กรณีนี้ความผิดผลาดเกิดจากอะไร ทำไมข้อมูลถึงผิดผลาดได้ 1การแจ้งเป้าหมาย 2 การรู้ข้อมูล update ว่าภาคฟื้นทำอะไรอยู่ จะได้ใช้เป็นกรณีศึกษา
ขอผู้รู้ช่วยวิเคราะ ห์และอธิบาย
ขอบคุณครับ
อีกประการหนึ่งคือ ทางฝั่งโน้นเขาได้ การสนับสนุนอาวุธที่ทันสมัยกว่าเรา จากโซเวียต ก็คือ รัสเซีย ปัจจุบัน ระบบการสื่อสารของเราโดนรบกวนตลอต การยิงปืนใหญ่ก็มักจะไม่ค่อยได้ผล ฝั่งทางโน้นเขาดักฟังเราได้ตลอด เราจะทำอะไรแต่ละที เขาก็รู้ไปหมด มันก็เลยเป็นปัญหา ลูกกระสุนปืนใหญ่เราก็ไม่พอ ต้องไปซื้อจากจีน
เอาเป็นว่าถ้าเรารบกับลาว ตัวต่อตัว เราสู้ได้สบาย แต่ฝั่งลาวเขามีตัวช่วยผลก็เป็นอย่างที่เห็น ผมก็อ่านจากแหล่งข่าวหลาย ๆ แหล่ง ส่วนใหญ่จะบอกว่าเราไม่สามารถเอาชนะได้ เพราะจากอะไรหลาย ๆ อย่าง แต่เราไม่เสียดินแดนและจบศึกกับเขาได้แบบสันติ ก็ถือว่าดีแล้ว
^
^
สหประชาชาติให้ไทยและลาวถอยกันไปคนละ 10 กิโล แต่ลาวล้ำมา 10 กว่าโลแล้วนะครับ
ส่วนข้อผิดพลาดผมคิดว่าน่าจะเกิดจากฝั่งลาวเขาชัยภูมิดี พอทหารม้ารุกได้ เลยติดพันเพื่อยึดชัยภูมิที่ดีกว่า ส่วนเครื่องบิน F-5 นั้นก็บินสูงยังกะอะไร (ก่อนหน้าโดนสอย 3 เลยกลัว)ทิ้งระเบิดระยะ 30,000 -40,000 เมตร จะไปเห็นเหตุการณ์หรือฝ่ายเดียวกันได้ไงครับ
.
.
ปล ลาวอาจปลอมเสียงมาขอการสนับสนุนการทิ้งระเบิดก็ได้นะครับทำเป็นเล่นไป
กรณีบ้านร่มเกล้าผลที่เป็นเช่นนั้นก็เป็นไปตามที่หลาย ๆ ท่านวิเคราะห์มาครับ
แต่ส่วนของความสูญเสียด้านกำลังทางอากาศของฝ่ายเราที่ผมทราบ เรา เสีย เอฟ 5 (น่าจะเป็นรุ่น A) 1 ลำ และ โอวี 10 อีก 1 ลำ ส่วนเอฟ 5 อีกลำ (น่าจะเป็นรุ่น บี ) โดนแซมสอยเครื่องยนต์พังไป 1 เครื่อง แต่นักบินพาเครื่องบินกลับฐานได้โดยสวัสดิภาพ...คลาดเคลื่อนอย่างไรช่วยชี้เเนะด้วยนะครับ เพราะผมอาจสับสนกับกรณีภูหินร่องกล้า
ส่วนกรณีกองพันทหาร (ไม่แน่ใจว่า ช่าง หรือ ม้า) ละลายทั้งกองพันนั้นเกิดจากความผิดพลาดในการสื่อสารและการประสานในการปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพ คือแบบไม่เป็นเรียลไทม์ โดยกองกำลังภาคพื้นดินสามารถยึดพื้นที่ได้และเคลื่อนกำลังเข้าสู่จุดสังหารที่เคยได้ตกลงกันไว้กับกองกำลังทางอากาศโดยไม่ได้แจ้งยกเลิกหรือเปลี่ยนเเปลงการปฏิบัติการทางอากาศ เอฟ 5 จากตาคลี ก็เลยหย่อนไอ้ใบ้ (น่าจะเป็น นาปาล์ม) โดนหัวพวกเดียวกันเอง
บ้านร่มเกล้าก็เคยอ่านมามากแล้วพอสมควรครับ ก็อย่างที่ทั้งสองท่านว่าคือการสื่อสารของเราในขณะนั้นมันมีปัญหามากจนขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหมือนเรือพายคนละทีแล้วมันจะไปไหนได้
เราไม่ได้รบกับลาวเฉยๆ นะครับเพราะทางลาวได้รับอุปกรณ์จากโซเวียตรัสเซีย จีน ไหนจะเวียดนามอีกล่ะ (เคยมีข่าวไปถึงขั้นว่ารัสเซียมารบเองด้วย) เขาทันสมัยกว่าเรามากครับ แจมสัญญาณเราได้ตลอดแถมตามถึงต้นสายแล้วเรียกปืนใหญ่มาบอมบ์เราเล่นได้ด้วย ตอนแรกเรารบตามแบบมากเกินไปครับ จนต้องเปลี่ยนยุทธวิธีการรบนั่นแหละถึงสามารถทำให้เขาเจ็บจนต้องยอมได้
เห็นด้วยกับคุณ MIGGERS อย่างแรงครับ หากเราเน้นทำสงครามแบบหน่วยรบพิเศษตั้งแต่แรกลาวคงต้องหยุดยิงเร็วกว่านี้มากครับ (ถ้าไม่หยุด ก็รวบหัวรวบหางเสียเลย) แต่ถ้ายืดเยื้อสงสัยเราจะร่วงก่อนเขาแน่ กระสุนปืนใหญ่ยังหมดประเทศเลย
เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การเข้าใจกันของคำว่า การยุทธ์ร่วมระหว่างเหล่าทัพครับ...........น่าแปลก ที่เรามีบทเรียนจากการไม่เข้าใจกันของการยุทธ์ร่วมมาตั้งนานแล้ว และมีการตั้งโรงเรียนรบร่วม ด้วยเช่นเดียวกัน ก่อตั้งตั้งแต่ก่อนปี 2500 แต่ทำไมมันถึงไปไม่ถึงไหนเลย(แม้แต่ปัจจุบัน).................ร่มเกล้า เป็นกรณีศึกษาที่พูดถึงกันมากแต่ก็น่าแปลกที่แม้แต่โรงเรียนทหาร ก็ไม่มีตำราให้ศึกษากันเลย..........บทเรียนจากร่มเกล้า เป็นสิ่งที่น่าจะสะท้อนอะไร หลายๆ อย่าง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ต้องมาว่ากันว่าใครผิดใครถูก แต่มันน่าจะควรนำมาแก้ไข.........บทเรียนของคำว่าการประมาณสถานการณ์ที่ผิด คิดว่าสามารถรบได้โดยลำพัง ไม่มีการวางแผนประสานร่วมระหว่างเหล่าทัพอย่างจริง........การปฏิบัติการทางลึกทั้งด้วยหน่วยรบพิเศษและกำลังทางอากาศที่เข้าปฏิบัติหลังแนวเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นผลเป็นอย่างดีในการบีบกดดันฝ่ายตรงข้ามให้เจรจา แต่กว่าจะมีการยอมรับและปฏิบัติจริงๆเราก็ต้องแลกด้วยการสูญเสียกำลังพลยุทโปกรณ์ไปเป็นจำนวนมาก..........การรบแบบจำกัดเขตและฝ่ายตรงข้ามได้เปรียบในเรื่องของภูมิประเทสเป็นอย่างมาก เราไม่สามารถรุกออกนอประเทศเพื่ออ้อมเข้าตีได้เพราะเหตุผลทางการเมืองหลายๆอย่าง ทำให้เราต้องเข้าตีตรงหน้า ซึ่งผลก็อย่างที่เราทราบ สุดท้ายจึงคิดได้ว่าทำไม ไม่เข้าตีอ้อมจากทางด้านบน นั้นก็คือกำลังทางอากาศและการแทรกซึมของหน่วยรบพิเศษ.................. กรณี เครื่อง เอฟ 5 หมู่ 2 เข้าโจมตีแล้วผิดพลาดนั้น จะว่านักบินก็ไม่ได้ แต่เราต้องมาดูว่าทำไมถึงเป้นเช่นนั้น ภารกิจ การสนับสนุนทางอากาสอย่างใกล้ชิด หรือ แคส(CAS: Close Air Support) นั้น สิ่งสำคัญที่เป็น ตัวบ่งชี้ว่า เป็น CAS ก็คือ การประสานกับหน่วยภาคพื้นดินเหนือยุทธบริเวณ....(มีต่อครับ)
เหตุที่ต้องมีการประสานเพราะว่า เป้าหมายใกล้กับกำลังฝ่ายเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีการผิดพลาดขึ้นได้ง่าย.........กรณี เอฟ 5 หมู่ 2 ข้างต้นนั้นไม่ถือว่าเป็น CAS เพราะว่าไม่มีการประสาน นักบินทำถูกต้องตามขั้นตอนของเค้า ระเบิด ลงตามพิกัดและเวลาที่ได้รับ ตาม เอทีโอ แต่ ถ้าครั้งนั้นมันเป็น CAS ที่มีการประสานแล้ว กำลังภาคพื้นสามารถสั่งเครื่อง Abort หรือ เปลี่ยนพิกัดเป้าหมายได้ เมื่อเห็นว่า เครื่องบินเข้าในทิศทางที่ผิดหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป............และในครั้งนั้นระเบิดที่ใช้ คือ ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์หรือ LGB แบบ GBU 10 ขนาด 2000 ปอนด์ เอฟ 5 ติดได้ลำละ 1 ลูก ที่ตำแหน่ง เซนเตอร์ไลด์ วันนั้น เป็น หมู่ 2 ดังนั้นจึงมีระเบิด 2000 ปอนด์ กระทบเป้า 2 ลูก........... เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสไปเรียนหลักสูตร รบร่วม อากาศ-ภาคพื้นมา และได้มีโอกาสฟัง ทหารอากาศท่านหนึ่ง ปัจจุบัน ยศ พลอากาศตรี ได้เล่าถึงปะสบการณ์ในร่มเกล้า ซึ่งฟังไปฟังมา จึงทราบว่าท่านผู้นั้น คือ นักบินท่านหนึ่งที่เป็น คนปลดระเบิดในครั้งนั้น......และทราบว่าในครั้งนั้น ตอนต้นๆของการปฏิบัติการทางอากาศ มีสิ่งบ่งชี้ว่า ข้าศึกทราบล่วงหน้าถึงการมาของ บ.โจมตี เราตลอด สิ่งทำให้ทราบว่าต้องมีความผิดพลาดบางอย่างในการติดต่อสื่อสารและการรักษาความลับ มีการแก้เกมส์หลายอย่าง ทั้งการส่งคำสั่ง ที่ใช้การนำสาร ด้วยการส่งพลนำสารบินไปกับ บ.ธุรการ เพื่อส่งคำสั่งที่ฝูงโจมตีโดยตรง รวมถึงการบินขึ้นที่ใช้วิธีการแบบเงียบ คือ ไม่มีการติดต่อสื่อสารด้วยวิทยุระหว่างนักบิน และ หอควบคุมการบิน ในการวิ่งขึ้น แต่ใช้ทัศนสัญญาณแทน.....................
