ดูให้หน่อยครับ ว่าปืนที่ถืออยู่นี้เป็นปืนอะไร ผมดูแล้วมันทะแม่งๆ จะ A2 ก็ไม่ใช่ เพราะ ความยาวลำกล้องมันแปลก จะเป็น A1 ก็งงเข้าไปใหญ่เพราะฝาประกับ
CQ ไม่ใช่แน่ๆ เพราะต่างกันเยอะ
ช่วยดูหน่อยครับ
มันก็ดูเป็น M16A2 ปกตินิครับ ดูจากฝาประกับลำกล้อง ศูนย์หลัง ด้ามปืน ฯลฯ
ว่าแต่ เมื่อไหร่จะเปลี่ยนหมวกซะทีล่ะครับ
เล็งตาแทบเข ผมว่ายังไงก็ไม่ใช่เอสองครับ
เอารูปเอสองมาเปรียบเทียบ
ด้ามเอ1
ศูนย์เล็งเอ1
ฝาประกับเอ2
ชุดคนใส่ สีจางๆ
ถ้ามีรูปโคลสอัพจะดีมาก
ถ้ามีแต่โหมดยิงBurst นี่ เอ 2ชัวร์
ปล.ท่าน Praetorians ครับ ที่พี่ปืนถามนะ รูปบนสุดน่ะครับ
เสียดาย ภาพไม่ชัด จะได้ซูมดูปลอกลดแสงอีกอย่าง แต่เท่าที่ดูอาจจะเป็นลำกล้องA1 --
สรุป
เอ1 ฝาประกับเอ2 ฟันธง
ถ้างั้นคงเป็น A1 แปลงกายลูกผสม A2 ล่ะครับ
ขอเดามั่วด้วยคน อิอิ
คิดว่าน่าจาเหมือนพี่ไอซี่ ว่า น่าเป็นปืนเอ็ม 16 เอ1 แต่โมดิฟลายบางส่วนโดยใช้ชิ้นส่วนรู่นเอ 2
คุ้นๆเหมือนเคยได้ยินโครงการของทหารหน่วยใดบ่ทราบได้ว่าจะทำการปรับปรุงปืนเอ็ม 16 เอ แนวๆนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าทำเจงป่ะ จำได้เลาๆว่าเปลี่ยนลำกล้องกะไอ้ประกับปืนนี้แหละเรียกมั่วถูกป่ะ ศูนย์เล็งนี้ไม่รู้เปลี่ยนป่ะ หรือเปลี่ยนได้ป่ะ อยากรู้เหมือนกานมานจาเเม่นวขึ้นมากไหม แต่คงไม่เเม่นเหมือนลำกล้องเล็งม้าง อิอิ
และคุณพี่เค้าของทหารน้ำคับ เอ่ะ ใช่ป่ะ
พี่แกคงเป็นนาวิกโยธินสังกัดค่ายจุฬาภรณ์ที่นราธิวาสอ่ะป่ะ
แต่อาจจาเป็นนาวิกมาจากสัตตหีบก็ได้ อ่า น่าคิดไหม อิอิ
ที่พี่แกแต่งตัวชุดพรางลายแปลกแตกต่างจากหน่วย ท.บ. หรือหมวกรุ่นเก่าก็เพราะพี่แกม่ายน่าจาใช่ทหารบก อิอิ
ตกลงผมเดาถูกอ่ะป่ะ อิอิ
^_^
ตอนแรกก็เข้าใจว่าจะเป็น M16A2 แต่พอท่าน ICY ทักว่าเป็นM16A1 ที่ใช้ประกับหน้าแบบA2 น่า จะเป็นอย่างนั้นจริงๆ ลำกล้องดูแล้วไม่หนาเท่าที่ควร น่าจะเป็นลำกล้องของ A1 ขอเดาว่าเป็นM16A1 ที่ประกับหน้าเสียหาย ต้องเปลี่ยนแต่หาประกับหน้าที่ตรงรุ่นไม่ได้ ก็ต้องใช้ของรุ่นA2 แทนโดยอาจต้องเปลี่ยนตัวยืดประกับหน้า เพื่อให้ใช้ประกับหน้ารุ่น A2 บนลำกล้องของรุ่น A1
a2 ครับ ดูจากปุ่มด้านหลังช่องขับปลอกกระสุนครับ
จากรูปด้านล่าง ไล่จากบนลงล่าง คือ M16a1, M16a2, M4 และ M16a4
ให้ดูความแตกต่าง ตรงด้านหลังช่องขับปลอก มีปุ่มนูนออกมา คาดว่า น่าจะเป็น ปุ่มบังคับทิศทางของปลอกกระสุนไม่ให้วิ่งเข้าหน้าคนยิงครับ ส่วนในรูป ท่านคอฟฟี่มิกซ์ มองให้เห็นศูนย์เล็งหลัง(นั่งแท่น) ส่วนพานท้ายและปลอกลดแสงมันกะขนาดจากมิติรูปยาก
เข้าใจหารูปมาท้ายจัง...อิอิ... ทร.น่าจะเปลี่ยนหมวกเหล็กได้แล้วจริงๆด้วย
รูปมาจากเว็บศูยน์กำลังสำรอง ครับ ขอบคุณที่เอื้อเฟื้อhttp://www.ruksadindan.com/web/modules/My_eGallery/gallery/other/beeeb283c970c3d.jpg
