หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ทำไมเครืองบินSU 30 ถึงมีหน้า หน้าตัดเรด้าถึง 10mเลยละครับ

โดยคุณ : sherlork เมื่อวันที่ : 27/04/2008 10:26:16

ทำไมเครืองบินSU 30 ถึงมีหน้า หน้าตัดเรด้าถึง 10mเลยละครับ หน้าตัดเรด้า10เมตร หมายความว่า
 มีแมนเหล็กขนาด10เมตร ตั้งฉากกับเรเด้า ไช่ไหมครับ
ผมมองยังไงSU 30มันก็มีไม่น่าถึงนะครับ แล้วที่F 22
มีหน้าตัดเรด้า0.00001ตามข้อมูลบางแหล่ง เนียมันไม่เกินไปหน่อยหรือครับ ถ้า0.025 อย่าที่เวปพี่โย ยังพอหน้าเชื่อบางอะครับ รบก่วนพี่ๆช่วยอธิบายไห้ฟังหน่อยได้ไหมครับ ขอแบบละเอียดได้ก็ดีครับ หรือลิ้งก็ได้ ขอบคัณล่วงหน้าครับ




ความคิดเห็นที่ 1


ก่อนอื่นช่วยแก้คำถามก่อน

ทำไมเครื่องบินSU 30 ถึงมีหน้าตัดเรด้าถึง 10m เลยละครับ หน้าตัดเรด้า10เมตร หมายความว่า
มีแผ่นเหล็กขนาด10เมตร ตั้งฉากกับเรด้า ใช่ไหมครับ
ผมมองยังไงSU 30 มันก็มีไม่น่าถึงนะครับ แล้วที่ F 22
มีหน้าตัดเรด้า 0.00001 ตามข้อมูลบางแหล่ง นี่มันไม่เกินไปหน่อยหรือครับ ถ้า0.025 อย่างที่เวปพี่โย ยังพอน่าเชื่อบ้างนะครับ รบกวนพี่ๆ ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ ขอแบบละเอียดได้ก็ดีครับ หรือลิ้งค์ก็ได้ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

คำตอบผมไม่ทราบครับ ผมมันประเภทอ่านไม่จำไม่จดลืมง่าย รอท่านอื่นต่อไป

โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 22/04/2008 02:21:58


ความคิดเห็นที่ 2


พูดถึงพื้นที่หน้าตัดหน่วยน่าจะเป็น 10 ตารางเมตร (ตร.ม.= m2) มากกว่านะครับ  เทียบง่ายๆ ก็กว้าง 1 เมตร ยาวเท่ากับ 10 เมตร เป็นต้น  ส่วน F-22 ที่ว่ามีพื้นที่หน้าตัดเรดาห์ 0.00001 ตร.ม.(ศูนย์สี่ตัว) เล็กกว่ากระดาษ A4 ซึ่งมีขนาด 210x297mm. = (210/1000)x(297/1000) = 0.0624 ตร.ม. เสียอีก.................ดังนั้นผมคิดว่า พื้นที่หน้าตัดขวางเรดาห์  (Radar Cross-Section, RCS) กับพื้นที่หน้าตัดขวางเฉยๆ (Cross-Section) อาจไม่ใช่ตัวเดียวกัน......เหมือนเรามองดินสอทางด้านแหลม  พื้นที่ที่เรามองเห็น (Plan Area) สมมุติว่าดินสอเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม.พื้นที่จึงเท่ากับ 0.0000785 ตร.ม.(ใหญ่กว่า F-22 เสียอีก) แต่พื้นที่ที่สามารถสะท้อนคลื่นเรดาห์กลับได้ (ในทิศทางที่เรามอง) ก็มีแค่จุดที่ปลายดินสอเท่านั้นซึ่งนับว่าเล็กมาก......สรุปว่า RCS หมายความว่า พื้นที่หน้าตัดสะท้อนเรดาห์ นั่นเอง  ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่ เรียนถามผู้รู้ครับ.......ผมอ่านจาก Blog ของคุณ rinsc seaver แล้วคิดต่อที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=warfighter&month=03-2008&date=28&group=1&gblog=7 ลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมดู  ขอบคุณมากครับ
โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 22/04/2008 07:33:39


ความคิดเห็นที่ 3


Radar cross section (RCS) = Geometric cross section × Reflectivity × Directivity

จากสมการเบื้องต้นข้างบน จะเห็นได้ว่าค่า RCS ขึ้นกับ 3 ปัจจัย คือ

1. พื้นที่หน้าตัดทางเรขาคณิตของ บ. ดังนั้น บ.ที่ใหญ่กว่า มีหน้าตัดมากกว่าถึงได้มีค่า RCS สูงกว่า

2. การสะท้อนกลับของคลื่นเรดาร์เมื่อมากระทบกับตัว บ. ดังนั้นการใช้วัสดุดูดซับคลื่นเรดาร์ (Radar Absorbent Material; RAM) มาสร้างหรือเคลือบพื้นผิวลำตัว หรือการใช้ระบบ active cancellation จึงลดค่า RCS ของ บ. ได้

