คือผมสงสัยว่า ทำไมบ.สมัยนั้น จะต้องมีช่องดูดอากาศเข้าเครื่องด้วย บางลำก็มีช่องปล่อยอากาศออก ( บางลำไม่มี ) เเละอีกอย่าง บ.ที่มีเครื่องยนต์ใหญ่ๆทำไมต้องมีบานพับที่หน้า COCKPIT
ปล.ถามมากหน่อบนะครับ เเต่อยากทราบจริงๆครับ
มันต้องมีช่องอากาศเข้าสำหรับไปใช้เดินเครื่อง (สันดาปภายใน) แน่ๆ ละครับไม่งั้นก็ไม่ต้องบินกัน เครื่องส่วนใหญ่เป็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ยกเว๊นแค่สองรูปสุดท้ายระบายความร้อนด้วยอากาศ แต่ถึงจะระบายความร้อนด้วยน้ำ ก็ต้องอาศัยหม้อน้ำรับอากาศพาความร้อนออกไปอีกทีครับ ช่องที่ว่าก็คือช่องหม้อน้ำนั้นเอง และจะมีช่องสำหรับ oilcooller สำหรับช่วยระบายความร้อนจากน้ำมันเครื่องอีก ในสองรูปสุดท้ายก็ใช้ครับ ส่วนใหญ่ถ้าระบายความร้อนด้วยน้ำก็มักจะมีทั่งสองแบบ
ส่วนบานพับที่ว่าน่าจะเป็นช่องไอเสียออก (ให้อากาศเข้าไปเดินเครื่อง มันก็จำเป็นต้องมีช่องออกเป็นไอเสียนะครับ) ว่างๆ ไปเล็งดูรถยนต์ก็ได้ครับ จะมีกระจังหน้าโปร่งๆ สำหรับรับอากาศไปใช้ด้วยเหตุที่ว่ามาทั้งปวง
ตามที่ท่าน natty ตอบล่ะครับ
...เครื่องยนต์บ.ข.สมัยก่อนก็ไม่ต่างเครื่องยนต์รถสปอร์ต เนื่องจากรอบจัด การเผาไหม้ที่สูง เครื่องบางรุ่นใช้ซุปเปอร์ชาร์จ ต้องมีช่องนำอากาศเข้าเทอร์โบ และ เข้าเครื่องยนต์ เครื่อง12สูบ กำลังเป็นพันแรงม้าหรือหลายร้อยแรง อากาศที่เข้าจะขนาดไหน หากอากาศเข้าไม่พอ ปริมาณอากาศต่อกระบอกสูบ ช.พ./กำลังอัด ไม่คงที่รอบเครื่องตกน่ะครับ หรือเร่งแล้วเครื่องสะดุด นั้นเอง
....การที่เครื่องมีการเผาไหม้มาก ความร้อนก็มากขึ้นตามเช่นกัน น้ำมันหล่อลื่นและยังมีคุณสมบัตินำความร้อนก็ร้อนตามมากขึ้นๆ จนต้องระบายความร้อนออก และน้ำที่ใช้ก็ต้องระบายความร้อนด้วยเช่นกัน หากร้อนต่อเนื่องจัดๆเครื่องอาจฮีทและระเบิดได้ สมัยก่อนระบบช่วยการจุดระเบิด การกำหนดหรือแต่งรอบ และจำวพกวัดปริมาณไอเสียด้วยอ๊อฟซิเจน เซนเซอร์ เพื่อนำไปแต่งการเผาไหม้ด้วยน่ะครับ หลักการก็ใช้แค่คาร์บูเรเตอร์ จ่ายน้ำมันกับอากาศ พอดีบ้างขาดบ้าง แล้วยิ่ง ช.พ.น้ำมันหล่อลื่นในยุคนั้นไม่ได้ดีเหมือนยุคนี้ก็ตามเวรตามกรรมของเครื่องยนต์น่ะครับ