หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ทำไมเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า ถึงนิยมไช้จรวดต่อต้านเรือผิวน้ำครับ

โดยคุณ : sherlork เมื่อวันที่ : 26/05/2008 15:19:02

ทำไมถึงไม่ไช้ตอปิโดยิงละครับเห็นชอบใช้ตอปิโดยิงเรือดำน้ำ
แล้วไช้จรวดยิงเรือผิวน้ำอะครับ หรือว่าไช้ยิงไม่ได้ครับอยากรู้ครับ




ความคิดเห็นที่ 1


ผมว่าคงเกี่ยวกับระยะ และเวลาถึงเป้าหมายของอาวุธนะครับ

ยังไงตอปิโดก็วิงได้ไม่เกิน 70 น็อต(หรือบางแบบถึงหว่า)ระยะก็ไม่น่าจะไกลมาก ยิ่งตั้งให้ตอปิโดวิ่งเร็วเท่าไรระยะยิงก็ยิ่งสั้นลงครับ สู้จรวดไม่ได้ทั้งระยะและความเร็ว (เบาะๆ ก็ใกล้ความเร็วเสียง ระยะอย่างน้อย 40 กิโลเมตร)

แต่ตอปิโดก็ใช้ว่าจะไม่มีข้อดีผมว่าอำนาจการทำลายของตอปิโดสูงกว่ามาก ส่วนมากถ้าใช้กับเรือมักตั้งให้ระเบิดใต้ท้องเรืออาศัยแรงอัดของระเบิดยกเรือขึ้นและน้ำหนักของเรือกระแทกลงมา ทำให้กระดูกงูเรือหัก (จมแน่ๆ) เห็นนานมาแล้วครับมีการทดสอบเรือขาดเป็นสองท่อนจมลงอย่างเร็ว แต่ถ้าเป็นจรวดมักไม่ค่อยจม (ยกเว้นบางแบบของรัสเซียที่แน่นใช้ยิงเรือบรรทุกเครื่องบิน)

ถ้าผมผู้บังคับเรือดำน้ำผมก็ใช้จรวดครับ ไม่เอาชีวิตตัวเอง ลูกน้องและเรือไปใกล่แนวต่อต้านเรื่อดำน้ำของกองเรือข้าศึกแน่นอน จะหาว่าขี้ขลาดก็ได้ครับแต่มีชีวิตรอดวันนี้พรุ่งนี้ก็กลับมาสู้ใหม่ได้

โดยคุณ natty เมื่อวันที่ 24/05/2008 04:03:50


ความคิดเห็นที่ 2


ตามความคิดของผมนะครับ

ที่เรือดำน้ำชอบ(รึเปล่า?)ยิงจรวดใส่เรือผิวน้ำ น่าจะมาจากระยะห่างของเรือผิวน้ำเป้าหมายนั้นมันไกลกว่าระยะยิงของตอร์ปิโดกระมั้งครับ? เลยต้องใช้จรวดยิงใส่แทน อีกอย่างในเมื่อเรือดำน้ำยิงตอร์ปิโดใส่เรือผิวน้ำได้ เรือผิวน้ำก็ย่อมสามารถยิงตอร์ปิโด หรือส่งฮ.ปราบเรือดำน้ำมาถล่มได้ง่ายๆ และอาจยิงจรวดปราบเรือดำน้ำได้อีกด้วย

หากเรือผิวน้ำตรวจจับเรือดำน้ำไม่ได้ ผมคิดว่าเรือดำน้ำมีสิทธิ์ในการยิงตอร์ปิโดใส่เรือผิวน้ำได้สูงมาก คือยิงเสร็จก็รีบเผ่นทันที ส่วนที่เรือดำน้ำไม่ยิงจรวดใส่เรือดำน้ำด้วยกัน คงเป็นเพราะมันดำน้ำอยู่เหมือนกัน ยิงตอร์ปิโดใส่กันเลย ง่ายกว่ายิงจรวดขึ้นไปบนน้ำ แล้วให้พุ่งลงน้ำมาอีกที