3. ทิศทางที่คลื่นเรดาร์สะท้อนกลับไปยังตัวรับคลื่น ดังนั้นการทำ shaping ที่ตัว บ. หรือการปรับรูปทรงของ บ. ให้มีลักษณะเฉียงๆ เช่น ใน F-22 หรือ F-35 ความจริงไม่ได้ลดการสะท้อนกลับของคลื่นเรดาร์ แต่ทำให้คลื่นเรดาร์ที่สะท้อนกลับนั้นกระจัดกระจายไปยังทิศทางต่างๆ คลื่นเรดาร์ที่สะท้อนกลับไปถึงจานเรดาร์ที่รับคลื่นจึงมีน้อย คือ มีความแรงของสัญญาณต่ำ ทำให้ บ. มีค่า RCS ต่ำ จึงตรวจจับไม่ได้หรือได้ยากนั่นเอง (แต่วิธีการ shaping ก็อาจถูกต่อกรได้ด้วยการใช้เรดาร์แบบ bi-static คือ ส่งคลื่นจากที่หนึ่ง แล้วรับคลื่นในอีกที่หนึ่ง โดยใช้เรดาร์ 2 ตัว เชื่อมต่อกันด้วย data-link เพื่อนำข้อมูลมาประมวลผลร่วมกัน แล้วหาตำแหน่งของเป้าหมาย)

 

ปล. ขอบคุณทุกท่านที่ไปเยี่ยมชม blog นะครับ ช่วงนี้งานยุ่งมากเลยไม่มีเวลาอัพข้อมูลต่อครับ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 23/04/2008 07:08:09


ความคิดเห็นที่ 4


ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Su-27/30 เป็น บ.ที่มีขนาดใหญ่มาก ไม่ได้มีการทำ shaping ใดๆ ทั้งสิ้น แต่อาจมีบางชิ้นส่วนที่ใช้วัสดุ RAM ดังนั้นค่า RCS ถึงได้มากครับ โดยพอๆ กับ RCS ของ F-15 ครับ
โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 23/04/2008 07:11:24


ความคิดเห็นที่ 5


ขอบคุณมากครับ ท่านใดมีเพิ่มเติมไหมครับ
โดยคุณ sherlork เมื่อวันที่ 25/04/2008 05:12:21


ความคิดเห็นที่ 6


ท่านเซียนอ.ริน ตอบไปหมดแล้ว ขอเพิ่มเติมจากอ.รินครับ

1. พื้นที่หน้าตัดทางเรขาคณิตของ บ. ดังนั้น บ.ที่ใหญ่กว่า มีหน้าตัดมากกว่าถึงได้มีค่า RCS สูงกว่า ----------->เพิ่มเติมอีกนิด ว่า หน้าตัดนั้น ไม่ใช่เฉพาะด้านหน้าครับ ด้านข้าง ซ้าย ขวา บน ล่าง ก็เอามานับเป็นRCSได้หมดครับ

ดังรูปด้านล่าง

 

 


โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 25/04/2008 06:06:13


ความคิดเห็นที่ 7


สีแดงๆคืออะไรไรือครับพี่ไอซี่
โดยคุณ sherlork เมื่อวันที่ 25/04/2008 06:11:46


ความคิดเห็นที่ 8


2. การสะท้อนกลับของคลื่นเรดาร์เมื่อมากระทบกับตัว บ. ดังนั้นการใช้วัสดุดูดซับคลื่นเรดาร์ (Radar Absorbent Material; RAM) มาสร้างหรือเคลือบพื้นผิวลำตัว หรือการใช้ระบบ active cancellation จึงลดค่า RCS ของ บ. ได้ ------->เพิ่มเติมเรื่องวัสดุครับ วัสดุที่นำมาเคลือบนั้นไม่ได้ดูดกลืนเรดาร์ไปเฉยๆครับ แต่มันทำหน้าที่เปลี่ยนรูปพลังงานของคลื่นเรดาร์ ให้กลายเป็นพลังงานรูปอื่น แล้วเปลี่ยนคุณสมบัติของคลื่นเรดาร์นั้นๆ (ใครเรียนฟิสิกส์โดยตรงน่าจะเข้าใจ ส่วนผม แหะๆ ขอบาย) เช่นเดียวกับระบบพลาสมาสเตลธ์ ของรัสเซีย ที่จะสร้างหมอกของพลาสมา( ซึ่งเป็นสถานะพิเศษของสสารซึ่งมีประจุไฟฟ้าจำนวนมาก )มีผลทำให้คลื่นที่มากระทบ เปลี่ยนเส้นทาง หรือเมื่อคลื่นมากระทบ ก็จะถ่ายเทพลังงานไปให้อนุภาคในพลาสมาเหล่านั้น จนเปลี่ยนคุณสมบัติของคลื่นเปลี่ยนไป 

 

ส่วนข้อสาม อ.ริน อธิบายได้อย่างยอดยุทธ์ !!

 

 http://jacquesricher.com/EWhdbk/rcs.pdf   ลิงค์นี้แนะนำสำหรับผู้เรียนฟิสิกส์เก่งเข้าเส้นครับ  เพราะผมอ่านแล้วไม่เข้าใจ พับผ่าสิ --

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 25/04/2008 06:24:18


ความคิดเห็นที่ 9


สีแดงๆนั่นคือ ปริมาณคลื่นเรดาร์ที่สะท้อนออกมาจากจุดต่างๆของบ.ครับ

มันเป็นรูปกราฟอ่ะนะครับ

ยิ่งเยอะ แสดงว่ายิ่งสะท้อนมาก หมายถึง RCSมากนั่นแหละครับ

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 25/04/2008 06:26:40


ความคิดเห็นที่ 10


-ขอบคุณมากครับพี่ไอซี่และ อ.ริน เข้าใจขึ้นมากเลยครับ
โดยคุณ sherlork เมื่อวันที่ 26/04/2008 23:26:17