หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


...กระทู้นี้ถามเยอะนิดหน่อยน่ะครับ กรุณาด้วยค้าบ

โดยคุณ : MIG31 เมื่อวันที่ : 19/04/2008 07:17:20

...หลังจากรวบรวมไว้นาน

1. เคยเห็น ท.ร. ซ้อมยิงปืน 130 ม.ม. ในการยิงใส่เป้าหมายในทะเล  ไม่ทราบว่า หากใช้จรวดหลายลำกล้องนั้น จะมีผลดีกว่า ใช้ปืน 130ม.ม. หรือไม่ครับ

2.ปืนใหญ่แบบลากจูงกับแบบอัตตราจร นั้น หากไม่นับเรื่องการขนย้ายแล้วระบบ ควบคุมการยิงและเล็งยิงเป้าหมายเหมือนกันหรือไม่ครับ

3.จากข้อ2 หากเราดัดแปลงนำ ปืนGHN-45 / เอ็ม-71ซอลแทม  มาติดตั้งบนรถ จีเอ็มซี หรือใหญ่กว่านี้เล็กน้อย รวมถึงระบบควบคุมการยิง สามารถใช้งานเทียบเท่า ซีซาร์ หรือ เอฟเอช-77 ได้หรือไม่ครับ

4.ระบบจรวดต่อต้านเรือรบ ฐานยิงชายฝั่งนั้น ใช้ยิงเป้าหมายพวก เรือระบายพล หรือ เรือทุกชนิดที่ใกล้ฝั่งครับ

5.เอฟ-5 กับ เอฟ-16 บ้านเรา จะเป็นรุ่นสุดท้ายของบ.ข.จากอเมริกา ที่เรามีรึไม่อ่ะครับ แบบ เอฟ-35ก็ไม่แน่นอน แถมที่ชัดๆก็คือ แจส-39 จากสวีเดน ก็น่าจะมีอนาคตในบ้านเราน่าดู

6.สมมุตินะ ในอนาคตนั้น(สัก5-10ปี) บ้านเราพอมีสิทธิคว้า ไทฟูน มาประจำการสักฝูง ม่ะครับ แบบ ขายดีราคาน่าจะลดลง(ปัจจุบันก็มีใช้หลายประเทศที่ใช้และเยอะด้วย แต่ค่อนข้างจะมีตังค์ทุกประเทศเช่นกัน ยิ่งถ้าญี่ปุ่นเลือกด้วยล่ะราคาน่าจะลดลง) แถมอยู่ในชั้น บ.ข.ยุค4.5 อัพ ด้วยล่ะ  ให้ทำภารกิจครองอากาศก็ดี เพราะในอนาคตบ.ข.เครื่องยนต์เดียว คงจะมีน้อยรุ่นและแพงมากขึ้นด้วย(บางยี่ห้อ) ในขณะเดียวกัน บ.ข.2เครื่องยนต์มีเยอะ ถึงราคาตอนนี้จะแพงก็ตาม

.....จบคำถามครับ ขอบพระคุณที่ตอบค้าบ





ความคิดเห็นที่ 1


 

ตอบตามความเข้าใจน่ะครับ

๑) จลก มีข้อดีกว่า ปญ ตรงที่ว่า ในห้วงเวลาเท่ากัน จลก สามารถส่งกระสุนเข้าสู่เป้าหมายได้เยอะกว่า เช่น ในการยิงตับแรกของ กองร้อย จลก สามารถคลุมที่หมายขนาดสนามฟุตบอลได้ แต่ ถ้าเป็นปืนใหญ่ ต่อให้เป็นกองพันก็ไม่สามารถยิงคลุมพื้นที่ใดในตับแรก  ดังนั้นตามโจทย์ จลก ถ้าเทียบกับ ปญ สำหรับเป้าหมายในทะเลแล้ว จลก ได้เปรียบหลายขุมครับ

 

๒) เหมือนกันทุกประการ

๓) น่าจะได้ครับ แต่ GHN มันใหญ่จัง กลัวว่าจะหารถรับน้ำหนักปืนไม่ได้

๔) ส่วนมากจะเล็งไปที่เรือระบายพล หรือ เรือปืน ที่ระดมยิงฝั่งครับ มันยิงได้ไกลกว่าปืนเรือตั้งเยอะ

 

