หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ถามเรื่องหมวกทหารครับ

โดยคุณ : rrgigman เมื่อวันที่ : 01/04/2008 20:23:19

มีคำถาม 2 ข้อ ครับ

1.หมวกเหล็กของทหารอิสราเอลจะมีลักษณะเป็นรูปครึ่งทรงกลมคล้ายบุด้วยผ้า เเตกต่างจากหมวกของ ทบ.ไทย เเละของนาโต้อื่นๆที่จะมีส่วนที่ ป้องกันบริเวณหูด้วย(เว้าลงมา) ผมอยากทราบว่าสองเเบบนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เเละทำไมอิสราเอลถึงไม่เปลี่ยนมาใช้เเบบนาโต้

2.สายรัดที่อยู่บนหมวกของทหารอเมริกันมีไว้ทำไมครับ เอาไว้ปรับขนาดหมวกให้พอดีศีรษะหรือเพื่อวัตถุประสงค์อะไร

 

ขอบคุณทุกท่านที่ตอบคำถามเเละชมกระทู้ครับ --





ความคิดเห็นที่ 1


หมวกทหารอิสราเอล


โดยคุณ rrgigman เมื่อวันที่ 28/03/2008 07:33:16


ความคิดเห็นที่ 2


หมวกทารอเมริกัน สังเกตว่ามีสายอยู่บนหมวก


โดยคุณ rrgigman เมื่อวันที่ 28/03/2008 07:35:28


ความคิดเห็นที่ 3


หมวกเเบบนาโต้นั้นดีกว่าครับเพราะรูปร่างค่อนข้างที่จะ ปลอดภัยกว่ามาก เเต่ในเเบบของอิสราเอลนั้น คงเป็นเเบบหมวกเหล็กธรรมดาอย่างไรก็ตามการเลือกเเบบของหมวกก็ขึ้นอยู่กับรูปร่างของทหารของเเต่ละประเทศ

ส่วนสายรัดนั้นคงจะไม่ใช้เอาไว้ปรับขนาดหรอกครับ เพราะมันเป็นหวกทีคงรูปเเละจะมีเบอร์เเบบหมวกกันน็อคครับ ตัวสายรัดน่าจะเป็นตัวผูกเเป้นติดกล้องอินฟราเรด เพราะ ในเวลากลางคืน ทหารจะใช้กล้องอินฟราเรดติดกับตัวหมวกครับหรือน่าจะเป็นรอยต่อของหวกครับจากการประกอบ

อย่างไรก็ดีคงต้องรอผู้รู้ครับ

โดยคุณ poom1.1 เมื่อวันที่ 28/03/2008 08:39:06


ความคิดเห็นที่ 4


มันคงจะเป็นแถบเรืองแสงนะ

เคยเห็นในเกมส์ เวลาใช้กล้อง night vision  มันจะสว่างจ้าเลย ล่ะมั้ง


โดยคุณ YOYoMAN เมื่อวันที่ 28/03/2008 23:23:19


ความคิดเห็นที่ 5


หมวกทหารนั้นนอกจากใช้ประโยชน์จากการป้องกัน(ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์)แล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงสถานภาพของกองทัพด้วย ว่ารวย(เพราะมีปัญญาเปลี่ยนแบบ) และมีการศึกษา(ติดตามสถานการณ์ปัจจุบัน ว่าเขาถึงไหนแล้ว)ที่สำคัญมันแสดงว่าชาติไหนมีความคิดเป็นของตนเอง หรือจ้องจะตามก้นเขา เช่นอังกฤษ อิสราเอล รัสเซีย อินเดีย หมวกของชาติเหล่านี้ มีความต่างโดยสิ้นเชิง ส่วนสายรัดก็อย่างคุณ Helldiver ว่า หน่วยผมไม่ใช้ ใช้หมวกปีกผ้าลายพราง(ทพ.๑๑๓๑)


