สวัสดีครับชาวบอร์ดทุกท่าน ต้องขออภัยสำหรับผู้ที่จะเข้าไปในเว็บTanarmyเป็นอย่างมากครับ เพราะเซิร์ฟเวอร์ตอนนี้ยังไม่ดี เลยนำเอาเรื่องแมนจูเรียที่ว่าจะอัฟมาให้อ่านๆกัน
ยุทธการเจาะทะลวงของกองทัพ ( Army Penetration Operation )
แผนที่ 1-1 แสดงพื้นที่ปฏิบัติการของกองทัพที่5และกองทัพธงแดงที่1ของฝ่ายโซเวียต (คลิกเพื่อขยาย)
การรณรงค์ในแมนจูเรียของโซเวียตนั้นเป็นการบุกแบบใช้กำลังพลจำนวนมากเข้าบุกกระหน่ำอย่างหนัก หนึ่งในอุปสรรค์ที่ยากลำบากในสมรภูมินี้ก็คือการเจาะทะลวงเข้าไปในแนวป้องกันของฝ่ายญี่ปุ่นทางแมนจูเรียตะวันออก(eastern Manchuria) ภายใต้การวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบที่สุดของฝ่ายโซเวียต แต่หน้าร้อนในแมนจูเรียก็ทำให้อุปสรรค์เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
การเคลื่อนทัพ(The Route)
แผนที่1-2 แสดงแนวป้อมปราการของญี่ปุ่น
(คลิกเพื่อขยาย)
ลู่ทางที่ดีที่สุดสำหรับการรุกจากภาคตะวันออกไกลของโซเวียต(Soviet Far East)เข้าสู่แมนจูเรียตะวันออก ก็คือการเข้าไปตามเนินเขาในแมนจูเรียตะวันออก(eastern Manchurian hills)ที่เมืองฮาร์บิน(Harbin)เข้าไปกลางหุบเขาในมูทันเจียง โดยทัพโซเวียตได้ข้ามมาจากพรมแดนภาคตะวันออกไกลของโซเวียตที่ซุยเฟนโฮ(Suifenho) และมาตามแม่น้ำอัสซูริ(Ussuri River)ในหุบเขาทางเหนือของวลาดิวอสต๊อก(Vladivostok) โดยที่ตามทางรถไฟ(Railroad)ในแมนจูเรียตะวันออกญี่ปุ่นได้สร้างป้อมปราการ(fortified)ไว้ตลอดทาง อาจจะถือได้ว่าเป็นแนวป้องกันที่น่าเกรงขาม(formidable)ที่สุดในแมนจูเรียเลยทีเดียว โดยนักยุทธศาสตร์ได้ประเมินกันว่าแนวป้องกันที่แมนจูเรียตะวันออกของญี่ปุ่นนี้เกือบจะมีความแข็งแกร่งเทียบเท่ากับแนวมาจิโนต์ทางภาคตะวันออกของฝรั่งเศสในปีค.ศ.1940 (ดูแผนที่1-2) ทางปีกของแนวป้องกันแมนจูเรียนี้เป็นป่าทึบ(dense forests)และภูเขาต่างระดับกันไป(rugged mountains) โดยที่ฝ่ายญี่ปุ่นคิดว่าเป็นการยากที่กองทัพยานยนต์จะบุกฝ่าเข้ามาได้หรือแม้แต่กำลังทหารราบก็ต้องประสบความลำบากอย่างแน่นอน จุดนี้ได้แสดงให้เห็นว่าเหล่านักการทหารของฝ่ายญี่ปุ่นไม่ได้ศึกษาประสบการณ์ของฝรั่งเศสที่แนวมาจิโนต์แต่อย่างใดเลย ในครั้งนั้นฝ่ายฝรั่งเศสคิดว่าเยอรมันไม่มีทางบุกเข้ามาได้เพราะคิดว่าภูมิประเทศและป่าอาร์เดนส์ที่หนาทึบจะเป็นอุปสรรค์ต่อกองกำลังยานเกราะเยอรมัน(แพนเซอร์) คราวนี้ก็เป็นญี่ปุ่นอีกที่คิดว่าภูมิประเทศของแมนจูเรียจะขัดขวางกองกำลังยานยนต์ของโซเวียตไว้ ถึงแม้ว่าภูมิประเทศของแมนจูเรียและฝรั่งเศสจะไม่เหมือนกัน แต่ผลที่ได้ก็เหมือนกัน เพราะในครั้งปี1940นั้นแนวมาจิโนต์ถูกทะลวงก็เพราะเยอรมันบุกผ่านป่าอาร์เดนส์นี่แหละ
