หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ขีดความสามารถของกองทัพพม่า

โดยคุณ : crash เมื่อวันที่ : 14/04/2008 11:44:58

กองทัพบก

 

            มีภารกิจในการรักษาอธิปไตยของชาติ  รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ  และปราบปรามกบฏกลุ่มต่าง ๆ  ปัจจุบันมีกำลังพลประมาณ  ๓๒๕,๐๐๐  คน

 

การประกอบกำลัง  

 

               ทบ.พม่า  ประกอบด้วย  ๑๒  ภาคทหารบก  (ภทบ.)  และจัดกำลังรบเป็น  ๑๐  พล..เบา   มีหน่วยดำเนินกลยุทธ์ระดับกองพันทั้งสิ้น  ๒๙๑  กองพัน  แบ่งเป็น  ๑๘๗  พัน ร. ๘๐  พัน  คร.    พัน    รพศ. ๒ พัน ถ.    พัน  .ยานเกราะ    พัน  . และ  ๒ พัน  ปตอ.  แต่ละหน่วยมียุทโธปกรณ์หลักประกอบด้วย  .หลัก  .เบา  รถเกราะและรถภารกิจพิเศษ   รถลำเลียงพล  /ลจ.  ปตถ.  จรวดหลายลำกล้อง  อาวุธต่อสู้ ถ.  และ ปตอ.

 

การจัดกำลัง/พื้นที่รับผิดชอบ 

 

                ทบ.พม่า  มีการจัดหน่วยและพื้นที่รับผิดชอบดังนี้

                .  ภทบ. เป็น  นขต.  ของ  ทบ. ปกติจะปฏิบัติงานด้านยุทธศาสตร์  มี นขต.ระดับกองพันกระจายอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบและจะเป็นหน่วยสนับสนุนให้กับ พล..เบา  มี ๑๒ ภทบ.  มีกำลังพลประมาณ  ,๕๐๐  -  ,๕๐๐  คน  ดังนี้

                                ()  ภทบ. ย่างกุ้ง

                                ()  ภทบ.กลาง  รับผิดชอบพื้นที่ภาคมัณฑะเลย์  และภาคมะโกย

                                ()  ภทบ.เหนือ  รับผิดชอบพื้นที่รัฐคะฉิ่น

                                ()  ภทบ.ตะวันออกเฉียงเหนือ  รับผิดชอบพื้นที่รัฐฉานตอนเหนือ

                                ()  ภทบ. ตะวันออก  รับผิดชอบพื้นที่รัฐฉานตอนใต้  รัฐคะยา  พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน  และเขตภายในรัฐฉานตอนใต้

                                ()  ภทบ.ตะวันออกเฉียงใต้  รับผิดชอบพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง  รัฐมอญ  และภาคตะนาวศรี

                                ()  ภทบ.ใต้  รับผิดชอบพื้นที่ภาคพะโค

                                ()  ภทบ.ตะวันตกเฉียงใต้  รับผิดชอบพื้นที่ภาคอิระวดี

                                ()  ภทบ. ตะวันตก  รับผิดชอบพื้นที่รัฐอาระกัน/ยะไข่

                                (๑๐)  ภทบ.ตะวันตกเฉียงเหนือ  รับผิดชอบพื้นที่รัฐชิน  และภาคสะกาย

                                (๑๑) ภทบ.พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ/ภทบ. .เชียงตุง  รับผิดชอบพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน และบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ  รวมทั้งพื้นที่ของแนวชายแดนด้านติดต่อกับไทย  ลาว  และจีน

                                (๑๒) ภทบ. พื้นที่ชายฝั่ง/ภทบ.มะริด รับผิดชอบพื้นที่ชายฝั่งทะเล  อันดามัน  และพื้นที่ตามแนวชายแดนด้านที่ติดต่อกับไทย  ด้านตรงข้าม จ.เชียงราย  -  .ระนอง

ข.           พล..เบา  เป็นหน่วยทางยุทธวิธี   มีหน้าที่รับผิดชอบในการปราบปราม

ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ  ที่อาศัยอยู่บริเวณแนวชายแดนไทย   -  พม่า  อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ประกอบด้วย นขต. ระดับกองพัน  ทั้งนี้ การวางกำลังจะเน้นทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ  และตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศมี  ๑๐  พล..เบา

