อันดับ 1 สิงคโปร์
สิงคโปร์มีกองท้พอากาศที่ทันสมัยที่สุดในอาเซียน มีอากาศยานประจำการมากกว่า 200 ลำ เช่น F-5 S/T ประมาณ 40 ลำ F-16 Block 50/52+ ประมาณ 70 ลำ และล่าสุด F-15SG 12 ลำ และอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 40 ได้ในอนาคต
อันดับ 2 ไทย
ไทยมี F-16 59 ลำ F-5 ประมาณ 33 ลำ L-39 ประมาณ 34 ลำ Alphajet 20 ลำ เครื่องบินไม่ค่อยทันสมัย แต่การฝึกดีเยี่ยม ความพร้อมรบอยู่ในเกณฑ์สูง (80% - 90%)
อันดับ 3 มาเลเซีย
มาเลเซียมี MiG-29N 14 ลำ F/A-18D 8 ลำ Hawk 100/200 ประมาณ 20 ลำ และกำลังสั่ง Su-30 MKM อีก 18 ลำ แต่ที่เป็นอันดับสามเพราะความพร้อมรบอยู่ในระดับต่ำ (รายละเอียดผมเขียนไว้ใน blog แล้วครับ)
อันดับ 4 เวียดนาม
เวียมนามมี Su-27/30 ประมาณ 20 ลำ เครื่องตระกูล MiG และ Su อีกเป็นร้อยลำ แต่ส่วนใหญ่หลงเหลือมาจากสงครามเวียดนามใช้การไม่ได้เป็นส่วนมาก
อันดับ 5 อินโดนิเซีย
อินโดนิเซียมี F-16 Block 15OCU อยู่ 10 ลำ Su-27/30MK 4 ลำ และกำลังสั่งซื้อเพิ่มอีก 6 ลำ Hawk อีก 2 -3 ฝูง OV-10 อีกจำนวนหนึ่ง
อันดับ 6 พม่า
พม่ามี MiG-29B 10 ลำ F-7M 36 ลำ A-5C 24 ลำ แต่ส่วนใหญ่ประสบอุบัติเหตุตก (ไม่เปิดเผยจำนวน) และบินไม่ได้
อันดับ 7 ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เพิ่งปลด F-5 A/B จำนวน 10 ลำไปเมื่อปีสองปีที่แล้ว ทำให้ไม่มีเครื่องบินขับไล่ประจำการ คงเหลือ S-211 ซึ่งเป็นเครื่องฝึกที่ประยุกต์ใช้ในบทบาทการป้องกันภัยทางอากาศด้วย และ OV-10 จำนวนหนึ่งและมีบางส่วนได้รับบริจาคจากไทยหลังไทยปลดประจำการ แต่ฟิลิปปินส์มีประสบการณ์ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายในประเทศ
อันดับ 8 กัมพูชา
กัมพูชามี MiG-21 กับ L-39 จำนวนหนึ่ง (ผมไม่ทราบจำนวนครับ)
อันดับ 9 ลาว
ลาวมี MiG-21 1 ฝูง ซึ่งน่าเชื่อว่าบินไม่ได้แล้วเป็นส่วนใหญ่
อันดับ 10 บรูไน
บรูไนไม่มีเครื่องบินขับไล่ มีแต่ PC-9 และฮ.จำนวนหนึ่ง
อ้างอิงของคุณสกายแมนอีกที
ความเปลี่ยนแปลงของทอในอาเซียน
- มาเลเซีย: Su-30MKM จำนวน 18 ลำ จะได้รับมอบครบทั้ง 18 ลำในปีนี้ พร้อมทั้งกำลังพิจารณาว่าจะจัดหา Su-30MKM อีก 18 ลำหรือ F/A-18E/F Super Hornet จำนวน 18 ลำ
- ไทย: Gripen จำนวน 6 ลำ และมี Option ที่จะจัดหาอีก 6 ลำ
- อินโดนิเซีย: Su-30MK2 จำนวน 6 ลำ และกำลังเจรจาเพื่อจัดหา F-16C/D อีก 6 ลำ
ผมอยากให้คุณสกายแมนเรียงลําดับของ ทอ อาเซียนใหม่หลังมีความเปลี่ยนแปลงทางกําลังรบของ3ประเทศนี้ว่าเขี้ยวเล็บของประเทศทั้ง3จะมีทิศทางยังไง
เหอ ๆ .......... เรียนตามตรงว่า ไอ้บทความนั้น ผมเรียงโดยยังไม่มีความรู้และประสบการณ์มากพอ หลาย ๆ ความเห็นจึงดูแล้วไม่ค่อยมีตรรกกะนัก ใจนึงผมอยากจะลบทิ้ง แต่อีกใจผมอยากจะเก็บเอาไว้อย่างน้อยก็เพื่อเป็นที่ระลึกตอนหัดทำ Blog ใหม่ ๆ เมื่อสองปีที่แล้ว
...
