เจริญ

    เห็นตัวอย่าง ฮ่องกง ออสเตรเลีย อย่าพึ่งเอาไปเทียบครับ

แค่โครงสร้างทางกายภาพ ก็ต่างกันละ ประเทศออสเตรเลีย พื้นที่ใหญ่เอาการ เรื่องทรัพยากรเหลือเฟือ เมืองก็หนาว ท่อก๊าซก็เหมือนกับสายไฟฟ้า ไปทั่วบ้าน ทุกหย่อมหญ้า .

      ส่วนฮ่องกง เมืองเขาเล็กรายรับของรัฐมี งบประมาณทางการเกษตรก็น้อย งบประมาณทางการทหารไม่มี  เขาก็สามารถงบไปส่งเสริมรถแท๊กซี่ได้สิครับ

    ผมว่าเราเอะอะโวยวายได้ แต่ก็ต้องปรับตัวสู้กันต่อไป

ส่วนไหนประหยัดได้ต้องประหยัด ปรับเปลี่ยนได้ปรับเปลี่ยน

เมืองไหนที่เจริญแล้วไม่มีหรอกครับ ค่าครองชีพราคาถูกมีแต่จะแพงขึ้นเรื่อยๆ ครับ เพราะต้นทุนในส่วนอื่นๆมันมีมากขึ้น

   เราต้องนึกถึงตัวเราครับกิ้งก่า ปรับตัวได้ก็ต้องปรับครับ

 

  

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 01/07/2008 04:04:47


ความคิดเห็นที่ 11


อ้ออีกเรื่องครับ นิยามการแข่งขันเสรี คือแข่งขันกันสุดโต่ง

 ถ้าในธุรกิจบริการมันก็ดีครับ

แต่ถ้าเป็นธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ต่อให้แข่งเสรี ก็ต้องมีการคุมครับ

มีคณะกรรมการกำกับดูแล อยู่ดีๆจะให้แข่งเสรี วางท่อก๊าซตามเส้นทางๆต่างๆ เกะกะยั้วเยี้ย ข้ามสายไฟ เข้ารางรถไฟ ในความเป็นจริงมันทำยากครับ แข่งกันมากไปจนไม่สนใจภาวะสังคมก็ไม่ไหวครับ

 

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 01/07/2008 04:07:59


ความคิดเห็นที่ 12


           แกสLPG ผลิตได้ในประเทศไทยจากแหล่งแกสธรรมชาติ และจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน    และมีเหลือส่งออกไปขายต่างประเทศเป็นจำนวนมาก  แต่ปัจจุบันประชาชนหันมาใช้LPGเป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันกันมากขึ้น ทำให้อาจไม่เพียงพอ  ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ (ตามที่ปตท.บอก แต่ข้อเท็จจริง มีการสั่งซื้อจากประเทศไหน เมื่อไหร่ จำนวนเท่าไร ? )

             ดังนั้นเราน่าจะใช้แกสLPGในราคาที่ถูก(เหมือนคนซาอุฯใช้น้ำมันในราคาที่ถูกมากๆๆๆ) หากมีการนำเข้าจริงก็น่าจะนำมาเฉลี่ยกับราคาแกสในประเทศ ไม่ใช่อิงราคาตลาดโลกทั้งหมด (อะไรๆก็อิงราคาสิงคโปร์ หรือตลาดโลกไปเสียหมด)

            ปตท.เป็นบริษัทจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด การใช้แกสLPG/NGVเป็นพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนน้ำมันในภาคขนส่ง ปตท.ก็บอกไม่หมด และว่าเป็นการใช้ผิดประเภท(ต้องใช้หุงต้มเท่านั้น) คิดมาได้ยังไง LPG เป็นปิโตรเลี่ยมเหลวนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างหลากหลาย ทั้งยังเข็นNGVออกมาให้ประชาชนใช้ทั้งที่ไม่พร้อม

           ปตท.ต้องการที่จะเอาLPGไปขายยังต่างประเทศเนื่องจาก LPG ในตลาดโลกมีราคาสูงกว่าในประเทศไทยมาก ขนส่งง่ายเพราะเป็นของเหลว แรงดันไม่ถึง 200 ปอนด์ แต่NGV ขนส่งยากเพราะมีสถานะเป็นแกส แรงดันเกือบ 3000 ปอนด์  (ปตท.ชอบพูดว่าLPGเป็นแกสอันตราย ถ้ารั่วทำให้เกิดเพลิงไหม้ แต่ไม่พูดถึงNGV ถ้ารั่วมันจะระเบิด) LPG ใช้กันทั่วโลกโดยมีรัฐสนับสนุนส่งเสริม ส่วน NGV มีประเทศไหนใช้บ้าง(มีเหมือนกันแต่น้อยมาก ?)

