หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ทำไมต้องยิงทหารที่หนีทัพด้วย

โดยคุณ : intat45 เมื่อวันที่ : 30/04/2008 11:32:09

ผมยังสัยอยู่ว่า ทำไมทหารกองทัพแดง(โซเวียต)ชอบยิงทหารที่วิ่งหนี ข้าศึก




ความคิดเห็นที่ 1


ความจริงมันก็ยิงทุกประเทศแหละครับ ทหารหนีทัพนี่ แต่เป็นการจับมายิงเป้ามากกว่า
โซเวียตไม่ได้ยิงทิ้งอย่างเดียวนะครับ เค้ามีกองพันปรับวินัยสำหรับพวกหนีทัพด้วย
ภารกิจก็ไม่มีอะไรมาก เคลียร์ดงกับระเบิดไม่ก็ฝังศพ
โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 23/04/2008 06:30:28


ความคิดเห็นที่ 2


น้องนิคดูหนังEnemy at the gate ซ้ำแล้วมาตั้งกระทู้อะป่าวเนี่ย อิอิ

คืองี้ครับรู้สึกหลักนิยมของกองทัพคอมมิวฯเค้าจะเป็นอย่างงั้น คิดดูสิครับทหารโซเวียตปืนก็ไม่ให้ถือ ใครจะไปมีกำลังใจรบ แบบว่าเค้าต้องการให้ทหารห้ามถอยครับ คือให้เลือกเอาเลยว่าจะบุกไปตายเอาดาบหน้า หรือจะตายเยี่ยงคนทรยศเมื่อถอย (สู้พระเอกหนังไม่ได้ไม่เลือกทั้งสองอย่างแต่แกล้งตาย ดีนะที่ไม่โดนทหารเยอรมันที่ยิงซ้ำใส่ศพ) อย่างในเกมส์Call of duty นี่ผมวิ่งไปแป้บเดียวโดนคอมมิสซาร์ยิงตาย เซ็งไปนานกว่าจะทำใจเล่นได้

แล้วเค้าก็กลัวว่าทหารที่หนีจะไปให้ข่าวที่เป็นประโยนช์แก่เยอรมันด้วยมั้งครับ ไม่ก็ถือว่าทรยศยิงได้ทันทีจะได้ไม่เป็นเยี่ยงอย่างให้แก่ทหารคนอื่นๆ

จบละ

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 23/04/2008 06:40:39


ความคิดเห็นที่ 3


เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างนี่แหละครับ สำคัญ

 

ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นกองทัพแดงเท่านั้นครับ กองทัพอื่นก็ยิงเช่นกัน

โดยคุณ helldiver เมื่อวันที่ 23/04/2008 06:53:08


ความคิดเห็นที่ 4


กำผมอยากทราบว่า ทำไมผมเห็นแต่ภาพทหารเยอรมันยิง เชลยบ้าง ยิง ชาวบ้านบ้าง บ้างครั้งก็ ยิง เชลยรัสเซียส่วนมากและอีกอย่างมันยิง เชลยที่บาดเจ็บอีกต่างหาก รับไม่ได้ตรงนี้


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 23/04/2008 07:26:21


ความคิดเห็นที่ 5


เพราะผู้ชนะ คือผู้เขียนประวัติศาสตร์ครับ หากมองกันจริงๆแล้วก็ไม่ใช่มีแต่เยอรมันฝ่ายเดียว เมื่อคราวที่ ผบ กองพลยานเกราะที่ 3 ของสหรัฐ ตายในที่รบ ทหารสหรัฐ ก็สังหารหมู่เชลยเยอรมันเหมือนกันครับ

 

 

โดยคุณ helldiver เมื่อวันที่ 23/04/2008 07:37:26


ความคิดเห็นที่ 6


ถูก อิอิเห็บ่อยเลย

ไม่เคยเห็น เมกาซักครั้ง


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 23/04/2008 07:45:24


ความคิดเห็นที่ 7


การที่เรายิงเชลยผิดกฏสงครามแน่นอนมั้ย ครับ

สถานะการณืตอนที่เรายิงเค้า แต่การที่เราโดนเขาฆ่าบ้างมันต่างกันนะ

 