โดยคุณ makropolo เมื่อวันที่ 28/03/2008 23:39:40


ความคิดเห็นที่ 6


หมวกเฮลเมท สำหรับทหารที่เราๆเรียกกันจนติดปากว่า หมวกเหล็ก ทั้งๆที่ปัจจุบัน มันไม่ได้ทำจากเหล็กก็ตาม  แต่ก็เป็นอันเข้าใจกัน............มีเรื่องขำๆเรื่องหนึ่งซึ่งไม่ซีเรียสนัก   เรื่องมันมีอยู่ว่า เนื่องจากหมวกแบบใหม่ที่นำมาใช้งานแทนหมวกเหล็กนั้นทำมาจากวัสดุที่เรียกกันว่า เส้นใยเคฟล่า  ก็เลยพลอยเรียกตามกันว่า  หมวกเคฟล่า(รวมทั้งผมด้วย)  ทีนี้เรื่องมันก็มีอยู่ว่า  เนื่องด้วยบางคนอาจจะออกเสียงไม่ชัด(เพราะมันไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่เรา) เมื่อพูดต่อๆกันไป มันก็เลยเพี้ยนกลายเป็น หมวก  “เคบบ้า”บ้าง(สงสัยใส่แล้วจะกลายเป็น บ้า) หมวก “คอบบร้า” บ้าง    ผมมาใหม่ๆ ได้ยินก็แอบ ยิ้ม อยู่ในใจ และก็พยายามชี้แจง บอกเหตุที่มาที่ไปต่างๆของหมวกแบบใหม่นี้....................โดยส่วนตัวแล้ว ผมได้สัมผัสกับหมวกทั้ง 2 แบบ  ทั้งแบบเก่าที่เป็นเหล็กและมีหมวกรองใน สมัยเป็นนักเรียนชั้นต่ำ(หมายถึงนักเรียนที่มีอาวุโสน้อย ก็คือ นักเรียนใหม่และนักเรียนชั้น 1 นั้นเอง แต่พวกผมจะไม่เรียกว่าปี 1 แต่จะเรียกว่าชั้น1 ซึ่งมันย่อมาจาก ชั้นปีที่ 1    นักเรียนใหม่ ก็คือ ชั้น 1 แต่จะเป็นก่อนที่จะได้รับการยอมรับให้เป็น ชั้น1 ) ก็ใช้เจ้าหมวกเหล็กแบบเก่านี่แหละครับ  ถ้าว่ากันที่น้ำหนักแล้ว  หมวกเหล็กกับหมวกเคฟล่า มีน้ำหนักไล่เลี่ยกันมาก(เคยลองชั่งมา) หมวกเหล็กจะหนักประมาณ 1.5 กิโล เคฟล่าจะเบากว่าประมาณ 2 ขีด(แต่ก็แปลกอีก หมวกเคฟล่า ของไอ้กันที่มีมีขายนั้น หนักกว่า ของเราที่ผลิตเองครับ อาจจะเป็นเพราะของเค้าคุณภาพดีกว่าเพราะใช้หลายชั้นเลยหนักกว่า หรือของเราทำดีกว่า โดยเบากว่าแต่ให้การป้องกันที่เท่ากัน).........หมวกเหล็กแบบเก่า ถ้าจะเอาครบองค์ประกอบแล้วมันก็จะประกอบไปด้วย ตัวหมวกเหล็ก   หมวกรองใน(ทำจากไฟเบอร์  จะเห็นได้จากการใส่สวนสนามในวันกองทัพไทยทุกๆปี)  ผ้าพราง  ตาข่ายพราง   สายรัดคาง(จะมีทั้งสายรัดคางของ หมวกเหล็ก และสายรัดคางของหมวกรองใน)และสายรัดหมวก(ทบ.ไทยเราเอา ยางในรถมาตัดใช้งานแทน)  การประกอบก็นำผ้าพรางมาสวมใส่หมวกเหล็ก และนำตาข่ายพรางสวมทับไปอีกชั้นหนึ่ง เสร็จแล้วนำเอาหมวกรองในใส่เข้าไปภายในหมวกเหล็ก เก็บสายรัดคางของหมวกรองในให้เรียบร้อย  เพราะเราจะใช้สายรัดคางของหมวกเหล็กเป็นหลัก ขั้นตอนสุดท้ายก็นำสายรัดหมวก(ยางในรถ)มารัดทับเข้าไปโดยจะรัดที่ขอบวงนอกสุดของหมวก ขั้นตอนสุดท้ายนี้จะต้องปลุกปล้ำหน่อย ก็เป็นอันเสร็จพิธี  พร้อมนำมาสวมใส่..................