         ไม่ว่าจะเป็นLPG หรือNGV ถ้านำมาใช้ทดแทนน้ำมัน มันไม่ดีหรืออย่างไร ! ทั้งยังเป็นการช่วยชาติลดการนำเข้าน้ำมัน โดยเฉพราะรัฐต้องส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกทั้งLPG และNGV ให้ประชาชนมีอิสระในการพิจารณาเลือกใช้ ส่วนปตท.ก็ควรเห็นแก่ประชาชนในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ จะได้เป็นเป็นพลังไทยเพื่อไทย   ไม่ใช่พลังไทยเพื่อใคร!

โดยคุณ แมวน้ำ เมื่อวันที่ 01/07/2008 04:17:12


ความคิดเห็นที่ 13


ไอ้เรื่องบิดเบือนข้อมูลผู้บริโภคนี่แหละครับน่าเศร้า ทุกวันนี้ ทั้งปตท.กับรัฐ และ NGO พูดข้อมูลด้านเดียวตลอด คือด้านที่เป็นประโยชน์แต่ตนเอง เห็นได้ชัดจากรายการตาสว่างทั้งตอนที่คุณโสภณและผู้บริหารโรงกลั่นมาพูด ทั้งสองฝ่ายพูดแต่ข้อมูลด้านเดียวที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง

ว่าแต่ ผมไม่เห็นด้วยในหลาย ๆ ประเด็นที่คุณโสภณพูดวันนั้นนอกจากเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมืองในบางประเด็น แต่ส่วนตัวผมชอบคุณโสภณมาก อีกอย่างนั้นแหละ ผู้บริหารตปท.ก็พูดหลายอย่างที่ฟังแล้วฉันจะเอาดีเข้าตัวความชั่วโทษตลาดโลกเหมือนกัน

สรุปแล้วแย่ทั้งคู่ ..... แนะนำทุกท่านว่าอ่านข้อมูลทั้งสองด้านและเอามาเชื่อมกันจนเกิดภาพใหญ่นะครับ อย่าเลือกข้างไปเชื่อฝ่ายไหนทั้งหมด เพราะมันจะตก ๆ หล่น ๆ ไปหมด อ่า ไม่ได้ยกพวกเดียวกันนะ แต่ผมกับคุณ ericson ก็พูดภาพใหญ่นะครับ เพียงแต่รายละเอียดปลีกย่อยอาจจะเห็นไม่ตรงกันบ้างก็ไม่เป็นไรครับ แล้วแต่มุมมอง ^ ^

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/07/2008 07:19:14


ความคิดเห็นที่ 14


ผมอยากจะสรุป  ในความเห็นผมนะครับ เผอิญไปเข้าเวปกลต โหลดงบกรเงินมาดูนิดหน่อย

 

   ในอดีต  การผลิตlpg ในประเทศ นั้น จะเหลือเยอะจากการใช้ในประเทศทั้งสามส่วน( ครัวเรือน  ขนส่ง อุตสาหกรรม) ซึ่งการขายในประเทศ นั้น ขายที่ราคา ตรึงไว้ตามกฎหมาย

 

  ส่วนที่เหลือจากนั้นในอดีตมีเยอะ เลยส่งออกที่ราคาตลาดโลก  (ซึ่งสุงกว่าราคาที่รัฐบาลตรึงไว้)

 

  คราวนี้ สองปีมานี้น้ำมันแพงโครตๆ   สัดส่วนการใช้ก๊าซ จึงเพิ่มขึ้นในภาคขนส่ง และภาค อุตสาหกรรมด้วย  ทำให้เหลือส่งออกได้น้อยลง ช่วงนี้พอชดเชยได้กับ การผลิตในประเทศที่มากขึ้นจากการลงทุน

 

 ปัจจุบัน สัดส่วนการส่งออกน้อยลง กำไรน้อยลง  ปตท ต้องหา แพะ เพราะว่ามันขาดทุนกำไรที่ควรจะได้ เลยไปเจอ ภาคขนส่ง ด่าว่าภาคขนส่งนี่แหละตัวการ ทำปตท จะแย่แล้ว ต้องขายแก๊สให้ได้ในราคาตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

  ทำไงดีล่ะ ก็พยามยามทุกทางให้เหตุผล หลอกได้แต่คนที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลมา หาว่า ภาคขนส่งทำให้แก๊สไม่พอ (ครับไม่พอที่จะเหลือส่งออกไปนอกขายในราคาตลาดโลกได้) ทั้งที่จริงๆ ภาคขนส่งนั้น สัดส่วนบริโภคน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรมที่มีบริษัทลูกของ ปตท เป็นลูกค้ารายใหญ่ ซะด้วยซ้ำ 

 เลยต้องพยายามหาทางให้ภาคขนส่งใช้ราคาแก๊ส ตามอ้างอิงในตลาดโลก เพื่อกำไรอันสูงสุดของปตท   โดยลืมพูดถึงภาคอุตสาหกรรมของตัวเองที่ จะได้มีต้นทุนด้านเคมีภัณฑ์ต่ำกว่าชาวบ้าน นี่คือคร่าวๆครับสรุปภาคขนส่งที่แหละแพะตัวจริง

