ดำดิ่งใต้น้ำไปกับ ฝูงบินปะการังเพื่อทะเล |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ | 28 เมษายน 2551 15:12 น. |
|
โชคดีนะทุกท่าน นอนเล่นอยู่ใต้น้ำ เดี๋ยวก็มีคนมาเยี่ยมเรื่อย ๆ ^ ^
เมืองไทยได้มีแหล่งท่องเที่ยวใต้น้ำแบบมนุษยสร้างอีกแหล่งแล้วครับ
น่าไปครับ ผมว่าจุดดำน้ำแบบนี้บางทีน่าสนใจกว่าจุดดำน้ำตามธรรมชาติอีกครับ และ ยังเป็นการสร้างบ้านให้กับปลาในทางอ้อมอีกครับ ผมชอบโครงการนี้ครับ
รับใช้ชาติมามากแล้ว ลงไปพักในน้ำเบ็นๆ สบายๆ เถอะนะครับ
เกิดมีเงินผมจะไปเยี่ยม (ช่วงนี้ถังแตก ฮุๆๆ)
เรื่องของคน..................ที่ควายอย่างเรายากจะเข้าใจ จริงๆ...............พับผ่า.........................
ขอเสียงคนที่รักบูชาหลงไหลเครื่องบิน ขนาดซีเรี่ยวนัมเบอร์ยังจำได้เป๊ะไม่มีเพี้ยนหน่อยสิครับ.......................ทีงี้ทำไมเงียบเป็นเป่าสาก........................???????????
จริงๆแล้วผมเห็นด้วยกับพี่กบนะครับ
อย่างอื่นมีให้ทิ้งทะเลเยอะแยะไป แต่เครื่องบิน ถ้าสภาพยังพอดูได้ ก็บูรณะซักหน่อย แล้วไปตั้งแสดงในตจว. หรือ บางลำมีปูมสำคัญๆที่ไหน ก็ควรเอาไปเก็บที่ๆมันมีปูมอยู่
เสียดายน่ะครับ โดยเฉพาะฮ.4 บางลำเท่าที่เห็นสภาพยังดีๆอยู่เลย ถ้าเป็นตปท. เค้าด่ากันขรมแล้วครับ (อย่างอังกฤษ เครื่องบินในตำนานอย่างTSR.2 เอาไปเป็นเป้าซ้อมยิง คนเค้ายังด่ากันขรมเลย )
แหล่งดำน้ำทางธรรมชาติ กับที่มนุษย์สร้างขึ้น มันต่างกันครับ
และ แหล่งดำน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น มันก็ขึ้นอยู่กับการจัดการ ถ้าเอาไปถมๆกองๆกันอยู่ใต้ทะเล มันไม่มีแรงดึงดูดใจครับ อย่างรล.ลำนึงของทร.(ลืมชื่อ) ที่ทร.เอาลงไปจมนั้น อันนั้น ดูมีแรงดึงดูดมากกว่าครับ (และปัจจุบันก็เป็นที่นิยมของนักดำน้ำ) เพราะ มันเป็นเรือครับ เรือที่จมอยู่ใต้น้ำ ดูดีกว่า บ.ที่(ตั้งใจ)จมน้ำ มากกว่าครับ
ผมว่ามันไม่ต่างกันหรอกครับเรื่องตั้งแสดง เพราะมันคือการเปลี่ยนจากการตั้งแสดงบนบกไปตั้งแสดงในน้ำเท่านั้น ในต่างประเทศก็มีหลายแห่งที่ใช้เครื่องบินตั้งแสดงใต้น้ำให้ปะการังเกาะในลักษณะเดียวกับเรือที่ทร.จมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวครับ
แน่นอนว่าแหล่งดำน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นมันไม่ได้ความรู้สึกเหมือนของธรรมชาติ นั่นแหละครับที่เขาต้องการให้เป็นข้อได้เปรียบ เพราะจุดที่เอาเครื่องบินไปลงก็ไม่มีปะการังมาตั้งแต่ต้น หลาย ๆ พื้นที่ในอันดามันก็มีการสร้างรูปปั้นปูนให้ปะการังเกาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเหมือนกัน
เราไม่ได้ขนเอาไปทิ้งแบบเศษขยะนะครับ ประวัติศาสตร์มันก็ยังติดตัวอยู่กับมัน ใช่ว่าอยู่ก้นทะเลแล้วจะไม่มีใครรู้เลยว่ามันคืออะไรครับ เราให้ความรู้นักท่องเที่ยวได้