...
...
ความจริงเมื่อรวมโครงการพัฒนาในอนาคต มีเรื่องน่าคิดอยู่ก็คือ ทุกวันนี้คนมาเลเซียมองกองทัพอากาศเขาต่ำกว่ากองทัพอากาศเราอีกครับ แม้ว่าจะมีเครื่องบินที่ทันสมัยแทบทั้งนั้น แต่คนมาเลเซียมองว่าเขามีแต่ Quality ไม่มี Quantity เลย ...... F-5, MiG-29N จะต้องถูกปลดประจำการในอีกไม่นาน โดยเฉพาะ MiG-29N ซึ่งเขาจะตัดสินใจอีกครั้งว่าจะปลดดีไหมในปี 2010 (แต่หลาย ๆ คนคิดว่าปลดชัวร์) และแม้ว่าถ้าการจัดหาเครื่องบินขับไล่ในโครงการ MRCA รุ่นที่สองประสบความสำเร็จ เขาก็จะมีเครื่องบินขับไล่แค่ราว 64 ลำเท่านั้น (Su-30MKM 18 ลำ+F/A-18D+ 8 ลำ+Hawk 208 ราว 20 ลำ+MRCA 18 ลำ) ..... ในขณะที่สิงคโปร์มีทั้ง Quality และ Quantity ครับ; F-16C/D Block 50 ราว 62 ลำ+F-5 อีก 30 กว่าลำ+F-15SG อีก 24 ลำ รวมแล้ว 100 กว่าลำและมีโอกาสที่จะสั่ง F-15SG เพิ่มอีก ในอนาคตก็จะได้ F-35 มาประจำการชาติแรกในอาเซียน ..... ทอ.ไทยตอนนี้มีแต่ Quantity ไม่มี Quality แต่เท่าที่ดูโครงการการพัฒนากองทัพอากาศของทอ.แล้ว ผมสบายใจครับ เพราะแนวทางการพัฒนาใช้ได้จริง ๆ ดูดีมีอนาคต; Gripen 12 ลำ+F-16MLU 41 ลำ+F16ADF 16 ลำ+F-5T ราว 14 ลำ+ส่วน Alphajet 19 ลำ+ L-39 อีก 36 ลำ รวมแล้วร้อยกว่าลำเช่นกัน จะเป็นกองทัพจะสมดุลมากขึ้นเยอะเลยครับ เพราะเรามีบ.ข.ที่ทำความสามารถในการยิง BVR ถึง 69 ลำ ทอ.ผมไม่ห่วงแล้วครับ ทบ.ยังชิว ๆ ตอนนี้ห่วงทร.มากกว่าเยอะ
อีกประเด็นหนึ่งคือ ทั้งไทยและสิงคโปร์ต่างสนับสนุนเครื่องบินขับไล่ของตนด้วย Erieye และ E-2C 2000 ทำให้มาเลเซียต้องหามาใช้บ้างครับ ..... แต่ปัญหาที่ทุกคนยังงงอยู่ก็คือมันจะสื่อสารกันระหว่าง MKM กับ MiG-29N กับ F/A-18D ได้หรือเปล่า? ถ้าไม่ได้ ก็คงต้องเลือกว่าจะใช้ระบบของใคร ซึ่งผมคิดเอาเองว่ามาเลเซียน่าจะเลือกระบบที่เข้ากันได้กับระบบของรัสเซียเพื่อให้สื่อสารกับ MKM ในปัจจุบันกับ MRCA ที่คาดว่าจะจัดหา MKM เพิ่มอีก 18 ลำ ส่วน F/A-18D+ ก็เป็น Maritime Striker ไปเลยโดยไม่ต้องมี AEW&C ช่วย
อีนโดนิเซียก็พัฒนาขึ้นมามากครับ อินโดนิเซียวางแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่จำนวนมากถึง 48 ลำในอีกราว 5 ปีข้างหน้านี้ เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่และโจมตีที่มีอยู่เดิม ซึ่งล้าสมัยและใกล้หมดอายุการใช้งานลง อินโดนิเซียยังพิจารณาเครื่องบินที่จะมาทดแทน OV-10F, Hawk 53 และ F-5E/F อีกด้วย โดยมีตัวเลือกคือ เครื่องบินใบพัดลาดตระเวน/โจมตีเบาแบบ KO-1 จากเกาหลีใต้, เครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบาแบบ K-8 Karakoram จากจีน และ เครื่องบินฝึกขั้นสูง/ขับไล่เบาแบบ L-159 จากสาธารณรัฐเช็ค ไม่รู้ว่าจะทำได้จริงไหมตั้ง 48 ลำ เพราะเศรษฐกิจอินโดนิเซียก็ไม่ค่อยดีเหมือน ๆ กับเรา ส่วนเวียดนามนั้นมีคนโพสข้อมูลล่าสุดในเน็ตครับ โดยปัจจุบันเวียดนามมี Su-27 จำนวน 20 ลำ Su-30 จำนวน 4 ลำ และในปีหน้าจะได้รับ Su-27 อีก 8 ลำ ในปี 53 จะได้รับ Su-30 อีก 8 ลำ รวมทั้งในระหว่างปี 53 - 57 จะจัดหา Su-30 อีก 24 ลำ ซึ่งก็เป็นการยืนยันข่าวที่เราเคยอ่านกันเมื่อสองปีที่แล้วครับว่าเวียดนามจะหา Su-27/30 จำนวนมากถึง 50 ลำ
ฟิลิปปินส์จัดหา SF-260 มาใหม่อีก 18 ลำ+T-41D มือสองจากเกาหลีใต้ 36 ลำเพื่อฝึกนักบิน รวมถึงกำลังจัดหาฮ.โจมตีกลางคืนใหม่จำนวน 6 ลำ แม้ว่าจะมีปัญหาทุจริตจนรัฐบาลสั่งล้มการเลือกแบบ MG-530F ไปแทน และทำการเลือกแบบใหม่ โดยมี PZL ของโปแลนด์ ซึ่งเป็นคนร้องเรียนการทุจริตส่ง ฮ.Kania เข้ามาแข่งขันเหมือนเดิม (PZL ร้องเรียนว่า MG-530F มีน.น.บรรทุกไม่เท่ากับความต้องการของทอ.ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นความจริง) ในปี 2556 ทอ.ฟิลิปปินส์จะทำการจัดหาบ.ข.ในโครงการ MRCA ครับ (ชื่อไม่ครีเอตเลย ใช้กันแต่ MRCA หรือ F-X )
สำหรับพม่า ตอนนี้ฝรั่งนับ Serial ของ F-7M ได้ 44 ลำครับ 3 ฝูงแรก upgrade โดยอิสราเอล ติด Python-3 และระเบิดเลเซอร์ได้ ส่วนฝูงที่ 4 ไม่ได้ upgrade ยังมี MiG-29B อีกจำนวนหนึ่ง ไม่แน่ครับ ในอนาคตอาจจะจัดหา MiG-29B เพิ่ม หรือไม่ก็ไปจัดหา JF-17 ที่มีข่าวว่าสนใจอยู่ และไม่แน่อาจจะไปซื้อ J-10 เลยก็ได้
ส่วนกัมพูชา ลาว บรูไนไม่เปลี่ยนแปลงครับ . ความจริงบรูไนมีโครงการจะจัดหา Hawk จากอังกฤษมาหลายปีแล้ว นานกว่า บ.ข. เราอีก แต่ไม่ยอมซื้อสักที
ทั้งเมื่อโครงการจัดหาทั้งหมดเสร็จสิ้น อันดับก็คงไม่น่าจะเปลี่ยนครับ (อ้าว แล้วกรูพูดมาตั้งยาวทำไมนิ )
- อันดับ 1 สิงคโปร์: เหมือนเดิม เนื่องจากทอ.เขาครบถ้วนสมบูรณ์จริง ๆ
- อันดับ 2 ไทย: ให้พี่ไทยแล้วกันครับ ให้เพราะความสมดุลในกองทัพ
- อันดับ 3 มาเลเซีย: มาเลเซียมีกองทัพที่ทันสมัย แต่ขาดปริมาณรวมถึงความเข้ากันได้ครับ
- อันดับ 4 เวียดนาม: ความจริงข้อมูลฝรั่งบอกว่า tactic ของเวียดนามนั้นล้าสมัยมาก แต่ดูจากจำนวนอากาศยานและการจัดหาแล้ว การฝึกและการได้รับหลักนิยมใหม่ ๆ จากรัสเซียคงช่วยได้เยอะครับ
