แปลตรง ๆ ได้ว่า หมาไล่กัดกันครับ
คือเครื่องบินรบสมัยแรก ๆ จนถึงเจ็ตไฟเตอร์ยุคสงครามเวียดนาม เวลาจะยิงกัน มักจะต้องหาทางเข้าไปอยู่ในตำแหน่งยิงที่ท้าย บ. เป้าหมาย เพื่อให้การใช้อาวุธเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำ คือมีแต่ปืนกับศูนย์เล็ง ระยะยิงก็สั้น ความเร็วก็ไม่แตกต่างกัน ภาพการรบจึงเป็นไปในลักษณะที่แต่ละฝ่ายบินไล่ล่ากันด้วยท่าบินต่าง ๆ ดูคล้ายหมาไล่กัดกันนั้นแล
ต่อเนื่องมาถึงยุคเจ็ตในปัจจุบัน หากไม่มีระบบควบคุมการยิงดี ๆ บวกกับ จรวดนำวิถีระยะสั้นถึงปานกลางนำวิถีด้วยความร้อนที่มีความสามารถในการตรวจจับและล๊อคเป้าเป็นมุมกว้าง ๆ ได้ อย่าง ไซด์ไวน์เดอร์-เอ็กซ์ หรือ แอสแรม ฯลฯ จะยิงจรวดทีหนึ่งก็ต้องหาทางเข้าไปยิงทางด้านท้ายของ บ. เป้าเหมือนกัน เพราะแห่งความร้อนใหญ่ที่สุดก็คือท่อท้ายนั่นเอง หรือไม่ตอนบินสวนกัน (ซึ่งไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก)
หนัง Top Gun, Battle of Britain, Dark Blue World น่าจะทำให้เข้าใจความหมายของการ Dog Fight ได้ดีนะครับ
นึกได้เท่านี้แหละครับ
ในช่วงยุคปี1950s-1960s ซึ่งเป็นยุคที่ บ.ขับไล่ Jet นั้นมีการพัฒนาไปมาก มีบ.ขับไล่ที่สร้างออกมาในยุคนั้นหลายลำที่ไม่ติดปืนครับ เช่น F-86D Saber Dog ซึ่งใช้จรวดอากาศสู้อากาศพับครีบ(ไทยเคยมีประจำการในช่วงสั้น) บ.หลายแบบใน Series 100 เช่น F-102 หรือแม้แต่ F-4 Phantom II รุ่นแรกๆ ก็ไม่ติดปืนครับเพราะตอนนั้นเชื่อว่าการรบสมัยใหม่จะเป็นการใช้ Radar กับอาวุธปล่อยระยะไกล
แต่ในการรบจริงๆในเวียตนามนั้นผลปรากฏว่ายังจำเป็นต้องมีการใช้ปืนยิงกันอยู่ดีครับ(เช่นความน่าเชื่อถือของอาวุธปล่อยหรือกลยุทธของฝ่ายตรงข้าม) บ.ขับไล่จึงยังคงติดปืนใหญ่อากาศอยู่ครับ
ขำคำแปลตรงๆ
ก็มันมีความหมายเปรียบเทียบแบบนั้นจริงๆ
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็มี กระสุนหมดก็แทบจะเอาปืนปาหัวกันเลยล่ะ จึงต้องบินใกล้ๆ
สมัยก่อนก่อนที่จะเอาเครื่องบินมาตีกัน ชาติที่เป็นศัตรูส่งบ.ขึ้นตรวจการณ์ เมื่อพบก็จะโบกมือทักทายกัน แต่ฝั่งเสศกลายเป็นชาติแรกที่ทักทายกันด้วยลูกปืน