หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ระบบต้นแบบในการพัฒนาจรวดทางยุทธศาสตร์ของกองทัพบก

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 01/03/2008 20:10:13

เคยมีการนำเสนอข่าวว่ากองทัพบกไทยกำลังมีโครงการพัฒนาระบบอาวุธจรวดพื้นสู่พื้นขึ้นมาเอง
โดยในเนื้อข่าวนอกจากการพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด160mmระยะยิง 40-80km แล้ว(ตรงนี้ทาง ศอว.ทบ. น่าจะมีประการณ์ในการพัฒนาจรวดและดินขับมาบางแล้วน่าจะพัฒนาต่อได้ไม่ยากนัก)
ยังมีโครงการพัฒนาจรวดทางยุทธศาสตร์เครื่องยนตร์ Turbojet นำวิถีด้วย GPS ซึ่งมีระยะตามข้อกำหนดของ MTCR (Missile Technology Control Regime) ด้วย
ซึ่งจากการวิเคราะห์จากหลายท่านนั้นเข้าใจว่าโครงการดังกล่าวน่าจะคือการพัฒนา อาวุธปล่อยร่อน(Cruise Missile)แบบพื้นสู่พื้น ติดหัวรบ500kg ระยะยิงเกิน300km

พอดีได้มีโอกาสได้อ่านบทความการวิเคราะห์เรื่องการพัฒนาอาวุธปล่อยร่อนและขีปนาวุธทางยุทธวิถีจากสมรภูมิเล่มเก่าๆนะครับ
จากบทความนี้เห็นว่าการพัฒนาอาวุธปล่อยพื้นสู่พื้นของหลายๆประเทศเช่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ อิรัก อิหร่าน อินเดีย ปากีสถาน นั้นแทบทุกประเทศจะใช้วิธี reverse engineer จากระบบอาวุธที่ตนมีประจำการหรือได้รับการถ่ายทอด Technology จากมิตรประเทศมหาอำนาจครับ เช่น
Hwasong ของเกาหลีเหนือที่พัฒนาจาก SCUD
Hyunmoo ของเกาหลีใต้ที่พัฒนาจาก SAM แบบ Nike Hercules
ขีปนาวุธพื้นสู่พื้นที่อิรักดัดแปลงจากขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำ Silkworm ของจีน, SA-2 และ SA-3 เป็นต้น
และ Brahmos ของอินเดียที่พัฒนาร่วมกับรัสเซียเป็นต้น

ถ้าดูจากความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการนี้ของกองทัพบกไทยนั้น รูปแบบของอาวุธลักษณะนี้เราอาจจะสามารถขอรับการสนับสนุนTechnologyจากจีนเช่นเดียวกับปากีสถานครับ และรูปแบบการพันฒนาที่น่าจะเป็นไปได้ก็น่าจะไปในทางเดียวกับปากีสถานเช่นกัน
ซึ่งระบบที่ใกล้เคียงที่จะนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาตามความความเห็นส่วนตัวคือ

ระบบ Babur (Hatf-VII) Cruise Missile ของปากีสถาน

 http://img512.imageshack.us/img512/1407/baburhp0.jpg

http://www.youtube.com/watch?v=Pf6ZezPYFik
http://www.youtube.com/watch?v=ydmizCzn9CI

ระบบนี้คาดว่าน่าจะพัฒนาจากอาวุธปล่อยร่อนพิสัยไกลแบบ YJ-82 ของจีนซึ่งติดตั้งบนเรือผิวน้ำเช่น Type 052C สามารถยิงได้ทั้งเรือและเป้าหมายบนบกระยะยิง250km
อาวุธปล่อยร่อน Babur ใช้เครื่องยนตร์ Turbofan และ Booster ดินขับแข็ง
ทำความเร็วได้ราว 800-900km/hr นำวิถีด้วย GPS/INS และ TERCOM พิสัยการยิง700-800km
ติดหัวรบดินระเบิดธรรมดาได้ 500kg หรือหัวรบNuclear ได้
ปากีสถานได้ทำการทสอบการยิงรุ่นฐานยิงบนบกไปแล้วก็ได้มีการพัฒนาอาวุธปล่อนร่อนรุ่นที่ยิงจากอากาศยานคือ Raad (Hatf-VIII)
และมีแผนจะพัฒนารุ่นที่ยิงจากเรือดำน้ำครับ

