กรณีพิพาทไทยกับฝรั่งเศส เท่าที่ผมหาข้อมูลจะพบแต่การทำยุทธเวหากับยุทธนาวี แต่การปฏิบัติการของกองทัพบกผมหาไม่ได้เลยครับ ช่วงสงครามนั้นกองทัพบกได้ปฏิภารกิจอะไรบ้างครับ
ป.ล.1 ถ้าฝรั่งเศสฉายเดี่ยว ทำไมรบกับใครก็แพ้
ป.ล.2 พอจะมีใครสงเคราะห์รูปภาพ F-5B ติดไซด์ไวน์เดอร์บ้างไหมครับ ผมเคยก๊อบรูปของท่านท้าวฯมา แต่มันหายไป แต่พอย้อนกลับไปกระทู้นั้น มันก็หายไปแล้ว
..........ทหารไทยที่เข้าตีเขมรในช่วงสงครามอินโดจีน ถูกยกให้เป็น ทหารผีดิบ
......เกิดที่ศึกตี ศรีโสภณ
......การเข้าตีครั้งนี้ทหารไทย ต้องเจอกับสารพัดอาวุธนานาชนิดและทหารจากอาณานิคมฝรั่งเศส ซึ่งมองแล้วยากและน่าจะสร้างความสูญเสียให้ทหารไทยมาก
....รัฐบาลได้นิมนต์พระเกจิ มาปลุกเสกผ้าประเจียด โดย หลวงพ่อแฉ่ง หลวงปู่โอภาสี หลวงพ่อจง หลวงพ่อจาด มาปลุกเสกที่วัด บวรนิเวศฯ โดยมีทหารล้อมรอบ ตั้งแต่ค่ำยันเช้า จนเงียบชนิดได้ยินเสียงวิญญาณโหยหวน และจึงนำไปแจกให้ทหารที่จะเข้าตี ศรีโสภณ โดย พลตรีหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต นำไปแจกให้ทหาร 14พานทอง
......ต่อมาเมื่อทหารไทยยกเข้าตีเมืองศรีโสภณ ตำนานที่เล่าขานไว้ว่า ทหารไทยถูกยิงไม่เข้า โดนยิงแล้วล้มมาลุกไล่เข้าตีทหารที่ป้องกันศรีโสภณ อย่างดุเดือด โดยอาวุธฝ่ายตรงข้ามทำอะไรไม่ได้ จนสามารถมีชัยหนือข้าศึกและยึดศรีโสภณ ไว้ได้
....ที่เล่าให้ฟังอันนี้ แล้วแต่ความเชื่อน่ะครับ โดยพระที่ออกสงครามสร้างชื่อให้ทหารไทย อย่าง หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง ที่ตะกรุดโทนไปแสดงความขลังเมื่อ ลูกศิษย์ นำติดตัวไปและถูกยิงทั่วตัวที่ เวียดนามแต่ยังจับปืนยิงต่อสู้ได้จนสิ้นสุดการปะทะ และเสียชีวิตเนื่องจากช้ำในก็ทำให้ทหารอเมริกาได้ฮือฮา มาแล้ว หลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐ ก็เป็นหนึ่งในพระที่ทางด้าน ป้องกัน มหาอุตเช่นกัน
......แล้วแต่ใครจะเชื่อหรือไม่ เห็นว่ามันเกิดในสงครามอินโดจีนด้วยอ่ะ แต่ทหารไทยพึ่งสิ่งเหนือธรรมชาติมาปกป้องมาช้านาน สร้างขวัญกำลังใจมาก็มากน่ะครับ