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 23/04/2008 07:48:50


ความคิดเห็นที่ 8


เป็นการเชือดไก่ให้ลิงดูครับ แต่ก็โหดมากเหมือนกันในหนังเรื่องนั้น เล่นเอาผมสงสัยไปนานเลยว่าเจ้่่าปืนกลที่ตั้งอยู่หลังแนวทหารราบมันเอาไว้ยิงกดดันข้าศึกหรือว่าประหารพวกเดียวกันเองกันแน่

ปล. กองพันทหารรัสเซียที่เคลียร์ดงกับระเบิดต้องเดินผ่านไปเลยนะครับไม่ใช่มีเครื่องมือพวก Frankfurt 42 คอยตรวจ ข่าวดีคือถ้าบาดเจ็บจะได้รับอภัยโทษ ถ้าตายก็ได้รับด้วยเหมือนกันครับ
โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 23/04/2008 08:06:55


ความคิดเห็นที่ 9


ถ้าไม่ยิงคนที่เหลือ ก็อาจจะหนีเพิ่มขึ้นครับ และจะทำให้กองทัพเข้าสู่จุดอับได้ ซึ่งในตอนนั้น ถ้าสตารลินการดถูกตีแตก ก็จะถูกรุกหนักครับเพราะเป็นแนวรบที่สำคัญเพราะอย่างน้นจึงต้องใช้วิธีที่อาจจะดูเหมือนโหดร้ายไปหน่อย

โดยคุณ heart2319 เมื่อวันที่ 23/04/2008 08:54:07


ความคิดเห็นที่ 10


การประหารทหารที่หนีทัพมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ   และคงมีต่อไปจนกว่าจะเลิกทำสงครามกัน  เคยดูข่าวอิรัค ประหารทหารหนีทัพช่วงก่อนสงครามอ่าว ครั้งแรก ก็จะๆเลย
ถ้ามีโอกาส ขอแนะนำหนัง เรื่อง The Path of Glory ครับ

สำหรับกองพันทหารติดโทษ (Penalty Battalion) ของโซเวียต เท่าที่ทราบ
ใช้เป็นหน่วยหน้า ในการวิ่งดาหน้าเข้าตีข้าศึก (Stoming)
ถ้าเจอกับระเบิดก็วิ่งเหยียบไป ไม่ใช่ให้มาค่อยๆเก็บกู้ระเบิดเป็นลูกๆ
ถ้าดาหน้าเข้าไปหาแนวรับข้าศึก แล้วรอด ยึดที่มั่นข้าศึกได้ ก็คงพ้นโทษ
ให้กลับเข้าหน่วยปกติได้ ซึ่งก็ไม่พ้นการวิ่งดาหน้า
ตามทหารติดโทษ (ถ้ามี) เข้าไปยึดที่มั่นข้าศึกอีก

การรบแบบวิ่งดาหน้า (Stoming) เข้าตีข้าศึก
เป็นวิธีการรบที่พัฒนาจากการเข้าแถวเดินหน้าเข้าหาข้าศึก
ที่เรียกว่าการรบสมัยนโปเลียน (Napolionic Warfare)
โซเวียตนำวิธีการรบแบบนี้มาใช้มากในช่วงแรกของสงครามโลก
(เพราะมีคนมาก แต่กองทัพแดงตั้งใหม่ นายทหารไม่ได้รับการฝึกมาดีพอ และอาวุธสนับสนุนไม่ค่อยมี) จนโซเวียตมีเครื่องบิน ปินใหญ่และรถถังพอ ถึงเปลี่ยนวิธีการรบ

การรบแบบ Stoming ครั้งสุดท้าย น่าจะเป็นตอนสงครามอิรัค อิหร่าน ที่อิหร่านให้ทหารที่เคยอยู่ในกองทัพพระเจ้าชาร์ ดาหน้าเข้าไปตีทหารอิรัค

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 24/04/2008 06:15:49


ความคิดเห็นที่ 11


ถ้าไม่ยิ่งคงต้องก้มกราบมั้ง

โดยคุณ PEETOH เมื่อวันที่ 23/04/2008 22:43:37


ความคิดเห็นที่ 12


to....