ภาพแสดงแนวมาจิโนต์ที่มีการสร้างบังเกอร์ต่างๆไว้ใต้ดิน
ฝ่ายโซเวียตได้ศึกษาการรบในฝรั่งเศสปี1940เพื่อนำมาปรับใช้กับญี่ปุ่น โดยได้ศึกษาว่าฝ่ายเยอรมันบุกทะลวงป่าทึบอย่างไร? เรียกว่าโซเวียตคิดจะเลียนแบบเยอรมันศัตรูที่พึ่งโค่นไปได้หมาดๆมา เพื่อข้ามภูมิประเทศในแมนจูเรียและโอบล้อมกองกำลังญี่ปุ่นในชายแดนซึ่งโซเวียตก็สามารถทำได้แต่ก็ยังไม่ดีพอ ฝ่ายโซเวียตมีความมุ่งหมายใช้ปฏิบัติการเชิงลึก(deep operations)ต่อกรกับยุทธศาสตร์เชิงลึก(deep strategic) พื้นที่อันกว้างขวางทำให้โซเวียตไม่มีกำลังเพียงพอที่จะตัดเส้นทางคมนาคม(communication) และเส้นทางส่งกำลังบำรุง(supply routes )ของฝ่ายญี่ปุ่นที่ชายแดนกับส่วนหลัง(rear)ให้ตัดขาดออกจากกันได้ แต่โซเวียตก็ได้เปลี่ยนยุทธวิธีที่ตื้นขึ้น(shallow tactical )โดยการกระจายกำลังกันออกไป เข้าโจมตีฝ่ายญี่ปุ่นในแนวป้องกันพร้อมกันทุกด้านเพื่อทำลายล้างให้แหลกรานโดยจะต้องศูญเสียให้น้อยที่สุดด้วย
ภารกิจและกองกำลัง(Missions and Tasks)
จอมพลเมเรสคอฟในชุดเต็มยศ
ผู้บัญชาการที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมกองกำลังในภาคตะวันออกไกลบุกทะลวงแนวป้องกันของญี่ปุ่นในแมนจูเรียตะวันออกคือจอมพล เค เอ เมเรสคอฟ(Marshal K. A. Meretskovs)แห่งแนวหน้าตะวันออกไกลที่1(1st Far Eastern Front) โดยสตาฟก้า(STAVKA)หรือกองบัญชาการโซเวียต(General Headquarters) ได้มีคำสั่งมาถึงเขาในวันที่ 28 มิถุนายน ปี1945 ให้กองกำลังของเขาเป็นแนวหน้าบุกทะลวง การต่อตีหลักจะใช้กองทัพสองกองทัพ(two armies) มุ่งตรงเข้าไปในมูทันเจียงตามคำสั่งให้เจาะแนวป้องกันของญี่ปุ่นที่ชายแดน เมื่อมาถึงโพลี(Poli)ให้เดินทางจากมูทันเจียงไปสู่วังเจียงโดยให้ใช้เวลา15ถึง18วัน หลังจากนั้นให้มารวมกำลังกันที่ฝั่งตะวันตก(west bank)ของแม่น้ำมูทัน(Mutan River) จากนั้นกองทัพซึ่งมีแนวหน้าอยู่ที่วังเจียงและเยนชิง(Yenchi) จะเริ่มทำการรุกต่อมุ่งหน้าไปสู่คิริน(Kirin),ชางชัน(Changchun)และฮาร์บิน เพื่อสนับสนุนทางปีกของกองทัพที่ห้า(5th Armys)ซึ่งเป็นกำลังรุกหลัก(main attack)
นายพลคลีลอฟ