 

กองทัพพม่าได้ปรับโครงสร้างและขยายหน่วยทหารปืนใหญ่ตามนโยบายของกองทัพบกพม่าเมื่อ  ตุลาคม  ๒๕๔๕  ซึ่งประกอบด้วย    กองบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ    กองบัญชาการทหารปืนใหญ่  ๑๗  กองพันป้องกันภัยทางอากาศ   ๗๑  กองพัน  ทหารปืนใหญ่     โรงเรียนฝึก   ปัจจุบันได้จัดตั้งหน่วยในระดับกองพันทหารปืนใหญ่ไปแล้วกว่า  ๑๐๐  หน่วย

 

การพัฒนากองทัพ

 

               พม่าได้จัดตั้งกองบัญชาการทหารปืนใหญ่ ที่ ๑๐๑ - ๑๐๙  เพื่อสนับสนุนภารกิจใน ภทบ.พื้นที่สามเหลี่ยม  ภทบ.ตะวันออกเฉียงใต้  และภทบ.ชายฝั่ง  ขึ้นตรงต่อกรมปืนใหญ่และยานเกราะ  กรุงย่างกุ้ง  โดยมี  พล..จี  วิน เป็นเจ้ากรม  รวมทั้งได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์จากอินเดียและจีน  ทั้งนี้  นับตั้งแต่ปี ๒๕๓๓  พม่าได้จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากจีน  และประเทศอื่น ๆ  ที่สำคัญได้แก่  รถถังขนาดกลาง  T - 63    T - 69  T - 80  PT - 76  รสพ. T - 85  เครื่องยิงจรวด  BM - 21  เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง  Type 63  อาวุธปล่อยพื้น - สู่ - อากาศ  HN - 5A  จัดซื้ออาวุธปล่อยพื้น  - สู่ - อากาศ  IGLA  จำนวน ๓,๐๐๐  ชุด  และวิทยุสื่อสาร  VRC - 750  จากอิสราเอล   เมื่อปี  ๒๕๔๓  พม่าได้ซื้อเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด  ๔๐  มม.  จำนวน  ,๐๐๐  กระบอกจากจีน   โดยส่งมอบในปี ๒๕๔๓  จำนวน  ,๐๐๐  กระบอก  และในปี  ๒๕๔๔  จำนวน  ,๐๐๐  กระบอก    สำหรับรัสเซีย     พม่าได้จัดซื้อ    MI - 17  จำนวน ๖ เครื่อง  .แบบ  MI - 171B  จำนวน    เครื่อง   พร้อมอุปกรณ์ภาคพื้น   .MiG - 29  จำนวน ๑๒  เครื่อง   โดยส่งมอบแล้วจำนวน ๔  เครื่อง  





ความคิดเห็นที่ 1


กองทัพเรือ

            มีภารกิจในการรักษาอธิปไตยทางทะเล  คุ้มครองทรัพยากรทางทะเล  และสนับสนุน ทบ.พม่า  ในการปราบปรามชนกลุ่มน้อย  มีกำลังพล  ๑๕,๐๐๐  คน   หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ    ๘๐๐  คน  เรือรบและเรือช่วยรบประมาณ  ๑๕๑  ลำ

 

การวางกำลัง

       วางกำลังทางเรือออกเป็น ๕ ภาคทหารเรือ  ได้แก่  ภาคทหารเรือดานยาวดี  ภาคทหารเรือพานมาวดี  ภาคทหารเรืออิระวดี  ภาคทหารเรือเมาราวดี  และภาคทหารเรือตะนาวศรี   มีเรือรบที่สำคัญ  ประกอบด้วย   เรือคอร์เวต  จำนวน    ลำ    เรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถี  ชั้น  หูซิน  จำนวน    ลำ  เรือเร็วโจมตีปืน ชั้น  ไฮนาน  จำนวน ๑๐  ลำ  เรือตรวจการณ์ปืน ชั้น  MYANMAR (551 – 554)  จำนวน ๔  ลำ   เรือตรวจการณ์  จำนวน  ๗๒  ลำ

