หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สองข่าวชวนวิเคราะห์: P-8 แทน P-3T? และ Noman NG แทน Nomad

โดยคุณ : Skyman เมื่อวันที่ : 23/06/2008 17:03:57

เงียบเหลือเกินช่วงนี้ เลยขอมาตั้งกระทู้ดันบอร์ดให้สมาชิกชวนวิเคราะห์หน่อยครับ

มีสองข่าวในช่วงเวลาที่ไล่ ๆ กันครับ ขอบอกว่าทั้งสองข่าวไม่ใช่สัญญาณว่าไทยจะซื้อเครื่องทั้งสองแบบนะครับ เป็นเพียงความคาดหวังของผู้ผลิตที่อยากจะเสอนเครื่องบินของตนทั้งสองแบบให้ผู้ใช้เดิมพิจารณา

- บริษัท Gipplsand Aeronautics ของออสเตรเลียได้ซื้อลิขสิทธิ์ในการผลิตเครื่องบิน N24A Nomad จาก Boeing Australia ซึ่งซื้อกิจการ Rockwell Australia ที่เคยซื้อกิจการของ Government Aircraft Factory (GAF) ผู้ผลิต Nomad ไป (หลายช่วงจริง ๆ วู้ย) ตามข่าวกล่าวว่า Nomad ซึ่งปิดสายการผลิตไปในปี 1984 นั้นขายได้ทั้งหมด 170 ลำ และในปัจจุบันยังมีทำการบินได้ 54 ลำครับ โดย Gipplsand Aeronautics จะนำแบบแผนไปปรับปรุงใหม่เช่นเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น Rolls-Royce 250B17F II, ห้องนักบิน Glass Cockpit, ใบพัดแบบใหม่, และ เทคโนโลยีแบ็ตเตอร์รี่ใหม่เพื่อลดน้ำหนักเครื่อง รวมถึงเพิ่มความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัยในตัวเครื่องบิน และให้ชื่อว่า Next-Generation Nomad เครื่องบินลำแรกน่าจะพร้อมส่งมอบได้ในปี 2010 และคาดหวังยอดขายถึง 400 ลำในอีก 10 ปีข้างหน้าครับ

- อีกข่าวหนึ่งคือ Boeing ออกมาคาดการลูกค้าในอนาคตของเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8 ว่าน่าจะมีประเทศที่สนใจจัดหาถึง 14 ประเทศ รวมยอดขายกว่า 100 ลำ ซึ่งประเทศเป้าหมายล้วนเป็นประเทศที่กำลังให้ความสนใจ P-8 ในขณะนี้ หรือเป็นประเทศที่มีเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลแบบ P-3 หรือใกล้เคียงประจำการซึ่งน่าจะปลดประจำการในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยประเทศเหล่านั้นมี อาร์เจนติน่า, ออสเตรเลีย, แคนนาดา, ชิลี, กรีซ, อินเดีย, อิตาลี, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, ปากีสถาน, โปรตุเกส, เกาหลีใต้, สเปน, และไทย โดยตอนนี้กำลังเจรจาขาย P-8A จำนวน 8 ลำให้อินเดียอยู่ครับ

ในเมื่อเจ้า Nomad เราก็แก่มากแล้ว และ P-3T ของเราในอนาคตอีก 10 - 15 ปีก็คงต้องปลดประจำการ ฉะนั้น อยากเชิญชวนทุกท่านวิเคราะห์ว่า ถ้าสองบริษัทนี้เสนอ Nomad NG และ P-8 ทดแทน Nomad ของทอ. และ P-3T ของทร. สมควรที่ทั้งสองเหล่าทัพจัดหามาหรือไม่? วิเคราะห์ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ครับ

1. ความจำเป็นในแง่ยุทธการ
2. ความคุ้มค่าในการจัดหาทดแทน
3. งบประมาณที่ต้องเสียไป
4. ถ้าไม่เห็นด้วยกับเครื่อง 2 แบบนี้ อยากให้เปลี่ยนเป็นรุ่นไหน
5. ถ้าไม่จัดหามาทดแทนเลย (คือปลด Nomad และ P-3T พร้อมยุบอัตราทิ้งไป) จะเหมาะสมกว่าหรือไม่?

