หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


จับกระแสข่าวโครงการ F-16 MLU ของ ทอ.

โดยคุณ : rinsc seaver เมื่อวันที่ : 19/03/2008 11:44:50

         ช่วงหลังๆ นี้มีข่าวออกมาให้เห็นเป็นระยะๆ สำหรับโครงการปรับปรุง F-16A/B ให้มีขีดความสามารถในการรบสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า โครงการ MLU นั่นเอง ที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญกับข่าวการจัดหา บข.20 กันมาก ซึ่งสุดท้ายแล้วผลก็ออกมาว่าเป็น JAS-39C/D Gripen แต่เราต้องไม่ลืมว่ากำลังรบในส่วนของ บ.ขับไล่หลัก ของ ทอ. ก็ยังคงเป็น F-16A/B จำนวนกว่า 59 เครื่องอยู่เหมือนเดิม (เทียบกับจำนวน Gripen ที่จัดซื้อเพียง 6 เครื่อง ในล็อตแรก และอีก 6 เครื่อง ในล็อตที่สอง จำนวนรวมเพียง 12 เครื่อง เท่านั้น) ตามแผนของ ทอ. F-16 จะยังคงประจำการต่อไปอีกอย่างน้อย 20 ปี โดยคาดว่า F-16 ฝูง 102 จะปลดประจำการในราวปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ.2022) ฝูง 103 ในปี พ.ศ. 2571 (ค.ศ.2028) และฝูง 403 ในปี พ.ศ. 2577 (ค.ศ.2034) ซึ่งปัจจุบัน ทอ. อยู่ระหว่างการนำ F-16 ฝูง 103 (ไม่รวมเครื่องที่รับมอบจากสิงคโปร์) เข้ารับการปรับปรุงตามโครงการ Falcon up/STAR เพื่อยืดอายุโครงสร้างให้ใช้งานต่อไปได้อีก 4,000 ชั่วโมงบิน และคาดว่าคงจะตามด้วย F-16 ของฝูง 403 ต่อไปในอนาคต แต่โครงการปรับปรุง Falcon up/STAR เป็นการปรับปรุงในส่วนของโครงสร้างเท่านั้น ไม่ได้ทำให้ขีดความสามารถในการรบสูงขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อให้ F-16 ของ ทอ. ยังคงพร้อมสำหรับการปฏิบัติภารกิจในอนาคต ในภาวะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีการพัฒนากำลังรบให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ทอ.จึงจำเป็นต้องนำ F-16 ทั้งหมด เข้าสู่การปรับปรุงตามโครงการ MLU ซึ่งนอกจากจะทำให้ F-16 มีความทันสมัยมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้กองกำลัง F-16 ของ ทอ. ทั้งหมด มีมาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เหมือนกัน (หรือคล้ายคลึงกันให้มากที่สุด กรณีที่ออปชั่นการปรับปรุงแต่ละฝูงไม่เท่ากัน) อันจะช่วยลดภาระด้านการซ่อมบำรุงและการสำรองอะไหล่ลงได้พอสมควร เรามาดูกันว่าโครงการ MLU ของ F-16 นั้นจะมีการปรับปรุงอะไรบ้าง และจะมีความทันสมัยซักเพียงใด ลองติดตามกันได้ครับ





ความคิดเห็นที่ 1


1. คอมพิวเตอร์ภารกิจ (Modular Mission Computer; MMC)