 

                ทร.พม่าได้จัดตั้งฐานทัพเรือ  สถานีทหารเรือ  สถานีเรือและวางกำลังทางเรือไว้ตามชายฝั่งทะเลและเกาะต่าง ๆ  ที่สำคัญทางยุทธศาสตร์เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบทางทะเลตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของพม่า  ซึ่งติดต่อกับบังกลาเทศ  ไปจนถึงชายฝั่งทะเลด้านทิศใต้ของพม่า  ซึ่งติดต่อกับน่านน้ำของไทยบริเวณ จ.ระนอง    การวางกำลังทางเรือส่วนใหญ่เน้นในพื้นที่ตั้งแต่ตอนเหนือของอ่าวเมาะตะมะลงไปจนถึงเกาะสอง    ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของพม่า    เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว  นอกจากจะเป็นพื้นที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ในการป้องกันภัยคุกคามทางด้านทะเลแล้วในอ่าวเมาะตะมะยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ  อีกทั้งพม่ายังเห็นว่ากำลังทางเรือของไทยในทะเลอันดามันเป็นภัยคุกคามอันดับแรก  ดังนั้น  การวางกำลังทางเรือตลอดจนการจัดตั้งสถานีทหารเรือ  และสถานีเรือ  จึงกระจายอยู่ในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตอนกลางของอ่าวเมาะตะมะ  ตั้งแต่แนวเกาะทะวายลงไปทางใต้มากกว่าพื้นที่ตอนบนของอ่าว   สำหรับกำลังอากาศนาวีของพม่านั้น  ปัจจุบัน  .ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพเก่า  และถูกโอนไปขึ้นการบังคับบัญชากับ ทอ. พม่า  คงเหลือเพียง ฮ.ขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง   เพื่อใช้งานทางธุรการและส่งกำลังบำรุงให้แก่หน่วยเรือที่ประจำตามเกาะต่าง ๆ  รวมทั้งใช้ในการลาดตระเวนเป็นครั้งคราวเท่านั้น

 

การจัดวางกำลังทางเรือประจำสถานีทหารเรือของ ทร.พม่า ปกติจะประกอบด้วยเรือยนต์เร็วโจมตีปืนชั้นไฮนาน    –    ลำ  และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งอีก ๒ –   ลำ  นอกจากนี้ยังมีเรือคุ้มครองการประมงอีกจำนวนหนึ่งที่ไปฝากการบังคับบัญชาไว้  ส่วนเรือที่ประจำอยู่ตามสถานีเรือนั้น  ส่วนใหญ่เป็นเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง  ตามจำนวนที่กองบัญชาการทหารเรือภาคจะสั่งการให้ไปประจำ  เรือที่ไม่ได้ออกปฏิบัติการจะจอดอยู่ที่กองบัญชาการทหารเรือภาคเพื่อรอการสับเปลี่ยนหน้าที่และรับการส่งกำลังบำรุง  สำหรับเรือที่ต้องเข้ารับการซ่อมต้องเข้ารับการซ่อมทำที่อู่ในย่างกุ้งเพียงแห่งเดียว  นอกจากนี้  แต่ละกองบัญชาการทหารเรือภาคยังมีหน่วยเรือขนาดเล็ก   ประกอบด้วยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งและเรือตรวจการณ์ลำน้ำอีกจำนวนหนึ่ง  เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจพิเศษตามที่จะได้มอบหมาย

 

การพัฒนากองทัพ 

 

               ในห้วงปี ๒๕๔๓  พม่าได้มีการฝึกอบรมกำลังพลในด้านต่าง ๆ  เช่น  การอบรมหลักสูตรการต่อเรือที่จีน การอบรมหลักสูตรด้านการข่าวกรอง   ด้านการฝึกร่วม    เหล่าทัพ  ที่มะละแหม่ง  ในห้วงกรกฎาคม  - กันยายน  ๒๕๔๓ โดยมีเจ้าหน้าที่จีนเข้าร่วมสังเกตการณ์ฝึก  สำหรับการจัดหายุทโธปกรณ์ได้แก่

