เดิมทีผมคิดจะเก็บกระทู้นี้ไว้ดูคนเดียว เนื่องจากผม เสียดายโอกาสของประเทศไทยในการหารายได้เข้าประเทศ เสียดายโอกาสของกองทัพเรือในการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องการออกแบบ และต่อเรือ
ทำไมผมคิดแบบนี้ ถ้าได้ดูภาพจากลิ้งค์ที่ผมลงไว้จนครบทุกหน้า แล้วเปิดใจให้กว้าง (ผมเน้นอันนี้นะครับ) จะเห็นได้ว่าเรือตรวจการณ์ขนาดเล็ก (ไม่เกิน 100 ตัน) และเรือตรวจการณ์ขนาดกลาง (ไม่เกิน 500 ตัน) ที่เราต่อใช้เองในเมืองไทย ทั้งโดยกรมอู่ฯ หรือ บริษัทเอกชนก็แล้วแต่
- เรือ ต. 91 - 99
- เรือ ต. 991
- เรือ ต. 213
- เรือชุดสัตหีบ
- เรือชุดหัวหิน
สามารถนำเสนอขายแก่กองทัพเรือประเทศที่ยังมีองค์ความรู้เรื่องการต่อเรือสู้เราไม่ได้อย่างสบายๆ
แต่อาจจะมีคนแย้งว่า ติดขัดในเรื่องของกฎหมายรัฐธรรมมนูญ
แต่ถ้าเราขายแต่ตัวเรือพร้อมอุปกรณ์ล่ะ แล้วไปติดตั้งระบบอาวุธที่ประเทศลูกค้า ก็พอที่จะเป็นช่องทางหาเงินเข้าประเทศได้เยอะทีเดียว
อย่างในกลุ่มอาเซียน ผมดูแล้วเราสามารถเสนอขายให้กองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ ถ้าคิดจะทำ
ก็แค่ทำโฆษณาในแผ่น ดีวีดี ส่งให้ผู้ช่วทูตทหารเรือนำเสนอ ก็น่าจะดีไม่น้อย
อยากอ่านความคิดเห็นของสมาชิกท่านอื่น
http://www.militaryphotos.net/forums/showthread.php?t=128802
ภาพเรือตรวจการณ์ของกองทัพเรือ โตโก
กองทัพเรือบรูไน ยังไม่พร้อมจะออกสู่ บลูเนวี่ เรือ ต. 991 นี่น่าจะเหมาะในการนำเสนอ
เรือยนต์เร็วโจมตีอาวุธนำวิถีของบรูไน
แถมภาพเรือของเพื่อนบ้าน กัมพูชา ให้ดูแก้เซ็ง....
ยังไงเสียเราก็มีอู่ต่อน่ะครับแต่ว่า นักธุรกิจไทยร้อยละ 75
ชอบขายของในประเทศมากกว่า ถ้าออกนอกประเทศ
ก็โดนลมพัดตกลงเหวแล้ว เพราะเหตุใด
เราไม่มีเทคโนโลยีที่พอสนับสนุนการต่อเรือให้มั่นคงถาวรได้
เอาง่ายๆคู่แข่งในเอเชีย
ญี่ปุ่น
สิงคโปร์
เกาหลีใต้
จีน
เวียดนาม
อินเดีย
พวกนี้สามารถต่อเรือได้จากเล็กจนถึงใหญ่ เพราะรัฐบาลสนับสนุน
เต็มขั้น
และ พาณิชย์นาวี แข็งแกร่ง กว่ากองเรือไทยในปัจจุบัน
จากข้อความของคุณนิติภูมิลงไว้ว่า จากร้อยเปอร์เซ็นต์กองเรือที่ทำการส่งออกให้ไทยและนำเข้าให้ไทย
เรามีแค่ร้อยละสาม เท่านั้นที่กอง เดินเรือโดยสัญชาติไทย
นอกนั้นต่างประเทศ ทั้งๆที่ไทยเรามีอัตราการเจริญเติบโตในการ
ส่งออกถึงมากและมากที่สุด จำเลขไม่ได้
อีกทั้งอุตสาหกรรมสนับสนุนเช่นเหล็กกล้า เราต้องนำเข้าวัตถุดิบเหล็กจากต่างประเทศ เช่น จีน ประเทศในเอเชียกลางถึงร้อยเปอร์เซ็นต์
พอ บริษัท สหวิริยา จะจัดสร้างโรงหล่อเหล็กกล้าที่ ประจวบคีรีขันต์