 

ปล  หากว่าขายในราคาที่รัฐบาลตรึงไว้ สอง สามปี มานี้ ทำไมปตทยังกำไร  เพิ่มขึ้นทุกปี (ส่วนนึงคือการขยายกำลังการผลิต การลงทุนใหม่) แต่ก็สามารถ อนุมานได้ว่าการขายก๊าซlpg ในราคาที่รัฐบาลตรึงไว้นั้น ปตท ก็กำไรครับ  แต่ว่า มันขาดทุนกำไร แค่นั้นเอง

 

  ส่วนตัวผม อยากให้ รัฐบาลเพิ่มราคาที่ตรึ่งให้สูงกว่าเดิมครับ ไม่ใช่อะไร ผมยอมรับว่าต้นทุน วัตถุดิบแพงขึ้น   แต่ว่า การจะขายในราคาตลาดโลกเพื่อคนไทย ก็ไม่ถูกต้องเพราะผลิตภัณฑ์แก๊สนั้นเรียกว่าได้จากในประเทศ   ส่วนที่ได้จากน้ำมัน กลั่นมา ก็ควรไปบวกเพิ่มเอาแค่นั้นพอครับ   อย่ามองแต่กำไรสุงสุดอย่างเดียว

 

 

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 01/07/2008 05:32:27


ความคิดเห็นที่ 15


เรียนคุณ moonson

อา ผิดทั้งคู่ครับ ผมจำไม่ได้หรอกครับว่าส่งออกเท่าไหร่ จำได้แต่ % ว่าราว 10% เลยใช้ดูตัวเลขจาก FW เมลล์เอา แต่ดูตัวเลขผิดมาเขียน <<<< อันนี้ผมผิดเอง ยอมรับผม

แต่ FW Mail ก็ผิดครับ สรุปมั่วกันทั่งคู่ 555+

ข้อมูลจะเก่านิดนึงครับคือไตรมาสที่สามของปี 2007 ........ ถ้านับเต็มปีในปี 2006 ไทยส่งออก LPG 576,000 ตัน ครับ ส่วนการนำเข้า LPG จะมีเป็นบางกรณีขึ้นอยู่กับว่าเมื่อไหร่มันขาดแคลน

ปล. บทวิเคราะห์ของ บล. อยุธยาที่ http://www.ays.co.th/Uploadeds/Research/th/S_LPG_071203.pdf


โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/07/2008 05:59:59


ความคิดเห็นที่ 16


เรียนคุณ ericson

เอ ผมก็ไม่ได้บอกว่าภาคการขนส่งทำให้แก๊สไม่พอนะครับ ...... เอ หมายถึงผมหรือเปล่าหว่า ร้อนตัวไว้ก่อน เหอ ๆ ^ ^ ถ้าไม่ได้หมายถึงผมก็ขออภัยนะครับ ช่วงนี้ขาดความอบอุ่นไปบ้าง เลยต้องร้อนตัวไปก่อน อ้อ จะหมายถึงผมหรือไม่ได้หมายถึงผมก็ตาม ไม่ได้ว่าอะไรนะครับ ...... ดีใจจังที่กระทู้นี้มีคนเอาข้อมูลมาแลกกัน ไม่เข้าไปเรื่องการเมือง เยี่ยมครับ อยากหใมีการถกเถียงกันแบบนี้มาก ๆ แบบใช้เหตุผลมายันกัน ไม่ได้ใช้อารมณ์

อ่ะเข้าเรื่องครับ.......

ที่ต้องอิงราคาตลาดโลกเพราะกลไลตลาดมันถูกบิดเบือนครับ ....... เพราะราคาที่ถูกกว่าต่างประเทศมากนี่แหละครับ คำว่าบิดเบือนไม่ใช่มาจากการชดเชยอย่างเดียว แต่มันหมายถึงการบิดเบือนสัดส่วนการใช้ LPG ด้วยครับ กล่าวคือเมื่อก่อนน้ำมันราคาไม่แพง หรือแพงก็ขึ้นลงไม่มาก LPG ที่ถูกกว่าจึงสามารถใช้ในภาคการขนส่งได้อย่างสบายใจ เพราะถึงชดเชยไปก็ไม่ได้กระทบกับโครงสร้างโดยรวมมากนัก .... แต่พอมาถึงยุคน้ำมันแพง ทำให้คนหันมาใช้ LPG กันมากขึ้นเพราะมันถูกได้ใจ ทำให้สัดส่วนภาคการขนส่งเพิ่มมากขึ้นจนไปดึง LPG จากภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมมาหมด กลไลจึงถูกบิดเบือนโดยอัตโนมัติ เพราะแทนที่รัฐจะชดเชยเพื่อช่วยภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม แต่กลับกลายเป็นว่าภาคการขนส่งกลับได้รับประโยชน์สูงสุดจากการชดเชยแทน อีกทั้งการชดเชยทำให้กองทุนน้ำมันต้องเสียเงินไปเดือนละกว่า 200 ล้าน และเดือนเมษาที่ผ่านมาเราต้องนำเข้า LPG เป็นครั้งแรกก็เพราะเหตุผลนี้