จอมพลเมเรสคอฟได้วางแผนดังนี้ แต่งตั้งให้นายพล เอ็น ไอ คลีลอฟ(General N. I. Krylovs)แห่งกองทัพที่ 5 ประสานกับนายพลเบโลโบโรดอฟ(General Beloborodovs)แห่งกองทัพธงแดงที่1 โดยให้กองทัพที่5โจมตีโดยตรงเข้าไปยังมูทันเจียง โดยเจาะทะลวงแนวป้องกันชายแดน(frontier defenses)ที่กิโลเมตรที่ 12 ตอนเหนือของโกรเดโคว่า(twelve-kilometer sector north of Grodekova)ทำลายตอนกลางของฝ่ายญี่ปุ่นในแนวป้อมปราการชายแดนที่ โวลีนัก(Volynsk)หรืออีกชื่อหนึ่งคือคันยูไต(Kuanyuehtai) จากนั้นก็มุ่งหน้าต่อไปอีก 40กิโลเมตรอย่างมั่นคงผ่านไทปินลิง(Taipinling)และซุยเฟนโฮภายใน 4วัน เมเรสคอฟหวังว่ากองทัพที่ 5จะสามารถรุกเข้าไปได้ลึก 60 ถึง 80กิโลเมตร เพื่อข้ามแม่น้ำมูเล็ง(Muleng River)ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับมูเล็งได้ภายใน 8วัน ภายใน18วันกองทัพจะต้องสามารถมาถึงมูทันเจียงบนฝั่งแม่น้ำมูทันได้ ในขณะเดียวกันกองทัพธงแดงที่1ก็จะมาสู่มูทันเจียงจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (northeast) เมื่อยึดมูทันเจียงได้เมเรสคอฟก็จะใช้เหล่าทหารยานยนต์ที่ 10(10th Mechanized Corps)ซึ่งอยู่ในกองทัพที่ 5 ทำการบุกคิรินเพื่อมาบรรจบพบกับกองกำลังแนวหน้าทรานไบคาล(Trans-Baikal Front forces) ซึ่งมุ่งหน้ามาจากภูเขาใหญ่คินคาน(Grand Khingan Mountains)ทางตะวันตก
นายพลเบโลโบโรดอฟ
การป้องกันของญี่ปุ่น(Japanese Defenses)
ที่ตั้งของป้อมปราการใต้ดินในแมนจูเรียที่ตอนนี้กลายเป็น
สถานที่ท่องเที่ยวไปที่เรียบร้อยโรงเรียนจีนแล้ว
การกิจของกองทัพที่ 5เป็นไปอย่างทะเยอทะยานและกว้างใหญ่ไพศาล ความสำเร็จนั้นมาจากความสามารถของทหารในบัญชาการของคลีรอฟที่สามารถข้ามผ่านภูมิประเทศที่ยากลำบากเพื่อบุกลึกเข้าไปในแนวป้องกันได้ และความเข้มแข็งและมีใจแน่วแน่ของทหาร ต่อทหารญี่ปุ่นซึ่งเป็นศัตรูที่เข้มแข็งแต่ถูกบุกอย่างไม่คาดคิด แนวป้องกันของญี่ปุ่นนั้นได้ชยายกว้างออกไปเป็นระยะทางกว่า 40กิโลเมตร ตั้งอยู่ตามถนนและทางรถไฟจากเหนือลงใต้ไปสู่ซุยเฟนโฮ และแนวป้องกันมีความลึก10 ถึง 15กิโลเมตร การป้องกันตามถนนไฮเวย์แผ่ออกไปลึก30 ถึง 35กิโลเมตร แนวป้อมปราการที่ชายแดนนี้มีส่วนป้องกันหลัก(centers of resistance)อยู่ 4แห่ง แต่ส่วนครอบครองพื้นที่เป็นแนวยาว2.5 ถึง 13กิโลเมตร และมีความลึก2.5 ถึง 9กิโลเมตร ส่วนป้องกันหลักตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออก(ญี่ปุ่นเรียกป้อมปราการซุยเฟนโฮ)ป้องกันการบุกเข้าสู่ซุยเฟนโฮมาจากทางตะวันออก มีแนวป้องกันจากเหนือจรดใต้ยาว10 ถึง 12กิโลเมตร ตั้งอยู่บนทางรถไฟสายหลักแมนจูเรียตะวันออก(main eastern Manchurian rail line)
บังเกอร์ปืนใหญ่ของญี่ปุ่นในแนวป้องกัน
(ภาพจากสารคดีBattlefields II Forgotten Victory)