ขอเชิญทุกท่านละเลงได้เลยครับ

emoemoemo





ความคิดเห็นที่ 1


DATE:18/06/08
SOURCE:Flight International
Gipplsand Aeronautics to restart production of upgraded Nomad aircraft
By Emma Kelly
 
Australian general aviation manufacturer Gippsland Aeronautics has purchased the certificate of type for the Nomad aircraft from Boeing Australia and is in negotiations with potential partners to restart production of an upgraded version, dubbed the next-generation Nomad.

The Nomad is a twin-turboprop, high-wing, short-field takeoff and landing aircraft that was designed and produced by the former Australian Government Aircraft Factory (GAF) in the late 1960s.

The aircraft was designed as a multi-role transport aircraft for civil and military use, with the short-fuselage N22 carrying 13 passengers and the long-fuselage N24 seating 17 passengers.

The first prototypes flew in 1971 and around 170 aircraft were built before production ceased in 1984 after safety concerns following numerous crashes that resulted in 56 deaths. A total of 54 Nomads are still flying, many operating with armed forces in South-East Asia.

Gippsland’s plans only include the N24A version, which would be fitted with Rolls-Royce 250B17F II engines, a glass cockpit and new lightweight propellers from Hartzell that would offer better performance and efficiency, and a weight-saving programme including new technology batteries to reduce basic empty weight, says Gary Wight, Gippsland chairman. He says: “There are no outstanding airworthiness issues with the Nomad.”

The first aircraft would be available in late 2010, with the manufacturer already securing letters of intent from two Australian operators. Independent research commissioned by Gippsland suggests global demand could exceed 400 aircraft in the next 10 years, with most demand expected from Asia.

“We are convinced that a viable niche market exists for this aircraft as there is no other twin-engined aircraft in this class available anywhere,” says Wight, adding that the Twin Otter and Dornier 228 are both larger aircraft with significantly higher purchase and operating costs.

Gippsland has yet to decide whether to rename it an Airvan, says Wight, but the aircraft is complementary to the successful GA8 Airvan utility aircraft.

Both are versatile, offer easy loading of passengers and freight, designed for short-haul and remote-area operations, have excellent semi-prepared airstrip capability and offer good fuel efficiency, according to Wight.

Until now Boeing Australia has provided support services for the fleet and type certificate management, inherited through its purchase of Rockwell Australia, which had previously acquired Aerospace Technologies of Australia (formerly GAF).

Gippsland has purchased certification authority for the type for an undisclosed figure, with the certificate of type due to be handed over this week.

The purchase includes technical and spares support and all intellectual property.

http://www.flightglobal.com/articles/2008/06/18/224585/gipplsand-aeronautics-to-restart-production-of-upgraded-nomad-aircraft.html

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 18/06/2008 23:31:32


ความคิดเห็นที่ 2


DATE:18/06/08
SOURCE:Flight International
Boeing identifies 14 nations for P-8A exports
By Andrew Doyle
Boeing sees an export market for about 100 P-8 derivatives with countries that operate the Lockheed P-3 Orion or similar aircraft and are looking for a long-range maritime patrol, maybe multi-mission, intelligence, surveillance and reconnaissance-capable platform, says Egan Greenstein, the companys senior manager P-8A business development.

Some were talking to directly, some were talking to in support of the US Navys foreign military sales, but there are about 14 countries that are interested or have a current capability that they need to replace in the next 10 years, he says. The target nations are Argentina, Australia, Canada, Chile, Greece, India, Italy, New Zealand, Norway, Pakistan, Portugal, South Korea, Spain and Thailand.