                MMC เป็นหัวใจในการเชื่อมต่อระบบต่างๆ ภายในเครื่องเอาไว้ด้วยกันไม่ว่าจะเป็นระบบตรวจจับ, ระบบอาวุธ, ระบบป้องกันตัวเอง, ระบบนำร่อง, ระบบสื่อสาร ฯลฯ MMC มีพื้นฐานมาจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับ F-22A ทำให้รองรับระบบใหม่ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ทั้งหมด โดยจะเข้าไปแทนที่อุปกรณ์เดิมใน F-16A/B 3 ชิ้น คือ คอมพิวเตอร์ควบคุมการยิง (Fire Control Computer; FCC), ระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับจอ HUD (HUD Electronic Unit; HUDEU) และระบบจัดการและควบคุมการเชื่อมต่ออาวุธ (Store Management System Control Interface Unit; SMSCIU) โดย HUDEU ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏบนจอ HUD ส่วน SMSCIU ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างอาวุธและอุปกรณ์ เช่น กระเปาะตรวจจับและชี้เป้า, กระเปาะนำร่อง ที่ติดตั้งตามจุดติดอาวุธภายนอกใต้ลำตัวและใต้ปีกต่าง กับ FCC และ HUDEU โดยแสดงผลบนจอ SMS (ด้านซ้ายของนักบิน) MMC จะช่วยประหยัดพื้นที่ในลำตัว เนื่องจากมีขนาดเล็กลง (เมื่อเทียบกับอุปกรณ์เดิม 3 ชิ้นรวมกัน) มีน้ำหนักน้อยลง และประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น สามารถอัพเกรดได้ง่ายกว่าเดิม

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 14/03/2008 07:12:11


ความคิดเห็นที่ 2


2. ระบบตรวจจับ ประกอบด้วย

  • เรดาร์ควบคุมการยิงใหม่ พร้อมกับ data-link ของอาวุธนำวิถี AIM-120 AMRAAM เพื่อให้สามารถใช้งานอาวุธนำวิถี AMRAAM ได้ (โดยสามารถควบคุมการยิง AMRAAM ได้ 6 ลูก ต่อเป้าหมาย 6 เป้าพร้อมกัน) ซึ่งอาจจะเป็นเรดาร์ APG-66(V)2 หรือจะเป็นรุ่นล่าสุดอย่าง APG-68(V)9 เลยก็ได้ ซึ่งอันหลังนี้จะเทียบเท่ากับเรดาร์ของ F-16C/D block50/52 plus และ F-16I พร้อมทั้งมีโหมด SAR (Synthetic Aperture Radar) เพื่อสร้างภาพเป้าหมายพื้นดินอย่างละเอียดอีกด้วย อย่างไรก็ดีเรดาร์รุ่นนี้ก็ยังเป็นแบบ mechanically scanned array อยู่ ไม่ใช่เรดาร์ AESA เหมือน APG-80 ใน F-16E/F
  • ระบบพิสูจน์ฝ่าย APX-113 Advanced IFF ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เมื่อจะทำการรบทางอากาศในระยะ BVR
  • การติดตั้งระบบเชื่อมต่อเพื่อรองรับการติดตั้งกระเปาะตรวจจับและชี้เป้ายุคที่ 3 อย่าง Sniper XR/Pantera pod หรือ Lightning AT pod โดยกระเปาะเหล่านี้จะเข้ามาทดแทน ATLIS II pod และ Rubis pod ที่ ทอ. มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะมีขีดความสามารถสูงกว่ามาก โดยเฉพาะระยะตรวจจับและชี้เป้าที่สามารถใช้งานได้จากระดับเพดานบินปานกลางขึ้นไป รวมทั้งใช้งานร่วมกับระบบนำวิถี GPS ได้ด้วย อีกทั้งยังมีออปชั่น data-link เพื่อส่งภาพเป้าหมายกลับลงมายังพื้นดินอีกด้วย
  • การติดตั้งระบบเชื่อมต่อเพื่อรองรับการติดตั้งกระเปาะลาดตระเวนทางอากาศได้หลายรุ่น ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่ ทอ. ไม่มีอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ ภารกิจลาดตระเวนทางอากาศยุทธวิธีนั่นเอง
โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 14/03/2008 07:13:21


