หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


น่าคิด กับกองเรือสยามสมัยพระนเรศวรมหาราช

โดยคุณ : catz เมื่อวันที่ : 07/05/2008 08:34:32

ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีหลักฐานเกี่ยวกับการติดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างชาติ มีเอกสารของชาวสเปนกับชาวฮอลันดา กล่าวถึงการค้าในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในเอกสารของชาวสเปนนั้นกล่าวว่าชาวสเปนได้เดินทางมาจากกรุงมะนิลา มาติดต่อค้าขายเป็นครั้งแรกใน ค.ศ 1598 ตรงกับ พ.ศ 2141ข้าหลวงใหญ่สเปนที่มะนิลา {ตอนนี้สเปนปกครองมะนิลาแล้ว} ชื่อ ฮอน เทลโล ได้เดินทางติดต่อข้าขายกับอยุธยา โดยเหตุผลที่มาเพราะทางอยุธยาได้ส่งพระราชสาส์นไปยังข้าหลวงใหญ่แห่งมะนิลา ถ้าอย่างนี้ต้องเห็นชัดแล้วว่าต้องส่งสาส์นไปทางเรือ สมัยก่อนจะติดต่อสือสารที่กรุงมะนิลาได้มีทางเดียวคือเดินเรือ ในเมื่อตอนนั้นเราไม่ได้ติดต่อกับสเปน แล้วใครเป็นคนส่งสาส์น ดังนั้นต้องเป็นเรือของไทย แสดงว่าเราต้องมีทัพเรือที่ดีทีเดียว มีกองเรือที่ใหญ่ ไม่เช่นนั้นคงเดินทางจากอยุธยาไปมะนิลาไม่ได้ จากนัยนี้ย่อมเเสดงให้เห็นถึงแสนยานุภาพของทัพเรือไทยในสมัยนั้นแสดงว่าในสมัยนั้นมีกองเรือขนาดใหญ่ที่ส่งสาส์นไปถึงมะนิลาได้แสดงความสนใจติดต่อซื้อขาย  มาดูด้านของฮอลันดา




ความคิดเห็นที่ 1


ในปี พ.ศ 2147 ได้เข้ามาติดต่อข้าขายกับอยุธยาเป็นครั้งแรกหลังสเปน 8 ปี จากพงศาวดารฉบับนวลิตของฮอลันดา ได้กล่าวเกียวกับการติดต่อข้าขายระหว่างอยุธยากับฮอลันดา ในนั้นได้กล่าวไว้ว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนิยมชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวฮอลันดา(ก็ชาวฮอลันดาเขียนเองก็ต้องเขียนอย่างนี้) แล้วก็ได้กล่าวไว้ว่าพระนเรศวรเป็นพระเสยามองค์แรกที่ส่งราชทูตกลับพระราชสาส์นไปทวายพรเจ้ามอริส แห่งราชวงศ์ออเร้นส์ แสดงให้เห็นว่าพระองค์ส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฮอลันดาจากเหตุการที่ชาวฮอลันดาบันทึกเอาไว้ แสดงว่ากองเรือไทยมีสำเภาใหญ่พอที่จะเดินทางถึงยุโรป เหตุการนี้เกิดก่อนที่พระนารายณ์ทรงแสดงสัมพนธไมตรีกับฝรั่งเศษ เอกสารฮอลันดากล่าวอย่างนั้น