ซึ่งหลักๆแล้ว ส่วนที่ เอ 1 ต่างจาก เอ 2(เอ3 และ เอ 4) ที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกคือ ศูนย์หลัง(ซึ่ง เอ 2 ขึ้นไป จะปรับได้ละเอียดกว่า) ลักษณะจะเห็นได้ชัด ตัว เอ 1 ในส่วนของบังศูนย์หลังจะเป็นชิ้นเดียวกับหูหิ้ว แต่ เอ 2 ขึ้นไป จะแยกเป็น 2 ชิ้น(เพราะมันสามารถยืดขึ้นลงได้ ตามระยะยิงจริง) ดูหมายเลข 1 ตามภาพประกอบ...............ด้านขวาของศูนย์หลัง เอ 1 จะมีเพียงจานควง(วางตัวแนวตั้ง)สำหรับปรับทางทิศเพียงอันเดียว(หมายเลข2) แต่ เอ 2 ขึ้นไปจะมี 2 จาน คือ จานควงอันหนึ่ง(ด้านบน)วางตัวแนวตั้ง(หมายเลข3) สำหรับปรับทางทิศในการยิงปรับศูนย์รบ(สนาม 25 เมตร หรือ 1000 นิ้ว) และจานอันล่าง(วางตัวแนวนอน)(หมายเลข4) สำหรับปรับตามระยะยิงจริง(หลังปรับศูนย์รบมาแล้ว) ซึ่งจะปรับได้จนถึง 800 เมตร(มีหมายเลขกำกับอยู่) และเวลาปรับต้องมองด้านซ้ายของตัวปืน เพราะมาตรชี้มันอยู่ด้านนั้น...............ความแตกต่างดังกล่าวทำให้ ศูนย์ เอ 2 ขึ้นไป ปรับได้ละเอียดกว่า ศูนย์หลังปืนตระกูล เอ็ม 16 จะเป็นแบบศูนย์รู 2 อัน กระดกเปลี่ยนได้ ซึ่งใน เอ 1 ขนาดของรูศูนย์ในแท่นกระดกทั้งสองอันจะเท่ากันจะเท่ากัน แต่ต่างกันที่ความสูงของรู อันสูงจะมีเครื่องหมาย ตัว L กำกับอยู่ จนทำให้เราเรียกจนชินปากว่า ศูนย์รูใหญ่ทั้งที่จริงๆแล้วมันเท่ากัน ศูนย์รูสูงใช้สำหรับการยิงระยะไกล ส่วนอันต่ำ(ที่ไม่มีตัว L) สำหรับระยะใกล้........ในส่วนของ เอ 2 ขึ้นไป นั้นจะเป็นศูนย์ 2 อันกระดกได้เหมือนกัน แต่ขนาดจะต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ศูนย์รูใหญ่สำหรับการยิงระยะประชิด และในสภาพทัศนวิสัยจำกัด(เพราะสามารถจับเป้าได้ดีกว่า) ส่วนศูนย์รูเล็กสำหรับยิงในสภาวะทัศนวิศัยปกติ....จานควงตัวล่าง มีหมายเลขกำกับอยู่ มี เลข 3 ถึง เลข 8 ในส่วนเลข 3 กับ เลข 8 มันจะเขียนว่า 3/8 เพราะมันหมุนมาครบรอบ 360 องศา พอดี......การปรับศูนย์รบ เอ 2 จะยิงที่ระยะ25 เมตร ใช้ศูนย์รูเล็ก และหมุนจานควงตัวล่างมาที่เลข 3 แล้วหมุนถอยหลัง 3 คลิ๊ก แล้วยิง ส่วนการปรับกลุ่มกระสุนทางทิศ(ซ้าย ขวา) จะหมุนปรับที่จานควงตัวบนทางด้านขวาของศูนย์ สำหรับศูนย์หน้าใช้ปรับ ทางระยะ (คือ สูง ต่ำ) พอปรับจนกลุ่มกระสุนเข้ากลางเป้าแล้ว เวลาใช้ยิงตามระยะจริง เราจะปรับเอาที่จานตัวล่าง ตามหมายเลขตามระยะที่ต้องการ ส่วนจานตัวบนห้ามหมุนปรับ..............(มีต่อ)