ก็โดนประท้วงอย่างรุนแรง จนมีข่าวอย่างที่เห็น
แล้วคุณพี่คิดว่าเราจะทำอย่างไรต่อไปกับกระแสต่างๆที่ทำธุรกิจการเดินเรือไทยง่อยรับประทาน
ไม่ต้องพูดถึงเรือรบ เราก็เงียบละ
วิศวกรไทยจบออกมา ร้อยละ 50 ไม่ได้ทำงานตามที่เรียนมา หรือตรง
สายการเรียน มักจะออกไปเป็นเซลแมน ได้เงินเยอะกว่าเยอะครับ
งานก็ง่ายด้วยไม่ลำบาก
จะไม่พูดกรณีเรือจีน ที่ส่งไปให้ประเทศข้างบ้านเราและประเทศแถบแอฟริกาแบบให้เปล่าครับ เนื่องจากเป็นการให้เพื่อหวังผลด้านการเมืองและการค้า
แต่ถ้าพูดเรื่องการตอเรือในไทยนั้น หลักสำคัญคือ โรงงานวัสดุต้นน้ำ อย่าง เหล็กกล้า ,หรือวัสดุผสม ซึ่งไทย ไม่มีกำลังพอครับ
ยกตย.กรณีโรงถลุงเหล็กต้นน้ำของรัฐบาลทักกี้ แล้วชาวบ้านออกมาต่อต้าน ทำให้ไทยเสียโอกาสผู้นำด้านการถลุงและส่งออกเหล็กกล้าในแถบอาเซียนครับ
ฝ่ายค้านเค้าว่าเอาเหล็กจากที่อื่น ขนใส่เรือ มาถลุง มันไม่เป็นการสิ้นเปลืองไปหน่อยเหรอ
แต่จริงๆแล้ว โรงงานถลุงอลูมิเนียมขนาดใหญ่ของประเทศไอซ์แลนด์นั้น ใช้เเร่บอกไซด์จากแถบทวีปเอเชียเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งหลังจากถลุงแร่อลูมิเนียมแล้ว ก็ส่งออกไปทางยุโรปนำรายได้เข้าประเทศปีละมหาศาล (และที่สำคัญโรงงานเหล่านี้ตั้งอยู่ใกล้เขตอุทยานแห่งชาติของไอซ์แลนด์มาก ทำไมเค้าถึงไม่เดือดร้อนหว่า )
หรือวัสดุคอมโพสิทสมัยใหม่ อย่างคาร์บอนไฟเบอร์ ส่วนของตัวไยคาร์บอนนั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
อยากได้เรือ หรือ เครื่องบินต้องสร้างโรงงานต้นน้ำเหล่านี้ก่อนครับ
เห็นด้วยครับ จากงานต่อเรือุดต.991 แล้วประทับใจมากกว่าเรือจีนที่เขมรต่อมาจากจีนแดงมาก เราไม่จำเป็นต้องไปสู้เรื่องราคาก็ได้นี่ครับ ขอให้งานต่อมีคุณภาพดี ส่วนราคาต่อเรือบ้านเราก็แพงกว่าจีนไม่มากและถูกกว่าเกาหลี ผมว่าราคาขนาดนี้ถ้าเราทำสินค้าได้มีคุณภาพแบที่อู่ในเกาหลีทำได้ รับรองว่าตีตลาดโลกได้แน่ๆ เพราะเรือต่อจากเกาหลีแพงกว่าจีนพอสมควรแต่ทำไมขายออกดีที่สุดในโลกขณะนี้ล่ะครับ คำตอบคือคุณภาพงานต่อที่ดีระดับโลก แต่ราคาระดับท้องถิ่น งานของเกาหลีกับของจีนนั้นคนละชั้นกันเลย
ส่วนโรงงานเหล็กต้นน้ำต้องรอนิดนึงแวล่ะครับ น่าจะภายใน 10 ปี (เร็วแล้วนะครับสำหรับอุตสาหกรรมพื้นฐาน) เพราะ TSTH ได้วางแผนขยายโรงงานถลุงเหล็กเฟส 2 แล้วเป็นขนาด 5 ล้านตัน กะว่าเสร็จเอาตอนที่สหวิริยาสตีลเพิ่งจะตอกเสาเข็มโรงงานแรกได้ ปัจจุบันเราต้องการใช้งานเหล็กดิบประมาณ 13-14 ล้านตันต่อปี ถ้ารวมของทั้ง TSTH(เฟส2) และ SSI(เฟส 1) เราก็มีกำลังการผลิต 10 ล้านตันในเวลา 2-3 ปีข้างหน้านี้แล้วครับ ดังนั้นอีกไม่เกิน 10 ปีเหล็กต้นน้ำจะมีกำลังการผลิตระดับส่งออกได้เลย หลังจากเหล็กแบบพื้นฐานผลิตจนพอเพียงและส่งออกได้แล้ว ต่อไปเหล็กเกรดต่างๆก็น่าจะเริ่มสายการผลิตได้แน่นอนครับ แต่อาจจะนานหน่อยคือ กว่า 10-15 ปี