          ปราชญ์ ซุนวู ท่านว่า การทำศึกถือเป็นเรื่องเป็นเรื่องสำคัญของชาติ เป็นแหล่งแห่งความเป็นความตาย  เป็นเหตุแห่งความเป็นและดับสูญ ไม่พิเคราะห์ไม่ได้      ดังนั้นประการแรกที่ต้องทำคือการประเมินศึก  การประเมินศึก พึงพิเคราะห์จากห้าเรื่องคือ  1.คุณธรรม 2.ลมฟ้าอากาศ  3.ภูมิประเทศ 4.แม่ทัพนายกอง  5.กฎระเบียกองทัพ     ข้อ 5 นี่ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง  เพราะกฎระเบียบกองทัพ ก็คือวินัยทัพ ถ้าวินัยทัพเข้มงวดชัดเจน  คำสั่งให้บุกต้องบุก   ผู้ใดขัดขืนคำสั่งจักต้องวินัยทัพ!                  แต่ยามสงครามติดพันเป็นเรื่องยากที่จะทำการไต่สวน          ดังนั้นก็เลยให้อาญาสิทธิ์กับแม่ทัพนายกอง           ถ้าหากพลทหารหนีทัพก็สามารถสำเร็จโทษได้ทันที    ฟังดูเหี้ยมโหดแต่ถ้านึกดูดีๆ  ถ้าหากวินัยไม่เข้มงวด  ปล่อยให้ทหารหนีทัพไปแล้วคนหนึ่ง  เดี๋ยวก็จะมีคนต่อๆ ไปอีก  การหนีทัพในระหว่างรบของคนๆ หนึ่ง และคนต่อๆ ไป   ทำให้ขวัญและกำลังใจของกองทัพสั่นคลอน              ...... ไม่ต้องอื่นไกล    ในสมัยพระเจ้าตากสินหรือพระเจ้ากรุงธนบุรี ท่านก็เคยประหารทหารที่เกรงกลัวหรือหนีทัพต่อข้าศึกมาแล้ว   ท่านถามทหารเหล่านั้นว่า  ระหว่างข้าศึกกับตัวท่าน(พระเจ้าตาก)กลัวใครมากกว่ากัน     ก็คงไม่ต้องตอบคำถามนะครับ สำหรับคนที่กลัวข้าศึกมากกว่า    ......และด้วยวินัยทัพที่เข้มแข็งนี้เอง  วินัยทัพที่ทำให้   ทหารกลัวแม่ทัพนายกอง  มากกว่าข้าศึกศัตรู  ก็เลยทำให้กองทัพของพระเจ้าตากสามารถกู้ชาติได้สำเร็จ  ดังที่เราทราบกันอยู่ครับ   ......ทั้งหมดนี้คือ วินัยทัพ  สำหรับทหารที่หนีทัพครับ 

โดยคุณ tomcat เมื่อวันที่ 23/04/2008 23:32:17


ความคิดเห็นที่ 13


เห็นที่คห.บนบอก ก็เป็นการยิงเพื่อรักษาวินัยนั้นใช่แน่ครับ

ส่วนยิงเชลย หรือยิงทหารฝ่ายตรงข้ามที่บาดเจ็บ อันนี้ก็คิดว่าไม่ถูกแน่ละ แต่คิดว่า บางครั้งทหารเวลารบกันก็ต้องมีความรู้สึกกดดันหรือแค้นศัตรูบ้างละมั้งครับ จับเชลยได้ก็ยิงระบายอารมย์ แต่โดยมากก็ยิงแบบไม่มีเหตุผล(อย่างการสังหารหมู่เชลยอเมริกันที่มัลเมดี ช่วงศึกบัลจ์ หรือถ้าใครเคยดู Letter from IwoJima จะเห็นจีไอยิงเชลยญี่ปุ่นทิ้งเพราะขี้เกียจดูแล)