ความคิดเห็นที่ 3


3. ระบบป้องกันตัวเอง ประกอบด้วย

  • ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบรวมการ ALQ-211 EWMS (Electronic Warfare Management System) เป็นหัวใจของระบบป้องกันตัวเอง โดยทำการเชื่อมต่อและควบคุมการทำงานระบบป้องกันตัวอื่นๆ ทำงานอย่างอัตโนมัติ และให้คำแนะนำนักบินในการทำการบินหลบหลีก พร้อมออปชั่นสัญญาณเตือนภัยด้วยเสียงพูด
  • ปรับปรุงระบบ ALR-69 RWR (Radar Warning Receiver) เป็นรุ่นใหม่ หรืออาจจะติดตั้งระบบ ALR-56M รุ่นล่าสุดก็ได้ ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของ F-16A/B block20 และ F-16C/D ตั้งแต่ block50/52 ขึ้นไป
  • ระบบปล่อยเป้าลวง ควบคุมการทำงานแบบดิจิตอล ALE-47 ACMDS (Advanced Counter-Measure Dispensing System) รองรับชาฟฟ์และแฟลร์รุ่นใหม่ๆ ได้ทั้งหมด
  • เป้าลวงลากท้ายแบบ ALE-50 AETD (Advanced Expendable Towed Decoy) โดยติดตั้งกับไพลอนปลายปีก
  • กระเปาะ ECM ALQ-131 รุ่นปรับปรุง หรือกระเปาะ ECM รุ่นใหม่ ALQ-184 ซึ่งอันหลังสามารถติดตั้งเป้าลวงลากท้ายแบบ ALE-50 ได้ด้วย อย่างไรก็ดี F-16MLU ไม่สามารถติดตั้งระบบ ECM ภายในลำตัวได้ เนื่องจากบริเวณโคนแพนหางดิ่งไม่ได้มีการเผื่อพื้นที่เอาไว้เหมือนกับใน F-16C/D
  • ระบบแจ้งเตือนทิศทางของอาวุธนำวิถีที่ถูกยิงเข้ามา (Missile Approach Warning System; MAWS) แบบ AAR-60(V)2 MIDS-F (Missile Launch Detection System-Fighter) ซึ่งใช้ระบบตรวจจับแบบ UV ติดตั้งที่ไพลอนใต้ปีก สามารถตรวจจับการยิงอาวุธนำวิถีโดยเฉพาะอาวุธนำวิถีด้วยอินฟราเรดได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันใช้งานอยู่กับ F-16AM/BM ของเดนมาร์ค หรืออาจเป็นระบบ AAR-57 Common Missile Warning System (CMWS) ก็ได้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันมีใช้งานกับ F-16C/D ของสหรัฐฯ
  • ออปชั่นในอนาคต สามารถติดตั้งระบบเตือนภัยเมื่อถูกตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์ หรือ LWR (Laser Warning Receiver) และระบบมาตรการต่อต้านอาวุธนำวิถีด้วยอินฟราเรด หรือ DIRCM (Directional Infrared Countermeasure) ได้
โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 14/03/2008 07:14:37


ความคิดเห็นที่ 4


4. ห้องนักบินและระบบนำร่อง เทียบเท่า F-16C/D block50/52 ประกอบด้วย

  • จอภาพ HUD แบบมุมกว้าง พร้อมอุปกรณ์บันทึกข้อมูล
  • จอภาพสี multi-function (MFD) ขนาด 4x4 นิ้ว 2 จอ แทนที่จอเรดาร์และจอ SMS เดิม สามารถเลือกแสดงผลได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลเรดาร์, ภาพจากระบบนำวิถีของอาวุธ, ภาพจากกระเปาะตรวจจับและชี้เป้า, ข้อมูลจากระบบ data-link เป็นต้น ทำให้ใช้งานได้ครอบคลุมมากกว่าระบบเดิม
  • แผงสวิทช์ควบคุมแบบรวมการ หรือ ICP (Integrated Control Panel) และจอแสดงผล DED (Data Entry Display)
  • คันบังคับและคันเร่งแบบ HOTAS (Hand-On Throttle And Stick)
  • หมวกนักบินติดจอภาพ JHMSC (Joint Helmet Mounted Cueing System) เพื่อใช้งานร่วมกับอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศระยะใกล้รุ่นใหม่ ที่มีมุมในการตรวจจับเป้าหมายกว้างมาก หรือ HOBS (High Off-Bore Sight)
  • ระบบแสงไฟในห้องนักบินที่ใช้งานร่วมกับแว่นมองกลางคืนได้ หรือ NVIS (Night Vision Imaging System)
  • แว่นมองกลางคืน AN/AVS-9 NVG (Night Vision Goggle)
  • แผงสวิทช์ควบคุมระบบ EWMS ซึ่งจะทดแทนแผงควบคุมระบบป้องกันตัวเองเดิมที่กระจายอยู่ในตำแหน่งต่างๆ อย่างน้อย 4 แผง ทำให้ใช้งานได้ยาก
  • จอภาพสีแสดงภัยคุกคาม ATD (Advanced Threat Display) เชื่อมต่อกับระบบ EWMS ทดแทนจอภาพ RWR เดิม
  • เครื่องรับ GPS
  • ระบบนำร่องสำหรับการบินเกาะภูมิประเทศ DTS (Digital Terrain System)
โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 14/03/2008 07:16:10