                .  การต่อเรือคอร์เวต   จำนวน    ลำ  ปัจจุบันต่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว    ลำ  และเข้าประจำการเมื่อ  มกราคม  ๒๕๔๔  และ  พฤษภาคม  ๒๕๔๕

                                . การต่อเรือตรวจการณ์ปืน ชั้น MYANMAR  จำนวน ๓  ลำ  ขึ้นระวางประจำการเรียบร้อยแล้ว

                .  การสร้างท่าเรือน้ำลึกและอู่ต่อเรือขนาด ๑๐,๐๐๐  ตัน   ที่มะริด  ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน

                                . การปรับปรุงสถานีทหารเรือที่เกาะคิง   เกาะทวาย   เกาะเกรทโกโก  เกาะฮังยี  เกาะเซ็นต์แมทธิว    เกาะสอง    เกาะลัมปี     เกาะเซอร์อีโอเวน   ด้วยการติดตั้ง ปตอ.  ปรับปรุงท่าเรือ  และสนามบิน

                .  การตั้งสถานีรวบรวมข่าวกรองทางการสื่อสาร (SIGINT)  ภาคพื้นที่ใช้ดักรับคลื่นจากประเทศเพื่อนบ้าน  รวมทั้งสถานีรวบรวมข่าวกรองทางการสื่อสาร สำหรับเฝ้าตรวจทางทะเล  โดยเฉพาะในพื้นที่ตอนใต้ของพม่าที่ติดกับไทย

                .  การปรับย้าย บก.ทร.ภาคดานยาวดี (บก.ทร.)  จากเดิมที่ซิตต่วย  ไปอยู่ที่เกาะรามรี  การย้าย  สน.เรือที่ ๔๙  จากเกาะทวาย  ไปอยู่ที่เกาะ   Middle  Moscos  การย้าย  สน.เรือที่  ๓๘  (ปาเต็ง)  มายังบริเวณคลองฮังกาบิว  .การาตุรี  ภาคตะนาวศรี

                                . การจัดตั้งกรมการฝึกทางทหาร   ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการฝึกการปฏิบัติการร่วมทางอากาศและภาคพื้นสงครามอิเล็กทรอนิกส์  และการรบในภูมิประเทศป่าเขา

 

นอกจากนี้     กองทัพเรือพม่าได้กำหนดแผนในการจัดหาเรือจากจีน    ได้แก่    เรือฟริเกต  ชั้นเจียงหู  และเรือกวาดทุ่นระเบิดชั้น T  -  43  แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้  เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของพม่าที่ไม่เอื้ออำนวยจึงเปลี่ยนมาเป็นการต่อเรือภายในประเทศ   โดยได้รับความช่วยเหลือจากจีน  สิงคโปร์  อิสราเอล  ทั้งนี้   การสร้างกำลังทางเรือของพม่ามีขีดความสามารถที่จะขัดขวางการปฏิบัติการในทะเลอย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง  และเน้นการป้องกันมากกว่าการปฏิบัติการเชิงรุก

 

 

โดยคุณ crash เมื่อวันที่ 14/04/2008 00:32:25


ความคิดเห็นที่ 2


กองทัพอากาศ  

 