ไอเดียของรัฐตั้งแต่นั้นมาก็คือพยายามทำให้กลไลมันกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และลดหรือเลิกการชดเชยซึ่งจะเป็นผลเสียในระยะยาว เนื่องจากคนยังติดของถูกและไม่ประหยัดต่อไป ภาคอุตสาหกรรมก็ขาดการปรับตัว ทำให้รัฐต้องเสียเงินชดเชยมากขึ้น ๆ ๆ ซึ่งเงินก็มาจากเงินภาษีของเรานี่เอง

แต่การลอยตัวราคา LPG เพื่ออ้างอิงราคาตลาดโลก ไม่ได้ลอยตัวทั้งระบบ เพราะโครงสร้างการผลิต LPG ของไทยมาจากผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน 40% และมาจากแหล่งก๊าซในอ่าวไทย 60% ............. น้ำมันที่เรากลั่นได้มาจากการนำเข้า ฉะนั้นการที่รัฐยังชดเชยราคาอยู่ทำให้รัฐโดยกองทุนน้ำมันและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการกลั่นเสียหาย (ไม่ใช่เฉพาะปตท.อย่างเดียวที่เสียหาย) ผลสุดท้ายภาษีของประชาชนก็จะเสียไปโดยไร้ประโยชน์ ........ ดังนั้นสิ่งที่รัฐจะทำก็คือ รัฐจะปรับสัดส่วนการอ้างอิงราคา LPG กับตลาดโลกจากเดิม 0% ให้เท่ากับ 40% นั่นคือ 40% จะเป็นราคาของตลาดโลก ในขณะที่อีก 60% จะเป็นราคาแสนถูกของก๊าซที่ได้มาจากอ่าวไทย ฉะนั้นเมื่อปรับกันแล้ว ราคา LPG ของไทยจะไม่สูงเท่ากับต่างประเทศ เพราะเรายังมีอีก 60% ที่เราผลิตได้เองถ่วงเอาไว้ครับ ......... แต่มันจะช่วยให้คนเลิกใช้ LPG ในรถยนต์และหันไปหา NGV ซึ่งในที่สุดภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมจะได้รับการปกป้อง และภาคการขนส่งจะถูกแยกออกจากโครงสร้าง LPG ในที่สุด

นี่แหละครับคือการอ้างอิงราคาตลาดของรัฐบาลไทย ไม่ต้องห่วงครับเราไม่ได้ใช้ก๊าซแพงแบบในตลาดโลกแน่นอน

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/07/2008 06:28:31


ความคิดเห็นที่ 17


นึกตั้งนานว่าเคยไปอ่านที่โพสข้างบนนี้มาจากไหน .......... มาจากบทวิเคราะห์เดียวกันที่อ้างมานั้นแหละครับ ลองโหลดมาอ่านดูนะครับ เขาเป็นบริษิทเอกชนไม่เกี่ยวกับใคร อ่านแล้วจะรู้ว่าใครได้กำไรอะไรเท่าไหร่บ้างจากการนี้

ลอง print screen มาให้อ่านกันบางหน้าครับ


โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/07/2008 06:34:42


ความคิดเห็นที่ 18


.


โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/07/2008 06:35:18


ความคิดเห็นที่ 19


สวัสดีครับคุณ skyman   แหะๆ ไม่ใช่ว่าคุณskymanครับ

 

 เพียงแต่ เห็นแย้งเรื่องแรก คือ ที่คุณบอกว่าปตท ต้องส่งออกแก๊สเพื่อกำไรสูงสุด  อันนี้ผมว่า ไม่ค่อยจะถูกต้องครับ

 

ส่วนที่เหลือ เป็นของปตท ล้วนๆครับการที่อ้างเรื่องกลไกการตลาดบิดเบือนก็ ยอมรับครับ  แต่ปตท ก็บิดเบือนข้อมูลของผู้บริโภคครบ

 

เอาเป็นว่าอ่านความเห็นผมอันสุดท้ายก่อนอันนี้ ผมว่านั่นคือ ความคิดปตทครับ   มุ่งเอาแต่กำไรสูงสุดโดยอ้างราคาตลาดโลกแ ต่ว่าของที่ได้เรียกว่าผลิตจากในประเทศ

 

ก็เหมือนกับ เราปลูกข้าวได้เราก็ควรซื้อข้าวกินในราคาของเรา (ที่จริงๆบริษัทขายข้าวก็กำไรพอสมควร)แต่เราเห็นราคาตลาดโลกสูง เลยบังคับให้คนไทยต้องซื้อข้าวกินในราคาตลาดโลกน่ะครับ (เพื่อชดเชยขาดทุนกำไรที่ไม่ได้ขายในตลาดโลกน่ะครับ)