12กิโลเมตรไปทางเหนือเป็นส่วนป้องกันหลักโวลีนัก(Volynsk Center of Resistanc )หรือเขตคันยูไต(Kuanyuehtai Zone)มีป่าไม้และพุ่มไม้ปกคลุมเนินเขาทางเหนือและใต้ของแม่น้ำโวลีนัก 10กิโลเมตรไปทางใต้ของซุยเฟนโฮเป็นส่วนป้องกันหลักทางใต้(Southern Center of Resistance)หรือลูมินไต(Lumintai)ตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาสูง ซึ่งสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวในภาคตะวันออกไกลของโซเวียตได้ รวมแล้วส่วนป้องกันหลักทั้งสี่กินพื้นที่ 25กิโลเมตรในแนวหน้าที่ต้องป้องกันทั้งหมด 40กิโลเมตร ระหว่างแนวป้องกันหลักซึ่งมีอยู่ 5ส่วนประกอบไปด้วยสนามเพลาะเบา(lighter field trenches) มีชุมทางซุยหยาง(Suiyang) 30กิโลเมตรทางตะวันตกของซุยเฟนโฮ โอบล้อมไปด้วยเนินเขาที่มีใบหญ้าและพุ่มไม้เขียวขจียาวไป 10กิโลเมตรถึงส่วนหลังที่กลมกลืนไปด้วยภูเขาที่มีป่าสูงไปจนถึงแม่น้ำมูทันเจียง
ทางเข้าป้อมปราการใต้ดิน
(ที่เห็นป้ายน่าจะเป็นภาษาจีน)
รังปืนกลของญี่ปุ่นกำลังต่อสู้กับทหารโซเวียต
ในส่วนป้องกันหลักของญี่ปุ่นประกอบไปด้วย ป้อมปราการใต้ดินป้องกันด้วยคอนกรีต(underground reinforced concrete fortifications),ที่ตั้งปืนชนิดต่างๆ(gun emplacements),สถานีไฟฟ้า(power stations)และคลังเก็บเสบียงกระสุน(warehouses) มีรังปืนกลทำจากคอนกรีต(reinforced concrete pillboxes)เป็นจำนวนมาก รังปืนกลเหล่านี้ป้องกันด้วยกำแพงคอนกรีตที่มีความหนาตั้ง1เมตรไปจนถึง1เมตรครึ่ง นอกจากนี้ยังมีรังปืนกลที่เกราะทำจากโลหะ(armor plating) และป้อมปืนหุ้มเกราะ(armored gun turrets) กระสุนปืนและเสบียงถูกเก็บไว้ใต้ดิน การขนปืนและกระสุนขึ้นมาจะใช้ลิฟต์(elevators) ในเดือนสิงหาคมปี1945นั้น ส่วนป้องกันหลักทั้งสี่มีความแข็งแกร่งดังนี้ รังปืนกลคอนกรีต(concrete pillboxes) 295แห่ง,รังปืนกลที่ทำจากดินและท่อนไม้(earth and timber pillboxes) 145แห่ง,บังเกอร์พักอาศัยทำด้วยคอนกรีต(concrete shelters) 58แห่ง,ป้อมปืนหุ้มเกราะ(armored turrets) 69ป้อม,จุดสังเกตการณ์(observation posts)กับห้องบัญชาการ(command posts) 29แห่ง และที่ตั้งปืนใหญ่(artillery positions) 55แห่ง
บังเกอร์ปืนใหญ่(ภาพจากสารคดีBattlefields II
Forgotten Victory)