คราวนี้มาดูที่เอกสารทางตะวันออกบ้าง มาดูความสัมพันกับจีนบ้าง ในสมัยขอสมเด็จพระนเรศวรนั้นตรงกลับสมัยราชวงศ์หมิง อยู่ประมาณ ค.ศ 1573 เอกสารโบราณของจีนได้บันทึกไว้หลายเรื่อง แล้วเรื่องหนึ่งก็คือ พันธมิตรทางการทหาร ที่นอกเหนือกับการค้าซึงเรานั้นไม่ค่อยทราบกันเท่าไรนักคือช่วงเวลานี้ตรงกลับสมัยของจักพรรดิเสินจงแห่งราชวงศ์หมิง ในช่วงนั้นอยุธยาได้ส่งราชทูตพร้อมเครื่องบรรณาการแก่จักพรรดิเสินจง แล้วอในปีค.ศ 1592 ได้เกิดเรื่องขึ้นเมื่อญี่ปุ่นตีเกาหลีจนเเตก อันนี้เป็นเหตุการรบกัน เกาหลีเเตกสยามอาสาไปตรีญี่ปุ่นโดยตรง ข้อความนี้จากจดหมายเหตุจีนนะครับ นั้นคือสมัยของสมเด็จพระนเรศวรกรุงศรีอยุธยาได้อาสาไปตีญี่ปุ่นโดยตรงเพื่อกดดันแนวหลัง เรื่องบันทึกไว้อย่างนี้ เสนาธิการใหญ่ส่วนกลางของจีนสมัยนั้นชื่อลื่อซิงเห็นด้วยกลับข้อเสนอนี้ที่ทางอยุธยาจะเดินเรือไปตีญี่ปุ่นโดยตรง แต่ก็มีคนไม่เห็นด้วยเหมือนกันคือ เซียวเอี้อนซึงเป็นผู้บัญชาทหารมณฑลกวางตุ้ง ได้ค้านเรื่องนี้ไม่เห็นควรที่กองเรือสยามจะเข้าไปตีญี่ปุ่นหากว่ากองเรือสยามเข้าไปแล้วชนะญี่ปุ่นยุทการทางทะเลทั้งหมดจะตกอยู่ในมือสยาม พอคัดค้านจักพรรดิก็เห็นด้วยเลยไม่เกิดยุทธครั้งนี้

 

 

โดยคุณ catz เมื่อวันที่ 04/05/2008 17:20:00


ความคิดเห็นที่ 2


แล้วมาดูทางด้าบันทึกของเกาหลีกันบ้าง ได้บันทึกเรื่องราวปรากฏในบันทึกชื่อชวนเมี้ยจงชิงของเกาหลี จดหมายเหตุของเกาหลีนั้นได้กล่าวในเดือน 11 คศ.1952บอกว่าเจิ้งคุนโซ่ได้กลับจากนครหลวง เเต่ในนี้ไม่บอกว่าที่ได แต่ข้อความนั้นเขียนไว้ว่า ฮั่วปาหลาราชทูตจากสยามก็มาถวายบรรณาการที่นครหลวง ไปที่เกาหลีถึงข้อเสนอการให้ความช่วยเหลือด้านตะวันออก หมายความว่าสยามจะช่วยเกาหลีด้านการทหารแสดงความจำนงไปปราบโจรเตี้ย(ญี่ปุ่น)อยุธยาจะได้กวาดล้างโจรเตี้ย เฉินเผิงเพิ่งฟูอี้ ด้ายกราบทูลขอไห้ส่งกำลังทางทหารให้สยามจากเกาะทะเลเข้าตีรังโจรเตี้ย ถ้าพูดอย่างนี้เเสดงว่าอยุธยามีกองเรืออยู่มากมายในเกาะในทะเล จนกระทั้งเกาหลีให้เข้าตีรังโจรเตี้ย แต่ทางราชสำนักก็ไม่ได้ดำเนินการเรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องที่ฟังแล้ว.....เออ.....นี้เป็นจดหมายเหตุของเกาหลีเขานะคับ พอรองเอามาเทียบกลับจดหมายจีนแล้วพอทำให้ทราบว่าประมาณ พ.ศ 2135 มันมีความสัมพันหลายประการณ์ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็ต้องแสดงว่าในช่วงนั้นกองเรือสยามย่อมไม่ธรรมดาทีเดียว เพราะว่าสามารถไปไกลได้ถึงญี่ปุ่น เกาหลี แล้วก็ต้องมีกำลังมากพอสมควร จนกระทั้งกองทัพจีน กับ เกาหลีไม่ยอมให้ตีญี่ปุ่น ถ้าตีแล้วชนะก็หน้าคิด ก็จะกลายเป็นว่ากองเรืออยุธยาของพระนเรศวรมหาราชนั้นมีความยิ่งใหญ่และมากมายเหลือเกิน

ข้อมูลจาก www.thai-folksy.com

 เห็นได้ชัดเลยนะครับว่าช่วงนี้ในพงศาวดารของชาติๆๆ ได้บันทึกเรื่องราวเกียวกับกองเรือสยามไว้ ความคิดส่วนตัวผมว่า เทคนิคการเดินเรือต่างๆ เราหน้าจะได้รับมาจากจีน เพราะก่อนหหน้านี้จีนเองก็เป็นจ้าวแห่งท้องทะเลมาก่อนใครด้วย้ซ้ำแต่ด้วยเหตุใดก็ตามทำให้การเดินเรือของจีนต้องชะงักไปจนทำให้ ครั้งหนึ่งอยุธยามีกองเรือที่ยิ่งใหญ่ได้ จนจีนยังต้องกลัว มันเป็นความคิดเห็นส่นตัวนะคับ..................