ภายในหมวกรองในจะมีแถบผ้า สำหรับรองรับกับศีรษะของเราเมื่อสวมใส่ซึ่งเราจะเรียกว่า “รังผึ้ง” เจารังผึ้งที่ว่าสามารถปรับได้ตามขนาดหัวของเรา   ในการออกแบบของรังผึ้งนั้น เค้าออกแบบให้มันลอยตัวอยู่ห่างจากผิวด้านในของหมวกรองใน เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ ไม่อับ  แต่ด้วยความที่ว่า บางคนนั้นรู้สึกว่ามันไม่พอดีหัวเวลาวิ่งแล้วโคลงเคลง หรืออาจจะรู้สึกเจ็บ ก็เลยมีการนำเอาฟองน้ำก้อน(ที่มีขายทั่วๆไป) มายัดใส่ตามร่องของ รังผึ้ง    บางคนก็เล่นยัดซะรอบ 360 องศา  เลยกลายเป็นว่า ไอ้ที่เค้าออกแบบมาให้ถ่ายเท อากาศ ก็กลายเป็นอุดช่องไป กลายเป็นอับแทน  และบางคนยัดฟองน้ำแล้วจัดเก็บไม่ดี  ก็จะเห็นมันโผล่ออกมาแสดงตนให้คนอื่นเห็น แลดูแล้วสวยดีเหมือนกัน กระผมเองในตอนแรกก็ยัดฟองน้ำเหมือนกัน(เพราะรุ่นพี่สอนมา) แต่ยัดแค่ 3 ก้อน 3 จุดคือ ด้านหลัง และด้านข้างทั้ง 2 ด้าน  แต่สุดท้ายแล้วก็ถอดมันออกจนหมด ไม่ใส่  เพราะรู้สึกว่ามันอับ อึดอัด  อาศัยปรับ รังผึ้ง ให้พอดี แทน และไม่เคยใช้ฟองน้ำมาจนถึงทุกวันนี้............... รังผึ้ง จะเป็นส่วนที่ชำรุดง่ายมาก  แถบผ้าของรังผึ้ง จะมีอุปกรณ์ยึดติดกัน ซึ่งเป็นคลิ๊บโลหะ และส่วนที่ยึดติดกับ ผิวหมวกรองในก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อมันผ่านการใช้งาน โดนเหงื่อไคล  จึงทำให้สนิมจับที่วัสดุที่เป็นโลหะดังกล่าว ทำให้นานๆไปเกิดหักและชำรุด  ทำให้ รังผึ้ง ไม่เหลือสภาพทรงเดิมของมัน(นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ใช้ต้อง ช่วยตัวเองแสวงเครื่องด้วยการใช้ ฟองน้ำ มาเสริมทรงให้มันสวมใส่ได้ไปก่อน) ไม่สามารถสวมใส่ได้  วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การเปลี่ยนหมวกรองในใหม่  แต่ บางครั้งหมวกรองในก็ไม่มีให้เปลี่ยน หรือ อันที่จะเปลี่ยนก็มีสภาพไม่ต่างกันเท่าไหร่  ดังนั้นจึงต้องแสวงเครื่องกันไปก่อน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ต่อ.................ย้อนกลับมาสมัยเป็นนักเรียนชั้นต่ำ(ชั้น 1 ชั้น 2) ผมยังใช้หมวกเหล็กดังกล่าวอยู่  ซึ่งแน่นอนว่า นักเรียนชั้นต่ำๆก็จะมีเจ้าหมวกดังกล่าวติดหัวเปรียบประดุจเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย เกือบทุกวัน(วันที่ทั้งวันไม่เคยใส่มันแถบจะนับวันได้)  เพราะมันเป็นของเล่น สำหรับกิจกรรมประจำวัน ช่วงสิ้นแสงเงินแสงทองหลังอาหารเย็นทุกวัน(นักเรียนทุกคนจะมีเครื่องสนามแจกประจำตัว ซึ่งทุกชิ้นจะแพ็คใส่เป้สนามเป็นอย่างดีซึ่งพวกผมเรียกว่า “โหลด” วางอยู่บนหลังตู้ พร้อมใช้งานซึ่งก็น่าแปลกว่ามันถูกใช้งานเกือบทุกวัน)   หมวกเหล็กนั้น มีเอกลักษณ์ของมันอย่างหนึ่งยามที่จะต้องสวมมันในการเคลื่อนที่(วิ่ง) ซึ่งผมว่ามันคลาสสิคดี(ตอนนี้นะครับ) คือเสียงของมันครับ มันจะมีเสียงเหล็กแกว่งจากส่วนที่เคลื่อนไหวได้ ดัง “กุ๊งกิ๊งๆๆ” กังวานอยู่ข้างหูยามที่ต้องเคลื่อนที่ด้วยการวิ่ง ก็ฟังเพลินในบ้างเวลาดีเหมือนกัน............
โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 29/03/2008 03:41:15


