หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ตัวเลือก ฮ.ฝึก และ ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธของกองทัพบก

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 08/04/2008 19:44:20

รายละเอียดจากบันทึกการจัดซื้ออาวุธของกองทัพบก


บันทึก 55. โครงการจัดหา ฮ.ฝึก โครงการปี 51 – 52 จำนวน 32  เครื่อง
        - ใช้เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์  แรงม้าไม่น้อยกว่า 400  SHP   บรรทุกกำลังพลได้ไม่น้อยกว่า 4 นาย รวมนักบินเมื่อบรรทุกและมีเชื้อเพลิงเต็มถัง(MTOW) จะต้องมีความเร็วเดินทางสูงสุดไม่น้อยกว่า 120 น๊อต และพิสัยบินไม่น้อยกว่า 300 nm

เงื่อนไขของโครงการ
1. มีการฝึกนักบินและช่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้โดย จำนวน นักบิน 2 นาย,ต่ออากาศยาน 1 เครื่อง
    นักบินลองเครื่อง 2 นาย,  ครูการบิน 2 นาย, ช่างขั้นหน่วย ไม่น้อยกว่า 2 นาย,
    ช่างขั้นกลางจำนวน 4 นาย, 
2. ต้องแจ้งรายการและราคาของเครื่องมือซ่อมบำรุงประจำอากาศยานและบริภัณฑ์ภาคพื้น
3. ต้องแจ้งรายการและราคาของชิ้นส่วนซ่อมควบคู่  จำนวน 400 ชม.บิน  และ/หรือ 2 ปี ต่อเครื่อง
4. มีระบบไฟที่สามารถปฏิบัติงานด้วยกล้องมองกลางคืน (NVG)
5. ต้องแจ้งข้อมูลการผลิตและประเทศผู้ใช้งานทั่วโลก
6. ไม่เป็นเครื่องบินต้นแบบ


บันทึก 31. โครงการจัดหา ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธขนาดเบา โครงการปี 52 – 53 จำนวน 8  เครื่อง
        - ใช้เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 1 – 2 เครื่องยนต์  แรงม้าไม่น้อยกว่า 400 SHP ต่อเครื่องยนต์  บรรทุกกำลังพลได้ไม่น้อยกว่า 4 นาย รวมนักบิน เมื่อบรรทุกและมีเชื้อเพลิงเต็มถัง(MTOW) จะต้องมีความเร็วเดินทางสูงสุดไม่น้อยกว่า 120 น๊อต และพิสัยบินไม่น้อยกว่า 300 nm มีจุดติดตั้ง ปก.อากาศ และ จรวด/จรวดต่อสู้รถถังขนาดเบาได้ ไม่น้อยกว่า 2 ลูก

เงื่อนไขของโครงการ
1. มีการฝึกนักบินและช่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้โดย จำนวน นักบิน 2 นาย,ต่ออากาศยาน 1 เครื่อง
    นักบินลองเครื่อง 2 นาย,  ครูการบิน 2 นาย, ช่างขั้นหน่วย ไม่น้อยกว่า 2 นาย, 
    ช่างขั้นกลางจำนวน 4 นาย, 
2. ต้องแจ้งรายการและราคาของเครื่องมือซ่อมบำรุงประจำอากาศยานและบริภัณฑ์ภาคพื้น
3. ต้องแจ้งรายการและราคาของชิ้นส่วนซ่อมควบคู่  จำนวน 400 ชม.บิน  และ/หรือ 2 ปี ต่อเครื่อง
4. มีระบบไฟที่สามารถปฏิบัติงานด้วยกล้องมองกลางคืน (NVG)
5. ต้องแจ้งข้อมูลการผลิตและประเทศผู้ใช้งานทั่วโลก
6. ไม่เป็นเครื่องบินต้นแบบ


จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของ ฮ.ฝึก และ  ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธขนาดเบา เหมือนกันมากครับ
คิดว่าทาง ศบบ.ทบ. คงต้องการการลดแบบอากาศยานลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายลงครับ นั้นหมายความว่าแบบของ ฮ.ในสองโครงการนี้น่าจะเป็น ฮ.ที่มีแบบแผนโครงสร้างเดียวกันครับ

มีความเห็นว่าออกมานานแล้วครับว่าตัวเลือกที่เป็นไปได้สำหรับ ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธนั้นน่าจะเป็น ฮ.ในตระกูล MD500 เช่น OH-6 แต่ตามความเห็นส่วนตัวนั้นคิดว่าทาง ศบบ.ทบ.นั้นต้องการ ฮ.ที่มีขนาดใหญ่กว่านั้นหน่อยครับ รวมถึงมีขีดความสามารถในระดับเดียวกับ ฮ.OH-58 Kiowa ซึ่งทางกองทัพบกนั้นต้องการ ฮ.ลักษณะนี้มานานแล้วครับ
(และถ้ามองดูการแข่งขันในการจัดหา ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธในปัจจุบันนั้น นอกจากฟิลิบปินส์ที่สนใจจะหา ฮ.ตระกูล MD500 ติดอาวุธแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะหันไปเลือก ฮ.ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ครับ)