ความคิดเห็นที่ 5


5. ระบบสื่อสารและรับส่งข้อมูล ประกอบด้วย

  • วิทยุสื่อสารเข้ารหัส ARC-210 HAVE QUICK II สำหรับใช้ในการสั่งการในภารกิจขับไล่สกัดกั้น และอื่นๆ
  • ระบบ data-link แบบ Link-16/TADIL-J MIDS-LVT (Multi-functional Information Distribution System-Low Volume Terminal) โดย data-link ตัวนี้น่าจะเป็นออปชั่นที่ ทอ. ให้ความสนใจ เนื่องจากทำให้สามารถเชื่อมต่อ F-16MLU เข้ากับระบบ RTADS, บ.ควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ (AWACS) S-100B Argus ติดเรดาร์อีริอาย และ บ.ขับไล่ JAS-39C/D Gripen ที่จะเข้าประจำการในอนาคตอันใกล้นี้ รวมทั้งระบบอาวุธอื่นๆ ในอนาคต เพื่อการนำ ทอ. ไปสู่ digital airforce ตามนโยบายที่วางไว้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการรับรู้ต่อสถานการณ์ภายนอก (situational awareness) ของนักบิน โดย data-link จะแสดงข้อมูลตำแหน่งอากาศยานฝ่ายเดียวกันและฝ่ายตรงข้าม และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น บนจอ MFD หรือเรียกว่า god’s eye view นั่นเอง
  • ระบบ data-link แบบ ATHS (Automatic Target Handoff System) ซึ่งจะส่งข้อมูลตำแหน่งเป้าที่ทหารบนพื้นดินหรือผู้ควบคุมอากาศยานหน้า (FAC) กำหนดให้ มาแสดงบนจอ HUD โดยตรง เพื่อความถูกต้องของเป้าหมายที่จะโจมตีในภารกิจสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด หรือการขัดขวางทางอากาศในพื้นที่การรบ (CAS/BAI) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการโจมตีฝ่ายตรงข้าม และลดความเสี่ยงในการโจมตีพวกเดียวกันเอง (friendly-fire)
  • ระบบ data-link แบบ IDM (Improved Data Modem) ซึ่งทำงานคล้ายๆ กับระบบ ATHS
โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 14/03/2008 07:17:38


ความคิดเห็นที่ 6


6. ระบบอาวุธ

                จะเป็นการติดตั้งระบบ MIL-STD-1760 weapon bus โดยเชื่อมต่อระหว่าง MMC กับจุดติดอาวุธ เพื่อให้สามารถใช้งานอาวุธรุ่นใหม่ได้ เช่น อาวุธนำวิถี AIM-120, AIM-9X และอาวุธนำวิถีด้วย GPS แบบต่างๆ อย่างไรก็ดีไม่ใช่ว่าการติดตั้ง weapon bus แล้วจะใช้งานอาวุธเหล่านี้ได้ทันที ทอ. จำเป็นจะต้องมี source code สำหรับป้อนเข้าไปใน MMC ก่อน เพื่อให้ MMC รู้จักและควบคุมการใช้งานอาวุธดังกล่าวได้

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 14/03/2008 07:18:18


ความคิดเห็นที่ 7


ทั้งหมดเป็นการปรับปรุงที่ถือว่า full-option มาก ทั้งนี้คาดว่าด้วย งบฯ ที่จำกัด ทอ. คงไม่ทำการปรับปรุงทั้งหมด โดยคงจะตัดระบบบางส่วนออกไปบ้าง เช่น ระบบ MAWS เป้าลวง AETD ระบบ data-link ATHS และ IDM เป็นต้น หรืออาจจะมากกว่านี้ ซึ่งระบบเหล่านี้หากต้องการสามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้ในอนาคตโดยไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด คือ ไม่จำเป็นต้องทำการรื้อเครื่องบินใหม่หมดทั้งลำ 