เริ่มจากฝั่งลาวก่อนนะครับว่าเขาพูดถึงเรื่องความขัดแย้งบ้านร่มเกล้ายังไง
เริ่มยังงี้ครับ
ถึงแม้ว่ากลอุบายทำลายแทรกซึมดินแดนลาวได้ปะลาไช แต่บรรดาปะติการขวาจัดในวงการอำนาจไทยยังดื้อด้าน ต่อการเบียดยึดในเขตบ้านนาบ่อน้อยที่ทิศใต้เมืองต่อแตน แขวงไชยะบุรี นี้แม่นเขตป่าไม้ที่มีราคาแพง ซึ่งในปีก่อนนั้นพวกปะติการขวาจัดในวงการอำนาจไทย ได้นำเอาทหารเข้ามาช่วยเหลือพวกประมูลลักขุดต้นไม้ และของป่าที่มีราคาแพง
ภูมิประเทศนี้มีความยุ่งยากอยู่พอสมควร ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเหืองคือสายพูสูง มีบรรดาจุดสูง (เนิน) กินอาณาเขตกว้่างไกลที่จุดสูง 1.370 พูสำเมียน ซึ่งบ่มีเส้นทางลัด การไปมาพบความยุ่งยาก พวกปะติการพลัดถิ่นวังเปาได้สร้างฐา่นที่มั่นแถบนี้เพื่อสร้างเป็นค่ายพวกอพยพหลบภัย หวังจะนำเอากำลังเข้ามาคุกคามและทำลายการปะติวัดลาว
ต่อเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังประกอบอาวุธ และอำนาจการปกครองท้องถิ่นได้ตีต้านต่อการเคลื่อนไหวอย่างเกาะติด แต่พวกปะติการขวาจัดไทยยังดื้อด้านจัดตั้งบั้นรบขนาดใหญ่แทรกซึมเข้ามาดินแดนลาวอยู่เขตนี้แต่เดือน 5 ตลอดถึงเดือน 8/1987 พวกเขาได้จัดตั้งบั้นรบใช้ชื่อว่า บั้นรบตามชายแดน จากนั้นก็หันมาจัดตั้งเป็น บ.ก.ยุทธการ สายฟ้า อยู่บริเวณบ้านร่มเกล้าโดยใช้กำลังทหารพราน 7 กองร้อยของกรมทหารพราน 34 ทหารพราน 3 กองร้อยของกรมทหารพราน 37 ปืนครก 81 มม.หนึ่งหมวด จากกองร้อย ตชด.375 หน่วยสันตินิมิตร 1 หน่วย (302) หนึ่งจุดควบคุมจากกำลังอาสาสมัครอำเภอชาติตระการ มีจำนวน 1170 คน ต่อมาพวกเขาได้จัดตั้งยุทธการ สอยดาว 1 ขึ้น ในระยะนี้พวกเขาได้จัดตั้ง บก.ยุทธวิพลทหารม้าี่ที่ 1 ได้นำกำลังมาเพิ่มเติม กองพันทหารม้าประสม 1 กองร้อยของกองพันม้าที่ 1 บวกกับกองร้อยปืนใหญ่ 105 มม.หนึ่งกอง (หมายเลข 20) 4 กระบอก และปืนใหญ่ 155 มม.หนึ่งหมวดมี 2 กระบอก
นอกนั้นพวกเขายังเตรียมกองพันทหารม้า 1 กองของกองพันม้าที่ 1 และกองพันทหารราบประสม 1 กองจากกองพันทหารราบที่ 4 เป็นกำลังหนุนอยู่เบื้องหลังมีจำนวนพล 1,430 คน
วันที่ 1/9/1987 พวกเขาได้จัดตั้งยุทธการ สอยดาว 2 ขึ้น ได้ส่ง บก.ควบคุมท 513/18 พร้อมกับกำลังทหารพรานเคลื่อนที่ของกองทัพบก 7 กองร้อย ปืนใหญ่ 105 มม.และ 155 มม. 2 กองร้อย นอกนั้นยังมีหน่วยปฎิบัติการและหน่วยรับประกันต่างๆ (เป็นไงวะหน่วยรับประกัน) เข้ามาเพิ่ม มีจำนวนพล 1500 คน
วันที่ 1/11/1987 พวกเขาได้จัดตั้ง บก.ยุทธการ สอยดาว 3 ขึ้น ได้เพิ่มทวีจัดตั้งรวมกำลังจากกองทัพภาค 2 และ 3 เพิ่มเติมจำนวนพล 3,400 คน
วันที่ 13/2/1988 พวกเขาได้จัดตั้ง บก.ยุทธการ 1428/1 ซึ่งมีกำลังมาเพิ่ม คือ กองพันทหารราบประสมจากกองพันทหารราบ 4 มี 3 กองพัน ปืนใหญ่ 2 กอง และกำลังช่วยรบอื่นๆ จากกองพันทหารราบที่ 4 ซึ่งมีจำนวนพล 6,500 คน มาตลอดในระยะนี้ รวมกำลังของพวกเขาทั้งหมดมี 14,000 กว่าคน มันเป็นการจะแจ้งว่ามีเจตนาจะมาเปลี่ยนแปลงระยะเส้นชายแดนสร้างเงื่อนไขช่วยเหลือให้พวกปะติการภายในก่อความวุ่นวาย โค่นล้มที่บ่อนที่มีเงื่อนไข
สภาพการณ์ที่ชายแดน ได้กลายเป็นสภาพที่คับขันที่ท้องถิ่นนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ เพื่อทันกับกลอุบายของศัตรูที่หวังแอบแทรกซึมดินแดนของประเทศชาติ ปะติบัตตามคำสั่งของกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคในวันที่ 5/11/1987 กระทรวงป้องกันประเทศได้มีมติตกลงจัดตั้งคณะบัญชาการด้านรบขึ้นประกอบด้วย
ท่านพันโทคำหมั้น กนนะเมือง หัวหน้ากรมสู้รบเป็นหัวหน้า
ท่านพันโทสมบูน เสนาธิการของกองพันที่ 2 เป็นรอง
ท่านพันตรีคำพัน พนักงานกรมสู้รบ
ท่านพันโทกองสี หัวหน้ากรมท้องถิ่น และท่านพันโทบุนเลียง รองกรม 49 เป็นคณะ
ภายหลังจากการแต่งตั้งคณะบัญชาการชุดนี้แล้ว ปรากฎว่าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปอีก ท่าทางของไทยดูเหมือนจะเปิดศึกใหญ่มากกว่าแค่รบกันในระดับท้องถิ่น ทางการลาวเลยปรับเปลี่ยนคณะบัญชาการใหม่ให้ใหญ่ขึ้น โดยมีผู้รับผิดชอบดังนี้ครับ