ฮ. 4 กับ บ.ล.2 ที่ปลดแล้วยังมีอีกเยอะครับ ผ่านไปบน. 2 ปีที่แล้วยังเห็นอยู่เยอะเลย ที่ Tango บน.41 ก็มีอีกเยอะครับ และมันสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวได้มากกว่าการตั้งแสดงบนบกมากครับ
^
^
มีหลายล็อกอินจังเนาะ --
จุดสำคัญของการแสดง ถ้าหากหวังผลด้านการท่องเที่ยว ตปท.มีการนำเครื่องบินไปทำแหล่งท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน แต่ เค้ามีพิพิธภัณฑ์ที่พร้อมให้ทุกคนเข้าไปดูอยู่แล้ว (อย่าเอาเทียบกับพิพิธภัณฑ์ทอ.เลยครับ ขนาดของรัฐทำเอง บางทีลายพรางหรือS/N ก็ยังทำตามใจตรู ) ในขณะที่พี่ไทย เครื่องบินก็น้อยอยู่แล้ว ยังจะไม่มีที่ให้คนนอกเมืองเข้าถึงอีก
ถามว่า จะมีสักกี่คนในไทยครับ ที่สามารถไปดำน้ำดูซากเครื่องเหล่านั้นได้
ผมเห็นด้วยกับพี่กบนะครับ ที่บอกว่า การเข้าถึงของเด็กบ้านนอก มันน้อยกว่าเด็กในเมืองจริงๆ ซึ่งคนที่เรียนและเกิดในเมืองหลวงคงไม่เคยรู้
ผมมันเด็กบ้านนอกครับ ถามว่าจะเข้ากรุงเทพฯเพื่อมาดูเครื่องบินเหรอ เสียใจครับ ไม่ได้ไปหรอก
อย่าพูดถึงแม้แต่เรื่องดำน้ำไปหรอกครับ ว่ายน้ำยังไม่เป็นเลย
หรือจะเข้าไปดูที่พิพิธภัณฑ์ เจอป้ายเขตทหารห้ามเข้าก็ฝ่อแล้ว
จุดสำคัญที่ผมจะพูดคือ มันไม่มีอย่างอื่นจะทำเป็นปะการังหรือไงครับ
หรือถ้าจะเอาไปทำ ประชาสัมพันธ์ให้คนรักทหารมากขึ้น ก็เอาทำปะการังสัก3-4ลำก็พอ แบบสภาพที่จะบูรณะก็ยากแล้ว
จริงๆแล้ว อยากให้ทอ. ทำพิพิธภัณฑ์เครื่องบิน ให้ครบทุกกองบินจริงๆครับ แล้วบูรณะเครื่องเหล่านี้ไปจัดแสดง (ให้ตรงตามประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ทำตามใจตรู) อย่างนี้ เด็กบ้านนอก ก็มีสิทธิที่จะได้รู้ว่า เครื่องบินที่เคยคุ้มภัยเหนือหัวเค้าน่ะ มีอะไรบ้าง เผื่อเป็นแรงบันดาลใจ ให้มาเป็นนักบิน หรือวิศวกรต่อไป
ของอย่างนี้มองเป็นตัวเงินไม่ได้หรอกครับ ยิ่งเด็กสมัยนี้ขาดแรงบันดาลใจอย่างมาก ไม่มีอะไรทำ ไม่มีแรงบันดาลใจว่ากรูจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่มีที่ให้ความรู้ยามว่าง เด็กแว้น นักเลง อันธพาลมันเลยเกลื่อนบ้านเมืองไงครับ อย่าตีความไปในด้านมูลค่าทางการเงินอย่างเดียวสิครับ
ครับ ก็อาจจะจริงที่เด็กเมืองกรุงอย่างผมมีโอกาสมากกว่าเด็กต่างจังหวัด จะว่าเอาเปรียบก็คงใช่ เพราะกรุงเทพก็ใช้ทรัพยากรจากต่างจังหวัดมากเหมือนกัน
แต่อย่างที่ผมบอกไปครับ ผมยังเห็น ฮ. 4 กับ บล. 2 ที่ลพบุรีอยู่อีก ที่ Tango ก็มี จะเอามาตั้งไม่ใช่เรื่องยากครับ
สิ่งสำคัญที่เขาอยากจะเอาเครื่องไปบินทำปะการังก็คือความแปลกใหม่ครับ บ้านเราไม่มีอย่างนี้ และเราก็มีวัตถุดิบทำได้ และเขาจับกลุ่มนักท่องเที่ยวซึ่งแน่นอนครับเด็กต่างจังหวัดหรือแม้แต่เด็กเมืองกรุงเองก็ไม่ค่อยมีคนได้มีโอกาสดำลงไปดูหรอกครับ