อนึ่ง ต้องขอย้อนความก่อนว่า ปืนทุกชนิดที่หัวกระสุนมันยังวิ่งด้วยแรงขับดันของดินปืนนั้น กระสุน มันไม่ได้วิ่งในแนวตรงเป๊ะ(ตราบใดที่ยังมีแรงโน้มถ่วงและไม่เปลี่ยนกระสุนเป็นแสง) แต่จะวิ่งในแนวโค้ง(จะโค้งมากโค้งน้อยก็แล้วแต่ปืน)........เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมทั้งๆที่แนวเล็ง(ศูนย์หน้า ศูนย์หลัง)(ตามรูปประกอบคือ เส้นสีน้ำเงิน) มันอยู่สูงกว่าแนวลำกล้อง แต่เหตุไฉนไยกระสุนมันถึงวิ่งชนเป้าตามแนวที่เราเล็ง เหตุผลก็ตามที่บอกครับ ว่ากระสุนมันวิ่งวิถีโค้งดังนั้นแนวลำกล้องมันจึงต้องวางเฉียงทำมุมกระดกหรือเงย เล็กน้อย(ตามแนวปากลำกล้อง) หรือพูดง่ายๆว่า แนวเล็งกับแนวลำกล้องมันไม่ได้ขนานกัน แต่มันทำมุมกันอยู่ครับ(ซึ่งมันไม่มาก ทำให้เรามองด้วยสายตาแล้วจึงดูว่าแนวลำกล้องมันไม่ได้กระดกขึ้น).......ดังนั้นด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้แนวของวิถีกระสุน(เส้นสีแดง) มันจึงมี 2 ลักษณะคือ ขาขึ้นและขาลง ดังนั้นมันจึงมีสองระยะที่แนวของวิถีกระสุนจะตัดกับแนวของการเล็งพอดี คือแนวตอนขึ้นและตอนลงหรือตก ในกรณี เอ็ม 16 นั้น ในแนวขาขึ้นมันจะตัดกับแนวเล็งที่ระยะ 25 เมตรครับ(เป็นเหตุผลว่าทำไมสนามยิงปืนสำหรับปรับศูนย์รบจึงทำระยะ 25 เมตร) ส่วนขาลงที่ไปตัดกันพอดีนั้นผมจำไม่ได้ แต่ถ้าจำไม่ผิด ใน เอ 1(ศูนย์ ตัว L) จะตัดขาขึ้นที่ระยะ 25 เมตร และ ขาลงที่ระยะ 375 เมตร(ขาขึ้นชัวร์แต่ขาลงไม่แน่ใจครับเพราะลืม) ในกรณีศูนย์หลังอีกอันของ เอ 1(ไม่มีรูปตัว L) ซึ่งจะอยู่ต่ำกว่า ดังนั้นระยะตัดขาขึ้นและขาลงจึงไม่เหมือนศูนย์ตัว L ซึ่งถ้าจำไม่ผิดในขาขึ้น จะตัดที่ระยะต่ำกว่า............ด้วยเหตุผลที่ว่าสายตาคนเราไม่เหมือนกัน จะสั้น จะยาว จะเอียงซ้ายแม่ยายรัก เอียงขวาพ่อตาชัง(สายตานะครับ อย่าคิดมาก) ดังนั้น จึงต้องมีการยิงปรับปืน เพื่อให้แนวเล็งตรงกับแนวกระสุน(เพราะแนวกระสุนนั้นมันมีค่าเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าแนวเล็ง จึงต้องเอาแนวกระสุนเป็นหลัก)...............ในสมัยโบราณบานบุรี ครั้งที่ กองทัพประเทศสารขัณฑ์ ยังคงใช้ เอ็ม 16 เอ 1 เป็นอาวุธหลัก นั้น การยิงปรับศูนย์รบในสนาม 25 เมตร(หรือแม้แต่ยิงในระยะจริง ที่เราเรียกกันว่ายิงทราบระยะ)นั้น เรายังใช้เป้าแบบตาวัว(วงกลมซ้อนกัน) และใช้การเล็งแบบ เล็งนั่งแท่น(คือให้วงกลมสีดำอยู่บนยอดศูนย์หน้า) โดยเราลืมนึกไปว่า เป้าที่เราจะยิงกันจริงๆนั้นมันคือ คน ซึ่งรูปทรงมันไม่ได้กลมบ็อกแต่มันมีลักษณะคล้ายขวด(ถ้าเป้าทหารข้าศึกมีรูปทรงเหมือนตาดิ่งนรกหมดทุกคนก็อีกเรื่องหนึ่ง)...........การเล็งยิงลักษณะข้างต้นนั้นทำให้กลุ่มกระสุนจะสูงกว่าแนวเล็งซึ่งมันก็ไม่ผิดถ้าเป้าที่ยิงจริงๆมันคือตาดิ่งนรก เอ๊ย มันคือ เป้าวงกลม แต่เป้าจริงๆมันไม่เป็นเช่นนั้น มันมีลักษณะทรงคล้ายขวด ดังนั้นเวลาเรายิงจริงซึ่งเราเล็งกลางตัวคนอย่างแน่นอน มันจึงทำให้โอกาสยิงโดนน้อยลงซึ่งถ้าเล็งยิงปรับมาในลักษณะดังกล่าวถ้าจะเพิ่มโอกาสยิงโดนให้สูงขึ้น จะต้องเล็งที่เท้า ซึ่งในสภาวะจริงที่เป้ามันอยู่ในที่กำบังและเคลื่อนที่ ยิ่งทำให้เป้าเล็กลงและมีโอกาสพลาดสูง(กรณียิงระยะไกล แต่ถ้ายิงระยะใกล้แล้วอีกเรื่องหนึ่ง).....