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 01/07/2008 07:03:35


ความคิดเห็นที่ 20


เรียนคุณสกายแมนครับผมสงสัยอยู่อย่างหนึ่งคือน้ำมันรวมก๊าซที่ขุดขึ้นในประเทศไทยเราเขาส่งออกหมดเลยหรือโดยเฉพาะน้ำมันตกลงมันหายไปไหนครับบ่อน้ำมันบ้านเรามีตั้งหลายบ่อทั้งอ่าวไทยและบนดินไม่รู้กี่สิบบ่อมันหายไปไหนหมดคนไทยเราไม่มีสิทธิใช้ของๆๆเราหรือ
โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 01/07/2008 07:28:45


ความคิดเห็นที่ 21


เรียนคุณ ttrc

น้ำมันจากอ่าวไทยเราก็เอามาใช้ครับ แต่ที่เรามีไม่พอความต้องการต่อวัน เราจึงต้องนำเข้าครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/07/2008 08:04:26


ความคิดเห็นที่ 22


....ขอบ่นหน่อยครับ เกี่ยวกับ เอ็นจีวีเนี้ย

.....ของไม่เกี่ยวกับปตท.ส่งออกอ่ะครับ แต่มันเกี่ยวกับการที่ปตท.หนุนให้มีการใช้ เอ็นจีวี แต่ปั๊มไม่พอเพียง  แถมระบบการส่งล่าช้า รอที2-3ช.ม.บางทีครึ่งวันครับ รถที่อู่โดนกันเป็นแถว ในเส้นเพรชเกษม  ปริมาณการจ่ายแค่รถสิบล้อ2คัน เจ้าของปั๊มที่อู่เอารถไปทดสอบบ่อยๆบอกว่า บางปั๊มถ้าไม่ใช่ในเครือ ปตท.ไม่จ่ายแก๊สเอ็นจีวีให้ หรือส่งให้น้อยครับ

.....แถวปริมาณการใช้ของรถ เม-พัดลม ในเขตกรุงเทพนั้น ปั๊มแก๊สเอ็นจีวีต้องใช้ร่วมกัน ซึ่งไม่มีปั๊มประจำอู่ทำให้ รถเม ที่เข้าเติมช่วงเช้ามืด พาแก๊สไปเกือบหมด บางทีสายๆก็หมดแล้วด้วยซ้ำส่งผลต่อคนขับแท็คซี่-คนทำงานอ่ะครับ  รถเม-หัวรถลาก สิบล้อนั้นปริมาณใช้แก๊ส ถึง4-8ใบหรืออาจจะถึง10ใบขนาด 145ลิตรนั้น  ทำให้คนที่เข้าคิวต่อจากรถใหญ่นั้นต้องลุ้นกันว่าจะหมดหรือไม่  ผมเองเคยนำรถที่อู่ไปทดสอบการเติมแก๊สเอ็นจีวี แก๊สหมดบ่าย2 รถแก๊สแจ้งว่าจะเข้าราวๆบ่าย3 มาจริงๆ1ทุ่ม(ปั๊มแก๊สเส้นตัดจากพุทธมณฑลสาย4ไปกระทุ่มแบน )ซึ่งเป็นปั๊มใหญ่  รถแท็คซี่รอนับ10คันด้วยซ้ำไป และยังเกิดขึ้นอยู่จนทุกวันนี้ 

.........หนักมากสำหรับ คนขับแท็คซี่เช่า ซึ่งรับรถเป็นกะ หากรอถึง1-2ช.ม.ก็ไม่มีเวลาพอในการขับรถรับคน ผลที่ได้ขาดทุนครับ เพราะไม่มีเงินไปส่งรถ  รถขนส่ง ส่งของให้ลูกค้าก็รอไม่ได้เช่นกัน  หากเทียบกับคนทำงานหรือคนที่ไม่ได้วิ่งรถต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าหากปั๊มยังน้อยการขนส่งล่าช้า คนทำอาชีพที่ต้องเดินรถต่อเนื่องนับว่าไม่คุ้มมากๆเลยล่ะครับ

.....จึงทำให้คนส่วนใหญ่หันไปใช้แอลพีจีซะมาก ซึ่งปั๊มก็มาก ปริมาณเติมก็ไม่แย่ รับรถ จ่ายแก๊สได้ทั่วถึงกว่า   แต่ทำไมราคาแก๊สมันกระโดดหลายบาท  หากราคาแพงขึ้นแก๊สแอลพีจีที่ว่าคุ้มมันจะกลายเป็นแพงกว่าน้ำมันซะอีก หากนำไปใช้วิ่งในระยะทางไกล หรือเดินรถนานๆ ครับ แอลพีจี สามารถใช้แก๊สโดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันเลี้ยง เอ็นจีวีต้องเติมน้ำมันเลี้ยงเครื่องในรอบเดินเบาคู่กับการใช้แก๊ส ความคุ้มค่ามันเลยต่างกัน อย่างน้อยก็เวลาใช้งานล่ะครับ