ผิดถูกไงไม่รู้นะ อิอิ

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 24/05/2008 04:22:30


ความคิดเห็นที่ 3


ถ้าใช้ตอปิโด มันคงยุ้งยากมั้ง ถ้าใช้จรวดก็อย่างว่าครับ เร็วเเละไกล ยิ่งได้ในระยะไกลไม่ต้องเสียกับอาวุธต่อต้านเรือดำน้ำ เสร็จเเล้วก็รีบไปเลย อีกอย่างผมว่าถ้าใช้ตอปิโดมันจะเสี่ยงสุดๆ เพราะเรือดำน้ำ ดีเซลไฟฟ้ามันเสียงดัง

ปล.ต้องรอผู้รู้มายืนยันอีกทีครับ

โดยคุณ poom1.1 เมื่อวันที่ 24/05/2008 04:42:15


ความคิดเห็นที่ 4


อย่างไรก็ตามอาวุธหลักของเรือดำน้ำทุกแบบในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็ฯเรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้า หรือเรือดำน้ำนิวเคลียร์เองนั้นก็ยังเป็น Torpedo อยู่ดีครับ ตัวอย่างเช่นกองทัพเรือสหรัฐฯซึ่งกองเรือดำน้ำโจมตีหลักนั้นเป็นเรือพลังงานนิวเคลียร์ทั้งหมดเช่นชั้น Los Angeles หรือ Virginia นั้นก็ยังใช้ Mk.48 เป็นอาวุธโจมตีเรือผิวน้ำหลักครับ ถึงแม้ว่าจะติด Sub-Harpoon ได้

ซึ่งเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าที่ประจำการในประเทศอื่นๆในปัจจุบันนั้นก็ยังคงใช้อาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำเป็นอาวุธโจมตีรองจาก Torpedo อยู่ดีครับ ถึงแม้ว่าการใช้ Torpedo นั้นจะมีข้อจำกัดที่ต้องนำเรือเข้าไปหาเป้าหมายในระยะใกล้ก็ตามแต่ Torpedo นั้นตรวจจับและต่อต้านได้ยากกว่าจรวดมากครับ ซึ่งการนำเรือดำน้ำเข้าโจมตีกองเรือที่คุ้มกันอย่างแน่นหนานั้นการป้อนข้อมูลและเตรียมการยิง อวป.นั้นอาจจะเป็นอันตรายต่อการเปิดเผยที่ตั้งเรือจากระยะไกลก็ได้ครับ เพราะเรือต้องดำในระดับกล้องตาเรือเพื่อใช้Sensor ตรวจจับและยิงจรวดจากท่อยิงในระดับที่กำหนดไว้ครับ แต่ถ้าเป็นการใช้ Torpedo อาจจะสามารถนำเรือลอบเข้าไปเงียบๆแล้วโจมตีได้ครับ

ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์และประเภทของเป้าหมายครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 24/05/2008 08:12:03


ความคิดเห็นที่ 5


.....แนวคล้ายๆท่าน แทน  อ่ะครับ

.....เรือด.เองหากจะเข้าไปยิงด้วยตอร์ปิโด นั้นต้องเสี่ยงกับระบบตรวจจับ โซนาร์ลากท้าย สารพัดชนิด อาจจะถึงการใช้โซโนบุย ทิ้งมาจากบ.ลาดตระเวณอีกด้วย และผสมกับฮ.อีก

.....พูดง่ายๆอีกประเด็นคือ ยิงไกลปลอดภัยไว้ก่อนล่ะดี   หากเรือดำน้ำมีความเงียบ และประสิทธิภาพในการตรวจจับที่มากพอล่ะก็ ระบบยิงจากท่อตอร์ปิโด เช่น ซับร็อค ซับฮาร์พูน น่ากลัวมากเลยล่ะครับ เพราะพวกนี้เปิดเผยตัวก็ต่อเมื่อ จรวดพุ่งจากน้ำมาแล้วนั้นเองในขณะที่เรือผิวน้ำยังหาจุดที่ยิงมาไม่พบ หากเป็นเรือรบด้วยกันยังสามารถยิงโต้กลับไปได้ อีกอย่าง ถึงตรวจเจอเรือด.ที่ยิงแต่ก็ไม่สามารถทำลายได้ เพราะไม่มีลูกยาว เช่น ฮ.ทิ้งตอร์ปิโด แอสร็อคเป็นต้น  เรือด.ที่ยิงอาวุธปล่อยไปก็สามารถทำความเสียหายได้นั้นเอง

