ใน แผ่นภาพ ผมใช้ในกรณีที่ ฝูง 103 ได้รับการปรับปรุง MLU โดยประสิทธิภาพ ใกล้เคียงกับ F-16 C/D
จากแผ่นภาพอีกเช่นกัน ในอีก 20 ปี ข้างหน้า กองทัพอากาศ จะต้องจัดหารฝูงบินรบใหม่อีก จำนวน 2 ฝูงบิน
สำหรับผม ผม เดา ว่าเป็น JAS-39 C/D หรือ E/F แล้วเพื่อนสมาชิกชาวบอร์ด จะ เดา ว่าเป็น บ.แบบไหน ครับ...
และหลังจากปี 2571 ฝูง F-16 ทั้ง 2 ฝูง ก็คงหมดอายุประจำการ ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน...ผม เดา ว่า ฝูงบินใหม่อีก 2 ฝูง เป็น F-35
และสรุปว่า ในอีก 20 ปี ข้างหน้า ทอ. จะต้องเตรียมการจัดหา ฝูงบินใหม่ รวมประมาณ 4 ฝูง เพื่อมาทดแทน บ. ในปัจจุบัน....รวมงบประมาณ คงไม่น่าจะต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท...(การเมือง มันเกี่ยวกับ ความมั่นคง ตรงเนี๊ยยย..แหล่ะครับ...ว่าเศรษฐกิจของไทย มันจะรองรับงบประมาณในอนาคต ได้เพียงพอหรือเปล่า...ก็ขอให้อยู่กันอย่างสงบสุข กันสักทีนะครับ)
สำหรับท่านต้องการเก็บไฟล์ และพิมพ์เก็บไว้ ผมฝากไฟล์ไว้เช่นเดิมครับ...เป็น ไฟล์ PDF ครับ..
http://www.uploadtoday.com/download/?6ecc1c9fc86fdac3b017fb7b9dba4bd5
คราวนี้ ผมลอง เดา ฝูงบินฝึกชั้นสูง / โจมตี ในอีก 20 ปีข้างหน้า...
ซึ่ง ทอ. ต้องมีการจัดหามา จำนวน 4 ฝูงบินใหม่ ด้วยกัน...(เหนื่อย นะ)
ในความคิดเห็นส่วนตัว...ผมขอ เดา เป็น EMB-134 ซูเปอร์ ทูคาโน่ ของบลาซิล โดยมีความเห็นส่วนตัวที่ว่า ประสิทธิภาพ ก็ดูน่าจะเหมาะสมกับ สภาพภูมิประเทศ ที่เป็นป่า เป็นเขา ของไทย โดยผมจัดเป็น หามาประจำการทดแทน AU-23 ในฝูง 531 โดย ไทย น่าจะสามารถทำสัญญา ถ่ายทอดและประกอบเครื่องบินเองภายในประเทศ สำหรับฝูงบินต่อไป ซึ่งจะไปทดแทน ฝูงบิน อัลฟ่าเจต และ แอล-39 ที่ เชียงใหม่...
ส่วน ฝูง 401 ซึ่งเป็นฝูงบินฝึกขับไล่ชั้นสูง สำหรับการเตรียมประจำการในฝูงบินขับไล่ใหม่ ของกองทัพ...ผมเลยมองไปที่ M-346 ของ อิตาลี ที่เมื่อถึงช่วงระยะเวลาที่ต้องปลด แอล -39 ในตอนนั้น ก็ไม่จัดเป็น บ.ใหม่ น่าจะแสดงประสิทธิภาพ ให้โลกได้เห็นอย่างเพียงพอ...และเมื่อดู บ. ในคลาส นี้ ผมก็มีตัวเลือกอีกตัว คือ MB-339 CD เหมือนกับ มาเลเซีย...แต่พอดี ผมชอบ M-346 มากกว่า น่ะครับ...(ไม่มีเหตุผล)
และเช่นเคยครับ...ผมฝากไฟล์ เป็น PDF ไว้ตามลิงค์ ครับ...
http://www.uploadtoday.com/download/?73ef33977d055219634748ccd55bb99e
ลืมสรุป...อีก 20 ปี ข้างหน้า ทอ. ต้องเตรียมการ จัดหา บ.ฝูงใหม่ รวมแล้ว ประมาณ 8 ฝูงบิน และไม่ต่ำกว่า 6 ฝูงบิน งบประมาณ น่าจะอยู่ระหว่าง 130,000 - 230,000 ล้านบาท
ผมว่าบ.ขับไล่อีก 20 ปีข้างหน้าตามความคิดผมนะครับ น่าจะเป็น JAS-39 C/D หรือ E/F ตามที่บอกไว้ครับ เเต่ผมว่าที่จะมาเเทน F-16 ผมว่านะน่าจะเป็น F-18 E/F มั้งครับ ส่วนเรื่องบ.โจมตีนะผมว่าน่าจะเอา F-35 ครับ หรือไม่ก็ MAKO ครับ อยากให้มาเเทน L-39 มากครับ ( เป็ยบ.ขับฝึกขั้นสูงเเละสามารถใช้ในภาระกิจขับไล่โจมตีเบาได้ )
เเละอีกอย่างผมอยากให้ทอ.เราจัดหาบ.สงครามอิเล็กทรอนิกส์บ้างครับ เช่น F-18G ครับ ( หรือไม่จำเป็นหว่า )
ปล.เวลาอีกไกลครับ อาจจะมีบ.ขับไล่ โจมตีรุ้นใหม่ออกมาอีกก็เป็นได้ครับ
.....ในอนาคตข้างหน้า ท.อ.คงน่าจะลดแบบ บ.ข. ในน้อยแบบลง น่ะครับ
...บ.ข.จะแจ้งเกิดในครั้งต่อไป คงจะเป็น แจส-39 เอฟ-35 และ เอฟ-18 คงไม่น่าจะมองเอฟ-16 ที่ขนาดในคลาสเดียวกับแจส-39 น่ะครับ
.....ส่วนบ.ฝ./โจมตีเบา ซุปเปอร์ฯ ทูคาโน่ สิทธิมากกว่ารุ่นอื่นๆทีราคาแพงมากกว่าและประสิทธิภาพยังเป็นรองน่ะครับ ส่วนในด้าน มาทดแทน แอล-39 ยังมอง ที-50 ได้ถ้าราคาไม่แพงน่ะครับ
....ส่วนด้านการทำสงครามอิเล็คทรอนิค นั้นหากมีกระเปาะ อีซีเอ็ม/อีซีซีเอ็ม ติดไปด้วย จะช่วยเสริมการป้องกันจากอาวุธที่ยิงจาก บ.ข.ในภูมิภาคนี้ที่ใช้ระบบ เซมิ-แอ็คทีฟ เรดาห์ น่ะครับ
เนื่องจากว่าในส่วนของการจัดหาอากาศยานทดแทน AU-23A ในภารกิจบินตรวจการณ์/ลาดตระเวนถ่ายภาพนั้นค่อนข้างชัดเจนว่ากองทัพอากาศจะเลือก UAV มาใช้แทนครับ และจากประสบการณ์และระดับภัยคุกคามในปัจจุบันนั้น บ.โจมตีแบบ ย.ใบพัดไม่ค่อยเหมาะสมกับภารกิจนักครับ เนื่องจากบินได้ช้าเสี่ยงต่อการถูกโจมตีด้วยระบบต่อสู้อากาศยาน(ตัวอย่างเช่น OV-10 ที่ถูกยิงตกในร่มเกล้าเป็นต้น) ดังนั้น บ.ใบพัดที่สามารถติดอาวุธเพื่อใช้ในภารกิจโจมตีได้นั้นจึงดูไม่ค่อยเหมาะนักครับ
การจัดหา บ.ใบพัดสำหรับการฝึกนักบินทนแทน บ.ฝึกที่ใช้มานานในโรงเรียนการบินเช่น CT-4 และ PC-9 นั้นเชื่อว่าทางกองทัพอากาศน่าจะเลือกแบบเครื่องที่ไม่จำเป็นต้องใช้เป็นเครื่องโจมตีได้โดยตรงครับเช่น KT-1, PC-21 หรือ T-6 Texan II เป็นต้น