วันที่ 8 ตุลาคม 2483 เป็นวันที่นิสิตจากจุฬาฯ เป็นจำนวนมากรวมทั้งนักเรียนจากเตรียมอุดมฯเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส การเดินขบวนครั้งนั้น นับเป็นการเดินขบวนครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เริ่มต้นในช่วงเช้า จากประตูจุฬาฯ เลี้ยวซ้ายไปสายย่านมุ่งหน้าไปวัดพระแก้ว โดยใช้เส้นทางผ่าน หัวลำโพง เจริญกรุง วรจักร ราชดำเนินนอก ราชดำเนินกลาง ราชดำเนินใน จนไปหยุดที่ ถนนหน้ากระทรวงกลาโหมกับวัดพระแก้ว โดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และ อธิการบดีของมหาวิทยาลัยจุฬาฯ ในขณะนั้น ออกมาให้การต้อนรับที่มุขหน้ากระทรวงกลาโหม ต่อมาในช่วงบ่ายก็มีนักศึกษาจากธรรมศาสตร์ออกมาสมทบ
ตอนที่ขบวนเดินกันออกมากจากจุฬาฯ พร้อมป้ายน้อยใหญ่หลายสิบแผ่นที่มีข้อความเขียนไว้ดูแปลกตา เช่น ดินแดนของเราเอาคืนมา ปีนี้ไม่ใช่ รศ. ๑๑๒ หรือ พูดดีๆ ไม่ชอบ ต้องปลอบด้วยปืน อะไรทำนองนี้แหละครับ ประชาชนคนเดินถนนชาวบ้านร้านตลาดไม่ระแคะระคายอะไรมาก่อน ต่างตกตะลึง แต่พอได้อ่านป้ายต่างๆ ที่เหล่านิสิตนักศึกษาเขียนชูไว้ ก็รู้ว่าเรื่องอะไร แล้วสิ่งที่คาดไม่ถึงมาก่อนก็เกิดขึ้น เริ่มต้นตั้งแต่แยกสะพานเหลืองไปจนตลอดเส้นทาง อะไรน่ะเหรอครับ ก็ผู้คนที่ช่วยกันบริจาคทรัพย์สินสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศสไงครับ ไม่มีใครได้เตรียมตัวเตรียมใจกันมาก่อน พอพบกับขบวนเข้าก็รีบควักส่งให้แบบเทกระเป๋า เจ้าของร้านรวงตามรายทาง ต่างเทเก๊ะวิ่งเอาเงินออกมาสบทบ รถราในถนนจอดลงมาร่วมบริจาคกันวุ่นวายไปหมด ไม่เว้นแม้แต่ผู้โดยสารบนรถรางรถเมล์ ผู้เฒ่าผู้แก่เข้ากอดหน้ากอดหลังยุวนารีด้วยน้ำตานองหน้า ใครๆ ก็ยังไม่ลืมวันนั้น วันที่ ลูกอ่อนหลับในเปลนอนสะดุ้งผวาตื่นร้องไห้จ้า เพราะเสียงปืนเรือรบมาแล้ว เราไม่ลืมจริงนา ท้ายขบวนมีประชาชนเดินตามต่ออีกยืดยาว เมื่อขบวนหยุดที่หน้าวัดพระแก้วหน้ากระทรวงกลาโหมยังมีผู้ติดตามไปบริจาคสมทบอีกมากทั้งสองปีก โดยไม่มีโอกาสเตรียมตัวมาก่อน สองฝ่ายมาพบกันอย่างฉุกละหุก ยอดเงินบริจาคในวันนั้นประมาณ 13,000 บาท ยุคข้าวแกงพูนจานไข่ต้มอีกฟอง ราคา 6 สตางค์แดง ผู้เฒ่าบางท่านส่งเหรียญ 10 สตางค์ เหรียญสลึงด้วยน้ำตาคลอเบ้าพูดเสียงเครือ เอ้า เอาไปสู้มันลูกหลายเอ๋ย มีแค่นี้ก็ช่วยแค่นี้นะ
ข้อความข้างนี้ผมคัดมากจากหนังสือ สงครามอินโดจีน ไทยรบฝรั่งเศส พ.ศ. 2483 ของสำนักพิมพ์สารคดี เขียนโดย คุณ สรศัลย์ แพ่งสภา อ่านประโยคตอนท้ายนี้ทีไร น้ำตาจะไหลทุกที ถ้ามีโอกาสไปหาอ่านกันนะครับ เป็นหนังสือที่ผมอ่านไม่เคยจบเลย พออ่านถึงหน้าสุดท้ายก็ต้องผลิกกลับไปอ่านหน้าแรกใหม่ทุกที