ตัวเลือกที่แข่งขันในโครงการจัดหา ฮ.ลาดตระเวนของอินเดียนั้นที่น่าสนใจจะมาเป็นตัวเลือกของ ศบบ.ทบ. ทั้ง ฮ.ฝึกและ ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ ก็มีดังนี้ครับ

Eurocopter AS 550 Fennec

ฮ.Fennec เป็น ฮ.ที่พัฒนาต่อยอดจาก ฮ.พลเรือนแบบ AS 350 B Ecureuil เริ่มทำการบินครั้งแรกในปี 1990 นอกจากฝรั่งเศสแล้วมีใช้งานในหลายๆประเทศเช่น อังกฤษ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย แม็กซิโก บราซิล อาเจนติน่า เปรู โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู ซาอุดิอาราเบีย สหรัฐฯอาหรับเอมิเรตน์ ปากีสถาน ในASEAN ก็มี มาเลเซียและสิงคโปร์
ซึ่งบางประเทศนั้น ฮ.Ecureuil ก็ถูกใช้ในโรงเรียนการบินครับ เช่น อังกฤษ เป็นต้น

ฮ.Fennec เป็น ฮ.เครื่องยนตร์เดียวแบบTurbomeca Arril 2B  กำลัง632kW น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 2.8ตัน นักบิน 1นาย จุผู้โดยสารได้5คน
ระบบSensor ที่ติดตั้งได้มี เช่น FLIR, ไฟฉายกำลังสูง, ระบบชี้เป้า Laser  และระบบชี้เป้าสำหรับอาวุธปล่อยต่อสู้รถถัง TOW และห้องนักบินแบบ Glass Cockpit
นอกจากนี้ Fennec ยังสามารถติดกระเปาะปืนใหญ่กล 7.62mm หรือ 12.7mm ของ FN หรือ กระเปาะปืนใหญ่ 20mm ของ Giat รวมทั้งกระเปาะจรวด 2.75 7นัด หรือ 68mm 12นัด ได้

ฮ.Fennec เป็น ฮ.ที่ชนะในโครงการเลือก ฮ.ลาดตระเวนใหม่ของอินเดียจำนวน 197ลำ มูลค่าโครงการ $500 Million ครับ(ตกลำละ $2.3-2.4 Million) แต่ทาง Bell ที่ส่ง Bell 407 หรือ ARH-70 เข้าแข่งขันด้วยประท้วงว่าการคัดเลือกไม่โปร่งใส จึงมีการยกเลิกไปและจะมีการแข่งขันใหม่ในอนาคต

http://www.eurocopter.com/site/FO/scripts/siteFO_contenu.php?lang=EN&noeu_id=92
http://www.airforce-technology.com/projects/as550%5Ffennec/

Bell ARH-70A

ARH-70A พัฒนาจาก ฮ.Bell 407 ซึ่งเป็น ฮ.รุ่นใช้งานทางพลเรือนที่เป็นการพัฒนาต่อจาก Bell 206 ซึ่งมีประจำการในหลายๆประเทศรวมถึงไทยด้วย
กองทัพบกสหรัฐฯนั้นได้เลือก ARH-70 เพื่อเข้าประจำการทดแทน ฮ.สอดแนมแบบ OH-58D Kiowa Warrior ที่ประจำการมานาน หลังจากที่ปิดโครงการ RAH-66 Comanche ซึ่งใช้ระยะเวลาในการพัฒนาและเสียประมาณไปมากไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบต่อการประเมินภัยคุกคามในอนาคต โดย งป.ส่วนหนึ่งในการจัดหา ARH-70 นั้นก็เป็น งป.ของ Comanche เดิมครับ