ส่วน บ.โจมตีที่จะมาแทน Alpha Jet นั้น ส่วนตัวคิดว่า 20ปีนั้นนานเกินไปที่จะบอกอะไรได้ครับ เช่นตอนนั้นกองทัพอากาศอาจะปรับแบบฝูงบินโจมตีไปเป็นฝูงบินขับไล่อเนกประสงค์เพื่อลดแบบเครื่องเพราะยุคนั้นอาจะไม่มีการผลิต บ.โจมตีแท้ๆแล้ว หรือไม่ก็อาจจะยุบฝูงทิ้ง หรืออย่างอื่นก็ได้ครับ
และ บ.สำหรับฝึกนักบินขับไล่ก้าวหน้าแทน L-39ZA/ART นั้นก็มีตัวเลือกหลายแบบครับทั้ง บ.Jet อย่าง M-346, T-50 และ Hawk หรือ บ.ใบพัดอย่าง PC-21, Super Tucano, T-6 Texan II แต่ก็เหมือนกันครับว่ายังเร็วไปที่จะอะไรได้ในตอนนี้ (ตอนนั้นเราอาจจะใช้ Simulator แทนเป็นส่วนใหญ่เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการฝึกบินจริงก็ได้ครับ)
เห็นด้วยกับท่านจูดาสทุกประการครับ ยกเว้น บ. ที่จะมาแทน Peace Maker กับ L-39
เนื่องด้วยภารกิจทางใต้ที่กองบิน 53 รับผิดชอบอยู่ ปัจจุบันเน้นไปที่การลำเลียงเบา ลาดตระเวณและตรวจจับความเคลื่อนไหวทางภาคพื้นดิน บ. ที่จะมาแทนจึงยังควรเป็น บ. ลำเลียงเบา และ ยูเอวี
บ. ที่จะมาแทน Peace Maker จึงควรยังเป็น บ. ในภารกิจเดียวกัน ปัจจุบันน่าจะเป็น เซสน่า คาราวาน หรือ PZL M-28 Skytruck ของโปแลนด์ (ตัวนี้เชียร์ขาดใจ ด้วยคุณสมบัติครบถ้วน เวียดนามกับอินโดฯ ก็มีใช้ แต่กับ ท.อ. ไทยแล้ว คงแจ้งเกิดยาก) รวมกับ UAV อีกฝูง
สำหรับ L-39 บ. ที่จะมาแทนคงจะไม่ใช่เจ๊ตจากค่ายยุโรปตะวันออกแล้วละครับ ส่วน บ. จากอิตาลีอย่าง M-346 ราคาก็แพงเกินเหตุ (ผมชอบมันมากนะครับ) ความน่าจะเป็นเมื่อคำนึงถึงความเป็นจริงด้านงบประมาณและความเข้ากันได้กับระบบ บ. ฝึกขั้นสูงเครื่องเทอร์โบพร๊อพจากสวิสหรือเมกันอย่าง PC-21 หรือ T-6 Texan II หรือจะเอา บ. โปลฯ ก็ได้นะครับ PZL-130 TC-II ใช้เครื่อง P&W Canada PT6 ด้วย แถมเก้าอี้ดีดตัว Martin Baker อีก 2 ตัว ส่วนระบบเอวิโอนิกส์จะส่งให้ IAI ม๊อดอีกก็ได้นะครับ
รูป PZL-130 ORLIK ครับ
หรือ ท.อ. จะลองวางโครงการระยะยาว วิจัยพัฒนาสร้าง บ. ท.อ. 7 ขึ้นมาใช้ในภารกิจฝึกบินขั้นสูง+โจมตีเบาก็ได้นะครับ
ตัว บ. ออกแบบและสร้างเอง เครื่องยนต์+เอวิโอนิกส์+เก้าอี้ดีดตัว ซื้อชาวบ้านเค้าเอา ด้วยจำนวน บ. ที่น่าจะมีการจัดสร้างเกิน 50 ลำ สำหรับทั้งฝึกและบินลาดตระเวณรบ น่าจะเกิดความคุ้มค่าในการลงทุนทำเองนะครับ
คำว่าสร้างเองในปัจจุบัน น่าจะหมายถึงออกแบบเองทั้งหมด จากนั้นสร้างชิ้นส่วนบางชิ้นเอง บางชิ้นส่วนก็ซื้อเอา จากนั้นประกอบเองในขั้นตอนสุดท้าย เหมือนที่บริษัทผลิต บ. ทหารและการพานิชย์ทั้งหลายทำกันอยู่ในปัจจุบันนะครับ ไม่มีบริษัทใดผลิตสร้างชิ้นส่วนเครื่องบินทั้งลำเองหรอกครับ มีชิ้นส่วนเป็นจำนวนมากที่ว่าจ้างซับพลายเออร์ทำให้ จากนั้นจึงมาประกอบขั้นสุดท้ายเอง
ระยะเวลายังพอมี (ตามตารางของท่านจูดาส) ไม่เกินความสามารถของอุตสาหกรรมไทยหรอกครับ
ย้ำนะครับ เราไม่จำเป็นต้องสร้างชิ้นส่วน บ. เองทั้งหมด จึงจะได้ชื่อว่าเป็น บ. ที่เราผลิตเอง หากแต่เราต้องวิจัยพัฒนา แผนแบบ ทดสอบ จนได้แบบและสเปคที่เป็นของเรา จากนั้นก็ สร้างและซื้อชิ้นส่วนตามแบบที่เรากำหนดมาประกอบสร้างจนเป็น บ. ทั้งลำ ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ บินทำภารกิจได้ตรงตามที่แผนแบบไว้ อย่างนี้ครับที่เรียกว่าเราทำ เราสร้าง บ. ได้เอง
ฝากไว้ให้คิดกันเล่น ๆ ครับ ไม่แน่นะครับ เราอาจจะได้เห็น บ. รบยุคปัจจุบันเมดอินไทยแลนด์ในช่วงอายุเราก็ได้...
สำหรับฝูง 531 (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ฝูง 501....ผมลืมไปเลย) ผมคิดเอาเองว่า น่าจะเป็นฝูงลาดตระเวณ / โจมตี ปกติ
เพียงแต่ ทอ. คงมี บ. โจมตีไม่เพียงพอ จึงนำเอา AU-23 มาประจำการแทน (ถ้าจำไม่ผิด โยกมาจาก ฝูง 201)
ซึ่งแต่เดิม ฝูง 501 เคยประจำการด้วย OV-10 และต่อมาก็โยกไปอยู่ ฝูง 711 โดยนำเอา AU-23 มาประจำการแทน ซึ่งทางภาคเหนือ เริ่มดูจะมีภัยคุกคามมากขึ้น จากภัยยาเสพติด และ พม่า เอง ก็นำเอา MIG-29 เข้าประจำการ จึงโยกเอา OV-10 จากฝูง 711 ไปอยู่ 411 และ โยก F-5 E จากฝูง 102 มาอยู่ฝูง 711 และต่อมา ก็รวมเอา AU-23 ที่แยกไปมาอยู่ในฝูงเดียวกันหมด
และฝูงบินโจมตี ฝูงใหม่ ไม่ใช่รออีก 20 ปี นะครับ...เพราะอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้านี้ L-39 ก็จะครบ 30 ปี และน่าจะมีหมดอายุไปบางส่วน และจะใกล้เคียงกับ ALPHA JET ที่จะครบ 20 ปี อีกประมาณ 10 ปี ข้างหน้านี้เช่นกัน...
