CARAT INFORMATION |
ประวัติการฝึกผสมระหว่างกองทัพเรือไทย กับกองกำลังสหรัฐอเมริกาภายใต้รหัสการฝึก CARAT 2008 หรือ Co-Operation Afloat Readiness and Training 2008 ซึ่งการฝึกดังกล่าว สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่มตามโครงการฝึกผสมในลักษณะทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามช่วงเวลาที่ เหมาะสม และใช้ชื่อการฝึกที่เหมือนกันคือ CARAT ตามด้วยปี ค.ศ. เช่น ในปีนี้จะใช้ชื่อการฝึกว่า CARAT 2008 เป็นต้น โดยจะเน้นหนักในการปฏิบัติการ ทางเรือในทุกสาขา การฝึกผสม CARAT ระหว่างกองทัพเรือไทยกับกองกำลังฝ่ายสหรัฐ ฯ เริ่มทำการฝึกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการฝึกในครั้งนี้นับเป็นการฝึกครั้งที่ ๑๔ โดย กองเรือฟริเกตที่ ๑ และ กองเรือฟริเกตที่ ๒ กองเรือยุทธการ จะสลับผลัดเปลี่ยนกันเป็นหน่วยรับผิดชอบการฝึก
วัตถุประสงค์การฝึกผสม CARAT มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เพิ่มพูนทักษะ ความชำนาญ ขีดความสามารถและประสิทธิภาพขององค์บุคคล และองค์ ยุทธวิธีในการวางแผน และการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างกองทัพเรือไทย กับกองกำลังฝ่ายสหรัฐ ฯ ในการปฏิบัติต่างๆ โดยเน้นหนักในการปฏิบัติการทางเรือ ได้แก่ การปฏิบัติการรบผิวน้ำ การปราบเรือดำน้ำ การป้องกันภัยทางอากาศ การปฏิบัติการโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก การปฏิบัติการรบพิเศษ การฝึกยิงอาวุธ และการปฏิบัติด้านกิจการพลเรือน รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้าย อันจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี และความมั่นใจในการปฏิบัติงานร่วมกันให้ เพิ่มมากยิ่งขึ้น
กำลังที่ร่วมฝึกกองอำนวยการฝึกผสม CARAT 2008มีพลเรือตรี ธนะรัตน์ อุบล ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ ๒ เป็นผู้อำนวยการฝึก ฯ และนาวาเอก ประจิต บุณยนิยม รองผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เป็น รองผู้อำนวยการฝึก ฯ ขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงต่อ กองทัพเรือ ฝ่ายสหรัฐ ฯ มี พลเรือตรีหญิง Nora w.tyson ผู้บัญชาการหน่วยส่งกำลังบำรุง ภาคพื้น แปซิฟิกตะวันตก เป็นผู้อำนวยการฝึกฝ่ายสหรัฐฯและมี นาวาเอก Al Collins,Sr ผู้บัญชาการกองเรือพิฆาตที่ ๑ (COMDESRON 1) เป็นผู้บัญชาการกองกำลัง ฝ่ายสหรัฐฯ สำหรับกำลังทางเรือที่เข้าร่วมการฝึกประกอบด้วย ๑. ฝ่าย ทร.ไทย มีกำลังพลเข้าร่วมการฝึกประมาณ ๒,๖๐๐ นาย ประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ ดังนี้ ๑.๑ ร.ล.นเรศวร ๑.๒ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ๑.๓ ร.ล.สุโขทัย ๑.๔ ร.ล.สุรินทร์ ๑.๕ ร.ล.หนองสาหร่าย ๑.๖ ร.ล.บางระจัน ๑.๗ เรือจากกปฝ. ๓ ลำ(๒ ตกป./ตกช.,๑รปม.) ๑.๘ ๑บ.ขล.๑ ก./ข.(AV-8A/TAV-8A) ๑.๙ ๑บ.ตผ.๒ก(P-3T) ๑.๑๐ ๒ ฮ.ปด.๑(S-70B) ๑.๑๑ ๑ฮ.ลล.๔(S-76B) ๑.๑๒ กำลังยกพลขึ้นบกพร้อมยานสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) ๑.๑๓ ชุดปฏิบัติการใต้น้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ สพ.ทร. ๑.๑๔ ชุดแพทย์เคลื่อนที่ จาก พร. ๑.๑๕ ชุดฝึกจาก กปฝ. ๑.๑๖ ชุดฝึกตรวจการณ์ทุ่นระเบิดจาก สอ.รฝ. ๑.๑๗ กองเรือเฉพาะกิจที่ ๗๓ (CTF 73) และหน่วยส่งกำลังบำรุงภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตกทร.สหรัฐฯ(Commander,Logistic Group Western Pacific : COLOGWESTPAC) เป็นหน่วยรับผิดชอบการฝึก และมี ผบ.กองเรือพิฆาตที่ ๑ (CDS 1) เป็นผบ.กองกำลังฝ่ายสหรัฐ ฯ โดยมีกำลังร่วมฝึกประกอบด้วย ๒.๑ USS TORTUGA (LSD 46) ๒.๒ USS HOPPER (DDG 70) ๒.๓ USS CROMMELIN (FFG 37) ๒.๔ USS SALVOR (ARS 52) ๒.๕ USCGC SHERMAN (WHEC 720) ๒.๖ ๑ บ. P-3C ๒.๗ ๑ ฮ. SH - 60 B ๒.๘ ชุดเตรียมทุ่นระเบิด (MOMAU) ๒.๙ กำลังยกพลขึ้นบก ๒.๑๐ หน่วยเตรียมเป้า (TARGET DET) ๒.๑๑ NMCB (Naval Mobile Construction Brigade ) |
คลิ๊กเร็วไป ........ งานนี้มี Harrier 1 ลำเข้าร่วมการฝึก ......... ข้อมูลที่หลาย ๆ ท่านมีจะแตกต่างกันไปครับ ผมได้ยินมาว่าทร.เลิกบินแล้วและเก็บไว้รอจำหน่าย (Store and wait for decommission) บางท่านจะบอกว่าบินได้ราว 2 - 3 ลำ บางท่านจะบอกว่าบินได้บ้างไม่ได้บ้างขึ้นอยู่กับอะไหล่ ......... แต่กลับกลายเป็นว่า Harrier มีชื่อเข้าร่วมการฝึกอยู่กับเขาด้วย 1 ลำ
งานนี้จะบอกอะไรได้ไหมครับ?
