| |||
โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551 00:00 น. |
กองทัพเรือจัดสร้างเรือดำน้ำลำแรกในไทย ปูทางอนาคตอีก 4 ลำ เผยใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท ยาว 11 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร ระวางน้ำ 27 ตัน ปฏิบัติการที่น้ำลึกไม่เกิน 50 เมตร บรรจุลูกเรือได้ 3 คน ใช้ฝึกกำลังพลให้คุ้นเคย สำรวจแหล่งท่องเที่ยว พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธาน ในพิธีปฐมฤกษ์สร้างยานใต้น้ำขนาดเล็ก พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) เป็นประธานในพิธีปฐมฤกษ์สร้างยานใต้น้ำขนาดเล็ก ที่บริษัท อู่กรุงเทพฯ จำกัด เมื่อวันที่ 28 มีนาคม โดยยานใต้น้ำดังกล่าว สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ (สวพ.ทร.) ได้ว่าจ้างให้บริษัทอู่กรุงเทพฯ จำกัด จัดสร้างเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งการจ้างสร้างยานใต้น้ำขนาดเล็กนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนาที่ สวพ.ทร. เป็นหน่วยเจ้าของโครงการ มี พล.ร.ต.พงศ์สรร ถวิลประวัติ เป็นนายทหารโครงการ ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงกลาโหม จำนวน 24,953,200 บาท และจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 5 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ระหว่างปี 2549-2552 พล.ร.ต.พงศ์สรร กล่าวว่า ที่ผ่านมากองทัพเรือเคยมีเรือดำน้ำเข้าประจำการประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา จำนวน 4 ลำ แต่ได้ปลดระวางไปตามวาระ กองทัพเรือจึงมีแนวคิดที่จะวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับยานใต้น้ำกลับคืนขึ้นมาอีกครั้ง โดยมอบหมายให้ สวพ.ทร.เป็นผู้ดำเนินการวิจัย และนำเสนอให้สำนักวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ให้ความเห็นชอบ โดยโครงการวิจัยยานใต้นำขนาดเล็กเริ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2548 ซึ่งประโยชน์ที่ได้ คือการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีของยานใต้น้ำขึ้นในประเทศไทย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทางด้านกิจการพลเรือนการทหาร เช่น การสำรวจแหล่งทรัพยากรใต้น้ำ การสำรวจวิจัยพื้นผิวท้องทะเล ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สนับสนุนการตรวจซ่อมโครงสร้างใต้ทะเล เช่น ฐานแท่นขุดเจาะ ท่อใต้ทะเล และสายเคเบิลใต้น้ำ ภาพจำลองยานใต้น้ำขนาดเล็ก พล.ร.ต.พงศ์สรร กล่าวว่า โครงการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่หนึ่ง ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับขีดความสามารถของยานใต้น้ำเบื้องต้น ค้นหาข้อมูลเพื่อเสนองบฯในการสร้างยานใต้น้ำ ส่วนระยะที่ 2 ซึ่งเป็นระยะปัจจุบัน เมื่อผ่านการดำเนินการระยะที่ 1 ทำให้คณะวิจัยมั่นใจว่า สามารถสร้างยานใต้น้ำขึ้นในประเทศไทยได้เอง จึงได้มีการออกแบบ ถ่ายโอนเทคโนโลยีที่จำเป็นจากต่างประเทศในส่วนที่ต้องการความปลอดภัยสูงและที่จำเป็นต่อการสร้างยานใต้น้ำ เพื่อนำไปสู่การสร้างยานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดคือ 4 ปี คณะวิจัยกำหนดขนาดมิติและขีดความสามารถของยานใต้น้ำ ดังนี้ ขนาดความยาว 11 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร ระวางน้ำประมาณ 27 ตัน ส่วนขีดความสามารถ สามารถปฏิบัติการที่น้ำลึกไม่เกิน 50 เมตร ระยะเวลาปฏิบัติการใต้น้ำ 3-5 ชั่วโมง ความเร็ว 5 น็อต บรรจุลูกเรือได้ 3 คน ทั้งนี้ ยานใต้น้ำเป็นการออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้กับภารกิจอื่น พล.ร.ต.พงศ์สรรกล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงกลาโหมอนุมัติให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กในประเทศ เมื่อปี 2547 และโครงการวิจัยยานใต้น้ำขนาดเล็กนี้เป็นขั้นที่ 2 ในการต่อยอดองค์ความรู้ โดยกำหนดวัตถุประสงค์การสร้างต้นแบบยานใต้น้ำขนาดเล็ก ระหว่างขับน้ำประมาณ 27 ตัน ในประเทศไทย ผลจากการวิจัยนี้จะทำให้กองทัพเรือมียานใต้น้ำขนาดเล็กสำหรับใช้ในการฝึกหัดกำลังพลในการสร้างความคุ้นเคยกับการปฏิบัติการใต้น้ำใช้ดัดแปลงในการทำภารกิจต่างๆ ทั้งทางยุทธการ การหาข่าว การสำรวจใต้น้ำ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาการต่อเรือในประเทศให้มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เกิดจาการวิจัยนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับกองทัพเรือและประเทศชาติ ทั้งนี้ เมื่อ 70 ปีที่ผ่านมากองทัพเรือเคยมีเรือดำน้ำประจำการ จำนวน 4 ลำ คือ เรือดำน้ำมัจฉานุ เรือดำน้ำพลายชุมพล เรือดำน้ำสุดสาคร และเรือดำน้ำวิรุณ ซึ่งเป็นเรือที่ซื้อมาจากประเทศญี่ปุ่น แต่ต้องยุติการใช้งานและปลดประจำการหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงคราม ทำให้ถูกสั่งห้ามผลิตอะไหล่ เป็นเหตุให้กองทัพเรือไม่ได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีจนต้องปลดประจำการไป |
นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญที่เดียวครับ สำหรับ ทร.ไทย ยาน size ขนาดนี้สามารถใช้ในภารกิจแทรกซึม ถอนตัวกลับของหน่วยซีลได้ หรือใช้สอดแนมเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ครับ
มีรูปการเปิดงานจากเวปกองทัพเรือให้ดูด้วยครับ
รู้สึกจะต่อที่บริษัท อู่กรุงเทพนะครับ
มติชนลงข้อมูลผิดไปครับเรือดำน้ำของไทยในชุด ร.ล.มัจฉาณุ นั้นคือ
ร.ล. มัจฉาณุ, ร.ล. วิรุณ, ร.ล. สินสมุทร และ ร.ล. พลายชุมพล ครับไม่มีเรือชื่อ ร.ล.สุดสาคร
ยานใต้น้ำนี้น่าจะเป็นต้นแบบในการพัฒนายานใต้น้ำสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษใต้น้ำของ นสร. ครับซึ่งจากข่าวการปรับปรุงกำลังของ นสร.ที่ผ่านมาบ้างเช่นการขยายขนาดกำลังพล การสร้างเรือปฏิบัติการความเร็วสูง เป็นต้นนี้แสดงว่าทางกองทัพเรือให้ความสำคัญกับการพัฒนา นสร.มากขึ้นครับ
คิดถึงไอดีนี้ของท่านเวปมาสเตอร์จริงครับ
ดีใจกับกองทัพเรือไทย ที่ก้าวไปอีกขั้นครับ