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 14/03/2008 07:24:18


ความคิดเห็นที่ 8


วันนี้จบเพียงเท่านี้ วิจารณ์ได้เต็มที่ครับ สุดท้ายต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้จัดหารูปประกอบให้ครับ
โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 14/03/2008 07:25:49


ความคิดเห็นที่ 9


พึ่งสังเกตว่าระยะเวลาปลดประจำการของ F-16 แต่ละฝูง มีความถี่พอเหมาะพอดีเป๊ะๆ ช่วงละ 6 ปี ซึ่งเพียงพอสำหรับจัดหา บ.ขับไล่ใหม่ๆ ได้พอดีฝูงนึงเหมือนกัน (ถ้ามีเงินนะครับ)

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 14/03/2008 07:34:32


ความคิดเห็นที่ 10


งงอย่างเดียวจะหางบประมาณที่ไหนมา

จัดซื้อ เครื่องบินรบ ใหม่เนี่ย ถ้าปลดประจำการ

ต้องเก็บ Vat 10 %

และตามด้วยภาษี บุคคลธรรมดาจาก อาจจะเหลือหมื่นบาทต่อเดือนก็ได้นะ ฮ่าๆๆๆๆ

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 14/03/2008 08:13:26


ความคิดเห็นที่ 11


ถ้าทำแบบ full  ก็น่าสนใจและ ดูน่าเกรงขามขึ้นนะครับ

ว่าแต่ชุดที่บอกมา เบ็ดเสร็จ กี่อัฐ ละครับ
โดยคุณ แมวบิน เมื่อวันที่ 14/03/2008 08:43:32


ความคิดเห็นที่ 12


ขอบคุณสำหรับข้อมูลของอาจารย์รินฯ ณ ม. รังสิต ครับ แม่นยำแน่นปึกอ่านเข้าใจง่ายเหมือนเดิม

เสียอย่างเดียว ขาดส่งรายงาน (ในบอร์ด) บ่อย ๆ มิตรรักแฟนเพลงรอกันตรึม...

ท.อ. มีแผนจะลากไวเปอร์ไปอีก 20 ปี จริงครับ โดยต้องอัพต้องม๊อดกันเป็นระยะแบบทยอยกันไป ไม่ได้ทำรวดทีเดียวทั้งหมด (เงินน้อย) เรื่องงบประมาณก็ต้องทำโครงการขอกันไป ได้ก็ทำ ไม่ได้ก็ชะลอไปก่อน (มันก็ต้องได้สักวันละน่า) เป็นปรกติของประเทศเราครับ

เชื่อว่าเราจะมีไวเปอร์ที่หล่อเริดไม่แพ้ชาวบ้านเค้า...ก่อนปลดแน่นอนครับ...ฮะๆๆๆๆๆ

เพิ่มเติมนิดหนึ่ง ที่อัพกันอยู่ตอนนี้ที่โคราช มีไวรริ่งเดินสายไฟกันใหม่ให้ไวเปอร์ด้วยครับ นอกเหนือจากปรับปรุงโครงสร้าง

ถัดไปก็โครงการอัพ บ. มัสแตงของ ร.ร. การบิน โดยจะทำกันที่กำแพงแสนเลย

ทำไมไม่เอาไปทำกันที่ ทีเอไอ ที่ตาคลีนะ แปลกจริงหนอ...

