คือผมสงสัยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆครับว่า ทำไมข้าวมันเเพงมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก เเต่ทำไมชาวนาก็ยังไม่มีเงินใช้จ่ายสักที เเล้วก็อีกเเรื่องคือทำไมเราไม่ขุดคอขอดกระครับ เเล้วก็ทำไมเราไม่จัดตั้งกลุ่มผู้ค้าข่าวโลกละครับเเล้วก็เอาไวต่อรองกลับกลุ่มผู้ค้าอื่นๆในโลก เเล้วอีกอย่างจริงหรือในมาเลเซียน้ำมันลิตรละ 14 บาท เเล้วทำไมมันถูกมากๆๆๆๆ เเต่ในไทยมันเเพงๆๆๆๆๆๆๆๆ
ปล.เพิ่งดูข่าว เค้าบอกว่า เปิดตลาดหุ้นวันนี้หุ้นตก เพราะข่าวการยึดอำนาจเเพร่ไปต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่กล้าลงทุน เหอะๆ เศร้าจังครับ
ความจริงเรื่องที่ราคาสินค้าเกษตรแพง มันเป็นปัจจัยสืบเนื่องจากหลาย ๆ สาเหตุครับ
- อุทกภัยและวาตภัยในหลาย ๆ ประเทศผู้ผลิต: เพราะโลกร้อนนี่แหละครับ ฝนจึงตกบ้างไม่ตกบ้าง แต่พอตกก็ตกกันกระหน่ำทำให้ผลผลิตเสียหาย อินเดีย จีน โดยเฉพาะเวียดนามต่างลดหรืองดการส่งออกข้าว โดยเฉพาะเวียดนามที่ประกาศจะไม่ส่งออกข้าวจนกว่าจะถึงเดือนมิถุนายน ดังนั้นปริมาณข้าวในตลาดโลกจึงมีน้อย สต็อกข้าวของโลกลดลงจาก 100 ล้านตันไปอยู่ที่ 73 ล้านตัน แต่ความต้องการกลับเพิ่มขึ้น ตามหลัก Demand-Supply แล้ว ราคาจึงพุ่งขึ้นครับ
- เชื้อเพลิงชีวภาพ: พื้นที่ทำการเพาะปลูกบางส่วนถูกเปลี่ยนไปปลูกพืชพลังงานทดแทน เช่นในสหรัฐอเมริกา ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดโลกน้อยลงอีก
- ราคาน้ำมัน: ราคาน้ำมันคือต้นทุนการผลิตในแทบทุกอุตสาหกรรม เมื่อราคาน้ำมันสูง ต้นทุนการขนส่งและการผลิตก็สูง
- Subprime: เนื่องจากตลาดตราสารหนี้ (พันธบัตร, หุ้นกู้, เงินกู้) ในสหรัฐกำลังล้ม ทำให้ความมั่นใจหาย ส่งผลต่อตลาดทุน (หุ้น) ในสหรัฐให้ปั่นป่วนอย่างหนัก นักลงทุนและกองทุนเฮดฟันด์ต่างชาติจึงย้ายเงินทุนเข้ามาลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) แบบตลาดหุ้นในบ้านเรา และเข้าไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) เช่นพวกน้ำมัน สินแร่ หรือสินค้าเกษตร และเกิดการเก็งกำไรกันขึ้น ราคาสินค้าเกษตรจึงวิ่งฉิว
ถั่วเหลืองราคาขึ้นไป 50% ข้าว 75% ข้าวสาลี 125% จากปัจจัยเหล่านี้
แต่ผมว่าเรายอมเถอะครับ เพราะคนที่ได้ประโยชน์ แน่นอนแหละคือพ่อค้าคนกลาง แต่งานนี้ชาวนาก็ได้ประโยชน์ด้วย
ชาวนาหลาย ๆ ครอบครัวปลดหนี้สินได้ในการขายข้าวรอบนี้ แถมยังมีเงินเหลือเก็บ น้อยครั้งมากที่จะเป็นอย่างนี้ครับ