บก.ทอ. ตั้งอยู่ที่กรุงย่างกุ้ง   มี พล...เมียต เฮง เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ  (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๕)  แบ่งส่วนราชการเป็น ๔ ส่วน  ได้แก่  ส่วนอำนวยการ   ส่วนกำลังรบ  ส่วนสนับสนุน  ส่วนการศึกษา  มีภารกิจในการป้องกันภัยทางอากาศ  และสนับสนุนหน่วยภาคพื้นในการปราบปรามชนกลุ่มน้อย รวมทั้งสนับสนุนกำลังทางเรือในการรักษาอธิปไตย  และคุ้มครองแหล่งผลประโยชน์ทางทะเล  ปัจจุบันมีกำลังพลประมาณ  ๑๖,๐๐๐  คน  มี บ. และ ฮ. รวม ๒๕๙  เครื่อง  ประกอบด้วย  .ขับไล่ จำนวน ๕๘  เครื่อง  . โจมตี  จำนวน  ๓๒  เครื่อง   .ฝึกติดอาวุธ  จำนวน  ๔๘  เครื่อง      .ลำเลียง/ ธุรการ  จำนวน  ๒๒  เครื่อง  .ลว.ถ่ายภาพ จำนวน ๑ เครื่อง     .ฝึก  จำนวน  ๓๔  เครื่อง  . ติดอาวุธ จำนวน  ๑๘  เครื่อง  และ  .เอนกประสงค์  จำนวน  ๔๖  เครื่อง     .และฮ.  ที่สำคัญ  ได้แก่  .ขับไล่ MiG - 29 / ๑๒ เครื่อง  F –  7M/ ๔๐  เครื่อง บ.FT - 7/๖ เครื่อง    .โจมตี  A – 5C/  ๓๒  เครื่อง    .ฝึกติดอาวุธ   G – 4/ ๑๐  เครื่อง    FT  –   6/  เครื่อง  K – 8   /๑๒   เครื่อง   PC  –  7 /๑๕   เครื่อง   และ PC – 9/   เครื่อง /  .ติดอาวุธ  MI – 2/ ๑๘  เครื่อง   .ลำเลียง/ธุรการ Y - 8 D/   เครื่อง  Fokker F.27/๓ เครื่อง  Fairchild FH.227/ ๔ เครื่อง Cessna  180/ ๖ เครื่อง PC - 6/ ๕ เครื่อง   .ลว.ถ่ายภาพ Cessna Citation II / ๑ เครื่อง  .ฝึก PT - 6A/ ๓๐ เครื่อง Beechcraft / ๔ เครื่อง  เฮลิคอปเตอร์  W - 3  Sokol / ๑๐ เครื่อง  MI - 17/ ๑๒ เครื่อง  Bell - 205A - 1/ ๑๒ เครื่อง Bell -  212 / ๑ เครื่อง Bell -  206 B/ ๖ เครื่อง  SA - 316 B / ๕ เครื่อง

ฐานบิน ๘ แห่ง ได้แก่  ฐานบินหม่อบิ  ฐานบินมิงกลาดอน  ฐานบินมิตจินา  ฐานบินเมคลิตา  ฐานบินชานเต  ฐานบินนำซาง  ฐานบินตองอู  และฐานบินมะริด

พม่ามีสนามบินทั่วประเทศ  ประมาณ ๗๐ แห่ง  สนามบินที่สามารถวางกำลัง  .ขับไล่/โจมตี ได้แก่  สนามบินมิงกลาดอน  สนามบินชานเต  สนามบินนำพอง  (.มิตจินาสนามบินนำซาง  สนามบินตองอู  และสนามบินมะริด

การวางกำลัง

 

