สองร้อยปีก่อน บรรพบุรุษเราคงไม่มีใครคิดหรอกครับว่าวันนี้เราต้องซื้อน้ำดื่ม ในน้ำไม่มีปลา ในนาไม่มีข้าว ถ้าเค้ารู้ผมว่าเค้าก็ทำน่า
การจะเอาของหลวงไปทำอะไร ต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายฝ่ายเพื่อพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ ขืนทำโดยพละการ ถึงจะเป็น ผบ.ทอ. ก็มีสิทธิติดคุกเอานะครับ ผมว่าท่านเจ้าของกระทู้คิดมากไปรึเปล่า
อีกอย่างครับ การเก็บไว้ผมว่าเอาไว้แค่พอเหมาะสม ไว้ให้ลูกหลานดูเล่นบ้างก็ดี แต่ถ้ามีมากเกินไป มันรกนะครับ การนำไปทำปะการังเทียม จะช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศทั้งในเรื่องการท่องเที่ยว และการเพิ่มปริมาณของปู ปลา ในทะเลด้วย
ครับผมว่าท่านจขกท ใจเย็นๆครับ
ผมว่าต้องดูเหตุผลนะครับ ที่ทอ.ทำเค้าทำไปเพื่ออะไร
ไม่ได้นำไปทิ้งเล่นๆนี่ครับ
วันนี้ ท่านกบ มา ดุ จัง....
ผมว่าน่าจะเป็นพวกซาก O-1 ที่เหลือแต่โครง กับ ซาก UH-1 ที่เหลือแต่โครง หรือสนิมเกรอะกรัง มากกว่าครับ...พวกที่สามารถเป็นอะไหล่ได้ คงน่าจะนำเอาออกมาแล้ว และลำใดที่มีสภาพสมบูรณ์เพียงพอจะสามารถตั้งโชว์ได้ คงไม่น่าจะเอาไปทิ้งครับ...พวกซาก บ. ที่เก็บเอาไว้ในปัจจุบัน และไม่มีงบประมาณสามารถดูแลรักษาได้ ถ้าปล่อยให้สนิมขึ้นและสูญสลายไปตามธรรมชาติบนบก ก็ไม่น่าจะต่างอะไรกับนำไปทิ้งเป็นปะการังในทะเลครับ...
หรืออาจจะเป็นว่า เอาไปช่วยประเทศเพื่อนบ้านแล้ว แต่ไม่สามารถตัดบัญชีออกจากสารบบได้ เพราะไม่สามารถประกาศให้ชาวโลกรู้ได้ เลยต้องตัดบัญชีแบบ กรุ้มกริ่ม น่ะครับ...กั๊ก กั๊ก กั๊ก กั๊ก
น่าจะหมายถึง โครงการ ฝูงบินปะการังเพื่อทะเล
อยากให้ลองอ่านรายละเอียดของโครงการนี้ก่อนครับ ผมอ่านดูแล้วก็เห็นว่า ทอ เอง ไม่ได้มักง่าย หรือคิดอะไรง่ายๆ และเครื่องบินที่ใช้ทำปะการังเทียมนั้น มีแต่เพียงโครงลำตัวเท่านั้นและใช้แค่เพียง 2 รุ่น จำนวน 10 ลำเท่านั้นครับ ไม่ว่าจะเป็น C-47 และ S-58T มาคิดๆดูแล้ว ให้เค้าไปอยู่ใต้ทะเล มีปะการังเกาะ แล้วมีคนไปดำน้ำดูเค้า ยังจะดีกว่า
จอดนิ่งเก่าทรุดโทรม น้ำมันเครื่องซึมลงพื้น ไร้คนมาเยี่ยมชมแน่นอนครับ
ยังไงลองอ่านจากข่าวประกาศที่ผม นำมาจากเว็บ ทอ. ดูก่อนแล้วค่อยพิจารณาครับ ว่าเห็นควรไม่ควรอย่างไรกับโครงการนี้....