๕) ยากมากครับ สำหรับไต้ฟุ่นกับ ทอ ไทย ผมว่า เจ สิบ ของอาตี๋ยังน่าลุ้นมากกว่าเลย

 

 

 

๕)  อนาคตไม่แน่ไม่นอนครับ เดาไม่ถูก

 

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 18/04/2008 03:19:33


ความคิดเห็นที่ 2


ตอบตามความเข้าจเหมือนกันนะครับ
1.การใช้จรวจหลายลำหล้องนั้นน่าจะคลอบคลุมพื้นที่รอบเป้าหมายมากกว่าปืนนะครับ โอกาสทำลายเป้าหมายมีความเป็นไปได้มากกว่าปืนครับ และเหตุผลเดียวกันกับตุณ CoffeeMix �ที่บอกว่าสามารถส่งได้จำนวนมากกว่าปืนนั้นก็เป็นสิ่งที่ถูกนะครับ�เพราะจรวจนั้นยิงจากแท่นเดียวนั้นสามารถส่งเป็น
ห่ากระสุนได้มากกว่าปืนหนึ่งกระบอกแน่นอนครับผม
2.อันนี้ไม่ทราบครับเพราะไม่เคยใช้หิหิ แต่หลักการยิงคงไม่น่าจะแตกต่างกันหรอกครับ ( ตามความคิดตัวเอง )
3.อันนี้ไม่ทราบจริงๆครับ
4.ตามความเป็นจริงแล้วจรวจต่อต้านเรือรบนั้นถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากสำหรับทร.เราครับ และการใช้อาวุะชนินี้อย่างได้ผลก็ได้พิสูจน์มาครั้งต่อครั้งแล้วอย่างเช่นที่อิสราเอลบุกเลบานอนครับ ที่กลุ่มฮิสบอละได้ใช้จรวจที่ได้รับมากจาก iran คาดว่าเป็น C-802 ยิงเรือรบของอิสราเอลเสียหายขณะลาดตระเวณอยู่นอกฝั่งครับ แต่โดยความเป็นจริงแล้วจรวจคงต้องยิงเรือข้าศึกก่อนที่มันจะทำการระบายผลเสียก่อนละครับ เพราะระยะยิงก็น่าจะเกินเส้นขอบฟ้าหมดแล้ว
5.มีความเป็นไปได้ที่เราจะยังซื้อ F-16 ลอตหลังจากที่ซื้อ Gripen ไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามถ้าทอ.ใช้ gripen แล้วแบบว่า ประทับใจมันสุดๆ อันนี้ก็อีกเรื่องละครับ แต่อย่างที่ทุกท่านทราบว่าทอ.มีแผนจะซื้อ F-35 เข้าประจำการในอานคต แต่ถ้าราคาแพงมากและได้บ.รบไม่พอต่อการห้องกันประเทศ บ.รบอื่นๆที่จะมีขึ้นในอนาคตอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
6.ไต้ฝุ่นเหรอครับ ถ้าได้ซื้อก็ถือว่าดีครับ แต่ผมว่าคงเป็นไปได้ยากอะครับ เนื่องด้วยราคาและเราๆก็รู้กันอยู่ว่าพวกอนุมัติเงินเป็นอย่างไรในประเทศไทยเรา ก็อย่างที่เห็นๆกันมาในอดีต ขนาดขอซื้อ F-16 ตอนนั้นเพิ่มเติมอีกประมาณ 6 เครื่องมั้งครับจำตัวเลขไม่ได้ เพื่อให้ครบฝูงบินของทอ.ตอนนั้นยังไม่อนุมัติเลยครับ แต่สรุปอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนนะครับ อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ
โดยคุณ photo pds เมื่อวันที่ 18/04/2008 06:00:11


ความคิดเห็นที่ 3


ขอร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

ข้อ 1.  ปืนใหญ่ GHN-45  ขนาด 155 ม.ม.  ระยะยิงไกล 39.6 ก.ม.  (ไกลกว่า ปืนบน ถ.เอ็ม 109 เอ 5 ที่ระยะยิงไกล 30 ก.ม.) เป็นการยิงต่อต้านตั้งแต่ในระยะไกล และจับเป้าหมายเป็นจุดได้  น่าจะประสานกับระบบชี้เป้า ก็สามารถทำลายการรุกของกองเรือที่จะขึ้นสู่้ฝั่ง ได้ในระัดับหนึ่ง....ส่วนจรวดเป็นตับ ระยะยิงผมว่าไม่ไกลเท่าไหร่ เป็นการยิงแบบปูพรม ไม่สามารถเลือกเป้าหมายได้...น่าจะเป็นการทำลายในระยะใกล้ ที่กำลังจะขึ้นสู่ฝั่ง

