เมื่อเครื่องบินฝึก PC-9 เข้าประจำการที่กำแพงแสน แทนที่เครื่องบิน Fantrainer(คลิก) ที่คร่าชีวิตนักบินไทยไปหลายคน พอมีเวลาว่างเว้นจากการฝึกศิษย์การบิน ครูการบินมักจะ(แอบ) นำเครื่องบิน PC-9 ไปฝึกบินผาดแผลงหมู่ อยู่บ่อยๆ (การบินผาดแผลงเดี่ยว ใครๆก็ทำได้) ผู้บังคับบัญชาบางท่านที่ รักการบิน ก็แอบให้ท้าย
ฝึกไปเถอะน้อง ดีแล้ว
แต่บางคนที่รักความก้าวหน้าของตัวเอง และชอบบินเดี่ยว กลับออกปากห้ามปราม ด้วยอ้างถึง ความปลอดภัย และ งบประมาณ
แต่มีหรือที่ ครูการบินยอดฝีมือเหล่านั้น จะยอมถอย
ฝึกใกล้สนามบินไม่ได้ ก็แอบไปบินในที่ไกลๆ ลับตาผู้บังคับบัญชา
บางครั้งมีคณะบุคคลมาเยี่ยม โรงเรียนการบิน อย่างเป็นทางการ
กองทัพก็ได้ ฝูงบินแอบบิน ฝูงนี้ไว้ขึ้นบินโชว์แขก
ต้องบันทึกไว้ตรงนี้เด้วยว่า เรื่องการแอบบินผาดแผลง หาใช่ว่า เครื่องบินจะทำได้เท่านั้น
เฮลิคอบเตอร์ก็ทำได้ ไม่แพ้กัน
พี่ก็อง นักเรียนเตรียมทหารรุ่น18 นักบิน ฮ.4ก ฝีมือดีที่สุดของไทย เคยแสดงบินผาดแผลง จนฝรั่งอ้าปากค้าง มาหลายต่อหลายครั้ง ปัจจุบันพี่ก็อง ลามือไปแล้ว แต่ยังพอมี นักบินฮ.รุ่นน้อง แอบสืบทอดตำนานอยู่ เสียดายที่ต้องไปบิน ในต่างจังหวัดเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้คนในเมือง อดซูดปาก
เคยจินตนาการ ไปว่า
ทอ.ไทยเลือกใช้ เครื่องบินแบบ PC-9 เป็นเครื่องบินผาดแผลงหมู่ เพราะเลข 9 เป็นเลขมงคลของไทย รวมหมู่บินเป็น 6 ลำ เพราะเมื่อหงายของบิน เลข 6จะกลับเป็นเลข 9 อยู่ดี แต่ที่สำคัญจำนวนเครื่องบินในหมู่บิน มากกว่าสิงค์โปร์อยู่หนึ่งลำ
นักบินในกองทัพทุกคนแข่งขันกัน เพื่อมาเป็นนักบินผาดแผลง มีตารางการบินโชว์แน่นขนัด ทั้งในและต่างประเทศ
วันแสดง |
สถานที่ |
เนื่องในโอกาส |
ม.ค.2552 | จ.สุราษฎร์ธานี | ต้อนรับฝูงบิน Gripen เข้าประจำการ |
ก.พ.2553 | อนุสรณ์สถาน | วันทหารผ่านศึก |
มี.ค.2554 | กัมพูชา | กระชับความสัมพันธ์ |
เม.ย.2555 | สิงค์โปร์ | กระชับความสัมพันธ์ 30 ปี |
พ.ค.2555 | พม่า | กระชับความสัมพันธ์ |
มิ.ย.2556 | จ.ลำปาง | ย้ายกองบิน 41 |
ก.ค.2557 | เวียดนาม | กระชับความสัมพันธ์ |
ส.ค.2558 | จีน | คนจีนชอบเลขแปด |
ก.ย.2012 | ฝรั่งเศส | แข่งขันฝูงบินผาดแผลงระดับโลก |
ต.ค.2012 | ดูไบ | การแสดงอาวุธทางอากาศ |
พ.ย.2013 | ออสเตรเลีย | กระชับความสัมพันธ์ |
ธ.ค.ทุกปี | ประจวบคีรีขันธ์ | รำลึกวีรชนสงครามโลกครั้งที่สอง |
ทั้งหมดคือความเพ้อฝัน! ที่อยากเห็นความยิ่งใหญ่ของฝูงบินรบไทย
ความคุ้มค่าของเครื่องบิน F-16
ก่อนจะซื้อเครื่องบิน F-16 กองทัพอากาศ ต้องตอบคำถามต่อสังคมมากมาย เพราะใช้งบประมาณของชาติอย่างมหาศาล มันทำให้ศักย์สงครามของประเทศเราดำรงอยู่ได้ อย่างพอประมาณ( แต่อย่าอ้างว่า ความมั่นคงของประเทศทั้งหมด เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมาขึ้นอยู่กับ F-16 เพียงอย่างเดียว)
ทุกประเทศที่ซึ้อเครื่องบิน F-16 ไปใช้ เขามักจะสามารถ ดัดแปลง และพัฒนาระบบเทคนิค ต่างๆ ขึ้นใช้เอง ไม่ต้องไปอาศัยซื้อ หรือ ส่งซ่อมจากอเมริกา บางประเทศถึงกับสามารถสร้างเครื่องบินชนิดใหม่ ได้เอง โดยนำความรู้ทางเทคนิค จากเครื่องบิน F-16 ไปสร้าง เช่น
ญี่ปุ่น สร้าง F-2
ไต้หวัน สร้าง F-CK Ching-kuo
เกาหลี สร้าง T-50
ทุกประเทศที่กล่าวมาสร้างเครื่องบินใหม่ขึ้นมา โดยใช้เครื่องบิน F-16 เป็นแม่แบบ
แล้วกองทัพอากาศไทย สร้างอะไร???
สร้างหรือปรับปรุงอะไรขึ้นมาได้บ้าง??
เราอาจถูกใครสอนให้ เป็นลูกคนรวย ที่ทำของเล่นเสีย แล้วส่งซ่อม โดยไม่ได้ แงะรื้อดูก่อน
การพัฒนา Software หรือ Hardware ไม่เคยได้รับการส่งเสริมในกองทัพ
แต่เกือบทุกชิ้นส่วน ทุกระบบ ที่ชำรุด เรามักจะต้องส่งซ่อมนอกกองทัพ
บางชิ้นส่วน ก็มีนายหน้า รับค่าหัวคิวกินก่อนต่อหนึ่ง ก่อนส่งซ่อมเมืองนอก (สิงค์โปร์)
อย่าได้มีความหวังกับรัฐวิสาหกิจซ่อมเครื่องบินของไทย ที่เพิ่งจะก่อตั้งบริษัทได้ไม่นาน เพราะเคยรับฟัง รับทราบความเป็นไปของรัฐวิสาหกิจแห่งนี่ จากผู้เกี่ยวข้อง ไม่เคยมีใครกล่าวถึงในด้านบวกเลย
และอย่าตีวัวกระทบคราด ด้วยการโกรธเกลียดประเทศสิงค์โปร์
สิงค์โปร์เป็นตัวอย่าง ของประเทศที่คนเก่งรวมหัวกันได้ คนเก่งไม่อวดเก่ง คนเก่งมีวินัย คนเก่งกล้าฝัน
เราจัดเตรียมสายการส่งกำลังบำรุงใหม่ขึ้นมาโดยเฉพาะ
เพื่อความพร้อมรบของเครื่องบิน F-16
กองทัพอากาศหวังจะพึ่งตัวเอง
โดยตั้งใจ มิยอมปล่อย ความรู้ทางด้านเทคนิคของเครื่องบิน F-16 ให้แก่สถาบันใด หรือมหาวิยาลัยใด(ในประเทศ)เลย
โดยมักอ้างถึงระบบ การรักษาความลับ เป็นปราการด่านแรก
ซึ่งนั่นย่อมทำให้ องค์ความรู้ต่างๆไม่ถูกถ่ายทอดไปยังภาคส่วนอื่นของประเทศ
และก็หาใช่ว่า ระบบเทคนิคเหล่านั้นจะถูกพัฒนาต่อในกองทัพ ไม่
เมื่อชิ้นส่วนใดชำรุด เราทำได้แค่ถอดเปลี่ยน และส่งไปซ่อมยังบริษัทต่างประเทศ
หนำซ้ำ ช่างเก่งๆ นักบิน F-16 เก่งๆ ที่เคยผ่านเมืองนอกมา ก็ลาออกไปอยู่สายการบินกันหมด
เราอยากเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับF-16 เกิดขึ้นซ้ำรอยกับ Gripen อีกอย่างนั้นหรือ
ไม่เพียงแต่ โรงเรียนนายเรืออากาศ เท่านั้น ที่รู้เรื่อง Gripen
มหาลัย หรือสถาบันอื่นๆ ต้องรับรู้ถึง Know How ต่างๆ ที่มีติดตัวมากับ Gripen ด้วย
เทคโนโลยีต่างๆของ Gripen จะต้องถูกชำแหละโดยช่างไทย คนไทย
ลืมไปได้เลยกับเหตุผลเก่าๆ การรักษาความลับ ที่ทำให้หลายคนทั้งใน และนอกกองทัพตาบอด
เราต้องกล้าฝันให้ถึงว่า เครื่องบิน Gripen จะเป็นชนวนความรู้ที่แตกแขนงไปเป็นองค์ความรู้อื่นๆ
