Dterring threats or heightening insecurities?: The Straits Times Defense Analysis
บทความในคอลลัมน์ Review ของ The Straits Times ของสิงคโปร์ครับ
บทความกล่าวถึงการสร้างเสริมกำลังทางอากาศของภูมิภาคอาเซียน โดยเน้นที่กลุ่ม ASEAN 4 หรือ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย และไทยครับ บทความกล่าวว่าภูมิภาคอาเซียนเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันสูงและมีความเท่าเทียมกันของผู้ผลิตหลาย ๆ ค่าย ซึ่งแตกต่างจากภูมิภาคเอเชียอื่น ๆ ที่มักจะถูกครองตลาดโดยสหรัฐและรัสเซีย
บทความยังกล่าวถึงการพัฒนากำลังรบของชาติอาเซียนทั้ง 4 ด้วยเช่นกันครับ ผมลองสรุปให้ดูตามบทความดังนี้ครับ
ไทย
- เครื่องบินขับไล่ Gripen 6 ลำ จากสวีเดน (อาจจะจัดซื้อถึง 40 ลำในอนาคต)
- เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือน 1 ลำจากสวีเดน (S-100 Argus ERIEYE)
- จรวดต่อต้านเรือรบจากจีน (C-802)
- ปืนใหญ่อัตตาจรจากฝรั่งเศส (CAESAR คาดว่ายกเลิกโครงการแล้ว)
- ปืนไรเฟิลจากอิสราเอล (TAR-21 Tavor และ Negev)
มาเลเซีย
- รถถังจากโปแลนด์ (PT-91 จำนวน 50 คัน)
- เครื่องบินขับไล่ Su-30 จากรัสเซีย (Su-30MKM จำนวน 18 ลำ)
- ระบบจรวดหลายลำกล้องจากบราซิล (Avibras Astros II จำนวน 18 ระบบ)
- เรือดำน้ำจากฝรั่งเศส (เรือชั้น Scorpine จำนวน 2 ลำ)
- เรือคอร์แวตต์จากเยอรมัน (เรือชั้น Kedah หรือเรือชั้น MEKO A-100 จำนวน 6 ลำ)
อินโดนิเซีย
- เครื่องบินขับไล่ Su-27 และ Su-30 จากรัสเซีย (Su-30MK2 จำนวน 6 ลำ)
- เรือดำน้ำจากรัสเซีย (เรือชั้น Kilo จำนวน 4 ลำ)
- เฮลิคอปเตอร์จู่โจม (Mi-35 5 ลำ)
- เรือคอร์แวตต์จากรัสเซีย (น่าจะเป็นเรือชั้น Sigma จากเนเธอแลนด์มากกว่า)
- รถเกราะจากรัสเซีย (BMP-3F รุ่นใช้งานทางทะเล 20 คัน+อ็อปชั่นอีก 100 คัน)
สิงคโปร์
- เครื่องบินขับไล่ F-15SG 24 ลำจากสหรัฐ
- เรือดำน้ำชั้น Sjoormen และ Vastergotland จากสวีเดน (แบบละ 2 ลำ รวม 4 ลำ)
- เรือฟริเกตุชั้น Formidable จำนวน 6 ลำ (แบบแผนจากเรือฟริเกตุชั้น La Fayette ของฝรั่งเศส)
- รถถัง Leopard 2A4 จากเยอรมัน (66 คัน)
- จรดวพื้นสู่อากาศจากรัสเซียและอิสราเอล (Igla จากรัสเซีย และ Spider จากอิสราเอล)
ด้านงบประมาณทางทหาร นับจากวิกฤตเศรษฐกิจ มีการเพิ่มงบประมาณดังนี้
ไทย
- หลังจากการรัฐประหาร มีการเพิ่มงบประมาณ 34% และ 24% ตามลำดับ (3.7 พันล้านเหรียญในปัจจุบัน) รวมถึงอนุมัติแผนการจัดหาอาวุธใน 10 ปีข้างหน้ามูลค่ารวม 3.17 แสนล้านบาท (14 พันล้านเหรียญ) และวางโครงการให้งบประมาณทางทหารเพิ่มจาก 1.58% ของ GDP เป็น 2% ของ GDP ในปี 2014
มาเลเซีย
- เพิ่มงบประมาณทางทหาร 75% นับตั้งแต่ปี 2000 - 2006 หรือจาก 1.7 พันล้านเหรียญเป็น 3 พันล้านเหรียญ (คิดตามค่าเงินดอลล่าห์ในปี 2005)
อินโดนิเซีย- เพิ่มงบประมาณทางทหาร 68% นับตั้งแต่ปี 2000 - 2006 หรือจาก 2.2 พันล้านเหรียญเป็น 3.7 พันล้านเหรียญ ไม่รวมเงินกู้ในการจัดหาอาวุธ
สิงคโปร์
- เพิ่มงบประมาณทางทหาร 24% โดยในปี 2000 สิงคโปร์ใช้จ่ายด้านการทหาร 4.6 พันล้านเหรียญ เพิ่มเป็น 5.7 พันล้านเหรียญในปี 2006 และเพิ่มเป็น 7.5 พันล้านเหรียญในปีล่าสุด
นอกจากนี้บทความยังให้ข้อสังเกตุว่า แม้ว่าการจัดหาอาวุธของอาเซียนโดยรวมจะทำให้ภูมิภาคเกิดเสถียรภาพและความมั่นคงขึ้น แต่ในทางกลับกันมันการจัดหาอาวุธจำนวนมากในเวลาสั้น ๆ ก็อาจจะทำลายความมั่นคงระหว่างชาติอาเซียนได้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าแต่ละชาติจะไม่มีเจตนาที่จะรุกรานกันและกันก็ตาม
ท่านสามารถอ่านได้ตามกรอบสีที่ผมวงเอาไว้ครับผม
Thank spiderweb6969 for news scan.
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=18-04-2008&group=3&gblog=94
...ภัยคุกคามทางน้ำนั้นค่อนข้างน่ากลัวมีเรือดำน้ำชั้นดีทั้งรัสเซียและยุโรป บ้านเราล่ะคงอีกนาน(มั้ง) อย่างน้อย อาร์เมอร์ 2ลำในอ่าวไทย ก็ยังดี ในแถวนี้ไม่ค่อยมีใครต่อเรือจาก จีนเท่าไรแฮะ ไม่รัสเซียก็ ทางยุโรป
....ด้านการป้องกันทางอากาศ มี2ระบบที่ น่าสนใจ คือ สไปเดอร์ และ อิ๊กล่า ซึ่งเป็นระบบที่ค่อนข้างจะเล็ก และเคลื่อนย้ายได้ โดยสิงค์โปรเองก็เอา อิ๊กล่า ติดบนรถ เอ็ม-113 เช่นกัน
การเมืองการทหารนี่ก็น่าสนใจครับพอมันผ่านไปแล้วจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์โลก
^
^
^
ทำเป็นรู้ทัน โอ้วววว ....... ไอ้เราอุตส่าห์ปิด ๆ แล้วนะเนี๊ย แหมเดี๋ยวนายหน้าค่ายอื่นเขาหมั่นไส้เอา กรั่ก ๆ ๆ