พอดีได้อ่านหนังสือบอกว่าประเทศกรีซและตุรกีปรับปรุงเครื่องบินเอฟ-4 แฟนทอม ประมาณ 200-400 กว่าเครื่องโดยส่วนมากเป็นเครื่องที่บริจาคมาจากอเมริกาบ้าง เยอรมันบ้าง ทั้งที่เอฟ-4 เคยมีฐานบินที่อุบลมาก่อนสมัยสงครามเวียดนาม แล้วทำไมไม่บริจาคประเทศเรามั่ง T-T
ที่สงสัยไม่ใช้อะไรหรอกเห็นเขาบอกว่า อัพเกรดแล้วใช้ อัมราม 120 ได้ หรืออาวุธแบบปล่อยนำวิถี ซึ่งมันน่าจะดีกว่าเอฟ-5 เรา เห็นบอกอัพแล้วได้แค่ ไพธอน4 .
.
.
รบกวนคนที่เกิดทันมาไขความกระจ่างหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ หรือว่าดอฟ-4 ประสิทธิภาพมันสู้เอฟ-5 ไม่ได้ครับ
มันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนครับก็ไม่ทราบเหมือนกัน น่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีในสมัยนั้นนะครับ เเเล้วก็น่าจะเกี่ยวกับภัยคุกคาม ( รึป่าว ) จากประเทศรอบๆครับ เช่น F-86L ครับ มันมาเเบบเเถบจะมีเเค่ตัวเครื่องมาครับอะไรที่ว่าไฮเทค มะกันเเกเก็บหมดครับ
ปล.ข้อเท็จจริงประการใดต้องรอผู้รู้ยืนยันอีกทีครับ
ตอนนั้น...เวียดนามแตก...ลาวแตก....เขมรแตก...อเมริกาคงไม่กล้ามอบ F-4 ให้ไทยครับ...เพราะเขาสบประมาทเราว่า...ไม่นานเราก็คงจะถูกยึดโดยคอมมิวนิสต์เช่นกัน
ผมเคยอ่านบทความเก่าๆ เมื่อปี ๒๕๒๔ ในหนังสือข่าวทหารอากาศ ทราบว่า ครั้งหนึ่ง ทอ.ไทย เคยพิจารณาจัดซื้อเครื่องบินลาดตระเวน ทดแทน RF-5 A และ RT-33A โดยมีชื่อ RF-4 E และ RF-5 E ร่วมอยู่ในแผนการศึกษาด้วย.....ซึ่ง RF-5 E มีแนวโน้มว่าจะได้เกิด แต่ปรากฏว่ามีเพียง ทอ.มาเลเซีย ชาติเดียวที่สั่งซื้อ RF-5 E (ที่เห็น RF-5 E ของ ทอ.ชาติอื่นๆ ทั่วโลกนั้น โมดิฟายโดย ไต้หวัน และสิงคโปร์) ส่วน RF-4 E ติดตรงเครื่องบินมีขนาดใหญ่ สิ้นเปลือง ที่สำคัญเราคงต้องจัดหา F-4 E มาใช้งานด้วย แต่ในปี ๒๕๒๔ นั้น ผลการพิจารณาการจัดหาเครื่องบินใหม่ อยู่ที่ F-16 ครับ...... F-4 ซึ่งเก่าแก่ จึงไม่อยู่ในสายตา
เข้าใจว่า ตอนที่ F4 Phantom กำลังรุ่งๆ คือถือว่าเป็นเครื่องบินที่เอนกประสงค์ เป็นลักษณะของ multi role พหุภารกิจ ที่สำคัญมีการเทคโนโลยีที่สูงสำหรับในยุค 60-70
ซึ่งถือว่าเป็นยุคสงครามเย็น (cold ware) ทำให้การวางกำลัง F4 ถูกวางไว้ในประเทศที่เป็นกลุ่มสมาชิก NATO ที่เป็นหน้าด่านกับฝ่ายตรงข้ามคือสหภาพโซเวียต ทำให้ภารกิจของ F4 ถือได้ว่าเป็นเครื่องบินที่ทำหน้าที่หลายบทบาทในด้านการโจมตี ขับไล่ และที่สำคัญมี
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงพอควร (ทำให้มีนักบินสองตำแหน่งคือ ตำแหน่งนักบิน
และตำแหน่งนักบินอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่สำรวจน่านฟ้าจากจอเรดาร์ และเฝ้ามองอาวุธปล่อยจากข้าศึก โดยเฉพาะ SAM ของเวียดนาม) จากการที่ USA วางบทบาท F4 ในลักษณะเครื่องบินไอพ่นขับไล่โจมตี ที่มีเทคโนโลยีสูงนี้เอง ทำให้ประเทศไทย ที่ USA ในขณะนั้นถือว่า ถ้าหากไทยกลายเป็นโดมิโนตัวถัดไป จากลาว กัมพูชา นั้น ข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ จะถูกฝ่ายตรงข้ามฉกฉวยไปได้ ทำให้ USA ไม่มีนโยบายที่จะขายหรือ ให้ F4 กับไทย และอีกประการหนึ่งคือประเทศไทยในขณะนั้นส่วนใหญ่แล้วจะได้รับความช่วยเหลือทางการทหาร จาก USA ทำให้ไม่สามารถเลือกอาวุธได้ (เพราะเขาให้ก็ดีแล้วครับ ถ้ามัวเกี่ยงโน่นนี่ ก็อาจอดได้ครับ )
ต่อมา USA คงเล็งเห็นถึงภัยคุกคามของประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ ครั้นจะไม่ยอมให้เครื่องบินที่มีศักยภาพพอสมควรกับประเทศโลกเสรี ที่ตัวเองเป็นลูกพี่ใหญ่อยู่เลย ก็จะทำให้ดุลยภาพทางการทหารของกำลังทางอากาศต้องเสียดุลไป ทางหนึ่งก็คือต้อง
พัฒนาเครื่องบินขับไล่ที่มีขนาดพอเหมาะ เทคโนโลยีไม่เท่า F4 ราคาต่อลำประเทศโลกเสรีสามารถซื้อหาได้ สามารถต่อกรกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นของค่ายคอมมิวนิสต์อย่าง Mig 21 ได้ ที่สำคัญ USA ก็ได้เงินจากการขายเครื่องบินดังกล่าวด้วย นั่นก็เป็นที่มาของ
F 5 ตระกูลต่างๆ ที่เราได้ซื้อมาใช้จนทุกวันนี้ครับ ทำให้เราไม่มี F4 ประจำการ แต่เหตุผลในเรื่องเศรษฐกิจก็คงเป็นอีกหนึ่งปัจจัย เพราะค่าใช้จ่ายของ F4 นั้นสูงพอควร ถือได้ว่าเป็นเครื่องบินขนาดกลางถึงใหญ่ รัศมีการบินที่ไกล สามารถลงจอดได้ทั้งเรือบรรทุกเครื่องบินได้ และราคาต่อลำก็แพงกว่า F5 ครับ ทั้งหมดนี่ก็เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ว่า ทำไมประเทศเราถึงไม่มีเครื่องบิน F4 ประจำการ