ส่วนโรงงานถลุงอลูมิเนียมนั้น ประเทศเราเปิดสายการผลิตอลูมิเนียมไปแล้ว เท่าที่จะได้รู้สึกว่าบ.ร่วมทุนญี่ปุ่นขอสิทธิ BOI ในการผลิต และใช้แก๊สในการผลิตด้วย ซึ่งต้นทุนต่ำกว่าปกติมากกว่า 30% ทำให้เรามีอลูมิเนียมราคาถูกใช้แล้วครับ แต่ผมต้องขอโทษที่จำรายละเอียดของบริษัทและกำลังการผลิตไม่ได้เพราะว่าอ่านผ่านตาในหนังสือพิมพ์ธุรกิจ และไม่แน่ใจว่าโรงงานนี้ได้ขยายขีดความสามารถในการทำอลูมิเนียมผสมแบบต่างๆด้วยหรือไม่
ใจเย็นๆครับ อุตสาหกรรมพื้นฐานเหล่านี้กำลังอยู่ในช่วงก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาแล้วครับ
เรือชั้นแรกที่น่าจะทำการตลาดได้มากที่สุดก็คือ เรือชั้นต.991 และ OPV ขนาด 80 เมตรลำใหม่ที่กำลังออกแบบต่อลงน้ำ เพราะเรือ 2 ชั้นนี้เน้นงานคุณภาพเพื่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นงานต่อจึงเนี๊ยบเท่าที่เราจะทำได้ ถ้ารัฐสนับสนุนต่อเรือ OPV ชั้นนี้อีกสัก 4-6 ลำ รับรองว่าขายต่างชาติออกแน่ เพราะระวางน่าอยู่ราวๆ 1000-1200 ตัน ซึ่งอยู่ในระดับเรือคอร์เวตแล้ว อืมมมมน่าเจาะตลาดต่างประเทศจริงๆ ราคา 2000 ล้าน กับเรือระดับคอร์เวต ถือว่าถูกมากครับ เพาะเรือขนาดราวๆนี้ต่อจากตะวันตก อย่างน้อยก็ 5000 - 8000 ล้านบาทเข้าไปแล้ว
ปัจจุบันมีกองทัพเรือและหน่วยงานทางราชการของหลายๆประเทศที่มีความต้องการจะจัดหาเรือขนาดเล็กถึงขนาดกลางๆระวางขับน้ำไม่มากไปกว่า 1,000-1,500ตัน เพื่อใช้ในภารกิจตรวจการณ์ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะไกลฝั่งครับ (อย่างไรก็ตามเรือพวกนี้มักจะเป็นเรือที่ต่อตามมาตรฐานเรือพาณิชย์ ซึ่งมีคุณสมบัติไม่เท่ากับเรือที่ต่อตามมาตรฐานทางทหารเช่นเรือ Corvette จริงๆอยู่ดีครับ)
ถึงแม้ว่าบางประเทศจะมีขีดความสามารถในการต่อเรือขนาดนี้ได้เองในประเทศ แต่บางประเทศก็ยังทำไม่ได้หรือมีTechnology ไม่พอครับ ถ้าไทยเราสามารถทำการตลาดเจาะประเทศที่มีความต้องการเหล่านี้ได้ก็จะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมเรือไทยครับ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักครับถ้ามองว่ามีประเทศอุตสาหกรรมหลายๆประเทศที่มีประสบการณ์และ Technology สูงกว่าเราและมีช่องทางการตลาดนานและดีกว่าเราครับ