ท่านพลจัตวาบุนทอน จิตวิละพน รองกรมใหญ่ เสนาธิการ เป็นหัวหน้า
พันโทคำหมั้น กนนะเมือง หัวหน้ากรมสู้รบ เป็นรอง
ตามด้วยอีกหลายท่าน เอาแค่นี้แล้วกัน ขี้เกียจพิมพ์แล้ว
เอาเรื่องการจัดกำลังของฝ่ายลาวเลยดีกว่า
กำลังรบของลาว เขาเตรียมไว้ดังนี้ครับ
6 กองพันน้อยของกองพลที่ 1, 6 กองพันน้อย กองพลที่ 3 กองตีพิเศษ 3 กองพันน้อย หนึ่งกองร้อยของกองพัน 279 กองตีพิเศษของแขวงกำแพงนคร 1 กองร้อย กองร้อยท้องถิ่นเมืองเพียง ทหารแขวงไชยะบุรี 2 กองพันน้อย กองพันปืนใหญ่หน้าดิน (605) กองพันน้อยป้องกันอากาศ (456) ของกองพันใหญ่ 641 กองร้อยรถถังและยานเกราะของกองพันที่ 1 และ 2 มี 11 คัน
กองรับใช้ยน (รถยนต์) ขนสิ่งของกองพันใหญ่ 703 กองรถ เรือสิบสี่ และกำลังแรงงานของพนักงาน - นักรบ รัฐกร (ข้าราชการ) ของบรรดาสำนักงาน
เปรียบเทียบอัตรากำลังที่ใช้ในการสู้รบในสมรภูมิร่มเกล้าแล้ว เป็นดังนี้ครับ
1. ทหารราบไทย 4 กองพัน ของลาว 2 กองพัน มากกว่ากันเท่าตัว
2. ตีพิเศษ (รบพิเศษ) ของไทยมี 6 กองพันน้อย ของลาวเตรียมไว้ 3 กองพันน้อย เท่าตัวอีกเหมือนกัน
3. ปืนใหญ่ ปืนครก 100 มม. ของลาวมี 25 กระบอก ของไทยซัดซะ 107 กระบอก ขี่กันถึง 1 ต่อ 4
4. รถถัง ของลาวเข็นมาได้ 7 คัน ของไทยเตรียมไป 32 คัน 1/4 อีกเหมือนกัน
5. ปืนต่อสู้อากาศายาน อันนี้ของไทยกับลาวเท่ากัน คือ 2 กองพันน้อย
6. ทัพอากาศ ของลาวขอบายครับ ไม่ยักกะเอามิก 21 มาโชว์กันบ้าง
ส่วนของไทยก็ใส่กันเต็มเหนี่ยว กะข่มกันเห็นๆ ประกอบด้วย เอฟ 5 จำนวน 12 ลำ โอวี 10 ขนมา 1 ฝูง (ตอนนี้ไม่มีแล้ว โละให้ฟิลิปปินส์ไปหมก แล้วก็ แอล 39 อีก 12 ลำเช่นเดียวกัน
เมื่อเตรียมสรรพวุธและกำลังพร้อมแล้ว ก็โดดเข้าสมรภูมิเลยครับ
รุ่งเช้าของวันที่ 5/1/1987 กองพันน้อย 412 ทหารท้องถิ่นแขวงไชยะบุรีปิดล้อมตีศัตรู (ทหารไทย) ที่มีกำลังประมาณ 50 คน ที่พูเวียง สามารถสังหารศัตรูตายคาที่ 8 คน จับเป็นเชลยศึก 4 คน ส่วนที่ยังเหลือล่าถอยไปเขตร่มเกล้า จากนั้นได้ยึดและเตรียมตั้งรับเพื่อรักษาเขตพูเวียงไว้
วันที่ 14/1/1987 กองพัน 412 ได้ตีต้านพวกพลัดถิ่นลาว (กลุ่มลาวขวาในไทย) ขณะเดียวกันได้นำกำลังจากกองพันน้อย 411 ทหารท้องถิ่นแขวงไชยะบุรีจากแก่นท้าวไปสมทบกับกองพัน 412 เพื่อตระเตรียมดับสูญศัตรูที่กำลังเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องบริษัทเอกชนไทยขุดดินและต้นไม้จำนวนหลวงหลายออกจากบริเวณจุดสูง 1273,1184 และ 1370 เ้ข้าไปในดินแดนของไทย
วันที่ 31/5/1987 สองกองพันน้อย 411 และ 412 ทหารท้องถิ่นแขวงไชยะบุรีได้ปิดล้อมตีทหารพรานของไทยที่มาคุ้มกันให้บริษัทขุดต้นไม้ที่จุดสูง (เนิน) 1237 ฆ่าพวกเขาตายคาที่ 15 คน บาดเจ็บ 15 คน จับได้ 7 คน ยึดอาวุธชนิดต่างๆ 9 กระบอก ทำลายรถขุด 3 คัน
สภาพการณ์ผันแปรนี้เพิ่มทวีความรุนแรงขึ้น คณะบัญชาการรบได้วางแผนต้่านทานการบุกตี เบียดยึดชายแดน จำกัดไ่ม่ให้สงครามขยายกว้า้งออก โดยจัดตั้งฐานที่มั่นขึ้นที่ร่มเกล้าและจุดสูง 1273 เพื่อจำกัดทำลายแผนการของศัตรูแต่เบื้องต้นโลด
วันที่ 8/8/1987กองพัน 411 และ 412 ของทหารท้องถิ่นสมทบกับกองพันตีพิเศษ 425 ได้ปิดล้อมตีศัตรูที่เขตของศัตรูอย่างลามติด สภาพการณ์ในระยะนี้ได้ผันแปรไปอย่างสับสน ศัตรูยิ่งเพิ่มทวีทุกๆ เหล่ารบ เข้ามาในเขตดังกล่าวอย่างหลวงหลาย นั้นตั้งแต่นั้นมา พวกเขาได้ยิงปืนใหญ่อย่างไม่มีกฎเกณฑ์มาใส่เขตที่พวกเขาสงสัยอย่างสนั่นหวั่นไหว
การสู้รบในบั้นรบบ่อแตนระหว่างเราและศัตรูได้ติดพันยาวนานถึง 67 วันและคืน ศัตรูได้ระดมกำลังบุกตีที่ตั้งของพวกเราหลายๆ ครั้ง ยิงปืนใหญ่เข้ามาใส่แต่ละมื้อไม่ต่ำกว่า 100 ลูก ในนั้นมีที่พวกเขายิงมากที่สุดถึง 2 พันกว่าลูก มีทั้งลูกแตกอากาศ สมทบกับทัพอากาศใช้เครื่องบินมาทิ้งระเบิดชนิดต่างๆ อย่างร้ายแรง ใส่บ้านเรือนประชาชน โรงเรียนที่เขตตาแสงนาบ่อน้อยถึงกับพังทลายไปหลายหลัง ในบั้นรบเขตตาแสงนาบ่อน้้อยเมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุรี ได้เปิดการรบใหญ่ 6 ครั้ง คือ