 

โดยคุณ catz เมื่อวันที่ 04/05/2008 18:14:00


ความคิดเห็นที่ 3


ขอแสดงความคิดเห็น เรื่องการติดต่อสเปนถึงมนิลา ผมคิดว่าสมัยก่อนไม่ต้องมีเรือใหญ่ หรือกองเรือขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถ ส่งสาร์นได้ แต่คิดว่าเป็นความชำนาญการทางทะเลมากกว่า เรืออาจจะไม่ใหญ่มาก แต่มีความสามารถในการเดินทางสูง และไว้ใจได้ ดูจากระยะสั้นๆไม่ไกลมาก จากการที่สมเด็จพระเจ้าตาก ได้ให้ต่อเรือประมาณ 500 ลำ เพื่อเข้าตี อยุธยา ดืนจากพม่า ก็มาทางทะเล แต่อาจไม่ใช่ทะเลลึกเลียบอ่าวมา เลยคิดได้ว่า การเดินทางส่งสาร์นอาจใช้เรือเล็กก็ได้ เลียบชายฝั่งและเมื่อสุด สิงคโปร์ก็อาจจะมีเรือใหญ่รับสาร์นไปอีกทีหนึ่ง โดยมีผู้ส่งสาร์นของเราขึ้นเรือไปส่งด้วยตนเอง  ความคิดนี้ไม่ทราบว่าพอจะกล้อมแกล้มได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ......ผิดพลาดก็ขออภัย
โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 04/05/2008 22:33:29


ความคิดเห็นที่ 4


ขอเสริมนะครับ ผู้คนสมัยก่อน มีความสามารถเฉพาะตัวสูง เวลาเดินทางไปไหนมาไหน หรือทำงานที่ได้รับมอบหมายสำคัญๆ อาจไปแค่คนสองคนเท่านั้นก็เพียงพอ เพราะการที่จะใช้คนไปทำงานสำคัญๆนั้น ต้องเลือกคน สมัยก่อนเรื่องว่ายน้ำ เรื่องมวย ก็ติดตัวมาแต่เกิด เรื่องการขีดเขียน ก็เกิดตามวัดวาอารามที่เป็นแหล่งความรู้ จึงคิดว่าการไปที่ใดจึงอาจไม่ต้องใช้คนจำนวนมากครับ
โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 04/05/2008 22:48:50


ความคิดเห็นที่ 5


สมัยก่อนเรามีทางติดต่อการค้าหลายทาง

ถ้าไปดูประวัติให้ดีมีตั้งแต่ตรงสมุทรปราการ  อ่าวไทย

จันทบุรี , ทะวายพม่า

นครศรีธรรมราช ,และเมืองปัตตานี

   การจะส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี

ต้องกะเกณฑ์เรื่องต่างๆให้ดี แต่ที่หลักฐานมันคลุมเครือ พูดง่ายๆว่ามีน้อยอ้างลำบาก

ก็ไม่สามารถยกขึ้นมาเป็นประเด็นเอาไว้อ้างอิงได้เทียบเท่ากับพระนารายมหาราชได้เช่นกัน 