ความคิดเห็นที่ 7


พอช่วงประมาณชั้น 3  ก็ได้หมวกใหม่คือ เจ้า หมวกเคฟล่านี่แหละครับ เรียกว่าใหม่แกะกล่องเลยก็ว่าได้ เพราะได้แจกกล่องมาจริงๆ  ภายในก็มีส่วนประกอบประกอบไปด้วย  ตัวหมวก  ผ้าพราง สายรัดคาง และสายรัดหมวก(ล็อตแรกๆที่ผมได้ สายรัดหมวกยังไม่มีแถบสะท้อนแสง 2 อันทางด้านหลัง)  หมวกเคฟล่า จะไม่มีรองใน  ส่วนของ รังผึ้ง จะติดอยู่ภายในตัวหมวกเลย รูปลักษณ์ก็คล้ายๆของเดิม โดยการยึดติดกับตัวหมวกใช้น็อตสกรูยึด  ชิ้นส่วนที่จะเกิดสนิมก็มีเหมือนเดิม    หมวกเคฟล่า ไม่ต้องเอายางในมารัดที่ขอบ เพราะผ้าพรางจะมีแถบยึดสำหรับยึดติดกับรังผึ้ง เพื่อไม่ให้ผ้าพรางหลุดออกจากตัวหมวก.............เจ้าสายรัดหมวกที่ว่า มันเป็นส่วนประกอบหนึ่งของหมวก ดังนั้นด้วยทฤษฎีที่ว่า “ของหลวงนั้นตกน้ำไม่ไหล  ตกไฟไหม้ไหม้ เอ๊ย ไม่ไหม้” นั้น เวลาออกฝึกละก็ต้องระวังให้ดีเพราะมันหายง่ายมาก  มุดกอไม้แป๊บเดียว ก็โดนกิ่งไม้คาบไปแดร๊ก เป็นเครื่องประดับต้นไม้แทนไปซะงั้น ดังนั้นเพื่อการป้องกัน จึงมีไอเดีย กันเพียบ บางคนก็ถอดเก็บเลยไม่เอามาใช้   และก็กลายมาเป็นแฟชั่นกันไปเลย  บางคนก็เอาเข็มกลัดมากลัดติดกับผ้าพรางเพื่อไม่ให้หลุดหาย  หรือไม่ก็ปลดแถบยึดของผ้าพรางซึ่งที่จริงมันจะต้องยึดติดกับรังผึ้ง ซัก 2 แถบ(คือ แถบด้านข้าง ซ้าย ขวา) ออกมาเพื่อม้วนกลับมายึดสายรัดหมวกแทน  เรียกว่าทีนี้ถ้ามันจะหลุดหายจริงก็ให้มันหายไปทั้งสายรัด ผ้าพราง หมวกหรือหัวไอ้คนใส่ไปด้วยกันเลย............หมวกเหล็กนั้นเวลาจะพรางหมวกด้วยกิ่งไม้ใบหญ้า ก็จะเสียบเจ้าพวกกิ่งไม้ใบหญ้านั้นกับตาข่ายพราง แต่กรณีหมวกเคฟล่านั้นเราจะเสียบเข้ากับสายรัดหมวกแทนเพราะมันไม่มีตาข่ายพราง   อนึ่ง ความจริงแล้วผ้าพรางมันจะมีรอยซึ่งเค้าตัดไว้คล้ายๆกับรังดุม ซึ่งจะกระจายอยู่ทั่วผ้าพราง ซึ่งเจ้ารอยดังกล่าวเราสามารถใช้เสียบในการพรางด้วยกิ่งไม้ใบหญ้าได้ และก็อีกเช่นกัน มันก็แปลกที่ว่า บางอันก็มี บางอันก็ไม่มี..................... ช่วงฝึกภาคสนามห้วงชั้น 3 ขึ้น ชั้น 4  ซึ่งจะต้องไปเรียนหลักสูตรส่งทางอากาศ  จึงได้รับแจกหมวกเคฟล่าอีกแบบหนึ่งมาสำหรับใช้เรียนหมวกอีกแบบนั้นรูปทรงก็เหมือนเดิมจะต่างกันตรงที่ไม่มีผ้าพรางมาให้ ผิวภายนอกของหมวกก็จะขรุขระเป็นเม็ดทราย และสายรัดคางจะเป็นแบบ 3 จุดซึ่งกระชับกว่าแบบปรกติที่เป็น 2 จุด ใส่วิ่งกระชับกว่า     ไอ้เจ้าผิวขรุขระ ของหมวกนั้นสร้างความลำบากเล็กน้อยในช่วงแรกของการเรียนส่งทางอกาศ เพราะมันจะแหลมคม(ยังใหม่อยู่)  ซึ่งถ้าใครเคยเรียนส่งทางอากาศน่าจะทราบดีว่า ในการฝึกขั้นตอนการลงพื้นนั้นจะต้องมีช่วงที่เราต้องกำมือทั้งสองข้างแล้วเอาตรงด้านข้างด้านนิ้วก้อยมากดตรงข้างหมวก(ตรงบริเวณส่วนเว้าลงมาข้างหูของหมวกเคฟล่านั้นแหละครับ)  ซึ่งพอบิดตัวล้มและเตะขาตามขั้นตอน มือที่กดข้างหมวกก็จะถูไปตามรอยขรุขระนั้น  ไอ้ครั้งเดียวมันก็พอทน แต่นี่วันหนึ่งไม่รู้กี่รอบ ผลก็เลยออกมาว่า ข้างมือทุกคนมีแต่รอยถลอกพร้อมรอยเลือด ดังนั้นจึงต้องแก้ไข เฉพาะหน้า ด้วยการขัดผิวหมวกบรเวณนั้นให้มันหายคม..................................