ตอนนี้ประเทศไทยคือผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่รายเดียวที่ยังมีศักยภาพในการส่งออกได้สูงที่สุด แม้จำนวนข้าวที่เราส่งจะลดลง แต่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้น เมื่อต้นปีข้าวขาว 5% 1 ตันยังมีราคาราว 700 เหรียญ แต่วันนี้ราคาวิ่งไปถึงเกือบ 1000 เหรียญแล้วครับ
ผมว่าเรายอม ๆ เถอะครับ เราคนกินข้าวมีตังค์ใช้กันสบายมานาน ให้คนปลูกข้าวลืมตาอ้าปากบ้าง
และที่สำคัญ อย่าลืมว่าเราคือประเทศกสิกรรม ไทยควรฉวยโอกาสนี้ในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารและราคาอาหารอย่างจริงจัง เพราะถ้าสถานการณ์ทุกอย่างกลับกันหมดในปีหน้า ราคาก็จะตกเหมือนเดิม ชาวนาก็จะจนเหมือนเดิม
ความจริงเราควรรวมกลุ่มผู้ส่งออกข้าวให้เข้มแข็ง แนวคิดมันก็เหมือนสหกรณ์ในท้องถิ่นนี่แหละครับ เมื่อรวมตัว อำนาจต่อรองก็มากขึ้นแทนที่จะแข่งตัดราคาอย่างเอาเป็นเอาตาย แบบที่ไทย มาเลเซีย และอินโดนิเซียรวมกลุ่มกันตั้งบริษัทด้านยางพารา ซึ่งความคุมการผลิตยางพารากว่า 70% ของตลาดโลก ทำให้ทุกวันนี้ราคายางเริ่มมั่นคงแล้ว ตอนนี้ถ้าเรามีการรวมตัวเป็นกลุ่มผู้ส่งออกข้าว (Rice Export Country) ให้เข้มแข็งในการสร้างความมั่นคงด้านราคา เมื่อนั้นแม้ว่าเราจะกินข้าวแพง แต่เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น เมื่อเขามีเงินมากขึ้น เขาก็จะมาซื้อสินค้าในบริษัทที่ท่านทำงานอยู่ เงินเดือนกับโบนัสของท่านก็จะขึ้นเองแหละครับ
ขอตอบในฐานะที่บ้านเคยเป็นลูกชาวนา-ชาวสวนมาก่อนน่ะครับ
ปัจจัยการผลิตข้าว ใช้ต้นทุนมากในปัจจุบัน ต่างจากเมื่อก่อนมากมาย เริ่มที่อุปกรณ์ก่อน
1.รถไถ หากมือหนึ่งราคาเกือบ5หมื่น (รุ่นเดินตาม) นั้งขับจนถึงแท็คเตอร์ 5หมื่นอัพจนถึง5แสน(ราคาตัวรถเปล่าๆ+เครื่องยนต์8-11แรงม้า(ในรุ่นนั้งขับและเดินตาม 3-4หมื่นต่อเครื่อง ) แค่นี้ก็เป็นหนี้กันมากเพราะทำไถนาได้เยอะและได้เร็วกว่าควายแถมรับจ้างไถได้อีก แต่ก็แลกด้วยค่าน้ำมันและเป็นหนี้หากอยากได้รถดีๆ
1.1 น้ำมันเมื่อก่อน ใช้น้ำมันก๊าดใส่เครื่องยนต์ สูบน้ำทั้งวัน ปี๊ปล่ะ20บาท ดีเซล เบนซิล ก็ไม่กี่บาท แต่หากใช้ไถนาสำหรับยุคนั้นแพงมากมาย เพราะว่า รถไถเดินตามยุคนั้น ไม่มีเกียร์เวลาเลี้ยว ต้องโหนตัวเพื่อให้รถเลี้ยว หากใช้เครื่องยนต์ดีเซลในยุคนั้น จะหนักมากทำให้เหนื่อย เพราะเดินตามและโยกตัวให้รถเลี้ยว เลยต้องใช้เครื่องยนต์เบนซิล
2.ท่อสูบน้ำนี่ก็หลายหมื่นเพราะเหล็กแพง ใช้เหล็กนานๆท่อจะพุด้วยเลยใช้สแตนเลสที่แพงกว่าแต่ทนกว่า(เมื่อก่อนใช้ระหัดทำด้วยไม้ราคาเลยไม่แพง)+เครื่องฉีดยา(บางคนจ้างฉีดไร่ล่ะหลายร้อย+ค่ายาที่ใช้ฉีด) นี่ก็หลายหมื่น
