ทุกครั้งที่มีการจัดหาอาวุธ เข้าประจำการ ผมมักจะได้ยินคำว่า นาโต้มั่งหล่ะ อะไหล่มั่งหล่ะ การฝึกมั่งหล่ะ แต่มีข้อสังเกตุว่า ทร.มีเรือ ตรวจการณ์ แค่เรือ ต.น่ะกี่ลำ(ร่วม ร้อย) ส่วน ทบ.ของผม(ผมเหล่าราบครับ) มี ถ.ถึงหกแบบที่ประจำการใช้งานจริงในปัจจุบัน(อาจเป็นกองทัพเดียวในโลก) คือมี ถ.ของอังกฤษ อเมริกา จีน(แผนแบบของรัสเซีย)เพื่อนๆคิดตามทันไหมว่า แล้วมันใช้กันมาได้อย่างไร เมื่อนึกถึงคำกล่าวข้างต้น ใครมีภาพ ถ.ไทย หกแบบที่ว่า ผมขอความกรุณา นำมาแสดงเป็นวิทยาทานด้วยครับ ขอบคุณครับ
ถ้าดูในปัจจุบันจริงๆจะเห็นว่าประเทศที่เป็นสมาชิก NATO เองอย่างกรีซ หรือประเทศพัฒนมิตรใกล้ชิดของสหรัฐฯเช่นเกาหลีใต้นั้นก็มีการจัดหารถหุ้มเกราะและรถถังจากรัสเซียมาจำนวนหนึ่งครับคือกรีซจัดหารถรบทหารราบ BMP-3มาใช้ส่วนเกาหลีใต้ก็จัดหา BMP-3 และ ถ.หลัก T-80U จำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งสองประเทศก็มีรถถังและรถหุ้มเกราะจากหลายๆประเทศประจำการในกองทัพคล้ายกับไทยครับ(แต่กรีซจะใกล้เคียงกว่า) แต่ทั้งสองประเทศมีอุตสาหกรรมในการซ่อมบำรุงและผลิตรถถังและรถหุ้มเกราะได้เองในประเทศครับ
ยังมีหลายประเทศที่ยังคงประจำการด้วยรถถังและรถหุ้มเกราะรุ่นเก่าหลายแบบจากหลายประเทศคละกันอยู่ครับเนื่องจากปัญหาเรื่องบประมาณเช่นเดียวกับไทย ซึ่งหลายๆประเทศนั้นก็เลือกแนวทางในการปรับปรุงรถทีมีอยู่ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นครับ เช่นของ ทบ.เองก็เคยมีการประกวดโครงการปรับปรุง M41A3 มาแล้วครับ(หลักคือเปลี่ยน ย.เบนซิน เป็น ดีเซล) แต่ไม่ได้ทำต่อเพราะขาด งป.
ปัจจุบัน ทบ.มีรถถังแบบต่างๆประจำการอยู่คือ ถ.เบา M41A3, ถ.เบา Scorpion, ถ.หลัก M48A5, ถ.หลัก Type 69-II, ถ.หลัก M60A1และ A3 และ ถ.เบา Stingray ครับ
ซึ่งนอกจาก Type 69-II ซึ่งเป็น ถ.จีนแล้ว ถ.ที่เหลือทั้งหมดเป็นมาตรฐาน NATO ที่ใช้กระสุนปืนใหญ่,ปืนร่วมแกนและป้อมปืนร่วมกันได้ครับ ความเข้ากันได้ของระบบเครืองข่ายสื่อสารก็เป็นมาตรฐานเดียวกัน(เข้าใจว่านะครับ)
แต่ปัจจุบันจีนได้ดำเนินการปรับปรุง Type 69-II ของ ทบ.ในราคาพิเศษ โดยหลักๆคือการเปลี่ยน ปถ.จากเดิม 100มมเป็น 105มม.จีนซึ่งยิงกระสุนมาตรฐาน NATO 105มม.ซึ่งเป็นกระสุนหลักของ ถ.ไทยได้ ในส่วนเรื่องอาวุธร่วมต่างๆใน ถ.จีนอย่าง ปก.ร่วมแกน 7.62มม. และ ปก.12.7มม. ซึ่งเป็นแบบจีนนั้นถ้าจำไม่ผิดเราก็มีแหล่งจัดหากระสุนได้ลักษณะเดียวกับ ลูกจรวด RPG ที่เราจัดหาจากจีนครับ ซึ่งถ้าประสบผลจะทำให้ความพร้อมในการปฏิบัติการของ ถ.Type 69-II เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ไม่ค่อยน่าพอใจนักตั้งแต่เข้าประจำการได้ครับ
....อย่างรถถัง ที-69 II เราก็ได้นำเข้ามาประจำการเร่งด่วนในช่วง เวียดนามบุกเขมรและจะเข้าหาไทยด้วย น่ะครับ รวมถึงอาวุธอื่นๆอีกเช่น ปืนใหญ่ 130 ม.ม. รถหุ้มเกราะ ไทพ์85 ด้วยน่ะครับ ส่วนรถถังอื่นๆไม่ได้ปรับปรุงและปลดประจำการไปเลยมีมากเนี้ยล่ะ
....โดยหากงบประมาณยังไม่มีอยู่อย่างนี้ รถถังและรถหุ้มเกราะ ก็ยังคงประจำการไปอีกนานเท่านานล่ะครับ ถ้าจัดหารถถังใหม่ไม่ได้ ยังพอมีทางให้ปรับปรุงแบบที่อิสราเอลใช้อยู่ก็ได้ครับ เช่น เปลี่ยนปืน 105ม.ม. เป็น120 ม.ม. ในเอ็ม60 น่ะครับ
....หากเรา (สมมุติน่ะ) จัดหา ซีวี-90 จากสวีเดน หรือ รถถังหลักจากจีน หรือ รัสเซีย ในแง่ของมือหนึ่ง รถถังบ้านเราก็คงจะมากแบบไปอีกเยอะเลยล่ะครับ ผมยังมองไม่ออกเลยว่า หากไม่ใช่ ซีวี-90 ปืน 105หรือ 120 แล้ว รถถังหลักที่จะนำมาทดแทน เอ็ม-60 เอ็ม-48 โดยรถถังมือหนึ่งจาก ตะวันตกจะมีรุ่นไหนเข้ามาวิ่งในไทยได้ ติดตั้งแต่ น้ำหนัก จนถึงราคา ถึงจะมาตราฐานนาโต้ก็ตาม นอกจากรถถัง ตระกูล ที ทั้งหลายน่ะครับ ราคาและน้ำหนัก ได้ลุ้นอยู่หลายช่วงติดแค่อาวุธมาตราฐานนาโต้(อีกแล้ว) นั้นเอง
งงนิดนึงครับ ประเด็นของเรือ ต. ของ ทร. นี้ คือ อะไรครับ ยังไม่เห็นว่ามันจะเป็นปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของระบบอย่างไร
ง่วงนอน
อ้อพังเพราะผู้กองเรานี่เอง แต่จะอย่างไรเสีย ทหารไทยใจเกินร้อยอยู่แล้ว