จากเวปไซท์ของท่านท้าวครับ
http://www.pantown.com/market.php?id=32248&name=market3&area=3&topic=8&action=view
(จริงๆ อันนี้ท่านเคยนำไปตีพิมพ์ในแทงโก้ด้วย ผมจำได้)
ตรงข้อความที่ว่า ปัจจุบัน ไม่มี พี-๖๔ ของแท้เหลือในโลก แต่มีที่สร้างขึ้นใหม่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของEAA Air Adventure Museum Oshkosh Wisconsinในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นในปี๑๙๕๓โดยเครื่องจริงที่เหลือถูกญี่ปุ่นทำลายทิ้งในช่วงสงคราม
คือผมไปพบข้อมูลเพิ่มเติมในเวปไซท์ขายโมเดลตัวนี้น่ะครับ
http://www.planemechs.com/usfighters/p64_1.htm
ปรากฏว่า จริงๆ แล้วในปัจจุบันยังมี พี-64 ของจริงอยู่ 1 ลำครับ เพราะว่าจริงแล้ว พี-64 หรือเอ็นเอ68 นี้ถูกยึดที่ฮาวายเป็นจำนวน 6 ลำครับ เลยไม่ถูกญี่ปุ่นทำลาย แต่ที่ไม่เหลือเลยจริงๆ คือ เอ็นเอ 69(NA69) ครับเพราะถูกยึดที่ฟิลิปปินส์ 10 ลำแล้วถูกญี่ปุ่นทำลายหมดตั้งแต่วันแรกที่ญี่ปุ่นบุกเลย สำหรับพี-64 นี้ทางอเมริกันเอาไปทำเครื่องบินฝึกโดยมีการดัดแปลงไปพอสมควรครับ ที่สำคัญ คือมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ จาก 830 แรงม้าเป็น 1,200 แรงม้าครับ ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนฝาครอบ เนื่องจากเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นครับ พอสงครามโลกยุติ พี 64 ทั้ง 6 ลำก็ถูกยุบไปหมด ยกเว้น 1 ลำที่ถูกซื้อไปโดยภาคเอกชนและไปอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ของEAA Air Adventure Museum Oshkosh Wisconsinในประเทศสหรัฐ
จึงกลายเป็นว่า P-64 ที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์นี้คือของจริงครับ อ้อ ในวิกีพีเดียก็ระบุว่าเป็นของจริงครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/North_American_P-64
The only P-64 survivor is one of the six Thai-bound P-64s, that was used for training and liaison, and is now on display in the Eagle Hangar of the EAA AirVenture Museum. One original NA-50 stills survives in Peru where it is displayed next to the Mausoleum of Captain José Quiñones
รูปนี้ ตอนยังเป็น NA-68 ติดเครื่องยนต์ 830 แรงม้านะครับ
ข้อมูลจากเวปนี้น่ะครับ
http://www.planemechs.com/usfighters/p64_2.htm
รูปนี้ตอนอเมริกันเอาไปใช้ใหม่ๆ คงรู้สึกว่าเครื่องไม่ค่อยแรง
P-64 หรือ NA-68 ลำสุดท้ายของโลก
แปลจาก ข้อมูลของพี 64 จากเวปไซท์ของพิพิทธภัณฑ์ อีเอเอ
เครื่องบิน นอร์ทอเมริกัน พี 64 หรือ เอ็นเอ 68 มักจะได้รับการกล่าวถึงจากผู้ที่คลั่งไคล้เครื่องบินรบว่า เป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นส่งออกของ เอที 6 เท็กซาน เครื่องบินฝึกของนอร์ทอเมริกันที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายที่สุด แต่จริงๆ แล้ว พี 64 ไม่ได้มีทุกอย่างเหมือนกับ เอที 6 เลยซะทีเดียว มันมีลักษณะเด่นหลายๆอย่างที่แตกต่างไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น ปีกที่สั้นกว่า , ความยาวของลำตัวเครื่องที่สั้นกว่า และกำลังเครื่องยนต์ที่มากกว่า และบางส่วนของเครื่องเหล่านี้แม้ว่าจะเหมือนกันแต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแทนกันได้