3.ปุ๋ยเคมี ใช้ทีหลายตัน(แบบ20ไร่) ตกกระสอบนึงราคาราวๆ 800ถึง1พันอัพ แล้วแต่ยี่ห้อ
4.ค่ารถเกี่ยวข้าว (เมื่อก่อนใช้คนเกี่ยว ฟาดข้าวก็เอาแรงกัน ขอแรงกันมาช่วย ) เดียวนี้ใช้รถ+ค่าแรงต่อไร่+น้ำมัน
......จะเห็นได้ว่า จะทำนาให้ได้ผลผลิตมากก็เจอ แค่ ค่าอุปกรณ์ก็มากมายแล้ว ต้องกู้เขามาซื้อ พอซื้อทำนาได้ก็เอาไปใช้หนี้ น้ำมันแพง+ปุ๋ยแพง+ยาต่างๆแพง ก็ต้องกู้เงินมาซื้ออีก เป็น วงจรที่หลุดพ้นได้ยาก หากไม่ใช้ยา ใช้ปุ๋ยเคมีข้าวก็ลีบ ไม่โต ไม่ได้น้ำหนัก ตอนขาย ไหนจะโรงสีอีกต่างๆนาๆ
......เวลาขาย พ่อค้ากดราคาซ์อจากสวนแต่ไปขายตลาดแพง สำหรับชาวสวน ผลไม้ ผัก ราคาโลล่ะไม่กี่ตังค์ สำหรับผลไม้บางชนิดราคาอาจจะแพงแต่สำหรับผักพื้นๆ ผักกาด ผังบุ้ง ฯลฯ ที่คนรากหญ้ากินมันก็ไม่กี่บาท แต่สำหรับชาวสวนแล้ว มันถูกลงไปอีกนะครับ
......บ้านผมเลิกนาไป5-6ปีได้แล้วเพราะน้ำไม่ดี มีแต่บ้านพี่ชายที่ดำเนิน ปลูกผลไม้เช่น มะม่วง อยู่30 ไร่ มาบอกว่ามะม่วงโลละ 10กว่าบาทเอง แถมต้องซื้อยาที่แพงขึ้นมาฉีดกันโรคใหม่ๆอีก
....สุดท้ายขอฝากเพลงไว้น่ะครับ ตรงกับชีวิตชาวนาและสังคมเกษตรกรไทย ที่ผมชอบมากๆเลยครับ
ชาวนาคือผู้ทํานาปลูกข้าว เลี้ยงเรามาจนเป็นหนุ่มสาว ยันจนเหลาเฒ่าแก่ชรา แต่เหตุไฉนชาวนาไทยอับจนเรื่อยมา เผชิญดินนํ้าลมฟ้า เผชิญปัญหาชะตากรรม
ถามคุณพ่อแม่ ปู่ย่าตายายของเรา
ลองกระซิบถามท่านเบาๆ
ท่านโตด้วยข้าวมือใคร
ตอนเราเป็นเด็กเราได้ดื่มนํ้านมมากมาย
นมจากเต้าเอามาจากไหน
ใช่หรือไม่เหงื่อไคลชาวนา
วิงวอนฝากมาถึงรัฐสภาจากชาวนาไทย
คุณนั่งห้องแอร์มันคงสบาย
กลิ่นโคลนสาบควายยังนองนํ้าตา
ร่างนโยบายซื้อขายข้าวเปลือกประกันราคา
เกษตรกรเขานอนผวา รายได้ตํ่ากว่าราคาลงทุน
ดีชั่วตัวคุณเขาสนับหนุนคุณเป็นผู้แทน
เลือกเอาไปเป็นขาเป็นแขน อย่าปล่อยแฟนๆ ทิ้งไร่ทิ้งนา หายหัวกบาลจนชาวบ้านเขาเอือมระอา
เลือกตั้งครั้งสมัยหน้า
ใครเขาจะกล้าไปลงคะแนน
การเมืองเป็นร่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์
ผมพูดความจริงขอจงอย่าโกรธ
ภาษาที่ใช้คําไทยโดดๆ
ขอโทษทีครับแบนหําทําไม
หําคนทํากินใช่อันธพาลประเทศไทย
หําคําเดียวจําง่าย ชื่อจริงชื่อนายหําเทียม
นักเขียนนักข่าวหําขอร้องกล่าวปรับความเข้าใจ
อย่านึกว่าเป็นนักเขียนมันง่าย
เขียนสุ่มกันไปรับเงินลูกเดียว
งานจับปากกาก็เหมือนชาวนาเขากําด้ามเดียว
ขีดเขียนเก็บเกี่ยวไม่ต่างกันตรงที่ความจริงใจ
เพลงหําครํ่าครวญชักชวนให้คุณเห็นความเป็นไทย
อย่าเอาหนังสือพิมพ์บ่อนทําลาย
ควํ่ากระจาดตลาดลงทุน
อย่ายอมรับใช้เขียนซ้ายเลียขวาจนวุ่น