โดยคุณ Yuri Alexandrovish Orlov เมื่อวันที่ 24/04/2008 00:44:18


ความคิดเห็นที่ 14


ในสนามรบคงไม่มีกฎกติกา ถึงแม้จะมีคนพยายามจะให้มันมี(สนธิสัญญา เจนิวา)ก็ตาม…..   ในสนามรบคงไม่ใช่สนามฟุตบอลที่จะมีคำขวัญ “Fair Play”  คงไม่มีกรรมการที่จะคอยให้ความยุติธรรมกับผู้เล่น   “ผู้แพ้ หรือ ผู้อ่อนแอไม่สามารถร้องเรียนหรือถามหาความ ยุติธรรม จาก ผู้ชนะหรือ ผู้เข้มแข็ง”     ดังนั้นเราคงจะต้องทำทุกวิถีทางถึงแม้ว่ามันจะเป็นวิธีที่คนที่มีความยุติธรรมอยู่ในหัวใจรู้สึกหดหู่หรือรู้สึกหงุดหงิดก็ตาม เพื่อให้ได้มาซึ่งคำว่า “ชัยชนะ”  

 

การหนีทัพโดยเฉพาะการหนีทัพต่อหน้าอริราชศัตรู ถือ ว่าเป็นการกระทำที่มีความผิดร้ายแรงมากซึ่งจะส่งผลต่อสภาพโดยรวมของหน่วยทหารนั้นที่อาจจะชี้ถึงผลการแตกหัก   ดังนั้น ผบ.หน่วยที่มีทหารหนีทัพในลักษณะดังกล่าวคงจะต้องทำอะไรซักอย่างเพื่อเป็นการป้องกันและป้องปราม การกระทำดังกล่าวอีก   การยิงทิ้งหรือสังหาร  เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้ผลในการชะงักงันและป้องปรามทหารคนอื่นๆที่มีความคิดดังกล่าว  เพราะถ้าปล่อยให้มีเหตุการณ์ดังกล่าวโดยที่ไม่ทำอะไรแล้ว  มันจะบั่นทอนขวัญของหน่วยทหารนั้น

 

“ขวัญ” เป็นอำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตน  เป็น นามธรรม ไม่สามารถจับต้องได้  แต่มันสามารถรับรู้และส่งผลในการรบได้      ขวัญของทหารเป็นสิ่งหนึ่งที่แม่ทัพนายกองจะต้องดำรงไว้  เพราะเมื่อใดที่ขวัญทหารเข้าสู่สภาวะที่เราเรียกว่า”ขวัญต่ำ”แล้ว หน่วยทหารนั้นจะต้องพบกับความปราชัยอย่างแน่นอน..........ทหารถึงแม้จะมียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยแต่ถ้า “ขวัญต่ำ” แล้วละก็ ก็แถบจะไม่มีวันที่จะเอาชนะข้าศึกที่มี “ขวัญสูง” กว่าได้ถึงแม้ว่าข้าศึกจะมียุทโธปกรณ์ที่ล้าสมัยกว่าก็ตาม................ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันนั้นทหารบางหน่วยก็น่าจะเกือบจะเรียกได้แล้วว่าเข้าสู่สภาวะ “ขวัญต่ำ”

 