......และหากเรือผิวน้ำโดนจรวดพุ่งมาในทิศทางที่ใกล้เกินกว่าระบบป้องกันระยะประชิดจะทำงานได้ทัน หรือมุมอับที่ยิงไม่ได้ล่ะก็ มีสิทธิพังง่ายๆน่ะครับ  เพราะจรวดพุ่งมาใกล้ และไม่เปิดเผยตัวตั้งแต่ไกลๆ และหากเป็นจรวดจำพวก ครูซ เช่น โทมาฮอค หรือ คลับ-เอส  ซึ่งมีระยะยิงไกลมาก(2-300 กิโลเมตรขึ้น )  ก็สามารถยิงซ้ำหรือหนีไปได้ หากยิงเรือผิวน้ำได้หรือยิงไม่ได้น่ะครับ ป้องกันตัวเองได้ส่วนหนึ่งในแง่ประสิทธิภาพของการตรวจจับของเรือฝ่ายตรงข้าม

...ส่วนตอร์ปิโด น่าจะใช้กับเป้าหมายที่อ่อนกว่าในเรื่องการป้องกันใต้น้ำจำพวกเรือเร็วโจมตี หรือเรือขนาดใหญ่ ระบายพลจนถึงเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่ไม่สามารถทำลาย เรือด.ได้ในน่ะครับ


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 24/05/2008 08:24:59


ความคิดเห็นที่ 6


.....แบบที่ท่าน AAG_th1   กล่าวไว้ว่า

....ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ด้วย ระบบตอร์ปิโดเอง ไม่แน่ใจว่าปัจจุบัน สามารถยิงทำลายได้หรือไม่(ถ้าอาวุธปล่อยใช้ปืนใหญ่ ปืนกลหนัก จรวด เป้าลวง) โดยเฉพาะจำพวกนำวิถีด้วยเส้นลวด(หรือวิทยุหว่า) แต่ก็แลกมาด้วยการนำเรือเข้าไปใกล้การตรวจจับของข้าศึก  หากใช้กล้องเพอริสโคป นั้น มีสิทธิ์โดนยิงทำลายจากปืนประจำเรือได้น่ะครับ

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 24/05/2008 08:29:52


ความคิดเห็นที่ 7


ถ้าผมเป็นผู้บังคับการเรือดำน้ำ และภาระกิจที่ได้คือทำลายเรือลำเลียง

ที่ไม่มีเรือคุ้มกัน

ผมคงแอบเข้าไปใกล้ๆ และ จัดการด้วย ตอร์ปิโด เพราะวิธีนี้ชัวร์กว่าและให้ผลงานที่คุ้มค่า

 

แต่ถ้าภาระกิจคือการทำลายเรือ ธงของข้าศึก ผมคงเลือกที่จะใช้จรวดยิงจากระยะที่ใกล้ที่สุดที่ระบบตรวจจับเรือดำน้ำของข้าศึก จะตรวจจับได้

ยิงแล้วรีบเผ่น ไปกบดานใต้ทะเล

 

โดยคุณ นายฮ้อยทมิฬ เมื่อวันที่ 24/05/2008 09:27:58


ความคิดเห็นที่ 8


แล้วแต่สถานการณ์ครับ ว่าอะไรเหมาะสมที่สุด ณ เวลานั้น

 

ส่วนเรือดำน้ำยิงจรวดใส่เรือดำน้ำ ไม่ใช่ว่าไม่มีครับ เพราะอย่างเรือรัสเซียชั้นอาคูล่า ก็มีจรวด SS-N-16 Stallion ซึ่งใช้ปราบเรือดำน้ำยิงจากท่อขนาด 655 ซม และมี SS-N-15 Starfish ยิงจากท่อ 533 ซม ครับ ที่สำคัญ สองตัวนี้ติดหัวรบนิวเคลียร์ได้