.....ผลกระทบราคาแอลพีจี มันเลยเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานรากหญ้า/เดินรถ ขนส่งอย่างเลี่ยงไม่ได้เลยล่ะครับ


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 01/07/2008 08:24:51


ความคิดเห็นที่ 23


สมบัติเป็นของคนทุกคนครับ

ปตท. พลังไทยเพื่อใคร ?
โดยคุณ c_hai เมื่อวันที่ 01/07/2008 08:38:36


ความคิดเห็นที่ 24


 

 

โดยคุณ marineen เมื่อวันที่ 01/07/2008 10:15:19


ความคิดเห็นที่ 25


เห็นความเห็นแรกนึกว่าจะออกการเมืองกันซะแล้ว เหอะๆ

สำหรับผมทุกวันนี้ยังไม่คิดจะเปลี่ยนไปเป็น แก็ซทั้งสองอย่าง LPG ก็ยังไม่แน่นอนในอนาคต�

NGV ทั้งจังหวัดมีปั้มเดียว แล้วมันจะไปเหลืออะไร�

ผมก็คิดเหมือนท่านอื่นๆ สนับสนุน NGV เหลือเกิน แต่ไม่เหมือนจะไม่สนใจเลยว่ามันมีปั้มไม่พอ แก็ซไม่พอ ไม่เข้าใจ

อีกเรื่องหนึ่งสงสัยมากๆ ถึงมากที่สุด รถไฟฟ้ามันทำได้ตั้งนานแล้ว ดูสารคดีก็เห็นว่ามันพัฒนาไปมากไอ้ข้อจำกัดเรื่องแบตใหญ่ แบตหนัก แรงไม่พอมันก็หายไปแล้ว มหาวิทยาลัยบางแห่งมีศักยภาพสูงพอที่จะทำได้หรือพัฒนา Project นักศึกษาบางที่ยังมีเลย หรือกองทัพก็มีใช้ผลิดเองได้ ทำไมมันไม่มีขายให้ประชาชนซักทีมันหายไปไหนหมด ไม่เข้าใจที่สุด

โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 01/07/2008 11:02:53


ความคิดเห็นที่ 26


นำมาให้อ่านครับ เนื้อหาน่าจะเกี่ยวข้องกันได้( อ่านแล้วปาดเหงื่อ) ไปไหนมาไหนลำบากขึ้นอีก

โลว์คอสต์รวมหัว จับมือกำหนดราคากลางค่าธรรมเนียมภาษีน้ำมัน โขกผู้โดยสารที่นั่งละ 1,200-1,500 บาท มีผลแล้ววันนี้ อ้างป้องกันปัญหาตายหมู่ เหตุราคาน้ำมันปรับขึ้นรายวัน แต่ธุรกิจแข่งขันสูง เกิดสงครามราคาหั่นค่าตั๋วต่ำกว่าทุน
      
       นายอุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่สายการบินวัน ทู โก ผู้ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) เปิดเผยว่า ได้จับมือกับสายการบินโลว์คอสต์อีก 2 ราย คือ ไทยแอร์เอเชีย และ นกแอร์  ตั้งราคากลางค่าธรรมเนียมภาษีน้ำมันร่วมกัน คือ ประมาณ 1,200-1,500 บาท ต่อที่นั่ง โดยประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้ เป็นต้นไป  
      
       ทั้งนี้ เพราะต้องการแก้ปัญหาต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และเป็นการป้องกันการแข่งขันด้านราคาในหมู่ผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน ทำให้ราคาตั๋วที่จำหน่วยไม่ตรงกับต้นทุนที่แท้จริง
      
       “เบื้องต้น วันทูโก และ นกแอร์ จะเริ่มใช้ราคากลางตั้งแต่วันนี้เลย แต่ไทยแอร์เอเชียอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบ คาดว่า จะเริ่มใช้ราคากลางได้ภายในเดือนนี้เช่นกัน”
      
       สำหรับการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในสถานการณ์เช่นนี้ วัน ทู โก ใช้กลยุทธ์ปรับลดเที่ยวบินลง 15-20% ให้สอดคล้องกับปริมาณของลูกค้าที่ใช้บริการ
      
       ทางด้าน นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าบริหาร  สายการบินนกแอร์  กล่าวว่า นกแอร์ จะทยอยปรับค่าธรรมเนียมภาษีน้ำมัน จาก 750 บาท ต่อที่นั่ง เป็น 950 บาทต่อที่นั่ง ซึ่งเป็นราคาที่เท่ากับสายการบินไทย จากนั้นจะค่อยปรับขึ้นให้เต็มวงเงินที่จับมือกันไว้กับกลุ่มผู้ประกอบการโลว์คอสต์ คือ 1,200-1,500 บาทต่อที่นั่ง คาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ผู้โดยสารเริ่มปรับตัวเช่นกัน ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารของนกแอร์แพงขึ้นราว 15%
      
       นายทัศพล แบเลเว็ล์ด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทย แอร์ เอเชีย กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาที่จะนำข้อตกลงกับกลุ่มสายการบินโลว์คอสต์มาดำเนินการ ซึ่งปัจจุบัน ไทยแอร์เอเชีย เก็บค่าธรรมเนียมภาษีน้ำมันอยู่ที่ 550 บาทต่อที่นั่ง บวกกับการเก็บค่าสัมภาระที่ผู้โดยสารจะโหลดเข้าใต้ท้องเครื่อง

จาก

http://www.hflight.net/forum/m-1214893080/

และอันนี้ออกแนวประชดแบฮาๆครับ คนแต่งเก่งมากๆ

นิราศ รักสามเศร้า.....