โดยในอีก 10 ข้างหน้า หลังจาก JAS-39 เข้าประจำการครบฝูง 12 ลำ...ทอ. เอง ก็ต้องมี บ.ฝูงใหม่ ประจำการแทน F-5 E ฝูง 211 แล้ว และ ต้องมี บ.โจมตี ฝูงใหม่ มาทดแทน L-39 บางส่วน และ ALPHA JET ที่น่าจะครบอายุประจำการ ในระยะเวลานั้นด้วย...
ผมจึงมองว่า บ.โจมตี แบบใหม่ เรื่องของ แบบเครื่องบิน คงไม่แตกต่างไปจากตัวเลือกในปัจจุบัน....
ดังนั้น ในระยะ 10 ปี ทอ. ต้องใช้งบประมาณจัดหาเครื่องบินใหม่ อีกไม่น้อยกว่า 2 ฝูง ซึ่งเมื่อมามองถึงวัฒนธรรมในการของบประมาณแล้ว บ.โจมตี ฝูงใหม่ คงไม่ใช่ บ. ที่มีราคาสูงเท่าไหร่...
ผมเห็นด้วยกับท่านเสือใหญ่ครับ เรื่องสร้างเครื่องบินเอง ด้วยศักยภาพในปัจจุบัน ผมว่า ไทย น่าจะสร้าง บ. ที่มีสมรรถนะ แบบ EMB-314 ได้แล้ว ผมจึงมองไปที่ EMB-314 ของบราซิล...เพราะ บอลไทย ชอบทีมฟุตบอล สไตล์ บราซิล (เกี่ยวกันไหมเนี่ยยย...5 5 5)
บราซิล กับ ไทย มีสภาพเศรษฐกิจ คล้าย ๆ กัน เป็นประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวย และประชาชนโดยส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้ร่ำรวย...บราซิล เคยประสบปัญหาเศรษฐกิจ ถึงขั้นล้มละลาย (ถ้าจำไม่ผิด) มาแล้ว...คล้าย ๆ กับไทย...แต่ บราซิล ก็ยังมีเทคโนโลยี่ ทางการบิน เช่น บ.ขับไล่ / โจมตี AMX (เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศ) EMB-312 ทูคาโน่ และ EMB-314 ซุปเปอร์ ทูคาโน่ (ขณะนี้ มีออร์เดอร์สั่งซื้อจากประเทศต่าง ๆ แล้ว และบราซิลเองก็จัดสร้างเข้าประจำการประมาณ 90 ลำ) มี EMB-145 (ใช่เปล่า ?) ที่สามารถติดตั้ง อีรี่อาย และประเทศอื่น ๆ ก็จัดหาไปติดตั้ง อีรี่อาย เช่นเดียวกัน มีการปรับปรุง และพัฒนา F-5 EB
ผมจึงมองที่ว่า ความร่วมมือ ระหว่าง ไทย กับ บราซิล น่าจะดูง่ายกว่า และการปกปิดในเรื่องเทคโนโลยี่ ไม่น่าจะมี เพราะเทคโนโลยี่คงไม่ได้มีมากขนาดนั้น เพราะมันการสร้างเครื่องบินใช้เอง โดยปรับใช้ตามสภาพงบประมาณ และความคุ้มค่าในการใช้งานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทัพ
ประกอบกับ ผมชอบ EMB-314 เป็นการส่วนตัว จึงพยายาม เป็น เสี่ยดัน น่ะครับ...กั๊ก กั๊ก กั๊ก กั๊ก
ปัจจุบัน ฝูง 401 เป็นฝูงบินฝึกขับไล่ ชั้นสูง สำหรับการเปลี่ยนแบบ ผมจึงมองว่า ฝูงนี้ คงต้องจัดหา บ.ฝึกแบบไอพ่น เข้าประจำการ
ฝูง 411 น่าจะเป็นฝูงบินชายแดน ซึ่งทางเหนือก็มีแต่ป่า กับ เขา ส่วน บ.ของ พม่า ผมมองว่า ไม่น่าจะใช่ภัยคุกคามในบริเวณนี้ เพราะพม่าไม่ได้มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ประเทศเดียว แต่ยังติดกับจีน กับ อินเดีย ฝูงบินรบของ พม่า คงต้องครอบคลุมทั้งประเทศ...
ดังนั้น บ.ใบพัด โจมตี ก็น่าจะเพียงพอต่อภาระกิจ และน่าจะเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ
ฝูง 231 เมื่อดูจากภัยคุกคาม จากทางฝั่งลาว หรือ เวียดนาม ที่ปัจจุบันไม่มีบทบาทในประเทศลาว (ไม่แน่ใจ และไม่เคยได้ข่าว) บ.ใบพัด โจมตี เพื่อรักษาสภาพกำลังพร้อมรบ น่าจะมีความเพียงพอ และปัจจุบัน ผมมองดูที่ ALPHA JET ก็เห็นแต่ว่า ติดระเบิดได้ เท่านั้น กับมีความเร็วมากกว่า
บ.ใบพัด นอกนั้น ยังไม่เห็นว่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ ซึ่งถ้าได้ EMB-314 แบบรุ่นที่สามารถติด จรวดอากาศ สู่ อากาศ ได้ด้วย...ผมว่าก็น่าจะเพียงพอกับภาระกิจ เมื่อเทียบกับปัจจุบัน และไม่แน่ใจว่า จะสามารถประสานการรบ กับระบบอีรี่อาย ตามรูปของ บราซิล ที่ลงในเว๊ปต่าง ๆ ได้ด้วยหรือไม่ (ผมเคยโพสรูปลงในกระทู้เดิมไว้)
ส่วนฝูง 501 ( 531 ) ซึ่งผมมีความเข้าใจเอาเองว่า ก็น่าจะเป็นฝูงบินรบ โจมตี ปกติ มากกว่า ฝูงบินลาดตระเวณ หาข่าว ซึ่งในภาคใต้ ก็ยังไม่มีฝูงบิน
โจมตี เลย...มีแต่ ฝูง 701 ซึ่งเป็นฝูงบินขับไล่...ผมเลยคิดว่า ในภาคใต้ ไม่ฝูง 501 ก็ฝูง 561 ที่น่าจะเป็นฝูงบินโจมตี อย่างน้อย 1 ฝูง
ผมว่าเครื่องบินสุดยอดของ ทอ.ในอีก20ปีข้างหน้า น่าจะเป็น แจ้ส-39 ซี/ดี ตัวที่กำลังมานี้แหละครับ และอาจจะได้แค่ฝูงเดียวด้วยซ้ำ (ประจำที่กองบิน7)
ส่วน เอฟ-16 ของ 103 อาจแทนที่ด้วย เอฟ-15ซี (มือสอง )ครับ ส่วน อีกสามฝูงที่แหลือน่าจะเป็น เอฟ-16 เอดีเอฟ+เอเอ็ม/บีเอ็ม+ บล็อค 42 (มือสอง อีกเช่นกัน)
เหตุผลไม่มีอะไรมาก แค่ ทอ. เราอาจไม่มีเงินพอจะซื้อเครื่องบินใหม่ ทีละ หลายๆฝูงนะซิครับ ดังนั้น เครื่องบิน ยุค4.5 อย่างแจ้ส แค่ฝูงเดียวน่าจะเพียงพอแล้ว ครับ เอาไว้ต่อยอด เครื่องบินยุคที่5 ( เอฟ-35)ทีเดียวเลยจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินกันบ่อยๆ อีกอย่าง แจ้ส เป็นเครื่องบินสมัยใหม่ที่สามารถ อัปเกรดได้ ในอนาคต ครับ ถ้าไม่เอาแจ้ส ก็ต้องมองไปยังไทฟูน หรือ ราเฟล ของฝรั่งเศสครับ เพราะอยู่ในยุคเดียวกัน