กวนบ้านเมืองจนขุ่น กวนโอ๊ยกวนส้นตีน
ยังมีอีกมากที่ลากออกมาพอเป็นกระสัย
แต่หําต้องขอทิ้งท้าย ศิลปินไทยฟังหําหน่อยซี
อย่าร้องอย่ารําอย่านําทางมั่วโลกีย์
สร้างตัวอย่างไม่ดี ให้ลูกให้หลานให้เยาวชน
ใช่ร้องใช่รําทําด้วยแรงขนมปัง
จะร้องจะเล่นเห็นความจริงบ้าง
ชาวนาเคว้งคว้างขัดสน
แหกปากเข้าไปเอาแต่จะได้ประโยชน์ใส่ตน
ถึงหําจะแปลว่าสัปดน
ยังดีกว่าคนที่เนรคุณ
ขอตอบเรื่องข้าวก็แล้วกัน
ข้าวแพงก็จริงแต่ปัจจัยการผลิตก็แพงไปด้วย ยิ่งเดี๋ยวนี้หันมาใช้จักรกลกันมาก ค่าน้ำมันแพง ต้องจ้างแรงงานด้วย ไม่มีการลงแขกกันแล้ว ปลูกเสร็จก็เผานา ดินก็เสีย ต้องใส่ปุ๋ยเคมีอีก ยิ่งใส่ดินยิ่งเสีย ฯลฯ ต้องเสียเงินปรับปรุงดินอีก มันเป็นวัฎจักรไปแล้ว แต่สมัยนี้ดีกว่าสมัยก่อน ตรงที่ส่วนต่างของราคากับปัจจัยมันค่อนข้างกว้าง เพราะราคาข้าวส่งออกดี เลยทำให้ชาวนาที่ปลูกข้าวเจ้ามีเงินเหลือ ต่างกับชาวนาที่ปลูกข้าวเหนียวที่ปีที่แล้วราคาดี เลยแห่กันปลูก ส่งออกก็ไม่ได้ราคาเลยไม่ดี
ส่วนการจัดตั้งกลุ่มในการส่งออกข้าว อดีตนายกฯ (ที่กล่าวกันว่า มีคนเกลียดมากมาย) มีแนวคิด และเริ่มทำแล้ว หลังจากที่ทำให้กับยางพาราสำเร็จ สิ่งที่ทำให้กับยางก็คือการทำลายการผูกขาดของพ่อค้าส่งออก แต่ในเคสของยางมันง่าย เพราะไทยไม่ใช่คนที่ส่งออกยาง มากมายเหนือกว่าคนอื่นมาก (สูสีกับมาเลย์ อินโดฯ) ทำให้การทลายกำแพงตรงนี้มันง่าย แต่ก้บข้าวมันไม่ใช่ มูลค่าการส่งออกมันมากมายและซับซ้อน มูลค่าและปริมาณการส่งออกมันเยอะ แต่ปรากฎว่าอยู่ในมือผู้ส่งออกเพียง 5 รายเท่านั้น แถมยังมีธนาคารคอยหนุนหลังอีก สังเกตุง่าย ๆ มีคำสั่งซื้อข้าวเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ผู้ส่งออกไม่ยอมซื้อข้าวจากหยง(โบรกเกอร์) หยงก็ไม่ยอมซื้อจากโรงสี แล้วชาวนาจะไปขายข้าวกับใคร
แล้วทำไมโรงสีไม่ส่งออกเองทำไม ต้องผ่านมือคนอื่น คำถามนี้จะตอบข้างล่างนะ
ต่อครับ แล้วทำไมโรงสีไม่ส่งออกเองทำไม ต้องผ่านมือคนอื่น
เรื่องนี้ทำไม่ได้เพราะมีหลายเหตุผล
ประการแรก คำสั่งข้าวมาทีนึง มีปริมาณข้าวมาก เป็นหมื่นตัน เกินความสามารถของโรงสีในการรวบรวมข้าว
ประการที่สอง หาแม้โรงสีทั้งหลายสามารถรวมกลุ่มกันได้แล้ว แต่สิ่งสำคัญคือเงิน ที่ต้องนำมาซื้อข้าวเปลือก เอาง่าย ๆ แค่ข้าวหมื่นตัน ต้องใช้เงินกว่าร้อยล้านแล้ว โรงสีจะนำเงินที่ไหนมาซื้อ จะกู้หรือ ดอกเบี้ยเท่าไรละ เพราะเดิม โรงสีหากขาดเงินที่จะซื้อข้าวเปลือก จะเอาเงินจากหยงในอัตราร้อยละ 1.5 (ข้อมูลนี้ผมดูจากรายการโทรทัศน์นะ) แต่ว่าเมื่อสีแล้วต้องขายให้หยงเท่านั้น