และอีกเช่นเคย แฟชั่น ยัดฟองน้ำ ก็ยังคงตามมากับหมวกแบบใหม่  บางคนจะบ่นว่าหมวกมันบีบด้านข้างใส่นานๆแล้วปวด แต่ผมว่าบางทีอาจจะเป็นที่เค้าไม่ปรับรังผึ้งหมวกต่างหาก  เพราะผมว่าผมคนหนึ่งละที่หัวโตเอาเรื่องเหมือนกัน  แต่ผมก็ไม่เห็นมีอาการดังกล่าวเลย    รังผึ้งมันปรับได้ทั้งสูงต่ำ และขยายวงให้กว้างหรือแคบได้   การปรับสูงต่ำ  ปรับที่สายร้อยแถบผ้ารองศีรษะ(มันทำหน้าที่คล้ายๆหูรูดนั่นแหละครับ) ปรับตึงหย่อนได้ ถ้าปรับหย่อน หัวเราก็จะผลุบเข้าไปในหมวกมากหน่อย(กรณีใฝ่สูง เอ๊ย หัวสูง) ถ้าตึงหัวก็จะผลุบเข้าไปน้อย(ใช้กับคนใฝ่ต่ำ เอ๊ย หัวเตี้ย) ส่วนการปรับขยายวงนั้น ปรับที่สายด้านหลัง  ซึ่งสามารถขยายหรือหดได้    ซึ่งปัจจุบันที่เห็นมา ล็อตแรกๆเจ้าตัวปรับขยายวงดังกล่าวจะเป็นเข็มขัดโลหะ แต่เห็นล็อตใหม่ๆ เป็นแถบตีนตุ๊กแก.............โดยส่วนตัวแล้วผมว่า หมวกเคฟล่า ใส่สบายกว่าหมวกเหล็ก  ไม่ได้สบายเพราะเบากว่า แต่สบายจรงที่มุมการตรวจการณ์ดีกว่า และไม่อึดอัด.................หมวกเคฟล่า(หรือแม้แต่หมวกเหล็ก) อาจจะให้การป้องกันจากกระสุนปืนได้ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์  แต่ก็กันสะเก็ดระเบิดรวมถึงแรงกระแถกได้ดี  แต่ก็อย่างที่ทราบ ด้วยน้ำหนักของมันทำให้เมื่อใส่นานๆแล้วอาจจะทำให้เกิดอาการล้าได้(หมวกพวกนี้มีชื่อเล่นว่า “หมวกลดไอคิว” เพราะใส่ไปนานๆแล้วจะมึนตึ้บ นึกอะไรไม่ออก)  ดังนั้นส่วนใหญ่จึงหันไปหาหมวกปีก หรือ หมวกแก๊ป แทน      แต่ผมว่ายังไงหมวกเคฟล่าก็ยังมีประโยชน์  ความจริงเราน่าจะนำมันมาใช้งานร่วมกัน  กล่าวคือ ในการเคลื่อนย้ายหน่วยหรือการเคลื่อนที่ในพื้นที่ที่มีโอกาสปะทะข้าศึกน้อย เช่น การเดินทางเข้าหาที่หมาย  เราก็ใช้หมวกปีก หรือหมวกแก๊ป  แล้วห้อยหรือเก็บหมวกเคฟล่าไว้ก่อนเพื่อลดการล้า  พอเข้าพื้นที่ที่มีโอกาสเสี่ยงปะทะสูง ก็ค่อยนำเอาหมวกเคฟล่ามาใช้แล้วเก็บหมวกปีกหรือหมวกแก๊ปไป   ทีนี้เราก็ต้องมาพิจารณากันแล้วละครับว่าเราจะนำเจ้าหมวกทั้ง 2 ชนิดไว้ตรงตำแหน่งดีถึงจะสามารถเปลี่ยนสลับกันได้อย่างรวดเร็ว   วิธีหนึ่งก็คงคล้ายๆ รปจ.หลักสูตร จู่โจม คือ ผูกหมวกด้วยเชือกยึดกับสายเก่งไว้(หลักสูตรจู่โจมใช้แต่หมวกแก๊ป หมวกเหล็กเอาไว้ใช้เทสอย่างเดียว)      แล้วเราก็ห้อยหมวกเคฟล่าไว้ก่อน(ห้อยกับสแนปลิงก์ ก็ได้)    พอจะใส่เคฟล่า ก็ปัดหมวกปีกหรือหมวกแก๊ปทิ้งได้เลย(โดยไม่ต้องกลัวหล่นหาย เพราะผูกเชือกไว้แล้ว) แล้วคว้าเอาหมวกเคฟล่ามาสวมแทน........................................................