แต่ที่ผมบอกว่ามันสร้างมูลค่าเพิ่มได้ซึ่งคือการมองเป็นตัวเงินนั้น ผมก็ไม่ได้บอกว่าจะละทิ้งคุณค่าหรือแรงบันดาลใจอันจะเกิดจากเครื่องบินเก่าเหล่านั้นครับ แต่มันก็คือโอกาสในการสร้างรายได้ให้ประเทศ และในเมื่อเรายังมีเครื่องบินเก่าในรุ่นสองรุ่นนี้เหลืออยู่อีก จะเอาเครื่อง 10 ลำที่อยู่ในสต็อกมาทำ ความเห็นส่วนตัวผมว่าไม่ผิดครับ มันก็คือการสร้างโอกาสอีกอย่างเท่านั้นเอง ซึ่งในกรณีนี้คือโอกาสทางเศรษฐกิจ
สำหรับเรื่องแรงบันดาลใจ ผมเห็นด้วยครับกับโครงการ 1 กองบิน 1 พิพิธภัณฑ์ (ซึ่งผมเคยได้ยินแว่ว ๆ จากท่านท้าวว่ามีโครงการทำอยู่ ถ้าจำผิดขออภัยครับ) เท่าที่จำได้ตอนนี้ก็มีที่ลพบุรีกับสกลนคร นอกจากเรื่องเครื่องบินตั้งแสดงนั้น อาจจะทำเป็น Open House Day เสริมจากวันเด็กของแต่ละกองบินหมุนเวียนกันไปก็ได้ครับ อันนี้เสนอทอ.เพิ่มเติมจากคุณ icy
สิ่งสำคัญที่อยากจะย้ำก็คือ ผมไม่ได้บอกว่าเครื่องบินเก่าพวกนี้มันหมดคุณค่าแล้ว เอาไปทิ้งให้ปะการังเกาะเถอะ ผมไม่ได้บอกว่าเราสามารถละทิ้งคุณค่าในอากาศยานเหล่านั้น แม้ว่าเมื่อผมเห็นแบบนี้แล้วอาจจะกลายเป็นว่าผมไม่ได้รักอากาศยานเหล่านั้นก็ตาม แต่ผมอยากจะสื่อว่า ในเมื่อเรามีความพร้อม มันก็น่าจะดีกว่าถ้าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแหล่งท่องเที่ยวของเราครับ
ถ้าเรื่องเกี่ยวกับนักท่องเที่ยว
ถามว่า นักท่องเที่ยวอยากจะดูอะไรมากกว่า ระหว่างธีมพาร์คใต้น้ำ ที่มีเครื่องบินที่ถูกแยกชิ้นส่วนผุๆพังๆ แถมไม่มีการบอกว่าเครื่องบินเหล่านี้มีประวัติศาสตร์อย่างไร ได้แต่ประชาสัมพันธ์ว่าจุดนี้นะ มีเครื่องบินจมอยู่ อยากเห็นก็ไปดูซะ กับ จุดดำน้ำที่กองทัพเรือจมเรือไว้ พร้อมกับประวัติศาสตร์ของเธอ
จุดไหนน่าเที่ยวกว่ากันครับ
และยิ่งเป็นการดำน้ำไปดูแล้ว อยู่บนบกยังมีโอกาสให้คนได้ไปดูมากกว่าครับ
ผมไม่อยากให้ซ้ำรอยโบกี้ใต้น้ำของรฟท.น่ะครับ ไม่อยากให้มันเป็นเพียงแค่เศษเหล็กผุๆพังใต้น้ำ รอวันสลายไป โดยไม่มีประวัติศาสตรเบื้องหลังเลย สำหรับเครื่องบินแล้ว แม้แต่S/Nยังมีคุณค่านะครับ
หรือถ้าอยากสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ นี่เลยครับ พิพิธภัณฑ์ทอ. ทำให้มันดีขึ้นสิครับ ตราบใดยังจัดแสดงเครื่องแบบอนุรักษ์นิยม(แบบทหาร) ถ้าไม่รักกันจริง ไม่ไปดูให้หอบแดดหรอกครับ
อากง อาม่า ลุงเปี๊ยก ไอ้แกละ ยามว่างก็มาหลบร้อนที่พิพธภัณฑ์ ทอ. แจ๊ค ไรอัน ,ดิง ชาเวซ มาเมืองไทย เที่ยววัดเบื่อแล้ว มาดูพิพิธภัณฑ์แบบอินเตอร์ๆกันดีกว่า
ไอ้จุก เรียนอยู่ม.2จะทำรายงานเรื่องเครื่องบิน มาถามพี่ๆที่พิพิธภัณฑ์ พี่เค้าใจดีจริงๆ
มันคนละกลุ่มกันครับ นักท่องเที่ยวที่ไปดำน้ำส่วนใหญ่ก็มาเมืองไทยเพื่อดำน้ำโดยเฉพาะ ส่วนนักท่องเที่ยวที่ไปพิพิธภัณฑ์นั้นเป็นอีกกลุ่มหนึ่งครับ ผมก็ไม่ไปดำน้ำดูเครื่องบินแต่ผมเลือกที่จะไปพิพิธภัณฑ์มากกว่าผมเพราะว่ายน้ำไม่เป็น แต่ในอีกแง่นักดำน้ำส่วนมากก็ไม่มีใครมาพิพิธภัณฑ์อยู่แล้วครับ