กองทัพอากาศร่วมเป็นเจ้าภาพในโครงการ ฝูงบินปะการังเพื่อทะเล
กองทัพอากาศร่วมเป็นเจ้าภาพในโครงการ ฝูงบินปะการังเพื่อทะเล ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของแหล่งดำน้ำแห่งใหม่ของประเทศไทย
การดำเนินการในส่วนของกองทัพอากาศ นั้น ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับ จัดเตรียมอากาศยานที่ปลดประจำการแล้ว จำนวน ๑๐ เครื่อง ได้แก่ เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ (C 47) ซึ่งเราคุ้นเคยในชื่อของ ดาโกต้า (DAKOTA) จำนวน ๔ เครื่อง และ เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๔ ก หรือ เอส ๕๘ ที (S 58 T) จำนวน ๖ เครื่อง ซึ่งอากาศยานทั้ง ๑๐ เครื่องนี้ จะถูกจัดวางในพื้นที่ที่กำหนด บริเวณอ่าวบางเทา ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชึ่งเป็นพื้นที่ทรายโล่ง ห่างจากชายฝั่งประมาณ ๑ กิโลเมตร มีระดับน้ำลึกประมาณ ๑๕ ๒๐ เมตร สำหรับประวัติความเป็นมาของอากาศยานทั้งสองแบบ รวมทั้งการดำเนินการในส่วนเกี่ยวข้องของกองทัพอากาศ มีสาระสำคัญที่ผมขอเรียนเป็นข้อมูลแก่พี่น้องสื่อมวลชน ดังนี้
เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ หรือ ดาโกต้า
เป็นเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง ที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศ ตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร จากประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๐ มีจำนวนทั้งสิ้น ๕๕ เครื่อง โดยกองทัพอากาศ ได้กำหนดให้เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ มีภารกิจเกี่ยวกับ การลำเลียง และส่งกลับ รวมทั้งการลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ นับได้ว่าเป็นเครื่องบินที่ใช้งานนานที่สุดของกองทัพอากาศ ถึง ๔๔ ปี ระหว่างประจำการได้สร้างวีรกรรม และชื่อเสียงให้กับกองทัพอากาศอย่างมากมาย เช่น การเข้าร่วมกับสหประชาชาติ เพื่อปฏิบัติการในสงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม, ได้ดัดแปลงมาใช้ในการบินปฏิบัติการทำฝนหลวง ตามโครงการพระราชดำริ และเกียรติประวัติสูงสุดสำหรับเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ นี้ คือ เป็นเครื่องบินลำเลียงแบบแรก ที่กองทัพอากาศจัดถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง
เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ ได้ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายจนปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งภายหลังจากปลดประจำการแล้ว กองทัพอากาศยังได้นำเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ จำนวน ๘ เครื่อง มาดำเนินการดัดแปลงเป็นเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ ก หรือ BT 67 โดยเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างและเปลี่ยนเครื่องยนต์ เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจทำฝนหลวงมาจนถึงทุกวันนี้
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๔ ก หรือ SIKORSKY S 58T
เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่กองทัพอากาศได้ดัดแปลงมาจาก เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๔ โดยปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์จากเครื่องยนต์ลูกสูบ มาเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์จำนวนทั้งสิ้น ๒๐ เครื่อง และเข้าประจำการในกองทัพอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ ถึงปี พ.ศ.๒๕๔๒ โดยใช้เป็นเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทางอากาศยุทธวิธี ปฏิบัติภารกิจขนส่งทางอากาศ, การค้นหาและช่วยชีวิต และสนับสนุนการรบ อาทิ การปราบปรามผู้ก่อการร้าย การปฏิบัติการจิตวิทยาทางอากาศ เกียรติประวัติสูงสุดนอกเหนือจากภารกิจหลักของเฮลิคอปเตอร์ตระกูลนี้ คือ เป็นเฮลิคอปเตอร์แบบแรก ที่กองทัพอากาศจัดถวายเป็นเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง
สำหรับการเตรียมการเกี่ยวกับอากาศยานทั้ง ๑๐ เครื่อง นั้น กองทัพอากาศ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘ โดยที่อากาศยานดังกล่าว เป็นการได้รับมาโดยความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐอเมริกา จึงได้ประสานขอไม่คืนซากเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ทั้ง ๑๐ เครื่องดังกล่าว ซึ่งหลังจากที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติแล้ว กองทัพอากาศจึงดำเนินการทำให้อากาศยานดังกล่าวพ้นสภาพการใช้งานทางทหาร และได้ทำความสะอาด พร้อมทั้งถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์บางอย่าง ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทะเล เช่น สายไฟ และสายสลิง ซึ่งพลาสติกที่ห่อหุ้มจะเปื่อยยุ่ย และทองแดงภายในจะแตกเป็นสารละลายโลหะหนัก สายและชุดไฮโดรลิก ซึ่งน้ำมันหรือจารบีภายในจะซึมออกสู่น้ำทะเลได้ ฟูกที่บุผนังหรือแผ่นยางและแผ่นไฟเบอร์ต่าง ๆ จะเปื่อยยุ่ยกลายเป็นขยะ ซึ่งอาจถูกสัตว์กินเข้าไปก่อให้เกิดอันตรายได้ อีกทั้งยังได้ถอดกระจกและประตู รวมทั้ง ลบ ขัด จุดมีคมที่จะเป็นอันตรายต่อนักดำน้ำด้วย
ส่วนการขนย้าย ขณะนี้เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศ ได้ถอดแยกชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอากาศยาน เพื่อสะดวกสำหรับคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง โดยขบวนรถขนย้ายจะออกเดินทางจาก กองบิน ๒ จังหวัดลพบุรี ในเย็นวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑และเมื่อเดินทางถึงจังหวัดภูเก็ต ในวันที่ ๒๐ เมษายน แล้ว เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศจะดำเนินการประกอบอากาศยาน เพื่อให้สามารถนำเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๔ ก เครื่องแรก จัดวางในพื้นที่ที่กำหนด ในวันที่ ๒๔ เมษายน และเครื่องสุดท้ายจะจัดวางในวันที่ ๕ พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นวันเปิดโครงการ ฝูงบินปะการังเพื่อทะเล
แม้เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ และเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๔ ก จะได้สิ้นสุดภารกิจทางทหารไปนานแล้วก็ตาม แต่เชื่อว่า เขาเหล่านั้น พร้อมแล้วสำหรับภารกิจใหม่ สำหรับประเทศชาติในการ ที่จะช่วยเหลือฟื้นฟูธรรมชาติใต้ทะเลไทย ให้สมบูรณ์ สวยงาม เป็นแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลกในอนาคตอันใกล้นี้
อ่า เดี๋ยวก่อนนะครับ...................จริงๆ ไม่ได้ตั้งใจ ทะเลาะกับใครนะครับ....อันนี้ ขอระบายความในใจ........ด่าเช็ด เจ้าของโปรเจ็คขนเครื่องบินเทลงน้ำเท่านั้นเอง ............. พี่น้องเรา ชาวกระทู้ โปรดเข้าใจเจตนารมณ์นะครับ ด้วยความเคารพ
ลุงกบค๊าหนองคายฮ้อนเบาะค่ะ
ผมค่อนข้างจะไม่เห็นด้วยกับทอ.ในเรื่องนี้เหมือนกันนะครับ เพราะผมคิดว่า จริงๆการที่มีซากเครื่องบิน ซากเรือ ซากรถ(ไฟ) อยู่ใต้ทะเลเนี่ย มันน่าจะมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่เหมาะสม ไม่ใช่ว่ามีอะไรก็ขนไปถมทำปะการัง โอเค มันก็มีประโยชน์ก็คือเป็นแหล่งหากินของปลา แต่เมื่อเวลาผ่านไปล่ะ เมื่อพวกท่านๆคุณๆผมๆ ตายไปล่ะ แล้วลูกของลูกของลูกพวกเรามาดำน้ำดูปะการังกัน แล้วเค้าจะรู้ไหมล่ะว่า เครื่องบิน เรือ รถ ของบรรพบุรุษแสนดี มาทำอะไรกันตรงนี้ อะไรที่มันทำไปโดยไม่มีประวัติศาสตร์รองรับ มานก็เหมือนสร้างขยะให้ท้องทะเลล่ะครับ
ผมยังไม่เคยเห็นฮ.4ใกล้ๆเลย ฮือๆๆ
ประเด็นนี้ ขอร่วมระบายกับท่านกบด้วยคน