และที่ผิดพลาดอีกอย่างก็คือในการยิงปรับข้างต้น เราดันใช้ศูนย์หลังที่ไม่ใช่รูปตัว L ซึ่งมันมีค่าขีปนวิถี ที่ต่างจากศูนย์ตัว L ซึ่งไม่เหมาะกับสนามปรับปืนระยะ 25 เมตร และการใช้ก็บอกว่าเมื่อไปยิงที่สนามทราบระยะแล้วให้ใช้ศูนย์ตัว L ยิ่งทำให้คลาดเคลื่อนไปกันใหญ่ เพราะยิงปรับศูนย์หนึ่ง พอใช้ยิงจริงใช้ อีก ศูนย์หนึ่ง..............การเล็งนั่งแท่นต่อศูนย์ตาวัวดังกล่าว จึงเหมาะกับการยิงแข่งขันที่ใช้เป้าตาวัว เพราะเล็งนั่งแท่นต่อวงดำ จะทำให้ความคลาดเคลื่อนจากการที่สายตาเราล้าจากการยิงติดต่อนานๆลดลง...........แต่เราก็มีการพัฒนา ดังนั้น เป้าปรับปืนจึงเปลี่ยนเป็นรูปเงาคนแทน และการยิงปรับก็ใช้ศูนย์ตัว L ซึ่งมีค่าขีปนวิถี เหมาะกับสนามดังกล่าว และใช้การเล็งจี้กลางเป้าแทนการเล็งนั่งแท่น และใช้ศูนย์ตัว L เป็นหลักในการยิงจริง....อืมมม เริ่มเข้าท่า แต่ถ้าเรามองดีๆ อีกที ด้วยข้อจำกัดของศูนย์หลังของ เอ 1 ที่มันอยู่กับที่ไม่สามารถเลื่อนสูงต่ำได้ ตามระยะยิง จึงทำให้มันไม่ระเอียด แต่ถ้าคนยิงเข้าใจถึงหลักการดังกล่าว ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการยิงแก้ยิงเผื่อ เอาเอง กล่าวคือ ถ้าเป้าอยู่ที่ระยะประมาณ 100 เมตร ก็เล็งเผื่อต่ำ(เล็งต่ำกว่ากลางเป้า)เล็กน้อย ระยะประมาณ 250 เมตร ก็เล็งเผื่อต่ำมากๆหน่อย ถ้าเกิน 375 เมตรขึ้นไปก็เล็งเผื่อสูงแทน(เล็งสูงกว่ากลางเป้า)..................แต่ปัญหาดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขใน เอ 2 ที่ศูนย์หลังปรับได้ละเอียดขึ้น คือ หลังยิงปรับศูนย์รบแล้ว ก็สามารถหมุนให้ศูนย์หลังสูงต่ำได้ตามระยะเป้า.............(มีต่อ)
จุดต่อไปคือ ฝาประกับลำกล้อง(หมายเลข 1)..........ลำกล้อง(ส่วนปลายที่โผล่พ้นฝาประกับออกไป)(หมายเลข 2) เอ 1 ลำกล้องส่วนดังกล่าวจะเรียวบางกว่าและมีขนาดเล็กกว่าปลอกลดแสงอย่างเห็นได้ชัด ส่วน เอ 2 จะอวบหนาจนมีขนาดเท่าๆกับปลอกลดแสง แต่ลำกล้องส่วนที่ซ่อนอยู่ในฝาประกับแล้วมีขนาดเท่ากัน ดังนั้นถ้าเราถอดฝาประกับ เอ 2 ออกแล้ว จะเห็นลำกล้องทั้งหมดเป็นลักษณะต้นและกลางจะเล็กเท่ากันและปลายบานใหญ่ขึ้น เหตุผลเค้าบอกว่าลำกล้องลักษณะดังกล่าวของ เอ 2 จะทำให้มีการระบายความร้อนจากการยิงต่อเนื่องได้ดีกว่า...........ปลอกลดแสง(หมายเลข 3) เอ 1 ปลอกลดแสงจะมีรูด้านข้างตลอดจนครบรอบ แต่ เอ 2 จะมีรูเฉพาะครึ่งบน ส่วนครึ่งล่างไม่มี เหตุผล เพราะช่วยลดอาการเงยของลำกล้องขณะยิง เพราะแรงแก๊สจะพ่นขึ้นด้านบนด้านเดียวเพื่อกดลำกล้องไว้ ในขณะที่ เอ 1 มันจะพ่นทุกทิศ และช่วยลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น(จากการยิงในท่าที่ปลอกลดแสงอยู่ใกล้พื้นที่ที่มีฝุ่นเยอะๆ) เป็นการลดการถูกตรวจพบที่ตั้งยิง แต่รูปลักษณ์ดังกล่าวจะเห็นไม่ค่อยชัดจากรูปถ่ายบางมุม....