()          ฐานบินหม่อบิ  อยู่ที่สนามบินหม่อบิ  ภาคย่างกุ้ง  ประกอบด้วย

                                ฝูงบิน                 .PC - 6 / ๕ เครื่อง  .Cessna 180/   เครื่อง

                                ฝูงบิน                 .W - 3 Sokol / ๖ เครื่อง ฮ.MI - 2 / ๑๒  เครื่อง

                                ฝูงบิน ๕๒            .Bell - 205A - 1/๒ เครื่อง  .Bell - 212 / ๑ เครื่อง

()         ฐานบินมิงกลาดอน  อยู่ที่สนามบินมิงกลาดอน กรุงย่างกุ้ง  ประกอบด้วย

                                ฝูงบิน ๑                 .A - 5C/ ๑๗ เครื่อง

                                ฝูงบิน ๒                .Fairchild FH.227/ ๔ เครื่อง บ. Fokker F.27/

๓ เครื่อง  .Cessna Citation II / ๑ เครื่อง

                                ฝูงบิน ๓                .PC - 7 / ๕ เครื่อง บ.PC - 9 / ๙ เครื่อง

                ฝูงบิน ๗                .G - 4 Super Galeb /      

                                ๑๐ เครื่อง

                                ฝูงบิน ๙                 .F - 7 M / ๖ เครื่อง      

                                            .FT - 7 /   เครื่อง

                                ฝูงบิน ๑๐              .Y - 8D / ๔ เครื่อง

                                ฝูงบิน ๑๘             .MiG  - 29/   เครื่อง

()         ฐานบินมิตจินา อยู่ที่สนามบินนำพอง  .มิตจินา  รัฐคะฉิ่น ประกอบด้วย

                                ฝูงบิน ๒๑                  .F - 7M / ๑๐  เครื่อง  .FT - 7 /๒ เครื่อง

                                ฝูงบิน  ๒๗                . W - 3 Sokol /  เครื่อง

                                ฝูงบินฝึก (สย.)    .PT - 6A / ๒๑ เครื่อง

()         ฐานบินชานเต  อยู่ที่  สนามบินชานเต  .เมคติลา  ภาคมัณทะเลย์  ประกอบด้วย

                                ฝูงบิน ๑๘ (สย.)  .MiG - 29  /   เครื่อง  .MiG  - 29 UB / ๒ เครื่อง

                                ฝูงบิน ๓๑                  .F - 7 M / ๑๒ เครื่อง บ.FT - 7 / ๓ เครื่อง

                                ฝูงบิน ๕๔                 .A  - 5 C /   เครื่อง  .FT - 6 /   เครื่อง

                                ฝูงบินฝึกที่ ๑       .PC - 7  /   เครื่อง  .PT - 6A / ๕ เครื่อง

                                ฝูงบินฝึกที่ ๒     .Beechcraft /   เครื่อง

()         ฐานบินเมคติลา  อยู่ที่สนามบินเมคติลา  .เมคติลา  ภาคมัณฑะเลย์  อยู่ห่างจาก ฐานบินชานเต ๗ กิโลเมตร ประกอบด้วย

                                ฝูงบิน  ๑๗            .MI - 17 / ๑๒ เครื่อง

                                ฝูงบิน ๒๕            .Bell - 206B / ๖ เครื่อง ฮ.SA - 316B / ๕ เครื่อง

                                ฝูงบิน ๒๖             .Bell - 205A - 1 / ๑๐ เครื่อง

()          ฐานบินนำซาง

                                                ฝูงบิน ๓๕                     .PC - 7 / ๖ เครื่อง บ.PT - 6A / ๔ เครื่อง ฮ.Mi - 2/๓ เครื่อง

                                ฝูงบิน  A - 5   . A - 5C / ๖ เครื่อง

()         ฐานบินตองอู

                                ฝูงบิน F - 7           .F - 7M / ๑๒ เครื่อง

                                ฝูงบิน ๔๒            .K - 8/ ๑๒ เครื่อง

                                ฝูงบิน อ.ลว.          .Mi - 2  / ๓ เครื่อง

()         ฐานบินมะริด อยู่ที่สนามบินมะริด จ.มะริด  ภาคตะนาวศรี  มีการวางกำลัง  .F - 7 M และ A - 5 C จากฐานบินมิงกลาดอน  และฐานบินชานเต  มาวางกำลังเป็นครั้งคราวตามสถานการณ์

()          สนามบินบริเวณชายแดน     พม่ามีสนามบินทหารใกล้บริเวณแนวชายแดนไทย ที่สามารถใช้วางกำลัง ฮ.ลำเลียง / ติดอาวุธ  และ บ.ฝึกติดอาวุธ บ.PC - 7 / - 9 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยภาคพื้น  ตามแผนยุทธการ  ได้แก่  สนามบินเชียงตุง  สนามบินท่าขี้เหล็ก   สนามบินเมืองสาด  สนามบินลอยก่อ  สนามบินผาอัน  สนามบินมะละแหม่ง  สนามบินทะวาย  และสนามบินเกาะสอง

 

 


โดยคุณ crash เมื่อวันที่ 14/04/2008 00:43:20


ความคิดเห็นที่ 3


เอามาจาก

http://www.rta.mi.th/13200u/Myanmar/IDVMYNBAS000.html#%CA%B6%D2%B9%A1%D2%C3%B3%EC%B4%E9%D2%B9%A1%D2%C3%B7%CB%D2%C3

หนะครับ

โดยคุณ crash เมื่อวันที่ 14/04/2008 00:44:58