    ส่วนในสมัยปัจุบัน องค์ความรู้เกี่ยวกับ

ประเทศเพื่อนบ้านเรามีน้อยมาก เพราะ

โดนแบ่งเขตกั้นระหว่างเสรีนิยมกับ

คอมมิวนิส ขนาดลาวใกล้ๆยังไม่รู้เลยว่า

มีไผบ้าง

 ผมว่าคนสมัยอยุธยาเก่งในเรื่ององค์ความรู้

ของประเทศเพื่อนบ้านมากนัก เช่น

ลาว ญวน เขมร มาลายู พม่า จีนด้วย

มีปราบกบฏจีนฮ้อทางภาคเหนือ

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 04/05/2008 23:10:31


ความคิดเห็นที่ 6


ใช่ครับหลักด้านการทูตในสมัยนั้นถือว่ามีหลักฐานน้อยมากกลับทางด้านยุโรปมันคลุมเครือมาก ส่วนใหญ่ที่พบนั้นจะมีแต่บันทึกที่ประเทศที่เข้ามาติดต่อซื้อขายกลับเราในสมัยนั้น เเต่การติดต่อกลับสเปนสมัยนั้นมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวด้วยครับตอนนั้นเขมร ในบันทึกรายงานที่ ดอน ฟานซิสโก้ เทลโล สงสาส์นไปให้พระเจ้าฟิลลิปที่3แห่งสเปน โดยท่างอยุธยาจะเปิดเมืองท่าให้สเปนตั้งหลักแหล่งโดยอิสระ ไม่ต้องเสียภาษี แต่ทางอยุธยาก็ไม่ต้องการให้สเปนให้ความช่วนเหลือแก่เขมรด้านสงครามเช่นกัน ซึงเป็นวิเทโศบายเรื่องลึกที่พระนเรศวรใช่อยู่ในการค้าครั้งนี้  ย้ำอีกครั้งนะครับมันเป็นบันทึกที่สาวสเปนเขียนดังนั้นมันเป็นเรื่องราวของฝ่ายเดียว เราไม่สามารถทราบข้อเท็จจริงได้  ส่วนทางด้านฮอลันดาก็มีบันทึกเกียวกับสาเหตุทีเดินทางเข้ามาเพื่อติดต่อข้าขายกลับอยุธยา ว่าที่เข้ามาติดต่อนั้นเพราะต้องการหวังว่าจะอาศัยสำเภาของอยุธยาไปข้าขายกลับจีนเพราะตอนนั้นฮอลันดาเห็นว่อยุธยามีสัมธไมตรีที่ใกล้ชิดมากกลับจีน จึงหวังใช้สำเภาของอยุธยาในการข้าขายกลับจีน มันก็เป็นเพียงบันทึกที่เขาเขียนไวว้อีกเช่นกันนะครับ มันจึงมีหลักฐานแค่นี้   แต่ความน่าสนใจผมว่าน่าจะอยู่ที่บันทึกที่จีนและเกาหลีที่บันทึกไว้ตรงกันว่าทางอยุธยานั้นอาสาไปตีญี่ปุ่นซึงตรงกันพอดี มันย่อมเเสดงให้เห็นว่าเราพัฒนากองเรือจนสามารถออกรบถึงต่างประเทศได้ จนทางจีนและเกาหลีไม่ยอมให้เกิดการรบขึ้นเพราะกลัวเสียยุธวิธีทางทะเลเเก่สยาม ตรงนี้นะครับที่น่าสนใจ มันก็น่าคิดนะครับว่าต้องมีกองเรือที่ยิ่งใหญ่ทีเดียว แต่ก็เป็นบันทึกที่ทางจีนกลับเกาหลีเท่านั้น มันจึงเป็นสิ่งที่คุมเครืออยู่แต่ผมคิดว่าถ้าเป็นจริงดังนั้นก็คงเป็นกองเรือที่ใหญ่ไม่น้อย

ใครมีความคิดเห็นอย่างไรก็แลกเปลียนกันได้นะครับ

โดยคุณ catz เมื่อวันที่ 05/05/2008 02:47:12


ความคิดเห็นที่ 7


ขอถกด้วยคนนะครับ ไม่ถือว่าสิ่งที่ผมเขียนเป็นสิ่งที่สิ้นสุดนะครับ

1..แนะนำหนังสือก่อนเลยดีกว่าครับ  ประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทยสมัยใช้ใบ (ชื่อประมาณนี้ครับ ไม่ตรงแน่นอน)

เป็นหนังสือ ที่เขียนโดย นายทหารเรือท่านหนึ่ง ปัจจุบัน หายากเต็มทีแล้ว ท่านเขียนรายละเอียดไว้ค่อนข้างมาก มีรูปแบบของเรือด้วยครับ

 

 

 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 06/05/2008 00:46:03


ความคิดเห็นที่ 8


ต่อเป็นเป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ (มีสิทธิผิดได้เหมือนกันครับ)

1.. การใช้เรือในสยาม ส่วนใหญ่จะใช้ไปเพื่อการพานิชย์กรรมเป็นหลัก คือการค้าขาย ไม่ได้เน้นไปที่การสงคราม

และเรือส่วนใหญ่ที่ใช้ออกทะเลนั้น ก็คือเรือสำเภาแบบจีน เนื่องด้วยพ่อค้าจีนเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจด้านทางเรือไว้อย่างน้อยก็ 60 % ของการค้าทั้งหมด