เคยอ่านในยุทธโกษฐ์ เมื่อเกือบ30ปีมาแล้วเกียวกับการรบทางบกที่ ปอยเปต ครับ นับเป็นสงครามรถถังครั้งแรกของไทย ทีเดียว แต่ตอนนี้ถ้าอยากอ่านต้องไปลองหา อ่าน ในวิกิพีเดีย ในตอนสงคราม ไทย-ผรั่งเศส หรือใน เวปฝรั่ง wier war (สงครามแปลกๆ) ครับ ฝรั่งมันละเลงซะมันหยดทีเดียว แต่ถ้าใครอยากอ่านภาษาไทยลองดูหนังสือ ประวัติของท่าน องคมนตรี พล.อ.เปรม นาครับ เพราะท่านก็เคยร่วมรบในสงครามครั้งนี้เหมือนกัน
ที่ฝรั่งเศส สู้ไทยไม่ได้เพราะ อาวุธเราดีกว่าและทหารเราก็พร้อมกว่าครับ รัฐบาลวิชี ทิ้งอาวุธล้าสมัยรุ่นสงครามโลกครั้งแรกไว้ในอินโดจีนครับ ทหารฝรั่งเศสจริงๆนั้นมีแค่ตัวนายเท่านั้นเอง ส่วนพลทหารกับนายสิบเป็น ญวน ซะเป็นส่วนมาก ทอ. ไทยเราก็ทันสมัยกว่ามากครับเมื่อดูภาพโดยรวม ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสจะมีเครื่องบินทันสมัยจำนวนหนึ่งแต่ก็มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับไทยที่ค่อนข้างใหม่กว่าและมากกว่าครับ
แก้ไขให้น้อง champ thai army เรื่องชื่อเครื่องบินของฝรั่งเศสนะครับ ที่ว่าชื่อโรมาน ที่จริงมันชื่อว่าโมรานนะครับ ไปดูข้อมูลได้ที่นี่ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Morane-Saulnier_M.S.406
พอดูในวิกิฯเขาเขียนไว้ว่าไทยเรายึดโมรานไว้ได้ด้วยทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาครับทำไมผมไม่เคยเห็นในพิพิธภัณฑ์เลย รบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบแก้ข้อข้องใจให้หน่อยนะครับ
ในรูปเป็นเครื่องบังคับนะครับ 5555
ทีนี้มาดูเรื่องความคล้ายกันของฮอค 75ของไทยกับฝรั่งเศสกัน
เริ่มจากของพี่ไทยก่อนครับ
คือว่าไม่มีรูปที่จะให้เห็นตราวงกลมของกองทัพอากาศไทยชัดๆบนตัวฮอค 75 เลย ลองใช้อิเมจิ้นกับตราที่เห็นในเครื่องรุ่นอื่นเอาเองนะครับ
คุยเรื่องอาวุธของอินโดจีนฝรั่งเศสบ้างนะครับ กองทัพไทยเราในตอนนั้นเหนือกว่าด้านกำลังพลและอาวุธกว่าอินโดจีนฝรั่งเศสมาก ไม่ว่าจะเป็นรถถังวิกเกอร์ของเราที่เหนือกว่ารถถังเรอโนล เอฟที 17 สมัยสงครามโลกครั้งแรกของฝรั่งเศส ทั้งอาวุธปืน ความเร็ว และความแข็งแกร่ง ปืนใหญ่สนามของฝรั่งเศสยังน่าจะเป็นปืนสไนเดอร์ เอ็ม 1897 ขนาด75มม.ที่ใช้มากในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไม่ทราบเหมือนกันว่าฝรั่งเศสในอินโดจีนมีปืนใหญ่ 155มม.ใช้หรือไม่? แต่ไทยเรามีปืนใหญ่สนามโบฟอส 155มม. และปืนใหญ่ 75มม.ของกรุปป์