แต่พอตัดหยงออกจากระบบแล้วจะเอาเงินจากไหนมา ส่วนหยงเอาเงินมาจากไหน ก็จากผู้ส่งออกที่มีธนาคารเป็นแบ็คหนุนไง (เชื่อได้ว่ามีธนาคาร 2 ธนาคารใหญ่เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง) เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าพูดมั่ว ๆ นะครับ เพราะดูได้จากการเจรจาระหว่างชาวนากับกรมการค้าภายในว่าจะมีการรับซื้อข้าวในราคา.... บาท แต่ปรากฎว่าโรงสีไม่รับซื้อเพราะขาดสภาพคล่อง เรื่องก็จบ
(ขอแก้ข้างบนหน่อยนะ การส่งออกข้าวกว่า 70 เปอร์เซนต์อยู่ในมือผู้ส่งออกรายใหญ่ 5 รายนะครับ ไม่ใช่ว่าเรามีผู้ส่งออกข้าวแค่ 5 รายนะ)
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะพูดกันว่า ตลาดข้าว ราคาข้าวเป็นตลาดของผู้ขายไม่ใช่ ตลาดของผู้ซื้ออย่างแต่ก่อนแล้ว แต่ในความเป็นจริง ไม่ได้หมายความว่าเป็นตลาดของผู้ผลิตนะ มันเป็นเพียงตลาดของผู้ส่งออกต่างหาก เพราะราคาข้าวถูกกำหนดจากผู้ส่งออกแล้ว ตัดราคาให้หยง บวกกำไร แล้วทอนลงมาให้โรงสี บวกกำไรอีก สุดท้ายถึงจะถึงชาวนา จะเห็นได้ว่า ถ้าข้างบนทำราคาข้าวต่ำ ชาวนาจะขาดทุน แต่โรงสี หยง ผู้ส่งออก จะยังได้กำไรอยู่ดี ราคาข้าวไม่ได้กำหนดจากชาวนานะว่าวันนี้จะเกี่ยวข้าว จะขายราคาเท่านั้น เท่านี้ แต่เป็นว่าวันนี้จะเกี่ยวข้าว แต่โรงสีจะรับซื้อเท่าไร
ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องนี้ทำได้ไหม ทำได้แน่นอน แต่ยากกกส์ เพราะอดีตนายกฯ เคยเล่นเรื่องนี้แล้ว (ลองไปค้นคว้าเพิ่มเติมนะ เรื่องการขายข้าวให้บริษัทนึงที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 5 เสือ) ผลเป็นไง โดนลงขันจนปิ๋วไปแล้ว แล้วรัฐบาลนี้ละ วันนั้นเห็นคุณสมัครไปคุยเรื่องนี้กับ อินเดียหรือเวียตนาม ในเรื่องนี้มั้ง ผมว่าอายุรัฐบาลนี้ไม่ยาวพอทำเรื่องนี้ได้หรอก ส่วนจะหวังให้พรรคการเมืองเก่าแก่ทำเรื่องนี้นะหรือ เค้าคงไม่ทำหรอกเพราะนายทุนของพรรคมาจากธนาคารไหนก็รู้ ๆ กันอยู่ ดังนั้น สรุปคือ เรื่องนี้เป็นกรรมของชาวนาไทยไปตลอดกาลครับ
(ปล.ขอโทษที่แวะเข้าการเมืองหน่อยนะครับ)
ตอนนี้พี่เหม่งก็รับเงินเดือนป็นแสนจ๊ะ น้องภูมิ
เป็น แสนข้าวเปลือก รู้จักไหม
^
^
เอ่อ ท่าน marineen ผมไม่เก็ต ง่ะ งง มันเป็นยังงงหรอครับ --
แหะๆ...พูดจริงๆน๊าครับ ......
เป็นคำเปรียบเปรยที่มีความหมาย
เหมือนแสนกีบ(ลาว) แสนบาท(ไทย)ประมาณนั้นค่ะ
มูลค่าต่างกัน
แทนที่จะได้เงินเดือน 100 000 บาท
แต่จ่ายมาเป็นข้าวเปลือก 100 000 กิโลกรัม
สมัยก่อนข้าวถูกตอนนี้แพงและกำลังจะถูกอีก
งง ไหมเหม่งเมาค่ะ