ในวันที่ 1 ก.ย. 1940 ( พ.ศ.2483) พี 64 ได้บินขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นครั้งแรก โดยนักบินชื่อ ลูอิ ไวท์ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ทางนอร์ทอเมริกันได้สร้างเครื่องบินฝึกที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงแบบนี้เป็นจำนวนมากแล้ว และยังกำลังสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี 25 มิชเชล ซึ่งได้กลายเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด 2 เครื่องยนต์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในเวลาต่อมา แต่พวกเขายังไม่เคยประสบความสำเร็จในการออกแบบเครื่องบินขับไล่เลย ก่อนหน้าที่ความพยายามของพวกเขาจะได้รับสำเร็จอย่างไม่คาดฝันกับการออกแบบเครื่องบินขับไล่แบบพี 51 มัสแตง พวกเขาได้เคยออกแบบเครื่องบินขับไล่แบบ เอ็นเอ 50 ( ซึ่งรวมทั้ง เอ็นเอ 50 เอ และเอ็นเอ 6 ที่ทางกองบินทหารบินบกได้จัดแบบในภายหลังว่า พี 64 ซึ่งเป็นออกแบบเครื่องขับไล่ราคาไม่แพงเพื่อการส่งออก
ในพิพิธภัณฑ์ พี 64 ถือว่าเป็นจุดที่น่าสนใจ เนื่องจากเรื่องราวที่ว่ามันเป็นเครื่องบินแบบหนึ่งที่ออกแบบเพื่อขายให้กับประเทศสยาม( ประเทศไทยในขณะนั้น) เครื่องบินนี้อยู่ที่ฮอนนาลูลู หมู่เกาะฮาวาย ในวันที่ 7 ธันวาคม 1941 เมื่อสยามถูกยึดครองโดยญี่ปุ่น ) เครื่องบินนี้จึงถูกยึดโดยกองทัพบกสหรัฐในฐานะชาติเป็นกลาง ( เรื่องโกหกลวงโลกในการเขียนประวัติศาสตร์ เพราะเราก็รู้ๆ กันว่าเครื่องบินรุ่นนี้ถูกยึดโดยอเมริกาในเดือนตุลาคม 1940 ด้วยเหตุว่าไทยเรากำลังมีเรื่องกับฝรั่งเศส ทางอเมริกากลัวเราเอาไปสู้กับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นลูกค้าอาวุธรายใหญ่ของอเมริกา เพราะซื้อ พี 36 เอ ไปตั้ง 300 กว่าลำ ) และถูกส่งกลับยังแผ่นดินแม่ของสหรัฐอเมริกาและใช้งานเป็นเครื่องบินฝึก ( จริงๆ ถูกส่งกลับไปก่อนวันที่ 7 ธ.ค. 1941 แล้ว ไม่งั้นคงถูกญี่ปุ่นทำลายไปหมดแน่ เพราะจอดอยู่ในสนามบินที่ฮาวาย โกหกจริง เขียนประวัติศาสตร์ขัดกันเอง ) ในบันทึกของกองทัพอากาศอเมริกันระบุว่าได้รับเครื่องบินลำนี้โดยตรงจาก เอ็นเอเอ (น่าจะเป็นรักษาดินแดนของอเมริกันมั้ง ไม่แน่ใจ ) และถูกส่งไปที่สนามบิน แม็คเคลแลน ในวันที่ 16 เมษายน 1941 แต่ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่ามันมาถึงเมื่อไรและด้วยวิธีใด แต่มันอยู่ที่นั่นแน่ในปี 1943 ซึ่งผู้พัน ฮอยท์ ได้ใช้มันเป็นเครื่องส่วนตัว เจ้าหน้าที่ช่างภาคสนามของบริษัทนอร์ทอเมริกันที่อยู่ที่นั่นชื่อ แจ็ค แคเนรี ได้ถูกเรียกจากผู้พัน ฮอยท์ เพื่อประเมินค่าหากทำการเปลี่ยนเครื่องยนต์ ซึ่งทั้ง ฮอยท์และแคเนรีได้ประเมินว่าการเปลี่ยนเครื่องยนต์มีความเป็นไปโดยจะทำให้ความเพรียวของฝาครอบเครื่องยนต์เปลี่ยนแปลงจะมีรูปร่างแตกต่างจากเดิมไปบ้าง จากนั้นแคเนรีก็ได้ย้ายไปที่อื่นและก็ไม่ได้พบกับเครื่องบินนี้อีก