ตามแผนกำลังรบที่ ทอ. มีอยู่ปัจจุบัน คือ 19 ฝูงบิน จะเป็นฝูงบินโจมตี 2 ฝูง (231 และ 411) ฝูงบินฝึกนักบินขับไล่พร้อมรบ 1 ฝูงบิน (401) และฝูงบินตรวจการณ์/โจมตี (501)
ถ้ามองในอนาคต เห็นตามพี่เสือใหญ่และท่าน AAG_th1 ว่า อากาศยานที่น่าจะมาแทน AU-23A น่าจะเป็น UAV ครับ และถ้าจำในแผน 9 ปีเดิมของ ทอ. ได้ ทอ.มีโครงการจัดหา UAV ด้วย ซึ่ง spec นั้น พอๆ กับ MQ-1 เลยล่ะครับ ถ้าถามว่า UAV ที่มี spec ขนาดนั้นทดแทน AU-23A ได้ไหม ก็น่าจะได้นะครับ เพราะ สิ่งที่ Peacemaker ทำอยู่ทุกวันนี้ คือ การตรวจการณ์สนับสนุนกำลังภาคพื้นโดยเฉพาะในเวลากลางคืน และถ้ามีการร้องขอสามารถยิงสนับสนุนได้ระดับหนึ่งด้วย ส่วนภารกิจธุรการอื่นๆ ดูเหมือนว่าตอนนี้จะน้อยลงครับ แต่ถ้ามันไม่ได้น้อยลง บ.ลำเลียงเบา ที่วิ่งขึ้นและร่อนลงโดยใช้ทางวิ่งสั้นมากๆ อย่างที่พี่เสือใหญ่ให้ตัวอย่างไว้ก็ยังคงจำเป็นอยู่ครับ โดย ทอ.อาจจะให้มีฝูงบินปฏิบัติกิจเฉพาะพิเศษเพิ่มเติม หรืออาจฝาก บ.เหล่านี้รวมไว้กับ BT-67 ที่ฝูง 461 ก็ได้เช่นกัน
สำหรับ บ.โจมตี/ฝึก ความจริงแล้วถ้าจะให้ดีควรเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด (3 ฝูงบิน ประมาณ 48-60 เครื่อง) ถ้าเน้นราคาถูกหน่อยและประหยัดอาจเป็น บ.ที่ใช้ ย.เทอร์โบพร็อพ อย่าง Super Tucano, PC-21, T-6B หรือ KT/KO-1 แต่คำถาม คือ ถ้าหาก ทอ. จำต้องทำภารกิจในเหตุการณ์ worst-case scenario ที่ต้องใช้กำลังรบเต็มรูปแบบ อากาศยานประเภทนี้จะสามารถอยู่รอดในสถานการณ์รบแบบนั้นได้หรือไม่ อีกส่วนหนึ่ง คือ ทอ.จะยอมรับได้หรือไม่กับการใช้ บ.ใบพัดสมรรถนะสูงในการฝึกนักบินขับไล่พร้อมรบ ถ้าไม่ ทอ. ก็อาจจะยังคงจำเป็นต้องจัดอากาศยานรบแบบ high-low mix ต่อไป และตัวเลือกก็คงเป็น บ.ฝึก/โจมตีเบา อย่าง Hawk, M-346 หรือ T/AT-50 แต่กระนั้นเหตุการณ์แบบเลวร้ายสุดๆ นั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ และด้วย บ.ขับไล่อเนกประสงค์ที่ทันสมัย 5 ฝูงบิน ก็อาจจะเพียงพอต่อการป้องปรามภัยคุกคามต่างๆ ก็เป็นได้เช่นกัน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น บ.ที่ใช้ ย.เทอร์โบพร็อพ ก็อาจเป็นคำตอบของโจทย์นี้ได้ครับ
อ้อ ลืมเรื่อง บ.ขับไล่ ไปเลย ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นไปตามที่ป๋าจูลดาสว่าล่ะครับ ด้วยเงื่อนไขที่เงินต้องมีพอด้วยล่ะครับ เหอๆๆ เผลอๆ จะลดเหลือ 4 ฝูงๆ ละ 12 เครื่องด้วย -_-
ความเห็นที่สองของพี่เสือใหญ่ช่างโดนใจผมซะจริงๆ แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่ว่าจะได้รับงบประมาณในการพัฒนาเท่าใด ถ้าคิดจะทำจริงผมว่าสร้างทดแทน CT-4 และ PC-9 ไปเลยยังได้
ในส่วนเครื่องบินขับไล่ที่จะแทน F-16A/B ในอีก20ปีข้างหน้า ผมว่าตัวเลือกแรกๆก็คงจะเป็น JAS-39E/F มากกว่าจะเป็นรุ่น C/D เพราะเมื่อถึงตอนนั้นรุ่น C/D คงจะล้าสมัยไปแล้ว แต่ก็ต้องดูว่า JAS-39C/D ที่เราจัดหาชุดแรกมีการบริการและความพร้อมมากแค่ไหน ถ้าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นคาดว่าหวยคงกลับไปลงที่อเมริกาเหมือนเดิม และอาจจะไปลงที่ F-35 เพราะเมื่อถึงเวลานั้น F-35 ก็คงบินปร๋อในหลายประเทศแล้ว แต่จะได้กี่ลำ?....
ส่วนเครื่องบินโจมตี/ฝึก ในส่วนตัวจะชอบเครื่องบินไอพ่นมากกว่า เพราะมีความรวดเร็วในการปฏิบัติภารกิจและอัตราเสี่ยงจากอาวุธนำวิถีต่ำกว่าแบบใบพัด และการฝึกบินก่อนที่จะไปบินเครื่องบินขับไล่หลักนั้นการฝึกกับเครื่องบินที่เป็นไอพ่นน่าจะให้ความรู้สึกที่ใกล้เคียงกว่าเครื่องบินใบพัด และดูแล้วในช่วง 10-20 ปีหลังจากนี้ T/A-50 ของเกาหลีน่าจะดูดีที่สุด
ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ
มาโฆษณาให้เขา....ว่าสามารถปฏิบัติการร่วมกับ อีรี่อาย ได้ รุ่นนี้ เป็นรุ่น Light Attack A-29 ALX Keeping in mind that the Super Tucanos role will not be limited to training alone, Embraer has equipped the A-29 (the Super Tucano version for the Brazilian Air Force, with 99 orders) with systems designed not only to comply with basic requirements, but also to keep pace with the continual changes taking place in the aircrafts potential operating theaters. |
|
ดูดมาจาก Military Photos ซุปเปอร์ ทูคาโน่ ของ โคลัมเบีย เค้า....
รูปไม่ขึ้น เอาใหม่
เร้าใจยิ่งนัก....