และผมก็เคยเห็นปืน เอ 2 บางกระบอกที่ปลอกลดแสงหมุนขันไม่ตรงตำแหน่งที่ต้องการในการออกแบบ กล่าวคือ ด้านที่ไม่มีรูระบายไม่อยู่ด้านล่าง แต่อยู่ด้านข้างหรือด้านบนแทน(ปลอกลดแสงจะมีเกลียวสำหรับขันยึดติดกับปลายลำกล้องโดยมีแหวนรองรับอยู่)................อนึ่ง เกลียวภายในลำกล้องของ เอ 1 และ เอ 2 จะไม่เหมือนกัน กล่าวคือ เกลียว เอ 1 จะหมุนครบรอบที่ระยะ 12 นิ้ว(ถ้าจำไม่ผิด) ส่วน เอ 2 จะครบรอบที่ระยะ 7 นิ้ว(ถ้าจำไม่ผิด) หรือพูดง่ายๆก็คือ เอ 2 มีเกลียวที่หมุนจัดกว่า เอ 1 และ เอ 2 ถูกออกแบบให้ใช้กับกระสุนแบบใหม่(กระสุนธรรมดาไอ้กันเรียก เอ็ม 855 ส่วนนาโต้ เรียก เอสเอส 109) ซึ่งหัวกระสุนจะหนักกว่ากระสุนตัวเก่า(กระสุนธรรมดา เอ็ม 193)และเสริมแกนเหล็ก(เลียนแบบกระสุนของ เอเค 47) ซึ่งกระสุนตัวเก่าจะไม่เสริม น้ำหนักหัวกระสุนที่มากขึ้นจึงทำให้ดินขับต้องมากขึ้น และ บวกกับเกลียวที่รีดรอบได้จัดกว่า ทำให้กระสุนตัวใหม่มีอำนาจการทำลายสูงขึ้นและมีระยะยิงหวังผลที่ไกลขึ้น........และถ้าถามว่า เอา กระสุนทั้งสองแบบมายิงแทนกันได้ไหม ตอบว่าได้ แต่ กรณีเอากระสุนตัวเก่ามายิงใน เอ 2 นั้น ยิงได้แต่จะทำให้ค่าขีปนวิถีเปลี่ยนไป และอำนาจการทำลายลดลง....แต่ถ้าเอากระสุนตัวใหม่มายิงใน เอ 1 ละก็ตอบว่ายิงได้เช่นกัน แต่ไม่รับประกันความปลอดภัยของคนยิง เพราะกระสุนตัวใหม่มีแรงดันสูงกว่า ถ้ากล้าเสี่ยงก็เชิญ หุหุ.....................(มีต่อ)
ต่อไปคือ ด้ามปืน(หมายเลข 1) เอ 1 ด้ามปืนด้านหน้าจะเรียบ แต่เอ 2 จะมีแหง่ร่องนิ้วยื่นมาข้างหน้า 1 อัน.......หมายเลข 2 คือ คันดันหน้าลูกเลื่อน(ขออภัยจำชื่ออย่างเป็นทางการไม่ได้) ซึ่งเจ้าตัวดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อดันหน้าลูกเลื่อนให้ขยับไปข้างหน้า เหตุเพราะในบางครั้งที่เรายิงติดต่อกันบ่อยๆโดยที่เราไม่ได้ทำความสะอาดจะทำให้มีคราบเขม่าจับที่บริเวณหน้าลูกเลื่อนและในรังเพลิงมากจนทำให้หน้าลูกเลื่อนเข้าที่ไม่สนิดไม่ขัดกลอนและส่งผลให้ไม่สามารถยิงได้ จึงออกแบบคันดังกล่าวมาเพื่อกดย้ำให้หน้าลูกเลื่อนเข้าที่จนสามารถยิงได้ คันดังกล่าวปรับปรุงใน เอ็ม 16 เอ 1 เอ็ม 16 จะไม่มี...................ในส่วนของ เอ 1 และ เอ 2 นั้น เจ้าปุ่มดังกล่าวจะมีรูปทรงไม่เหมือนกันกล่าวคือ เอ 1 จะรีๆยาวๆลงมาด้านล่าง ส่วน เอ 2 จะเป็นวงกลม......แต่ทั้งนี้ผมก็เห็น เอ็ม 16 เอ 1 ในกองร้อยผมบางกระบอกมีรูปทรงของส่วนดังกล่าวเป็น วงกลมเหมือน เอ 2 ซึ่งเข้าใจว่าเอาอะไหล่ เอ 2 มาใส่.....(มีต่อครับ โปรดรอติดตาม)