โดยคุณ helldiver เมื่อวันที่ 24/05/2008 10:00:41


ความคิดเห็นที่ 9


โดยส่วนตัว  จรวดร่อนสมัยนี้มันระยะยิงไกล(เห็นโทมาฮ็อกมันร่อนจากนอกชายฝั่งอัฟกานิสถานไปยังกรุงคาบูลที่อยู่ไกลเกือบ 300 กิโล)เร็ว หาเป้าหมายเอง บินต่ำ  แม่นยำมาก     ดังนั้นโอกาสที่เรายิงแล้วเคลื่อนที่ทำให้โอกาสเปิดเผยตัวมีน้อยกว่าตอร์ปิโดมาก (ส่วนมากมันใช้เส้นลวดควบคุมวิถี)        และการเปิดเผยตัวต่อเรือผิวน้ำทำให้เกิดเหตุการณ์รุมยำได้มากกว่าปกติ ไหนจะ เฮลิคอปเตอร์ล่าเรือดำน้ำ  โซนาร์จุ่ม  ระเบิดน้ำลึก  ติดต่อเรือใกล้เคียงมาช่วยรุมยำ   แต่เปิดเผยต่อเรือดำน้ำด้วยกันการติดต่อสื่อสารระหว่างเรือดำน้ำกับลำอื่นคงยาก จีงเลือกตอร์ปิโดไม่ยาก ถ้าไม่ลอยลำขึ้นมาก่อน โอกาสคงเป็น 1 ต่อ 1 ที่เราจะเจอ

ถ้าผมเป็นกัปตันเรือดำน้ำคงเลือกทางที่เปิดเผยตัวเองน้อยสุด  คือยิงแล้วเผ่นให้มันหาเป้าหมายเอง

โดยคุณ seesaning เมื่อวันที่ 24/05/2008 12:03:33


ความคิดเห็นที่ 10


ขอบคุณมากครับทุกท่าน
โดยคุณ sherlork เมื่อวันที่ 24/05/2008 18:31:57


ความคิดเห็นที่ 11


รูปผิด เลยไม่ขึ้น --


โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 25/05/2008 11:34:08


ความคิดเห็นที่ 12


ขอบคุณมากครับพี่ไอซี่ แต่เอ เมื่อไหร่พี่จะอัพblogครับ ไม่ได้แซวนะครับ
แต่blogพี่ได้ข้อมูลแปลกๆมากเลยครับ  ขอบคุณครับ

โดยคุณ sherlork เมื่อวันที่ 25/05/2008 21:17:51


ความคิดเห็นที่ 13


ตอร์ปิโดหลายๆแบบ ก็ Fire-and-forget นะครับ

อย่างเจ้านี่ 65ซม. ของรัสเซีย   ใช้นำวิถีด้วยActive Homing ครับ

ส่วนพวกที่ใช้เส้นลวดนั้น น่าจะใช้กับเรือดำน้ำด้วยกันมากกว่าครับ เพราะต้องการความแม่นยำมากๆ

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 25/05/2008 09:35:43


ความคิดเห็นที่ 14


ปัจจุบันยังไม่เคยเห็นเรือดำน้ำใช้อาวุธปล่อยนำวิถีมาโจมตีเรือจริงๆสักครั้ง แต่การที่เรือดำน้ำจะยิงอาวุธปล่อยนั่นย่อมเป็นการเปิดเผยตัวเพราะเรือดำน้ำลำนั้นต้องนำเรดาร์โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเพื่อตรวจจับเป้า แต่ก็ได้เปรียบเรื่องระยะยิงที่ไกลและรวดเร็ว ผมว่าการที่เรือดำน้ำติดอาวุธปล่อยนำวิถีโจมตีเรือนั้นก็เพื่อชิงความได้เปรียบทางยุทธวิธีการรบเพราะถ้าทราบเป้าหมายก็ยิงได้ก่อนแล้วดำน้ำหนีไปก่อนที่ข้าศึกจะยกโขยงมารุมทอดแห และการตลาดในการโปรโมทการขายก็มีส่วน ส่วนตอร์ปิโดนั้นมันสามารถโจมตีได้ทั้งเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำด้วยกัน อีกทั้งยิงออกไปแล้วข้าศึกยังตองหาอีกเรือดำน้ำอยู่ที่ไหน แต่ตอร์ปิโดยังมีข้อเสียเปรียบตรงต้องเข้าไปใกล้เป้าหมายสักหน่อย คงต้องอยู่ที่สถานการณ์ในขณะนั้นว่าจะใช้อะไรยิง
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 26/05/2008 04:19:03