โอ้โลกนี้ทำไมหนอช่างร้ายนัก              สุดจะหักห้ามใจให้ฉงน
อันข้าวยากหมากแพงทั่วทุกตัวคน         คล้ายอับจนค่นแค้นระแหงตาย
คนบินนี้หาได้มีข้อยกเว้น                      เจอพิษรักลับซ่อนเร้นน่าใจหาย
มีแต่ทุกข์สุขมิสมช่วยผ่อนคลาย            เหนื่อยแทบตายวายชีวีฤดีดล

จึงบังเกิดกติกาแห่งสามศักดิ์                 ด้วยจิตบริรักษ์ภักดิผล
จำต้องสู้ก่อนสิ้นลมในบัดดล                 แสนทานทนปนน้ำตาฟ้าประทาน
ปรับทัพสู้ถึงจะรู้ว่าแสนยาก                   ถึงลำบากตรากตรำกรำหยาดฝน
ต้องหยัดสู้อยู่ยั้งเพื่อยืนยง                     ขอท่านจงตรองให้หนักจักเข้าใจ

หนึ่งคือนกปกฟ้ามหาสัตย์                    หนึ่งคือรักของหางแดงแจ้งประสงค์
วันทูโกสยมฟ้านภาพล                         รวมกมลคนบินสู้กู้ชีวา
จึงใตร่ตรองครองเหตผลระคนคิด         เกิดจริตประสิทธิ์รู้มิขาดหาย
ได้การนี้จำเร่งรี่ก่อนชีพวาย                 ป่าวกระจายหายคลางแคลงแถลงการณ์

ขอเถิดพ่อ แม่ผองไทยใจบริสุทธิ์          อย่าเพิ่งทรุดฟังข้าก่อนตรองเหตุผล
ขอพันสองถึงพันห้าค่าน้ำนม               ข่มน้ำมันสั่นสะท้านทะยานไกล
เพลานี้พวกข้ามีแต่เจ้า                         เพียงสองเราเฝ้าหมายปองต้องประสงค์
ข้าเข้าใจในความจริงของทุกคน           ถึงอัปจนจักฝ่าฟันพ้นโศรกภัย

นับแต่นี้คงไม่มีแล้วเพื่อนข้า                 ปีกหรรษาราคาเยาว์เศร้าโศรกสันต์
อีกกี่ค่ำย่ำกี่คืนมิรู้วัน                            พิษภัยนั้นจะมลายหายสิ้นไป
ขึ้นครั้งนี้ล้วนมีความจำเป็น                  หาหลีกเร้นเฟ้นกำไรให้กระเป๋า
เนื่องปัญหาค่าน้ำมันมิอาจดูเบา           ขอนอบเน้าเถิดผองละอองไทย

จาก
http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E6757160/E6757160.html
ครับ
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 01/07/2008 11:44:11


ความคิดเห็นที่ 27


อย่างที่คุณ MIG31 พูดมาตรงประเด็นที่สุดเลยครับ ...... รัฐควรต้องไล่บี้ปตท.ให้สร้างสถานีเร็วกว่านี้ รวมถึงการขึ้นราคา LPG ที่ต้องขึ้นวันนี้แต่รัฐเลื่อนออกไปก่อนนั้น ก็ควรจะเลือ่นออกไปจนกว่า NGV จะพร้อม ไปถึงสิ้นปีเลยก็ได้ เงินแค่ไม่กี่พันล้าน ช่างมันก่อนเถอะ ถ้าเร่งรัดทั้ง ๆ ที่ยังไม่พร้อม ประชาชนที่เดือนร้อนตายแน่ ๆ

ปล. ใครบางคนทำหน้ามุ่ยทำไม


โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/07/2008 12:33:02


ความคิดเห็นที่ 28


 ที่โรงงานกำลังจะนำรถส่วนกลางไปติดแก๊ส หากไม่มีแก๊สเติมหรือไม่พอเกิดการแย่งชิง

โรงงานก็แย่สิค่ะ ขนส่งยังไงหล่ะ....เหม่งมิต้องปั่นจักยานส่งของรึ !!