ผมก็ขอย้ำอีกรอบว่าที่เห็นด้วยกับโครงการนี้ไม่ใช่ว่าผมไม่ใส่ใจคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของมันนะครับ แต่ในเมื่อเรามีวัตถุดิบมากพอ การเปลี่ยนมันไปทำอย่างอื่นก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร นอกจากนั้นมันยังสร้างเงินสร้างแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มอีกด้วย และเราก็ไม่ได้เอาอากาศยานทั้งหมดไปทำแหล่งท่องเที่ยวใต้น้ำครับ
ก็ถือว่า เป็นการสร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และทำเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ของปลาด้วย
กลุ้มตรงที่ ดำน้ำไม่ค่อยเป็นนี่แหละ
ไม่ค่อยจะอยากโผล่แสดงความเห็นสักเท่าไหร่
แต่ผมส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับโครงการนี้
เรื่องการท่องเที่ยวดำน้ำดูปะการังนี่ ส่วนมากก็เน้นชักชวนให้คนต่างชาติมาเที่ยวมากกว่าคนไทยมาเที่ยวเสียมากกว่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจต่อประเทศชาติ ซึ่งรายได้หลักของประเทศคือท่องเที่ยว
เรื่องแรงบันดาลใจจะจัดแสดงให้เด็กต่างจังหวัดให้มีแรงบันดาลใจ อันนี้ขอแย้งไอเบะ เอ๊ยยยยยยยย ไอซี่ซังนะครับ คือผมว่าเรื่องของแรงบันดาลใจนี่ เรื่องการแสดงเครื่องบินให้เยาวชนเห็นเป็นแรงบันดาลใจในการจะเป็นนักบินหรือวิศวกรนี่ ผมว่ามันไม่ได้ช่วยได้มากหรอกครับ เพราะปัจจุบันสังคมไทยในแง่ของมวลชนตอนนี้ อยู่ที่กระแสสังคมเป็นหลักครับ แรงบันดาลใจหากไม่สุดยอดถึงขั้นโอตาคุอย่างพวกกระผมที่มีต่อเครื่องบินนี่ คงยากครับที่จะนำเครื่องบิน
การนำเครื่องบินทำปะการังเทียมนี่ ผมว่าก็ช่วยในเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติอยู่พอสมควร (ผมสาวก Green Peace สาเหตุหลักเหรอครับ? คิดเอาเอง คิกๆ กำเดาพุ่งอีกแย้ว) เป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและแหล่งท่องเที่ยวที่เราจะกอบโกยผลประโยชน์ได้อีกมหาศาลในอนาคต
และภายหลังหากเรานำเงินตรงส่วนนี้มาพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ นำมาพัฒนาที่นา สร้างเมกกะโปรเจคลงปุ๋ย ลงน้ำให้ที่นามีประสิทธิภาพสูงสุด (ฝันมานานแล้ว สี่ห้าปีละ)
ทางออกมันมีหลายทางครับ
การกระทำของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ บลาๆ ผมว่าเขามีคณะกรรมการหรือ คณะทำงานมาศึกษาถึงผลประโยชน์และผลเสียของโครงการดังกล่าว
ถ้าหากมีข้อสงสัยหรือโต้แย้ง และเป็นการกระทำเพื่อความรักในเครื่องบินจริงๆ ผมว่า รายการสนทนาของนายก ลองเขียนจดหมายไปถามดูก็ดีนะครับ ^^ (ชอบหรือไม่ชอบ ยังไงกลไกสถาบันก็สำคัญอยู่ดี)