 

 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 14/03/2008 09:20:13


ความคิดเห็นที่ 13


คงยากมากครับถ้าจะได้แบบ Full Option

ถ้า ..... การวิเคราะห์ของพวกเราที่ผ่านมานั้นถูกต้อง ทอ.จะมีงบประมาณใช้จ่ายในการทำ MLU นี้ราว 10 ล้านเหรียญต่อลำ (คิดในอัตรา 31 THB per 1 USD)

10 ล้าน ... เรด้าร์, Datalink, MMC, IFF, Pod ต่าง ๆ, HMD, กับอะไรโน่นนิดนี่หน่อย เผลอ ๆ จะหมดเอาครับ (และส่วนตัวผมว่าทำแค่นี้แหละ) เพราะอย่าลืมว่าต้อง spare เงินส่วนหนึ่งไว้ซื้ออาวุธด้วย (ถ้าปรับปรุงมาแล้วไม่มีอาวุธก็ไม่มีประโยชน์)

อีกประเด็นนึง น่าคิดว่าจะเอาอาวุธอะไรมาติดบ้างครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 14/03/2008 12:36:04


ความคิดเห็นที่ 14


ตามที่เคยออกความคิดเห็นไปบ้างก่อนหน้านี้แล่วครับว่า นอกจากการปรับปรุงยืดอายุโครงสร้างเครื่องและเครื่องยนตร์แล้ว การทำ MLU ก็จะเป็นการปรับปรุงขีดความสามารถในการใช้อาวุธในระดับหนึ่งครับ

หลักๆตามความเห็นคือปรับปรุงให้ใช้อาวุธปล่อยBVR คือ AMRAAM ได้เช่นเดียวกับ F-16 ADF ครับอาจจะรวมถึงAIM-9X รุ่นใหม่และติดตั้งระบบDatalinkครับ 

ส่วนอาวุธอากาศสู้พื้นรุ่นใหม่ การปรับปรุงCockpit และอุปกรณ์เสริมเช่น ECM เป้าลวงนี้บางอย่างอาจจะถูกตัดออกไปก่อนหรือเป็นตัวเสริมในการพิจารณาครับ(เปลี่ยน Radar ใหม่นี้ก็มีค่าใช้จ่ายพอสมควรแล้วครับ) 

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 14/03/2008 23:01:14


ความคิดเห็นที่ 15


อืม...

ระบบ data-link แบบ Link-16/TADIL-J MIDS-LVT (Multi-functional Information Distribution System-Low Volume Terminal) โดย data-link ตัวนี้น่าจะเป็นออปชั่นที่ ทอ. ให้ความสนใจ เนื่องจากทำให้สามารถเชื่อมต่อ F-16MLU เข้ากับระบบ RTADS, บ.ควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ (AWACS) S-100B Argus ติดเรดาร์อีริอาย และ บ.ขับไล่ JAS-39C/D Gripen ที่จะเข้าประจำการในอนาคตอันใกล้นี้ รวมทั้งระบบอาวุธอื่นๆ ในอนาคต เพื่อการนำ ทอ. ไปสู่ digital airforce ตามนโยบายที่วางไว้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการรับรู้ต่อสถานการณ์ภายนอก (situational awareness) ของนักบิน โดย data-link จะแสดงข้อมูลตำแหน่งอากาศยานฝ่ายเดียวกันและฝ่ายตรงข้าม และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น บนจอ MFD หรือเรียกว่า god’s eye view นั่นเอง