ARH-70A เป็น ฮ.เครื่องยนตร์เดียวแบบ Honeywell HTS900-2 กำลัง970แรงม้า (723 kW) น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 2.2ตัน นักบิน2นาย จุผู้โดยสารได้ 6คน
Sensor แบบ Brite Star II  ที่ติดตั้งในเครื่องนั้น เป็นลูกบอลทรงกลมขนาดเล็กติดอยู่ใต้หัวเครื่องซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบ MMS(Mast Mount System) เดิมที่ติดกับ OH-58D โดยทำหน้าที่เป็นทั้ง FLIR กล้องTV ในการตรวจการณ์และเครื่องวัดระยะ Laser ชี้เป้าได้ทั้งกลางวัลและกลางคืน
รวมถึงระบบCAAS( Common Avionics Architecture System) ที่รวมระบบ Avionic ที่ทันสมัย และDatalinkแบบต่างๆในห้องนักบินแบบ Glass Cockpit
ARH-70A สามารถติดตั้งกระเปาะปืนกลหนัก3ลำกล้องหมุนแบบ GAU-19 ขนาด .50cal หรือกระเปาะจรวด 2.75 7นัด และสามารถติดอาวุธปล่อยต่อสู้รถถังแบบ AGM-114 Hellfire ได้อีกด้วย

http://picasaweb.google.com/leongkca/Airshow/photo#5170348418142094178

อย่างไรก็ตามราคาต่อเครื่องของ Bell ARH-70A นั้นตกอยู่ที่เครื่องละ $6-11 Million ครับ ค่อนข้างแพง แต่ถ้าเทียบว่า ศบบ.ทบ.จะจัดหา ฮ.ฝึกเป็นแบบ Bell 407 ซึ่งราคาน่าจะประมาณลำละ $3 Miilon แล้ว
การจัดหา ฮ.ARH-70A จำนวนเพียง 8ลำ ก็นับว่าคุ้มค่ามากแล้วครับ ถ้าเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้ 

http://www.bellhelicopter.com/en/aircraft/military/bellARH.cfm
http://www.army-technology.com/projects/arh%2D70a/





ความคิดเห็นที่ 1


ภาพ ฮ.MD500 ของกองทัพอากาศเดนมาร์กในภารกิจลำเลียงครับ จากภาพจะเห็นได้ว่า ฮ.น่าจะเล็กเกินไปสำหรับคุณสมบัติในโครงการจัดหา ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธครับ
(ในภาพ ฮ.สามารถบรรทุกหน่วยรบพิเศษติดอาวุธไปได้แค่2นายเท่านั้น แน่นอนว่าติดอาวุธไม่ได้ด้วยในภารกิจลำเลียง)

(ดูจากคุณสมบัติของ ฮ.ฝึกและลาดตระเวนในโครงการแล้วรู้สึกว่ามันเป็น Spec ของ Bell 407 กับ ARH-70A อย่างไรไม่ทราบครับ
และ ฮ.ฝึก32ลำ คงไม่ได้ใช้ฝึกศิษย์การบินอย่างเดียวครับคงจะมีภารกิจอื่นเช่นการลำเลียงทางธุรการด้วย)

ท่านใดมีตัวเลือกแบบ ฮ.อื่นๆที่คิดว่าน่าจะเหมาะสมกับโครงการจัดหา ฮ.ฝึก และ ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ นอกจาก2แบบข้างบนก็แนะนำได้เลยครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 07/04/2008 10:31:42


ความคิดเห็นที่ 2


เท่าที่ไปด้อม ๆ มอง ๆ เจ้า Ecureuil ของตร.มาเลเซียตอน LIMA มา ผมประทับใจครับ อย่างแรกก็คือมันมีขนาดไม่ใหญ่มาก เลยคิดไปเองว่าความคล่องตัวน่าจะสูง แต่ห้องโดยสารก็จุคนได้สบาย ๆ แบบไม่ต้องเบียดกันมากเหมือนตระกูล MD500 ครับ ถ้าพูดถึงว่าจะนำไปใช้งานภาคใต้ด้วย เล็ก ๆ แบบนี้ผมว่าดูน่าจะเหมาะกว่า Bell 207 ครับ ขนาดนี้เป็นฮ.แบบที่พวกเราเรียกร้องอยากให้ทบ.จัดหามาใช้งานอยู่แล้ว แถมราคาก็ไม่โหดจนเกินไป ทั้งโครงการ 40 ลำราว ๆ 100 ล้านเหรียญ พอไหวครับ

ส่วนตัวผมเชียร์เจ้านี่ครับ

โดยคุณ analayo เมื่อวันที่ 07/04/2008 11:40:44


ความคิดเห็นที่ 3


ถ้าเป็น Bell-407 หรือ ARH-70 ก็น่าสนใจครับ ทบ. นั้นคุ้นเคยกับ ฮ. Bell-206 อยู่แล้ว อะไรๆ น่าจะง่ายขึ้นนะครับ
โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 08/04/2008 07:02:42


ความคิดเห็นที่ 4


เอ่อ.... แล้วพี่โย จาได้ค่าคอมฯ จากการจัดหา ฮ. เท่าไรอะคับ อิอิ (ถามดูเล่นๆ แต่ถ้่ได้จริงน่าอิจฉามากๆๆๆๆๆๆๆ เลยนะพี่)
โดยคุณ xavious เมื่อวันที่ 08/04/2008 08:44:20