เมื่อสงครามสิ้นสุดผู้พันฮอย์ทได้บินเครื่องบินนี้ไปที่ อัลบูเคอร์คิว ในรัฐนิวเม็กซิโกเพื่อนำไปทำลาย แต่เครื่องยนต์เกิดขัดข้องทำให้เขาต้องนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินเดมมิ่ง เครื่องบินได้รับการซ่อมแซมและเขาได้บินต่อไปที่อัลบูเคอร์คิว นับว่าโชคดีที่ แจ็ค แคเนรี อยู่ที่อัลบูเคอร์คิวพอดี เพื่อมองหาเครื่องบินรุ่น ที 6 ซักลำหนึ่ง เมื่อเขาเห็นเครื่องบิน พี 64 ในอยู่ในสายการยุบทิ้ง เขาจึงซื้อมันมาด้วยราคา 800 เหรียญสหรัฐ และมันก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจของเขาซึ่งชือ ฟินิกซ์ ชาร์เตอร์ ในปี 1946 มันถูกทาสีแดงและตัดด้วยสีดำ และใช้ในการแสดงผาดโผนรวมถึงงานสตั้นแมน
ในปี 1949 เครื่องบินลำนี้ถูกขายให้กับ ชาลล์ บาร์เน และถูกส่งไปบริษัท เม็กซิกัน ไลท์ แอนด์ พาวเวอร์ สำหรับใช้ในการสร้างหมอก การดัดแปลงที่สำคัญก็คือการเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ ไรท์ อาร์1820-60 แทนเครื่องยนต์เดิมเพื่อให้มีเพดานบินที่สูงขึ้น ซึ่ง แจ็ค แคเนรี่เป็นผู้ดัดแปลง ซึ่งในปี 1953 ก็ยังพบว่าเครื่องบินพี 64 นี้จากยังคงใช้งานอยู่ที่ท่าอากาศยาน สกาย ฮาร์เบอร์
ตั้งแต่ ปี 1954 จนถึงปี 1964 เรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องบินลำนี้ยังคลุมเคลือ โดยในปี 1963 พอลล์ โปเบอเรสนี ประธานแห่ง อีเอเอ ได้พบเห็นเครื่องบินลำนี้ขณะที่เขาเดินทางไปหา เรย์ สไทต์ ที่ท่าอากาศยาน ฟลาบ๊อบ ในเมืองริเวอร์ไซด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ในขณะนั้นเครื่องบินได้รับการทาสีน้ำเงินและมีเส้นเหลือง,แดงและขาว อย่างในปัจจุบัน จึงได้เจรจาขอซื้อจาก จอห์น โฮค ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของ ในที่สุดก็สำเร็จ พอล์ลมาอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ปี 1964 เพื่อขนเครื่องบินกลับไปที่ มิววัวกี ทั้งเรย์ สไทต์และลูกชายของเขาได้เตรียมเครื่องบินเป็นอย่างดีเพื่อให้พร้อมสำหรับการบิน พอล์ลได้ตรวจสอบเครื่องพร้อมของเครื่องยนต์เพียงเล็กน้อยเท่านั้นหลังจากเดินชมเพียงครู่หนึ่ง หลังจากเครื่องบินขึ้น ปรากฏว่าเปิดไฟไหม้ ทำให้ พอลล์ ต้องยกเลิกการบิน เขาตัดสินใจที่จะทิ้งเครื่องบินไว้ในแคลิฟอร์เนียเพื่อรอการซ่อมแซม ต่อมาในเดือนมิถุนายน บ๊อบ เด็นทิส ได้ใส่พี 64 ไปที่ มิววัวกี เพื่อทำการยกเครื่องอย่างสมบูรณ์ ภายใต้การควบคุมของ นอร์ม โปเบอเรสนีและมิเชล เทอลิสซี่ เพื่อทำให้เครื่องบินสามารถกลับไปบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้อีกครั้ง
ปัจจุบันเครื่องบินพี 64 เพียงลำเดียวจากจำนวนหกลำของประเทศสยามยังคงตั้งแสดงอยู่ในโรงเก็บอีเกิ้ลของพิพิธภัฑณ์ อีเอเอ แอร์เวนเจอร์ ซึ่งการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบินลำนี้ทำโดยอาสาสมัครของ อีเอเอ และ ทอม ลิมเบอน