ยิง AMRAMM ได้

 LINK ได้

BVR ได้

GPS ได้

ถ้าทำจริง ๆ ทอ. คงจะแกร่งขึ้นเยอะ

โดยคุณ Nuipibah เมื่อวันที่ 15/03/2008 00:20:45


ความคิดเห็นที่ 16


เมื่อมีการปรับปรุงโครงสร้างเพิ่มอายุการใช้งานไปแล้ว ผมเชื่อว่าระบบต่างๆที่จะใช้ต้องมีการปรับปรุงต่อไปแน่นอน เพียงแต่ต้องมีการเสนองบประมาณและการอนุมัติ ส่วนจะปรับปรุงระบบใดได้บ้างนั้น ผมว่าอันดับแรกๆน่าจะเป็นระบบอาวุธที่ใช้ รองลงมาน่าจะเป็นดาต้าลึงค์ เอ้ย! ดาต้าลิงค์ เรดาร์อาจจะแค่ปรับปรุงของเดิมมากกว่าจะเปลี่ยนใหม่ยกชุด ซึ่งระบบอาวุธที่ปรับปรุงก็คงจะเริ่มจากระบบอาวุธอากาศสู่อากาศเป็นอันดับแรกเพื่อเน้นภารกิจขับไล่และป้องกันภัยทางอากาศ แล้วจึงค่อยปรับปรุงระบบอาวุธอากาศสู่พื้นหลังจากได้รับงบประมาณเพิ่มในภายหลัง และหากต้องการปรับปรุงจะต้องมีการเปรียบเทียบขีดความสามารถของเครื่องบินรอบบ้านว่าปรับปรุงแล้วจะมีขีดความสามารถต่อกรกับเครื่องบินเหล่านั้นได้ไหม แล้วจะทำได้ครบตามจำนวนหรือไม่ ถ้าหากคิดจะปรับปรุงแล้วก็ยังไม่มีขีดความสามารถที่จะต่อกรกับเครื่องบินต่างๆรอบบ้านได้ แถมยังทำได้แค่ฝูงเดียว ผมว่าเก็บงบประมาณนั้นทะยอยจัดหาของใหม่จะดีกว่า แต่ผมมั่นใจว่ากองทัพอากาศหากทำอะไรแล้วต้องตรวจสอบและพิสูจน์แล้วว่าเจ๋งจริงและจำเป็นจึงจะทำ สรุปง่ายๆคือ เห็นด้วยหากจะมีการอัพเกรด F-16A/B ของเราใหม่ทั้งหมดครับ ก็อัพเกรดโครงสร้างไปแล้วนิ่ แล้วระบบจะยังใช้ของ10-20 ปีอย่างเก่าอยู่หรือไง
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 15/03/2008 01:48:56


ความคิดเห็นที่ 17


อย่างน้อย ขอ data link �ไว้ละกันครับ
ถ้า f16 ยิง แอมแรม ไม่ได้ ก้อให้ Gripen ยิงแทน
โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 15/03/2008 06:00:49


ความคิดเห็นที่ 18


ขอให้ยิงAIM-120 ได้พอแหละ
โดยคุณ fujiwara เมื่อวันที่ 16/03/2008 10:33:49


ความคิดเห็นที่ 19


ถ้าด้วยงบฯ จำกัด ก็เสนอแบบนี้ครับ คือ

  • คอมพิวเตอร์ MMC
  • เรดาร์ APG-66(V)2
  • IFF
  • wiring สำหรับ targeting pod
  • ระบบ ALQ-211 EWMS
  • ปรับปรุง RWR
  • ห้องนักบินและระบบนำร่องครบชุด ยกเว้นแว่น NVG, จอ ATD และระบบ DTS
  • วิทยุ HAVE QUICK II
  • Link-16
  • MIL-STD-1760 weapon bus

คาดว่าไม่น่าจะใช้งบฯ มากเกินไป และ option นี้ต่ำสุดเท่าที่ควรจะทำแล้วครับ เพราะ ถ้าจะทำน้อยกว่านี้ในตอนหลังจะต้องเอาเครื่องเข้าโรงซ่อมใหญ่เพื่อรื้อสายไฟใหม่อีก ส่วน option อื่นๆ มีงบฯ ค่อยทำทีหลังได้ไม่ยุ่งยากเกินไปครับ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 17/03/2008 03:15:51


ความคิดเห็นที่ 20


เรียน อ.รินฯ เจ้าไวเปอร์A/Bนี่พอจะปรับปรุงให้ติดCFTได้หรือเปล่าครับ หรือต้องดัดแปลงอะไรอีกเพิ่มเติม ........OSPREY

โดยคุณ OSPERY เมื่อวันที่ 17/03/2008 12:26:25


ความคิดเห็นที่ 21


ไม่ได้อ่ะครับ โครงสร้างรับน้ำหนักไม่ไหวเน้อ
โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 18/03/2008 04:09:58


ความคิดเห็นที่ 22


เรื่องเครื่องวัดประกอบการบินนำร่องและ gps ทอ.พัฒนาเองเล่นๆได้พอสมควร เคยแอบเห็นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาระบบอาวุธกองทัพอากาศ แต่ฝ่ายพัฒนาได้แค่ทำครับไม่ได้กำหนดนโยบายกองทัพเลยได้งบแค่ทำออกมาทดสอบแล้วพับเก็บ ไม่ได้เอามาใช้มากนัก

โดยคุณ redshadow เมื่อวันที่ 19/03/2008 00:44:50