Boeing is negotiating a direct commercial sale of eight P-8As to India to meet its requirement for an interim long-range maritime reconnaisance and anti-submarine warfare aircraft.

http://www.flightglobal.com/articles/2008/06/18/224764/boeing-identifies-14-nations-for-p-8a-exports.html

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 18/06/2008 23:32:09


ความคิดเห็นที่ 3


http://img73.imageshack.us/img73/4016/gph3a18300rl9.jpg
โดยคุณ tantongs เมื่อวันที่ 19/06/2008 01:39:29


ความคิดเห็นที่ 4


ในส่วนของ บ.ลำเลียงขึ้นลงระยะสั้นขนาดเดียวกับ Nomad นี้ในตลาดเครื่องบินปัจจุบันก็ยังมี บ.คุณสมบัติใกล้เคียงกันอีกหลายแบบครับเช่น PZL M-28 Skytruck ที่มีหลายท่านเสนอเป็นต้น ซึ่งก็ไม่ทราบว่าในอนาคตนั้นกองทัพอากาศยังจำเป็นต้องการ บ.ลักษณะนี้เพื่อใช้ในงานปฏิบัติการพิเศษตามภารกิจของ Nomad หรือไม่นะครับ แต่ถ้าใช้ในงานด้านธุรการหรือฝนเทียมส่วนตัวคิดว่าดูไม่จำเป็นนักครับ

การจัดหา บ.ลาดตระเวน P-8 เพื่อแทน P-3T นั้นเป็นโครงการระยะยาวในช่วง 10-15 ปีข้างหน้าครับ เพราะ P-3T ก็ กบร.เองก็เพิ่งจะผ่านการ Upgrade มาไม่นานซึ่งคาดว่าน่าจะประจำการในกองทัพเรือนานกว่านั้นครับ ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงการจัดหา P-8A คือเรื่องงบประมาณในการจัดหาและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการครับ P-8 Poseidon นั้นมีแบบแผนมาจาก บ.Boeing 737 ซึ่งเป็น บ.Jet 2เครื่องยนตร์ขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการบินสูงกว่า บ.ใบพัดอยู่ครับ นอกจากราคารวมของระบบที่สูงแล้วถ้ารวมกับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการบินกองทัพเรืออาจจะเห็นว่าสูงเกินไปจนไม่คุ้มที่จะจัดหาก็ได้ครับ ถ้าเทียบกับการจัดหา บ.ลาดตระเวนแบบอื่นที่ใช้แบบแผนที่มีขนาดเล็กกว่าและประหยัดค่าใช้จ่ายในการบินมากว่าครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพงบประมาณและยุทธศาตร์ของกองทัพเรือในอนาคตครับว่าต้องการ บ.ลาดตระเวนขนาดใหญ่บินได้ไกลๆนานๆหรือไม่ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/06/2008 02:25:11


ความคิดเห็นที่ 5


เมื่อดู บ. ที่จะทดแทน N-24A Nomad ผมให้น้ำหนักไปที่ Dornier Do-228-212 แบบรุ่นลำเลียงธรรมดา  ที่สังเกตุว่า ปัจจุบัน ทร. มีความพึงพอใจ บ. นี้ อยู่พอสมควร.....

ส่วน P-8 ผมว่า น่าจะหรูไป สำหรับ ทร. ในส่วน P-3T ก็ได้มาอย่าง ลูกฟรุ๊ค ที่ สหรัฐ เปิดขายถูกให้กับมิตรประเทศ ในช่วงเศรษฐกิจโลก ซบเซา...ซึ่งถ้า สหรัฐ ไม่มี Promotion ตอนนั้น...ปัจจุบัน ทร. อาจจะยังใช้ S-2F รุ่น อัพเกรด แบบ ทร.ไตหวัน อยู่ก็ได้ครับ....ผมจึงยังมองไปในอนาคตข้างหน้าว่า ทร. คงจะยังจัดหา บ.ตระกูล P-3 มาประจำการต่อไป... 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/06/2008 05:05:18