1. วันที่ 15-17/12/1987 (3 วัน) ศัตรูเปิดบั้นตีใหญ่ชื่อว่า ฟ้าลั่น
2. วันที่ 24-26/12/1987 (3 วัน) ศัตรูเปิดบั้นตีใหญ่ชื่อว่า สอยดาว 1
3. วันที่ 6-11/1/1988 (6 วัน) ศัตรูได้เปิดบั้นตีใหญ่ชื่อว่า สอยดาว 2
4. วันที่ 17-21/1/1988 (5 วัน) ศัตรูได้เปิดบั้นตีใหญ่ ชื่อว่า สอยดาว 3
5. วันที่ 1-5/2/1988 (5 วัน) ศัตรูได้เปิดบั้นตีใหญ่ชื่อว่า ล้างผลาญ 1428/1
6. วันที่ 7-12/1/1988 (6 วัน) ศัตรูได้เปิดบั้นตีใหญ่ ชื่อว่า ล้านผลาญ 1428/2
ในบรรดาจำนวนบั้นตีที่พวกเขาทำขึ้นนั้นล้วนแต่เป็นการรบที่ดุเดือด เกี้ยวกราด เอาเป็นเอาตาย สู้รบกันระหว่างเรากับศัตรู ทำให้พวกเราได้เห็นกลอุบายเล่ห์เหลี่ยมสู้รบของกองทัพไทย
ต่อกับการปะลาไชด้านกำลัง อาวุธ ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากภายใน และต่างประเทศ พวกปะติการขวาจัดไทย จำต้องเข้าร่วมกองประชุมเจรจา เซ็นสัญญาหยุดยิง ในวันที่ 17/2/1988 มาในตอนเช้าของวันที่ 18/2/1988 ทหารปะติการขวาจัดไท ยังดื้อด้าน เปิดบั้นบุกโจมตีเข้าจุดสูง 1.299 ภายหลังบุกยึด 3 ครั้งที่ถูกปะลาไช
มาใน 8 โมงเช้าของวันที่ 19/2/1988 พวกเขาจึงยอมหยุดยิงอย่างแท้จริง และปฎิบัติบรรดาเอกสารที่ได้ตกลงกัน การต่อสู้ปกปักรักษาเมืองบ่อแตนได้ยาวถึง 67 วัน และคืน ทหารและประชาชนเราได้ตีเอาชนะเล่ห์กลและการทหารเบียดยึดขนาดใหญ่ตามชายแดน ของพวกปะติการขวาจัดในวงการอำนวจไทย บังคับพวกเขาต้องเจรจาสันติภาพและตกลงปัญหาชายแดนระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งทางลาวได้ตั้งคณะเจรจาประกอบด้วย
ท่านพลเอกสีสะหวาด แก้วบุนพัน (คนนี้คนไทยช่วงนั้นรู้จักดีครับ)
ท่านพลจัตวา ทองไหล กนนะสด
ท่านพันเอกเชียงเพียน
ท่านทองลุน สีสุลิด
รวมความว่า ผ่านการสู้รบในบั้นรบตีต้านเบียดยึดเอาดินแดนลาวของพวกปะติการ และพวกกุมอำนาจในกองทัพไทยใหญ่อยู่เขตตาแสงนาบ่อน้อยเมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุรี พวกเราได้ผลสำเร็จ คือสู้รบน้อยและใหญ่ 155 ครั้ง ปัดศัตรูออกจากการสู้รบ 7,035 คน ฆ่าตาย 2,554 คน บาดเจ็บ 4,481 คน จับได้ 11 คน (นักบิน 2 คน) ตีลบชื่อกองกระทิงแดง เสือดำ จงอางดำ ช้างดำ ยิงเครื่องบินตก 11 ลำ (เอฟ 5 จำนวน 7 ลำ อา 37 จำนวน 1 ลำ โอวี 10 จำนวน 1 ลำ ฮ. 1 ลำ และเครื่องบินไม่มีคนขับ 1 ลำ)
ทำลายปืนใหญ่ 12 กระบอก ทำลายรถถัง 1 คัน รถขุด 6 คัน รถลำเลียง 8 คัน ทำลายคลังอาวุธและคลังน้ำมัน 1 แห่ง ยึดปืนชนิดต่างๆ 39 กระบอก และยุทธภัณฑ์ (เขาใช้คำว่าเครื่องรับใช้การทหาร) อีกจำนวนมาก
.......................................... เครดิตคุณ สื่อศิลป์นะครับ(มีต่อ..เขาอ่านจากหนังสือของอีกฝั่งเห็นมีรูปของ F-5 ที่เขายิงตกแล้วเอาไปตั้งไว้ที่หลวงพระบางเป็นอนุเสาวรีย์แห่งชัยชนะตอนหลังเอาออกเพราะเกรงกระทบความสัมพันธ์ครับ)
ประวัติศาสตร์กองทัพลาวเขาบันทึกไว้แค่นี้แหละครับ จากนั้นก็ปิดท้ายด้วยการฉลองชัยชนะ (เอ๊ะ ของไทยมีไหม นึกไม่ออก)
ตอนเช้าของวันที่ 13/3/1988 ประชาชนตัวเมืองหลวงเวียงจัน 2 หมื่นกว่าคน ได้เข้าร่วมพิธีฉลอง ไชชะนะที่บ่อแตน เข้าร่วมพิธีสำคัญนี้มีท่านไกสอน พมวิหาน เลขาธิการใหญ่ พรรคประชาชนปฎิวัติลาว ประธานสภารัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตประชาชนลาว ท่านสุพานุวง ประธานประเทศ พลเอกคำไต สีพันดอน รองประธาน สภารัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงป้องกันประเทศ พลเอกสีสะหวาด แก้วบุนพันเลขาพรรค ประธานอำนาจการปกครอง กำแพงนครเวียงจัน บรรดากรมการเมือง กรรมการศูนย์กลางพรรค รัฐมนตรี รองรัฐมนตรี คณะพัวพันต่างประเทศ
ท่านพลเอกคำไต สีพันดอน ได้ปราศัยความดังนี้ครับ