ส่วนพ่อค้าชนชาติอื่น ๆ ที่ใช้เรือติดต่อกับสยามอยุธยา ก็เช่น ริวกิว (ไม่ได้รวมกับญี่ปุ่นนะครับ ตอนนั้นมีอาณาจักรของตัวเอง อยู่ที่เกาะโอกินาว่า) , ญี่ปุ่น , โปรตุเกส, ฮอลแลนด์ ,อังกฤษ , สเปน , เปอร์เซีย ฯลฯ

2.. การติดต่อการค้าของสยามนั้น เรามุ่งเน้นความสนใจ ไปที่ อาณาบริเวณที่เป็นเมืองท่าเสียมากกว่า ที่เราจะต่อกองเรือเสียเอง

เช่น  เมือง ทวาย , มะริด , ตะนาวศรี (ทั้งหมดอยู่พม่า) , ปะตานี ,พุธไธมาศ (กัมพูชา)

โดยเฉพาะ เมือง ตะนาวศรี นั้น ถือว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญมากหัวเมืองหนึ่ง เพราะ บรรดากองเรือจาก ยุโรป , อินเดีย และ ตะวันออกกลาง

จะมาขึ้นพัก และ ขนถ่ายสินค้า ที่เมืองนี้

ในยุคสมัยอยุธยานั้น ให้ความสำคัญกับ หัวเมืองของพม่าเหล่านี้มาก ดังจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ สมัยพระไชยราชา ลงมา สยามอยุธยา จะพยายามครอบครองหัวเมืองเหล่านี้ไว้ตลอด โดยไม่สนใจการแผ่ขยายอิทธิพลไปนอกเหนือเขตที่ว่านี้เลย

ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรฯ เอง ก็ทรง ส่งแม่ทัพที่ไว้วางพระทัยที่สุดคนหนึ่ง คือ พระยาศรีไสยณรงค์ ไปคุมเมือง แต่เนื่องจากความไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่นี้ จึงทำให้ ท่านพระยาฯ ต้องก่อเหตุการกบฏในภายหลัง

3..  การส่งราชฑูตไปเจริญพระราชไมตรี นั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีเรือไปเองครับ

อย่างเช่น กรณีของ ออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) ท่านก็เดินทางไปฝรั่งเศสด้วยเรือของฝรั่งเศสเองครับ หาใช่ว่า อยุธยาจะต่อกองเรือเองเสียเมื่อไร

และ ราชฑูตคณะก่อนหน้าท่านโกษาปาน ก็ล้วนแล้วแต่เดินทางด้วยเรือต่างชาติหมดทุกคณะครับ

ดังนั้น เรื่อง พระราชสาส์น ไปยังเมืองมะนิลา นั้น โดยส่วนตัวคิดว่า ฑูตจากสยาม น่าที่จะลงเรือสเปนไปเสียมากกว่าครับ

และ ใน พงศาวดารฉบับของวันวลิต ก็บอกว่า พ่อค้าชาวสเปนเอง ก็มีคดีในอยุธยา จนถึง กับ จับถ่วงน้ำ เหมือนกันครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 06/05/2008 01:11:32


ความคิดเห็นที่ 9


ต่อเป็นเป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ (มีสิทธิผิดได้เหมือนกันครับ)

1.. การใช้เรือในสยาม ส่วนใหญ่จะใช้ไปเพื่อการพานิชย์กรรมเป็นหลัก คือการค้าขาย ไม่ได้เน้นไปที่การสงคราม

และเรือส่วนใหญ่ที่ใช้ออกทะเลนั้น ก็คือเรือสำเภาแบบจีน เนื่องด้วยพ่อค้าจีนเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจด้านทางเรือไว้อย่างน้อยก็ 60 % ของการค้าทั้งหมด

ส่วนพ่อค้าชนชาติอื่น ๆ ที่ใช้เรือติดต่อกับสยามอยุธยา ก็เช่น ริวกิว (ไม่ได้รวมกับญี่ปุ่นนะครับ ตอนนั้นมีอาณาจักรของตัวเอง อยู่ที่เกาะโอกินาว่า) , ญี่ปุ่น , โปรตุเกส, ฮอลแลนด์ ,อังกฤษ , สเปน , เปอร์เซีย ฯลฯ

