เมื่อพูดถึงเครื่องบินขับไล่ที่เคยประจำการใน ทอ.ไทย เชื่อว่าหลายๆ ท่าน คงจะรู้ว่า ทอ.มีประจำการด้วยเครื่องบิน F-86 ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น คือ F-86 f40 และ F-86 L โดยเฉพาะ F-86 L ผมมีข้อสงสัยที่อยากจะทราบเกี่ยวกับเครื่องบินรุ่นนี้กับเพื่อนสมาชิกที่ศึกษาหรือมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องบินเก่าในอดีตของไทย โดยที่ F-86 L จัดว่าเป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นที่ดีที่สุด ทันสมัย และสลับซับซ้อนที่สุดในบรรดา F-86 รุ่นต่างๆ ที่ประจำการในหมู่ประเทศที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ในช่วงหลังสงครามเกาหลี ซึ่งประเทศที่มีประจำการนอกจากสหรัฐแล้วมีเพียงประเทศไทยอีกเพียงประเทศเดียวเท่านั้น
โดยที่เจ้า เซเบอร์ รุ่นนี้ได้รับการติดตั้งระบบอิเลคทรอนิคส์เชื่อมโยงข้อมูลแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Automatic Ground Environment; SAGE)
ระบบ SAGE ได้รับการคิดค้นขึ้นที่ สถาบันวิจัยทางเทคโนโลยี ลินคอน แห่ง แมสซาซูเสส ระบบนี้คือการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูง ซึ่งตั้งอยู่ในสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งจะรับข้อมูลการตรวจจับเป้าหมายของสถานีเรดาห์หลายๆ สถานีที่เชื่อมโยงกันอยู่มาทำการประมวลผล จากนั้นก็จะส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังเครื่องรับที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องบินที่ทำหน้าที่สกัดกั้น เมื่ออุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเครื่องบินได้รับข้อมูลที่ถูกส่งมาแล้วก็จะทำการแปลงข้อมูลเหล่านั้นของเป้าหมายมาเป็นทิศทาง, ความเร็ว, ความสูง, และทิศทางที่เป้าหมายทำกับเครื่องบินสกัดกั้น และรวมถึงระยะห่างอีกด้วยเพื่อบอกให้นักบินสามารถนำเครื่องบินเข้าทำการสกัดกั้นเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
อุปกรณ์ที่ติดตั้งมีเรดาห์ (น่าจะเป็น APG-37), ตัวรับข้อมูล (Receiver) AN/ARR-39, ระบบวิทยุควบคุมแบบ AN/AR C-34, เรดาห์พิสูจน์ฝ่าย AN/APX-25 และเครื่องรับสัญญานนำลงจอดแบบ AN/ARN-31
เครื่องรุ่นนี้ออกแบบมาเพื่อทำการสกัดกั้นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ โดยนอกจากจะติดปืนกลอากาศแล้ว ยังสามารถใช้จรวดอากาศสู่อากาศขนาด 2.75 นิ้ว จำนวน 24 นัด ซึ่งใช้เป็นอาวุธทำลายเครื่องบินทิ้งระเบิดดังกล่าว โดยที่เครื่องเซเบอร์รุ่นอื่นของประเทศพันธมิตรนอกสหรัฐไม่มีขีดความสามารถนี้ ซึ่งเซเบอร์รุ่นนี้จะมีระบบควบคุมการยิงจรวด E-4 ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนกว่า ซึ่งสหรัฐจะไม่ขายให้กับพันธมิตรประเทศใด ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ปากีสถาน หรือประเทศกลุ่มสนธิสัญญานาโต้ เป็นต้น เพราะถือว่าเป็นความลับ ไม่สามารถเสี่ยงที่จะเปิดเผยไปยังประเทศอื่นได้ เนื่องจากอาจจะหลุดไปถึงมือสายลับโซเวียตได้ในขณะนั้น และอีกสาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากปัญหาในการใช้งาน การซ่อมบำรุงยาก ความน่าเชื่อถือของระบบ........