ข้อ 2. น่าจะเป็นเรื่องการใช้กระสุน นำวิถี ของปืนใหญ่  ว่าแบบใดจะใช้ด้วยกันได้

ข้อ 3. คิดว่าน่าจะได้ แต่ไม่น่าจะเทียบเท่าซีซ่าร์ เพราะซีซ่าร์ น่าจะเป็นรุ่นที่พัฒนาที่มีประสิทธิภาพดีกว่า จากปืนใหญ่รุ่นเดิมมาแล้ว

ข้อ 4. เรือทุกชนิด ที่สามารถจับเป้าได้ และมีความคุ้มค่า กับความเสี่ยงและมูลค่าของจรวดที่จะยิงไป เรือระบายพลขนาดเล็ก ดูจะไม่น่าจะจับเป้าหมายได้ และเรือระบายพลขนาดเล็ก ก็ไม่มีอาุวุธที่โจมตีฝั่งได้ น่าจะปล่อยเป็นหน้าที่ของ กองกำลังป้องกันฝั่ง  ส่วนเรือยกพลขนาดใหญ่ที่ปล่อยเรือระบายพล หรือเรือรบ ที่ระดมยิงฝั่ง น่าจะเป็นเป้าหมายหลัก ขณะเดียวกัน ก็มีความเสี่ยงจากภัยทางอากาศที่จะตรวจพบระบบฐานยิงจรวดบนบก ดังนั้น โอกาสที่จะทำลายเรือฝ่ายตรงข้าม น่าจะมีการถูกจำกัดจำนวนครั้งในการยิง ว่ายิงได้สักกี่ครั้ง ถึงจะถูกฝ่ายตรงข้ามตรวจพบ  จึงน่าจะคัดเลือกเป้าหมายที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด

ข้อ 5. มีความเชื่อมั่นว่า เอฟ-35 ได้ประจำการแน่นอน ความเข้ากันได้ในระบบไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เช่น ทอ.บราซิล มีทั้ง มิราจ-2000 มีทั้ง เอฟ-5 อี/เอฟ มีทั้ง AMX และมี A-29 และมี อีรี่อาย  ก็ไม่เคยมีข่าวว่า ทอ.บราซิล มีปัญหาเรื่องการเข้ากันได้ของระบบ และอะไหล่  ตอนนี้ผมจึงมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า...อาวุธจะเป็นอะไร ประสิทธิภาพของอาวุธ อยู่ที่ผู้ใช้มากกว่า ว่ามีความสามารถประสานความโดดเด่นของอาวุธแต่ละชนิด ให้เข้ากันได้หรือไม่ มีการพัฒนาด้วยเทคโนโลยี่ของศักยภาพภายในประเทศเอง เป็นไปตามความสามารถและประสิทธิภาพการใช้อาวุธของบุคคลากรในกองทัพเอง

ข้อ 6. ผมว่าไม่มีโอกาส  ความคิดเห็นผมว่า บ.ขับไล่ของ ทอ.ในอนาคต น่าจะเป็น F-16, Jas-39 และ F-35  และเมื่อ F-16 หมดอายุลง อาจจะคงเหลือ Jas-39 กับ F-35 ผมมองที่ว่า การจัดซื้ออาวุธสมัยใหม่ จะไม่เน้นที่ปริมาณเหมือนเมื่อก่อน แต่จะเน้นที่ประสิทธิภาพ บ. 1 เครื่อง สามารถที่จะทำลาย บ.ฝ่ายตรงข้ามได้คราวละ 2-4 เครื่อง ถ้าประสิทธิภาพ บ. ของทุกค่ายประสิทธิภาพหลักเหมือนกันหมด อนาคต ฝูงบิน 1 ฝูง อาจจะเหลือแค่ 6 ลำ แต่ราคาของ บ. 6 ลำ อาจจะเท่ากับราคา บ.ในปัจจุบันเท่าักับ 12-16 ลำ เพราะประสิทธิภาพการทำลายสูงกว่าเท่าตัว ก็น่าจะเป็นไป้ได้ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/04/2008 20:17:21