การยิงทิ้งเชลยศึก อาจจะเป็นสิ่งที่เสียดแทงหัวใจของผู้ที่มีจิตใจอ่อนโยนโอบอ้อมอารีและรักความยุติธรรม    แต่ถ้าเราลองมองดูดีๆแล้วมันเป็นเรื่องธรรมดามาก...................ทหารก็คือมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาที่ยังไม่สามารถละ กิเลศตัณหาได้ ยังคงมีความรู้สึก “รัก โลภ โกรธ หลง”   ลองจินตนาการดูว่าทหารที่เข้าตะลุมบอลกับข้าศึก ซึ่งแน่นอนว่าในระหว่างที่โรมรันพันตูกับอริราชศัตรู อยู่นั้นจะต้องมีเพื่อนรักที่กอดคอร่วมเป็นร่วมตายเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาหลายสมรภูมิเป็นอันต้องจากลา โบกมือบ๊ายบายกลับบ้านเก่าไปไม่ใช่น้อยอย่างแน่นอน ถึงแม้ตนเองจะเป็นฝ่ายชนะก็ตาม  ดังนั้นการกระทำในลักษณะที่คนทั่วๆไปเรียกว่า โหดร้าย ป่าเถื่อน มันจึงเป็นเรื่องธรรมดา  ทำไงได้ก็ดัน(เจือก)แพ้เขานี่นา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขณะติดพันในขอบหน้าพื้นที่การรบด้วยแล้ว ผู้บังคับหน่วยทุกระดับชั้นคงไม่มีเวลาจะจัดระเบียบการปฏิบัติต่อเชลยศึกได้ทันอย่างแน่นอน

 

 ผมเคยอ่านหนังสือเรื่อง “ศึกบัลจ์” ซึ่งเป็นหนังสือแปล  เป็นหนังสือที่กล่าวถึงรายระเอียดปลีกย่อยของการยุทธ์ครั้งนั้นที่ระเอียดมากเท่าที่ผมเคยศึกษาเกี่ยวกับ ศึกบัลจ์ มา......ในหนังสือตอนหนึ่ง กล่าวถึงสถานการณ์เมืองเมืองหนึ่งที่กำลังจะถูกตีแตก(ผมจำชื่อเมืองไม่ได้)     ทหารจีไอกำลังจะถอนตัวเพราะยันเจอรี่ที่โหมเข้าตีไม่ได้    มีทหารจีไอบางส่วนที่บาดเจ็บสาหัส ไม่สามารถร่วมในการถอนตัวได้ จึงจำเป็นจะต้องรอคอยเพื่อยอมแพ้ต่อข้าศึก   ในหนังสือได้กล่าวถึงบทพูดคุย ซึ่งสรุปได้ว่า มีทหารเสนารักษ์จีไอบางส่วนขันอาสาอยู่ดูแลผู้บาดเจ็บดังกล่าวและพร้อมยอมตกเป็นเชลยศึกเจอรี่ไปกับทหารจีไอบาดเจ็บด้วย   ซึ่งผู้บังคับหน่วยจีไอได้กล่าวกับอาสาสมัครเสนารักษ์ว่า “อย่ายอมแพ้ต่อทหารเจอรี่ในระลอกแรกๆ  เพราะทหารเหล่านั้นกำลังติดพันและกำลังมีไฟแห่งความโกรธจากการที่พวกพ้องถูกทหารฝ่ายเรายิงตาย    ให้พยายามหลบซ่อนในป่าก่อนแล้วค่อยยอมแพ้ต่อทหารเจอรี่ในระลอกหลังๆ”

 

การสังหารทิ้งเชลยศึก ในบางสถานการณ์มันเป็นการ สร้างขวัญ ทหารฝ่ายตนเองกลับคืนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาวะโดยรวมของฝ่ายเรากำลังอยู่ในสภาวะที่พ่ายแพ้ในการยุทธ์ติดต่อกันหลายครั้ง  ทหารฝ่ายเรากำลังจะคิดว่า ข้าศึกเป็นเทพเจ้าไม่สามารถเอาชนะได้    เช่น  สหายอีวาน สังหารเชลยศึกเจอรี่ที่สวมเครื่องแบบ เอสเอส เพื่อเรียกขวัญทหารฝ่ายตนกลับคืนมา...................

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 30/04/2008 00:32:09