โม้ ป่าววววว...
A-29B Super Tucano ของโคลัมเบียนั้นได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ Sensor แบบ BRITE Star (ที่เป็นเป็นลูกบอลกลมดำในภาพครับ) ซึ่งประกองไปด้วย FLIRสำหรับการบินเวลากลางคืน และเครื่องวัดระยะชี้เป้าLaser ครับ ซึ่งสามารถใช้ระเบิดนำวิถีLaserหนัก 500lbs ได้ทั้ง GBU-12 ของสหรัฐฯและ Griffin ของอิสราเอล
ในช่วง 10-20ปีข้างหน้านั้น บ.ใบพัดสมรรถนะสูงสำหรับการฝึกนั้นยังคงมีหลายแบบที่ผลิตครับ แต่ถ้าเป็น บ.ฝึก/โจมตีเบาเครื่องยนตร์Jet นี้คงจะมีน้อยแบบลงครับ ส่วนตัวเกรงๆว่าหลังจากการปลดของ L-39ZA/ART ไปนี้ตัวเลือกในการจัดหา บ.ที่จะใช้ในภารกิจนี้แทนอาจจะเป็น บ.จีน อย่าง K-8 ครับ
ค่อนข้างเป็นได้น้อยที่กองทัพอากาศจะจัดหา F-15C มือสองในอนาคตครับ เนื่องจาก บ.F-15C นั้นเป็น บ.ที่มีขีดความสามารถในการรบแบบอากาศสู่พื้นจำกัดเพราะถูกออกแบบให้เป็น บ.ขับไล่ครองอากาศหลัก และเครื่องที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นก็ผลิตออกมาในช่วงปี 1980s ซึ่งอายุการใช้งานก็ราว20ปีแล้วแถมยังมีข่าวอุบัติเหตุตกเพราะปัญหาด้านโครงสร้างเครื่องจนต้องงดบินระยะหนึ่งเร็วๆนี้ด้วย และเป็น บ.ขนาดใหญ่สองเครื่องยนตร์ซึ่งค่อนข้างสิ้นเปลืองอีก ถ้าเทียบกันแล้ว บ.F-16C/D Block 42 มือสองนั้นจะใหม่กว่าหน่อยและมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากว่าครับ(ใช้อาวุธอากาศสู่พื้นได้หลายแบบกว่า)
ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่า ปัจจุบัน ฝูง 411 และ 231 ซึ่งใช้งาน บ. แบบ แอล 39 และอัลฟ่าเจ็ตนั้น ภารกิจหลักคืออะไร ภารกิจหลักคือ CAS(Close Air Support) หรือ สนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิด ซึ่งเครื่องที่ทำ CAS นั้น สิ่งสำคัญคือ ความแม่นยำ และ การเอาตัวรอดจาก อาวุธต่อสู้อากาศยาน ต้องสูง ยิ่งถ้าเป็น Urban CAS ด้วยแล้วละก็ ความแม่นยำต้องสูงมากๆ.............ซึ่งปัจจุบัน ทั้ง สองแบบที่มีอยู่ ถ้าพูดกันตามตรงแล้ว ก็ยังได้ไม่เท่าที่ควร(แต่ก็ดีกว่าไม่มี).............สมัยยุค เวียดนาม เหตุที่ต้องกรีฑาทัพ บ. ใบพัด ยุคเก่ามาปัดฝุ่นแล้วนำมาใช้ใหม่ เหตุเพราะ ภูมิประเทศเป็นป่ารกทึบ ทำให้ บ. ที่มีความเร็วสูง ตรวจการณ์เป้าหมายได้ยาก และ ใช้อาวุธไม่แม่นยำ(เพราะความเร็ว) อาวุธอากาศ-สู่-พื้นนำวิถี ยังมีใช้ไม่มากเหมือนปัจจุบัน ทำให้ความแม่นยำต่ำ แต่ ปัจจุบัน มันเปลี่ยนไปแล้ว เทคโนโลยีของอาวุธนำวิถี อากาศ-สู่-พื้น ทำให้การใช้งานแม่นยำขึ้น ส่วนการตรวจการณ์ใช้ UAV แทนได้ ทำให้ บ. ความเร็วต่ำในภารกิจ CAS ดูจะเสี่ยงไปมาก...........สำหรับความแม่นยำในการใช้อาวุธของภารกิจCASนั้นไม่เพียงแต่แม่นยำเท่านั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องถูกเป้าด้วย ไม่ใช่แม่นแต่โดนฝ่ายเดียวกันแทน หัวใจของ CAS คือ การให้ข้อมูลเป้าหมายจากนักรบภาคพื้น พูดง่ายๆคือ ต้องคุยกันระหว่างอากาศกับพื้นดินในพื้นที่เป้าหมาย และผู้ที่เป็นคนอนุมัติให้ บ. ปลดอาวุธได้คือ ภาคพื้น .....การใช้งาน LGB ในภารกิจ CAS ผู้ที่ฉาย(แสงเลเซอร์ชี้เป้า)แสงให้ควรจะเป็น ภาคพื้นดิน การฉายแสงด้วย บ. เอง อาจไม่เหมาะสม เพราะ บ. มีเวลาจำกัดในการพิสูจน์ทราบเป้า และถ้าเป็น Urban CAS ซึ่งต้องจำกัดวงการทำลายด้วยแล้วยิ่งสำคัญ ซึ่งปัจจุบัน ทบ. ก็ยังไม่มีกล้องเลเซอร์สำหรับชี้เป้าให้กับ ทอ............การส่ง OV 10 ไปโจมตีต่อแนวหลังข้าศึก สมัยร่มเกล้านั้น ดูเป็นการใช้งาน บ. ไม่เหมาะกับเป้าหมายและภารกิจ OV 10 เหมาะกับ CAS มากกว่าที่จะเป็น BAI (การขัดขวางทางอากาศในพื้นที่การรบ Battlefield Air Interdiction : BAI) ซึ่งคราวที่ส่ง OV 10 ไปนั้นมันเป็น BAI เลยมีความเสี่ยงสูง และก็เกิดการสูญเสียอย่างที่ทราบ.................
ยี่สิบปี นาน นา
วันนั้นคงมีการเปลี่ยนแปลง จากวันนี้ไปนัก
จากปัจจัยปัญหาพลังงาน สิ่งแวดล้อม และวิวัฒนาการด้าน IT กะ Robotic
หมดแล้วยุคทองของ การใช้น้ำมัน
น้ำมันจะยังไม่หมดโลก แต่ถ้าหาซื้อได้คง ลิตรละเป็นพันแล้ว
น้ำมันคงจะกลายเป็นยุทธปัจจัย ที่มีค่าของแต่ละกองทัพ หรือชาติ
อีกยี่สิบปียุคของเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนตร์ไอพ่น เสียงดังๆ
ใช้น้ำมันและพ่นไอเสียจำนวนมากคงจะต้องสิ้นสุดไปแล้ว
เครื่องบินทั้งหมดจะต้องเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนตร์ที่ใช้พลังงานอื่น ซึ่งไม่ส่งผลต่อภาวะแวดล้อมด้วย
ชาติที่ยังไม่มีเงินซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ คงต้องใช้เครื่องบินที่สั่งซื้อในวันนี้
เครื่องบินพวกที่ยังใช้น้ำมัน ของหายากและแพงมาก
ชาติที่ไม่มีแหล่งพลังงานคงไม่สามารถมีหรือใช้เครื่องบิน อย่างในวันนี้
หลายชาติคงจะต้องหันมาใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศ
แทนเครื่องบินขับไล่ที่มีนักบิน ในหน้าที่การเป็น Interceptor / Fighter
ขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศ Intelligent SAM,
UAV และ UCAV จะเป็น อาวุธหลักของกองทัพอากาศ
โดยมีเครื่องบินแบบเก่าที่มีนักบินขับ คอยสนับสนุน
น้ำมันคงทำให้ การฝึกบินด้วยเครื่องบินจริงทำได้ยาก
คงจะต้องใช้การฝึกบินด้วยระบบSimulator ทั้งหมด
อาวุธคงเน้นการส่งคลื่นรบกวน ทำลาย ระบบไฟฟ้าของอาวุธ หรือเป้าหมายฝ่ายตรงข้าม
จากระยะไกล แบบ e-Bomb มากกว่าการ
ใช้การ ชน กระแทก ด้วยวัตถุหรือการระเบิดของวัตถุระเบิด ต่อเป้าหมาย
กระดาษ และNapoleonic stuff จะไม่สามารถสนอง จังหวะของการรบ อีกต่อไป
ชาติที่มีอำนาจ ตอนนั้นเป็นชาติที่มีแหล่งพลังงาน อย่างมาเลย์ อินโด พม่า ขแมร์
ส่วนสิงค์โปร์จะมีอำนาจมากในฐานะชาติที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ตามที่ท่าน FW190 ให้ความเห็นไว้...