2.. การติดต่อการค้าของสยามนั้น เรามุ่งเน้นความสนใจ ไปที่ อาณาบริเวณที่เป็นเมืองท่าเสียมากกว่า ที่เราจะต่อกองเรือเสียเอง

เช่น  เมือง ทวาย , มะริด , ตะนาวศรี (ทั้งหมดอยู่พม่า) , ปะตานี ,พุธไธมาศ (กัมพูชา)

โดยเฉพาะ เมือง ตะนาวศรี นั้น ถือว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญมากหัวเมืองหนึ่ง เพราะ บรรดากองเรือจาก ยุโรป , อินเดีย และ ตะวันออกกลาง

จะมาขึ้นพัก และ ขนถ่ายสินค้า ที่เมืองนี้

ในยุคสมัยอยุธยานั้น ให้ความสำคัญกับ หัวเมืองของพม่าเหล่านี้มาก ดังจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ สมัยพระไชยราชา ลงมา สยามอยุธยา จะพยายามครอบครองหัวเมืองเหล่านี้ไว้ตลอด โดยไม่สนใจการแผ่ขยายอิทธิพลไปนอกเหนือเขตที่ว่านี้เลย

ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรฯ เอง ก็ทรง ส่งแม่ทัพที่ไว้วางพระทัยที่สุดคนหนึ่ง คือ พระยาศรีไสยณรงค์ ไปคุมเมือง แต่เนื่องจากความไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่นี้ จึงทำให้ ท่านพระยาฯ ต้องก่อเหตุการกบฏในภายหลัง

3..  การส่งราชฑูตไปเจริญพระราชไมตรี นั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีเรือไปเองครับ

อย่างเช่น กรณีของ ออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) ท่านก็เดินทางไปฝรั่งเศสด้วยเรือของฝรั่งเศสเองครับ หาใช่ว่า อยุธยาจะต่อกองเรือเองเสียเมื่อไร

และ ราชฑูตคณะก่อนหน้าท่านโกษาปาน ก็ล้วนแล้วแต่เดินทางด้วยเรือต่างชาติหมดทุกคณะครับ

ดังนั้น เรื่อง พระราชสาส์น ไปยังเมืองมะนิลา นั้น โดยส่วนตัวคิดว่า ฑูตจากสยาม น่าที่จะลงเรือสเปนไปเสียมากกว่าครับ

และ ใน พงศาวดารฉบับของวันวลิต ก็บอกว่า พ่อค้าชาวสเปนเอง ก็มีคดีในอยุธยา จนถึง กับ จับถ่วงน้ำ เหมือนกันครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 06/05/2008 01:38:43


ความคิดเห็นที่ 10


ลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมา พบว่า

1..ช่วงเวลาก่อนหน้าที่พระนเรศวรจะทรง ส่งพระราชสาส์น ไปช่วยเหลือ จักรพรรดิ์หมิง นั้น ญี่ปุ่น กำลัง ทำสงครามกับ จีน(ราชวงศ์หมิง) และ เกาหลี ( ราชวงศ์โชซอน ) อยู่ครับ

เหตุการณ์ตอนนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นยึดได้เมืองเปียงยาง ก็ กรุงเปียงยาง เมืองหลวงของเกาหลีเหนือปัจจุบันนี่หละครับ แต่ ญี่ปุ่นกำลังประสพปัญหา คือ ขาดแคลนเสบียง และ กำลังพลหนุนอย่างรุนแรง ทหารป่วยตาย และ ขาดอาหารตายอย่างหนัก

2.. ระยะเวลาที่พระนเรศวรทรงส่งพระราชสาส์นไป คือราว ๆ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๑๓๕ (ค.ศ.1592) แต่พอถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๑๓๖(ค.ศ.1593) ก็ทรงเปลี่ยนพระทัย เพราะมีการพระราชสงครามกับพม่าแทน  ซึ่งตรงกับ สงครามคราวศึกยุทธหัตถี ครับ

3.. จาก จดหมายเหตุราชวงศ์หมิง ( หมิงสือลู่ ) ได้กล่าวไว้ว่า ใน สมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ก็ทรงเตรียมกองทัพเรือขนาดใหญ่ ที่เมืองตะนาวศรี และ นครศรีรรมราช เพื่อที่จะยกไปโจมตี มะละกา ที่แข็งเมืองครับ

 

 

 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 06/05/2008 21:34:34