ไชชะนะบ่อแตน คือ แม่นไชชะนะของกะบวนการต่อสู้ป้องกันตัว อันชอบทำเพื่อปกปักรักสาเอกะลาด อำนาจอะทิปะไตผืนแผ่นดินประเทศเรา แม่ไชชะนะอันใหญ่หลวงด้านการทหาร การเมือง และการต่างประเทศ เป็นการพิสูจน์แนวทางป้องกันชาติของปวงชนรอบด้านทัศนะสงครามประชาชน แนวทาง แผนนโยบายการต่างประเทศที่เป็นเอกราช เป็นเจ้าตนเอง และสันติภาพของพรรคเราแม่นถูกต้องที่สุด
เป็นการพิสูจน์การนำพายุทธศาสตร์นโยบายอันถูกต้องของพรรค และรัฐเราในการประสานสิบทิศ การต่อสู้ด้วยการทหาร กับการต่อสู้ด้วยการเมือง การต่างประเทศกับกฎหมาย ขยายกำลังแรงของทั่วประเทศ กำลังแรงของการร่วมสัมพันธ์สู้รบพิเศษ ลาว - เวียดนาม - กัมปูเจีย -และการร่วมแรงร่วมใจสนับสนุนของประชาชนในทั่วโลก
ไชชะนะที่บ่อแตน ไชชะนะแห่งมูลเชื้อวีระชนของชาดลาว ของกองทัพประชาชนลาว วิรชนของน้ำใจพึ่งตนเอง ตัดสินใจก้าวขึ้นในท่ามกลางการต่อสู้ปฎิวัติ บรรดากองกำลังประกอบอาวุธเรา ได้มีบาดก้าวอันใหม่ด้วยการจัดตั้งบรรดาชี้นำ วิธี ด้านการหนุนใช้ศิลปและเทคนิค
ในโอกาสนี้พรรคและรัฐ ได้มอบนามวีรชนให้ 22 กรมกอง และ 15 สหาย
ฟังทางฝั่งลาวแล้ว ทีนี้มาดูฝั่งไทยบ้างครับว่าพูดถึงเหตุการณ์บ้านร่มเกล้าไว้อย่างไรบ้าง
แน่นอนครับว่าไม่มีทางตรงกันแหงๆ โดยเฉพาะยอดการสูยเสียที่ต่างกันลิบลับ
ลองพิจารณากันเอาเองแล้วกัน
เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2530 มีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายประมาณ 30 คน ได้ใช้อาวุธยิงเข้าไปในหมู่บ้านร่มเกล้า และเผารถแทรคเตอร์ของบริษัทสัมปทานไม้ เมื่อทหารพรานที่รับผิดชอบในพื้นที่บริเวณนั้นได้เข้าไปพิสูจน์ทราบ ได้ปะทะกับกองกำลังไม่ทราบฝ่ายนี้ถึง 2 ครั้ง ทำให้ทหารพรานบาดเจ็บ 3 นาย ชาวบ้านเสียชีวิต 1 คน พนักงานขับรถแทรคเตอร์เสียชีวิต 1 คน
อีก 2 วันต่อมา ทหารลาวจำนวนหนึ่งได้รุกล้ำเข้ามาจับชาวบ้านในหมู่บ้านนาผักก้าม และบ้านเหล่ากอหก อ.นาแห้ว จ.เลย ซึ่งอยู่ติดกับ หมู่บ้านร่มเกล้า ทหารลาวได้จับชาวบ้านไป 7 คน หลบหนีมาได้ 1 คน ถูกยิงเสียชีวิตขณะหลบหนีไป 1 คน อีก 5 คนถูกขังอยู่ที่บ้านบ่อแตร แขวงไชยะบุรี ด้วยข้อหาบุกรุกเข้าไปในเขตลาว โดยได้เชิญนายอำเภอของไทยไปรับทราบข้อกล่าวหา แต่ทางไทยไม่ยอมรับว่าได้บุกรุก เพราะถือว่า ณ พื้นที่ตรงนั้นเป็นดินแดนของไทย
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม เวลาประมาณเที่ยงคืน.ทหารลาวประมาณ 1 กองพัน ได้เข้าโจมตีฐานทหารพรานที่บ้านร่มเกล้า การประทะกินเวลากว่า 3 ชั่วโมง แต่ไม่สามารถยึดฐานทหารพรานได้ เนื่องจากทางทหารพรานทราบข่าวการบุกนี้มาก่อนแล้ว และเตรียมรับมือป้องกันไว้อย่างพร้อมเพรียง
การปะทะกันครั้งนี้ทหารลาวเสียชีวิตและทิ้งศพไว้ 1 ศพ และทราบข่าวภายหลังว่าจริงๆ แล้วเสียชีวิตในการปะทะจำนวน 12 ศพ ขณะที่ทหารพรานบาดเจ็บเล็กน้อย 2 คน
(จำได้ไหม บันทึกของลาวเขียนเหตุการณ์นี้ไว้ว่า ทหารพรานไม่รู้ตัวและละลายทั้งฐาน โดยถูกยิงเสียชีวิตถึง 15 ศพ)
จากนั้นทางทหารได้ทำการพิสูจน์ทราบตลอดแนวชายแดน พบว่า ทหารลาวเข้าตั้งฐานปฎิบัติการบนเนิน 1428 ซึ่งเป็นเนินที่ล้ำเข้ามาในเขตไทยประมาณ 2 กิโลเมตร จึงได้ประกาศเตือนให้ทหารลาวถอยออกไป แต่ไม่ได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด แถมยังส่งกำลังสนับสนุนเพิ่มเติมเข้ามาอีกตลอดเวลา
กองทัพภาคที่ 3 จึงจัดกำลังเพื่อเตรียมตัวเข้าผลักดันให้ทหารลาวออกไปจากเนิน 1428
กองทัพภาคที่ 3 ได้เลือกให้กองพันผสม (กองพันทหารม้าที่ 7) เป็นหน่วยที่เข้าไปพิสูจน์ทราบการปฎิบัติการของทหารลาวในพื้นที่ ผลการลาดตระเวนไม่พบการเคลื่อนไหวของทหารลาว แต่พบร่องรอยการดัดแปลงฐานที่มั่นจำนวนหนึ่ง
วันที่ 1 ก.ย. 2530 กองทัพภาคที่ 3 ขออนุมัติกองทัพบกใช้ชุดควบคุมที่ 513 และส่วนแยกที่ 18 เข้าผลัดเปลี่ยนกำลังของกองพันผสมเตรียมพร้อม โดยประกอบกำลัง 5 กองร้อยทหารพรานจู่โจม และ 1 กองบังคับการควบคุม
จากนั้นก็มีการปะทะกับทหารลาวหลายครั้ง แต่ไม่รุนแรงนัก การสูญเสียเริ่มเกิดขึ้นจากการเหยียบกับระเบิดที่ทหารลาววางไว้
ปลายเดือนกันยายน 2530 การปะทะเริ่มหนาแน่นและรุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทหารลาวเริ่มเข้าปะทะด้วยความรุนแรงด้วยอาวุธประจำหน่วย
ขณะที่การลาดตระเวนของทหารพรานยังไม่ทราบสามารถยืนยันถึงการตั้งฐานปฎิบัติการที่ชัดเจนของทางลาวได้
ถึงต้นเดือน พ.ย.กองทัพภาคที่ 3 ได้เสริมกำลัง 1 กองร้อยทหารปืนใหญ่ ขนาด 155 มม.เข้าสนับสนุนการปฎิบัติการในพื้นที่ และเริ่มโจมตีตั้งแต่ด้านตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ซึ่งสามารถเข้ายึดเป้าหมายได้ 1 แห่ง ขณะที่อีกแห่งไม่สามารถยึดได้เนื่องจากเสียเปรียบในเรื่องของชัยภูมิ
ต่อมาได้เข้าตีด้วยทิศทางใหม่จากทางด้านทิศเหนือ และตรวจพบกองกำลังทหารลาวประมาณ 100 คน ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำเหือง จึงเข้าโจมตีจนแตกพ่ายไป
ภายหลังทหารลาวได้ระดมกำลังเข้ายึดเนิน 1428 เป็นที่มั่นหลัก โดยตั้งฐานปฎิบัติการเรียงไล่ลงมาจากสันเขา จำนวน 5 ฐาน แบ่งเป็นพื้นที่สังหาร 1 แห่ง ส่วนที่เหลือ และฐานสนับสนุนกำลังบำรุงและสนับสนุนการสู้รบ
ฐานตรงนี้เองที่นายทหารระดับสูงของไทยออกมระบุว่าเป็นการบัญชาการของทหารต่างชาติ
�เรื่องของบ้านร่มเกล้า เป็นประวัติศาสตร์อีกเรื่องนึงของไทยที่กลายเป็นเรื่องคลุมเครือและสารพัดตำนานเล่าขานครับ
พอนึกออกไหมว่าประวัติศาสตร์ไทยตกอยู่ในสภาพแบบนี้กี่เรื่อง
ดังนั้นก็อย่าแปลกใจที่จะมีการเล่ากันสารพัดเวอร์ชั่น เพราะความจริงเป็นสิ่งแสลงใจของคนมีอำนาจในประเทศนี้ และเราก็ยังขาดวัฒนธรรมในการศึกษาประวัติศาสตร์แบบลากไส้
แต่พยายามให้ปัญหาถูกฝังกลบไปพร้อมกับคำว่าประวัติศาสตร์และการให้อภัย
เรื่องทหารต่างชาตินี่ไม่ใช่ว่าจะมีหน่วยสืบราชการลับที่ไหนไปเจาะข่าวมาได้หรอกครับ เพียงแต่ว่าบังเอิญนายทหารของไทยไปร่วมภารกิจกับยูเอนพร้อมกับสหภาพโซเวียตที่แตกละเอียดกลายเป็นประเทศรัสเซียแล้วบังเอิญได้ประสานงานกับนายทหารรัสเซียเข้าให้
เขาก็เลยเล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งกระนั้นเพื่อนเขาที่จบนายร้อยมาด้วยกัน มาบัญชาการรบที่นี้
ก็เลยชัดเจนว่ามีนายทหารรัสเซียแบบตัวเป็น ๆ เข้ามาร่วมบัญชาการด้วย
แถมยังว่ากันว่ามีทหารรับจ้างคิวบา รวมทั้งการใช้ดาวเทียมจารกรรมอีกพร้อมมูล
ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ก็น่าตั้งคำถามนะครับว่า เราเดินเกมการเมืองระหว่างประเทศยังไง ทำไมช่วงนั้นไม่เห็นมีข่าวว่าพันธมิตรค่ายตะวันตกของไทยหน้าไหนจะมาช่วยเหลืออะไรเลย
ไม่เอาแล้ว ไปรบต่อดีกว่า
วันที่ 14 ธันวา 2530 กองทัพภาคที่ 3 ก็มีคำสั่งให้กองพันทหารม้าผสม เตรียมพร้อม (ประเด็นการเลือกเหล่าทหารม้าเข้าตีเป็นอีกเรื่องนึงทีถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดครับ)
พร้อมชุดควบคุมที่ 513 พร้อมด้วยกำลังจากส่วนแยกที่ 18 สนับสนับสนุนด้วยปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ 2 เที่ยวบิน เข้าทำการโจมตีที่หมาน 1 และ 2 โดยมีกองกำลังทหารพรานของกองทัพภาคที่ 3 เข้าร่วมปฎิบัติการด้วย
คือ กองร้อยทหารพรานที่ 3304 และกองร้อยทหารพรานที่ 7707 ซึ่งทั้ง 2 กองร้อยนี้มีภารกิจในการเข้าตีที่หมาย 10-11
แต่การปฎิบัติการครั้งนั้น จบลงด้วยความล้มเหลว ไม่สามารถเข้าตีเป้าหมายตามแผนได้ แม้ว่าจะมีการปรับรูปขบวนหลายครั้งแล้วก็ตาม แถมยังเกิดความสูญเสียจำนวนหนึ่งด้วย
วันที่ 23 ธันวาคม กองทัพภาค 3 ทำการปรับขบวนอีกครั้ง โดยใช้กำลังจากกองพันทหารม้าที่ 138 ร่วมกับชุดควบคุมที่ 513 และส่วนแยก 18 เข้ายึดได้เนินสเปอร์ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามใช้เป็นที่ตั้งจุดตรวจการณ์ และสามารถยึดที่หมาย 7 ไว้ได้
หลังจากนั้น กองทัพบกได้อนุมัติให้เพิ่มเติมกำลังอีก 1 กองพันทหารม้า และ 1 หมวดปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบเรดอาย โดยจัดตั้งกองบังคับการกองพันทหารปืนใหญ่ช่วยโดยตรง และจัดตั้งส่วนแยก กองบัญชาการช่วยรบที่ 3