ขอร่วมวงขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ครับ
ถ้าพิจารณาในแง่ที่ว่ามีเครื่องเหลือใช้อยู่เยอะจนไม่มีที่เก็บที่เหมาะสม
และ ทอ. อยากจะสร้างบ้านให้ปลาจริงๆ
ผมว่าเราเอาโครงสร้างของอากาศยาน ที่ส่วนใหญ่ก็เป็นอลูมิเนียมอัลลอย มาแยกส่วน ชั่งกิโลขายดีกว่ามั้ยครับ
หรือไม่ก็เปิดประมูลให้เอกชน หรือประชาชนทั่วไปที่อยากได้ซากไปประดับที่บ้าน ร้าน สนามก็อฟ น่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลมากโข ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ
ได้เงินจากที่ว่ามาแล้ว เอาไปทำประการังคอนกรีตแบบที่กองทัพเรือเคยทำไว้ น่าจะได้ประมาณมากกว่าการเอาเครื่องบินไม่กี่เครื่องไปทำประการังเทียม
บอกตามตรงครับว่าเสียดายมากๆ
ถ้าเป็นอย่างโบกี้รถไฟของการรถไฟ ก็ว่าไปอย่างหนอ
ช่างกิโลขายยิ่งแย่หนักเข้าไปใหญ่ครับ ยิ่งไร้ประโยชน์เข้าไปใหญ่
ผมขอออกตัวก่อนครับว่าผมเห็นด้วย เอาไปสร้างปักการังเทียม นอกจากจะได้เป็นที่อยู่ในปักการังแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งอีกด้วย เหมือนที่หลาย ๆ ประเทศทำกันครับ สร้างรายได้ให้เยอะครับ
คิดในแง่ดีไว้ครับ บนบกมีจอดโชว์ไว้แล้ว ให้นักท่องเที่ยวเดินมาเที่ยวชม
แต่เดินดูมันแค่ธรรมดาไป ถ้าเราดำน้ำแล้ว เราได้ดูปะการังด้วย แล้วได้ดูซากเครื่องบินต่าง ๆ มันก็ดีนะ ไม่ร้อนด้วย ได้ดูปลาอีก
ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับจขกท.ในแง่ที่ควรเอาเครื่องบินเก่าๆเข้าพิพิธภัณฑ์ดีกว่าเอาไปไว้ใต้ทะเลทำปะการังครับ
ส่วนเรื่องประโยชน์ที่ได้จากการเอาไปทำปะการังนี่ก็น่าคิดนาครับ สรุปก็คือสองจิตสองใจ 555
โดยส่วนตัวแล้วนั้น ไม่รู้เหมือนกันค่ะว่า ไอ้เคร่องบินที่ ทอ.เค้าเอาลงไปทำปะการังเนี่ย แต่ละประเภทมีกี่เครื่อง มีซ้ำกันไหม หรือแต่ละประเภทเหลืออยู่กี่ลำกันแน่ แต่ถ้าเอาทุกลำโละลงทะเลไปหมดล่ะก็ อันนี้ไม่เห็นด้วยแน่ๆค่ะ ส่วนตัวแล้วคิดว่าน่านะเก็บไว้ให้รุ่นหลังดูว่าเครื่องบินประเภทนี้เป็นอย่างนี้นะ น่าตามันอย่างนี้ เรายังมีหลงให้ดูอยู่ สมมุติว่าดาโคต้ามี3ลำ ก็น่าเหลือไว้ให้ดูบ้างสักลำก็ยังดี ไม่ใช่ไม่เหลือเก็บไว้บ้างเลยประมานนี้ ถ้า ทอ.ทำอย่างนั้นก็ไม่เห็นด้วยอย่างแรง
สำหรับผม เห็นด้วยครับ ถ้าจะเอาไปชั่งกิโลขายมันก็ไร้ค่าหนักกว่าเดิมอย่างที่ คุณ Skyman บอกเเหละครับ เเล้วถ้าเอาไปจอดให้คนชมหรือเอาไว้ให้เด็กเล่น นานๆไปมันก็ถูกลืมเเละกลายเป็นของไร้ค่าไปในอนาคต นึกเเล้วเอาไปทำปะการังเทียม ยังมีค่ากว่า เป็นที่จดจำตลอดกาลเเถมยังช่วยคืนสมดุลให้กับธรรมชาติเเล้วคิดดู นะครับถ้าธรรมชาติเสียสมดุลเราจะอยู่กันได้อย่างไรละครับ....คิดดีๆนะครับ.... ถือได้ว่าอากาศยานเหล่านี้ได้ทำหน้าที่รับใช้ชาติจนถึง วาระสุดท้ายจริงๆครับ ถือได้ว่าทำหน้าที่ได้สมเกียรติ ( เขียนถูกปะเนี่ย ) ที่สุดเเล้วครับ ไปจอดให้เด็กเล่น ไปให้คนดูเฉยๆ ลำอื่นๆก็มีมากเเล้วครับ
ปล.เห็นด้วยครับ เพราะ เค้าได้ทำหน้าที่ได้สมกับความเป็นชายชาติทหารได้ดีที่สุดเเล้วเเหละครับ
สำหรับผม เห็นด้วยครับ ถ้าจะเอาไปชั่งกิโลขายมันก็ไร้ค่าหนักกว่าเดิมอย่างที่ คุณ Skyman บอกเเหละครับ เเล้วถ้าเอาไปจอดให้คนชมหรือเอาไว้ให้เด็กเล่น นานๆไปมันก็ถูกลืมเเละกลายเป็นของไร้ค่าไปในอนาคต นึกเเล้วเอาไปทำปะการังเทียม ยังมีค่ากว่า เป็นที่จดจำตลอดกาลเเถมยังช่วยคืนสมดุลให้กับธรรมชาติเเล้วคิดดู นะครับถ้าธรรมชาติเสียสมดุลเราจะอยู่กันได้อย่างไรละครับ....คิดดีๆนะครับ.... ถือได้ว่าอากาศยานเหล่านี้ได้ทำหน้าที่รับใช้ชาติจนถึง วาระสุดท้ายจริงๆครับ ถือได้ว่าทำหน้าที่ได้สมเกียรติ ( เขียนถูกปะเนี่ย ) ที่สุดเเล้วครับ ไปจอดให้เด็กเล่น ไปให้คนดูเฉยๆ ลำอื่นๆก็มีมากเเล้วครับ
ปล.เห็นด้วยครับ เพราะ เค้าได้ทำหน้าที่ได้สมกับความเป็นชายชาติทหารได้ดีที่สุดเเล้วเเหละครับ