ป๋าดัน ขอส่ง EMB-314 ประกวด เรื่องการเอาตัวรอดจากอาวุธนำวิถี พื้น สู่ อากาศ
Crew survivability is ensured through armor protection and state-of-the-art provisions such as MAWS (Missile Approach Warning System) and RWR (Radar Warning Receiver) in addition to chaff and flare dispensers. The communication and navigation system is similar to that of training applications, but features such as PR (Positioning Reporting) and ALE (Automatic Link Establishment) allow automatic transmission of aircraft position and flight data to ground bases. The aircraft is also equipped with an EGIR (Embedded GPS/INS & Radar Altimeter).
เรื่องการติดต่อระหว่างภาคพื้น ป๋าดัน ขอส่ง EMB-314 ประกวด ด้วยระบบ data link ภาคพื้น
Tactical communications take place through a digital anti-interception and jamming V/UHF radio, which through a data-link modem is capable of transmitting frozen FLIR (Forward Looking Infrared) images or positioning fixes to other aircraft. In the silent receiver mode, the system can pick up data from ground stations or AEW&C aircraft without revealing its position.
เรื่องประหยัดพลังงาน ป๋าดัน ส่ง EMB-314 ประกวด เนื่องจากมันคงซดน้ำมันน้อยกว่าไอพ่นแน่ ๆ
ในส่วนของการชี้เป้าหมายทางภาคพื้นดินให้อากาศยานนั้น หลักๆจะเป็นหน้าที่ของชุดควบคุมการรบ หรือ Combat Control Team (PJ/CCT) ซึ่งเป็นชุดปฏิบัติการของอากาศโยธินกองทัพอากาศโดยตรงครับ
ซึ่งในกองทัพสหรัฐฯนั้นจะมีการจัดเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศไว้ในชุดปฏิบัติการพิเศษของหน่วยรบพิเศษในภารกิจที่จำเป็นต้องมีการติดต่อประสานกับอากาศยานของกองทัพอากาศหลายๆแบบ เช่น ในการบุกอัฟกานิสถานปี 2001 นั้นชุดปฏิบัติการพิเศษของกองทัพบกสหรัฐฯ(Green Berets) ที่โดดร่มแทรกซึมไปติดต่อกับกลุ่มพันธมิตรฝ่ายเหนือนั้นก็มี CCT ของกองทัพอากาศร่วมทีมด้วยครับ
แต่ในส่วนของกองทัพบกไทยนั้นถ้าไม่มี เครื่องชี้เป้าLaser ใช้งานในหน่วยก็คงจำเป็นต้องประสานกับชุด CCT มาร่วมทีมแล้วแต่ภารกิจครับ(ซึ่งอย่างหน่วยรบพิเศษนั้นคิดว่าน่าจะมีการฝึกร่วมในส่วนนี้) แต่ปัญหาคือในการรบตามแบบนั้นถ้ากำลังของกองทัพบกต้องรอการประสานจากกองทัพอากาศนั้นอาจจะไม่ทันหรือเหมาะสมในหลายๆกรณีครับ (ประเด็นคือการจัดหาอุปกรณ์และการฝึกร่วมการประสานงานครับ)
เอ๊า....ป๋าดัน...สุด สุด....
เห็นใจท่าน Skyman ครับ...มือเจ็บอย่างนี้ ลำบากครับ...เวลาทานอาหาร เราก็ต้องเลือกร้านอาหาร แบบพวก NO Hand ครับ...พวก รัชต์ภัตตาคาร...ทำนองเนี๊ยยยย...ครับ....กิ กิ กิ กิ (แหมม...นึกแล้วก็กิ๊ว กิ๊ว จัง)
ป๋าดัน...สุด สุด อีกแล้ว...
The M-346 is the only new generation Advanced/Lead-In Fighter Trainer currently available in Europe. The aircraft is tailored to train pilots to fly future combat aircraft and is well suited for every phase of advanced and pre-operational training, to reduce the flight hours on the more expensive aircraft. The aircraft embodies the latest design-to-cost and design-to-maintain concepts, with avionics modelled upon those of new generation military aircraft such as Eurofighter, Gripen, Rafale, F-16, F-18, F-22 and the future F-35.