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 29/03/2008 03:41:49


ความคิดเห็นที่ 8


 ในภาพข้างบน สังเกตุดีๆ หมวกทหารอิสราเอลในภาพ ก็มีแถบรัดหมวกนะครับ  แต่มันจะกว้างกว่า
โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 29/03/2008 03:43:24


ความคิดเห็นที่ 9


 ในภาพข้างบน สังเกตุดีๆ หมวกทหารอิสราเอลในภาพ ก็มีแถบรัดหมวกนะครับ  แต่มันจะกว้างกว่า
โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 29/03/2008 04:20:55


ความคิดเห็นที่ 10


                  ต่ออีกนิดละกัน  ปัจจุบันทุกวันนี้บางหน่วยกำลังถูกครอบงำด้วย ประเพณีและข้ออ้างบางอย่าง.............บางคนจะอาศัยข้ออ้างบางอย่างในการทำให้ตนเองสบาย และการสอนต่อๆกันในทางที่ผิดอาจจะส่งผลบางอย่างที่มีผลมาก...................ยกตัวอย่างง่ายๆ   พล.ร.9 คือ พล.ร.เบา   มีบางคนนำมาตีความหมายในทางที่หาประโยชน์เข้าตนเองเพื่อไม่ให้ตนเองเหนื่อย  คนพวกนี้จะแอนตี้  เครื่องสนามทุกชนิด เรียกได้ว่ามีบนตัวกรูน้อยเท่าไหร่เป็นใช้ได้  โดยอ้างว่า “เราเป็น พล.ร.เบาครับ  ไม่ต้องเอาไปมาก”  หรือไม่ก็  “คล่องตัวครับ”   ฯลฯ(ข้ออ้างอีกมากมาย)      ถูกครับความคล่องตัวเป็นสิ่งสำคัญ แต่ถามว่า บนความคล่องตัวนั้นจะต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์จำเป็นที่ช่วยเหลือเรา(รวมถึงช่วยชีวิตเรา)ให้มากที่สุด บนน้ำหนักที่น้อยที่สุด(อาจจะงง)...........สิ่งสำคัญที่ทำให้ทุกคนต่างถามหาแต่ความสบายโดยอ้างถึงความคล่องตัว ก็คือ การปฏิบัติประจำในการฝึกและการกลัวในสิ่งที่ตนเองไม่เคยนั่นเอง.....การฝึก ผมเชื่อได้เลยว่า แต่ละคนที่ติดตัว(ในเป้ไม่นับ)นั้นมีเพียง เข็มขัดสนาม สายเก่ง  กระติกน้ำ 2 ใบ และเสื้อกั๊ก(ใส่ซอง)กระสุน เปล่าๆเท่านั้น  และก็มีปืนพร้อมซองกระสุน 1 ซองติดปืน เท่านั้น   นี่ยังไม่นับพวกอาวุธอื่นๆ เช่น เอ็ม 203 หรือ มินิมิ ซึ่งรูปแบบก็คงคล้ายๆกัน......น้ำหนักซองกระสุนเปล่า กับน้ำหนักซองกระสุนที่มีกระสุนอยู่จริงๆนั้นต่างกันมาก   ดังนั้นเมื่อเราฝึกเคยชินแต่น้ำหนักเปล่า เบาๆ  พอเมื่อจำเป็นต้องโหลดเต็มพิกัดแล้ว หลายคนจะแสดงอาการออกมาในลักษณะไปไม่เป็น ขาดความคล่องตัว(ทั้งๆที่พยายามเอาคำนี้มาอ้าง) เพราะไม่เคยชินน้ำหนัก..........คงเป็นเรื่องยากที่ในการฝึกนั้นจะหาลูกแบงก์(ลูกซ้อมรบ) หรือลูกจริง มาให้โหลดกันเต็มอัตราได้ สำหรับ ทบ.ไทย แต่มันก็แก้ได้ด้วยการเพิ่มน้ำหนักให้มันใกล้เคียงกับน้ำหนักเมื่อต้องโหลดเต็มจริงๆ ซึ่งก็ต้องคิดกันละครับว่าจะเพิ่มน้ำหนักยังไงให้ลักษณะคล้ายโหลดเต็มจริงๆ  เช่น อาจจะหล่อซองกระสุนจำลองด้วยปูนหรืออะไรก็ได้ที่ราคาไม่แพงมากนักให้มีน้ำหนักใกล้เคียงกับน้ำหนักซองกระสุนที่ใส่กระสุนอยู่เต็มของจริง แล้วแจกตาม เบสิคโหลด จริงๆ(ยกเว้น ซองติดปืนที่เป็นซองจริง)  แต่วิธีนี้ก็ใช้ได้บ้างสถานการณ์การฝึก เพราะสิ่งที่มันขาดไปก็คือ การฝึกการเปลี่ยนซองกระสุนในสภาวะกดดันตามสถานการณ์ต่างๆนั่นเอง แต่ก็แก้ได้ไม่ยาก...............สรุปก็คือ ในการฝึกจะต้องฝึกให้โหลดน้ำหนักให้มาก ติดอุปกรณ์ประจำตัวหรือบางคนอาจจะเรียกว่า ออพชั่นให้มากเข้าไว้ เพื่อความเคยชิน   เมื่อเวลาต้องปฏิบัติการจริงเราก็ลดน้ำหนักลงตามความเหมาะสมของภารกิจ ............. ประสบการณ์คือสิ่งสำคัญ แต่บางครั้งผู้มีประสบการณ์ก็มักจะประมาท และมองข้ามหรือลัดขั้นตอนไป  และที่น่ากลัวคือ การถ่ายทอดให้รุ่นน้อง  หนังเรื่อง แบล็ก ฮอร์ค ดาวท์ จะชี้ให้เห็นเรื่องนี้เป็นอย่างดี  ฉากที่ ผู้อาวุโสในทีม บอกรุ่นน้องว่า  น้ำไม่ต้องเอาไป  กล้อง NVG ไม่ต้องเอาไป หรือแม้แต่แผ่นเกราะ เพราะคิดว่าใช้เวลาไม่นาน(ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา)  ผลเลยออกมาอย่างที่เห็น...........การนำของไปเยอะ เราสามารถทิ้งได้เมื่อจำเป็น  แต่ถ้าเราไม่เอาไป เราไม่สามารถไปถามหาในสนามได้เมื่อเกิดจำเป็นต้องใช้  ในสนามไม่มี เซเว่นและแคชเชียร์คอยถามว่า “จะรับซาลาเปา ขนมจีบเพิ่มไหมครับ(ค่ะ)” หรือถ้ามันจะ(เจือก)มี เราก็คงไม่มีเวลาไปซื้ออยู่ดี..................สรุปสุดท้าย “เราฝึกมายังไง  เวลาจริงมันก็จะได้ยังงั้นหรือต่ำกว่า”   