ความคิดเห็นที่ 6


เครื่องบินตรวจการทางทะเล สำหรับผมคิดว่ายังคงต้องมีต่อไป หลังจากที่ P-3T ปลดประจำการ เครื่องที่จะมาทดแทนผมคาดว่าน่าจะหนักไปทางเครื่อง P-3C อาจจะเป็นมือสองแต่มีการปรับปรุง ส่วน P-8 นั้นอาจจะอยู่ในข่ายความสนใจเท่านั้น
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 19/06/2008 06:00:44


ความคิดเห็นที่ 7


ป๋า juldas ครับ Do-228 นั้นมันเลิกผลิตไปแล้วอ่ะครับ เท่าที่จำได้เครื่องที่ 7 ที่ ทร. ได้รับไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้ก็เป็นของมือ 2 ครับ เข้าใจว่า ทร. น่าจะพยายามใช้งานเพื่อเกลี่ย ชม.บิน ให้ทั้ง 7 เครื่องปลดฯ พร้อมๆ กัน

Nomad-NG เห็นตามที่ท่าน AAG_th1 ว่าล่ะครับ คือ ทอ. ยังต้องการ บ.ปฏิบัติภารกิจพิเศษใน class นี้อยู่อีกหรือไม่ ปัจจุบันสนามบินต่างๆ ในประเทศนั้นน่าจะรองรับ บล. ขนาดกลางถึงใหญ่ได้ การจัดหา บล. STOL ที่มีระวางบรรทุกไม่มาก (คือ ไม่สามารถรองรับยานยนต์ หรือยุทโปกรณ์ขนาดใหญ่ได้ เน้นไปที่กำลังทหารกับสินค้าขนาดเล็กๆ เท่านั้น) จะคุ้มค่าหรือเปล่า เมื่อเทียบกับการจัดหา บล. STOL ขนาดกลาง อย่าง CN-295 หรือ C-27J ถ้ามองว่าจะใช้ บ.เหล่านี้อุดช่องว่างของ C-130 ที่บางครั้งใช้งานไม่คุ้มค่าอย่างที่ควร

กลับมาที่ P-8A ปัญหาใหญ่ๆ น่าจะอยู่ตรงที่ราคาและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการล่ะครับ ทร.จะไหวหรือไม่ ถ้าจะมี P-8A ซัก 3 เครื่อง ในอีก 15 ปีข้างหน้า หรือ ทร. จะไปเอา P-3C มือสองมาใช้งาน แต่ในอีก 15 ปีนั้น P-3C จะยังพร้อมสำหรับภัยคุกคามหรือไม่ และยังมีใครใช้งานอยู่อีกหรือไม่ กลัวจะเข้าอาการเดียวกับ AV-8S และ A-7C ที่ถึงแม้ว่าจะถูกแต่ไม่คุ้ม แต่ดูจากการจัดซื้ออากาศยานของ กบร. ในช่วงหลังๆ นี้เน้นไปที่ของใหม่เอี่ยมรุ่นล่าสุด ไม่ว่าจะเป็น SuperLynx-300 หรือ MH-60S (ใหม่ขนาดที่ประเทศอื่นๆ ยังไม่มีใครใช้ ยกเว้นผู้ผลิตอย่างนี้เป็นต้น) เราอาจจะได้เห็น P-8A ก็เป็นได้ครับ

เดาล้วนๆ ครับ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 19/06/2008 08:40:55


ความคิดเห็นที่ 8


P-8 ผมว่ามันสิ้นเปลืองเกินไปครับบ้านเราอณาเขตน่าน้ำไม่ได้กว้างมากมายนัก การ upgrade P-3T น่าจะคุ้มค่ามากกว่าครับแต่ผมอยากให้มัน upgrade มากกว่านี้ เช่นเครื่องยนต์ใหม่บัดพัดใหม่ ระบบตรวจจับ โซนาร์ เป็นต้น แต่เห็นราคาน้ำมันกับเศรษฐกิจการเมืองบ้านเราคิดว่าโครงการต่างๆคงจะชลอไปอีกนาน~~~~~~~~~~~~~~!!!!!!!!!!!!!

