ไม่ทราบว่าตอนนี้โครงการจัดหารถเกราะล้อยางของ ทบ.ไทยไปถึงไหนเเล้วครับ เมื่อไม่นานมานี้ ผมดูช่องรัฐธรรมมนูญ ของ ubc เขาบอกว่าจะคัดเลือกรถเกราะล้อยางใหม่อีกรอบเพื่อจะได้รถที่มีคุณภาพมากที่สุดเเละไม่มีการทุจริตในการจัดซื้อ เเละขอถามอีกเรื่องครับ เจ้ารถเกราะสายพานของเเอฟริกาใต้ที่ทบ.ไทยจะซื้อมาลงใต้ไปถึงไหนเเล้วครับ เห็นเค้าว่ากันว่ารถตัวนี้ ห่วยสุดๆ
ปล.ท่านสมาชิกทุกท่านกรุณาบอกผมทีนะครับ
เกาะแอฟริกาใต้ นี้เป็นล้อยางไม่ใช้สายพานครับ อ่อ แล้วก็ล้มไปก็ดีครับ สงสารทหารทีจะเอามาใช้แถวบ้านผมๆละอยากให้เป็นเจ้าตัว บุชมาสเตอร์จริงๆเลย เวลาออกไปลาดตระเวณ หรือคุ้มครองครูจะได้อุ่นใจมาขึ้นทุกวันนี้รอวัน.......... จริงๆ เห็นแล้วสงสารจนท.ที่ปฏิบัติงานใน พท.ครับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวด ๕ ส่วนที่ ๒ มาตรา ๗๗ บัญญัตืไว้ว่า รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็นและเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์ของชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ ในห้วงเวลาที่ผ่านมา หลายท่านคงรับทราบข่าวเกี่ยวกับการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง 8 x8 เพื่อมาใช้งานในกองทัพบก จากสื่อต่างๆมากมาย แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่คงไม่ทราบว่า ข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไร เนื่องจากกระแสข่าวที่ออกมาสู่สังคมนั้น เป็นการให้ข่าวโดยกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง หรือกลุ่มบุคคลที่เสียประโยชน์ นอกจากนั้นยังกำลังถูกผูกโยงเป็นประเด็นทางการเมืองอีกด้วย จึงขอถือโอกาสนี้ชี้แจงข้อมูลที่แท้จริง ให้ท่านทั้งหลายได้รับทราบ ก่อนอื่น ในนามของกองทัพบกขอทำความเข้าใจกับสาธารณะชนว่า กองทัพบกตระหนักดีเสมอว่าการจัดหายุทโธปกรณ์หลักเข้ามาประจำการ ต้องใช้งบประมาณสูง และงบประมาณดังกล่าวก็มาจากภาษีของประชาชนชาวไทย ดังนั้น กองทัพบกจึงได้กำหนดมาตรการ และขั้นตอนการดำเนินการด้วยความรอบคอบ เพื่อให้ได้มาซึ่งยุทโธปกรณ์ที่มีคุณภาพ นำมาใช้งานอีกเป็นระยะเวลานาน โดยดำเนินการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ เพื่อมิให้กลุ่มผู้ค้าอาวุธฉวยโอกาสเข้ามาแทรกแซง เพราะ จากบทเรียนการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพบกที่ผ่านมา มักมีการแข่งขันสูงโดยกลุ่มผู้ค้าอาวุธ กองทัพบกจึงไม่ยอมให้กลุ่มผู้ค้าอาวุธมีอิทธิพลเหนือกระบวนการตัดสินใจของกองทัพบก โดยกระบวนการคัดเลือกแบบรถหุ้มเกราะล้อยาง ได้ผ่านความเห็นชอบร่วมกันจากหน่วยกำหนดความต้องการ หน่วยสายวิทยาการ หน่วยจัดหา หน่วยซ่อมบำรุง หน่วยงบประมาณ และหน่วยใช้ ว่าเป็นยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุด ในกรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ดังนั้น กองทัพบกจึงขอยืนยันต่อผู้เกี่ยวข้องและสังคมว่า การตัดสินใจเลือกแบบรถหุ้มเกราะล้อยางกองทัพบกในครั้งนี้ เป็นไปตามความต้องการเพื่อตอบสนองความพร้อมรบของกองทัพบกอย่างแท้จริง ขั้นตอนดำเนินการ ขั้นแรกเป็นการดำเนินการก่อนการจัดหา เป็นการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานในกองทัพบก ดำเนินการในกรอบความรับผิดชอบของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพบก (กมย.ทบ.) ซึ่งมี รอง ผบ.ทบ.เป็นประธาน ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพบกอีก ๑๗ ท่าน เป็นกรรมการ และได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเลือกแบบยุทโธปกรณ์ ซึ่งมี ผบ.