ได้ยินว่าถ้ามีระบบ DataLink มาใช้ระหว่างทำการบินรบในอากาศจะช่วยให้ได้เปรียบ เลยอยากทราบประโยชน์ของการใช้ DataLink ครับ และขอถามต่อว่า เครื่องบินรบของไทย มีระบบ DataLink หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
F-16 MLU ของเนเธอร์แลนด์ เคยใช้ Datalink นี่แหละส่งข้อมูลหากันจนสอย MiG-29 ของยูโกสลาเวียตกใน Operation Allie Force ครับ
หลักการของ Datalink นั้นมันคือไอเดียของสงครามเครือข่าย (Network Centric Warfare) ที่เน้นการเชื่อมโยงการปฏิบัติการของแต่ละหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อลดความผิดพลาดในการโจมตีกันเอง (Blue On Blue: Friendy Fire) และเพิ่มประสิทธิภาพในการรบด้วยการใช้ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากหลาย ๆ หน่วยมาช่วยในการตัดสินใจหรือการดำเนินกลยุทธ์ครับ โดยข้อมูลที่ได้รับ จะเป็นข้อมูลในเวลาจริง (Real Time)
เช่นในกรณีนี้ ERIEYE หรือสถานีเรด้าร์ภาคพื้น ก็สามารถส่งข้อมูลเป้าหมายให้กับ Gripen ได้เลยทั้ง ๆ ที่ยังติดเครื่องอยู่บนพื้น เมื่อหมู่บิน Gripen ได้รับเครื่องก็สามารถบินเข้าหาเป้าหมายได้ โดยอาจจะเปิดเรด้าร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ส่วนเครื่องอื่นปิดเรด้าร์ซึ่งก็คือการใช้เทคนิคการพรางทางอิเล็กทรอนิค (Eelctronically Stealth ) นั่นเองครับ หมู่บินศัตรูก็จะตรวจพบสัญญาณเรด้าร์ของ Gripen เพียงเครื่องเดียว ในขณะที่เครื่องที่เปิดเรด้าร์สามารถจ่ายเป้าให้เครื่องอื่นเพื่อใช้อาวุธต่อเป้าหมายได้ครับ
ปล. ปัจจุบัน F-16ADF ของทอ.ก็มีระบบ Datalink ครับ แต่เป็น Datalink ขั้นพื้นฐานเท่านั้นครับ ประสิทธิภาพจะไม่เท่ากับระบบ Dtalink ในเครื่องบินรบสมัยใหม่ครับ
โทษทีครับคุณ Skyman แล้วไม่ทราบว่ารัศมีในการใช้งานของระบบ ดาต้าลิงค์ นี่ม้นได้กี่กิโลเมตรครับ รบกวนให้รายละเอียดทีครับ ขอบคุณครับ
^
^
^
ผมไม่ทราบตัวเลขที่แน่นอนครับ .... รออาจารย์รินลูกเดียว
แต่ถ้าปฏิบัติการไม่ไกลจากประเทศไทยนัก เราสามารถใช้ข่ายการป้องกันภัยทางอากาศของเรา (Royal Thai Air Defense System:RTAD) ช่วยในการรับส่งข้อมูลได้ครับ โดยข้อมูลสามารถวิ่งผ่าน RTAD ได้ ..... ละเอียดกว่านี้ ลำบากที่จะพิมพ์ รออาจารย์รินเหมือนเดิม
ปล. นาน ๆ อู้ที ...... กรุ๊ กรุ๊ กรุ๊
หน็อยตาโย ขี้เกียจเฉยๆ จะไม่ว่า เล่นโยนลูกกันอย่างงี้เลยรึ
เข้าเรื่องๆ
รัศมีการครอบคลุมของระบบ data-link ขึ้นอยู่กับเพดานบินของ บ.ที่ติดตั้งระบบ data-link และกำลังของตัวเครื่องส่งสัญญาณในระบบ data-link (หน่วยเป็น watt) ถ้าเพดานบินสูง กำลังส่งสูง ก็จะมีรัศมีครอบคลุมกว้าง (data-link ไม่ได้ต่างอะไรจาก wireless internet ที่เราใช้งานกันอยู่ ลองนึกดูนะครับ) โดยระบบ Tactical Information Data-Link System (TIDLS) ของ Gripen หรือ Link-16 TADIL-J ของ NATO (ติดตั้งกับ F-16 ได้) มีรัศมีครอบคลุมที่เพดานบินสูง (น่าจะราว 40,000 ฟุต) ประมาณ 250 ไมล์ หรือประมาณ 500 กิโลเมตรครับ