ตอนแรกฝรั่งเศสยังไม่มีปืนต่อสู้รถถัง แต่พอรบลึกๆเข้าไปก็เจอปืนใหญ่ต่อสู้รถถัง 25มม. ทำให้รถถังวิกเกอร์เราพังไป 3คัน(รวมที่โดนปืน 75มม.ด้วย) การตั้งรับฝรั่งเศสขุดสนามเพลาะไว้แต่ก็ต้านกองทัพไทยไม่ได้
เรื่องทหารราบนี่ผมไม่ทราบว่าฝรั่งเศสในอินโดจีนมีปืนไรเฟิล MAS 36ที่ฝรั่งเศสใช้ในสงครามโลกครั้งที่สองสู้เยอรมันหรือยัง ถ้ายังก็คงเป็นปืนไรเฟิลเลเบล สมัยสงครามโลกครั้งแรก ดังนั้นปืนสยามเมาเซอร์ของเราก็น่าจะทันสมัยกว่า ระเบิดมือนี่ไทยเรามีใช้หรือยัง? เพราะเคยอ่านในหนังสือตอนที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเขาเขียนว่าไทยเราไม่มีระเบิดมือ? พอเห็นญี่ปุ่นใช้ก็ต๊กกะใจ แต่ฝรั่งเศสคงมีแล้วละ ปืนกลเบานี่ไทยเราใช้ปืนกลแม็ดเสน(medsen) ปืนกลหนักน่าจะเป็นปืนกลวิกเกอร์ ฝรั่งเศสก็น่าจะปืนกลเบาโชช่า ปืนกลหนักฮอตคิซสมัยสงครามโลกครั้งแรก ก็ไม่รู้อีกนั้นแหละว่ามีปืนกลเบา FM 24/29 (ไม่ใช่คลื่นสถานีนะ) ใช้หรือยัง
การรบทางอากาศไทยเราใช้เครื่องบินของญี่ปุ่น ส่วนฝรั่งเศสก็จำพวกโมราน ฮอค 75 เคยอ่านหนังสือฝรั่งเศสเอาเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ชื่อฟามังค์มาทิ้งระเบิดนครพนมด้วย แต่ไทยเราก็เอาเครื่องทิ้งระเบิดสองเครื่องยนต์(ไม่แน่ใจว่าของญี่ปุ่นหรือเปล่า?) ไปทิ้งระเบิดใส่สนามบินในอินโดจีน แล้วนักบินก็ทำลายเจ้าฟามังค์ตอนจอดอยู่ที่พื้นไปด้วย
เอ้าพูดซะยาว(เหนื่อย) นี่รูปฮอค 75ของฝรั่งเศสจ้า
หากอยากได้ตารางเปรียบเทียบกำลังพล ก็ดูได้ที่วิกิครับมีสองเวอร์ชั่น
เวอร์ชั่นไทย(สั้น)
เวอร์ชั่นฝรั่ง(ยาวดีแต่แปลเอาเอง)
http://en.wikipedia.org/wiki/French-Thai_War
แล้วก็เว็บฯของคนไทยแต่เป็นภาษาปะกิด (แต่ละเอียดดีมีภาพประกอบด้วย)
http://www.geocities.com/thailandwwii/ftw.html
ผู้ร่วมรบ | |
---|---|
ไทย | ฝรั่งเศสวิชี อินโดจีนฝรั่งเศส |
ผู้บัญชาการ | |
หลวงพิบูลสงคราม | ฌอง เดอกูซ์ |
กำลัง | |
กำลังพล 60,000 คน รถถัง 134 คัน เครื่องบินรบ 140 ลำ เรือรบ 18 ลำ |
กำลังพล 50,000 คน รถถัง 20 คัน เครื่องบินรบ ต่ำกว่า 100 ลำ เรือรบจำนวนหนึ่ง |
ความสูญเสีย | |
ทหารเสียชีวิต 54 นาย บาดเจ็บ 307 นาย ตกเป็นเชลย 21 นาย เสียอากาศยาน 8-13 ลำ |
ทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 321 นาย สูญหาย 178 นาย ตกเป็นเชลย 222 นาย เสียอากาศยาน 22 ลำ |