ปกติแล้ว ทอ. จะจัดเจ้าหน้าที่มาอยู่กับ ทก.(ที่บังคับการ) ของทบ. ในหน่วยระดับต่างๆ เพื่อประสานและช่วยในเรื่องของการปฏิบัติร่วมกับอากาศยานของ ทอ. ซึ่งหน่วยที่เล็กที่สุดที่มีก็คือ หน่วยระดับกองพัน ซึ่งจะมีชุดที่เรียกว่า ชผคน.(ชุดผู้ควบคุมอากาศยานหน้า) พูดง่ายๆก็คือ ทำหน้าที่ GFAC(Ground Forward Air Control) นั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่ให้คำแนะนำผู้พันและเป็นเครื่องมือในการประสานกับอากาศยานในการเข้าโจมตีเป้าหมาย ผู้ที่เป็นคนเลือกเป้าหมาย ก็คือ ผู้พัน ซึ่งชุดดังกล่าวประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่และรถฮัมวี่ติดเครื่องมือสื่อสาร 1 คัน..........ถามว่า ขีดความสามารถของชุดดังกล่าวนั้น สมารถติดตามหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในแนวหน้า(ร้อย.นขต.ของกองพัน)ได้ขนาดไหน ถ้าพื้นที่ไม่สามารถนำรถฮัมวี่เข้าไปได้ จะทำยังไง(จริงๆในรถมันมีวิทยุ แมนแพ็ด สำหรับแก้ปัญหา แต่ถามว่าตัวเจ้าหน้าที่นะ สามารถเดินขึ้นเขาลงห้วยติดตามหน่วยได้หรือเปล่า) ซึ่งถ้าจะให้ชุดดังกล่าวนำกล้องเลเซอร์ชี้เป้าทำการฉายแสงให้เครื่องบินนั้น ชุดดังกล่าวจำเป็นต้องมองเห็นเป้าหมายและนั้นหมายถึง ชุดดังกล่าวต้องติดตามหน่วยในแนวหน้า เพราะถ้าอยู่ที่ตัว ทก.พัน ละก็คงไร้ค่า..................ว่าไปแล้ว มาเอากันตั้งแต่ต้นเลยดีกว่า เริ่มกันที่ เครื่องมือก่อน ถามว่าปัจจุบัน หน่วยในสนามของ ทบ. จะคุยกับ เครื่องบิน ได้อย่างไร ในเมื่อ เครื่องมือนั้นใช้งานที่คนละย่านความถี่ ของ บ. หลักๆวิทยุเป็น VHFและUHF ส่วน ทบ. มี HF กับ VHF และตัว VHF ของ ทบ.และทอ. ก็คลละย่านความถี่ ถึงมันจะเป็น VHF เหมือนกันก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว ผบ.หน่วยในสนามทุกระดับชั้นจำเป็นต้องสามารถควบคุมและนำอากาศยานเข้าโจมตีได้ในระดับหนึ่ง(เช่นเดียวกับใน ทบ. เอง ที่ถึงแม้ว่า เหล่า ป. จะส่ง ผตน. มาอยู่กับ ร้อย.อวบ. แต่ในความเป็นจริง ผบ.หน่วย เช่น ผบ.หมู่ ผบ.มว. จะต้องสามารถร้องขอและปรับการยิง ป.และค.ได้) แต่ ถามว่า เครื่องมือสื่อสารและการฝึกละ เอาสิ่งแรกที่ต้องมีก่อนคือ เครื่องมือสื่อสาร ที่สามารถคุยกันได้ แต่การจะเปลี่ยนวิทยุในระดับหมู่หรือหมวดทั้งกองทัพในครั้งเดียวคงจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็น่าจะดีถ้าเริ่มทำ.......ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงแก้ปัญหาด้วยกันให้ ทอ. จัดชุดข้างต้นมาสมทบกับหน่วยของ ทบ.(ทร.ก็ในลักษณะเดียวกัน).........ต่อไปสิ่งสำคัญก็คือ การฝึก การรบร่วมต้องมีการฝึกร่วมกัน ถ้าต่างคนต่างฝึก ก็จะไม่มีทางประสานกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เอาง่ายๆแค่การฝึกในหน่วยเดียวกัน เช่น ชผคน. ฝึกกับฝูงที่ทำ CAS โดยตรงนั้นมีการฝึกมากน้อยและเข้มข้นแค่ไหน การฝึกภายในฝูงโดยใช้ AFAC(Air Forward Air Control) เนื่องจากเป็นหน่วยเดียวกันดังนั้นการฝึกคงมีอย่างต่อเนื่อง แต่การฝึกร่วมต่างหน่วยละ เพราะ AFAC และ GFAC ต่างก็มีข้อดีข้อเสียจะใช้อย่างเดียวกับทุกสถานการณ์คงไม่ได้..............กองร้อยผมมีชุดวิทยุตาม อจย.อยู่ที่เรียกว่า ชุดวิทยุสนับสนุนทางอากาศ แต่ มีแต่อัตราไม่มีเครื่องมือ ดังนั้นจึงหมดสิทธิ์ในการคุยกับเครื่องบิน(กับ ฮ. ทบ. คุยได้ เพราะมี ฟ็อก ไมท์(FM) เหมือนกัน แต่ถ้า ฮ. ทอ. บน.2 แล้วละก็หมดสิทธิ์) ถ้ามีการจัดเครื่องมือและการฝึกให้กับชุดวิทยุดังกล่าวแล้ว ผมเชื่อว่าสามารถช่วยงานได้เยอะพอสมควร............ การรบร่วมหรือยุทธ์ร่วมแบบจริงจังเต็มประสิทธิภาพสำหรับเรานั้น ปัจจุบันส่วนตัวแล้วคิดว่า คงเป็นไปได้ยากหรือลำบาก ตราบใดที่แต่ละเหล่าทัพยังมีคำว่า Tattoo Color (ยืมคำป๋าปืนมาใช้) มากเกินไป ซึ่งบรรพบุรุษของเรามีวิสัยทัศน์ได้จัดตั้ง โรงเรียนการรบร่วม ไว้ (ของ ทอ.) ซึ้งตั้งมานานมากแล้ว แต่ไม่เห็นมันจะมีอะไรพัฒนาเลย.....และก็น่าแปลกว่าแต่ละเหล่าทัพมีศัพท์หรือหลักนิยมของตนเอง แต่บางอย่างที่มันต้องใช้งานร่วมกันทำไมถึงไม่ทำให้มันเหมือนกันหรือเข้าใจกันง่ายขึ้น พูดง่ายๆก็คือ ต้องพูดภาษาเดียวกันถ้าพูดกันคนละภาษายังไงก็คุยกันไม่รู้เรื่อง ยกตัวอย่าง เช่น คำศัพท์ทางเทคนิคต่างๆ ของ ทบ.จะใช้คำย่อภาษาไทย เช่น ขนพร.(ขอบหน้าพื้นที่การรบ) แต่ของ ทอ.จะใช้ภาษาอังกฤษ จากคำความหมายเดียวกัน(ขนพร.) ทอ.ใช้ FEBA Line(อ่านว่า ฟี-บ้า ไลน์) ซึ่งย่อมาจาก Forward Edge of the Battle Area ถ้าไปพูดว่า ฟีบ้าไลน์ กับทบ.ละก็ ทบ.บางคนไม่รู้จักหรอกครับ และเช่นกันถ้าพูด ขนพร. กับ ทอ. ทอ.ก็ไม่รู้จักเช่นกัน ในเรื่องแผนที่นั้น เนื่องจาก ทอ. มีพื้นที่ปฏิบัติการที่ไกล ดังนั้นจึงต้องใช้แผนที่ สเกลเล็กๆที่คลุมพื้นที่เยอะ(น่าจะใช้ 1:250000 เป็นหลัก) ส่วน ทบ. พื้นที่ไม่กว้างไกลและจำเป็นต้องเห็นรายละเอียดมากๆ ดังนั้นจึงใช้แผนที่สเกลใหญ่เป็นหลัก(1:50000) ปัญหาคือ การพูดการขานพิกัดที่ต่างกัน ทอ. ใช้ Lat Long แต่ ทบ.ใช้พิกัด 6 ตัว และการบอกพิกัดเป้าหมายแก่อากาศยาน ทบ. เป็นคนบอก ส่วน ทอ. เป็นคนปฏิบัติ และถ้าบอกเป็นพิกัด 6 ตัว นักบินก็อาจจะไม่เข้าใจหรืออาจจะต้องเสียเวลาหรืออาจจะเลยเถิดไปถึงการเข้าที่หมายผิดไปเลย ไอ้ครั้นจะบอกเป็น Lat Long ทบ. บางนาย(ซึ่งเชื่อว่าส่วนมาก) ก็อ่านไม่เป็น ซึ่งหน้าที่การเปลี่ยน 6 ตัวเป็น แลต ลอง หรือหาพิกัดแลต ลอง เป็นของ ชผคน. ถ้าเป็นเป้าหมายที่กำหนดล่วงหน้ามันก็ไม่เท่าไหร่ยังมีเวลา แต่ถ้าเป็นเป้าหมายเฉพาะหน้าละ และเป้าหมายCASมันจะเป็นลักษณะนั้นเสียด้วย คงมันพิลึก และ ชผคน. นั้นมีจำนวนพอเพียงหรือเปล่าถ้าหากต้องใช้จริงๆ และที่สำคัญ ชผคน. เคยฝึกร่วมกับ ทบ. มากแค่ไหน และเช่นกันถ้าเป็นการยุทธ์ร่วมระหว่าง ทบ.กับทร.ละ เช่น การร้องขอปืนเรือยิงเป้าหมายบนฝั่ง ซึ่ง ทร. ก็ใช้ แลต ลอง เหมือนกัน..........สรุปก็คือ การพัฒนาปรับปรุงหลักนิยมและตำรา รวมถึงการฝึกร่วมของเรานั้น ผมว่ายังล้าหลังสุดๆ ไม่มีเหล่าทัพใดสามารถรบเพื่อเอาชนะได้โดยลำพัง และโดยเฉพาะสนามรบแบบอสมมาตร เช่น การก่อความไม่สงบหรือก่อการร้ายในปัจจุบัน ยิ่งต้องมีการ ร่วมของแต่ละหน่วยงานมากกว่า 3 เหล่าทัพด้วยแล้วละก็ยิ่งแล้วใหญ่...........