นอกจากนี้แล้วก็มีการสนับสนุน ฮ.จากศูนย์การบินทหารบกเข้ามาเพิ่มเติมด้วย
พอขึ้นปีใหม่ เลยมาได้ 6 วัน ทหารม้า จำนวน 2 กองพัน พร้อมด้วยการสนับสนุนของปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศก็เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง โดยมีเป้าหมายหลักของการโจมตีทางอากาศอยู่ที่การตัดเส้นทางลำเลียงของฝ่ายตรงข้าม
จากนั้นในช่วงปลายเดือนมกราคมปี 31 ก็เป็นช่วงเปลี่ยนครั้งสำคัญของการรบ เพราะหลังจากที่พล.อ.เปรม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น พร้อมด้วย พล.อ.ชวลิต ผบ.ทบ.ได้เดินทางไปตรวจแนวรบเรียบร้อยแล้ว ก็ได้อนุมัติให้ส่งทหารออกรบนอกประเทศได้
(เรื่องใหญ่นะครับ เพราะหมายถึงการทำสงครามเต็มรูปแบบ เพราะปกติจะทำแค่ป้องกันประเทศหรือรบเมื่ออีกฝ่าบรุกเข้ามาเท่านั้น)
นอกจากนี้ยังเสริมกำลังด้านปืนใหญ่ขนาด 155 และ 130 มม.รวมทั้งปืนต่อสู้อากาศยานอีกจำนวนมาก
อานุภาพของปืนใหญ่ที่เสริมกำลังเข้ามานั้น สามารถยิงไกลไปถึงแนวหลังของข้าศึก ทำให้การสนับสนุนทหารในแนวหน้าของฝ่ายลาวทำได้ยากยิ่งขึ้น
หลังจากการโจมตีอย่างต่อเนื่องแล้ว กองทัพภาคที่ 3 ก็ได้เตรียมกำลังทหารราบ โดยมอบหมายให้กองพลทหารราบที่ 4 เตรียมกำลัง 1 กรม เพื่อปฎิบัติภารกิจเข้ายึดเป้าหมาย ณ ภูสอยดาว รวมทั้งตีผลักดันให้กองกำลังข้าศึกออกนอกแนวชายแดนประเทศด้วย
ขณะที่ทหารราบจะเข้าปฎิบัติหน้าที่นั้น กองร้อยทหารม้าที่ 2 ของกองพันทหารม้าที่ 138 ก็ได้เข้ายึดที่หมาย 7 เอาไว้ได้แล้ว แต่ก็ต้องเผชิญกับการโจมตีทั้งทางภาคพื้นดิน และปืนใหญ่จากฝ่ายลาวอย่างรุนแรง โดยทางทหารลาวทุ่มกำลังทหารกว่า 700 คน เข้าตีที่มั่นนี้ จนกระทั่งทางไทยต้องใช้ปืนใหญ่แตกอากาศยิงสนับสนุน
การยื้อยุดที่หมาย 7 นี้เป็นไปอยางยาวนาน ซึ่งทางลาวได้ทุ่มกำลังอย่างเต็มที่เพื่อยึดคืนให้ได้ ในช่วงนี้เองที่เครื่องบินมิก 21 ของลาวปรากฎโฉมออกมา แต่ไม่ทันได้ประทะกับเอฟ 5 ของไทย ก็โฉบหนีไเสียก่อน
ไม่งั้นคงได้เห็นสงครามกลางอากาศกันมั่ง
�
�
�
�
ขอเขียนนิดนึงครับ
ไม่มีการติเตียนย้อนหลังดอกครับ
แต่อยากทราบว่าทำไม (COMMUNICATION REALTIME ) ไม่สามารถ
ได้ยินหรือทราบ ถึงตัวนักบินว่ายังอยู่ในพิกัดที่ต้องทิ้งไอ้ใบ้ แล้วยังไม่มีการถอนหน่วยออกนอกพิกัด ผู้ใหญ่ทั้งหลายที่เรียกว่ากองยุทธการร่วมท่านทำได้อย่างไรครับ
การไม่ได้ฟังได้ยินเสียงหน้าสนามรบ จะเอาตาที่ไหนมาเบิ่ง......
ว่าถ้าไอ้ใบ้ตกใส่หัวท่านละครับ.....ก่อนนักบินทิ้งตามพิกัด ไม่มีวิทยุเตือนการทิ้งระเบิดที่หน้าสนามหรือครับ เพื่อให้นักบินทราบถึงพื้นที่ด้านล่าง
ว่ามีญาติพี่น้องยืนอยู่.......................................
สรุปจากแหล่งข้อมูลหลายๆแห่ง ผมว่าเรารบแพ้เพราะ ฝ่ายเสนาธิการวางแผนผิดพลาดเองครับ รบกันเปะปะเหมือนมวยวัด แถมฝ่ายการเมืองก็เข้ามาแจมด้วยผสมโรงกันให้มั่วไปหมด พวกที่รบก็รบกันไป ที่ตายก็ตายกันไป (ฝ่ายเสธ. ไม่ได้ตายด้วยนี่หว่า) กว่าเราจะตั้งหลักได้ เล่นเอาเสียหาย (ทางทหาร)ไปแยะครับ ฝ่ายโน้นเขาสูญ (ทางทหาร)เสียน้อยกว่าเรามาก แต่เราท้ายสุด (เขาว่า) เราก็ได้รับชัยชนะทางการเมืองครับ
ลองคิดเล่นๆ นะ ครับ ถ้าจากกรณีศึกษาข้างต้น ถ้าเขาส่งกำลังเข้ามาอีก
โดยเป็นสมรภูมิเดิม จะมีอะไรต่างจากเดิมไหม เราจะรบแบบไหน โดยมี
F16 F5E เป็นหลัก โดยมีน้องใหม่ JAS 39 ร่วมแจม โดยสนธิกำลังทุกเหล่าทัพ
ขอไอเดีย ท่าน เสธ ทั้งหลาย
thank you
ชื่อ หน่วย กองกำลังของเรา ค่อนข้างตรงกับของจริง ถ้าข้อมูลทางฝั่งลาวเป็นจริงดังขั้นต้น ผมว่า ฝ่ายเราแย่จริงๆโดนเขาล่วงตับหมดแล้วจะไปรบกะใครเขาล่ะครับ
จำได้ไหมครับว่า รอง ผบ.ทบ ตอนนั้นชื่ออะไร พอท่านฮัมเพลงข้ามโขงให้นักข่าวฟัง อีกไม่กี่วันก็มีการเจรจาเกิดขึ้น หลังจากนั้นท่านก็โดนย้าย พ่อและลุงผมบอกว่า ถ้าท่านได้เป็น ผบ.ทบ.ในตอนนั้น ลาวอาจจะขอเจรจาเร็วกว่านี้ครับ