นอกเหนือจากการป้องกันประเทศเพียงอย่างเดียว
เราคนไทยต้องรู้จักประเทศสวีเดนให้ลึกกว่าที่รู้จัก รถยนต์ Volvo และ Saab
เครื่องบิน Gripen ออกแบบให้ร่อนลงบนถนนหลวงได้
ดังนั้น กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ต้องปรับปรุง ทางหลวง ในแต่ละภาค ให้รองรับเครื่องบิน Gripen ด้วยเช่นกัน
(การใช้ถนนหลวง เป็นสนามบินสำรอง เป็นความคิดที่หลายประเทศได้ดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะสิงค์โปร์ แต่ของไทยเราได้ละเลยมากว่ายี่สิบปีแล้ว) คิดให้เเลยเถิดไปเลยว่า ทำเผื่อไว้ให้เครื่องบิน C-130 ใช้งานได้ด้วย เพื่อเผชิญกับภัยธรรมชาติต่างๆ
ที่สำคัญ เครื่องบินจากยุโรปเคยสร้างรอยแผลลึกให้กับ ทอ.มาแล้ว มากกว่าหนีงชนิดคือ G-222 และ Fantrainer อย่ารอให้ถึงวันที่ Gripen มาถึงเมืองไทยแล้วจึงเริ่มดำเนินการ ต้องลงเมื่อทำเสียแต่เดี๋ยวนี้ นอกจากกองทัพแล้ว ภาคส่วนอื่นต้องขานรับด้วย แม้แต่ภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในความพร้อมรบของเครื่องบินลำนี้
อย่าปล่อยให้ ทอ.บินเดี่ยว รับภาระสำคัญของชาติเพียงฝ่ายเดียว
http://www.thaic-130.com/index.php?c_id=0&ct_id=6712&type=customize
ถ้าความฝันครั้งนี้เป็นจริง ก็จะดีมากเลยครับ ผมเห็นด้วยเหมือนกันครับเรื่องที่จะให้หน่วยงานเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกองทัพด้วย เพราะจะช่วยให้กองทัพเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ผมว่าการจะพัฒนาในเทคโนโลยีขั้นสูง ๆ จะใช้แค่ช่างทหารมันต้องไม่พออย่างแน่นอนครับ แต่ก็อย่างว่าล่ะครับ กองทัพต้องสร้างแรงจูงใจให้กับคนเหล่านั้นเข้ามาทำงานด้วยเพราะ เครื่องบินพาณิชให้เงินสูงกว่าในกองทัพโขเลย
เป็นบทความที่ โดนกับความรู้สึก ผมมากเลยครับ...ซึ่งผมมองจุดที่ กองทัพไทย ไม่พัฒนาเท่าที่มันควรจะเป็น ก็เพราะ การเมือง (ว่าจะไม่โยง ไม่เกี่ยว แต่มันก็ใช่) คือ ทหาร เข้าไปยุ่ง การเมือง เอง...(ทำตัวเองครับ...และปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่คิดจะเลิก...) ผมเลยคิดว่า ความฝันนี้ ก็จะยังเป็นความฝันต่อไป ชั่วกาลนานครับ...และกองทัพไทย ผมว่าต่อไปอนาคต คงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่ง อินโดนีเซีย สามารถสร้างเครื่องบิน CASA จำหน่ายให้ต่างประเทศได้แล้ว..แต่ประเทศไทย ยังทำไม่ได้ครับ...ประเมินจากความคิดเห็นส่วนตัว ในระดับอีก 5-10 ปีข้างหน้า กองทัพในภูมิภาคอาเซียน จัดลำดับ เป็น อันดับ 1 สิงคโปร์ อันดับ 2 มาเลเซีย อันดับ 3 ระหว่างไทย กับ อินโดนีเซีย อันดับ 4 เวียดนาม กับ ฟิลิปปินส์ อันดับ 5 พม่า อันดับ 6 ระหว่าง บรูไน ลาว และกัมพูชา....