- อันดับ 5 อินโดนิเซีย: ถือได้ว่า ทอ. อินโดนิเซียฟื้นขึ้นมาอีกครั้งนึงครับ แต่ปริมาณยังไม่มากสักเท่าไหร่
- อันดับ 6 พม่า: ในอนาคต ไม่แน่ครับ J-10 หรือ JF-17 อาจจะมา
- อันดับ 7 ฟิลิปปินส์: อย่างน้อยก็ยังมีเครื่องบินรบเป็นตัวเป็นตนกับเขาครับ
- อันดับ 8 กัมพูชา: อย่างน้อยก็ยังมีเครื่องบินรบเป็นตัวเป็นตนกับเขาเช่นกันครับ
- อันดับ 9 ลาว: ผมคาดว่าทอ.ลาวไม่มีเครื่องบินที่มีความสามารถในการโจมตีแล้วครับ
- อับดับ 10 บรูไน: เหมือนลาว แต่คนก็ขาดมาก ๆ ครับ
ความจริงอยากได้ยินความเห็นของท่านอื่น ๆ ด้วยครับผม ท่านใดมีความเห็นอะไร เชิญมาแชร์กันได้ครับ
ชอบคุณครับคุณสกายแมน
ค่อนข้างจะแปลกใจครับที่ฮ.จาก PZL โปแลนด์จะเข้ามาเป็นตัวเลือกสำหรับการจัดหา ฮ.โจมตีของฟิลิบปินส์ ประเทศที่ใช้ ฮ.ของ PZL เป็น ฮ.โจมตีจริงๆในภูมิภาคนี้ก็เห็นมีแต่ W-3 Sokol ของพม่าครับ
ข่าวการจัดหา ฮ.ล่าสุดนั้นมีรายงานว่าจีนกำลังจะจัดหา ฮ.อเนกประสงค์จากโปแลนด์จำนวนถึง 150ลำครับ ซึ่งดูเหมือนว่า PZL กำลังมีแผนขยายตลาดในภูมิภาคนี้ครับ
China to buy 150 helicopters from Polands PZL Swidnik
WARSAW, Feb 27 (AFP) Feb 27, 2008
China will buy 150 helicopters from Polands PZL Swidnik over 10 years under an agreement signed between the Polish aircraft firm and Chinas Jiujiang aeronautics plant, PZL Swidnik confirmed Wednesday.
It is a framework agreement for co-operation over a decade. We will deliver three types of helicopters: PZL Sokol, PZL Kania and SW-4, according to orders that will be specified on a yearly basis, PZL Swidnik spokesman Jan Mazur told AFP.
A standard version PZL Sokol helicopter costs 4.0 million dollars ( 2.6 million euros), while a SW-4 costs less than a million dollars.
We also intend to assemble our PZL Sokol machines in China, Mazur said, but declined to provide further details.
According to Polands Rzeczpospolita daily, PZLs Chinese partner is preparing the ground for the assembly plant.
Polands State Treasury controls 87 percent of the PZL Swidnik aeronautics manufacturer, while the remaining shares are held, among others, by the municipality of Swidnik, southeast Poland.
Italys Agusta company is reported to have purchased a share in PZL Swidnik.
เอ้ยขออภัยครับเดี๋ยวคุณสกายแมนเข้าใจผิด แก้เลย
ขอบคุณครับคุรสกายแมน