รอกินเนื้อย่างะหมวดบอมบ์ฮะ
ปลายเดือนนี้ว่างกันมั๊ยพี่น้อง
มาต่อกันครับ
....อีกส่วนหนึ่งที่ เอ 1 ต่างจาก เอ 2 คือ การเลือกแบบการยิง เอ 1 มี 3 ตำแหน่ง คือ ห้ามไก ยิงกึ่งอัตโนมัติ(ยิงทีละนัดต่อการเหนี่ยวไก 1 ครั้ง) และยิงอัตโนมัติเต็มตัว(กระสุนจะถูกยิงออกไปจนกว่าเราจะปล่อยไกหรือกระสุนหมด) ส่วนเอ 2 มี 3 ตำแหน่ง เหมือนกันคือ ห้ามไก ยิงกึ่งอัตโนมัติ และ ยิงชุด 3 นัด(กระสุนจะถูกยิงออกไป 3 นัด ในการเหนี่ยวไกค้างไว้ 1 ครั้ง)..........จากรูปแบบดังกล่าว ทำให้เอ 2 ต่างจาก เอ 1 ตรงที่ เอ 2 ไม่สามารถยิงแบบอัตโนมัติเต็มตัวได้ แต่จะทำการยิงเป็นชุดๆ ชุดละ 3 นัดแทน เพื่อเป็นการประหยัดกระสุนและบีบกลุ่มกระสุนในการยิงอัตโนมัติ..............สำหรับผู้ที่ฝึกมาจนมีทักษะการใช้อาวุธเป็นอย่างดี นั้น การยิงที่เหมาะสมคือ การยิงกึ่งอัตโนมัติโดยยิ่งย้ำอย่างต่อเนื่องต่อเป้าหมาย เพื่อเป็นการประหยัดกระสุนและบีบกลุ่มกระสุนให้เล็กลง แต่ในบางกรณี การยิงอัตโนมัติก็ยังคงจำเป็นอยู่.........สำหรับใน เอ 1 นั้นถ้าผู้ยิงมีทักษะแล้ว ก็สามารถยิงและคุมปืนในการยิงชุด 2-4 นัด ได้เช่นกัน ซึ่งต้องอาศัยการกะจังหวะในการเหนี่ยวไกเอง.............(มีต่อ)
........อีกส่วนหนึ่งคือ ในส่วนของพานท้ายปืน(หมายเลข1) เอ 2 พานท้ายปืนจะยาวกว่าและมีช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดตรงบริเวณปลายพานท้าย(หมายเลข2) พานท้ายแบบยาวจะมีสีออกด้านๆ แต่แบบสั้นจะเงากว่า........แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ใน เอ 1 บางกระบอกก็ใช้พานท้ายแบบเดียวกับ เอ 2 เหมือนกัน.....................มีอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ ชิ้นส่วนอะไหล่ส่วนใหญ่ของปืนตระกูล เอ็ม 16 นั้นสามารถใช้ร่วมกันได้ และอย่างที่บอกข้างต้นว่าปืนมี 2 ส่วนใหญ่ๆคือ โครงปืนส่วนบน และ โครงปืนส่วนล่าง ซึ่งสามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นถ้าเรานำโครงปืนส่วนบนของ เอ 2 มาประกบร่างกับโครงปืนส่วนล่างของ เอ 1 เราก็จะได้ ปืนที่มีศูนย์เล็งและลำกล้องเป็น เอ 2 แต่มีรูปแบบการเลือกแบบการยิงเหมือน เอ 1 หรือในทางกลับกันถ้าเรานำโครงปืนส่วนบนของ เอ 1 มาประกบร่างกับโครงปืนส่วนล่างของ เอ 2 เราก็จะได้ปืนที่มีระบบการเล็งและลำกล้องของ เอ 1 และมีรูปแบบการยิงเหมือน เอ 2.........หรือจะเอา คาร์ไบด์ มาเล่นสลับร่างกับ ไรเฟิล ก็ได้ เช่น เอาโครงปืนส่วนบนของ เอ็ม 4 มาประกบร่างโครงปืนล่างของ เอ 2 เราก็จะได้ปืนที่ลำกล้องสั้น(คาร์ไบด์) แต่พานท้ายเป็นแบบตายตัว ยืดหดไม่ได้ หรือในทางกลับกัน เราก็จะได้ ไรเฟิล ที่สามารถยืดหดพานท้ายได้................