แม้ กองทัพไทย จะนำเข้าอาวุธสมัยใหม่ ประจำการในระยะอีก 5-10 ปี ข้างหน้า แต่เป็นการตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน...และถ้ายังคงสภาพของกองทัพ เกี่ยวโยงกับเหตุข้างบน ตามที่ผมกล่าวถึง...การพัฒนาอาวุธ ขึ้นใช้เอง ผมเชื่อว่าไม่มี หรือ ประสิทธิภาพอาวุธ ที่สร้างขึ้นมา ยังไม่เพียงพอ...จึงนำไปสู่ การจัดซื้ออาวุธ เข้าประจำการจะยังคงมีเหมาะสมต่อไป....
ไม่ต้อง Source Code หรอกครับ ทำโครงให้มันรองรับการบินเร็วเหนือเสียงให้ได้ก่อน ถ้าเขาไม่ให้ Source Code พี่ก็ขอ COPY จากจีนก็ได้
เครื่องยนตร์ เรดาร์ ระบบควบคุม เอาแบบทำได้เองก่อน ไม่ต้องพูดถึง ระดับ F-35 หรอก เสนียดปาก ทำยังไงให้ผลิตวัสดุทนแรงเสียดสี แรงดึงแรงเค้น ให้ได้ก่อน ผมว่าพูดกันตรงๆนะไม่อ้อมค้อม และไม่ยึดติดกับความคิดใครด้วย คือผมคิดว่า จีน อินเดีย รัสเซีย ไม่ประเทศใดก็ประเทศหนึ่ง เขาก็อยากให้เราติดต่อเขาเหมือนกัน ขอพูดคำหยาบนะครับ คิดแต่จะเอาแบบฝรั่ง ทำเองยังไม่เริ่มเลย.... ได้แบบจีนก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย อย่างน้อยเครื่องบินสู้สมรรถนะแบบตัวต่อตัวไม่ได้ แต่จีนก็ยังทำ.....เพื่อให้เกิดการพัฒนา....เพราะเหตุผลที่ว่าไม่รู้ว่าวันใด อเม..จะมากระทืบแผ่นดินเขา ยังไงก็ต้องงัดเครื่องที่พัฒนาขึ้นเอง บินขึ้นไปสู้...แต่ใจเกินร้อยนะเพื่อน เหตุผลที่บ้านเราไม่พัฒนาก็เพราะว่า ไร้ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ทางการป้องกันประเทศ ทางอากาศด้วยตนเอง และก็เกิดจากธุระไม่ใช่ จะอยู่เพื่อรอเกษียณ จะไม่ต่อสู้กับนักการเมือง กูจะอยู่ของกูแบบนี้ จึงเป็นความอดสูมาสู่ ANALAYO และคนไทยทุกคนตราบจนทุกวันนี้ รู้หรือเปล่าประเทศเราขาดคนกล้ามานานมากแล้ว แม้ สืบ นาคะเสถียร ป้องกันป่าไว้ไม่ได้ แต่ สืบ นาคะเสถียรได้ทำให้เราเห็น วิถีของคนกล้า .............กูจะไม่ยอมมึง เด็ดขาด.......................อุดมการณ์นี้จะไม่สูญหายไปไหน ในหมู่คนกล้า
ฝันต่อไปนะฝูงบิน แสนเมืองของเรา.........อย่าหยุดยั้ง