โดยคุณ marineen เมื่อวันที่ 01/07/2008 20:03:12


ความคิดเห็นที่ 29


ไร้ดิ้ง เดอะ ไบ้ซิเคิ้ล. ดี้ส อี้ส อะ เวรี่ กู๊ด ไอเดีย อินดี๊ด. มอ คอส เอฟเฟกเชี่ยน แอ่น อิโคนิมิกคอล. ยู แคน เซ กู๊ดบาย ทู พีทีที.


โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/07/2008 20:27:38


ความคิดเห็นที่ 30


                      ข้อมูลในเวปของก.พลังงาน ในรูปตารางDemand and Supply of LPG  รวมทั้งข้อมูลการนำเข้าและส่งออกแกสLPG เมื่อ 2 วันก่อนยังเปิดอ่านอยู่เลยวันนี้หายไปไหน ใครลบออก มีจุดประสงค์เพื่ออะไร หรือ ก.พลังงานมีส่วนได้เสียกับปตท.(ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง..............)
โดยคุณ แมวน้ำ เมื่อวันที่ 02/07/2008 03:56:08


ความคิดเห็นที่ 31


กำลังศึกษาเรื่องรถไฟฟ้าและไฮบริดอยู่ครับ เพราะที่เมืองนอกใช้กันมากมีชุกคิทสำหรับดัดแปลงรถด้วยครับ อีกอย่างถ้าใครจะซื้อรถใหม่ให้รอ toyota camry hybrid ที่จะผลิตในประเทศไทยออกมา อีกอย่างที่ประเทศอังกฤษมีการใช้รถไฟฟ้าอย่างกว้างขวางน่าสนใจมาก
ผมส่งรูปมาให้ดูเพราะที่อังกฤษสนับสนุนกันเป็นเรื่องเป็นราวครับ ผมขอพึ่งตัวเองดีกว่า เพราะเดี่ยวนี้ค่าติดตั้ง lpg และ  ngv แพงกว่าแต่ก่อนมาก สมัยก่อนรถผมติดแค่ 18,000 เองเดี่ยวนี้เพิ่มเยอะมาก
http://www.goingreen.co.uk/store/
http://www.nicecarcompany.co.uk/home.html
โดยคุณ nata เมื่อวันที่ 02/07/2008 05:39:09


ความคิดเห็นที่ 32


ร่วมแจมด้วยครับ


ข้อแรกผมเห็นด้วยกับการแปรสภาพ ปตท เป็นบริษัท เอกชน ที่ถือ
หุ้นใหญ่โดยรัฐบาล � � �หากเพื่อนๆเคยทำงาน โปรเจ็คกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแล้วท่านจะรู้เลยว่าความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการทำงานพร้อมทั้งการตัดสินใจที่รวดเร็วนั้นจำเป็นแค่ไหนสำหรับการดำเนินธุรกิจ

หากปตท ยังเป็นแบบเดิมอยู่วันนี้เราคงยังไม่เห็น ปตท สพ ออกไปรับสัมปทานงานขุดเจาะ ในต่างประเทศ�

เราคงไม่เห็นการขยายงานในด้านต่างๆ เช่นอุตสาหกรรม เคมี เม็คพลาสติก

แหล่งน้ำมันหรือก็าซธรรมชาติใหม่ในอ่าวไทย หรือบริเวณที่่ทับซ้อน ก็คงเป็นของบริษัทอย่าง เชฟรอน หรือ เอกซอน เหมือนที่เราเคยบ่นกันเหมือนก่อนนี้

อย่างไรก็ดีผมมอง ปตท ว่าเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่มีหน้าที่มากกว่าการทำกำไรสูงสุด และส่งผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น ��

แต่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และประเทศด้วย

เพราะต้นทุนเดิมของ ปตท มาจากภาษีของประชาชนชาวไทยทุกคน

ผมไม่อยากให้มีการอุดหนุนราคาน้ำมันโดยใช้ผลกำไรของ ปตท จน ทำให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างไร้การวางแผนเหมือนที่ผ่านมา � �

ผมอยากให้ ปตท ทำอย่าง ปิโตนาส ที่นำผลกำไรของบริษัทมาลุงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ �ร่วมกับรัฐบาล �อย่างที่ต่างประเทศเขาเรียกกันว่า �PPP � �การลุงทุนในภาคนี้ต้องการเม็คเงินการลุงทุนสูง ในขณะที่ผลประกอบการจะตำ่และใช้เวลากว่า สิบปีจึงจะคุ้มทุน�

ผมมองไม่เห็นบริษัทอื่่่่นใดในประเทศที่มีศักยภาพดีเท่า ปตท ��

เพียงเท่านี้สังคมก็จะเข้าใจและภูมิใจกับ ปตท อย่างไม่ต้องสงสัย

เสียดาย ที่ผู้บริหาร ปตท วันนี้สายตาสั้นเหลือเกินในเรื่องของ ความรับผิดชอบต่อสังคม และ ประเทศชาติ





��


โดยคุณ นายฮ้อยทมิฬ เมื่อวันที่ 02/07/2008 11:31:20