ภายในส่วนป้องกันหลักเหล่านี้จะมีจุดที่แข็งแกร่ง(major strong points)อยู่ 3ถึง6จุด กินพื้นที่ 250,000ตารางเมตรไปจนถึง 2กิโลเมตร จุดที่แข็งแกร่งจะตั้งอยู่บนที่สูงซึ่งภายในประกอบไปด้วยที่ตั้งและบังเกอร์ทำจากคอนกรีต,ดินและท่อนไม้ ซึ่งมีอาวุธต่อสู้รถถัง(antitank),ปืนกล(machine gun)และที่ตั้งยิงปืนใหญ่(artillery firing positions) บังเกอร์ปืนกล(Machine gun bunkers)จะตั้งอยู่ที่ระยะห่างกันทุกๆ 250 ถึง 350เมตร และที่ตั้งปืนใหญ่ขุดเข้าไปใต้ดิน(artillery positions with underground entrances)อยู่ห่างกันทุกๆ 500 ถึง 700เมตร หรือใกล้กันกว่านี้ มีศูนย์จัดการทางทหาร( military settlements),คลังเก็บเสบียงลูกกระสุนและศูนย์ประปา(water supply)ด้วย ภายในจุดที่แข็งแกร่งนี้จะติดต่อเชื่อมต่อกันได้ด้วยสนามเพลาะ ส่วนด้านนอกจะป้องกันด้วยแนวลวดหนาม(และเครื่องกีดขวาง(barbed wire barriers)จำนวนมาก,กับระเบิด(mines),หลุมดักรถถัง(antitank ditches)และเครื่องกีดขวางทหารราบ(anti-infantry obstacles)แบบต่างๆ ทำให้ให้ทหารข้าศึกเคลื่อนที่ได้ลำบากและต้องตกอยู่ในพื้นที่สังหารของปืนกล
ป้อมปืนที่ถูกทำลาย(ภาพจากสารคดีBattlefields II
Forgotten Victory)
ตาราง1-1 แสดงกองพลทหารราบที่ 124ของญี่ปุ่น |
กองพลทหารราบที่ 124,นายพลชิอินะ |
ที่มา:กองบัญชาการภาคพื้นตะวันออกไกลกองทัพสหรัฐ,เอกสารประวัติศาสตร์ทางทหารต่างๆ, เอกสารหมายเลข154ของญี่ปุ่นเกี่ยวกับการต่อต้านกองทัพโซเวียตในตะวันออกไกล(สิงหาคม 1945) (โตเกียว 1954),181-83,226-28. |
ภายในป้อมปราการใต้ดิน
แต่ถึงแม้ว่าฝ่ายญี่ปุ่นวางแผนไว้ว่าจะใช้ทหารเป็นกรม(regiment)สำหรับป้องกันส่วนป้องกันหลัก แต่กลับใช้ทหารเพียงระดับกองพัน(battalion)สาเหตุน่าจะมาจากมีความมั่นใจในแนวป้อมปราการนี้มาก ส่วนจุดที่แข็งแกร่งใช้ทหารระดับกองร้อย(company)ป้องกัน พื้นที่อื่นๆที่มีความสำคัญน้อยลงไปก็ใช้ทหารเป็นหมู่(squads) หมวดทหารราบ(platoons)ใช้ป้องกันด่านที่อยู่ห่างไกล(outposts)และบังเกอร์รอบๆ(satellite bunkers) ป้อมปราการที่ชายแดนจะเป็นแนวป้องกันแรกของญี่ปุ่นในการป้องกันแมนจูเรีย
เชิงอรรถ
ฝ่ายโซเวียตคาดว่าญี่ปุ่นจะใช้กำลังป้องกันส่วนป้องกันหลักนี้ด้วยกองพลทหารราบเต็มอัตราศึก
โปรดติดตามชมกันต่อไปครับ
บรรณานุกรม
http://en.wikipedia.org/wiki/Operation_August_Storm
http://www-cgsc.army.mil/carl/resources/csi/glantz4/glantz4.asp
นายพลเบโลโบโรดอฟ
ที่ตั้งของป้อมปราการใต้ดินในแมนจูเรียที่ตอนนี้กลายเป็น
สถานที่ท่องเที่ยวไปที่เรียบร้อยโรงเรียนจีนแล้ว
ทางเข้าป้อมปราการใต้ดิน
(ที่เห็นป้ายน่าจะเป็นภาษาจีน)
บังเกอร์ปืนใหญ่(ภาพจากสารคดีBattlefields II
Forgotten Victory)
ป้อมปืนที่ถูกทำลาย(ภาพจากสารคดีBattlefields II
Forgotten Victory)