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 29/03/2008 04:21:21


ความคิดเห็นที่ 11


                  ต่ออีกนิดละกัน  ปัจจุบันทุกวันนี้บางหน่วยกำลังถูกครอบงำด้วย ประเพณีและข้ออ้างบางอย่าง.............บางคนจะอาศัยข้ออ้างบางอย่างในการทำให้ตนเองสบาย และการสอนต่อๆกันในทางที่ผิดอาจจะส่งผลบางอย่างที่มีผลมาก...................ยกตัวอย่างง่ายๆ   พล.ร.9 คือ พล.ร.เบา   มีบางคนนำมาตีความหมายในทางที่หาประโยชน์เข้าตนเองเพื่อไม่ให้ตนเองเหนื่อย  คนพวกนี้จะแอนตี้  เครื่องสนามทุกชนิด เรียกได้ว่ามีบนตัวกรูน้อยเท่าไหร่เป็นใช้ได้  โดยอ้างว่า “เราเป็น พล.ร.เบาครับ  ไม่ต้องเอาไปมาก”  หรือไม่ก็  “คล่องตัวครับ”   ฯลฯ(ข้ออ้างอีกมากมาย)      ถูกครับความคล่องตัวเป็นสิ่งสำคัญ แต่ถามว่า บนความคล่องตัวนั้นจะต้องประกอบไปด้วยอุปกรณ์จำเป็นที่ช่วยเหลือเรา(รวมถึงช่วยชีวิตเรา)ให้มากที่สุด บนน้ำหนักที่น้อยที่สุด(อาจจะงง)...........สิ่งสำคัญที่ทำให้ทุกคนต่างถามหาแต่ความสบายโดยอ้างถึงความคล่องตัว ก็คือ การปฏิบัติประจำในการฝึกและการกลัวในสิ่งที่ตนเองไม่เคยนั่นเอง.....การฝึก ผมเชื่อได้เลยว่า แต่ละคนที่ติดตัว(ในเป้ไม่นับ)นั้นมีเพียง เข็มขัดสนาม สายเก่ง  กระติกน้ำ 2 ใบ และเสื้อกั๊ก(ใส่ซอง)กระสุน เปล่าๆเท่านั้น  และก็มีปืนพร้อมซองกระสุน 1 ซองติดปืน เท่านั้น   นี่ยังไม่นับพวกอาวุธอื่นๆ เช่น เอ็ม 203 หรือ มินิมิ ซึ่งรูปแบบก็คงคล้ายๆกัน......น้ำหนักซองกระสุนเปล่า กับน้ำหนักซองกระสุนที่มีกระสุนอยู่จริงๆนั้นต่างกันมาก   ดังนั้นเมื่อเราฝึกเคยชินแต่น้ำหนักเปล่า เบาๆ  พอเมื่อจำเป็นต้องโหลดเต็มพิกัดแล้ว หลายคนจะแสดงอาการออกมาในลักษณะไปไม่เป็น ขาดความคล่องตัว(ทั้งๆที่พยายามเอาคำนี้มาอ้าง) เพราะไม่เคยชินน้ำหนัก..........คงเป็นเรื่องยากที่ในการฝึกนั้นจะหาลูกแบงก์(ลูกซ้อมรบ) หรือลูกจริง มาให้โหลดกันเต็มอัตราได้ สำหรับ ทบ.ไทย แต่มันก็แก้ได้ด้วยการเพิ่มน้ำหนักให้มันใกล้เคียงกับน้ำหนักเมื่อต้องโหลดเต็มจริงๆ ซึ่งก็ต้องคิดกันละครับว่าจะเพิ่มน้ำหนักยังไงให้ลักษณะคล้ายโหลดเต็มจริงๆ  เช่น อาจจะหล่อซองกระสุนจำลองด้วยปูนหรืออะไรก็ได้ที่ราคาไม่แพงมากนักให้มีน้ำหนักใกล้เคียงกับน้ำหนักซองกระสุนที่ใส่กระสุนอยู่เต็มของจริง แล้วแจกตาม เบสิคโหลด จริงๆ(ยกเว้น ซองติดปืนที่เป็นซองจริง)  แต่วิธีนี้ก็ใช้ได้บ้างสถานการณ์การฝึก เพราะสิ่งที่มันขาดไปก็คือ การฝึกการเปลี่ยนซองกระสุนในสภาวะกดดันตามสถานการณ์ต่างๆนั่นเอง แต่ก็แก้ได้ไม่ยาก...............สรุปก็คือ ในการฝึกจะต้องฝึกให้โหลดน้ำหนักให้มาก ติดอุปกรณ์ประจำตัวหรือบางคนอาจจะเรียกว่า ออพชั่นให้มากเข้าไว้ เพื่อความเคยชิน   เมื่อเวลาต้องปฏิบัติการจริงเราก็ลดน้ำหนักลงตามความเหมาะสมของภารกิจ ............. ประสบการณ์คือสิ่งสำคัญ แต่บางครั้งผู้มีประสบการณ์ก็มักจะประมาท และมองข้ามหรือลัดขั้นตอนไป  และที่น่ากลัวคือ การถ่ายทอดให้รุ่นน้อง  หนังเรื่อง แบล็ก ฮอร์ค ดาวท์ จะชี้ให้เห็นเรื่องนี้เป็นอย่างดี  ฉากที่ ผู้อาวุโสในทีม บอกรุ่นน้องว่า  น้ำไม่ต้องเอาไป  กล้อง NVG ไม่ต้องเอาไป หรือแม้แต่แผ่นเกราะ เพราะคิดว่าใช้เวลาไม่นาน(ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา)  ผลเลยออกมาอย่างที่เห็น...........การนำของไปเยอะ เราสามารถทิ้งได้เมื่อจำเป็น  แต่ถ้าเราไม่เอาไป เราไม่สามารถไปถามหาในสนามได้เมื่อเกิดจำเป็นต้องใช้  ในสนามไม่มี เซเว่นและแคชเชียร์คอยถามว่า “จะรับซาลาเปา ขนมจีบเพิ่มไหมครับ(ค่ะ)” หรือถ้ามันจะ(เจือก)มี เราก็คงไม่มีเวลาไปซื้ออยู่ดี..................สรุปสุดท้าย “เราฝึกมายังไง  เวลาจริงมันก็จะได้ยังงั้นหรือต่ำกว่า”   