สรุป ถ้ารัฐบาลสามารถจัดงบประมาณให้ ท.อ. ตามจำนวนและวาระที่ควรจะเป็น แต่ละฝูงบินคงจะโอกาสได้ทดแทนด้วย บ. ประมาณแบบที่ท่านจูดาสว่าไว้
แต่ถ้าไม่ เราคงได้เห็น บ. แบบเดิมๆ ประการอยู่ต่อไปอีกนานเท่านาน
ยกตัวอย่าง โครงสร้าง F-5 T เรายังใช้ได้อีกหลายปี เพราะปัจจุบันเฉลี่ยใช้ไปแล้วเพียง 3,000 ชั่วโมงบิน หากมีงบซ่อมบำรุง / ซื้ออะไหล่ / ปรับปรุงชิ้นส่วนสำคัญตามวาระ อีก 10 เราคงยังได้เห็นไทกริสบินอยู่แน่ครับ
แต่ตัว F-5 T รุ่น F อาจเป็นปัญหาได้ เพราะใช้งานไปแล้วเฉลี่ยถึง 6,000 ชั่วโมง เนื่องจากเป็น บ. ที่มีจำนวนน้อย และต้องรับบทฝึกนักบิน อาจอยู่ได้อีกไม่ถึง 10 ปี
F-5 E/F ฝูงสุราษฎร์ฯ ได้รับการทดแทนด้วยกริเป้นครึ่งฝูงไปแล้ว อีกครึ่งฝูงจะมาช้าหรือเร็วอันนี้น่าคิดครับ ขึ้นอยู่กับงบประมาณว่าจะได้รับหรือไม่และเมื่อไหร่
พีซเมคเกอร์จะยังคงใช้งานไปได้อีกนาน เนื่องจากโครงสร้างและเครื่องยนต์ยังเหลืออายุการใช้งานอีกเยอะ ระบบช่วยเดินอากาศก็เพิ่งปรับปรุงไป ฉะนั้น เรายังคงได้เห็นมันบินปร๋อได้อีกหลายปีแน่นอนครับ
ดูๆ ไป ผมว่าเราคงได้แต่ถกกันถึงความน่าจะเป็นสำหรับ บ. ใหม่ในแต่ละฝูงบินเท่านั้นครับ เพราะมองถึงความเป็นจริงแล้ว หลายอย่างยังห่างไกลเหลือเกินครับ (หมายถึงการจัดหา บ. ใหม่) แล้วอะไรที่ไกลๆ เนี่ย โอกาสผลิกผันเปลี่ยนแบบเปลี่ยนนโยบายมีสูงเหลือเกิน
ส่วนตัวแล้ว ผมอยากให้ ท.อ. ได้มีโอกาสได้จัดหา บ. ที่ตัวเองต้องการในเวลาที่เหมาะสมจริงๆ ไม่ใช่ด้วยเพราะเลยเวลาที่ควรจะหามาเปลี่ยนใหม่ไปมากแล้ว เพราะรัฐบาลไม่มีงบลงทุนจัดซื้อเพิ่มให้จากงบประมาณปรกติที่ได้รับในแต่ละปี ไม่งั้นลูกทัพฟ้าก็จะต้องทนให้เค้ารัดเข็มขัดตัดงบโน้นงบนี้ซึ่งเป็นงบบริหาร (เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ครุภัณฑ์ ค่าเชื้อเพลิง ค่าอะหลั่ย ฯลฯ) เพื่อเอาเงินไปโปะซื้อเครื่องบินใหม่อย่างที่การจัดหาครั้งหลังๆ มักทำกัน มันดูจะเป็นการทอนกำลังใจผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก แล้วใครจะมีกำลังใจทำงานให้ดีได้กันครับ
หากสภาพเศรษฐกิจยังเป็นอยู่อย่างงี้อีกต่อไปในระยะยาว เครื่องสมรรถนะสูงราคาแพงไม่มีโอกาสแจ้งเกิดใน ท.อ. แน่ครับ
งบประมาณจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการกำหนดแบบ บ. ใหม่ในอนาคตของ ท.อ. ครับ หากจะถกกันต่อไป ผมว่าต้องเอาราคาเครื่อง+โอเปอร์เรติ้งคอร์ส เข้ามาพิจารณาด้วยครับ นอกเหนือจากสมรรถนะและปัจจัยอื่นๆ
พิมพ์ไปก็ว้าเหว่ใจไปกับ ท.อ. เหลือเกินครับพี่น้อง...
ไม่ได้ตำหนิใคร แต่หนักไปทางเห็นใจซะมากกว่าครับ
2553 เป็น ดิจิตอล แอร์ฟอร์ซ
2558 กำลังรบทางอากาศต้องสู้ได้กับทุกชาติในอาเซี่ยน
เป็นจริงไปไม่ได้หรอกครับ หากรัฐไม่จัดสรรเงินให้มา
ผมว่าอีก 20 ปีข้างหน้า บ.ข น่าจะเปลี่ยนรูปแบบบ้างนะครับ ตัว F-serie อาจจะดูห่วยไป เพราะ อย่าลืมว่าเทคโนโลยีการบินก้าวกระโดดมาก
และญี่ปุ่นอาจจะเป็นผู้พลิกโฉมอากาศยานการบินแบบใหม่ของโลกในอนาคตซึ่งแน่นอนว่าประเทศค่ายสังคมนิยมน่าจะปรับตัวสร้างบินใหม่ขึ้นมาบ้างเหมือนกัน เดาได้เลยอนาคตเครื่องบินจะออกมาหลายรุ่นมากขึ้นและพัฒนาการจะเร็วกว่าที่เรานึกถึงกันอยู่ในขณะนี้
อนาคตอาจจะได้พบเห็นเครื่องบินโจมตี ขับไล่ครองอากาศไร้มนุษย์มาบินเล่นและเทคโนโลยีที่จะพอสู้ได้คือการมีระบบเน็ทเวิร์คที่ดีระหว่างฝูงบินครับ เพราะยังไงซะอาวุธเราก็ไล่ตามเค้าไม่ทันแล้ว เอาแทคติกทางยุทธวิธีเข้าสู้จะดีกว่าครับ
หากคนไทยสามารถพัฒนาอาวุธได้เองเหมือนประเทศเล็กๆในยุโรปที่เค้าเริ่มปรับตัวทำกันเองไปแล้ว เมื่อนั้นเราถึงจะมีโอกาสพูดได้ว่าอีก 20 ปี ประเทศไทยจะมี ฝูงบินรบของกองทัพอากาศไทย ได้เต็มปาก
เหล็กแนะนำให้ไปซื้อจีนครับผลิตเยอะมาก
^^a