แฮ่ะ แฮ่ะ.....ผมมีความเห็นว่าลำนี้ชื่อก้อบอกอยู่แล้วว่าเป็นเพียง ยานใต้น้ำ ซึ่งเอาไว้ทำวิจัย หรือเพื่อให้กำลังพลมีความคุ้นเคยเบื้องต้น หรือดำชมปะการังใต้น้ำตื้นๆก้อคงจะพอได้ อย่านำไปเทียบกับเรือดำน้ำทางทหารเลยครับ สมรรถนะมันห่างไกลกันหลายปีแสง ลำนี้ก้อคงจะคล้ายกับลำที่เอกชนเปิดกิจการดำน้ำสำหรับนักท่องเที่ยวอยู่แถวพัทยานั่นแหละครับ ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ยังเปิดกิจการอยู่หรือปล่าว
ผมว่าเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า ยานใต้น้ำขนาดเล็กนาครับไม่ใช่เรือดำน้ำ
ระวางน้ำประมาณ 27 ตัน ส่วนขีดความสามารถ สามารถปฏิบัติการที่น้ำลึกไม่เกิน 50 เมตร ระยะเวลาปฏิบัติการใต้น้ำ 3-5 ชั่วโมง ความเร็ว 5 น็อต บรรจุลูกเรือได้ 3 คน
ดูจากสเปคนี้แล้วผมว่ามันด้อยกว่าเรือสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2ทั้งสี่ลำที่เราเคยมีมาซะอีกนาครับ
ถ้าจะเริ่มพัฒนากันจริงๆผมว่าเอาแบบเรือดำน้ำสมัยสงครามมาพัฒนาต่อ หรือซื้อแบบมาจาก ตปท. ที่เขาขายให้เอามาพัฒนาดีกว่าครับ เพราะถ้าเราคิดจะเอาเรือ แค่27ตัน มาพัฒนาต่อ นี่คงเหนื่อยหนักแน่ๆครับ
ถ้าขยายให้เป็น
-เรือดำน้ำขนาดกลาง
-ดำลึกได้สัก 50 เมตร
-เพิ่มรัศมีทำการไกลมากขึ้น
ผมว่าที่เราจะหาเทคโนโลยีไม่ได้คือ
เครื่องยนต์ดีเซลนี่ละครับ
ก็อุปกรณ์วิทยุสื่อสาร
อาวุธตอปีโดด้วย
และแบตเตอรี่เจ๋งๆสำหรับชาร์ตไฟอิอิ
เพราะเหตุอันใด สมมติ ว่า เครื่องยนต์ดีเซลประเทศที่สามารถผลิตได้คือ
อเมริกา ของ GE (เคยดูว่าเรือดำน้ำของอเมริกายุคแรกๆใช้ เครื่องยนต์ดีเซล
รถไฟ จากสารคดี History Channel)
ญี่ปุ่น : โตโยต้า เจ้าแรกเรื่องเครื่อง คอมมอลเรล
เยอรมัน : Benz , โฟค์ล เจ้าแรกที่ทำให้เครื่องดีเซลเงียบมากๆ
ถ้าเราผลิตในทางการทหาร เขาจะผลิตให้เราหรือเปล่านี่สิ กลัวจะโดนกั๊ก ไม่ส่งออกซะจบเลย
-อุปกรณ์ถ้าเราผลิตได้คงเอาเป็นแบบลากสายขึ้นริมน้ำ แล้วติดต่อกันในระยะคลื่นสั้น
เพราะต้องใช้ ไฟเยอะ ในย่านความถี่
VHF UHF แบบไม่แปลงรหัสพอได้
-เรดาห์โซนา ถ้าผลิตแบบเบื้องต้นยิงโซนา
ไปกระทบกับวัตถุ เหมือนเรดาห์หาปลา
ก็ยังพอทำเนานะ ไม่ยุ่งยากด้วย
- อาวุธตอปิโด อันนี้ท่าทางจะยากมาก
ถ้าให้เรดาห์และตอปิโดแม่นๆ
อันนี้อยากให้ทำก่อนให้สำเร็จครับ ถ้าจาก 27 ตันอยากให้ไปรบ.... ต่อสู้กับใครทำไม่ได้....ก็เป็นยานสำรวจใต้น้ำชัดๆ อย่างที่ระบุกันมา จริงไหมครับ.....ถูกของเขาอยู่แล้ว
แต่ถ้าใครอยากให้สอดแนม สู้ และต่อตีได้ด้วย ลองคิดดูครับ
ยานนี้เร็วแค่ 5 น๊อต ถ้าไม่มีผู้ช่วยที่ดี
SEAL ของใครก็ได้หาโอกาส เอาระเบิดไปแปะที่ยานใต้น้ำ ก็......
จึงต้องเข้าใจคำว่ายานใต้น้ำก่อน.....
ส่วนเครื่องยนตร์ขับเคลื่อน ถ้าจะทำจริง ไม่มีอะไรจะทำไม่ได้ ในการจัดหา คนหิวเงินมันเยอะ.....ไม่ต้องไปคุยเรื่องพันธมิตรคุ่นเคือง เพราะมันเป็นประเทศของเรานะ เขาไม่ใช่พ่อเรา.....
ระบบสื่อสาร การป้องกันการตรวจจับที่ว่านั้น มันเข้าข่ายยานสอดแนมใต้น้ำ....
ซึ่งไม่มีใครบอกว่า ก.ท.ร จะทำยานสอดแนม.....
และถ้าจะเอากันจริงๆ ผมว่าขอปรึกษา กับพี่หมีทั้งด้านเครื่องยนตร์เล็ก การสื่อสาร ระบบป้องกันตัว ศึกษาทำดำน้ำเล็กประสิทธิภาพสูงด้วยกัน...
แล้วแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าการเกษตรแทน....ทุกท่านคิดว่า เราทำได้ไหมครับ ....