ศร. เป็นประธาน ผู้แทนหน่วยกำหนดความต้องการ หน่วยสายวิทยาการ หน่วยจัดหา หน่วยซ่อมบำรุง หน่วยงบประมาณ และหน่วยใช้ เป็นกรรมการ ทำหน้าที่ศึกษารวบรวมข้อมูลรถหุ้มเกราะล้อยางทั่วโลกที่ทันสมัยและเหมาะสมที่จะนำมาใช้งานในกองทัพบก (การดำเนินการของคณะทำงานฯนี้ เป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนเพียงพอ โดยไม่มีข้อผูกพันกับทางราชการแต่อย่างใด) ต่อจากนั้นคณะทำงานฯ จึงนำเสนอข้อมูลให้ กมย.ทบ. เพื่อพิจารณากำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้งานในกองทัพบก โดย กมย.ทบ.จะพิจารณาในกรอบรายละเอียดที่กว้างขวางกว่าการรวบรวมข้อมูลของคณะทำงานฯ กล่าวโดยสรุป คือ คณะทำงานเลือกแบบยุทโธปกรณ์ เป็นผู้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ เป็นผู้พิจารณารับรองแบบ นำเรียนผู้บัญชาการทหารบก เพื่อกรุณาพิจารณาอนุมัติ ขั้นต่อมา เป็นขั้นการจัดหายุทโธปกรณ์เพื่อนำมาประจำการในกองทัพบก การดำเนินการในขั้นนี้จะยึดถือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดหาพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งระเบียบราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบ ได้แก่ ปัจจัยด้านยุทธการและส่งกำลังบำรุง(รวมทั้งด้านคุณลักษณะและเทคนิค) ปัจจัยด้านงบประมาณ(ราคาและข้อเสนอของบริษัท วิธีการจัดหา) ปัจจัยด้านการผลิต(ความทันสมัยของยุทโธปกรณ์ ขีดความสามารถในการผลิต ขีดความสามารถในการถ่ายทอดเทคโนโลยี) ปัจจัยด้านความนิยม(การเข้าประจำการในกองทัพประเทศผู้ผลิต การเข้าประจำการในประเทศอื่น) ปัจจัยด้านบริษัทผู้ผลิต/ผู้แทน(ความน่าเชื่อถือ/ความมั่นคง) ปัจจัยด้านต่างประเทศ(ความมั่นคงทางการเมือง ความสัมพันธ์ในระดับรัฐบาล นโยบายการค้าต่างตอบแทน) เหตุผลที่เลือกรถหุ้มเกราะล้อยาง 8 x 8 แบบ BTR 3E1 ด้วยปัจจัยด้านต่างๆ ที่คณะกรรมการฯใช้ในการพิจารณาข้อมูลที่ได้รับด้วยความรอบคอบ พบว่ารถหุ้มเกราะแต่ละประเภท มีคุณลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ข้อดีเด่นที่ทำให้คณะกรรมการฯ เลือกรถหุ้มเกราะล้อยาง 8 x8 BTR 3E1 ด้วยเหตุผลดังนี้ ๑. ความพร้อมรบ กองทัพบกได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน
๔,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง ๔๘ คัน
ซึ่งสามารถนำมาประจำการกองพันทหารราบยานเกราะ ได้เพียงครึ่งกองพัน ( ๑
กองพัน มีอัตรารถหุ้มเกราะล้อยาง ๙๖ คัน) แต่ในขั้นการรวบรวมข้อมูลพบว่า
ถ้าเลือกแบบ BTR 3E1 จะสามารถจัดหาได้ครบทั้งกองพันในคราวเดียวกัน
คณะกรรมการฯ จึงเสนอให้รับรองแบบ BTR 3E1
ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่คณะกรรมการฯใช้ในการพิจารณาคือการ ๒. อำนาจการยิง BTR 3E1 ติดตั้งอาวุธประจำรถถึง ๕ ระบบ (ในขณะที่แบบอื่นๆ มีเพียง ๑-๒ ระบบ) ได้แก่ ปก.๓๐ มม., ปก.๗.๖๒ มม., จรวด ตถ., ค.อัตโนมัติ ๓๐ มม. และ ค.(ควัน) ๘๑ มม. ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบอำนาจการยิง BTR 3E1 จึงมีอำนาจการยิงต่อหน่วยมากกว่าแบบอื่นๆ เปรียบเสมือนเป็นยานรบทหารราบ อาจกล่าวได้ว่า อำนาจกำลังรบของกองพันทหารราบกองพันนี้ถ้าใช้รถหุ้มเกราะล้อยาง BTR 3E1 แล้ว จะมีอำนาจกำลังรบใกล้เคียงกับกองพันรถถังเลยทีเดียว ความจริงแล้วด้วยประมาณการราคาของรถหุ้มเกราะล้อยาง ๘ x ๘ ตามที่กองทัพบกของบประมาณไว้ คณะกรรมการฯมีความคาดหวังว่า รถหุ้มเกราะที่กำลังจัดหา น่าจะสามารถดัดแปลงเป็นยานรบทหารราบได้ ซึ่งปรากฏว่า BTR 3E1 มีคุณสมบัติเป็นยานรบทหารราบอยู่แล้ว ย่อมเป็นข้อดีเด่นที่สมควรพิจารณา เพราะมีคุณสมบัติเหนือกว่ามาตรฐานที่กำหนด ๓. การถ่ายทอดเทคโนโลยี ผู้ผลิต BTR 3E1 เสนอให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งการประกอบรถหุ้มเกราะ และการผลิตกระสุนของอาวุธประจำรถตามที่กองทัพบกต้องการ ซึ่งจะทำให้ข้อกล่าวหาที่ว่า ขนาดกระสุนที่ไม่ตรงกับกระสุนของผู้ผลิตกลุ่มประเทศยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบการส่งกำลังนั้น ไม่เป็นความจริง นอกจากนั้น จากข้อเสนอดังกล่าว กองทัพบกสามารถผลิตกระสุนมาตรฐานโซเวียต ส่งกำลังให้กับอาวุธค่ายโซเวียตที่กองทัพบกประจำการอยู่ได้อีกด้วย สรุป กองทัพบกขอทำความเข้าใจกับประชาชนชาวไทยทั่วไป
ที่อาจถูกบิดเบือนข้อมูลและมองไปในแง่ทุจริตการจัดซื้ออาวุธ
แต่ในทางตรงกันข้าม กองทัพบกได้พยายามสร้างความโปร่งใส
เพื่อให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของกลุ่มผู้ค้าอาวุธ
ที่อาศัยความไม่รู้ไม่เข้าใจในข้อมูลยุทโธปกรณ์อย่าง เพียงพอ
ครอบงำสังคมให้หลงประเด็น ทั้งนี้กองทัพบกขอเรียนว่า ความรู
้เรื่องยุทโธปกรณ์ทางบกนั้น เป็นวิชาชีพเฉพาะที่กองทัพบก มีความเชี่ยวชาญ
เพราะกองทัพบกมีทั้งบุคลากร และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทำหน้าที่ติดตามศึกษา
ค้นคว้า มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่
ทำการเปรียบเทียบข้อมูลยานรบทุกประเทศในปัจจุบัน จนมั่นใจว่า
ได้เลือกแบบยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า
สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ
เปรียบเสมือนแฟนพันธุ์แท้ในเรื่องยุทโธปกรณ์ทางบก ดังนั้น
สมควรที่สังคมควรมั่นใจในกระบวนการของกองทัพบก
มากกว่าการฟังข้อกล่าวหาของกลุ่มผู้ค้าอาวุธที่เสียประโยชน์
หรือกลุ่มบุคคลสาขาอาชีพอื่น ซึ่งพยายามใช้กลวิธีต่างๆ
กดดันผ่านสื่อสารมวลชนและหน่วยงานภาครัฐ ให้ชะลอ
และยุติโครงการโดยอ้างเหตุผลเพื่อความโปร่งใส ซึ่งหน่วยงานเหล่านั้น
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า
นั่นเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ค้าอาวุธที่เสียประโยชน์
ทำลายความน่าเชื่อถือในการจัดหาแบบรัฐต่อรัฐ
ทำให้ประโยชน์ตกอยู่กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นแก่ความมั่นคงของชาติ
ทำให้กองทัพบกเสียโอกาสในการเสริมสร้างความพร้อมรบ
เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์
ผลประโยชน์แห่งชาติ
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ |
จัดทำขึ้นครั้งแรกเมื่อ 6 มีนาคม 2551
ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อ 6 มีนาคม 2551
โดย กรมยุทธการทหารบก
ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่กรมยุทธการกองทัพบกเป็นอย่างสูงที่กรุณาลง Link ข้อมูลจาก Blog ของผมในส่วน Link ที่เกี่ยวข้องครับ
ขอบคุณท่านสมาชิกทุกท่านครับ
ป้อมอยู่ค่อนไปทางด้านหน้าข้อดี หลักๆก็คือ มีมุมยิงมากขึ้นครับ(มุมกระดก)นะครับ สามารถกดลำกล้องได้ต่ำกว่าครับ(กรณีที่รถไต่ขึ้นเนินจะมีผลมากครับ)....ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการลดช่องว่างของหลักนิยม ที่ออกแบบป้อมทรงเตี้ยครับ ทรงป้มทรงเตี้ย ข้อดีคือ ลดความสูงทำให้ลดการถูกตรวจจับและเล็งยิง แต่ข้อเสียคือ มุมการกดลำกล้องลงก็น้อยตามไปด้วย ดังนั้นถ้าอยู่ค่อนไปด้านหน้าก็ช่วยลดช่องตรงนี้ไปครับ.........