ทีนี้การใช้งานร่วมกับระบบ RTADS ก็คือ กรณีที่ผู้รับกับผู้ส่งอยู่ไกลกันเกิน 500 กิโลเมตร ถ้ามีสถานีภาคพื้น (ก็คือสถานีที่ติดตั้งเครื่องรับส่งสัญญาณ data-link นั่นเอง) อยู่ในระยะ 200 ไมล์ หรือ 400 กิโลเมตร (กรณีที่ บ. อยู่ในเพดานบินสูง ถ้าเพดานบินต่ำ จะต้องอยู่ใกล้สถานีภาคพื้นมากกว่านี้ เช่น อาจจะแค่ 100 ไมล์ หรือ 200 กิโลเมตร) ก็สามารถรับส่งข้อมูลผ่านสถานีได้ โดยสถานีนี้จะเชื่อมต่อกับระบบ RTADS ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ เชื่อมกันด้วยการสื่อสารระบบสัญญาณไมโครเวฟ หรือใยแก้วนำแสง หรือผ่านดาวเทียม (วิธีที่ 2 น่าจะดีที่สุด เพราะ เป็น land line) ข้อมูลก็จะถูกรับส่งผ่านระบบ RTADS ไปยังสถานีภาคพื้นอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งจะรับส่งข้อมูลกับ บ. ที่บินอยู่ในบริเวณใกล้เคียงต่ออีกทอดนึง
อย่างไรก็ดีขั้นตอนดังกล่าวยังยุ่งยากพอสมควร ขั้นตอนที่ง่ายกว่า คือ การใช้อากาศยานติดตั้งเครื่องรับส่งสัญญาณ data-link บินในเพดานบินสูง (มากกว่า 40,000 ฟุต) ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณ (signal relay) ซึ่งจะมีรัศมีครอบคลุมกว้างกว่าสถานีภาคพื้นมาก โดยมีรัศมีกว่า 400 ไมล์ หรือ 800 กิโลเมตรทีเดียว ปัจจุบัน ทอ.สหรัฐฯ ใช้วิธีนี้อยู่ โดยการติดตั้ง Link-16 terminal พร้อมเครื่องรับ GPS บน บ.เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-135R/T โดยมีออปชั่นการสื่อสารผ่านดาวเทียมด้วย โดยบน KC-135 จะมีวิทยุรับส่ง UHF SATCOM ติดตั้งพ่วงกับ Link-16 terminal อีกทีหนึ่ง (อุปกรณ์ทั้งหมด เรียกว่า ระบบ ROBE)
อ่าเสี่ยโยครับ ตอน Operation Allied Force นั้น F-16MLU ยังไม่ได้ติดตั้ง Link-16 เน้อ Link-16 มาพร้อมกับ software upgrade version M3 เริ่มใช้งานในปี 2003 ส่วน Operation Allied Force นั้น ปี 1999 จ๊ะ แหะๆๆ ตอนนั้นที่ F-16 ของ Dutch ยิง Mig-29 กระจายเป็นลูกไฟกลางอากาศนั้น เค้ารับ order มาจาก AWACS ผ่านทางวิทยุครับเสี่ย
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อมูลครับ
และขอถามเอาความรู้อีก 2 ข้อครับ
- F16 C รองรับระบบ DataLink ในตัวหรือปล่าวครับ หรือว่าต้อง Upgrad เพิ่มเติม..
-Data Link ของ Grippen อาศัยการเชื่อมโยงข้อมูลกับ ERIEYE หรือปล่าวครับ
ขอบคุณครับ
ถ้า F-16C/D ใหม่ สามารถติดตั้ง Link-16 terminal มาจากโรงงานได้เลยครับ แต่ถ้าเป็นของเดิมก็ใช้การติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไป โดย Link-16 terminal จะเข้าไปทดแทนอุปกรณ์นำร่อง TACAN/VOR/DME ที่มีอยู่เดิม (เนื่องจาก Link-16 terminal มี function ระบบนำร่องในตัวอยู่แล้ว)
ระบบ TIDLS เชื่อมต่อกับ บ.S100B ได้ครับ
แม้ทำเป้นลืม ฮ่าๆๆๆ เออผมจำได้มีใครเอามาลงนะ น่าจะเสี่ยละ ที่บอกระยะของการปรับปรุงและติดเรดาห์ของแต่ละเฟสนะ อันนั้นน่าจะดูภาพแล้วเข้าใจง่าย เนอะ เสี่ยขุดเลย ถึงแม่ไม่ใช่นายหน้า บข19 ก็ตาม
เหอะๆๆ ผมเซฟไว้แล้วดันอยู่กับฮาร์ดดิสอีกลูก เลยขี้เกียจเสียบอะ แบลๆๆ