French-Thai War | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||
Belligerents | |||||||||
Vichy France | Thailand | ||||||||
Commanders | |||||||||
Jean Decoux | Plaek Phibunsongkhram | ||||||||
Strength | |||||||||
50,000 men, 20 tanks, ~100 aircraft |
60,000 men, 134 tanks, 140 aircraft, 18 vessels | ||||||||
Casualties and losses | |||||||||
321 Killed or Wounded, 178 Missing, 222 Captured, 22 Aircraft |
54 Killed, 307 Wounded, 21 Captured, 8-13 Aircraft |
ไม่รู้มันจะสลับด้านไทยฝรั่งเศสให้งงเล่นทำไม 555
แต่จะเห็นว่าไทยเราเหนือกว่านะเนี่ย ทั้งกำลังคน ปริมาณ และคุณภาพ
บ.ทิ้งระเบิดสองเครื่องยนตร์แบบแรกที่ใช้ในสงครามอินโดจีนคือ บ.Martin bomber ครับ(กำหนดแบบภายหลังว่า บ.ท.๓) ส่วน บ.ที่จัดหามาจากญี่ปุ่นในช่วงนั้นก็มี บ.โจมตีแบบนาโกย่าหรือ บ.จ.๒ นั้นถูกใช้ในภารกิจโจมตีสนามบินนครวัตครับ
ส่วน บ.ทิ้งระเบิดสองเครื่องยนตร์แบบนากาชิมา Ki-21 หรือ บ.ท.๔ ของญี่ปุ่นนั้นได้จัดหามาภายหลังครับ
ผมได้รู้เรื่องของสงครามนี้ครั้งแรกเมื่อตอนประถมจากการอ่านหนังสือสามเกลอของคุณ ป.อินทรปาลิต ตอนที่คุณ พล นิกร กิมหงวน ไปเป็นทหารรบกับฝรั่งเศษครับ ....
สมรภูมิที่ทำให้ ทหารไทย ได้เกียรติยศโด่งดังที่สุด น่าจะเป็นที่ [b]สมรภูมิบ้านพร้าว[/b] ครับ
เพราะเป็นการจัด Killing Field ให้ทหารฝรั่งเศสโดยเฉพาะเลย
แต่ผลของยุทธภูมินี้ ก็ทำให้เกิดความไม่พอใจกันอยู่ลึก ๆ ระหว่าง ท่านผู้บังคับกองพล (ไม่แน่ใจว่าคือท่านใด รู้แต่ว่า เป็นเพื่อนสนิทกับ จอมพล ป. มาก เดาเอาเองครับ มีไม่กี่ท่านหรอก..อิ ๆ ๆ ) กับ ท่านผู้บังคับกองพันที่นำทัพเข้าสู่สมรภูมิบ้านพร้าว
เพราะ ท่านผู้บังคับการกรม ต้องการให้ไปตั้งรับอีกที่หนึ่ง แต่ ท่านผู้บังคับกองพัน ท่านอาศัยประสบการณ์ส่วนตัว บวกกับ ความรู้ทางยุทธวิธี เปลี่ยนแผนของท่านผู้บังคับการกรมเสียได้
ซึ่ง ถ้าทำตามแผนที่ท่าน ผู้บังคับกรม เสนอมา เราคงจะเสร็จฝรั่งเศสไปแล้วครับ
ผลของสมรภูมินี้ ถ้าจำไม่ผิด เราจะยึดได้ ธงไชยเฉลิมพลของฝรั่งเศส ที่มีเหรียญกล้าหาญชั้น ครัวเดแกร์ ของเขาด้วย
ต่อมาตอนหลัง ฝรั่งเศสบีบไทย ผ่านทางญี่ปุ่น ให้ส่งมอบ ธงไชยเฉลิมพลนี้กลับไปครับ
ไว้พรุ่งนี้ จะลองนำมาเสนอให้อ่านกันนะครับ