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 19/06/2008 09:49:38


ความคิดเห็นที่ 9


เรื่องที่1 เครื่องที่จะมาแทนนอแมดผมว่าอย่างที่หลายๆท่านกล่าวไปแล้วว่าคือปัจจุบัน ท.อ.ยังต้องการใช้บ.ประเภทนี้อยู่หรือไม่ ถ้าไม่ก็หมดสิทธิ์เกิดเลย แต่ถ้ายังต้องการอยู่ ผมว่าดีนะเพราะเราเคยใช้อย่างน้อยก็ยังง่ายต่อความคุ้นเคย(ถึงแม้จะสร้างใหม่หมดก็ตาม) ส่วนตัวผมอยากให้ ท.อ.คงสถานะเครื่องประเภทนี้ไว้ครับ

เรื่องที่2 P-8 ผมว่าคงเกิดยากใน ท.ร. แน่ๆ(แต่อาจจะเป็นไปได้ในอนาคต) สำหรับความคิดผมนะปัจจัยสำคัญคือ ท.ร.คงไม่มีงบซื้อ และท.ร.คงให้ความสำคัญกับกองกำลังทางเรือมากกว่า และปัจจุบัน ท.ร.ก็มีเครื่องบินมากแบบ(แต่จำนวนน้อยในแต่ละรุ่น)ผมว่าจะเป็นการยากต่อการซ่อมบำรุงดูแลนะ กันก็ต้องคอยดูกันต่อไป

จริงๆแล้วผมอยากในกองทัพไทยดูแบบอย่างออสเตเรียบ้างนะครับ กองทัพเค้าใช้เครื่องที่ทุกเหล่ามีเหมือนๆกันจะได้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง ไม่ใช่มซื้อมาแค่ 1-2 ลำ แต่มีหลายแบบ บอกตรงว่ามันดูแลอยากครับ...

โดยคุณ area88 เมื่อวันที่ 21/06/2008 05:52:53


ความคิดเห็นที่ 10


พวกธุรการ ลำเลียงขนาดเล็กอย่างNormadยังอยากให้มี
ส่วนเป็นตัวไหน ถ้าเป็นแบบเดียวกับที่ใช้โยสารในประเทศ
เพื่อแชร์อะไหล่กัน?

P-8 Posidon เหมือนเครื่องมือจับปลา ในทะเลลึก
ขณะที่เรายังใช้เบ็ดตกปลาริมฝั่ง อยู่
ถ้าเราไม่ได้คิดที่จะเป็น Blue Navy ผมว่า P-8 ดูจะเกินตัว
คราวนี้ถ้ามีผลประโยชน์ และนโบาย
 ก็คงต้องให้มีเรือรบให้พอที่จะ Blue Navy เต็มรูปแบบ
และเมื่อย่านนี้ Su-27/30 เป็น บ.ยอดนิยม
คงต้องจัด Su-3x ให้กองบินทหารเรือด้วย
ขอเต็มฝูงเพื่อ คุ้มกัน P-8 Posidon เรือ และผลประโยชน์

คราวนี้ถ้าไม่ P-8 Posidon
มีระบบที่วางบน Embauer 145 อย่างเดียวกับของ Erieys ?
ถ้าชอบใบพัดและไม่กลัวการแปลง
ลองเอา บ.ที่ใช้ทำ E-2C+ Hawkeyes
มาติดระบบลาดตระเวณทางทะเล และต่อต้านเรือดำน้ำ ?
หรือหาระบบ MP/ASW บน UAV


 

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 23/06/2008 06:03:58