กรณี เอ 1 นั้นเท่าที่จับและยิงมา ผมเห็นมีหลายรูปแบบมาก ทั้งมาตรฐาน มีแท่นสะท้อนปลอกกระสุนก็มี ใช้พานท้ายแบบ เอ 2 ก็มี ใช้ปุ่มดันหน้าลูกเลื่อนแบบ เอ 2 ก็มี.........และด้วยเหตุผลต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ถ้าเราจะแยกระหว่าง เอ 1 และ เอ 2 ขึ้นไปนั้นให้ดูลำกล้องและศูนย์หลังเป็นหลักครับ เพราะมันเป็นจุดที่แบ่งแยกขีดความสามารถอย่างชัดเจน(ระยะยิงหวังผลและความระเอียดต่างกัน)......แต่(มีแต่ตลอดเลยวุ้ย!) ผมเคยเห็น เอ็ม 16 เอ 2 รุ่นหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิดเคยเห็นใน Top Gun เล่มแรกๆเลยครับ(น่าจะฉบับที่ 4) หน้าปกเป็นรูปหน่วย พาทไฟเดอร์ ของอังกฤษ(ถ้าจำไม่ผิด)กำลังใช้เครื่องมือในการวัดคำนวณความเร็วลมอยู่ ซึ่งรูปภายใน ผมเห็น เอ็ม 16 ของหน่วยดังกล่าว มีลำกล้องและปลอกลดแสงเป็นแบบ เอ 2 แต่ศูนย์หลังเป็นแบบ เอ 1 ครับ.............. ในกรณี ของรูปในภาพนั้น เนื่องจาก เห็นลำกล้อง และศูนย์หลังไม่ชัด จึงยากที่จะบอกได้ และอีกเหตุผลหนึ่งคือ ผมเคยเห็น ทร. ถือ เอ 1 ที่ใช้ประกับ เอ 2 มาแล้ว(ตอนปฏิวัติ) และก็เคยเห็นรูปของ นย. และ ทหารพราน นย. ถือปืนลักษณะดังกล่าวด้วยเช่นกัน..........
เพิ่มเติมอีกหน่อยครับ ในการฝึกยิงปืนปัจจุบันนั้น หลังจากยิงปรับปืนแล้ว เราก็จะยิงบันทึกแต้ม โดยใช้เป้าที่มี รูปแบบเป้าเป็นรูปเงาคน ขนาดย่อตามระยะต่างๆ(คือจำลองขนาดเป้าที่เราจะเห็นจริงๆในระยะนั้นๆครับ) จำนวน 10 เป้า ต่อกระดาษเป้าหนึ่งแผ่น ยิงในสนาม 25 เมตร นั้นแหละครับ ในการยิงเบื้องต้นนั้นก็ถือว่าดีครับ เพราะเป็นการจำลอง(ย่นระยะ)ในการเล็งต่อขนาดเป้าที่เราจะเห็นจริงๆในระยะต่างๆ แต่ถ้าเราไปยิงในสนามทราบระยะจริงๆ(คือระยะยิงตามระยะจริง) มันจะมีปัจจัยอื่นที่มาส่งผลกระทบต่อวิถีกระสุนครับ หลักๆก็คือ ความเร็วและทิศทางของลม ครับ ในการยิงจำลองระยะนั้น กระสุนมันวิ่งแค่ 25 เมตร ดังนั้นความคลาดเคลื่อนจากปัจจัยกระทบภายนอกก็จะน้อย แต่ยิ่งมันวิ่งไกลมากเท่าไหร่ ความคลาดเคลื่อนดังกล่าวก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะกระสุนในขาลง เพราะความเร็วมันลดลง กระสุนที่มีนำหนักเบาก็จะแกว่งได้ง่ายเมื่อเจอลม และอีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องเหมือนกันคือ แสง และเงา ครับ ผมเคยเจอมากับตัวเองตอนยิงปืนแข่งขันอุดมศึกษา ในตอนยิงปรับปืน และยิงบันทึกแต้มช่วงแรกๆนั้น สภาพของแสงที่เป้าและที่ตำแหน่งที่ยิงไม่มีแดดเพราะมีเมฆอยู่ แต่พอขณะที่ยิงบันทึกแต้มช่วงกลางๆอยู่นั้น ปรากฏว่าเมฆหายไป กลายเป็นว่า ที่บริเวณเป้าเป็นเงาร่ม ส่วนตรงกลางและตำแหน่งยิงมีแสงแดด ผลออกมาว่ากลุ่มกระสุนช่วงหลัง หลังจากสภาพแสงเปลี่ยน นั้น เปลี่ยนไปทันที จึงต้องเล็งแก้เอาเองครับ นี่ขนาดระยะยิงแค่ 50 เมตร กลุ่มกระสุนยังเปลี่ยนไปเยอะพอสมควร ส่วนเหตุผลนั้นก็เพราะว่าแสงมีผลต่อสายตาเราในการมองและเล็งเป้าครับ.......ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ รู้สึกว่าถ้า ตรงเป้ามีแสงมาก ขนาดเป้าจะเล็กกว่าความเป็นจริง แต่ถ้ามีแสงน้อย ขนาดเป้าจะใหญ่กว่าความเป็นจริงครับ....................ดังนั้น การเพิ่มทักษะในการยิงระยะไกลๆ เราต้องสามารถคำนวณลมและแสง เพื่อเล็งแก้อย่างง่ายๆได้ครับ เพื่อเพิ่มโชคในการยิงให้สูงขึ้น.......และการยิงต่อเป้าหมายที่เป็นคนนั้น ความคลาดเคลื่อนทางทิศ(ซ้าย-ขวา) จะส่งผลเสียมากกว่า ความคลาดเคลื่อนทางระยะ(สูง-ต่ำ) ครับ เพราะเป้ารูปคนนั้นมันจะมีขนาดทางสูงมากกว่าทางกว้าง และการเล็งเผื่อ(เล็งแก้)นั้นถ้าเราจำเป็นต้องเผื่อจริงๆให้เล็งเผื่อต่ำ ดีกว่า เผื่อสูงครับ เพราะถ้ากระสุนตกต่ำกว่าเป้าในมุมน้อยๆ มันยังมีโอกาสแฉลบไปโดนเป้าครับ แต่ถ้าข้ามหัวก็หมดสิทธิ์ทันที มีครั้งหนึ่งผมดูหน่วยใกล้ๆ เค้าฝึกยิงบนรถมอเตอร์ไซด์ ที่เป้าผูกลูกโป่งไว้ ผมเห็นกับตาว่า กระสุนมันตกต่ำกว่าเป้า(ตกดินก่อนถึงเป้า) เพราะดินตรงนั้นมันกระจายขึ้นมาเพราะกระสุนวิ่งชน แต่ลูกโป่งดันแตก ซึ่งแสดงว่ากระสุนมันแฉลบไปโดนครับ............
แถมอีกนิดครับ เนื่องจากกระสุนมันวิ่งเป็นแนวโค้ง ตามที่อธิบายไว้ข้างต้น ดังนั้นในการยิงระยะไกลมากๆ เช่น ปืนกล ในระยะประมาณ 900 เมตร ขึ้นไปนั้น มันจะมีพื้นที่บางส่วน คือช่วงที่กระสุนวิ่งขึ้นสูงนั้น กระสุนมันจะวิ่งสูงกว่าความสูงคนโดยเฉลี่ยครับ หรือพูดง่ายๆว่ามันวิ่งข้ามหัวครับ(พื้นที่ที่แรเงาไว้) ดังนั้นมันจะมีระยะระยะหนึ่งที่เค้ากำหนดไว้ในการยิงกวาด(ไม่ใช่กราด) ซึ่งมันจะเป็นระยะที่ไกลที่สุดที่ไม่มีพื้นที่อับกระสุนดังกล่าว พูดง่ายๆก็คือ จุดที่กระสุนวิ่งขึ้นสูงที่สุดจะต้องไม่สูงกว่าระยะความสูงคนโดยเฉลี่ยครับ................. อันนี้คร่าวๆครับ ถ้าพูดรายละเอียดจริงๆแล้ว เยอะมากครับ ปืนกล ที่เราเห็นยิงกันอย่างเมามันในหนังสงครามบางเรื่องนั้น จริงๆแล้ว หลักการใช้จริงๆมีเยอะมากครับ..........
ซูฮกเลยหมวดบอมม์ แน่นปึ๊กเลย...
ถามอีกเรื่องครับ.... ฮ.ในรูปหมวด คุ้นๆ อะครับ เหมือนจะนำไปสเตติกที่ไหนซักแห่ง... ช่ายไม๊ครับ....?
สำหรับรูปแรกสุดอย่าไปคิดมากครับ
เคยเห็นมาแล้วกับตา
A1 ใช้ฝาประกับ A2 ทร. ทำอย่างนี้เยอะครับ...