1. เป็นหนึ่งในไม่กี่ลำที่ถูกรวบรวมอะไหล่จากลำอื่นมาใส่สด ๆ ร้อน ๆ ?
2. จัดหาอะไหล่ใหม่แล้ว และกำลังพยายามซ่อมคืนสภาพ?
3. มันเป็นอย่างงี้มาตั้งนานแล้ว?
คือโดยส่วนตัวผมเชื่อว่ามันบินไม่ได้นานแล้วครับ ครั้งสุดท้ายที่ผมเห็นด้วยตา (ผ่านจอโทรทัศน์) ว่า Harrier ยังบินได้คือตอนที่สมเด็จพระราชชาธิปดีแห่งสเปนทรงเสด็จเยี่ยม ทร. เมื่อตอนต้นปี 49 โน้น พอตอน SAREX 2007 ที่เชียงใหม่ไปยืนคุยกับนักบิน Sea Hawk แกบอกว่ารอจำหน่ายลูกเดียว ยิ่งมีข่าวออกมาจากตปท.ด้วยว่าทร.เตรียมปลด และมีการจัดหา MH-60S มาประจำการในเรือจักรีแทน ไอ้กระผมก็เลยเชื่อแน่ว่างานนี้ปลดชัวร์
งานนี้ ท่านใดมีข้อมูลอะไร เอามาแชร์กันได้ครับผม
เว็บของ CARAT 2008
อยากเห็นมันลอยอีกอ่า...
มีข้อมูลว่าทางสหรัฐฯนั้นได้ส่งชิ้นส่วนอะไหล่ของ AV-8A รุ่นเก่าที่ปลดไปหมดแล้วซึ่งมีโครงสร้างใกล้เคียงกับ AV-8S ให้กองทัพเรือแบบให้เปล่านานแล้วครับ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงของช่าง กบร. ที่ผ่านมานั้นน่าจะทำให้เครื่อง AV-8S ทำการบินได้ครับ เพราะเคยมีกข้อมูลลงว่าทาง กบร.ได้พัฒนาระบบเครื่องการซ่อมบำรุง บ.เองในประเทศมานานกว่า6ปีครับ
(หรือถ้ามองอีกแง่ตัวเอกสารอาจจะลงว่ามีการนำ AV-8S เข้าร่วมการฝึก แต่ในการฝึกจริงอาจจะไม่ได้ทำการบินจริงก็ได้ครับ)
เอาไว้ช่วงปลายเดือนหน้า...มีโอกาสผสมโรงกับฝูงบินของ ทอ.ไปใช้อาวุธทางอากาศ ที่ฝูงบิน ๑๐๖ อู่ตะเภา แล้วจะทำสายตายาวๆแอบมองมาให้ชมกันครับว่าบินได้หรือบินไม่ได้...เพราะผมก็อยากเห็นด้วยตา..ไม่เชื่อหูแล้วครับ...ถ้าบอกว่า บินไม่ได้แล้ว เดี๋ยวเพื่อนทาง ทร.มาแย้งเราแบบคราวบอร์ด วิง ๒๑ อีก...หน้าแตกครับพี่น้อง...ฮึๆๆๆๆ
....สรุปว่าต้องไปพิสูจน์ครับงานนี้
ท่านท้าวสู้ ๆ ครับ
เพื่อนผมยังบอกเลย มันบิน (AV8-A)ไม่ได้แล้ว
ปลดระวางหมด บ่นอีกว่า เรือก็น้อย
อยากได้เรือดำน้ำมากกว่าอย่างอื่นแค่นี้ละครับ