อย่างไรก็ตามถ้ามองว่ากองทัพบกอาจจะพัฒนาระบบจรวดทางยุทธศาสตร์นี้จากระบบที่มีประจำการอยู่แล้วนั้น
ระบบอาวุธปล่อยที่ ทบ.มีใช้งานอยู่นั้นที่ดูใหญ่สุดถ้าจำไม่ผิดก็มี ระบบSAM แบบ SPADA ของ พล.ปตอ.ครับ แต่รูปแบบจรวดคงไม่เหมาะจะพัฒนาต่อไปอาวุธโจมตีพื้นสู่พื้นพิสัยไกลเท่าไร 

http://www.aiad.it/upload/aziende/azienda_/MBDA_SPADA.jpg

ถ้ามองไปในเหล่าทัพอื่นที่ใกล้เคียงที่สุดก็คงจะเป็น Harpoon ของกองทัพเรือซึ่งเป็นอาวุธปล่อยใช้ ย.Turbojet ระยะยิงกว่า 150km แต่เนื่องจากมันเป็นอาวุธของสหรัฐฯการทำ reverse engineer จรวดคงจะผิดข้อตกลงในการจัดหาอย่างรุนแรงครับ(คงจะทำนองเดียวกันกับ Exocet MM38 และ RBS-15 ของกองทัพอากาศที่จะจัดหามาพร้อมกับ Gripen ในอนาคต)

 

http://www.navalhistory.dk/images/Vaaben/Missiler/HarpoonRGM84_1.jpg

C-801 ที่คาดว่ากำลังจะหมดอายุการใช้งานรวมและถูกแทนโดย C-802 ในการปรับปรุงเรือชั้นเจ้าพระยานั้นก็ดูไม่ตรงเท่าไรครับ(ใช้เชื้อเพลิงจรวดแข็ง)

http://www.fas.org/man/dod-101/sys/missile/row/c801-001.jpg

ซึ่งการจัดหา C-802 ซึ่งใช้ ย.turbojet ระยะยิง 120km นั้นจะต่อยอดในการพัฒนาอาวุธปล่อยร่อนระยะยิงเกิน 300km ได้นี้ก็คงไม่ชัดเจนนักครับ

 

http://cimg2.163.com/cnews/2006/7/16/200607161833065e00d.jpg

จากตรงนี้ความเห็นส่วนตัวนั้นอยากให้ทางกองทัพบกร่วมมือกับกองทัพเรือและกองทัพอากาศในการพัฒนาอาวุธปล่อยร่อนใช้งานร่วมสามเหล่าทัพครับ
ซึ่งถ้าระบบที่ยิงจากฐานยิงบนบกประสบความสำเร็จ ก็สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาระบบที่ยิงจากเรือรบ

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/17/USSNewJersey_tomohawk.jpg/300px-USSNewJersey_tomohawk.jpg

(อาจจะยิงจากท่อยิงคล้ายๆแบบ Mk143 Armored Box Launcher แบบที่ติดในเรือประจัญบานชั้น Iowa ถ้าหาที่ว่างๆบนเรือชั้นไหนสักลำทดสอบได้นะครับ)
หรือเป็นรุ่นยิงจากอากาศยานครับ(ซึ่งน่าจะใช้ประโยชน์จาก Source Code ของGripenในการพัฒนาให้ติดได้ ถ้า บ.แบกจรวดไหวนะครับ)