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 29/03/2008 04:21:45


ความคิดเห็นที่ 12


 งะ  ทำไมมันซ้ำกัน  ขออภัย ครับ
โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 29/03/2008 04:22:26


ความคิดเห็นที่ 13


ขอบคุณทุกท่านที่ตอบคำถามครับ

โดยคุณ rrgigman เมื่อวันที่ 29/03/2008 07:42:31


ความคิดเห็นที่ 14


ผู้หมวดอธิบายซะนึกถึงตอนเรียนเลย และก็เป็นอย่างที่ท่านกล่าวจริงๆขอบคุณครับ แต่ผมชอบหมวกเยอรมันนีมากกว่า(แบบอยากให้ทบ.ออกเป็นมาตราฐาน)


โดยคุณ makropolo เมื่อวันที่ 29/03/2008 09:01:50


ความคิดเห็นที่ 15


เยี่ยมครับ คุณ FW190
โดยคุณ nata เมื่อวันที่ 30/03/2008 04:52:54


ความคิดเห็นที่ 16


Helmet หมวกทหาร  หลังสงครามเวียตนามทางสหรัฐเปลี่ยนจาก
หมวกเหล็กแบบที่ใช้มาสมัยสงครามโลก
มาเป็นหมวกที่ใช้ไยสังเคราะห์ที่เรียกว่า เคฟล่า 
หมวกแบบของสหรัฐมีส่วนที่ยื่นออกมาปิดหู และมีรูปร่างคล้ายๆกับ
หมวกเหล็กของทหารเยอรมันสมัยสงครามโลก
จึงให้ชื่อเล่นกันว่าFritz ที่ทหารสหรัฐเคยใช้เรียกทหารเยอรมัน
มีการร้องเรียนว่าหมวกแบบนี้ใช้ป้องกันการบาดเจ็บที่หูได้ แต่ก็ปิดกั้นการได้ยินเสียง
นอกจากนั้นในการรบถ้าจะใช้วิทยุติดต่อยากมาก โดยไม่ถอดหมวก
(แบบของไทยจะแคบว่าของสหรัฐ ป้องกันหูได้ดีกว่า)

ช่วงรบที่อิรัคจึงมีการลองเอาหมวกอีกแบบ ให้เปิดหู มาใช้                                           คล้ายๆกับที่Deltaใช้ใน Black Hawk Down และใช้กันทั่วไปใน ทบ.สหรัฐในปัจจุบัน
หมวกเคฟล่าเปิดหู (ขอโทษจำชื่อโมเดลไม่ได้) นาวิกโยธินสหรัฐโดนห้ามไม่ให้ใช้

สำหรับ ทหารอังกฤษ จะใช้หมวกทำด้วยเคฟล่าเหมือนกัน แต่คนละทรงกับสหรัฐ
เมื่อตอนเข้าอิรัค ทหารอังกฤษคนหนึ่งโดยยิงที่หมวกเคฟล่าบริเวณหน้าผาก
หมวกหลุด ก็หยิบมาใส่อีก ซักพักโดนอีก ข้างๆรูเดิม
หมวกเคฟล่าแต่ละเจ้า หรือแบบ คงไม่ใช้มาตรฐานที่เหมือนกัน


โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 01/04/2008 09:23:20