ที่กล่าวมาทั้งหมดก็มาสรุปที่คำถามที่ผมสงสัยก็คือว่า ทำไมสหรัฐฯ ถึงได้มอบเครื่องบินที่มีเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนและเป็นความลับขนาดนี้ให้กับกองทัพอากาศไทยใช้ในขณะนั้น(ต่างกับในสมัยปัจจุบัน ที่มักจะขายเครื่องบินไม่ค่อยทันสมัย หรือบ.ตกรุ่นให้ไทย) หรือในสมัยนั้นประเทศไทยมีอะไรพิเศษจึงต้องมีเครื่องบินสมรรถนะพิเศษสำหรับภารกิจพิเศษไว้ประจำการโดยเฉพาะ...... เพื่อนสมาชิกที่มีความรู้เรื่องนี้ช่วยวิเคราะห์และไขข้อสงสัยด้วยครับ
ก็ช่วงนั้น(ปีพ.ศ.2506 ) สหรัฐประจำการ ด้วยบ.Supersonic ทั้งหลายแล้วน่ะครับ
ทั้งตระกูลCentury series ทั้งหลายแหล่ หรือ บ.ในตำนานอย่างเอฟ-5 ก็เริ่มทดลองบินแล้ว
ไม่แปลกที่เค้าจะยกให้ครับ
เอฟ-86 แอล เป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นแบบแรกของไทยที่ติดเรดาห์ครับ ช่วงนั้นฐานบินสหรัฐเริ่มประจำการเครื่องบินในประเทศไทยหลายร้อยเครื่อง ดังนั้นเพื่อเอาใจไทยก็เลยส่ง เจ้าตัวนี้เข้ามา โดยได้ถอดอุปกรณ์สำคัญหลายๆอย่าง เช่น ระบบบ่งบอกศัตรูหรือมิตร (ไอเอฟเอฟ) หรือระบบนักบินกลที่มี การนำเครื่องบินเข้าสกัดกั้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ใช้ในกองบินขับไล่สกัดกั้นทางยุทธศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ (นอแรด) โดยสหรัฐปลดตัวนี้ให้ไทยเพื่อที่จะได้นำเครื่องบินใหม่กว่าอย่าง เอฟ-102 และ เอฟ-106 มาใช้งานแทนครับ
เครื่องรุ่นนี้ถึงแม้ว่าจะถอดอุปกรณ์สำคัญที่เป็นความลับของ ทอ.สหรัฐไปหลายอย่างแล้วก็ตามแต่ก็ยังคงมีเรดาห์ติดอยู่ซึ่งเราก็ใช้ตัวนี้เป็นเครื่องบินขับไล่ทุกกาลอากาศของไทยครับ แต่ด้วยเหตุที่เครื่องบินมันเก่าเรดาห์ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศเป็นส่วนสำคัญมันมีความไวต่อความชื้นสูงซึ่งประเทศเราเป็นประเทศร้อนชื้น จอดกลางแดดเปรี้ยงๆอยู่ดีๆก้เอาเครื่องขึ้นไปสู่ระยะสูงๆซึ่งมีอากาศเย็น เรดาห์มันเลยทำงานแบบ3วันดี4วันไข้ครับ คือเสียมากกว่าดีแถมยังไม่มีอะไหล่มาเปลี่ยนอีกต่างหาก ดังนั้น เครื่องบินส่วนใหญ่จึงถอดเรดาห์ออกครับบินกันตัวเปล่าๆเหมือนเอฟ-86รุ่นปกติ แต่ที่มีดีอยู่หน่อยก็จรวด 2.75 ไมตี้เมาท์นี่แหละ (อีกตัวที่เขาเล่ามาคือ อาวุธปล่อยนำวิถี ไซด์ไวเดอร์ รุ่นแรกๆ แต่อันนี้ไม่ยืนยันครับ)
ที่จริง F-86F ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพอากาศก่อนหน้านี้ก็สามารถติด AIM-9B Sidewinder ได้ครับแต่ภาพหายาก
จรวด(ไม่นำวิถี)อากาศสู่อากาศพับครีบแบบ Mighty Mouse นั้น F-86L สามารถบรรทุกไปได้ 12นัด((หรือ18นัดจำไม่ได้)ครับ แต่จากที่เคยๆอ่านมาใน Tango นั้นกล่าวว่าประสิทธิภาพไม่ดีครับ ใช้ยาก ไม่ค่อนแม่น เหมาะกับเป้าหมายขนาดใหญ่อย่าง บ.ทิ้งระเบิดมากว่า