ความคิดเห็นที่ 1


ผมว่าการพัฒนาอาวุธของไทย

น่าจะมีการรวมตัวทั้งสามเหล่าทัพที่พี่ว่าอะครับอย่างน้อย

ก็รวมหัวเหล่าเซียนๆ เข้ามา

   และเพิ่มอีกอย่างจะให้ดี ยกให้เอกชนประกวด ยื่นแบบเสนอต้นแบบ

ไปเลยดีกว่า โดยให้เฉพาะบริษัทในไทยเท่านั้น

   เพราะผมยังตั้งแง่ในความไม่ลงรอยกันระหว่างองค์กร

ทั้งสามเหล่าทัพ ย่อมติดข้อกำหนด กฏหมายต่างๆ

แต่ถ้าผลักดันให้เอกชนเข้ามาพัฒนาแบบเต็มตัว

จะยิ่งดีมาก

   เพราะความคล่องตัว ความได้เปรียบในการหาข้อมูล

ไม่ติดเรื่องกฏหมายต่างๆ ทำได้หมดละครับเพียงแต่จะทำกันหรือเปล่า

เท่านั้น

  นักวิทยาศาสตร์ไทย วิศวกรไทย ที่จบมาและหัวดีมีเยอะ แต่รัฐ

ก็จับส่งลงเรือไปประเคนให้ต่างประเทศหมดครับ หรือ

ถ้าไม่มีงานรองรับ สำหรับเขาเหล่านั้นก็ต้องมาเป็นเซลแมน

ขายของเพราะรายได้ดีกว่า

    โดยฉีกตัวไปทำอาชีพขายตรงก็เยอะ เพราะรายได้ดี

ไม่เหนื่อย งานไม่ยุ่งยากทำนองนี้

โดยคุณ siamman18 เมื่อวันที่ 01/03/2008 00:30:51


ความคิดเห็นที่ 2


พิจารณาจากขีดความสามารถของการป้องกันภัยทางอากาศจากภาคพื้น
ของประเทศเพื่อนบ้าน ด้านตะวันตก,ใต้
ผมหวังว่า อาวุธปล่อยของเรา ควรมีลักษณะตรวจจับได้ยาก
หรือความเร็ว เหนือเสียง    ได้แล้วครับ
วิจัย พัฒนา ผลิต ใช่ปีสองปีจบ
ลงทุน กล้าเสี่ยง กระโดดยาวๆในวันนี้
ถ้าไม่อยากให้อาวุธเรา กลายเป็นเป้าซ้อมยิงให้เค้าซะเฉยๆ
ไม่งั้น ก็เตรียมตังค์ ไว้ตามเลหลัง เทคโนเก่า เค้าอย่างเดียวครับ

แล้วก็ ผลักดัน เป็นอุตสาหกรรมของเอกชนเถอะครับ.. ทางรอดเดียว้

โดยคุณ Mstn เมื่อวันที่ 01/03/2008 04:13:05


ความคิดเห็นที่ 3


ในสมัยที่ พลเอก เปรม เป็นนายกฯ ในสมัยนั้นมีการสร้างกระแสเรื่องการพึ่งพาตนเอง เหตุหนึ่งเพราะตอนนั้น สถานการณ์รอบบ้านยังไม่สงบเรียบร้อยเหมือนตอนนี้

ผลงานของกองทัพบกก็ออกมาเยอะแยะเช่นกัน

- คจตถ. ขนาด 73 ม.ม. อันนี้เข้าประจำการด้วย

- ทุ่นระเบิด

แต่ที่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้คือ เคยทำ MLRS ขนาด 105 ม.ม. 6 ท่อยิง มาแล้ว แต่ก็อย่างกระทู้เก่าของผมนั่นแหละครับ

ก็แค่เคยทำได้ ผมว่าคนที่ทำเป็น เกษียณอายุไปหมดแล้ว เรื่ององค์ความรู้ ต้องนับ 1 ใหม่

อย่างคราวนี้ สำหรับผมนะครับ มันก็แค่ ไฟไหม้ฝาง

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 01/03/2008 05:18:11


ความคิดเห็นที่ 4


อาวุธที่มีระยะยิงไกลๆนั้นความแม่นยำย่อมต้องสูงครับ ระบบรีโมทเซนซิ่ง หรือ พวก จีพีเอส นี่ในอนาคตจะเป็นองค์ประกอบหลักๆของระบบอาวุธยะยะไกลๆครับ ไทยเราผูกติดกับสหรัฐ ทั้งทาง ทหารและเศษฐกิจ  ลองคิดดูครับว่าถ้าสักวันหนึ่งถ้าเขาเกิด ไม่ยอมให้ใช้ ระบบ จีพีเอส ที่ต่อสัญญาณ จากดาวเทียมทั้งสามดวงของเขา แล้วเราจะเหลืออะไรครับ ทั้งเศษฐกิจ และ ทางทหาร จะสับสนขนาดใหน

เมื่อสัก10ปีก่อน (ก่อนปี40) ไทย จีน และ ปากีสถาน เคยมีโครงการจับมือกันสร้างดาวเทียวดวงแรกร่วมกัน แต่บังเอิญไทยเรามีพวกรู้มาก มากเกินไป เลยต้องยุติความร่วมมือกับจีนและ ปากีสถานเขากลางคันทั้งๆที่โครงการได้เกือบ 80 เปอร์เซนต์ แล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทราบกันดีในหมู่สถาบันการศึกษาทางวิศวกรรมโทรคมนาคม ในเมืองไทยครับ (ลองสอบถามอาจารย์รุ่นเก่าๆกันดู)

ในเวลาต่อมาจีนเขาก็สร้างดาวเทียมสำเร็จ แถมด้วยการส่งมนุษย์อวกาศจีน คนแรก ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ ส่วนปากีสถาน ปล่อยจรวดยิงระยะไกลได้ในเวลาต่อมา แต่สำหรับประเทศไทย .......(ไม่อยากพูดมากครับ )

โดยคุณ data เมื่อวันที่ 01/03/2008 09:10:13